สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject บีซู, เชียงราย, ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา
Author องอาจ อินทนิเวศ
Title ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity บีซู บี่สู บีสู่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยมหิดล, Thai Journals Online (ThaiJO)
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 12 Year 2561
Source วารสารเพลงดนตรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มี.ค. – ส.ค.) 2561 หน้า 16-27
Abstract

กลุ่มชาติพันธุ์บีซูได้เดินทางอพยพเรื่อยมากระทั่งส่วนหนึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดเชียงราย ก่อนกระจายตัวไปตั้งหมู่บ้านในหลายพื้นที่ อย่างบ้านปุยคำ ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุดราว 400 คน ขณะเดียวกันผู้ศึกษาได้เลือก บ้านดอยชมภู ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่หลักในการเก็บข้อมูล ปรากฏการณ์องค์ความรู้เกี่ยวกับด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์บีซูที่เกิดขึ้นในกิจกรรม ประเพณีของชุมชน โดยลักษณะของดนตรีที่นำมาใช้สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ 1.วงดนตรีสำหรับแห่ครัวตาน 2.วงเพลงขับร้อง ซึ่งลักษณะดนตรีทั้งสองประเภทได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานอัตอักษณ์ ตัวตนและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์บีซูไว้อย่างแนบเนียน

Focus

เป็นการศึกษาองค์ความรู้ด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์บีซู

History of the Group and Community

จากเอกสารหลักฐานมีการสันนิษฐานว่าชาวบีซูมีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบบริเวณสิบสองปันนาหรือทางตอนใต้ของประเทศจีน จากนั้นได้อพยพลงมาอาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่ากระจายตัวอาศัยทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว และเวียดนาม 

Settlement Pattern

กลุ่มชาติพันธุ์บีซูในจังหวัดเชียงรายตั้งถิ่นฐานอาศัยแยกกันอยู่ 3 หมู่บ้าน โดยเริ่มตั้งหมู่บ้านแรกที่บ้านดอยชมภู หมู่ 7 ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว เป็นบ้านหลัก จากนั้นจึงกระจายตัวไปตั้งหมู่บ้านอื่น ๆ  คือ บ้านปุยคำ หมู่ 14 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง และบ้านแดง (ผาจ้อ) หมู่ 10 ต.สันกลาง อ.พาน และบ้านดงตะเคียน ต.เจริญเมือง อ.พาน 

Demography

พบในจังหวัดเชียงรายประมาณ 700 กว่าคน
บ้านดอยชมภู หมู่ 7 ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ประมาณ 200 คน
บ้านปุยคำ หมู่ 14 ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย ประมาณ 400 คน
บ้านดงตะเคียน ต.เจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย ประมาณ 10-20 คน

Belief System

กลุ่มชาติพันธุ์บีซู เป็นชนที่มีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา กิจกรรมประเพณีของชุมชนจึงมีความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
พิธีกรรมสำคัญ
1.พิธีอางจาววาย พิธีบูชาเทพที่สถิตในหอเสื้อบ้านที่คอยปกปักษ์คุ้มครองคนในหมู่บ้านให้ปลอดภัย เป็นพิธีกรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มี ปู่ตั้ง ที่ได้รับการแต่งตั้งด้วยการเสี่ยงทายให้เป็นผู้ดูแลหอเสื้อบ้าน จะเป็นผู้กำหนดวันและเป็นผู้นำพิธี โดยพิธีนี้จะทำปีละ 3 ครั้ง ตามการนับเดือนของชาวบีซู ครั้งแรกเดือน 4 (ก.พ. - มี.ค.) เดือน 8 (พ.ค. - มิ.ย.) และเดือน 12 (ต.ค. - พ.ย.) ตามลำดับ ชาวบ้านในชุมชนจะนำเครื่องสังเวย เช่น ไก่ต้มสุกทั้งตัว เหล้าพื้นบ้าน ธูปเทียน มาร่วมทำพิธีเพื่อไหว้ขอพร เสื้อบ้าน ให้ดูแลปกปักษ์ตนเองและครอบครัวให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

2.พิธีตามลามลาม ยาง เป็นพิธีเสี่ยงทายเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บให้กับคนในชุมชน โดยมีพ่อหมอเป็นผู้ทำพิธี เป็นความเชื่อที่ว่าการเจ็บป่วยอาจเกิดจากการถูกผีป่ากระทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้นพ่อหมอจะเป็นสื่อกลางในการเจรจาต่อผีป่าให้ยกโทษและรักษาการเจ็บป่วยนั้น ๆ โดยการเลี้ยงอาหารและขันตั้งเพื่อใช้เรียกขวัญ และท่อนไม้ยาว 1 วา ใช้เป็นอุกรณ์ในการเสี่ยงทาย

3.พิธีอู่ปู่ม เป็นพิธีถวายลูกให้กับหอเสื้อบ้าน หลังจากคลอดบุตรจะต้องทำมาพิธีอู่ปุ่ม เพื่อแสดงว่าบุตรคนนี้เป็นคนของชุมชน บุตรคนนี้จะมีหน้าที่เป็นแรงงานคอยช่วยเหลือกิจกรรม ประเพณีของชุมชน ทั้งนี้ถือเอาบุตรชายคนแรกเท่านั้น

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในอดีตสมัยบรรพบุรุษมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด มีชื่อเรียกในภาษาบีซู ว่า “เป้” สายทำจากเหล็กหลายสาย ตัวเครื่องทำจากกล่องไม้ ปัจจุบันไม่มีเครื่องดนตรีชนิดนี้แล้ว เหลือเพียงซากชิ้นส่วนเครื่องดนตรี ตามคำบอกเล่ามีลักษณะเป็นซากส่วนปลายของเครื่องดนตรี ที่มีลักษณะเป็นแท่งโค้งคล้ายคันธนู ทำจากไม้เนื้อแข็ง ติดหมุดสำหรับใช้ขึงด้วยสาย จำนวนหลายหมุด สันนิษฐานกันว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเตหน่ากูของชาวกะเหรี่ยง

ปัจจุบันลักษณะของดนตรีที่นำมาใช้ในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1.วงดนตรีสำหรับแห่ครัวตาน วงดนตรีที่ใช้บรรเลงแห่สิ่งของเข้าวัดในประเพณีประจำปี วันสำคัญต่าง ๆ และกิจกรรมตามความเชื่อของชุมชน วงแห่ครัวตานของกลุ่มชาติพันธุ์บีซูใช้เครื่องดนตรีในการบรรเลงและบทเพลงคล้ายกับการบรรเลงของวงแห่ครัวตานในภาคเหนือทั่วไป โดยวงดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู บ้านดอยชมภู มีเครื่องดนตรีที่ใช้แห่ประกอบด้วย กลองมาน กลองตัด โบยง แฉงแลง และโกโละ (กรับไม้)

2.วงเพลงขับร้อง เป็นวงดนตรีของชาติพันธุ์บีซูที่แสดงอัตลักษณ์อย่างชัดเจน มีบทเพลงที่แสดงออกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญา คือ เพลงลาพี ซ่าทอ (เพลงลาบพริก มีเนื้อหาของเพลงกล่าวถึงการทำอาหารประเภทลาบหมูของบีซู) เพลง เผง หงู้ บา บี ซู (เพลงพูดภาษาบีซูกันเถอะ ถูกแต่งขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ชาวบีซู หันกลับมาให้ความสำคัญกับภาษาของตนเองมากขึ้น) วงเพลงประเภทนี้ขับร้องโดยคละชายหญิงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ใช้เครื่องดนตรีประกอบอย่าง ซึง กรับ และกลองป่งโป๊ง

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

อัตลักษณ์ทางภาษา มีการค้นพบว่าภาษาบีซูเป็นภาษาโบราณที่เกิดขึ้นมานานกว่า 3,000 ปี จากการค้นพบของนักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน Jame Matisoffโดยศึกษาภาษาบีซูที่ปรากฏในพงศาวดารจีน ปี พ.ศ. 2344 มีข้อมูลพอสันนิษฐานได้ว่าภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบสิบสองปันนา

ภายหลังจากการอพยพเข้ามาของกลุ่มชาติพันธุ์บีซูถูกกลืนอยู่กับคนพื้นเมืองทั่วไปในจังหวัดเชียงราย บ้างก็ถูกเรียกว่า ลัวะ  แต่เมื่อมีการศึกษาทางด้านภาษาอย่างจริงจัง จึงทำให้ชนกลุ่มนี้เริ่มเป็นที่รู้จัก อีกทั้งเชื่อมโยงกับงานศึกษาด้านอื่นๆ เผยตัวตนและรากเหง้าของชาติพันธุ์บีซูในช่วง 20-30 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งจากการกลืนอยู่กับคนพื้นเมืองตามท้องถิ่นที่อยู่อาศัย จึงทำให้รูปแบบสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ถูกคลี่คลายไปกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การนำเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือเข้ามาปรับใช้ผสานกับเนื้อร้องที่เป็นภาษาบีซูได้อย่างลงตัว 

Social Cultural and Identity Change

กลุ่มชาติพันธุ์บีซูกลมกลืนอยู่กับคนพื้นเมืองมาเป็นเวลานาน จึงได้รับเอาวัฒนธรรมดนตรีของภาคเหนือหรือไตยวนเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมของตนเอง เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเพลงประกอบบทเพลงต่าง ๆ นอกจากนั้นยังได้พัฒนานำภาษาพูดของกลุ่มชาติพันธุ์บีซูผสมผสานเข้าไปในบทเพลงด้วย เพื่อสร้างอัตลักษณ์ทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู และเป็นการถ่ายทอดภาษาของกลุ่มชนให้กับคนรุ่นหลังได้สืบสานผ่านบทเพลงต่อไป

Map/Illustration

- เครื่องดนตรีวงแห่ครัวตานของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู (น.18)
- วงแห่ครัวตานบีซู (น.18)
- วงเพลงขับร้องของกลุ่มชาติพันธุ์บีซู (น.19)
- ลักษณะการดีดซึงของชาวบีซู (น.20)
- กลองมาน (น.21)
- ลักษณะการยืนตีกลองมานของชาวบีซู (น.21)
- โกโละ (น.22)
- แผนที่ตั้งชุมชนบีซู บ้านดอยชมภู หมู่ 7 ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย (น.26)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 ก.ย. 2564
TAG บีซู, เชียงราย, ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง