สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การทำนายด้วยกระดูกไก่, ชาติพันธุ์, เชียงราย
Author พลวัฒ ประพัฒน์ทอง
Title การทำนายชีวิตด้วยกระดูกไก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, ม้ง, ปลัง คาปลัง, ปกาเกอะญอ, จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 24 Year 2556
Source วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย.) 2556 หน้า 1-24
Abstract

ไก่บ้าน เครื่องมือที่สะท้อนภาวะความเป็นอยู่เรื่องการเจ็บไข้ของเจ้าของไก่ ผ่านผีเรือน ผีบรรพบุรุษ ซึ่งความเชื่อเรื่อง “ผี” เป็นความเชื่อดั้งเดิมที่ถูกสร้างให้เป็นรูปธรรมเชิงสัญลักษณ์ ก่อนที่ศาสนาจะเข้ามามีบทบาท ความเชื่อเรื่องผีปรากฏในตำราการทำนายกระดูกไก่ชองชาวลัวะ (ปลัง) บ้านห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เกี่ยวพันถึงความเจ็บป่วยที่เกิดจากผี การเสียขวัญ การเสี่ยงทาย กระทั่งเมื่อมนุษย์ก้าวเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้น ผนวกกับการรับเอาศาสนาเข้ามาแทนที่ การทำนายจึงค่อย ๆ ถูกลดบทบาทลง เหลือเพียงร่องรอยจากการบันทึกเท่านั้น จากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงรายใช้ไก่ทำนายชีวิตในลักษณะคู่ตรงข้าม คือ ดีหรือไม่ดี การเสี่ยงทาย การเปลี่ยนผ่านสถานภาพ แต่ไม่พบการใช้กระดูกไก่ในการทำนายชีวิตในกลุ่มชาติพันธุ์เร่ร่อน และในกลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลไท แต่พบในการทำนายในวรรณกรรมล้านนาที่เป็นการเสี่ยงทายกระดูกไก่แห้งที่เคยเสี่ยงทายมาแล้ว

Focus

ศึกษาการทำนายเกี่ยวกับชีวิตด้วยการใช้กระดูกไก่ในกลุ่มชาติพันธุ์ ลาหู่ ปกากะญอ เย้า ม้ง จีนยูนนาน อาข่า ในจังหวัดเชียงราย โดยศึกษาเปรียบเทียบตำราการทำนายด้วยกระดูกไก่ของกลุ่มลัวะ (ปลัง) กับการทำนายกระดูกไก่ในชีวิตประจำวัน

Theoretical Issues

แนวคิดชีวชาติพันธุ์วิทยา (Bio-Ethnology) เป็นแนวคิดลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติหรือวัฒนธรรมกับธรรมชาติ ที่เกิดจากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และการฟื้นฟูระบบนิเวศ ในทศวรรษที่ 1970 ทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับกลุ่มชาติพันธุ์

ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ ได้มีการนำเอาการศึกษาแบบคนนอกและคนในวัฒนธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานศึกษา ขอบเขตการศึกษาครอบคลุมวัฒนธรรมไปจนถึงระดับยีน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ในมิติวัฒนธรรมเป็นการคัดเลือกและจำแนกประเภทของไก่สะท้อนมาจากการ “ถอดรหัสตำนาน” และการใช้ไก่ในพิธีกรรมซึ่งเป็นเรื่องของจินตนาการในการสร้างวัฒนธรรมเกี่ยวกับพื้นที่และอาณาเขต ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมมีการจัดลำดับทางชีวชาติพันธุ์วิทยาทั้งในแนวดิ่ง (สูง-ต่ำ ดี-เลว ข้างบน-ข้างล่าง) และแนวระนาบ (การจัดพื้นที่ ข้างใน-ข้างนอก) (น.7-8)

Study Period (Data Collection)

ปี พ.ศ. 2547-2553

History of the Group and Community

บริเวณทางภาคเหนือของประเทศไทย แต่เดิมเรียกว่า อาณาจักรล้านนา เป็นพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน (น.4) ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ มีการใช้ไก่ทำนายชีวิตมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ขณะเดียวกันก็ปรากฏหลักฐานพงศาวดารเมืองเชียงตุงบันทึกในปี พ.ศ.2386 เรื่องการทำนายชีวิตด้วยกระดูกไก่ เกี่ยวกับการดูชะตาเมือง ฤกษ์เมือง ลักษณะเมืองในพุทธศตวรรษที่ 19

ปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญอันส่งผลต่อความเชื่อในการทำนายกระดูกไก่ที่แพร่หลายมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นความเชื่อของสังคมระดับเมืองใหญ่นั้น เป็นผลอันสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน ซึ่งเชื่อมโยงกับเหตุปัจจัยต่าง ๆ ทั้งปัจจัยภายในจากการชักชวนของเครือญาติและปัญหาสงคราม ความไม่สงบในพื้นที่ ส่วนปัจจัยภายนอก เป็นยุคของการล่าอาณานิคม ผลกระทบจากสงครามเย็น และความขัดแย้งเรื่องการเมือง จากหลายปัจจัยที่กล่าวมาจึงมีการอพยพต่อเนื่องยาวนานและซับซ้อน ทำให้เกิดการผสมผสานทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อการปรับตัว จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อเรื่องการทำนายชีวิตด้วยกระดูกไก่แพร่กระจายในดินแดนแถบนี้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย (น.4-6)

Settlement Pattern

หมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เดิมเป็นที่ตั้งของกองกำลังกู้ชาติรัฐฉาน (ไทใหญ่) ต่อมากลุ่มนี้ได้สลายตัวไปเนื่องจากผู้นำเสียชีวิต ต่อมาราวปี พ.ศ. 2508 ชาวลัวะ (ปลัง) อพยพมาจากเมืองแจ้ (แช่) สิบสองปันนา มณฑทลยูนนาน เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองได้ทราบข่าวว่ามีชุมชนลัวะ (ปลัง) และชาวไทใหญ่อาศัยอยู่บริเวณห้วยน้ำขุ่น จึงเข้ามาสมทบ จากนั้นกลุ่มไทใหญ่และไทลื้อได้อพยพเข้ามาอีก จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น (น.14)

Demography

บ้านห้วยน้ำขุ่น อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีประชากร 377 คน

Belief System

การทำนายชีวิตด้วยกระดูกไก่เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ พบว่าการใช้กระดูกไก่ในการประกอบพิธีกรรมและการทำนายชีวิตนั้นมีในทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่กลุ่มวัฒนธรรมเร่ร่อน พื้นที่การผลิตทางเกษตรกรรมเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงที่ดิน เมื่อไม่ได้ทำการเกษตรก็เป็นการทำนายการได้งานทำและความเจ็บป่วยเป็นหลัก

มลาบลี ไม่มีการใช้กระดูกไก่ในการทำนายชีวิต แต่มีข้อห้ามไม่ให้กินไก่ เนื่องจากลิ้นเป็นอวัยวะแรกที่สัมผัสของมีพิษ มีการห้ามคนป่วยไม่ให้กินไก่เพราะจะทำให้มีไข้สูงและตายได้

ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) พบว่าไม่ได้มีการทำนายมานานแล้ว แต่ยังคงหลงเหลืออยู่ในความทรงจำในพื้นที่บ้านหินลาดใน ใช้ในการทำนายเรื่องการค้าขายสินค้า

ลาหู่ มีการสืบทอดการทำนายด้วยกระดูกไก่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำพิธีสู่ขวัญผู้เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำนายได้โดยดูรูปกระดูกนี้ดีหรือไม่ดี และยังใช้ในการเริ่มต้นการปลูกข้าวในแต่ละปีว่าจะให้ผลผลิตดีหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับบ้านห้วยกะ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

ม้ง มีพิธีการเรียกผีและฆ่าหมูประกอบการใช้ กระดูกไก่ ในการทำนายว่าดีหรือไม่ดี กรณีที่ยังไม่หายจากอาการเจ็บป่วยจึงทำพิธีเรียกขวัญ ส่วนกระดูกไก่เมื่อทายเสร็จจะทิ้งหรือให้สุนัขกินหรือเก็บไว้ แต่ถ้าหากทำนายออกมาไม่ดี ต้องเริ่มทำพิธีใหม่ นอกจากนี้ยังใช้กระดูกไก่ในการทำนายการแต่งงานว่าเข้ากันได้หรือไม่ ดูเรื่องการขึ้นบ้านใหม่และการเดินทาง

เย้า มีการล่าไก่ป่าในช่วงฤดูผสมพันธุ์ แต่ไม่พบการทำนายด้วยกระดูกไก่ แต่ในพื้นที่บ้านห้วยแม่ซ้าย ซึ่งอยู่ใกล้เมืองพบการทำนายด้วยกระดูกไก่ แต่ไม่มีการล่าไก่ป่า นอกจากนั้นในพิธีกรรมวันเกิด มีการทำพิธีที่ปากทางเข้าหมู่บ้านในตอนเช้า และตอนเย็นมีการทำนายกระดูกไก่โดยหมอกระดูกไก่ ในหมู่บ้านนี้จะมีการทำนายด้วยกระดูกไก่ ในพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เจ็บป่วย การเปลี่ยนผ่านชีวิต ย้ายบ้านใหม่ เดินทางไกล วันสำคัญต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน เช็งเม้ง สารทจีน แต่ไม่มีตำราบันทึกไว้ ปัจจุบันมีคนขอให้ทำนายกระดูกไก่ในเรื่องการเข้ารับราชการอีกด้วย

จีนยูนนาน มีชาวจีนยูนนานจากเมืองโกกั้งในพม่าผู้เดียวที่ใช้กระดูกไก่ในการทำนาย โดยใช้ขาไก่ป่าสีแดงมาดองเหล้า และใช้กระดูกขาไก่ที่ศึกษาด้วยตัวเองทำนายในวันตรุษจีน ไหว้เจ้า แต่ไม่ใช้ไก่ป่าในการทำนาย นอกจากนี้ยังใช้ส่วนอื่นในการทำนายอีกด้วย

อาข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงราย และใช้ไก่ในพิธีกรรมจำนวนมากในช่วงระหว่างปี แต่ไม่มีความสำคัญต่อพิธีกรรมในรอบปีและไม่นิยมทำนายด้วยกระดูกขาไก่ (น.10-13)

สำหรับตำราการทำนายกระดูกไก่ พบว่ากลุ่มลัวะ (ปลัง) บ้านห้วยน้ำขุ่น เป็นแห่งเดียวที่ยังมีตำราอยู่ แต่การทำนายใกล้จะสูญหาย การทำนายจากตำรานั้นแตกต่างจากการการทำนายกระดูกไก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่กล่าวมา การทำนายมีความซับซ้อนและมีจำนวนตัวทายมากกว่า มีการดูกระดูกไก่ เลือด และอากัปกิริยาหลายวิธีและหลายโอกาสในการทำนาย การทำนายลักษณะรูที่กระดูกขาไก่ รูปแบบของกระดูกที่มีไม้ขนาดเล็กเสียบลงไปในรูกระดูกจำนวน 160 รูปแบบ 160 คำทำนาย โอกาสที่จะทำนายด้วยกระดูกไก่นั้นจะเป็นพิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงาน ตรวจดวงชะตา หรือเดินทางไกลโดยเฉพาะเดินทางไปค้าขาย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำกระดูกไก่มาทำนาย ระหว่างขึ้น 1 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ โดยเฉลี่ยหนึ่งคนอาจดูโชคชะตาด้วยกระดูกไก่ 3 ครั้ง/ปี (น.10-16)

Education and Socialization

ตำราการทำนายกระดูกไก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ (ปลัง) เขียนด้วยหมึกดำบนกระดาษสา ขนาด 20*20 เซนติเมตร มีบางคำออกเสียงเป็นภาษาลัวะ จำนวน 7 หน้า เย็บเป็นเล่มด้านบน รวมไว้กับตำราทำนายโชคชะตาแบบอื่น ๆ จึงได้ทำสำเนาและถอดความเป็นภาษาไทยโดย พระมหาอานนท์ เจ้าอาวาสวัดห้วยน้ำขุ่น ตำราเล่มนี้ให้ความสำคัญเรื่องผี การผิดผี การเจ็บไข้ และส่วนท้ายของตำราเป็นคาถาในทางพราหมณ์ (น.14-15)

ในเรื่องผิดผี เป็นความเชื่อที่เป็นกฎเกณฑ์ทางสังคมที่พบโดยทั่วไปในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน เพื่อควบคุมสังคมให้สงบสุข สะท้อนถึงการอยู่ร่วมกัน สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม ลำดับชั้นในสังคม ศีลธรรมจรรยา 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละถิ่นเพียงสั้น ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
กลุ่มชาติพันธุ์มลาบลี บ้านห้วยหยวก ต.แม่ขะนิ้ง อ.เวียงสา จ.น่าน เดิมเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนที่มีวิถีการดำเนินชีวิตในบริเวณชายแดนประเทศไทยและลาว

กลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ บ้านหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ประกอบอาชีพค้าขายสินค้า การเพาะปลูกพืช ใช้การทำนายกระดูกไก่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการทำนายความสำเร็จในการประกอบสัมมาอาชีพและผลผลิตทางการเกษตร

กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ บ้านจะแล ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย ใช้การทำนายกระดูกไก่เพื่อทำนายผลผลิตก่อนเริ่มต้นปลูกข้าวในแต่ละปี อีกทั้งยังใช้ในการประกอบพิธีกรรมสู่ขวัญ

กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านกิ่วกาญจน์ ม.6 ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ยังดำเนินชีวิตแบบเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง ในขณะที่ม้งส่วนใหญ่ได้กลายเป็นคนกลางในการค้าขาย

กลุ่มชาติพันธุ์เย้า บ้านแม่บง ต.โชคชัย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย มีการล่าไก่ป่าในช่วฤดูผสมพันธุ์ ยังประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผี พิธีกรรมการเปลี่ยนผ่านชีวิต ทั้งยังมีการประกอบประเพณีในวันสำคัญอย่างตรุษจีน สารทจีน

กลุ่มชาติพันธุ์จีนยูนาน บ้านวาวี ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หมู่บ้านจีนยูนนานหรือที่เรียกในหมู่คนไทยว่า จีนฮ้อ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เดินทางค้าขายในพื้นที่ระหว่างสิบสองปันนา เชียงตุง เชียงราย เชียงใหม่ ตากและพม่า จีนยูนนานบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม (น.10-13)

Social Cultural and Identity Change

ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทสืบเนื่องจากสังคมเปลี่ยนจากสังคมแบบเก็บของป่าล่าสัตว์และการทำการเกษตรแบบย้ายถิ่นมาเป็นการทำเกษตรที่มีพื้นที่แน่นอน โดยวิถีชีวิตที่เป็นวงรอบปีที่คงที่ ผนวกกับการรับเอาพุทธศาสนาที่เป็นศาสนาของคนเมืองเข้ามาแทนที่การนับถือผีและธรรมชาติ การฆ่าสัตว์นั้นเป็นการผิดศีล การทำนายจึงหมดความนิยมที่เหลือเพียงการนำกระดูกขาไก่แห้งที่เคยเสี่ยงทายมาใช้แทน (น.21)

Critic Issues

กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดเชียงรายใช้ไก่ในการทำนายชีวิต เสี่ยงทาย แต่ไม่พบการใช้กระดูกไก่ในการทำนายในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลไท ที่ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน เช่น ไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน ไทใหญ่ ทั้งที่ตำราที่พบก่อนหน้านี้ระบุว่ากลุ่มชาติพันธุ์ในวัฒนธรรมล้านนาใช้กระดูกไก่แห้งในการทำนายชีวิตได้อีกวิธีหนึ่ง และการทำนายกระดูกไก่ไม่ปรากฏในกลุ่มชาติพันธุ์เร่ร่อน นอกจากนี้ตำราการทำนายด้วยกระดูกไก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ (ปลัง) ถูกนำมาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับการทำนายชีวิตประจำวันที่ไม่ได้ใช้ตำราของแต่ละชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่ตำรานั้นเป็นการทำนายเรื่องความเจ็บป่วย การเสียขวัญ วิธีแก้ แต่เมื่อนำมาสังเคราะห์กับพื้นที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏในคำอธิบายนั้น พบว่าการทำนายเป็นเรื่องของพื้นที่ทางสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่ และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทั้งทางกายภาพและสถานภาพ

Map/Illustration

- ตารางอธิบายเกี่ยวกับอวัยวะของไก่ที่กลุ่มคนต่าง ๆ ใช้ในการทำนาย (น.4)
- ตารางแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ในแขวงเซกองที่ใช้กระดูกไก่ในการทำนาย (น.4)
- ตารางแสดงความเชื่อเรื่องผีที่ปรากฏในตำราทำนายกระดูกไก่ของชาวลัวะ (ปลัง) บ้านน้ำขุ่น

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 22 มี.ค 2565
TAG การทำนายด้วยกระดูกไก่, ชาติพันธุ์, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง