สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวแง้ว, ลาวเวียง, เรือนลาว, เรือนไทยประเพณี, รูปลักษณ์
Author อรศิริ ปาณินท์
Title เรือนลาวแง้วที่บ้านตาลเสี้ยน สระบุรี
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ลาวแง้ว, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 18 Year 2559
Source วารสารหน้าจั่ว สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 30 (ม.ค.-ธ.ค.) 2556 หน้า 175-192
Abstract

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้ว ถูกกวาดต้อนมาจากพื้นที่ชนบทของเมืองเวียงจันทน์ หรือหลวงพระบาง โดยเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 200 ปี ส่งผลให้บ้านเรือนของชาวลาวแง้วได้รับอิทธิพลจากเรือนไทย เห็นได้จากการเปรียบเทียบเรือนอนุรักษ์ ที่บ้านดอนหนูน  เมืองไซทานี เวียงจันทน์ และเรือนชนบทของลาวที่บ้านหัวห้า เมืองหากซายฟอง ที่ยังคงมีรูปแบบของเรือนลาว ซึ่งต่างจากเรือนลาวแง้วบ้านตาลเสี้ยน ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ที่ได้รับอิทธิพลของเรือนไทยแบบประเพณี ผ่านลักษณะของเรือนจั่วแฝดและมีองค์ประกอบตกแต่งภายในเป็นศิลปะแบบจีน อย่างไรก็ตาม ยังพบลำดับการเข้าถึงแบบเรือนลาว นั่นคือ เข้าจากบันไดหลักสู่ระเบียงใต้หลังคา ต่อเนื่องมายังห้องกลาง ห้องนอน และแยกซ้ายหรือขาวสู่เรือนครัว ปรากฏการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นการกลืนกลายทางสถาปัตยกรรมและการปรับตัวของวิถีชีวิตชาวลาวแง้วในไทย

Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในภาคกลางเมื่อจำต้องอพยพโยกย้ายจากถิ่นฐานเดิมที่ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดนั้น ลักษณะอัตลักษณ์ของเรือนที่อยู่อาศัยมีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เมื่อภูมิประเทศและบริบทแวดล้อมต่างไปจากเดิม ในขณะเดียวกันการแผ่ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยภาคกลางในพื้นที่อาศัยของผู้คนต่างถิ่นมีส่วนต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของเรือนอย่างไร

Theoretical Issues

การศึกษารูปลักษณ์ของผังเรือนมีกระบวนการศึกษาเปรียบเทียบเป็นช่วง ๆ กล่าวคือ เป็นการศึกษาโดยไล่เรียงตั้งแต่การศึกษาเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของผังเรือนโดยเฉพาะเรือนเวียงจันทน์และเรือนหลวงพระบางในประเทศลาว เรือนลาวในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และเรือนลาวแง้วที่บ้านตาลเสี้ยน จังหวัดสระบุรี เพื่อหาคำตอบถึงอัตลักษณ์ของเรือนที่มีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้ว

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2559

History of the Group and Community

ในช่วงประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างสยามกับลาวนับตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีช่วงปี พ.ศ. 2322ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1และสงครามครั้งใหญ่ศึกเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369-2371ในสมัยรัชกาลที่ 3ซึ่งมีการกวาดต้อนครัวลาวเข้ามาสู่ไทยหลายระลอก สำหรับลาวแง้วที่บ้านตาลเสี้ยนซึ่งชาวบ้านเองไม่สามารถระบุได้ว่าตนเองมาจากไหน เพราะเวลาล่วงเลยมาหลายชั่วอายุคนแล้ว จากการสัมภาษณ์เข้าใจว่าบรรพบุรุษของตนมาจากเวียงจันทน์ บ้างก็ว่ามาจากหลวงพระบาง ไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด ซึ่งในการกวาดต้อนแต่ละครั้งนั้น บางครั้งไม่ได้เดินทางมายังจุดหมายปลายทางในภาคกลางโดยตรง โดยเฉพาะชาวลาวจากหลวงพระบางและเชียงขวางซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลจึงมักแวะมาตั้งถิ่นฐานแถบเวียงจันทน์ก่อนเป็นระยะเวลา 10-20ปี อาจส่งผลต่อลักษณะพื้นฐานของการอยู่อาศัยที่ปรับเปลี่ยนไปได้ กลุ่มลาวจากเชียงขวางหรือหลวงพระบาง เมื่อมาอยู่เวียงจันทน์อาจถูกกวาดต้อนมาพร้อมกับกลุ่มเวียงจันทน์ในสงครามครั้งต่อมาก็ได้ นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวลาวแง้วบ้านตาลเสี้ยนที่คาดว่าจะเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ในชนบท อาจยังมีสำเนียงพูดแบบหลวงพระบางถิ่นกำเนิดดั้งเดิมได้ (น.180)

Settlement Pattern

ผังหมู่บ้านมีลักษณะเป็นถนนคดเคี้ยวรูปทรงอิสระ แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างเรือนและกลุ่มเรือนก่อนที่การตัดถนน สาธารณูปโภคเข้ามา ซึ่งต่างจากการวางผังหมู่บ้านใหม่อย่างชัดเจนที่ถนนจะเป็นรูปแบบตาตาราง ลักษณะของผังหมู่บ้านแบ่งเป็นหมูแต่ละหมู่อาศัยอยู่รวมกัน 50-60 หลังคาเรือน กลุ่มเรือนเกาะตัวกันเป็นกระจุก มีทุ่งนาโอบล้อมหมู่บ้านโดยรอบ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทําการเกษตรแต่ปัจจุบันการทํานาลดน้อยลง (น.180)

Economy

ในอดีตด้วยลักษณะพื้นที่มีทุ่งนาโอบล้อมหมู่บ้านโดยรอบ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทำการเกษตร แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำนาลดลงจึงหันไปประกอบอาชีพรับจ้าง ทำไร่และปลูกข้าวโพด

Social Organization

สังคมของลาวแง้วบ้านตาลเสี้ยนยังเป็นสังคมแบบดั้งเดิม คือ ยังคงมีลักษณะของสังคมแบบเครือญาติอยู่อย่างแน่นแฟ้น ยังธํารงไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งคล้ายคลึงกับคนไทยโดยทั่วไป (น.180) ผนวกกับความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีปรากฏในพิธีกรรม เช่น พิธีเลี้ยงผีปู่ตา

Belief System

ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งคล้ายคลึงกับคนไทยโดยทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ ไปทำบุญในช่วงวันเทศกาล เช่น ประเพณีสงกรานต์ เข้าพรรรษา ออกพรรษา และนอกจากนี้ยังมีพิธีเลี้ยงผีปู่ตา พิธีทําบุญกลางบ้าน หรือเบิกบ้าน ซึ่งเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่ตนเองและครอบครัว (น.180)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในด้านสถาปัตยกรรมผู้ศึกษาได้ทำการเปรียบเทียบลักษณะรูปลักษณ์เรือนลาวในกลุ่มลาวเวียงจันทน์ ลาวเวียงในราชบุรี และลาวแง้วในสระบุรี ซึ่งจากการศึกษาเรือนลาวแง้วบ้านต้นเสี้ยน ต.หนองแก อ.พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี นั้น พบเรือนอายุมากกว่า 150ปี เพียง 2หลัง คือเรือนของนายบุญช่วย วงษ์ษา และเรือนของนายบุญเลิศ วงษ์ศรี เรือนทั้งสองหลังมีอายุใกล้เคียงกันและทั้งสองหลังถูกบรรจุในโครงการอนุรักษ์ของทางจังหวัดสระบุรี (น.187)

รูปลักษณ์เรือนลาวแง้วบ้านต้นเสี้ยน ทั้งสองหลังได้รับอิทธิพลของเรือนไทยแบบประเพณีทั้งรูปแบบรูปทรง และรายละเอียดขององค์ประกอบเรือน เช่น ลักษณะเรือนจั่วแฝด องค์ประกอบผนังทั้งภายนอกและภายใน การสร้างเรือนแบบสามห้องเสาแบบมีพะไลสองข้าง การตกแต่งภายในด้วยอิทธิพลของศิลปะแบบจีน ฝาเฟี้ยมกั้นส่วนภายในเรือน พบการลําดับพื้นที่การเข้าถึงแบบเรือนลาว คือ เข้าจากบันไดหลักสู่ระเบียงใต้หลังคา (เซีย) ต่อเนื่องมายังห้องกลาง สู่ห้องนอนเรียงกัน และแยกซ้ายหรือขวาสู่เรือนครัว การจัดลําดับการ เข้าถึงลักษณะนี้ต่างจากเรือนไทยประเพณีซึ่งเป็นเรือนล้อมชานอย่างชัดเจน อย่างเรือนของนายบุญเลิศ วงษ์ศรี ลักษณะการลำดับการเข้าถึงจากบันไดหน้าเรือนสู่ห้องนอนเป็นลักษณะเดียวกันกับเรือนลาวชนบทที่บ้านหัวห้า เพียงแต่ทิศทางของหัวนอนกลับกัน เรือนลาวอื่น ๆ หันหัวนอนไปทางทิศเหนือ แต่สำหรับลาวแง้วบ้านต้นเสี้ยนหันหัวไปทางทิศใต้ (น.187-189) นอกจากนี้ในหมู่บ้านต้นเสี้ยนยังปรากฏศิลปหัตกรรมอื่น ๆ ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้อย่างภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้าย โดยการใช้วัสดุในพื้นที่เป็นฝ้ายที่ปลูกเองบนที่ดอนในอำเภอพระพุทธบาท

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลาวแง้ว กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิมในพื้นที่โดยรอบใกล้เคียงกับเวียงจันทน์ จากการลงพื้นที่สำรวจภาคสนามในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ต่างยืนยันว่าสำเนียงที่ชาวบ้านพูดตอบโต้กันเป็นสำเนียงหลวงพระบาง ประกอบกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ก็พอคาดการณ์ได้ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้วอาจมีถิ่นฐานเดิมแถบหลวงพระบาง โดยการอพยพมาเป็นระลอก ตั้งถิ่นฐานอยู่เวียงจันทน์ก่อนอพยพอีกครั้งสู่ดินแดนปลายทางบริเวณภาคกลางของประเทศไทยจึงอาจเป็นที่มาของสำเนียงที่ยังคงติดตัวและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น 

Social Cultural and Identity Change

หากเชื่อมโยงรูปลักษณ์ของเรือนจากถิ่นกำเนิดและการแปรเปลี่ยนนั้น ลักษณะของแผนผังและการลำดับการเข้าถึงเรือนและการต่อเนื่องของพื้นที่ภายในคล้ายคลึงกัน กล่าวคือการเข้าถึงจากบันไดหลักสู่ระเบียงใต้หลังคาคลุม (เซีย) เข้าสู่โถงกลาง และจากโถงกลางแยกเข้าห้องนอนและห้องครัว การใช้ระเบียงชายคาเปิดโล่งของไทยเป็นการใช้งานในลักษณะเดียวกันกับเซียของลาว และเห็นได้ชัดเจนว่าระบบการจ่ายการใช้สอยภายในเรือนเป็นระบบเดียวกันกับเรือนลาวเวียงจันทน์ และลาวในชนบทของเวียงจันทน์ ดังนั้นในแผนผังเรือนดังกล่าวยังคงเอกลักษณ์ของเรือนลาวที่ค่อนข้างชัดเจน

ปรากฏการณ์การคลี่คลายในการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมรองย่อมต้องปรับตัวสู่วัฒนธรรมหลักที่แวดล้อมอยู่ มีการรับวัฒนธรรมใหม่ด้านรูปทรงเรือน แต่ก็ยังคงผังเรือนตามวัฒนธรรมเดิมอยู่กลายเป็นวัฒนธรรมผสมผสาน (น.190-191)

Map/Illustration

- ผังหมู่บ้านตาลเสี้ยน ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี แสดงให้เห็นวัดตาลเสี้ยนและเรือนสองหลังที่สำรวจ (น.181)
- ผังพื้นเรือนแม่ติ่งคำ คำวงใส ที่ปรากฎในเอกสารของ SPC (น.182)
- เปรียบเทียบผังพื้นเรือนที่ SPC สำรวจเมื่อ ค.ศ. 1972 (a) และอรศิริ ปาณินท์ และวันดี พินิจวรสิน สำรวจเมื่อ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) (น.182)
- รูปลักษณ์ของเรือน แม่ติ่งคำ คำวงใส เมื่อสำรวจ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) (น.182)
- รูปลักษณ์เรือนเลขที่ 146 หน่วยที่ 5 บ้านหัวห้า เมืองหาดชายฟอง เวียงจันทน์ (น.184)
- ผังพื้นชั้นบน เรือนเลขที่ 146 หน่วยที่ 5 บ้านหัวห้า เมืองหาดชายฟอง (น.184)
- รูปลักษณ์ของเรือนเลขที่ 134 หน่วยที่ 5 บ้านหัวห้า เมืองหาดชายฟอง (น.184)
- ผังพื้นชั้นบนเรือนเลขที่ 134 หน่วยที่ 5 บ้านหัวห้า เมืองหาดชายฟอง (น.184)
- รูปลักษณ์ของเรือนลาวเวียงของลุงลักษณ์กับป้ากร สีบุบผา เลขที่ 5 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (น.185)
- แผนผังชั้นบนเรือนเลขที่ 53 หมู่ 8 ตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (น.185)
- รูปลักษณ์ของเรือนลาวเวียงของลุงเฉลิม สิงห์พิทักษ์ เลขที่ 46 หมู่ 6 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (น.186)
- แผนผังชั้นบนเรือน เลขที่ 46 หมู่ 6 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (น.186)
- รูปลักษณ์ของเรือนลาวแง้วของนายบุญช่วย วงษ์ษา เลขที่ 13 หมู่ 11 บ้านตาลเสี้ยว ตำบลหนองแก อำเภอพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (น.187)
- ผังพื้นชั้นบนเรือนเลขที่ 31 หมู่ 11 บ้านตาลเสี้ยว ตำบลหนองแก อำเภอพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (น.187)
- รูปลักษณ์ของเรือนลาวแง้วของนายบุญเลิศ วงษ์ศรี เชขที่ 32 หมู่ที่ 11 บ้านตาลเสี้ยว ตำบลหนองแก อำเภอพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (น.187)
- ผังพ้นชั้นบนเรือนเลขที่ 32 หมู่ 11 บ้านตาลเสี้ยว ตำบลหนองแก อำเภอพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (น.187)
- ผังพื้นชั้นบนในอดีตของเรือนลาวแง้วของนายบุญช่วย วงษ์ษา เลขที่ 31 หมู่ 11 บ้านตาลเสี้ยว ตำบลหนองแก อำเภอพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (น.188)
- แสดงรูปลักษณ์ของเรือน และอิทธิพลเรือนไทยผนวกศิลปะจีน (น.188)
- แสดงพื้นที่ใช้งานภายใน เซีย และโถงเรือน แสดงให้เห็นส่วนที่เป็นห้องนอน ส่วนพะไลที่ปรับเป็นส่วนนอนและครัว (น.189)
- แสดงเรือนลาวแง้วที่ได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยแบบประเพณีแบบเรือนจั่วแฝด ทั้งรูปลักษณ์และองค์ประกอบของเรือน (น.189)
- แสดงบันไดทางขึ้นเรือน การใช้พื้นที่โล่งภายในและการใช้พื้นที่ใต้ถุนเรือน (น.190)
- แสดงบันไดเรือน ห้องพระและครัว (น.190)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 ก.ย. 2564
TAG ลาวแง้ว, ลาวเวียง, เรือนลาว, เรือนไทยประเพณี, รูปลักษณ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง