สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มิติทางวัฒนธรรม, การปรับตัว, กลุ่มชาติพันธุ์ชอง, จังหวัดจันทบุรี
Author โสวัตรี ณ ถลาง, กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้, สุดารัตน์ รอดบุญส่ง
Title มิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ชอง ตัมเร็จ สำแร, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 19 Year 2556
Source วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย.) 2556 หน้า 37-55
Abstract

ชอง กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมมีวิถีการดำรงชีพผูกพันอยู่กับป่า โดยเฉพาะการรวมกลุ่มกันทางสังคมในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี บริเวณทิวเขาสอยดาวและเขาคิชฌกูฎ อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์จึงปรากฏในลักษณะของการพึ่งพิงธรรมชาติ เห็นได้จากการเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ เก็บของป่า ความเชื่อเกี่ยวกับภูติผีและการแสดงออกทางภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรรักษา กระทั่งการเข้ามาของยุคสมัยใหม่ได้เปลี่ยนโฉมหน้าวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่จำต้องรับเอาวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาผสมผสาน ปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเอง แนวโน้มการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในอนาคต จึงมีลักษณะของการพยายามสร้างพื้นที่ทางสังคม สร้างความร่วมมือจากทุกระดับ ทั้งจากคนในและคนนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ รวมถึงประเพณีและภาษา ได้รับการอนุรักษณ์และถ่ายทอดสู่รุนหลังและเป็นที่ยอมรับในสังคมได้

Theoretical Issues

การศึกษามิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านความเป็นชาติพันธุ์ตามบริบทแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสำคัญ  โดยมีอัตลักษณ์เป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นตัวตน รวมถึงการเชื่อมโยงตนเองออกสู่สังคมภายนอกที่นำไปสู่การถกเถียงอภิปรายในมิติเชิงอำนาจและสิทธิของชุมชนชาติพันธุ์ หากสังคมใดหรือชุมชนใดไม่สามารถสะท้อนความเป็นตัวตนของตนเองให้เด่นชัด อาจถูกเบียดขับทางวัฒนธรรมจนกลายเป็นวัฒนธรรมชายขอบ การถูกผสมผสาน กลืนกลายและสูญสลายเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชองที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ (น.39)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาชองจัดอยู่ในกลุ่มตระกูล ออสโตร-เอเชียติค ภาษาชองเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษร สำหรับภาษาชองนี้ ผู้ที่ไม่รู้ภาษาเขมร เมื่อได้ยินชาวชองพูดกันมักจะเข้าใจว่าเป็นภาษาเขมร เพราะมีเสียงคล้ายกัน ทั้งนี้ภาษาชองเป็นการนำภาษาไทยกับภาษาเขมรมารวมกันเป็นภาษาชอง สังเกตได้ชัดจากการเรียกสิ่งของบางอย่างตรงกับภาษาไทย

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2553 โดยใช้เวลาศึกษา 12 เดือน

History of the Group and Community

กลุ่มชาติพันธุ์ชองเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย จากหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ พบบริเวณจังหวัดระยอง ตราด และจันทบุรี ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีขาวชองในบริเวณจังหวัดระยองแล้ว ส่วนในจังหวัดตราดคงเหลืออยู่น้อยมาก สำหรับในจังหวัดจันทบุรีกลุ่มชาติพันธุ์ชองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ 1 ในจำนวน 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี (ชาติพันธุ์ชอง ชาติพันธุ์จีน ชาติพันธุ์ญวน ชาติพันธุ์กุหล่า และชาติพันธุ์เขมร) มีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับป่าเขาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาสอยดาว เทือกเขาคิชฌกูฏ ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองนั้น ได้ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณอักษรในตำนานแห่งเมืองจันทบูร ซึ่ง “จัทรบูร” เป็นชื่อเมืองดั้งเดิมของเมืองจันทบุรี หมายถึง เมืองแห่งพระจันทร์ มีนัยยะความหมาย คือ ความสงบร่มเย็นเป็นสุข เมืองจันทบูรเป็นเมืองโบราณปรากฏอยู่ในพงศาวดารสมัยสร้างกรุงศรีอยุธยา แต่เริ่มสร้างเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่ชัด หากแต่มีหลักฐานใน หนังสือฝรั่งเศสชื่อ “แคมโบช” ว่ามีบาทหลวงได้พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤตที่ตำบลสระบาป โดยมีข้อความว่า เมื่อ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว มีเมืองหนึ่งชื่อว่า “คอนคราบุรี” (หรือที่เราเชื่อกันว่าคือ เมืองจันทบูร หรือจันทบุรีในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่ มีอาณาเขตกว้างขวาง ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสระบาป ชาวพื้นเมืองเดิมมีเชื้อชาติ “ชอง” (น.39-41)

Settlement Pattern

จากตำนานทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวชองไม่ซับซ้อน เป็นไปแบบเรียบง่าย ภายใต้เงื่อนไขของป่าธรรมชาติ บริเวณเขาคิชฌกูฏและเขาสอยดาว ในอดีตสามารถเดินเท้าข้ามไปหากันได้ ทำให้มีการถ่ายโอนสมาชิกชาวชองระหว่างสองฝั่งของเทือกเขาจนเกิดการรวบรวมเชิงชาติพันธุ์เป็นระบบเครือญาติ ปัจจุบันเทือกเขาดังกล่าวเป็นเทือกเขาที่ถูกทำให้กลายเป็นของหน่วยงานราชการและบางส่วนเป็นของนายทุนรายใหญ่ ดังนั้นระบบเครือญาติที่เชื่อมต่อกันโดยทางเท้าผ่านข้ามเทือกเขานี้จึงถูกตัดขาดจากกัน มีเพียงการคมนาคมทางถนนเท่านั้นที่เป็นเส้นทางใหม่ในการติดต่อถึงกัน
         
การตั้งถิ่นฐานของชาวชองในจังหวัดจันทบุรี มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อมีคนภายนอกเข้ามาอยู่อาศัยร่วมด้วย โดยในระยะแรกคนภายนอกที่ย้ายเข้ามาอยู่เป็นข้าราชการหรือผู้ที่มีฐานะทำให้เกิดภาวะของอำนาจที่นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของชาวชอง ผนวกกับวิถีชีวิตบนวิถีแห่งเทือกเขาและการเป็น “ชาวป่า” ที่ต้องเปลี่ยนไปเมื่อได้รับการผลักดันจากส่วนราชการ ไม่ว่าจะโดยปัจจัยทางด้านกฎหมาย ข้อบังคับที่ทำให้ชาวชอง ซึ่งเป็นประชาชนคนไทยตามกฎหมายต้องปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่พยายามที่จะปฏิเสธสภาวะเหล่านั้นด้วย

เดิมการแบ่งจัดสรรประโยชน์ที่ดิน ชาวชองมักใช้แนวเนินดินหรือแนวต้นไม้เป็นตัวแบ่งเขตแดน ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบร้าง กระทั่งเข้าสู่ยุคการพัฒนา นายทุนเริ่มมาในพื้นที่ส่งผลให้เกิดการตั้งถิ่นฐานใหม่ ๆ ชาวจีนและไทยเข้าไปจับจองที่ดินทำสวนปลูกผลไม้ ยางพารา จึงเริ่มประสบปัญหาสิทธิ์ในที่ดิน ปัจจุบันชาวชองย้ายครัวเรือนมาสร้างชุมชนเป็นหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอโป่งน้ำร้อนและยังมีความพยายามที่จะอยู่ติดกับต้นแม่น้ำของเทือกเขาสอยดาวให้มากที่สุด เนื่องจากยังสามารถเข้าป่าไปดูแลป่ากระวานและสมุนไพรในป่าตามที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษได้ (น.42)
         
สถาปัตยกรรมบ้านเรือนเมื่อครั้งยังตั้งถิ่นฐานอยู่กลางเทือกเขานั้น ลักษณะเรือนยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2.0 เมตร จะใช้บันได 3 ขั้น หรือ 5 ขั้น เพื่อกันสัตว์ร้ายในยามค่ำคืน ตัวบ้านจะสร้างเป็น 3 ระดับ ส่วนชานบ้าน กลางบ้าน และส่วนในบ้านที่กั้นเป็นห้องนอน ส่วนใหญ่จะกั้นเพียงห้องเดียวใช้ไม้ไผ่สับแตกๆ ที่เรียกว่า ฟาก เป็นอุปกรณ์กั้นห้อง รูปบ้านจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุในการก่อสร้างบ้านที่สำคัญ คือ ไม้ไผ่ และไม้อื่นๆ จากป่าเท่าที่จะหาได้ เรือนชาวชองมีลักษณะเป็นเรือน “เครื่องผูก” เพราะทุกส่วนของบ้านที่ต่อกันจะใช้วิธี ผูกมัดด้วยหวาย หรือเชือกที่ได้จากการทุบเปลือกของต้นไม้ที่มีความเหนียวและยาวพอ เช่น เปลือกของต้นชงโค เป็นต้น สภาพสถาปัตยกรรมแบบของชองปัจจุบันมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามสมัยนิยม (น.43)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของครอบครัวชาวชองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามระบบเศรษฐกิจในระดับสังคม เมื่อรูปแบบการทำงานหรืออาชีพเปลี่ยนแปลงไป ระบบสังคมที่สร้างภาระรายจ่ายสูงขึ้นต่อครัวเรือนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ในระดับชุมชนยังมีการนำของไปแบ่งปันกัน แต่มิได้แลกเปลี่ยนกัน (โดยการชั่ง ตวง วัด) บางครั้งอาจมีของติดไปขอแลกเปลี่ยนบ้าง แต่ไม่ได้ใส่ใจในสาระของการแลกเปลี่ยนแบบของแลกของ เนื่องจากชาวชองเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีการใช้เงินมากขึ้น ได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน (น.45)

Social Organization

ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบประกอบด้วยเทือกเขาสองลูก พื้นที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งอำเภอคิชฌกูฏ และอำเภอโป่งน้ำร้อน อดีตเดินเท้าข้ามไปมาหาสู่กันได้ จึงเกิดการถ่ายโอนสมาชิกชาวชองระหว่างสองฝั่งของเทือกเขาจนเกิดการรวบรวมเชิงชาติพันธุ์เป็นระบบเครือญาติ ปัจจุบันแม้ระบบเครือญาติไม่ได้ไม่ได้เชื่อมต่อกันโดยทางเท้าผ่านเส้นทางเทือกเขานี้แล้ว การรักษาสายสัมพันธ์ทางครือญาติยังคงอยูในบริเวณเดียวกันเป็นส่วนมาก หากมิได้แต่งงานย้ายถิ่นไปอำเภออื่นในๆ  

Belief System

สำหรับประเพณีบางประเพณีที่มีอยู่ก็เปลี่ยนแปลงและถูกกลืนกลายโดยวัฒนธรรมหลักของ สังคมไทย ซึ่งประเพณีที่ยังคงเหลือเด่นชัด มีดังนี้ 
เดือนยี่ถึงเดือนห้า (ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน) ประเพณีเผาข้าวหลาม ซึ่งประเพณีนี้จะกระทำหลังจากเกี่ยวข้าวในนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ละครัวเรือนจะสลับกันเผาข้าวหลาม เมื่อเผาแล้วก็จะนำไปแจกจ่ายเพื่อแบ่งปันกันกินในหมู่บ้าน ทำให้ประเพณีเผาข้าวหลามมีระยะเวลาหลายเดือน

เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก (เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม) จะเป็นประเพณีการเล่นผีหิ้ง และผีโรง ซึ่งปีหนึ่งจะทำพิธีเพียงครั้งเดียว
         
เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด (นับแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึง ตุลาคม) เป็นช่วงฤดูกาลทำนา และหาของป่าให้มากที่สุดและนำไปขายในเมือง จึงไม่มีการละเล่น และประเพณีต่างๆ

เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง (ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม) ประเพณีตำข้าวเม่า  ซึ่งเป็นประเพณีเอาแรงกัน ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่หนุ่มสาวจะจีบหรือชอบพอกันและจะมีการสู่ขอถึงขั้นแต่งงานกัน  (น.47)

Health and Medicine

ภูมิปัญญาสมุนไพรของชาวชอง ถูกใช้ในการรักษาอาการเจ็บไข้เป็นเบื้องต้น หากอาการไม่ทุเลาลงจำเป็นต้องให้หมอบูรณ์หรือหมอผีประจำชุมชนทำพิธีบนบานศาลกล่าว จุดธูป ขอขมาลาโทษ เพื่อทำการบูรณ์ทำพิธีเรียกหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและจะต้องแก้ไขอย่างไรหากไม่แน่ใจสามารถทำการบูรณ์อีกครั้งได้ สำหรับหมอบูรณ์บางคนสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องนำคนไข้มา เพียงแต่ให้ตั้งขันครูมาเท่านั้น

ปัจจุบันภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคยังคงปรากฏอยู่ แต่เปรียบเสมือนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สมุนไพรรักษายังคงสามารถหาเก็บได้จากป่าเขา แต่ต้องเป็นคนที่มีความรู้เรื่องการผสมตัวยา ผู้ที่มีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่ในวงจำกัด

รูปแบบการรักษาอีกรูปแบบหนึ่งคือ การนวด ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การนวดจับเส้นหรือนวดสลักเส้น เพื่อแก้อาการเจ็บปวดเส้น หรืออาการเส้นยึดต่าง ๆ (น.46)

Folklore

ตำนานเมืองจันทรบูร
ในหนังสือฝรั่งเศสชื่อ “แคมโบช” ว่ามีบาทหลวงได้พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤตที่ตำบลสระบาป โดยมีข้อความ เมื่อ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว มีเมืองหนึ่งชื่อว่า “คอนคราบุรี” (หรือที่เราเชื่อกันว่าคือ เมืองจันทบูร หรือจันทบุรีในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวาง ตั้งอยู่ที่เชิงเขาสระบาป ชาวพื้นเมืองเดิมมีเชื้อชาติ “ชอง” โดยมีเรื่องเล่าว่า เคยมี กษัตริย์ผู้ครองนครโบราณ (ชื่อนครไม่ปรากฏแต่เป็นเมืองเชิงเขาสระบาป) มีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าพรหมทัต (หรือพระเจ้าบริพงศ์วงศ์สุริยฆาต) มีพระโอรส 2 พระองค์ พระนามว่า พระไวยทัต และพระ เกตุทัตแต่พระเอกอัครมเหสีได้สิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าพรหมทัตได้อภิเษกพระมเหสีพระองค์ใหม่พระนามว่า “พระนางกาไว” (ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม และทรงมีเชื้อสายชอง จนบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นเชื้อสายชองในจังหวัดจันทบุรี) และเป็นที่โปรดปรานยิ่งนัก จนกระทั่งมีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์ พระนางจึงมีพระประสงค์ให้พระโอรสของตนขึ้นครองราชย์ จึงทูลขอให้พระเจ้าพรหมทัตให้ส่งพระโอรส ทั้ง 2 ไปสร้างบ้านเมืองใหม่ในท้องที่ทุรกันดาร ทางเหนือแดนต่อแดน (เขตอำเภอโป่งน้ำร้อนในปัจจุบัน ซึ่งมีชาวชองอยู่จำนวนมาก) เมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต พระนางจึงนำบุตรของตนขึ้นครองราชย์ ด้วยยังทรงพระเยาว์อยู่ นครแห่งนี้จึงถูกเรียกขานตามชื่อของพระมารดาว่า “เมืองกาไว” เมื่อเรื่องราวรู้ถึง พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ของพระเจ้าพรหมทัตจึงยกทัพมาตีหวังเอาเมืองคืน แต่สู้กำลังไม่ได้ จึงไปทูลขอกำลังจากกษัตริย์ขอมที่นครธมให้มาช่วยรบและสัญญาว่าจะแบ่งเมืองให้ กษัตริย์ขอมจึงรีบส่งไพร่พลมา กองทัพครั้งนี้ได้ยกทัพมาตั้งพลับพลาพักพลอยู่นอกเมือง ตำบลที่พักพลนี้จึงชื่อว่า “ตำบลพลับพลา” ครั้ง นี้เริ่มศึกสงครามโดยการส่งคนเข้าไปเจรจา แต่ไม่สำเร็จจึงเกิดการสู้รบกัน พระนางกาไวเห็นท่าไม่ดีจึงหนี โดยขนทรัพย์สินขึ้นหลังช้างที่เพนียต (ปัจจุบันเป็นวัดเพนียตที่มีสภาพร้าง) แล้วเปิดประตูทางตอนใต้หนี ไป แต่ก็ถูกติดตามจนพระนางเห็นว่าจวนตัวจึงนำเอาเพชร พลอย ทองออกมาหว่านจนทั่วบริเวณ เพื่อล่อให้ทหารข้าศึกมัวพะวงกับการเก็บทรัพย์นั้น แล้วรีบหนีลงเรือไปสถานที่พระนางหว่านทรัพย์สินนั้น ปัจจุบันนี้ชื่อว่า “วัดทองทั่ว” (น.40-41)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์ชองมีลักษณะทางกายภาพรูปร่างสันทัด สูงประมาณ 5-5.5 ฟุต เมื่อเทียบกับชนชาติอื่นถือว่ามี รูปร่างไม่ค่อยสูง โดยเฉพาะเพศชายนั้นถือได้ว่าตัวเล็ก ผมหยิกขอดติดหนังศีรษะ ใบหน้าเหลี่ยม คางเหลี่ยม ขากรรไกรกว้าง สีผิวเข้มออกดำแดง ทั้งผู้หญิงและผู้ชายชาวชองจะมีลักษณะของโครงกระดูกด้านหลังยกขึ้นสูงไม่ต่ำราบ (ดูจากไหล่และสะบัก) เมื่อเทียบกับคนทั่วไป ลักษณะกล้ามเนื้อตั้งแต่สะบักถึงเอวจะมีกล้ามเนื้อที่นูนแผ่กว้างเต็มทั้งแผ่นหลัง ร่องกระดูก สันหลังลึก ด้วยลักษณะทางกายภาพนี้เองทำให้นักมานุษยวิทยาจัดให้กลุ่มชาติพันธุ์ชองอยู่ในกลุ่ม ชาติพันธุ์ตระกูลเขมรและมอญ (Mon Khmer) ซึ่งถูกบรรจุเป็นสาขาย่อยของกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูล ออสโตร-เอเชียติค (Austro-Asiatic) (น.41)

ในอดีตอาชีพหลักของชาวชอง คือ การหาของป่าล่าสัตว์และการล่องแพลากซุงมาลงแม่น้ำ (แม่น้ำจันทบุรี) เพื่อนำไม้ในป่าไปขายในเมือง รวมถึงประเภทไม้หอมซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ไม้จันทน์ ไม้กฤษณา ที่มีมากบริเวณเทือกเขาสอยดาว เครื่องเทศและสมุนไพรต่าง ๆ เช่น กานพลู เร่ว สมอ พลูสี เครื่องยาต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันยาง หวาย ชัน หนังสัตว์ ซึ่งในปีหนึ่งจะล่องแพและนำสิ่งของไปขายในเมืองเพียงครั้งเดียว ประมาณเดือนกันยายน-เมษายน เนื่องจากเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำมีเพียงพอสำหรับล่องแพ หากน้ำในแม่น้ำแห้งต้องเดินทางด้วยเกวียนซึ่งเป็นหนทางยากลำบากและใช้เวลาเดินทางมากกว่า อาหารของชาวชองมีรูปแบบเรียบง่าย ปรุงขึ้นแค่พอกับการรับประทานในแต่ละมื้อเท่านั้น อาหารหลัก คือ ข้าวเจ้า ทานคู่กับ น้ำพริก (มีลักษณะเป็นพริกโขลกรวมกับเกลือ เคียงกับผักชนิดต่าง ๆ เท่าที่จะหาเก็บได้บริเวณบ้านหรือในป่า เช่น ผักกูด ผักปรัง เป็นต้น ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ขึ้นอยู่กับว่าจะได้เนื้อสัตว์ประเภทใด ปัจจุบันอาชีพที่กล่าวมาได้เลือนหายไปจากสังคมชาวชองแล้ว เหลือไว้เพียงหลักฐานบางชนิด อาทิ ขวานปูลู อุปกรณ์ดักสัตว์ เป็นต้น ทำให้ชาวชองหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นคนสวน หรือรับจ้างเป็นเด็กวางลูกกอล์ฟของสนามกอล์ฟสอยดาว ลูกจ้างของหน่วยราชการใกล้ ๆ ชุมชน หรือแม้แต่เป็นผู้นำระดับท้องถิ่น (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) เนื่องจากสภาพแวดล้อมของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพดั้งเดิมส่วนใหญ่จึงอยู่ในคำบอกเล่าและเกิดภูมิปัญญาในอาชีพอื่นๆ ก็ขึ้นมาแทนที่ ขณะเดียวกันอาหารของชาวชองก็เริ่มมีความซับซ้อนตามหลักโภชนาการมากขึ้น ปรับเปลี่ยนตามความนิยมในการรับประทานอาหารที่เห็นกันได้ทั่วไปของจังหวัดจันทบุรี (น.43-45)

Social Cultural and Identity Change

กลุ่มชาติพันธุ์ชองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานตามหลักฐานและตำนานที่ปรากฏ ชองเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีการเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการกลืนกลายผสมผสานกับวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อื่น โดยเฉพาะวัฒนธรรมเมืองจันทบุรีผ่านกระบวนการจัดการศึกษา เทคโนโลยีการสื่อสาร ศาสนา เป็นต้น แม้ชาวชองมีสิทธิและหน้าที่พึงปฏิบัติในฐานะพลเมืองเช่นเดียวกับคนทั่วไป ชาวชองยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับที่ดินเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจน้อยมาก ถูกจำกัดพื้นที่ไม้ให้มีการขยายพื้นที่ป่ากระวานเพิ่มขึ้น อัตลักษณ์บางอย่างไม่สามารถคงเอกลักษณ์เฉพาะเอาไว้ได้ สถานะทางสังคมที่ไม่สูงเป็นเหตุให้ชาวชองไม่มีอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่มีที่ดิน จึงไม่มีเงินทุน เป็นแรงงานรับจ้างในไร่ ธุรกิจภาคเอกชนหรือตามส่วนราชการ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะที่พอจะทำให้สถานะทางสังคมที่ดีขึ้นได้ ภายหลัง พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การพัฒนาตามกระแสทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ กระแสการพัฒนาพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ได้ทำให้นักวิชาการ นักพัฒนาหันกลับมาทบทวนบทบาทของตนเอง หันกลับมาสร้างคุณค่าให้กับชุมชนท้องถิ่น ส่งผลให้ชาวชองเริ่มที่จะมองตัวตนและรื้อฟื้นคุณค่าเดิมของชุมชนทางชาติพันธุ์ให้มากขึ้น พยายามรื้อฟื้น อนุรักษ์ความเป็นชาติพันธุ์ชอง แม้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจาการพัฒนา (น.49-51)

Map/Illustration

- ตารางแสดงปฏิทินประเพณีชาวชองโดยทั่วไป (น.47)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 ก.ย. 2564
TAG มิติทางวัฒนธรรม, การปรับตัว, กลุ่มชาติพันธุ์ชอง, จังหวัดจันทบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง