สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ญัฮกุร, ชาติพันธุ์, นิทาน, อัตลักษณ์
Author พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ และคณะ
Title จาก “มะนิ่ฮ ญัฮกุร” (ชาวญัฮกุร) สู่การเป็นมอญทวารวดี และกระบวนการคืนความรู้สู่ชุมชนบ้านไร่
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ญัฮกุร เนียะกุร, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยนเรศวร, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 11 Year 2557
Source วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. (2557) หน้า 77-87
Abstract

ค.ศ. 1984 นับเป็นการเริ่มต้นศักราชการเชื่อมโยงภาษาของชาวญัฮกุรเข้ากับชาวมอญโบราณสมัยทวาราวดี โดย เจอราร์ด ดิฟฟอล์ธ (Gerard Diffloth) นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งต่อมาได้รับความสนใจจากกลุ่มชาวมอญกู้ชาติ ในฐานะหลักฐานยืนยันเชื้อสายที่เก่าแก่กว่าชาวพม่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ กระทั่งเมื่อกาลสมัยแปรเปลี่ยน อันเป็นผลพวงจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้คำอธิบายเกี่ยวกับชาวญัฮกุรในฐานะชาวมอญโบราณเริ่มชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นการทำให้ชื่อของชาวญัฮกุรถูกกลืนหายไป อย่างไรก็ตาม ชาวญัฮกุรแห่งบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการวิจัย ซึ่งช่วยก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของตน จนนายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร ให้ทุนสนับสนุนสำหรับจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “ญัฮกุร มอญโบราณแห่งเทพสถิต” เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมร่วมด้วย

Focus

จัดทำประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ และนำความรู้ไปสู่การฟื้นฟูอัตลักษณ์และคืนความรู้สู่ชุมชน

Theoretical Issues

ใช้แนวทางในการทำวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างและสานต่อความรู้ให้คนท้องถิ่นเข้ามาเรียนรู้และพัฒนาในทิศทางที่ตนเองต้องการ โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลภาคสนาม จัดทำกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และแปลเนื้อหาเป็นภาษาญัฮกุรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอนุรักษ์ภาษาและเคารพต่อสิทธิทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ญัฮกุร

Language and Linguistic Affiliations

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

History of the Group and Community

บ้านไร่ เรียกชื่อในภาษาญัฮกุรว่า “โดง คะม่า” บ้านเดิมอยู่ที่ช่องตับเต่า บ้านปรกใหญ่ (โนนสําราญ) และบ้านวังแล่ แต่เมื่อ 80 ปีก่อนเกิดโรคฝีดาษระบาดจึงอพยพมารวมกันที่บ้านไร่ (บ้าน=โดง, คะม่ะ=ไร่) เพราะธรรมชาติอุดมสมบูรณ์อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ห้วยซับหวาย บ่อนํ้าพระ และนํ้าซับ ภายหลังราว 50-60 ปีที่ผ่านมา มีชาวไทยอีสานอพยพเข้ามา พื้นที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม คือ ทางเกวียนและช่องเขาที่สามารถติดต่อยังเขตลพบุรีได้ง่าย มีการแลกเปลี่ยนสินค้านำของป่าไปแลกกับเกลือ สินค้าจำเป็นต่าง ๆ ในเขตอำเภอบำเหน็จณรงค์ และยังมีการใช้ช่องชิดเป็นเส้นทางไปยังลำสนธิ ซึ่งภายหลังจากถนนตัดเข้ามาเส้นทางโบราณนี้หมดความสำคัญลง นับตั้งแต่ทศวรรษ 2510 กลุ่มนายทุนภายนอกได้เข้ามาดำเนินกิจการโรงเลื่อยจากการได้รับสัมปทานป่าไม้ ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีถนนลูกรังผ่านเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นเส้นทางชักลากไม้

Settlement Pattern

บ้านไร่ ตั้งอยู่บนเส้นทางโบราณคดีที่ชาวบ้านใช้สำหรับเดินทางผ่านช่องเขาจากเขตจังหวัดชัยภูมิลงไปสู่เขตจังหวัดลพบุรี พื้นที่ดังกล่าวพบหลักฐานทางโบราณคดีโดยเฉพาะเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นข้อมูลสำคัญต่อการอธิบายการปรากฏตัวขึ้นของชาวญัฮกุรบนพื้นที่ชายขอบที่ราบสูงโคราช และอาจเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โบราณคดีรัฐทวารวดีกับรัฐเขมร

Economy

ในทางเศรษฐกิจพบปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำอยู่บ้าง เพราะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการท่องเที่ยว และผู้คนที่อพยพเข้ามาภายหลังพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองอย่างรวดเร็วทำให้ชาวญัฮกุรมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า บางครั้งจึงอาจรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง

กระนั้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเริ่มเข้ามาในหมู่บ้านในช่วงทศวรรษ 2510 โดยเข้ามาสัมปทานป่าไม้ ชาวญัฮกุรจำนวนมากหันไปเป็นลูกจ้าง ใช้แรงงาน ขณะที่ช่วงเวลาไล่เรี่ยกัน พ.ศ. 2512 ชาวบ้านเริ่มทำการบุกเบิกที่ดินกันมากขึ้น ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด อ้อย ยาสูบ ปัจจุบันหันมาปลูกมันสำปะหลังมากที่สุด การบุกเบิกพื้นที่ป่าจึงขยายขอบเขตมากขึ้น ทศวรรษ 2530 หน่วยงานราชการเริ่มมีการจำกัดควบคุมพื้นที่ป่า ประกอบกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนสูงขึ้นไม่เพียงพอจึงต้องออกไปทำงานขายแรงงานนอกพื้นที่

Social Organization

หมู่บ้านไร่ มีลักษณะเป็นชุมชนเปิด เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านคุ้นเคยกับระบบการวิจัยมาพอสมควร เนื่องด้วยมีหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาได้เข้ามาศึกษาวิจัยในพื้นที่ ซึ่งเป็นการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมมาในระดับหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา และชุมชนเองเป็นชุมชนที่ค่อนข้างมีความเข้มแข็งภายใน มีความเป็นกลุ่มก้อน อีกทั้งให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Belief System

ศาลเจ้าพ่อขุนหมื่นขุนพล เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน

Art and Crafts (including Clothing Costume)

นิทานเรื่องชาวญัฮกุรแยงปราสาทกับชาวเขมร, นิทานเรื่องชาวญัฮกุรรวมรบกับยาโม 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในอดีตชาวญัฮกุรถูกเรียกว่า “ชาวบน” “คนดง” และ “ชาวละวา” (Lawa)  ในปี ค.ศ. 1918-1919อีริค ไซเดนฟาเดน ได้เขียนบทความสำรวจหมู่บ้านชาวญัฮกุรที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ บันทึกไว้ว่า “ชาวบน” ที่คนไทยเรียกนั้น พวกเขาเรียกตัวเองว่า “เนียะกุล” (Nia-koul) อาศัยอยู่ในปลายเขตเทือกเขาพนมดงเร็ก สาเหตุที่เรียกว่าชาวบนเพราะอาศัยอยู่บนที่สูง ในเรื่องภาษาได้ให้ข้อสังเกตว่าภาษาเนียะกุลมีความใกล้เคียงกับภาษามอญมากกว่าเขมร

นอกจากนั้นในช่วง 50-100 ปีที่แล้ว งานศึกษาหลายชิ้นระบุถึงคนไทยและนักวิชาการโดยทั่วไปรับรู้ว่าชาวญัฮกุรเป็นกลุ่มชาวลัวะ และเริ่มมีการเรียกว่า “ชาวบน” อย่างเป็นทางการปรากฏชัดเมื่อราวทศวรรษ 2500ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับเหตุการณ์คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยมีความหมายเทียบเคียงเท่ากับชาวเขา เพื่อแบ่งแยกออกจากนโยบายที่ใช้กับคนไทยพื้นราบ แต่กระนั้นก็เป็นคำในเชิงถูกเปรียบเทียบ รวมถึงคำว่า “คนดง” ที่คนพื้นราบใช้เรียกในเชิงเหยียดหยาม จนเมื่อไม่เกิน 10ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการเรียกตัวเองว่า “ญัฮกุร” ด้วยเกิดความตระหนักในเรื่องสิทธิทางชาติพันธุ์และการส่งเสริมจากนักวิชาการภายนอก หน่วยงานภาครัฐ (น.79-80)

จุดเริ่มต้นของการอธิบายว่าชาวญัฮกุรมีความเชื่อมโยงทางภาษากับชาวมอญสมัยทวารวดีเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1984 เจอราร์ด ดิฟฟอล์ธ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาญัฮกุรกับภาษามอญสมัยใหม่และภาษามอญโบราณที่พบในเขตประเทศไทย และประเทศพม่า ทำให้พบว่าภาษาญัฮกุรมีความใกล้เคียงกันมากกับภาษามอญโบราณที่ปรากฏอยู่ในจารึกสมัยทวารวดี โดยภาษาญัฮกุรได้แยกออกจากภาษามอญสมัยใหม่ราวหนึ่งพันปีหรือหลังจากนั้น นอกจากนี้ยังพบว่าภาษาญัฮกุรมีการยืมคำศัพท์ภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นกลุ่มที่เคยมีความสัมพันธ์มาก่อน หลังจากนั้นงานของดิฟฟอล์ธได้ถูกนำไปใช้อธิบายให้ชาวญัฮกุรเปรียบได้กับตัวแทนของชาวทวารวดีเพราะมีภาษาที่เชื่อมโยงกัน

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การอธิบายว่าชาวญัฮกุรเป็น “ชาวมอญโบราณ” เริ่มเด่นชัดขึ้น เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เห็นได้จากคำโปรยหัวข้อบทความต่าง ๆ เช่น “ญัฮกุร ชุมชนมอญโบราณแห่งเทพสถิต” นัยยะหนึ่งอาจเป็นการสร้างการรับรู้และความทรงจำใหม่ให้กับทั้งคนในชุมชนและภายนอก ทำให้เกิดความสับสนถึงตัวตนของชาวญัฮกุร พวกเขาจึงชอบใช้ชื่อ “ญัฮกุร” มากกว่าที่จะให้เรียกว่า “มอญโบราณ” (น.80)

Social Cultural and Identity Change

การพัฒนาทางเศรฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาดนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ภาวะการดำรงชีพแบบรีบเร่ง คนหนุ่มสาวจำต้องออกไปใช้แรงงานต่างถิ่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลให้อัตลักษณ์ชาวญัฮกุรค่อย ๆ เลือนหาย ทั้งงานหัตถกรรม งานฝีมือ การสานเสื่อ การตัดเสื้อพ็อกและประเพณีการแห่หอดอกผึ้ง

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 ก.ย. 2564
TAG ญัฮกุร, ชาติพันธุ์, นิทาน, อัตลักษณ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง