สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวเวียง, ภูมิปัญญา, การปรับตัว, บ้านพื้นถิ่น, ลุ่มนํ้าภาคกลาง
Author วันดี พินิจวรสิน
Title ภูมิปัญญาการปรับตัวในบ้าน - เรือนลาวเวียง บริเวณลุ่มน้ำภาคกลาง
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวเวียง ลาวกลาง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 16 Year 2556
Source หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. ฉบับที่ 27 (ก.ย. 2555 – ส.ค. 2556) หน้า 45-60
Abstract

ชาวลาวเวียงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ของสปป.ลาว เมื่ออพยพมาแล้วก็ได้นำเอาแบบแผนทางสถาปัตยกรรมจากถิ่นที่อยู่เดิมมาใช้ด้วย และได้มีการปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมของไทย ไม่เพียงแต่นำเอาแบบแผนทางสถาปัตยกรรมมาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิถีชีวิตและความเชื่อต่าง ๆ นอกจากนี้ภูมิปัญญา   การปฏิบัติตนของชาวลาวเวียงยังสะท้อนให้เห็นถึงการรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้อยู่ด้วย (น.45)

Focus

นำเสนอภูมิปัญญาในการปรับตัวเกี่ยวกับบ้านเรือนของชาวลาวเวียงตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี บริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง และนำไปเปรียบเทียบกับบ้านเรือนพื้นถิ่นเดิมของสปป.ลาว ว่ามีความเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด รวมทั้งให้เหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของชาวลาวเวียงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ้านเรือน

Theoretical Issues

ผู้วิจัยเริ่มเก็บข้อมูลโดยเลือกพื้นที่ศึกษาที่ ชุมชนลาวเวียงในตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีการรวบรวมข้อมูลจากบทความและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมีการลงเก็บข้อมูลภาคสนาม มีการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์และการสนทนากลุ่ม และเนื่องจากผู้วิจัยมีการนำเสนอข้อมูลโดยการเปรียบเทียบบ้านเรือนของชาวลาวเวียงในไทยและในสปป.ลาว ทำให้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจาก 2 ส่วน ได้แก่ ศึกษาเรือนพื้นถิ่นในเขตพระนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จากหนังสือและการสำรวจภาคสนามในเวียงจันทน์ สปป.ลาว และอีกส่วนหนึ่งคือ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสำรวจภาคสนามเช่นกัน แต่เป็นชุมชนลาวเวียงในตำบลบ้านเลือก ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้วิจัยได้ศึกษาจะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้ามกรณีศึกษาและการจัดกลุ่ม เพื่อจะนำข้อมูลของแต่ท้องถิ่นมาเปรียบเทียบกัน (น.46-47)

Ethnic Group in the Focus

ชาวลาวเวียงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากเวียงจันทน์ ของสปป.ลาว และได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยช่วงกรุงธนรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอพยพมาด้วยกัน 2กลุ่ม คือ กลุ่มที่อพยพเข้ามาเองและกลุ่มที่เป็นเฉลยศึกที่ถูกกวาดต้อนเข้ามา (น.46)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาในการสำรวจภาคสนามที่บ้านดอนตูม เมืองไชทานี บ้านหัวห้า เมืองหาดทรายฟอง และบ้านห้องค้า เมืองจันทบุรี ในเขตพระนครหลวงเวียงจันทน์ คือ ในเดือนสิงหาคม 2553

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลภาคสนามที่จังหวัดราชบุรี คือ ในช่วงเดือนมกราคม 2553 - เดือนเมษายน 2555

History of the Group and Community

ชาวลาวเวียงอพยพมาจากเวียงจันทน์และได้มาอยู่ที่ประเทศไทยตั้งแต่กรุงธนบุรีจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 200ปี มีทั้งที่อพยพเข้ามาเองและโดนกวาดตอนมา กลุ่มชาวลาวเวียงที่โดนกวาดต้อนมา มักจะโดนจำกัดสิทธิในการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย คือจะให้อยู่แค่เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองเท่านั้น แต่เมื่อประชากรชาวเวียงเพิ่มขึ้นก็เริ่มมีการขยายชุมชนออกไปและกระจายทั่วประเทศไทยเมื่อมีการยกเลิกทาสใน ปีพ.ศ. 2417(น.46)

จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่ที่มีชาวลาวเวียงที่ถูกกวาดตอนมาตั้งแต่สมัยอพยพมาแรก ๆ อาศัยอยู่จำนวนมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่ที่บริเวณนี้ด้วย ทำให้ชาวเวียงที่เคยอยู่ในพื้นที่นี้ต้องอพยพและถอยร่นเข้าไปทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาของผู้วิจัยครั้งนี้ คือ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (น.50)

Settlement Pattern

ตามหลักฐานที่ปรากฏในชุมชน สันนิษฐานได้ว่าบ้านเลือก หมู่ที่ 4น่าจะเป็นพื้นที่แรก ๆ ที่มีการตั้ง      ถิ่นฐานของชาวลาวเวียง และยังมีการตั้งศาลปู่ตา เพื่อเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษ และตั้งศาลปู่ทุ่ง     เพื่อปกป้องคุ้มครองไร่นา มีการสันนิษฐานว่าการขยายตัวของชุมชนน่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจากบริเวณนี้ด้วย เช่น  หมู่ 2 บ้านดอนกลาง และในอดีตมักมีการตั้งบ้านเรือนกระจุกอยู่รวมกัน แต่เมื่อมีการตัดผ่านถนนเพชรเกษมและถนนในชุมชน ทำให้จำนวนบ้านเรือนกระจายออกมากขึ้น (น.52)

Demography

ตำบลบ้านเลือกมีประชากรจำนวน 10,022 คน ประชากรที่เป็นลาวเวียงส่วนใหญ่พบทั้งหมด 7หมู่บ้าน นอกนั้นจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ประปราย

Economy

ชาวลาวเวียงจะประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ แต่ก่อนจะมีการทำนาปีโดยใช้แรงงานจากคนและวัว มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบ้างแต่เป็นส่วนน้อย นอกจากนี้ยังมีปลูกพืชชนิดอื่นไว้บริโภค และนำไปจำหน่าย และภายหลังชาวนามักจะทำนาปรัง แต่ผู้สูงอายุยังคงทำนาปีที่เก็บเกี่ยวด้วยมืออยู่ (น.50-51)

Social Organization

ชุมชนลาวเวียงในตำบลบ้านเลือกมีอยู่หลายหมู่บ้านด้วยกัน แต่จะมีการรวมกลุ่มกันในประเพณีทำบุญ เบิกบ้าน ในหมู่ที่ 4จะเป็นการรวมกลุ่มเฉพาะคนที่ยังเคารพและเชื่อถือ เช่น คนเฒ่าคนแก่และเด็ก และยังมีการรวมตัวของแต่ละหมู่บ้านอีกประเพณีหนึ่ง นั่นคือ ประเพณีทำบุญกลางบ้าน โดยจะใช้ส่วนกลางของชุนเป็นพื้นที่ที่ประกอบพิธีกรรม (น.52-53)

นอกจากนี้ในงานบุญหรือวันสำคัญต่าง ๆ ชาวลาวเวียงจะมีการทำบุญร่วมกันที่วัดอย่างสม่ำเสมอ และจะร่วมกันแต่งกายในแบบเฉพาะของลาวเวียงราชบุรีอีกด้วย (น.51)

Political Organization

ตำบลบ้านเลือก ที่เป็นที่ตั้งของชุมชนลาวเวียง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นโยบายของรัฐมีอิทธิพลต่อชุมชนมาก การเปลี่ยนแปลงที่เคยเกิดขึ้นต่อชุมชน ได้แก่ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการออกนโยบายให้ยกเลิกวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ และห้ามใช้ภาษาถิ่น ซึ่งส่งผลกระทบให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชุมชนค่อย ๆ เลือนหาย และในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีการดำเนินนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านถูกกวาดซื้อที่ดินจากนายทุน และนั่นก็ทำให้อาชีพของชาวลาวเวียงเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากที่มีอาชีพหลักคือ การทำนา ก็เปลี่ยนไปเป็น รับจ้าง ค้ายขาย เป็นต้น แต่บางคนก็ยังคงทำนาอยู่ แต่เป็นการเช่าที่ดินจากนายทุนอีกทอดหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าระบบการปกครองและนโยบายของรัฐ ส่งผลกระทบต่อชุมชนและชาวบ้านชาวลาวเวียงเป็นอย่างมาก

แต่ต่อมาได้มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกขึ้น ตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนตำบล พ.ศ. 2549ทำให้ยังมีการอนุรักษ์วัฒนธรรรมต่าง ๆ ของลาวเวียงไว้อยู่ และมีการจัดตั้งหอวัฒนธรรมลาวเวียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของลาวเวียง (น.51-52)

Belief System

ชาวลาวเวียงมีความเชื่อเกี่ยวกับศาลปู่ตาและศาลปู่ทุ่ง กล่าวคือ ชาวลาวเวียงเชื่อว่าศาลปู่ตา เป็นที่      ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวลาวเวียงและยังช่วยปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ส่วนศาลปู่ทุ่ง เชื่อว่าจะปกป้องคุ้มครองไร่นาและการทำมาหากินของชาวลาวเวียง และในตำบลบ้านเลือกยังพบ ศาลปู่ตาเจ้านาย เชื่อว่า จะสร้างความอบอุ่นใจให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในการสร้างบ้านเรือนของชาวลาวเวียง คือ ในกลุ่มที่เป็นเครือญาติกัน จะไม่ปลูกเรือนโดยเอามุมบ้านเข้าหากัน แต่จะปลูกเรียงแถวกันไปอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าหากปลูกเรือนให้เหลื่อมกันหรือหันมุมบ้านข้าหากัน จะทำให้เกิดการบางหมางกันในหมู่พี่น้องหรือเครือญาติ (น.52,56)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สถาปัตยกรรมในเวียงจันทน์ มักจะให้มีการปลูกเรือนแบบให้หลังคาวางไปในแนวเดียวกัน มีลักษณะเรือนเป็นเรือนไม้ยกสูง ใต้ถุนบ้านเปิดโล่ง และเรือนมักจะประกอบไปด้วย ห้องนอน ส่วนใหญ่จะวางไปตามทิศตะวันออกและตะวันตก เซีย มีลักษณะเหมือนระเบียงและมีหลังคาคลุม เรือนครัว จะตั้งอยู่ทางด้านหลังของเรือนมีขาดพื้นที่ต่างกันออกไปในแต่ละเรือน ชาน เป็นระเบียงเปิดโล่ง มักใช้สำหรับการล้างภาชนะต่าง ๆ และอาจจะมีองค์ประกอบอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไป เช่น บันไดที่มีหลังคาคลุม เป็นต้น ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น การเปลี่ยนการใช้วัสดุหลังคา การก่อผนังกั้นบริเวณต่าง ๆ (น.48-50)

ตำบลบ้านเลือก พบเรือนพื้นถิ่นที่เป็นเรือนยกสูง บ้านเรือนของชาวลาวเวียงยังคงมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเดิม คือ เป็นเรือนจั่วเดี่ยวและเรือนหลังคาแฝด โดยมีองค์ประกอบของเรือนดังนี้

เรือนนอน ภายในเรือนนอนจะถูกแบ่งออกเป็น 2ส่วน คือ ในเรือนและนอกเปิง ในเรือนจะใช้เป็นห้องนอนลูกสาว ส่วนนอกเปิงจะใช้เป็นที่ตั้งหิ้งพระ เป็นที่นอนของคนเฒ่าคนแก่ และยังถูกใช้เป็นพื้นที่ในการตั้งศพอีกด้วย

ไม้แป้นท่อง ใช้เป็นที่นั่งของพระภิกษุหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมบ้าน ไม้แป้นท่องมีความสูงจากพื้นระเบียงประมาณ 45 เซนติเมตร และเป็นไม้ที่วางขนานไปกับพื้นเรือน

ระเบียง จะมีการคลุมหลังคาใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ หลังคาจั่ว และหลังคาลาดเอียง ระเบียงมักจะอยู่ทางด้านสกัดของเรือนนอนและบริเวณหน้าบ้าน

เรือนครัว จะอยู่ทางทิศตะวันตกของเรือน มีหลังคาคลุมแยก นอกจากนี้ในบริเวณบ้านยังมียุ้งฉางและ   บ่อบาดาลด้วย

ในปัจจุบันเรือนแบบดั้งเดิมแทบจะไม่มีแล้ว เหลือพบเพียงเรือนที่มีอายุ 40-60ปี แต่ยังคงมีองค์ประกอบเรือนคล้ายเดิม คือ มีเรือนนอน โถง และระเบียง และมีเรือนครัวอยู่ใต้ถุนบ้าน บางหลังมีการก่อผนังด้วยอิฐหรือปูนล้อมรอบเพื่อใช้เป็นห้องนอน และยังพบห้องน้ำอยู่ชั้นล่างด้วย

การคลุมหลังคาของเรือนที่มีอายุ40-60ปี ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ เรือนหลังคาแฝด มีลักษณะคือ หลังคาบริเวณโถงนอนจะมีความสูงต่ำกว่าหลังคาเรือนนอน เรือนหลังคาแบบจั่วแฝดนี้ ถือเป็นอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชาวลาวเวียง และเรือนหลังคาเดี่ยว จะมีลักษณะคือ มักจะเป็นหลังคาเอียงต่ำ และยื่นออกมาคลุมพื้นที่ชั้นล่างด้วย ซึ่งการสร้างหลังคาแบบลาดเอียงเช่นนี้ทำให้เกิดการลดหลั่นของอาคาร ถือเป็นการสร้าง   อัตลักษณ์ใหม่ให้กับชุมชน (น.53-55)

ชาวลาวเวียงไม่ได้นำเอารูปแบบทางสถาปัตยกรรมจากเวียงจันทน์มาทั้งหมด แต่มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศของภาคกลางประเทศไทย คือ มีการปลูกเรือนแบบผสมผสานเรือนไทยของภาคกลาง โดยมีองค์ประกอบเรือน เช่น นอกชาน หลังคาจั่วทรงสูงแบบมีตัวเหงา เป็นต้น

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวลาวเวียงแม้จะอพยพจากเวียงจันทน์มาอยู่ในประเทศไทย แต่ยังคงอัตลักษณ์เดิมของตนไว้ได้เป็นอย่างดี เห็นได้จากการสร้างบ้านเรือนตามแบบแผนเดิม หรือการสืบทอดประเพณี ความเชื่อ เช่น การสร้างบ้านเรือนตามความเชื่อที่ว่า ในบรรดาญาติพี่น้องจะไม่สร้างบ้านเรือนที่เหลื่อมกัน ต้องสร้างให้เสมอเป็นแนวเดียวกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อกัน สิ่งนี้ทำให้บ้านเรือนของชาวลาวเวียงมีลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึง อัตลักษณ์ของชาวลาวเวียงได้ชัดเจน หรือจะเป็นการสืบทอดประเพณีงานบุญกลางบ้านของชาวลาวเวียง และการสร้างศาลปู่ตาที่มีลักษณะคล้ายกับชุมชนพื้นถิ่นที่เวียงจันทน์

Social Cultural and Identity Change

บ้านเรือนของชาวลาวเวียงในจังหวัดราชบุรีไม่ได้เป็นรูปแบบเดิมตามบ้านเรือนที่เวียงจันทน์ไปทุกอย่าง เนื่องจากมีความต่างกันตรงภูมิประเทศและสภาพอากาศ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะบ้านเรือนเพื่อให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่ใหม่ คือมีการปลูกเรือนแบบเวียงจันทน์ผสมผสานกับเรือนไทยภาคกลาง เช่น การปลูกเรือนแฝดเก้าเสา นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมด้วย เนื่องจากจังหวัดราชบุรีอยู่ใกล้เคียงกับ  เมืองหลวง คือ กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็ว อย่างในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายที่ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น ทำให้ชาวลาวเวียงที่ประกอบอาชีพทำนาส่วนใหญ่ต้องขายที่ดินให้กับนายทุน และส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อประเพณีและวัตนธรรม คือ ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการทำนาถูกยกเลิกไป นอกจากนี้ความเจริญทางสังคมอย่างด้านคมนาคมก็ได้มีอิทธิพลต่อการรเปลี่ยนแปลงในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างการทำบุญเบิกบ้านและทำงานบุญกลางบ้านร่วมกันของแต่ละหมู่ เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นเพื่อบำบัดรักษาหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบันมีการแยกหมู่บ้าน เนื่องจากมีถนนตัดผ่านทำให้การทำบุญกลางบ้านของแต่ละหมู่แยกกันไปด้วย

Map/Illustration

- ภาพที่ 1 ลักษณะการคลุมหลังคาของเรือน ระเบียง และครัว (น.49)
          ภาพที่ 1 (ก) ลักษณะหลังคาของเรือนแบบไม่มีระเบียง (น.49)
          ภาพที่ 1 (ข) ลักษณะหลังคาของเรือนแบบมีระเบียง (หรือเทิบ) (น.49)
          ภาพที่ 1 (ค) ลักษณะหลังคาของพื้นที่ครัว (น.49)
- ภาพที่ 2เรือนดั้งเดิมในหมู่ 3 ซึ่งถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไป (น.53)
- ภาพที่ 3 ลักษณะหลังคาในกลุ่มเรือนที่มีอายุในช่วง 40-60ปี (บน) เรือนที่มีหลังคาจั่วแฝด, (ล่าง) เรือนที่มีหลังคาจั่วเดี่ยว (น.55)

Text Analyst นลธิชา กันธิดา Date of Report 07 ต.ค. 2564
TAG ลาวเวียง, ภูมิปัญญา, การปรับตัว, บ้านพื้นถิ่น, ลุ่มนํ้าภาคกลาง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง