สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject วิถีชีวิต, การดำรงอยู่, พลวัต
Author เภา บุญเยี่ยม
Title ปะคำ: วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนเลี้ยงช้างภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ไทยโคราช คนโคราช คนบ้านเอ๋ง หลานย่าโม, ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง, กูย กุย กวย โกย โก็ย, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยบูรพา, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 21 Year 2558
Source วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 23 ฉบับที่ 41 ม.ค.-เม.ย. (2558) หน้า 91-111
Abstract

เมื่อปัจจัยหลายสาเหตุทั้งการปิดป่าของกัมพูชา การลดลงของผืนป่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ล้วนส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวไทยโคราชหรือไทยเบิ้ง บ้านปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จากชุมชนเก่าแก่ที่ผูกพันกับการเลี้ยงช้างมานานกว่า 200 ปี ต้องกลายเป็นชุมชนที่ไม่เหลือช้างสักเชือก พิธีกรรมสำคัญเกี่ยวกับช้างกลายเป็นความล้าสมัย การปรับตัวภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน ยิ่งเมื่อเทียบกับอีก 2 พื้นที่ซึ่งปรับตัวได้ดีกว่า นั่นคือ ชาวลาวบ้านค่ายหมื่นแผ้ว จังหวัดชัยภูมิ และชาวส่วยบ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ ที่ต่างสันนิษฐานว่ามาจากตำราเถื่อนช้างเล่มเดียวกัน

Focus

ศึกษาวัฒนธรรม ประเพณีการเถื่อนช้างและการเปลี่ยนแปลงบริบทแวดล้อมอย่างรอบด้าน ในพื้นที่บ้านปะคำ ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบวัฒนธรรม ประเพณีกลุ่มคนเลี้ยงช้างในอีกสองพื้นที่ คือ กลุ่มชาวกูย บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และกลุ่มชาวลาว บ้านค่ายหมื่นแผ้ว ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Theoretical Issues

การศึกษาวิจัยอาศัยการค้นคว้าเกี่ยวกับการเลี้ยงช้างและคนเลี้ยงช้างในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านเอกสาร ประกอบกับการศึกษาภาคสนามโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ทั้งจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การศึกษาเฉพาะกรณี และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลจากประสบการณ์จริง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงวิถีชีวิต การปรับตัว และการดำรงของวัฒนธรรมและประเพณีคนเลี้ยงช้าง ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนชาวปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มคนเลี้ยงช้างชาวกูย บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ และกลุ่มคนเลี้ยงช้างชาวลาว บ้านค่ายหมื่นแผ้ว จังหวัดชัยภูมิ เพื่อหาจุดร่วมและจุดต่างของวัฒนธรรม รวมทั้งการปรับตัวของทั้งสามกลุ่มชาติพันธุ์ (น.94-96)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยโคราช/ไทยเบิ้ง, กลุ่มชาติพันธุ์ส่วย กวย กูย, กลุ่มชาติพันธุ์ลาว

History of the Group and Community

บ้านปะคำ เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 200ปี บรรพรุษดั้งเดิมอพยพมาจากเมืองนครราชสีมา มีเชื้อสายไทยโคราชหรือไทเบิ้ง นำโดยหลวงอุดมพนาเวช ซึ่งเป็นนายทหารช้าง เพื่อมารับตำแหน่งนายด่านบ้านปะคำแทนหลวงแสงผู้เป็นบิดา ที่ขอลากลับภูมิลำเนาเดิมด้วยปัญหาสุขภาพ หลวงอุดมพนาเวชมีความรู้เกี่ยวกับการคล้องช้าง (เถื่อนช้าง) ได้ถ่ายทอดวิชาให้กับลูกหลานชาวปะคำยึดถือเป็นอาชีพหลักสืบต่อมา ทั้งยังพบว่าบ้านปะคำเป็นแหล่งชุมนุมของเหล่าหมอช้างครูบาช้างจากทั่วประเทศ เป็นแหล่งฝึกช้าง และแหล่งซื้อขายช้างที่รู้จักกันดีในอดีต (น.93)
ในช่วงปี พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา ชาวปะคำไม่สามารถเดินทางไปเถื่อนช้างป่าในเขตประเทศกัมพูชาได้อีก เพราะเกิดปัญหาการสู้รบภายในประเทศ ข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร ประกอบกับไม่สามารถหาแหล่งเถื่อนช้างป่าอื่นได้ จึงต้องยุติอาชีพการเถื่อนช้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (น.100)

Economy

เดิมชาวบ้านปะคำมีอาชีพคล้องช้าง (เถื่อนช้าง) แต่ภายหลังได้ยุติอาชีพนี้ลง ในปี พ.ศ. 2501 เนื่องจากชาวปะคำไม่สามารถเดินทางไปเถื่อนช้างในเขตกัมพูชาได้ สาเหตุจากการเกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศ จึงหันไปใช้แรงงานช้างลากซุง รับจ้างแห่งานบุญ กระนั้นเมื่อรัฐออกประกาศปิดป่าทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2532 ช้างที่ลากไม้จำนวนมากตกงาน คนเลี้ยงช้างขาดรายได้ จึงนิยมเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานต่างถิ่นที่มีรายได้ดีกว่า

Political Organization

ลักษณะสังคมในท้องถิ่นเป็นการแบ่งตำแหน่งทางสังคมที่ใช้ในการควบคุมบังคับบัญชาหรือปกครองกลุ่มคนเลี้ยงช้างบ้านปะคำ แบ่งออกเป็น 5ลำดับ 1.ควาญช้าง (มะ) 2.หมอช้าง 3.ครูบา 4.ครูบาใหญ่ และสูงสุดคือ 5.ปัติยาย การเลื่อนขั้นจากควาญช้างเป็นหมอช้างจะต้องได้รับการ “ประชิ” หรือบวชจากครูบาใหญ่หรือปัติยาย ส่วนลำดับอื่น ๆ จะพิจารณาจากวิชาความรู้ความสามารถในการจับช้าง เป็นต้น ในกรณีหมอช้างสามารถจับช้างที่มีลักษณะพิเศษได้ เช่น ช้างสีดอ ช้างสีประหลาด ได้เลื่อนขั้นสูงขึ้นไปอีก 1ลำดับ ยกเว้นตำแหน่งปัติยาย ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดจะมีคนเดียวเท่านั้น (น.97)

Belief System

ในการออกไปเถื่อนช้างป่าของชาวปะคำ มีกระบวนการเป็นลำดับขั้นตอนกล่าวคือ เริ่มต้นด้วย 1.การไหว้ศาลปะกำ เสี่ยงทายคางไก่ 2.เปิดป่าเบิกไพร 3.ตั้งชมรม (ที่พัก) ก่อกองไฟศักดิ์สิทธิ์ 4.การไปโบ๊ต (ตามรอยช้าง) 5.เถื่อนช้าง (จับช้าง) 6.การฝึกช้างป่าที่จับได้ 7.ลาไฟ ลาป่า (เดินทางกลับบ้าน) ซึ่งแต่ละขั้นตอนแฝงไปด้วยพิธีกรรม ความเชื่อ ข้อห้าม/ข้อปฏิบัติ ที่ยึดถือกันอย่างเคร่งครัดในหมู่คนเลี้ยงช้าง ภรรยา และครอบครัวทางบ้าน

การนับถือผีบรรพบุรุษหรือผีปะกำเปรียบเสมือนการนับถือเทพเจ้าของคนเลี้ยงช้าง โดยมีการสร้างศาลปะกำที่สิงสถิตของผีปะกำและใช้เป็นที่เก็บอุปกรณ์ในการเถื่อนช้าง รวมทั้งเชือกปะกำที่เชื่อว่ามีดวงวิญญาณของบรรพบุรุษสิงสถิตอยู่ โดยมี “พิธีไหว้ศาลปะกำ” เป็นประจำทุกปี บางครั้งเรียกว่า การเลี้ยงปะกำหรือเลี้ยงโรงปะกำ

พิธีไหว้ศาลปะกำ ให้ความสำคัญแบ่งเป็น 3 ลำดับ คือ 1.การไหว้ผีปะกำประจำปี จัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม) โดยจัดเครื่องเซ่นไหว้ วงมโหรีปี่พาทย์และคนทรงเข้ามาร่วมในพิธี 2.การไหว้ศาลปะกำเมื่อจะออกไปเถื่อนช้าง พิธีกรรมนี้ยกเลิกไปตั้งแต่ชาวปะคำยุติออกไปเถื่อนช้างป่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา 3.การไหว้ศาลปะกำในชีวิตประจำวัน สามารถทำได้ทุกเวลาที่ครอบครัวมีงานสำคัญ คนเจ็บป่วย เพื่อบอกกล่าวให้ผีปะกำรับรู้ คุ้มครอง และความเป็นสิริมงคล (น.96-97)
โดยการออกไปเถื่อนช้างในแต่ละครั้งต้องมีปัติยายเป็นหัวหน้านำคณะ ก่อนออกเดินทางจะมีพิธีกรรมไหว้ปะกำและเสี่ยงทายคางไก่ เพื่อดูฤกษ์ยามตามความเชื่อ ในบรรดาเครื่องมือที่ใช้ในการเถื่อนช้าง เชือกปะกำนับว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะเชื่อว่ามีวิญญาณผีบรรพบุรุษสถิตอยู่ ทำมาจากหนังควาย 3 ตัว ฟั่นเกลียว ถือว่าเชือกนี้เป็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงจับต้องโดยเด็ดขาด ขณะออกไปเถื่อนช้างทุกคนจะต้องเข้ากรรมคล้ายการถือศีล

นอกจากนี้ในการออกไปเถื่อนช้างยังปรากฏพิธีกรรม เช่น
พิธีเปิดป่าเบิกไพร พิธีบอกกล่าวเทวดาเจ้าที่และขออนุญาตจับช้างป่า
พิธีก่อกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ก่อกองไฟรอบที่พัก 3 กอง เรียกว่า กองกำพวด โดยควาญช้างมีหน้าที่ดูแลให้ไฟติดตลอดเวลา โดยมีข้อกำหนดให้ใช้ไฟเพื่อประกอบอาหารและอื่น ๆ จากกองกำพวดด้านหน้า (กำพวดเชิง) ชมรมเพียงกองเดียวเท่านั้น
พิธีปะสะ พิธีล้างมลทินจากการฝ่าฝืนข้อห้ามต่าง ๆ
พิธีลาไฟ หรือลาป่า หลังจับช้างป่าได้พอสมควร หัวหน้าคณะแจ้งวันเดินทางกลับ เลิกการเข้ากรรมและการใช้ภาษาป่าในการสื่อสาร

เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมคนเลี้ยงช้างอีกสองแห่ง คือ บ้านค่ายหมื่นแผ้วและบ้านตากลางแล้ว พบว่า วัฒนธรรมการคล้องช้างมีความคล้ายคลึงกัน จึงน่าเชื่อว่ามีรากฐานของวิชามาจากแหล่งเดียวกัน แต่การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมแต่ละแห่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของชุมชนนั้น ๆ 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวปะคำยังคงดำเนินวิถีชีวิตตามแบบฉบับของชาวไทยโคราชหรือไทยเบิ้งมาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมการเถื่อนช้างที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชน

Social Cultural and Identity Change

ภายหลังยุติอาชีพการเถื่อนช้าง มีการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมปรับตัวเพื่อความอยู่รอดใน 3 ลักษณะ คือ 1.นำช้างไปรับจ้างแห่ในงานบุญประเพณีต่าง ๆ เช่น งานบวชนาค 2.นำช้างไปรับจ้างลากซุง ในอุตสาหกรรมทำไม้ตามจังหวัดต่าง ๆ 3.นำช้างไปเข้าสังกัดหมู่บ้านช้างพัทยา จังหวัดชลบุรี ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในลักษณะการแสดงโชว์ บริการนั่งช้างชมธรรมชาติ

จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและสภาพแวดล้อมของชุมชนบ้านปะคำ รวมทั้งการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้จากกลุ่มคนต่างถิ่น ทั้งชาติพันธุ์ลาว ส่วย และเขมร ที่อพยพมาจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน ทำให้ประชากรในพื้นที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าก็ลดลงกลายเป็นที่นา ไร้อ้อยและไร่มันสำปะหลัง ทำให้ช้างไม่มีที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร จึงต้องดิ้นรนอพยพไปหาเลี้ยงชีพในต่างถิ่น จนในปัจจุบันบ้านปะคำไม่มีช้างเหลืออยู่ในหมู่บ้านอีกเลยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

เมื่อการอพยพเข้ามาของผู้คนที่หลากหลาย เกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม ส่งผลต่ออิทธิพลด้านความคิด ความเชื่อ และโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไป ในปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา กระแสการบริโภคนิยม เริ่มเข้ามาครอบงำในวิถีชีวิตประจำวันของชาวปะคำ คนรุ่นใหม่เห็นว่าการเลี้ยงช้างไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้นเหมือนในอดีตแต่กลับกลายเป็นภาระที่ต้องดูแล นอกจากนั้นเมื่อคนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้นจึงมีทางเลือกช่องทางทำมาหากินอื่น ๆ ที่สร้างรายได้มากกว่า

Map/Illustration

- แผนภาพกระบวนการเถื่อนช้างป่าของชาวปะคำ (น.100)
- ตารางเปรียบเทียบวัฒนธรรม 3 กลุ่มชาติพันธุ์ (ไทย ส่วย ลาว) (น.103-108)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 ก.ย. 2564
TAG วิถีชีวิต, การดำรงอยู่, พลวัต, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง