สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การสู่ขวัญ, กลุ่มชาติพันธุ์, กูย
Author บูรณ์เชน สุขคุ้ม
Title การสู่ขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในจังหวัดศรีสะเกษ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 15 Year 2564
Source วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (ม.ค.–เม.ย.) 2564 หน้า 108-122
Abstract

ชาวกูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องราวของวิญญาณบรรพบุรุษและพิธีกรรมการสู่ขวัญ โดยเชื่อว่าพิธีกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนการเรียกให้ขวัญมาอยู่กับตัวและให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครองดูแลลูกหลาน ความผูกพันของชาวกุยที่มีต่อพิธีสู่ขวัญสะท้อนผ่านโอกาสของการประกอบพิธีกรรมที่เชื่อมโยงอยู่กับชีวิตของผู้คนทั้งในแง่ของการเปลี่ยนผ่านช่วงวัย การประกอบอาชีพ และความเจ็บป่วย เริ่มตั้งแต่การสู่ขวัญในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต เช่น การสู่ขวัญเด็กแรกเกิด การสู่ขวัญนาค สู่ขวัญพระภิกษุ สู่ขวัญพิธีแต่งงาน สู่ขวัญพระพุทธรูปในพิธีศพ สู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังมีการสู่ขวัญในพิธีเซ่นสรวง เช่น สู่ขวัญข้าวเปลือกและสู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ รวมไปถึงการสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วยเพื่อสะเดาะเคราะห์และเรียกขวัญ การสู่ขวัญของชาวกูยจึงเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่าทั้งต่อตัวบุคคลและสังคมเป็นอย่างยิ่ง 

Focus

การสู่ขวัญนับเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญต่อชีวิตของชาวกูยเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ส่งเสริมให้เห็นซึ่งคุณค่าและนำประโยชน์ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัย เพราะการสู่ขวัญเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวกูยที่ร้อยรัดให้ผู้คนอยู่ร่วมกันภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบ จารีต ประเพณี วิถีปฏิบัติของชุมชนจนผลักดันให้เกิดพลังในการพัฒนาและขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนต่อไป

Theoretical Issues

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพิธีสู่ขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นไปเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการหลากหลาย ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ในเชิงลึกจากผู้มีความรู้และความสำคัญในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำพิธีกรรม ผู้นำทางศาสนา ผู้นำด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมีการสนทนากลุ่มย่อย รวมไปถึงการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาก่อนนำมาเขียนบรรยายเชิงพรรณนา     

Ethnic Group in the Focus

นับตั้งแต่อดีตกลุ่มชาติพันธุ์กูยอาศัยอยู่ทางตอนล่างของภาคอีสาน เป็นกลุ่มชนที่มีการผสมกันระหว่างกลุ่มเวดดิด (Weddid Proto Australian) กับกลุ่มเมลาเนเชียน (Melanesian) ทำให้มีลักษณะหน้าตาและเรือนร่างปะปนกันทั้งแบบเนกริโต (Negrito) หรือ เมลาเนเชียน (Melanesian) ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาแบบพวกเซมัง (Semang) หรือ เงาะ คือ ผมดกหยิกหยอง จมูกบาน ริมฝีปากหนา ผิวดำมืด นอกจากนี้ยังมีแบบอารยัน คือ จมูกโด่งเป็นสันสูง หน้าผากสูง ปากเล็ก ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย แบบมอญเขมร ซึ่งมีร่างกายใหญ่ ไหล่กว้างเป็นเหลี่ยม (น.109–110)

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มชาติพันธุ์กูย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ - เขมร มีคำที่คล้ายคลึงมอญเขมรอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นคำของตนเอง (น.109–110) 

Study Period (Data Collection)

ตุลาคม 2561 - พฤษภาคม 2562

History of the Group and Community

ย้อนกลับไปในอดีต พบว่า ชาวกูยนิยมตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณริมแม่น้ำมูลกับเทือกเขาดงรัก ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชาวกูยที่เลี้ยงช้าง (กูยอะจีง) ซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอท่าตูมและอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นชาวกูยที่ทำนา ซึ่งมักอาศัยอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่ของอีสานทางตอนล่าง สำหรับบ้านกู่กุด ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของชาวกูยเป็นจำนวนมากนั้น พบว่ามีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์เพราะเป็นที่ตั้งของปราสาทปรางค์กู่ มีสระน้ำโบราณ และมีวิถีชีวิตที่ยังคงรักษาภูมิปัญญาตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น โดยมีพิธีกรรมของชุมชนที่จัดขึ้นเป็นประจำปีและกลายเป็นในระดับจังหวัด นั่นคือ ประเพณีบุญเบิกฟ้าเดือน 3 นอกจากนี้ ด้วยความแข็งแกร่งของชุมชนจึงมีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ภายในชุมชนจนสามารถยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้อีกด้วย

Social Organization

จากความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูยเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษและพิธีกรรมการสู่ขวัญ ซึ่งความเชื่อทั้ง 2 ด้านนี้ นับว่ามีความสำคัญในการเชื่อมโยงชาวกูยให้มีความผูกพันกัน โดยเฉพาะพิธีกรรมการสู่ขวัญ ที่มีส่วนในการสร้างสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ชุมชนรวมถึงช่วยขัดเกลาสังคมตามคตินิยมของชุมชน ทั้งนี้ ความรู้สึกผูกพันกับชุมชนช่วยเชื่อมโยงผู้คนรุ่นต่อรุ่นเอาไว้ด้วยกัน บนพื้นฐานของเครือญาติ เพื่อนบ้าน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน ความเชื่อมโยงดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างสูงต่อความผูกพันทางสังคมของชาวกูย เพราะผู้ที่มีความเชื่อมโยงทางสังคมในระดับสูงย่อมมีความผูกพันต่อชุมชนในระดับสูงและกลายเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสริมให้ชุมชนเกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนตามมา

Belief System

พิธีกรรมการสู่ขวัญ “เยียระเวียย” เป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของชาวกูยเพราะเชื่อว่า ขวัญช่วยให้ประสบความสุข เจริญรุ่งเรือง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ชาวกูยจึงมีพิธีกรรมสู่ขวัญในทุกช่วงวัยของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งตาย ซึ่งบทสู่ขวัญแต่เดิมจะเป็นภาษากูยและเป็นบทสู่ขวัญสั้น ๆ ต่อมาจึงผสมกับบทสู่ขวัญของกลุ่มคนไทยอีสานกลุ่มอื่น ๆ ดังนั้น พิธีกรรมการสู่ขวัญจึงเป็นเสมือนบทสรุปของผลรวมทางความคิดในชุมชน ซึ่งผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ชาวกูยกำหนดขึ้นร่วมกันและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย ทั้งนี้ คุณค่าของพิธีกรรมสู่ขวัญ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการสื่อความหมายแห่งความดีงามที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนและชุมชน โดยมีองค์ประกอบของพิธีกรรม ได้แก่ ผู้นำพิธี ผู้ร่วมพิธีกรรม เครื่องสังเวย เนื้อหาในบทสู่ขวัญ เวลาและสถานที่ โดยคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อบุคคล เห็นได้จากความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องขวัญ ผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุณพระรัตนตรัย ความเชื่อเรื่องบุญกรรมและความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม ทั้งนี้ การให้กำลังใจหรือการบำรุงขวัญก่อให้เกิดความสบายใจ เห็นคุณค่าของคน สัตว์ และสิ่งของที่มีบุญคุณต่อตนและชุมชนก่อเกิดเป็นความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความโอบอ้อมอารี อันเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชน นอกจากนี้ ยังพบว่า ความเชื่อในผีบรรพบุรุษของชาวกูย ก่อให้เกิดพิธีกรรมสำคัญหลายประการ เช่น พิธีแก็ลมอ (รำผีฟ้า) พิธีเซ่นผีบรรพบุรุษหรือการทำบุญสาก (สารทกูย) หรือการทำบุญในวันเพ็ญเดือนสิบ โดยชาวบ้านจะข้าวต้ม อาหารคาวหวาน หมาก พลู บุหรี่ และเหล้าไปวางรวมกัน จุดธูปแล้วกล่าวเชิญผีบรรพบุรุษให้มากินอาหาร เทเหล้าลงพื้นให้ผีมากินประมาณ 2-3 นาทีแล้วเทน้ำดื่มตามเป็นอันเสร็จพิธี (น.114)

Health and Medicine

พิธีกรรมสู่ขวัญศูนย์รวมความเชื่อทางจิตใจในหลายแง่มุมของชีวิตชาวกูยรวมถึงการสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วยเพื่อรักษาโรค มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ การสู่ขวัญเพื่อสะเดาะเคราะห์และพิธีส้อนขวัญ (พิธีเรียกขวัญ) จัดขึ้นเพื่อสร้างกำลังใจและเรียกขวัญผู้ป่วยให้กลับเข้ามาอยู่ในร่างกายเหมือนเดิม ดังนั้น เมื่อคนในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยหรือแพทย์แผนปัจจุบันไม่ทราบสาเหตุของโรค ชาวกูยจะทำพิธีเสี่ยงทายเพื่อหาว่าเกิดจากอำนาจลี้ลับ เช่น ผีป่า ผีอารักษ์ ผีเจ้าที่ ผีบรรพบุรุษ หรือผีมอ ผีออ มากระทำหรือไม่ จากนั้นคนทรง (ลำส่อง) จะทำหน้าที่สื่อสารกับวิญญาณลึกลับนั้นว่าต้องการอะไร เมื่อทราบวิธีการแก้ไขแล้ว ญาติของผู้ป่วยจะจัดพิธีสู่ขวัญสะเดาะเคราะห์ เพื่อปัดเป่าทุกข์ร้ายหรือสิ่งอวมงคลที่เกิดกับผู้ป่วยให้หมดไป โดยส่วนใหญ่จะจัดพิธีขึ้นในวันเสาร์เพราะถือว่าเป็นวันที่แข็ง ผีหรือวิญญาณชั่วร้ายจะอ่อนกำลังลง แต่จะไม่จัดในวันอังคารหรือวันพุธ เพราะถือว่าวันอังคารเป็นวันที่ผีมอมีอำนาจสูงมาก ส่วนวันพุธเป็นวันที่ชาวกูยประกอบพิธีกรรมสำคัญ เช่น เลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตาประจำตระกูล และผีอื่น ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ เมื่อพิธีสะเดาะเคราะห์เสร็จสิ้นแล้วจึงเป็นพิธีเรียกขวัญ ครูบา (หมอสู่ขวัญ) จะให้ผู้ป่วยหันหน้ากลับไปด้านทิศตะวันออก วางเครื่องพิธีลงบนกระบุงไว้เบื้องหน้า กล่าวคำเรียกขวัญ จากนั้น จึงนำไข่ไก่ที่ต้มสุกมาคลึงไปตามลำตัวของผู้ป่วยจากหัวจรดเท้า 3 ครั้ง แล้วซัดข้าวสาร 3 ครั้ง ปอกเปลือกไข่เพื่อนำไปทำนายว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ แล้วจึงให้บรรดาญาติและเพื่อนบ้านเข้ามาผูกข้อต่อแขนเป็นอันเสร็จพิธี (น.115-116)  

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวกูยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษและพิธีการเรียกขวัญเป็นอย่างมาก ซึ่งความเชื่อใน 2 เรื่องดังกล่าวเข้ามามีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมและเสริมสร้างลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูยให้เป็นสังคมที่มีจริยธรรมศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีวินัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองเป็นอย่างมาก และเคารพผู้อาวุโส ทั้งนี้ พิธีการสู่ขวัญยังเป็นเสมือนส่วนสำคัญในการสร้างสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ของชุมชนและขัดเกลาผู้คนในชุมชนให้มีเจตคติของความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติที่ฝังรากลึกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมของวิถีชีวิตประจำวันของชาวกูยบ้านกู่ จะพบว่า ทุกสายตระกูลจะมีหิ้งผีบรรพบุรุษที่ต้องการกราบไหว้อยู่เสมอ หรือในวันสำคัญอื่น ๆ เช่นงานแต่งงาน การคลอดลูก เพราะเชื่อว่า ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ตาและผีเจ้าที่เจ้าทางทั้งหลายจะปกปักรักษาคนในครอบครัวให้มีความสุขสงบร่มเย็นปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 ก.ย. 2564
TAG การสู่ขวัญ, กลุ่มชาติพันธุ์, กูย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง