สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปะโอ, ต่องสู้, จอง, สะเทิม, สังฆิกวิหาร
Author อิสริยะ นันท์ชัย, โชติมา จตุรวงค์
Title สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอ (ต่องสู้) ในประเทศไทย และเมืองสะเทิม
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ปะโอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 24 Year 2562
Source วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2562) หน้า 8-31
Abstract

จอง หรือ วิหาร อาคารที่สำคัญที่สุดภายในวัด เป็นอาคารอเนกประสงค์อันประกอบด้วยหลายส่วนสำคัญ เช่น พระพุทธรูป ส่วนโถงกลางสำหรับประกอบศาสนพิธี ซึ่งงานสถาปัตยกรรมจองวัดปะโอในภาคเหนือตอนบนของไทยและเมืองสะเทิม พม่าตอนล่าง ถูกสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 บทความนี้จึงเป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมวัดศรีรองเมือง วัดม่อนปู่ยักษ์ จังหวัดลำปาง วัดหนองคำ จังหวัดเชียงใหม่และวัดนันตาราม จังหวัดพะเยา เปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมวัดปะโอ เมืองสะเทิมในพม่าตอนล่าง ได้แก่ วัดเยาง์ไวน์ วัดเร็บอินเจาง์ โดยพบว่า สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอมีลักษณะคล้ายกันในความเป็นอาคารอเนกประสงค์ แต่จะมีข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย ตามแต่สภาพภูมิประเทศ ศิลปกรรมพื้นถิ่น สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามงานสถาปัตยกรรมจองวัดได้แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ สถานะทางสังคม รวมทั้งการมีตัวตนแห่งที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอได้อย่างชัดเจน

Focus

มุ่งเน้นศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสถาปัตยกรรมจองวัดปะโอในช่วงปลาย พ.ศ. 2411-2497 (คริสตวรรษที่ 19-20) ในบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งตรงกับสมัยปลายราชวงศ์คองบองของพม่าจนถึงพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และสมัยรัชกาลที่ 4-5 โดยศึกษาสถาปัตยกรรมวัดศรีรองเมือง วัดม่อนปู่ยักษ์ จังหวัดลำปาง วัดหนองคำ จังหวัดเชียงใหม่และวัดนันตาราม จังหวัดพะเยา เปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมวัดปะโอ เมืองสะเทิมในพม่าตอนล่าง ได้แก่ วัดเยาง์ไวน์ วัดเร็บอินเจาง์ วัดนัตโจนเจาง์ (น.11-12)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ

History of the Group and Community

จากตำนานการสร้างอาณาจักรล้านนาในช่วง พ.ศ. 1839-2068 ชี้ให้เห็นว่าชาวปะโอเข้ามาค้าขายในล้านนาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นใน พ.ศ. 2428 หลังจากอังกฤษเข้ายึดครองพม่าและถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย ทำให้ชาวปะโออพยพเข้ามาในหัวเมืองล้านนาเพิ่มมากขึ้น ใน 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก โดยสารรถไฟจากเมืองมัณฑะเลย์ลงทางเมืองย่างกุ้งใช้เส้นทางรถยนตร์มาถึงเมืองมะละแหม่ง เส้นทางที่สอง จากเมืองมัณฑะเลย์ข้ามแม่น้ำสาละวินเข้าสู่แม่ฮ่องสอนและเดินทางมายังบริเวณภาคเหนือตอนบนของไทย

ชาวปะโอส่วนใหญ่ที่เข้ามามีทั้งทําการค้าขายอย่างอิสระระหว่างรัฐภายใต้สนธิสัญญาเบาว์ริง และส่วนหนึ่งเป็นแรงงานในบังคับอังกฤษที่เข้ามาเป็นแรงงานป่าไม้และเฮดแมนในการทําการค้าไม้สักระหว่างเจ้าผู้ครองนครตามหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนา  ชาวปะโอเข้ามามากขึ้นหลังจากการทําสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ 2 ใน พ.ศ. 2426 ซึ่งเป็นสัญญาแก้ไขปัญหาสัมปทานป่าไม้ ระหว่างเจ้านายล้านนากับคนในบังคับอังกฤษ โดยมอบอํานาจแก่สยามให้เป็นผู้ทําสัมปทานป่าไม้แทนเจ้าครองนครทั้งหลายที่ผูกขาดอํานาจดังกล่าวมาโดยตลอด ซึ่งผลของการทําสนธิสัญญาดังกล่าว ทําให้บริษัทอังกฤษเริ่มเข้ามาหาประโยชน์จากดินแดนป่าไม้ในล้านนามากขึ้น ชาวปะโอที่เข้ามาหลังจากการทําสนธิสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ 2 จัดเป็นชาวปะโอรุ่นที่ 2 ซึ่งนอกจากชาวปะโอแล้วยังมีแรงงานชาวไทใหญ่ กะเหรี่ยง และพม่าอีกด้วย โดยต่อมากลุ่มแรงงานเหล่านี้ได้พัฒนาเป็นพ่อค้าไม้สักในภาคเหนือ

ปะโอในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนถูกจัดให้เป็นปะโอดอย ส่วนใหญ่มักอพยพมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า เช่น ในเขตอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน บ้านห้วยมะเขือส้ม บ้านหมอกจําแป้ และในเขตอําเภอขุนยวม พบว่าคนปะโอและคนไทใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจํานวนมาก นอกจากคนปะโอดั้งเดิมที่เข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงการทําสัมปทานป่าไม้แล้ว ยังมีคนปะโอที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อีกด้วย และเริ่มทยอยเข้ามาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นชุมชนชาวปะโอและไทใหญ่ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย (น.12-16)

Economy

การประดับตกแต่งภายในจองวัดปะโอ ถือเป็นการแสดงถึงสถานะทางเศรษฐกิจของผู้อุปถัมภ์วัดเช่นกัน โดยการประดับตกแต่งภายในจองนั้นมีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น เทคนิคการประดับกระจก เทคนิคการแกะไม้ เทคนิคปูนปั้น เทคนิคการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง (น.23) ซึ่งสถาปัตยกรรมวัดปะโอในพม่าตอนล่างอาจสร้างด้วยช่างพื้นถิ่น ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเท่าคนปะโอในภาคเหนือที่เข้ามาเป็นคนในบังคับของอังกฤษซึ่งมีความร่ำรวยจากการค้าไม้สัก การประดับตกแต่งและขนาดของอาคารจึงค่อนข้างแตกต่างกันตามฐานะทางเศรษฐกิจพอสมควร (น.28)

Belief System

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้อพยพมายังจังหวัดแม่ฮ่องสอนจำต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมพื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ จึงทำให้ซึมซับวัฒนธรรมและปรับวิถีชีวิตแบบไทใหญ่และจำเป็นต้องซ่อนความเป็นตัวตนของชาติพันธุ์ปะโอ เช่น การให้สัญชาติ ในปี พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้สำรวจประชากรชาติพันธุ์และการให้สัญชาติ ชาวปะโอจำนวนมากบอกว่าตนเองเป็นชาวไทใหญ่ เพราะคนปะโอเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศไทย หากบอกว่าตนเป็นชาวปะโออาจทำให้เกิดปัญหาต่อการเดินทางและการรักษาพยาบาลได้ แต่ปัจจุบันมีการแสดงตัวตนมากขึ้น เห็นได้จากการจัดงานวันชาติปะโอ ทุกวันที่ 10 มีนาคม ของทุกปี เรียกเป็นภาษาปะโอว่า “แด่นสีหล่าบ่วย” หมายถึง วันเพ็ญเดือนมีนาคม เป็นวันที่สุริยะ จันดา กษัตริย์องค์แรกของชาวปะโอสิ้นพระชนม์ การจัดงานเทศกาลนี้เพื่อต้องการแสดงความมีตัวตนของชาติพันธุ์ตนเองผ่านงานเทศกาลประจำชนชาติของตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนปะโอและคนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นมักจะใช้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ประเพณีทางพุทธศาสนาของคนปะโอและชาวไทใหญ่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น ประเพณีปอยส่างลองและจุดบั้งไฟเพื่อขอฝน ประเพณีซ่อมต่อ (น.16)

นอกจากนี้ยังปรากฏความเชื่อข้อห้ามบริเวณพื้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานที่มักห้ามเพศหญิงเข้าไปภายในบริเวณนั้น นักมานุษยวิทยาได้ให้คำอธิบายถึงปรากฏการณ์ในสังคมพุทธศาสนาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “ความไม่เท่าเทียมของหญิงชายเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น ซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกประเภทตามความเชื่อพระพุทธศาสนา” เช่น ผู้หญิงไม่สามารถบวชได้  อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการแบ่งแยกความเท่าเทียมของชายหญิงก็ไม่ได้สร้างความแตกแยกให้กับสังคม โดยผ่านการยอมรับของสตรีด้วยความเชื่อโลกนี้และโลกหน้า โดยมักปรากฏคําจารึกกัลปนาเพื่อพระพุทธศาสนาที่มักจะอธิษฐานว่า ขอให้เกิดใหม่ เป็นเพศชายจะได้บวชในพระพุทธศาสนาจึงจะมีโอกาสเข้าถึงพระนิพพาน (น.21)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอ จองหรือวิหาร หรือบ้น หรือพนจีจองนั้น เป็นอาคารที่สำคัญที่สุดภายในวัด ลักษณะเป็นอาคารอเนกประสงค์ที่ประกอบด้วยพื้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ประกอบศาสนพิธี และที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์ หอฉัน และพื้นที่ซักล้างหรือแม้แต่ห้องน้ำ ซึ่งจากการสำรวจจองวัดปะโอในบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย นำมาเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมวัดปะโอในเมืองสะเทิม พม่าตอนล่าง พบว่าจองของวัดเยาง์ไวน์เจาง์ไดก์ในเมืองสะเทิมมีความเชื่อมโยงทางด้านรูปแบบกับจองวัดศรีรองเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีลักษณะคล้ายกันหลายประการทั้งรูปแบบหลังคาที่เห็นได้ชัด และตัวอาคารที่เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงและชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ทั้งนี้จองบริเวณภาคเหนือตอนบนของไทยและเมืองสะเทิมพม่าตอนล่างนิยมสร้างหลังคาซ้อนชั้นแบบยวนทัดงาชิน (หลังคาจั่วซ้อนกัน 5 ชั้น) และหลังคาทรงเอมทอ (หลังคาทรงมนิลา) แบบยกคอสองของอาคาร 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น หากแต่ไม่พบหลังคาทรงปราสาทในจองวัดปะโอทั้งสองพื้นที่

ในเรื่องทิศที่ตั้งของอาคารนั้นแตกต่างกัน โดยอาคารจองวัดปะโอในภาคเหนือตอนบนมักจะสร้างระเบียงอาคารทางด้านทิศใต้ตามแบบอย่างความเชื่อของไทย พระพุทธรูปภายในจองวัดจึงประดิษฐานทางด้านทิศเหนือ แต่ที่เมืองสะเทิมมักสร้างระเบียงอาคารและบันไดทางขึ้นทางด้านทิศเหนือ ตามความเชื่อการปลูกเรือนของชาวมอญ เพราะบริเวณพม่าตอนล่างมีฝนตกชุกและเป็นเขตมรสุม พระพุทธรูปในจองวัดจึงมักประดิษฐานทางด้านทิศใต้ โดยพระพุทธรูปประธานทั้งในภาคเหนือตอนบนและพม่าตอนล่างส่วนใหญ่มักเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยและแบบศิลปะมัณฑะเลย์ นิยมประดิษฐานพระพุทธรูปตั้งแต่ 2-5 องค์ ทางทิศเหนือหรือทิศใต้

การประดับตกแต่งภายในจองวัดได้รับอิทธิพลมาจากการประดับกระจกตามแบบราชสำนักมัณฑะเลย์ โดยนิยมประดับกระจกสีสันหลากหลาย เห็นได้จากเสาภายในหรือบริเวณฝ้าเพดานบริเวณภาคเหนือตอนบน ส่วนในเมืองสะเทิมพบเห็นไม่มากนักและกำลังจะสูญหายไป ภาพวาดภายในจองวัดปะโอในเมืองสะเทิมเป็นลายพรรณพฤกษาแบบเรียบง่าย และมีลักษณะของลวดลายคลี่คลายมากกว่าวัดปะโอในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยที่มักเขียนลวดลายพรรณพฤกษาที่สลับซับซ้อน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะปัจจัยการเกิดสถาปัตยกรรมปะโอในสองพื้นที่มีความแตกต่างกันด้วยสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ คนพม่ามักรู้จักกันในนามของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่องสู้ โดยชาวพม่าให้ความหมายว่า คนภูเขา (hill people) แต่ชาวปะโอไม่ชอบให้เรียกคํานี้เพราะถือว่าเป็นคําไม่สุภาพ แต่ชอบให้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนว่า ปะโอ มากกว่า โดยที่มาของคำว่า ปะโอ นั้นมีหลายข้อสันนิษฐาน

ผู้รู้ชาวปะโอ ได้อธิบายว่า ปะโอ มาจากคําว่า ป้ออู ซึ่งคําว่า “ป้อ” แปลว่า เกิดขึ้น “อู” แปลว่า ก่อนใคร ดังนั้นจึงหมายถึง ผู้ที่เกิดก่อนใคร

อีกข้อสันนิษฐานคำว่า ปะโอ มาจากคำว่า “ผะโอ่” แปลว่า ผู้อยู่ป่า เพราะคำว่า “อู่” แปลว่า อยู่ ในภาษาไทย เมื่อคนปะโออพยพมายังล้านนา คนล้านนาเรียกว่า ต่องตู่ ตามคนไทใหญ่ ต่อมาเพี้ยนเป็น ต่องสู้ และในสมัยอาณานิคม ชาวอังกฤษเรียกพวกเขาว่า กะเหรี่ยงดำ เพราะผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอมักแต่งกายด้วยสีฟ้า สีดำหรือสีเข้ม (น.9-11)

Map/Illustration

- บรรยากาศบริเวณเส่งดงพยาเจาง์ (Queen Sein Don Monastery) เมืองมะละแหม่ง เมืองท่าโบราณที่สำคัญของประเทศพม่า ปี 2560 (น.9)
- แผนที่เส้นทางการเดินทางของกลุ่มชาติพันธุ์จากพม่าซึ่งเป็นคนบังคับของอังกฤษเข้ามาบริเวณภาคเหนือตอนบน (น.13)
- ผังพื้นแสดงให้เห็นถึงการแบ่งพื้นที่ผังภายในจอง (น.18)
- สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอในภาคเหนือตอนบนของไทยและในเมืองสะเทิม พม่าตอนล่าง (น.19)
- ผังพื้นจองวัดปะโอบริเวณภาคเหนือตอนบนของไทย และเมืองสะเทิมในพม่าตอนล่าง (น.23)
- การประดับกระจกภายในจองวัดปะโอบริเวณภาคเหนือตอนบนของไทยและเมืองสะเทิมในพม่าตอนล่าง (น.24)
- การแกะสลักไม้ประดับภายในจองวัดปะโอบริเวณภาคเหนือตอนบนของไทยและเมืองสะเทิมในพม่าตอนล่าง (น.25)
- ปูนปั้นรูปเทวดาบริเวณทางเข้าห้องเจ้าอาวาสวัดเร็บอิน เมืองสะเทิม ประเทศพม่า (น.26)
- ภาพจิตรกรรมภายในจองวัดปะโอบริเวณภาคเหนือตอนบนของไทย และเมืองสะเทิมในพม่าตอนล่าง (น.26)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 01 ต.ค. 2564
TAG ปะโอ, ต่องสู้, จอง, สะเทิม, สังฆิกวิหาร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง