สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การอนุรักษ์, ชาติพันธุ์, ดนตรี, เทศบาลตำบลบ้านดู่
Author องอาจ อินทนิเวศ
Title ภูมิปัญญาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทเขิน ไทลื้อ และลาหู่ ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ไทขึน ไตขึน ขึน, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 16 Year 2557
Source วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (ม.ค.-ก.พ.) 2557 หน้า 107-122
Abstract

ผู้วิจัยศึกษาภูมิปัญญาทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน ไทลื้อ และลาหู่ ที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย โดยในการวิจัยครั้งนี้มีผู้ร่วมกระบวนการวิจัย ได้แก่ นักดนตรี นักวิชาการท้องถิ่น และผู้นำชุมชนมีเครื่องมือและอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงในการเก็บข้อมูลภาคสนาม รวมทั้งมีการสัมภาษณ์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินมีการฟ้อนหลายชนิด กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อมีการขับร้องที่เรียกว่า การขับลื้อ และกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีเครื่องดนตรีที่หลากหลายชนิด ในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดนตรี พบว่า มีการถ่ายทอดแนวคิดที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมออกมาในรูปแบบของดนตรี และยังมีการแต่งกายพื้นเมืองในการแสดงด้วย รวมถึงเรื่องของภาษาที่อยู่ในเนื้อร้องก็ยังคงอนุรักษ์ไว้ดังเดิม ส่วนในเรื่องของแนวทางการอนุรักษ์ คือ ควรทำให้เป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำเอกสารให้ความรู้ จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ภายในท้องถิ่น รวมถึงควรจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์ภายในโรงเรียนด้วย (น.107)

Focus

ศึกษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรีเชิงสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทเขิน ไทลื้อ และลาหู่ ที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย ศึกษาถึงปัจจัยที่ช่วยสร้างสรรค์ภูมิปัญญาทางด้านดนตรี บทบาทและสภาพของ   นักดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ รวมไปถึงอุปสรรคปัญหาของการสืบทอดดนตรีชาติพันธุ์และแนวทางการอนุรักษ์ดนตรี ชาติพันธุ์ที่เห็นผลเป็นรูปธรรม

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทางดนตรีชาติพันธุ์วิทยา แนวคิดทางด้านภูมิปัญญา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยกำหนดพื้นที่วิจัย คือ ที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย และได้เลือกกลุ่มเป้าหมายของผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ นักวิชาการดนตรีท้องถิ่น และผู้นำชุมชนท้องถิ่น และผู้วิจัยมีเครื่องมือและการเก็บข้อมูล ดังนี้ ข้อมูลด้านเอกสาร เช่น สิ่งพิมพ์ ข้อมูลด้านบุคคล เช่น ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการเดินทางร่วมกับนักดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อสังเกต และมีการจัดเสวนาในชุมชน ผู้วิจัยมีการศึกษาหาข้อมูลก่อนลงภาคสนาม โดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ขั้นต่อมาได้ศึกษาภูมิปัญญาดนตรีโดยการเก็บข้อมูลภาคสนามแบบมีส่วนร่วม คือ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม เป็นต้น และสุดท้ายจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและสรุปข้อมูล (น.110-111)

Ethnic Group in the Focus

ไทเขิน หรือ ไทขึน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า จีน และลาวเป็นส่วนใหญ่ คำว่า ขึน       มีความหมายว่า ฝืน เพราะแม่น้ำขึนไหลลงทางเหนือ ไม่ไหลลงทางใต้ ชาวไทที่อยู่แถวนั้นจึงถูกเรียกว่าชาวไทขึน แต่คนไทยเรียกเพี้ยนเป็น ไทเขิน (น.111-112)

ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มาจากสิบสองปันนา อพยพมาที่ประเทศไทยเมื่อ 300 ปีมาแล้ว ชาวไทลื้อในปัจจุบันกระจายตัวอยู่ในหลายจังหวัดในทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (น.112)

ลาหู่ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในธิเบต อพยพย้ายเข้ามาอยู่ทั้งที่พม่าและไทย และมีบางส่วนอพยพไปอยู่ที่ลาวและเวียดนาม ลาหู่มีชนเผ่าย่อยจำนวนมาก เช่น ลาหู่แดง ลาหู่ดำ ลาหู่เหลือง เป็นต้น มีการนับถือผีและนอกจากนี้ยังมีการนับถือศาสนาด้วย คือ ศาสนาคริสต์ (น.112)

Study Period (Data Collection)

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2556

History of the Group and Community

กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน เดิมทีเคยอาศัยอยู่บริเวณเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ต่อมาได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยทางอำเภอแม่สาย (น.111-112)

กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ อาศัยอยู่ที่แค้วนสิบสองจุหรือสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศจีน ได้เดินทาง   เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 300 ปีมาแล้ว กลุ่มไทลื้ออพยพเข้ามาพร้อมกับกลุ่มไทเขิน และเดินทางเข้ามาทางอำเภอแม่สายเช่นเดียวกัน (น.112)

กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในธิเบตและอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ชาวลาหู่ที่อพยพมี 2กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่อพยพไปอยู่ในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อปีพ.ศ. 2383และอพยพเข้ามาอยู่ทางตอนบนของประเทศไทยที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2423และอีกกลุ่มที่อพยพไปอยู่ที่ประเทศลาวและเวียดนาม (น.112)

Demography

กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ กระจายอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เช่น เชียงราย เชียงใหม่ และน่าน     ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ในประเทศไทยมีอยู่ราว ๆ 1.5 แสนคน มี 800 หมู่บ้าน และเป็นชาวลาหู่ชนเผ่าลาหู่แดงมากที่สุด โดยพื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยมากที่สุดคือ ในจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง (น.112)

Social Organization

มีการจัดตั้งกลุ่มไทเขินในหมู่บ้าน และมีการรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชาวไทเขิน นอกจากนี้ชาวไทเขินยังมีการรวมกลุ่มกับชาวไทลื้อเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย ในส่วนของชาวลาหู่ ไม่ว่าชาว ลาหู่จะย้ายไปทำงานที่ใด แต่เมื่อถึงช่วงปีใหม่ชาวลาหู่จะต้องกลับมาที่บ้านเพื่อร่วมกิจกรรมทุกปี และเมื่อมีงานแสดงที่เกี่ยวกับดนตรี กลุ่มชาติพันธุ์ในเทศบาลตำบลบ้านดู่จะมีการรวมกลุ่มกันในตอนเย็นเพื่อฝึกซ้อมดนตรีก่อนวันแสดงหรือก่อนวันเทศกาลที่ต้องมีการบรรเลงดนตรี (น.112,115)

Political Organization

เมื่อปี พ.ศ. 2537 กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จากแต่เดิมที่เป็นทะเบียนประวัติจัดอยู่ในกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าหรือกลุ่มบุคคลพื้นที่สูง (น. 112) นอกจากนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินยังมีการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานราชการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เพื่อเป็นการอนุรักษ์และการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนของชาวไทเขิน (น.113)

Belief System

ชาวไทเขินมีความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือกบและนาคว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ และยังเคยมีการทำพิธีปั้นกบขอฝนในช่วงสงกรานต์ นอกจากนี้ประเพณีของชาวไทเขินยังถูกใส่ไว้ในเนื้อหาของเพลงที่ใช้ประกอบการรำวงไทเขิน คือ เพลงรำวงประเพณี 12 เดือน โดยในแต่ละเดือนจะมีประเพณีต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เดือนหกของไทเขินหรือเดือนเมษายนของสากล จะมีประเพณีแขวนกลองและขอฝน เดือนแปดของไทเขินหรือเดือนมิถุนายนสากล จะมีประเพณีสืบชะตาเมือง เป็นต้น และชาวไทเขินยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันด้วย เช่น การแต่งการ การบวช และการขึ้นบ้านใหม่ (น.112-114)

ในส่วนของชาวลาหู่ มีการนับถือผีและนับถือศาสนาคริสต์ และชาวลาหู่ยังมองว่าดนตรีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อพิธีกรรมมาก เพราะชาวลาหู่เชื่อว่าเสียงดนตรีที่บรรเลงนั้นจะสามารถสื่อถึงเทพเจ้าของชาวลาหู่ได้ และจะมีเครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ใช้บรรเลงแค่ในเฉพาะพิธีกรรม เรียกว่า กลองจะโก (น.112, 114)

Education and Socialization

ภูมิปัญญาทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์จะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นการสืบทอดแบบมุขปาฐะ ซึ่งจะต้องได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ๆ ถึงจะสามารถรับรู้เกี่ยวกับดนตรีได้อย่างดี ซึ่งในปัจจุบันการส่งผ่านความรู้ด้านดนตรีเริ่มลดน้อยถอยลง เนื่องจากผู้ใหญ่กับเยาวชนมีช่องว่างระหว่างกันอยู่มาก ผู้ใหญ่ต้องทำมาหากิน ส่วนเด็กก็ต้องไปศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียน ทำให้การเรียนรู้ด้านดนตรีของเด็กนั่นเริ่มเลือนหายไป จากเดิมที่อาศัยการเรียนรู้และส่งผ่านความรู้แบบครูพักลักจำ คือเห็นและฝึกซ้อมปฏิบัติตาม ฉะนั้น จึงเห็นว่าควรมีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์ให้กับเยาวชน เพื่อให้ได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาด้านตรีของตน (น.116, 118)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ภูมิปัญญาทางดนตรีของชาวไทเขิน มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ดนตรีประกอบการแสดงและดนตรีประกอบการขับร้อง โดยดนตรีประกอบการแสดงจะแบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่
          ฟ้อนรำนกหรือฟ้อนกินรีกินรา เป็นการฟ้อนเลียนแบบการเคลื่อนไหวของกินนร ดนตรีประกอบการฟ้อนชนิดนี้จะใช้วงกลองก้นยาว โดยเครื่องดนตรีในวงนี้ จะมีเทคนิคในการตีให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ทั้งใช้ฝ่ามือตี ใช้นิ้วมือตี เป็นต้น
          ฟ้อนมองเซิ้ง ใช้แสดงในงานฉลองสมโภชต่าง ๆ หรือขบวนแห่ต่าง ๆ ในการฟ้อนจะมีผู้หญิงแต่งกายแบบชาวไทเขินดั้งเดิม การฟ้อนชนิดนี้จะใช้วงกลองมองเซิงบรรเลงประกอบ ส่วนคำว่า มองเซิ้ง นั่นหมายถึง ฆ้องชุด
          รำวงไทเขิน มีลักษณะคล้ายรำวงของไทย สามารถแสดงได้ทุกเพศทุกวัยและเป็นที่นิยมมากของชาวไทเขิน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำวงไทเขิน ได้แก่ ซึง กลอง และเกราะไม้ไผ่ ส่วนเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการรำวง คือเพลงรำวงประเพณี 12 เดือน
         
ดนตรีประกอบการขับร้องของชาวไทเขิน คือ การขับเสิน มีลักษณะคล้ายการขับซอของล้านนา และมีเครื่องดนตรีประกอบคือ ซึง โดยผู้ที่ขับเสินจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ จะขับเดี่ยวหรือคู่ก็ได้เช่นกัน เนื้อหาในการขับเสินจะเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

ภูมิปัญญาทางดนตรีของชาวไทลื้อที่โดดเด่น คือ การขับลื้อ ผู้ที่ขับลื้อสามารถเปลี่ยนเนื้อร้องไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีข้อจำกัดตายตัว แต่มักจะมีการสัมผัสทางภาษาในคำลงท้าย เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการขับลื้อ คือ ปี่ลื้อ  เป็นเครื่องเป่าประเภทเดียวกับปี่จุม เนื้อหาของการขับลื้อสามารถบอกความเป็นมาของลื้อได้อย่างชัดเจน

ภูมิปัญญาทางดนตรีของชาวลาหู่ ดนตรีของชาวลาหู่มักใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และเครื่องดนตรีของชาวลาหู่ยังสามารถทำให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการเต้นจะคึได้อีกด้วย โดยเครื่องดนตรีที่ปรากฏในปัจจุบันมีดังนี้
          - แคน หรือ หน่อ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ แคนใหญ่หรือหน่อโกมา แคนกลางหรือหน่อซื่อ และแคนเล็กหรือหน่อแกแหละ
          - เต๋อซือโก๋ย หรือกีตาร์ลาหู่ ตัวเครื่องทำจากไม้แข็ง ใช้นิ้วมือในการดีด และสามารถเล่นได้ตลอด ไม่เกี่ยวกับพิธีหรือประเพณีใด ๆ
          - แล้กาชุ่ย หรือขลุ่ยไม้ไผ่ ใช้เป่าเล่นได้ทุกโอกาสเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเล่นในงานเทศกาล
          - กลองจะโก มีลักษณะคล้ายกลองยาว จะใช้ตีในพิธีกรรมเท่านั้น (น.113-115)

Folklore

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ จะไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน แต่จะใช้เป็นการบอกเล่าแบบมุขปาฐะ ทำให้เห็นว่า ผู้ใดที่สนใจในเรื่องดนตรีจะต้องอาศัยการจดจำเอา เนื่องจากเป็นการบอกเล่าโดยปากต่อปาก

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน มีความสามารถในการสานภาชนะที่ทำจากไม้ไผ่และนำมาเคลือบด้วยยางไม้สีแดง เรียกว่า เครื่องขึน และชาวไทเขินยังมีการนับถือกบและนาค เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินและไทลื้อมักมีการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ มีสิ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์คือ การที่มีชนเผ่าย่อยออกมาอีกจำนวนมาก และชาวลาหู่ยังมีความภูมิใจในอาชีพการล่าสัตว์ของตนเอง แม้หลังการอพยพย้ายมาจากถิ่นเดิมจะมีการเปลี่ยนอาชีพแล้วก็ตาม และชาวลาหู่ยังมีความเคร่งครัดในกฎระเบียบและความถูกผิดอีกด้วย (น.112)

นอกจากนี้ในการแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มชาติพันธุ์มักจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองเดิม และใช้ภาษาของตนเองการขับร้องเนื้อหา แสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ได้เป็นอย่างดี

Social Cultural and Identity Change

เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ขาดแคลนเครื่องดนตรีและนักดนตรี เพราะผู้คนมีการปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นสังคมเมือง กลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนอาชีพเพื่อทำมาหากินเลี้ยงตนเองและครอบครัว ทำให้การถ่ายทอดหรือการร่วมกิจกรรมทางดนตรีกันนั้นมีน้อยลง และพื้นที่ที่ศึกษาวิจัย คือ ที่เทศบาลตำบลบ้านดู่ ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจาก มีผู้คนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเข้ามาพักอาศัยและตั้งรกรากอยู่เป็นจำนวนมาก และด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์นี้ อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมเดิมหรือภูมิปัญญาได้ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์อีกประการหนึ่ง คือเรื่องของการดำเนินชีวิตที่ต่างไปจากแต่ก่อน จากเด็ก ๆ ที่เคยอยู่ใกล้ชิดผู้ใหญ่ กลับต้องแยกย้ายกันไปปฏิบัติหน้าที่ของตนเองตามยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไป คือ เด็กจะต้องไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนและผู้ใหญ่จะต้องออกไปทำงาน ช่องว่างตรงนี้ทำให้เกิดการเลือนหายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาทางดนตรีของชาติพันธุ์ที่ถือเป็นอัตลักษณ์สำคัญของกลุ่มชาตพันธุ์ คือ เด็กจะเริ่มมีความสนใจในดนตรีชาติพันธุ์ของตนเองน้อยลง (น.109, 116)

Other Issues

แนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรี ซึ่งในงานวิจัยสรุปไว้ดังนี้
          1) จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยให้เยาวชนเป็นแกนนำ และมีผู้ใหญ่ในชุมชนเป็นที่ปรึกษา เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
          2) ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ คือ ให้มีการสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ให้ได้มีพื้นที่ในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์

นอกจากนี้ผู้วิจัยเห็นว่าควรดำเนินการเพิ่มเติมดังนี้
          - ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้ เช่น การจัดแสดงบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์
          - ควรมีการส่งเสริมการแสดงทางวัฒนธรรม
          - ควรมีการบันทึกบทเพลงและทำเอกสารให้ความรู้ประกอบ
          - ควรเสริมสร้างความรู้ด้านวัฒนธรรมที่ถูกต้อง เช่น การจัดอบรม
          - ควรมีการจัดชั่วโมงเรียนเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์ให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่มีเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ศึกษาอยู่

การนำไปใช้ประโยชน์
          - ขยายผลการศึกษาสู่สาธารณะ คือ หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม เครือข่ายชาติพันธุ์ในประเทศไทย เป็นต้น สามารถนำข้อค้นพบจากการศึกษานี้ไปขยายผลต่อได้
          - นำผลวิจัยจากการศึกษาครั้งนี้มาบันทึกเป็นรูปแบบเสียงและวีดีทัศน์ เพื่อเก็บเป็นทรัพย์สินทางภูมิปัญญาของชาติ และสามารถนำไปขยายการศึกษาเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์ได้ต่อไป
          - การอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางดนตรี จะช่วยให้ชุมชมมีความตื่นตัว เยาวชนจะหันมาสนใจในดนตรีชาติพันธุ์ของตน และอนุรักษ์ไว้สืบไป (น.116-117)

Map/Illustration

- การแสดงรำวงไทเขิน (น.109)
- นักดนตรีลาหู่กำลังเป่านอ เครื่องดนตรีลาหู่ในงานปีใหม่ (น.111)
- พี่น้องชาวไทเขิน บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง กับชาวไทเขิน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย  (น.113)
- เต๋อซือโก่ย กีตาร์ลาหู่ (น.115)
- เครื่องดนตรีประเภทกลองของลาหู่ (น.116)
- ช่างขับลื้อและปี่ กำลังแสดงการขับลื้อในงานไหว้ครูสำนักสงฆ์ อำเภอแม่สาย (น.117)

Text Analyst นลธิชา กันธิดา Date of Report 30 ก.ย. 2564
TAG การอนุรักษ์, ชาติพันธุ์, ดนตรี, เทศบาลตำบลบ้านดู่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง