สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยอง, วัฒนธรรม, พื้นบ้านล้านนา, ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา, เชียงราย
Author องอาจ อินทนิเวศ
Title ดนตรีในวัฒนธรรมไทยอง จังหวัดเชียงราย
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 26 Year 2563
Source วารสารฟ้าเหนือ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) 2563 หน้า 5-30
Abstract

การศึกษาดนตรีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยองในจังหวัดเชียงราย พบว่า ดนตรีของชาวไทยองเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คน วงดนตรีของชาวไทยองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วงกลองหลวงและวงกลองสิ้งหม้อง มักใช้ประกอบในประเพณีทางพระพุทธศาสนาและมีการแข่งขันกันในระดับชุมชน นอกจากนี้ยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้กับดนตรี ทำให้ดนตรีของชาวไทยองมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสร้างความสามัคคีของแต่ละชุมชน

Focus

ศึกษาดนตรีในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยองจังหวัดเชียงราย ทั้งเรื่องของวงดนตรีและเครื่องดนตรีของชาวไทยองในจังหวัดเชียงราย รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพและระบบเสียงของเครื่องดนตรี

Theoretical Issues

ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการกำหนดพื้นที่การศึกษา นั่นคือ ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในด้านการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยมีการสัมภาษณ์คนในพื้นที่ สุดท้ายจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อนำเสนอต่อไป (น.11)

Ethnic Group in the Focus

ไทยอง หรือ ไตยอง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลไท อพยพมาจากรัฐฉานและมาอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยอาศัยอยู่ที่ลำพูนเป็นหลัก ชาวไทยองมีลักษณะคล้ายคลึงกับชาวไทลื้อ เนื่องจากมีรากฐานวัฒนธรรมมาจากถิ่นเดียวกัน (น.9)

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง ใช้ภาษาหลักของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวมกับกลุ่มภาษาตระกูลไตชนิดอื่น ๆ เช่น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไท ดำ ไทเขิน เป็นต้น ในการสื่อสารกัน (น.9)

Economy

บ้านสันทางหลวง เป็นจุดท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวัฒนธรรมไทยองในจังหวัดเชียงราย เช่น วัฒนธรรมภูมิปัญญา อาหาร การแต่งกาย ศิลปหัตถกรรม เป็นต้น (น.9)

Social Organization

ชาวไทยองจะรวมกลุ่มกันจัดงานประเพณีทางศาสนาทุกปี โดยในช่วงต้นเดือนเมษายนหรือก่อนวันสงกรานต์ จะมีการประกวดตีกลองหลวงเพื่อวัดคุณภาพความดังของเสียง โดยแต่ละชุมชนจะนำกลองหลวงมาเข้าร่วมประกวดกันอย่างสนุกสนาน (น.12-13)

Belief System

กลองหลวงของชาวไทยอง ถือเป็นความเชื่อและความศรัทธาของชุมชน และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่ชุมชน เห็นได้จากการตั้งชื่อกลองและการเก็บดูแลรักษากลองหลวง (น.28)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ดนตรีของชาวไทยอง มีวงดนตรี 2ประเภทได้แก่ วงกลองหลวงและวงกลองสิ้งหม้อง
วงกลองหลวง จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนังและเครื่องเคาะ บรรเลงจังหวะการฟ้อนและจังหวะแห่ทั่วไป เครื่องดนตรีในวงกลองหลวง ได้แก่ กลองหลวง กลองตะหลดปด ฉาบ ฆ้อง โดยมีกลองหลวงเป็นสัญลักษณ์ของวง นอกจากนี้ยังวงกลองหลวงยังใช้บรรเลงขณะที่แห่ข้าวของเครื่องใช้เข้าไปทำบุญในวัดอีกด้วย ส่วนด้านรูปแบบในการจัดวางเครื่องดนตรีนั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่สิ่งสำคัญคือ กลองหลวงจะต้องอยู่ตรงกลาง เพื่อให้ผู้ชมมองเห็นได้

วงกลองสิ้งหม้อง เป็นวงดนตรีที่กลุ่มคนไทในภาคเหนือก็นิยมนำมาใช้บรรเลง รวมไปถึงกลุ่มคนไทยองด้วย คำว่า “สิ้งหม้อง” เรียกตามเสียงที่เกิดจาการตีกลอง เครื่องดนตรีในวง ได้แก่ กลองสิ้งหม้อง กลองตัด ฉาบ ฆ้อง ใช้ประกอบการฟ้อนรำ การจัดวงมักจะให้เครื่องดนตรีชนิดเดียวกันอยู่ใกล้กัน

ลักษณะทางกายภาพและระบบเสียงของเครื่องดนตรีของชาวไทยอง
กลองหลวง จัดอยู่ในประเภทเครื่องหนัง ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้ากลองด้วยหนังวัว และพื้นที่ที่ผู้วิจัยได้ศึกษา มีการติดจ่า (การติดหน้ากลอง) ด้วยแป้ง ในเรื่องของสัดส่วนของกลองหลวงจะต่างกันออกไปตามแต่ขนาดไม้ที่นำมาทำกลองหลวง ส่วนในเรื่องของระบบเสียงนั้น กลองหลวงจะมีระดับเสียงที่ไม่แน่นอน มีเกณฑ์การวัดความดังเป็นค่าเดซิเบล (dB) การตีกลองหลวงจะตีด้วยมือที่พันด้วยผ้าดิบหรือจีวร

กลองตะหลดปด จัดอยู่ในประเภทเครื่องหนัง วิธีการตีจะใช้ไม้ตีจำนวน 2ไม้ ตัวกลองทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หน้ากลองทำมาจากหนังวัว และถ้าหากมีการเดินขบวนจะใช้เชือกผูกเป็นสายสะพายให้แก่คนตีกลอง ในเรื่องระดับเสียงกลองตะหลดปดมีระดับเสียงที่ไม่คงที่ ความดังของเสียงจะขึ้นอยู่กับความตึงของหน้ากลองด้วยส่วนหนึ่ง

กลองสิ้งหม้อง จัดอยู่ในประเภทเครื่องหนัง ตีด้วยฝ่ามือหรือปลายนิ้วมือ ใช้สะพายด้านข้างเพื่อตี และนิยมใช้ในขบวนแห่ กลองสิ้งหม้อง มีระดับเสียงที่ไม่คงที่ ความดังของเสียงจะขึ้นอยู่กับการขึงหน้ากลองให้ตึงเช่นเดียวกับกลองตะหลดปด

กลองตัด จัดอยู่ในประเภทเครื่องหนัง ปิดหน้าด้วยหนังวัวเพียงด้านเดียว การตีกลองตัดจะใช้ไม้ตี โดยไม้ที่ใช้ตีจะพันส่วนหัวให้เป็นสี่เหลี่ยมด้วยผ้าดิบหรือจีวร ระดับเสียงของกลองตัดนั้นจะไม่คงที่ ความดังเสียงขึ้นอยู่กับความตึงของหน้ากลองเช่นเดียวกับกลองชนิดอื่นที่ได้กล่าวไป ลักษณะการตีกลองตัด จะใช้มือข้างหนึ่งถือสายสะพายกลองไว้และมืออีกข้างหนึ่งถือไม้ตีหน้ากลอง

ฉาบ จัดอยู่ในประเภทเครื่องเคาะ หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป วิธีการตีฉาบมีด้วยกัน 2 วิธี คือ การตีแบบปิดและการตีแบบเปิด โดยการตีทั้งสองวิธีนี้จะได้เสียงที่ต่างกัน

ฆ้อง จัดอยู่ในประเภทเครื่องเคาะเช่นเดียวกับฉาบ โดยจะแบ่งฆ้องออกเป็น 3ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ฆ้องขนาดใหญ่จะมีที่แขวน ส่วนขนาดกลางและเล็กจะมีเชือกร้อยไว้ให้ผู้บรรเลงถือ

ในส่วนของทำนองเพลงจำแนกได้เป็น 3 ทำนอง ได้แก่ ทำนองสำหรับการฟ้อน จะดำเนินอย่างช้า ๆ นิยมบรรเลงด้วยวงกลองหลวง ต่อมาทำนองแห่ครัวตาน จะดำเนินทำนองจังหวะปานกลาง บรรเลงด้วยวงกลองหลวงเช่นเดียวกัน และสุดท้ายทำนองแห่ทั่วไป ใช้รูปแบบทำนองเดียวกันกับการฟ้อนแต่จะเร็วกว่า (น.12-28)

Folklore

ชาวไทยองมีภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับดนตรี นั่นคือ การ “ติดจ่า” คือ การผสมส่วนผสมจากธรรมชาติที่เป็นสูตรลับของแต่ละชุมชนมาติดที่หน้ากลอง เพื่อให้กลองเกิดความดังกังวาน ส่วนผสมจากธรรมชาติที่ว่า เช่น ข้าวเหนียว กล้วยกวน ขี้เถ้า ขี้ผึ้ง เป็นต้น

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวไทยองมักมีการรวมกลุ่มกับพี่น้องชาวไทกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เพื่อจัดงานประเพณีทางวัฒนธรรมขึ้น และมีการแข่งขันทางวัฒนธรรม โดยมีเครื่องดนตรีเป็นองค์ประกอบหลัก สิ่งนี้ถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยองและชาวไทกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละกลุ่มอีกด้วย

Map/Illustration

- ภาพที่ 1 ที่ตั้งชุมชนไทยอง ตำบลจันจว้าใต้ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (น.10)
- ภาพที่ 2 การขึ้นคร่อมบนรถลากเพื่อตีกลองหลวง (น.14)
- ภาพที่ 3 วงกลองสิ้งหม้องไทยอง (น.15)
- ภาพที่ 4 กลองหลวงไทยอง “แม่บัวตอง” และ “แม่ฟ้าคนอง” (น.17)
- ภาพที่ 5 การติดจ่ากลอง และการพันมือตีกลองหลวง (น.18)
- ภาพที่ 6 กลองตะหลดปด และลักษณะท่านั่งบรรเลง (น.19)
- ภาพที่ 7 ไม้ตีกลองตะหลดปด (น.20)
- ภาพที่ 8 กลองสิ้งหม้อง (น.21)
- ภาพที่ 9 กลองตัด (น.22)
- ภาพที่ 10 การตีกลองตัด (น.23)
- ภาพที่ 11 ฆ้องขนาดใหญ่ ขนาดกลาง (สีทอง) และขนาดเล็ก (น.24)

Text Analyst นลธิชา กันธิดา Date of Report 30 ก.ย. 2564
TAG ไทยอง, วัฒนธรรม, พื้นบ้านล้านนา, ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง