สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โส้ โซร ซี,ผู้ไท ภูไท,วิถีชีวิต,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Author Seidenfaden, Erik
Title The So and The Phuthai
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ผู้ไท ภูไท, โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 39 Year 2486
Source J.T.R.S. Vol XXXIV Pt. 2, p.143-181
Abstract

โส้ อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพาน ประเทศไทย วิถีการดำรงชีวิตเป็นการล่าสัตว์ และการทำเกษตรกรรม และมีประเพณีการปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะรูปแบบการแต่งงาน ที่จะมีการนำของฝากไปให้กับฝ่ายหญิงและจัดพิธีแต่งงานตามธรรมเนียมแบบดั้งเดิม

สำหรับภูไทในดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย วิถีการดำรงชีวิตเป็นการล่าสัตว์ และการทำเกษตรกรรมเช่นเดียวกันกับโซ่ นับถือศาสนาพุทธ และนับถือผีบรรพบุรุษมีธรรมเนียมในการแต่งงานที่เป็นเอกลักษณ์ และมีพิธีต่อหลังจากการแต่งงานอีกหลายครั้งเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ และแสดงความเคารพครอบครัวฝ่ายหญิง (หน้า 145-161)

Focus

ศึกษาวิถีชีวิตของโส้และภูไท ในแง่มุมของลักษณะทางภายภาพและทางวัฒนธรรม โดยเน้นเรื่องการแต่งงาน และการดำรงชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสังคมตะวันตก

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาติพันธุ์ โส้ และ ชาติพันธุ์ ภูไท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของโส้อยู่ในตระกูลมอญ-เขมร หรือที่เรียกว่าออสโตรเอเชียติค ผู้เขียนยกตัวอย่างคำในภาษาโซ่ ภูไท และเปรียบเทียบความหมายใน ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย (หน้า 163-181)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ถิ่นฐานดั้งเดิมของโส้อยู่ในบริเวณเทือกเขาในประเทศลาว ช่วงสงครามระหว่างอันนัมและไทย เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา (จากปีที่เขียน) โส้ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งขวาหรือประเทศไทย และตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัด นครพนม สกลนคร (หน้า 151) สำหรับชาวภูไทไม่ปรากฏข้อมูล

Settlement Pattern

พวกโส้อาศัยอยู่ในป่าดงดิบ บริเวณสันเขาและแนวเขา บ้านเรือนสร้างอยู่ใกล้เคียงกันแต่ละบ้านมีรั้วไม้กั้น การสร้างบ้านสร้างด้วยไม้ ยกพื้นภายในแบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ สำหรับใช้นอน และทำอาหาร (หน้า 146)

ส่วนภูไทนิยมสร้างบ้านบริเวณโคก ยกพื้น ภายในมีห้องเล็ก ๆ และมีรั้วไม้กันบริเวณบ้าน (หน้า 153 - 154)

Demography

จำนวนประชากรโส้นั้นยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมามีการสำรวจพบว่ามีโส้ประมาณ 70,000 คน ใน สองจังหวัดคือ สกลนครและนครพนม (หน้า 151) สำหรับชาวภูไทไม่ปรากฏข้อมูล

Economy

โส้ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และทำเกษตรกรรม ผู้ชายจะเป็นคนล่าสัตว์และหาปลา โดยใช้ปืน ธนู หน้าไม้ และใช้แห อวน ในการจับปลา ในการทำไร่ ที่ปลูก เช่น น้ำเต้า แตง ข้าวโพด ถั่ว พริกไทย และมะเขือเทศ การทำนา จะใช้แรงงานจากควายในการเตรียมพื้นที่ ภายในหมู่บ้านมีตลาด การซื้อขายสินค้ามีเพียงเล็กน้อย แต่มีการทำทั้งในภายในหมู่บ้านและกับกลุ่มคนภายนอกในส่วนของใช้ที่ไม่สามารถผลิตได้เอง (หน้า 148)

ภูไทดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และทำเกษตรกรรม เช่นเดียวกันกับโซ่ ใช้ปืน หน้าไม้ และ ใช้สวิง อวน แห ในการหาปลา อาหารหลักคือ ข้าว พริกไทยและผักต่าง ๆ พวกเขาดื่มเหล้า สูบยาสูบ สูบฝิ่น และกินหมาก การทำนา ทำไร่ จะใช้แรงงานควาย พืชที่ปลูก เช่น แตง พริกไทย มะเขือเทศ ฝ้าย และมัน เป็นต้น (หน้า 155)

Social Organization

การแต่งงานของโส้ เกิดจากการชอบพอกันระหว่างหนุ่มสาว และเมื่อตัดสินใจที่จะแต่งงานกัน ฝ่ายชายจะมอบของให้กับหญิงที่ตนรัก เรียกว่า ของฝาก และฝ่ายชายสามารถไปหาฝ่ายหญิงในกลางคืนและมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกันได้ วันต่อมาฝ่ายหญิงจะเอาของฝากที่ได้รับไปบอกกับครอบครัวให้รับรู้ และถ้าครอบครัวทั้งสองฝ่ายตกลง การแต่งงานก็จะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากฝ่ายใดเกิดไม่ตกลงฝ่ายหญิงจะต้องคืนของฝาก หากไม่คืนก็จะไม่สามารถแต่งงานกับผู้ชายอื่นได้ ในวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะส่งเทียนและเงิน 5 บาท และข้อความไปยังบ้านฝ่ายหญิง เมื่อสารได้รับการตอบรับจะมีข้อความตอบกลับจากฝ่ายหญิงไปยังบ้านเจ้าบ่าวและส่งตัวเจ้าสาวไปอยู่กินกับเจ้าบ่าว ถือว่าเป็นสามีภรรยากัน หลังจากนี้ไม่เกิน 3 เดือนฝ่ายชายจะต้องส่งหมาก พลูและไปเยี่ยมครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความเคารพ นับถือครอบครัวฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงกระทำเช่นเดียวกับครอบครัวฝ่ายชายเช่นเดียวกัน ภายหลังการแต่งงาน ภรรยาจะต้องเคารพสามีและผู้อาวุโสภายในบ้าน ในขณะเดียวกัน สามีจะต้องประพฤติตนดีและไม่ทุบตีหรือใช้วาจาที่รุนแรงกับคนในครอบครัว การหย่าร้างจะเกิดขึ้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการอยู่ด้วยกัน ผู้ที่ต้องการแยกทางจะต้องให้เงิน 20 บาทเป็นการทดแทน การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม ครอบครัวจะต้องรักและดูแลเหมือนลูกของตัวเอง และเด็กจะต้องนับถือพ่อแม่บุญธรรมมากกว่าพ่อแม่บังเกิดเกล้า การรับบุตรบุญธรรมส่วนใหญ่มี 3 กรณี คือ แม่ของเด็กตายเมื่อคลอด แม่ของเด็กเจ็บป่วยและไม่สามารถดูแลเด็กได้ พ่อแม่ยากจน หรือเด็กต้องการให้อีกครอบครัวเลี้ยงดู แต่อย่างไรก็ตามการรับลี้ยงบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากครอบครัวทั้งสองฝ่าย เด็ก ๆ จะได้รับการดูแลด้านสุขภาพ อาหารการกินอย่างเพียงพอ การเลี้ยงดูเด็กเป็นสิทธิ์โดยตรงของพ่อแม่ สำหรับเด็กผู้หญิงจะไปอยู่ที่อื่นไม่ได้ถ้ายังไม่ได้แต่งงาน ถ้ามีการกระทำผิด ทุกคนในครอบครัวมีหน้าที่ตักเตือนผู้ทำผิด การรับมรดกจะยกให้กับลูกชายเนื่องจากถือว่าลูกสาวแต่งงานและไปอยู่กับครอบครัวสามี (หน้า 148-150) การแต่งงานของภูไท จะเกิดขึ้นโดยฝ่ายชายไปตกลงกับฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะนำของหมั้นมาให้มีค่ามากกว่าสามบาทขึ้นไป เมื่อฝ่ายหญิงรับของหมั้นจะไม่มีสิทธิ์ไปแต่งงานกับชายอื่นอีก ถ้าต้องการแต่งกับชายอื่นจะต้องคืนของหมั้นภายใน 1 ปี ที่ฝ่ายหญิงรับของหมั้นจากฝ่ายชาย ถ้ามีคนในครอบครัวเจ็บป่วย หมอผีจะถูกเชิญมายังบ้านและถ้าสาเหตุของโรคเกิดจากจะมีการแต่งงาน จะต้องทำพิธีขับไล่ผี โดยฝ่ายชายจะต้องส่งของตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้องสำหรับช่วยงาน เมื่อเสร็จพิธีครอบครัวฝ่ายชายจะถามถึงฝ่ายหญิงสำหรับไปเป็นลูกสะไภ้ของครอบครัวตน และจะมีการจัดเตรียมการแต่งงานขึ้น ในการแต่งงานจะมีการจัดเตรียม ตระกร้าใส่ข้าวสุก หมาก ใบไม้มงคลนำมายังบ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า เครื่องโอม เมื่อฝ่ายหญิงรับเครื่องโอมจะส่งกลับ ฝ่ายชายจะส่งมาอีกครั้ง หลังจากรับเครื่องโอมครั้งนี้จะต้องนำตัวเจ้าสาวส่งให้เจ้าบ่าว ในขณะเดียวกันฝ่ายเจ้าบ่าวจะคอยจัดเตรียมเรือนหอไว้ให้พร้อม ฝ่ายหญิงจะช่วยในการจัดเตรียมเครื่องเรือน เมื่ออยู่ด้วยกัน 10-30 วันแล้ว จะมีการจัดเตรียมพิธีไหว้ผีของครอบครัวฝ่ายหญิง เรียกพิธีแปลงออก เป็นการแยกหญิงออกจากครอบครัวเดิม และต่อไปฝ่ายหญิงจะนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายชาย นอกจากนี้ยังมีพิธีต่อเนื่องจากการแต่งงานอีก 7 ครั้ง ซึ่งหากฝ่ายชายไม่ต้องการทำจะขอให้รวบพิธีทั้งหมดทำพร้อมกันในพิธีแต่งงาน โดยแต่ละพิธีมีชื่อเรียกว่า "ฟะซู" กินกาว กินดอง กินชวด หมูถมรอย ชาปกนกชาฮม และ ควายฝูกถุน รวมแล้วใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะเสร็จสิ้นงานทั้งหมด ถ้าคู่สามีภรรยาตายลูกหลานจะต้องรับทำพิธีสืบทอดต่อไป มีการยกเว้นได้ถ้าไม่มีลูกหลานสืบต่อ (หน้า 155-159)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

โส้นับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่มีพระในหมู่บ้านแต่ในทุกบ้านจะมีภาพ หรือพระพุทธรูปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ช่วงเดือน 3-4 ของทุกปีจะมีการเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ไม่มีการนับถือผี ไสยศาสตร์ (หน้า 148 -150)

ภูไทนับถือศาสนาพุทธมีวัดเล็ก ๆ ใกล้หมู่บ้าน ในช่วงเวลาเย็นพระสงฆ์จะเข้าทำพิธีในโบสถ์ นอกจากนี้ยังมีการนับถือผีบรรพบุรุษโดยสืบทอดทางฝ่ายบิดา จะมีพิธีในการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ โดยฆ่าควายหรือ หมู มาเซ่นไหว้ (หน้า 160)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

โส้เมื่อมีการเจ็บป่วยจะรักษาโดยการใช้สมุนไพรและรากไม้ (หน้า 150) ไม่มีข้อมูลของภูไท

Art and Crafts (including Clothing Costume)

โส้มีการผลิตงานหัตถกรรม เช่น การทอเสื่อ และจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครัวเรือน สำหรับงานทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ช่างไม้ ทำเกลือ โซ่ไม่สามารถผลิตได้ การแต่งกายผู้ชายจะใส่เสื้อสีดำ กางเกงขายาว ทำด้วยฝ้าย ผู้หญิงจะใส่เสื้อสีดำ และนุ่งผ้าซิ่น ในงานเทศกาลสำคัญจะใส่ผ้าที่ทำด้วยไหม และผู้หญิงจะใส่เครื่องประดับ เช่น กำไล ต่างหู ทำงาน เงิน ทองแดง ทองเหลือง เป็นต้น (หน้า 147-148)

การแต่งกายของภูไท ชายนุ่งผ้าขาวม้า และเสื้อสีดำ ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น เสื้อ และห่มผ้าแถบ ทำจากฝ้าย ชายนิยมสักตามขาเหนือเข่าขึ้นมาจนถึงลำตัว ผู้หญิงนิยมสักเป็นรูปดอกไม้และรวงข้าว บริเวณท้อง (หน้า 153 - 154) มีเครื่องดนตรีทำจากไม้ไผ่ เช่น แคน ปี่ และมีการร้องรำ เรียกว่า ลำลาว (หน้า 159)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ลักษณะทางกายภาพของโส้ จะมีรูปร่างสันทัด สูงประมาณ 140-160 เซนติเมตร ใบหน้ารูปไข่ จมูกเล็กแบน ปากสีเข้ม ริมฝีปากบนและล่างเท่ากัน ตาสีน้ำตาลเข้มและตาขาวมีสีออกเหลือง ผิวแดงคล้ำ ผู้ชายตัดผมสั้นเกรียน และนิยมสักตั้งแต่เข่าขึ้นมา สำหรับผู้หญิงนิยมสักเฉพาะลายดอกไม้ รวงข้าว ที่บริเวณท้อง

ลักษณะทางกายภาพของภูไทย ส่วนใหญ่มีรูปร่างดี และมีผิวสีดำแดง สูงประมาณ 140-160 เซนติเมตร ริมฝีปากล่างหนากว่าริมฝีปากด้านบน ตัดผมสั้น ผมมีสีดำแดง บางคนมีผมหยิกธรรมชาติ ตาสีดำ ตาขาวเป็นสีเหลือง (หน้า 152)

Map/Illustration

รูปหญิงสาวภูไท (หน้า 144)

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG โส้ โซร ซี, ผู้ไท ภูไท, วิถีชีวิต, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง