สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กะซองและซัมเร , กลุ่มชาติพันธุ์ , จันทบุรี , ตราด , ภาคตะวันออก , ประเทศไทย , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author วิไล เปรมศรีรัตน์, พรสวรรค์ พลอยแก้ว
Title สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : กะซองและซัมเร
Document Type - Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ซำเร ซัมเร ซำแร สำเหร่, กะซอง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน)Call no. DS570.K36ส75 2548 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063172 Total Pages 32 Year 2548
Source สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล
Focus

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเรื่องราวด้านภาษาและวัฒนธรรมของสองกลุ่มชาติพันธ์ภาษา สำหรับการศึกษาค้นคว้า สร้างความรู้ความเข้าใจและเพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้าใจถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธ์กะซอง และซำเร 

Ethnic Group in the Focus

กะซอง และ ซัมเร เป็นชื่อที่ผู้พูดภาษาทั้งสองใช้เรียกภาษาของตนเอง ทั้งสองกลุ่มถูกเรียกว่า “ชอง”โดยบุคคลนอกกลุ่ม ซึ่งคำว่า “ชอง”ที่จริงแล้วเป็นคำเรียกกลุ่มคนที่พบหนาแน่นในเขตกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งชาวบ้านก็ยอมรับเป็นคำเรียกกลุ่มของตนเองไปด้วยในภาษาไทย (น.6)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากะซองและซัมเร จัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มย่อยของภาษาในสาขามอญ-เขมรตะวันออก และจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันซึ่งใช้คำรวมเรียกภาษาและคนกลุ่มนี้ว่า “เปียร์”ในประเทศกัมพูชา ภาษาในสาขานี้ได้แก่ภาษาชอง ภาษากะซอง ภาษาซัมเร ภาษาซะโอจ (ชุอุง) (น.12)

History of the Group and Community

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวกะซองและชาวซัมเร มีการสันนิษฐานว่าทั้งสองกลุ่มดั้งเดิมทั้งถิ่นฐานบริเวณเทือกเขาบรรทัดในกัมพูชา เก็บของป่าและล่าสัตว์เลี้ยงชีพ เมื่อเกิดสงครามในกัมพูชา จึงอพยพเข้ามตั้งถิ่นฐานเขตชายแดนไทย ซึ่งยังคงเป็นที่ป่ารกร้างห่างไกลจากหมู่บ้าน ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบ่อไร่ ห่างจากชายแดนกัมพูชาประมาณ 5กิโลเมตร 

Settlement Pattern

ชาวกะซองส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล แล้วขยายไปจนถึงบ้านปะเดาในเขตตำบลด่านชุมพล ส่วนชาวซัมเรตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ 3หมู่บ้านในเขตตำบลนนทรีย์ ได้แก่ บ้านมะม่วง บ้านนนทรีและบ้านคลองโอน  จากคำบอกเล่าของทั้งชาวกะซองและซัมเรพวกเขาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว นอกจากนี้ชาวซัมเรยังกล่าวว่าชาว “ชอง” (ชาวซัมเรเรียกกะซองว่า “ซอง”ตามการเรียกของคนไทย) อาศัยอยู่ที่บ้านคลองโอน ติดกับหมู่บ้านของชาวซัมเรตั้งแต่แรกที่ตั้งถิ่นฐาน บริเวณที่ชาวกะซองและชาวซัมเรอาศัยอยู่เป็นที่ราบเชิงเขาและเนินเตี้ยๆ พื้นที่โดยรอบเป็นป่า เหมาะกับการทำการเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ เนื่องจากมีแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดกั้นพรมแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา (น.8)
ในสมัยโบราณชาวกะซองและชาวซัมเรสร้างบ้านที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีการใช้หวายมัดส่วนต่างๆของบ้านเข้าด้วยกัน อุปกรณ์ที่นำมาใช้สร้างบ้านส่วนใหญ่หาได้จากป่าและพื้นที่รอบๆ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ชะมวงนำมาทำเสาบ้าน ไม้ระกำหรือไม้ไผ่ผ่าซีกนำมาทำผนังและพื้น หลังคาจากใบไม้ต่างๆ รูปแบบหลังคามี 2แบบคือทรงแหลมและทรงป้าน ซึ่งทรมแหลมทนทานกว่า ตัวบ้านมีลักษณะเป็นเรือนยกสูงจากพื้นดิน ประมาณ1.00-1.50เมตร บันไดใช้ 3-5ขั้น พื้นที่ใช้สอยแบ่งเป็น 3ส่วน ได้แก่ ส่วนนอกสุดของบ้าน บริเวณนอกชานไม่มีหลังคา ไว้ตั้งโอ่งน้ำสำหรับล้างเท้า ส่วนหน้าของบ้าน เป็นส่วนที่ต่ำกว่าห้องมีหลังคาคลุม สำหรับแขกและทำงานต่างๆ ส่วนกลางของบ้านจะเป็นพื้นที่ว่าง สำหรับวางของจิปาถะ และส่วนในของบ้านกั้นเป็นห้องนอนขนาดเล็ก ไม่นิยมทำหน้าต่าง บ้านแบบโบราณมักมีห้องนอนห้องเดียว นิยมแบ่งส่วนหลังหรือบริเวณข้างๆของบ้านไว้สำหรับทำครัว บางบ้านจะมียุ้งข้าวอยู่หลังบ้านแยกออกไป ในสมัยก่อนการเลือกที่ดินเพื่อปลูกบ้านมีการเสี่ยงทายเพื่อเลือกที่ปลุกบ้านว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยนำข้าวสารและน้ำใส่กะลาวางไว้เป็นชุดๆห่างๆกันแล้วเอาฝาครอบ หากตอนเช้าของยังอยู่ครบแสดงว่าเป็นที่ที่ดีเหมาะกับการปลูกบ้านเนื่องจากไม่มีปลวกและมด (น.9)

Economy

ในอดีตชาวกะซองและชาวซัมเรดำรงชีวิตด้วยการหาอาหารจากธรรมชาติ ได้แก่ ผักผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ รวมถึงมีรายได้จากการขายของป่า เช่น หวาย หน่อไม้ หนังสัตว์ และการเก็บวัสดุจากป่ามาทำจักสาน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่ค่อยมีเงินออม แต่ไม่ค่อยมีหนี้มาก รายได้ไม่แน่นอน บางครอบครัวหาเช้ากินค่ำ ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดลงอย่างมาก ทำให้ชาวกะซองและชาวซำเรต้องหาอาชีพอื่นทำ บางคนก็หันมาทำการเกษตร สมัยก่อนนิยมปลูกมันสำปะหลัง ต่อมาหันมาทำไร่สับปะรด เนื่องจากปลุกครั้งเดียวเก็บผลผลิตได้นาน นอกจากนี้ยังมีผลไม้ยืนต้นที่นิยมปลูกเช่น เงาะ ทุเรียน มะม่วงหิมพานต์ ยางพารา ในแต่ละบ้านยังปลูกข้าวโดยทำนาไร่ปีละครั้งและผักสวนครัวไว้รับประทานอีกด้วย ส่วนคนที่ไม่มีที่ดินก็จะออกไปรับจ้างภายในหมู่บ้าน รับจ้างทำงานในสวนผลไม้ของคนอื่น รับจ้างกรีดยาง ปลูกยาง ซึ่งมีจำนวนมากพอๆกับอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันการหาของป่าและการทำจักสานกลายเป็นอาชีพเสริม  โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตตามหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์ไว้กินและขายบางส่วน รวมถึงเลี้ยงสุนัขไว้ช่วยล่าสัตว์หรือเฝ้าบ้าน (น.10)
ชาวกะซองและชาวซัมเรนิยมรับประทานอาหารแบบง่ายๆ ปรุงไม่ซับซ้อน โดยมากใช้วิธีต้ม แกง ปิ้ง คั่วและผัด อาหารที่ขาดไม่ได้คือน้ำพริกและผักจิ้ม แกงที่นิยมคือแกงเผ็ดไม่ใส่กะทิแบบแกงป่า อุปกรณ์ในการทำอาหารแบบโบราณใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่น หม้อดิน จวักไม้ ช้อนทำจากใบสับปะรด กะลาไว้ใส่แกง ขันดื่มน้ำทำจากกะลาหรือสำริด หวดหินเผา น้ำเต้าแห้งสำหรับใส่น้ำดื่ม กระชอนสานจากต้นคลุ้ม เตาไฟทำจากหิน 3ก้อน ครกและสากทำจากไม้สำหรับตำข้าว เป็นต้น นอกจากอาหารหลักแล้ว ชาวกะซองและชาวซัมเรยังนิยมการดื่มเหล้าและสูบยาเส้น ผู้ชายจะดื่มเหล้ามากกว่าผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีสูตรการกลั่นเหล้าของตนเอง ชาวซัมเรบางคนจำสูตรและวิธีในการต้มเหล้าแบบโบราณได้  งานประเพณีต่างๆจะต้องมีการเลี้ยงเหล้าและใช้เหล้าในการเซ่นผี นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มยังนิยมการเคี้ยวหมากทั้งชายและหญิง หมากเป็นสิ่งที่มีประจำบ้าน เมื่อแขกมาบ้านจะเชื้อเชิให้กินหมาก หมากถือเป็นของมงคลใช้ในพิธีขึ้นบ้านใหม่และเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาโรคทั่วไปตามพื้นบ้าน (น.21)

Social Organization

ลักษณะครอบครัวของชาวกะซองและซัมเรมักเป็นครอบครัวเดี่ยว คือ พ่อ แม่ ลูก ส่วนใหญ่จะมีขนาดครอบครัวประมาณ 5-6คน หากแต่งงานมีบุตรแล้วมักจะแยกกับครอบครัวไปตั้งบ้านใหม่ใกล้ๆกับบ้านเดิม สำหรับลูกที่ไม่แยกจากครอบครัวจะทำหน้าที่ดูแลพ่อแมเมื่อแก่ชราลง การเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ของผู้หญิง แต่ก็ต้องช่วยทำงานเท่าที่ทำได้ เมื่อลูกยังเล็กจะใช้ผ้าขาวม้าสะพายเด็กไว้ด้านข้างของลำตัวเพื่อให้สะดวกต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างครัวเรือนในหมู่บ้านมีลักษณะเป็นแบบเครือญาติและความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจด้วย กล่าวคือมีการช่วยเหลือกันและกันในด้านต่างๆ ชาวซัมเรและชาวกะซองมีนิสัยรักความสงบ และด้วยระบบเครือญาติและความเชื่อเรื่องผีทำให้มีระเบียบในการอยู่ร่วมกัน ภายหลังมีกลุ่มคนอื่นๆ เช่น คนไทย คนจีน เข้ามาก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานวัฒนธรรมและเชื้อสายระหว่างกลุ่มจากการแต่งงานกับคนนอกกลุ่มมากขึ้น (น.11)

Belief System

แต่เดิมชาวกะซองและชาวซัมเร มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับระยะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในชีวิตแบบฉบับเดิมของตนเอง เมื่อมีการติดต่อกับคนไทย ซึ่งมีศักยภาพมากกว่า ทำให้พวกเขารับเอาวัฒนธรรมประเพณีของคนไทยเข้ามา แต่ธรรมเนียมปฎิบัติบางอย่างก็ยังสะท้อนให้เห็นร่องรอยความคิดและความเชื่อแบบเดิมอยู่
ประเพณีการเกิด
สมัยโบราณชาวกะซองและชาวซัมเรทำคลอดโดยหมอตำแยพื้นบ้าน ผู้หญิงหลังคลอดจะต้องเซ่นผีเตาไฟและอยู่ไฟให้ครบ 15วัน ชาวซัมเรนิยมนำรกไปฝังใต้ถุนบ้านเพื่อไม่ให้ขวัญไปไกลตัว ส่วนชาวกะซองนิยมนำรกไปแขวนตามกิ่งไม้เพื่อให้เด็กมีปัญญาแหลมคม ปัจจุบันผู้หญิงตั้งครรภ์จะไปทำคลอดที่โรงพยาบาล ธรรมเนียมการอยู่ไฟจึงยกเลิกไป แต่ยังมีชาวซัมเรบางครอบครัวเมื่อกลับจากโรงพยาบาลจะทำพิธีเซ่นผีซึ เป็นผีที่ชาวซัมเรเซ่นไหว้เมื่อคลอดทารกได้ 15วัน ถึง 1เดือน หากเป็นเด็กชายจะเซ่นไหว้ด้วยไก่ 2คู่ (ไก่ตาย2ตัว ไก่เป็น 2ตัว) เด็กหญิงจะใช้ไก่ 1คู่ โดยนำไส้ไก่พันกับเสา ใช้เลือดไก่เซ่นผีซึ แล้วนำเลือดมาป้ายข้อมือเด็ก ผูกด้ายขวัญแก่เด็ก นอกจากนี้บางครอบครัวมีการร่อนกระด้งเรียกขวัญแก่ทารกด้วย (น.22)

การแต่งงาน
ชาวซัมเรและชาวกะซองยังคงปฎิบัติตามธรรมเนียมโบราณ เนื่องจากมีข้อห้ามไม่ให้หญิงชายมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่บอกกล่าวบรรพบุรุษ ซึ่งถือเป็นการผิดผีอย่างร้ายแรงจะส่งผลร้ายต่อตนเองและครอบครัว การแต่งงานของชาวกะซองในปัจจุบันยังคงเป็นประเพณีแบบโบราณ เมื่อชายและหญิงรักใคร่กัน ฝ่ายชายจะไปห่เถ้าแก่มาสู่ขอตามฤกษ์ยาม เถ้าแก่จะนำดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู ขึ้นไปกราบไหว้ผีของฝ่ายหญิงก่อนเจรจาสู่ขอ จากนั้นพ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะเรียกร้องสินสอดตามฐานะของฝ่ายชาย เมื่อตกลงกันแล้ว ฝ่ายหญิงจะกำหนดวันแต่งงานหรือหมั้นไว้ก่อนได้ หากสู่ขอแล้วแต่งงานทันทีเรียกว่า รักษานอก ถ้าขอหมั้นไว้ก่อนแล้วแต่งภายหลังเรียก รักษาใน การหมั้นโดยการเซ่นผี มีเครื่องเซ่น ดังนี้ ลูกปัด ลูกแหวน กำไล ถ้วยข้าวสาร เงิน 12บาท ผ้าขาว 4ศอก ผ้าถุง 1ผืน เหล้า ไก่ และเงินสินสอดใส่ในขัน แล้วผูกข้อมือว่าที่บ่าวสาว ซึ่งในระหว่างหมั้นฝ่ายชายจะต้องช่วยฝ่ายหญิงทำงานต่างๆ เพื่อให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงดูความประพฤติก่อน แต่จะห้ามนอนค้างบ้านฝ่ายหญิง
เมื่อถึงวันแต่งงานทำพิธีที่บ้านฝ่ายหญิงฝ่ายชายจะเตรียมขบวนขันหมากแห่ไปบ้านของฝ่ายหญิง ขันหมากประกอบไปด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ขนมเปียก ขนมกวนเป็นคู่ ๆ และผ้าไหว้สีขาวจัดไว้เป็นคู่สำหรับคลุมเจ้าบ่าวเจ้าสาวขันใส่เงิน 12 บาทเรียกว่าขันค่าน้ำนมขันเงินขันทองสำหรับใส่สินสอด หวี กระจก แป้ งชามใส่ข้าวสาร ข้าวเปลือก ไก่ต้ม 1 ตัว ลูกปัด กำไล เงินทอง วางไว้บนข้าวเปลือก ขวานปูลู เคียวเกี่ยวข้าว ธูป เทียน ของเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครอบครัวใหม่  ฝ่ายเจ้าบ่าวก่อนที่จะเข้าบ้านเจ้าสาวจะต้องไปเซ่นผีชำสาย (คือผีที่ปู่ย่าตายายของฝ่ายหญิงนับถือผู้หญิงกะซองบางคนก็ไม่มีเชื้อผีชำสายเพราะปู่ย่าตายายไม่ได้รับเชื้อผีนี้) โดยทำเป็นเพิงเล็ก ๆ สร้างไว้หน้าบ้านเจ้าสาวและนำเครื่องเช่นที่เตรียมมาทั้งหมดใส่กระบุงใส่ของสำหรับเช่นผีมีหมอทำพิธีนิยมเรียกว่าหมอหรือครูเซ่นเป็นผู้ทำพิธี (“ หมอ” เป็นผู้ชายที่ได้เรียนคาถามาจากครูคนก่อน ๆ ขณะทำพิธีจะนุ่งผ้าขาวและคาดสายสิญจน์ไว้ที่ศีรษะ) จากนั้นพ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะเชิญขันหมากเข้าบ้าน ในช่วงนี้จะมีการกั้นประตูต่างๆเพื่อความสนุกสนาน
พิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นเมื่อพ่อแม่เรียกเจ้าสาวออกมาเจ้าสาวนำพานใส่หมากพลูมากราบเจ้าบ่าว ฝ่ายหญิงนำสินสอดมาเรียงไว้ พ่อแม่เจ้าสาวบอกผีปู่ย่าตายายว่าฤกษ์ดีงามอย่าได้ทักท้วงจากนั้นตรวจดูสินสอดโดยจุดเทียนส่อง เชื่อว่าผีปู่ย่าตายายจะได้เห็นด้วยสินสอดนี้ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวแบ่งกันคนละครึ่ง จากนั้นหมอทำพิธีป้อนข้าว ไก่ เหล้าแก่บ่าวสาว หมอจะส่งข้าวกับไก่ให้เจ้าบ่าวก่อน เจ้าสาวเอามือไปรองใต้มือเจ้าบ่าวที่กำลังนำอาหารใส่ปาก แล้วสลับมาป้อนเจ้าสาวเจ้าบ่าวก็ต้องทำอย่างเดียวกันป้อนคนละ 3 คำ จากนั้นดื่มเหล้าแก้วเดียวกันให้หมด ต่อมาหมอนำผ้าขาวคลุมศีรษะเจ้าบ่าวเจ้าสาวจับศีรษะชนกันเบา ๆ 3 ครั้งเป็นเคล็ดให้ร่วมกันทำมาหากิน แล้วจึงเอาผ้าคลุมศีรษะออกพ่อแม่และญาติดูดน้ำหวานในไหใบเดียวกันเป็นคู่ เรียกว่าเป็นการกินแรงกินกำลังลูกเชื่อว่าต่อไปลูกหลานจะเลี้ยงดู จากนั้นเถ้าแก่เชิญญาติพี่น้องผูกข้อมือขวาของเจ้าบ่าวและมือซ้ายของเจ้าสาว ขั้นตอนสุดท้ายหมอจะนำเจ้าบ่าวเจ้าสาวไปทำพิธีมอบพะแนก หรือการมอบที่นอน เจ้าสาวจะจูงมือเจ้าบ่าวเข้าห้อง หมอจะนำบ่าวสาวเซ่นผีเรือนในห้องนอนต่างๆของฝ่ายหญิง เพื่อทำพิธีส่งตัวเข้าหอ พ่อแม่เจ้าสาวจะปูที่นอนพร้อมกับพูดภาษากะซองที่กล่าวกันมาตั้งแต่โบราณ ถอดใจความว่า “มึงจะหอมก็หอมไป มึงจะกอดก็กอดไป มึงจะได้กันก็ได้ไป เป็นเมียมึงแล้ว”
 จากนั้นพ่อแม่เจ้าสาวถ่ายของในกระบุงเซ่นผีแบ่งให้แก่หมอ เมื่อเสร็จจากการส่งตัวเข้าหอแล้วเจ้าบ่าวเจ้าสาวออกมาร่วมเลี้ยงอาหารแขก นิยมทำขนมจีนไก่คั่ว เมื่อเสร็จพิธีคู่แต่งงานต้องนอนบ้านผู้หญิง 3 คืนและนอนบ้านผู้ชายอีก 3 คืนจากนั้นจะตัดสินใจว่าจะอยู่ที่บ้านฝ่ายไหนจนกว่าจะแยกครอบครัวออกไป    ส่วนการแต่งงานของชาวซัมเร แต่เดิมปฏิบัติคล้ายกับชาวกะซองต่างกันเฉพาะรายละเอียด แต่ในปัจจุบันการแต่งงานของชาวซัมเรมีการปรับให้เข้ากับฐานะของบ่าวสาวเป็นสำคัญส่วนใหญ่มีฐานะยากจนพิธีกรรมต่างๆจึงกระทำแบบย่นย่อ ของเซ่นไหว้ก็ไม่หลากหลายเหมือนกลุ่มกะซองคงไว้เฉพาะขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเถ้าแก่มาสู่ขอการเรียกสินสอด         ซึ่งส่วนใหญ่เรียกเป็นเงินหรือทองตามแบบคนไทย อาจจะแต่งทันทีหรือหมั้นไว้ก่อน ในวันแต่งงานหมอทำพิธีจะมาเซ่นผีบรรพบุรุษมีการใช้ผ้าขาวคลุมศีรษะบ่าวสาวโขกกันเบา ๆ มีการผูกมือรับขวัญ ฯลฯ แต่ชาวซัมเรไม่มีการเซ่นผีชำสายและผีเรือนยกเว้นผู้ที่แต่งงานกับชาวกะซองจึงจะไหว้ผีดังกล่าวนอกจากการแต่งงานของบ่าวสาวทั่วๆไปแล้ว ชาวกะซองและชาวซัมเรเคยมีการแต่งงานลูกสาวคนโตหรือลูกสาวคนเล็กซึ่งมักจะจัดยิ่งใหญ่เป็นที่เชิดหน้าชูตาเรียกว่า กาตัก หมายถึงงานที่ใหญ่มากมีการสร้างปะรำนอกบ้านมีการแห่มีการร้องรำเฉลิมฉลองครึกครื้นไปทั้งหมู่บ้านพิธีแต่งงานกาตักปัจจุบันยังมีจัดกันในกลุ่มของที่กิ่งอำเภอเขาคิชกูฏจังหวัดจันทบุรี (น.23-24)

การขึ้นบ้านใหม่
เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวกะซองและชาวซัมเร เชื่อว่าการทำพิธีนี้จะช่วยให้คนในบ้านอยู่ดีมีความสุข ทำมาหากินสะดวก นิยมขึ้นบ้านใหม่ในวันจันทร์เพราะเชื่อว่าเป็นวันเสนห์ ยิ่งมีแขกมามากยิ่งดี ของสำหรับประกอบพิธีขึ้นบ้านใหม่ได้แก่ ข้าวสารใส่ถ้วย น้ำใส่ไห ด้าย เหล้า เงิน 12บาท ธูป เทียน เชี่ยนหมากพร้อมหมากพลู บุหรี่ แมวสามสี 1ตัว เครื่องครัวและอาหารที่จำเป็น ในวันพิธีเจ้าภาพและญาติๆจะยกของที่เป็ฯเครื่องหมายมงคลในการขึ้นบ้านใหม่แห่ไปรอบๆบ้าน ร้องเรียกตายายเป็นเคล็ดว่า “บ้านยายตาอยู่เปล่า ลูกหลานมาอยู่กับยายตาช่วยให้ทำมาหากินร่ำรวยด้วยนะ”เมื่อได้ฤกษ์ก็จะขน ข้าว ข้าวสาร เตาไฟ หม้อน้ำ เกลือและแมวขค้นบ้าน (เชื่อว่าแมวทำให้มีโชค) จากนั้นเจ้าของบ้านจะอาบน้ำแต่งตัว นำข้าวของเงินทองแขวนไว้บนบ้าน สุดท้ายครูเซ่นและเจ้าของบ้านจะนำด้ายขาวมัดเสากลางบ้านเพื่อเป็นมงคล เป็นอันเสร็จพิธีจากนั้นก็กินอาหารร่วมกัน สันนิษฐานว่าความเชื่อของคนกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากการเรียนคาถาจากที่อื่น สังเกตจากการมีการสวดคาถาปลุกนางธรณี ท่องคล้ายภาษาบาลีแต่ผู้ท่องเป็นชาวซัมเรได้อาศัยจำมาจากครูที่เคยเป็นสัปเหร่อและเคยบวชมาก่อน ซึ่งความเชื่อเรื่องนางธรณี ฤกษ์ยาม เครื่องราง การตั้งศาลพระภูมิ เป็นความเชื่อของศาสนาฮินดู-พราหมณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อกลุ่มชนในเอเชียอาคเนย์มาตั้งแต่โบราณ การเซ่นนางธรณี ครูเซ่นจะสวดบอกนางธรณีให้อยู่ห่างบ้านเพื่อไม่ให้รบกวนนางธรณี จากนั้นทำน้ำมนต์ แล้วโยนเหรียญหงายด้านหัวเชื่อว่าการทำมาหากินสะดวก หากหงายก้อยจะต้องพลิกด้านหัวขึ้น แล้วดื่มน้ำมนต์และพรมตามตัวเพื่อแก้เคล็ดและเป็นสิริมงคล(น.25)

พิธีตั้งศาล
ชาวกะซองและชาวซัมเรมีการจัดตั้งศาลขึ้นใกล้บริเวณบ้าน แบ่งเป็น 2ลักษณะ แบบแรกศาลที่ตั้งขึ้นตามความเชื่อโบราณน่าจะเป็นศาลไม้ มี 4เสา เป็นที่อยู่ของผีเจ้าที่ คอยคุ้มครองปกป้องคนในบ้าน ที่ตั้งจะต้แงไม่เงาของบ้านทับศาลได้ แบบที่สองมีลักษณะเป็นเสาเดียว ตั้งตามตวามเชื่อของศาสนาฮินดูที่ผสมผสานกับความเชื่อเดิม ส่วนใหญ่แล้วชาวกะซองและชาวซัมเรจะมีศาลเจ้าที่เกือบทุกบ้าน บางบ้านเท่านั้นที่จะมีศาลพระภูมิ นอกจากนี้หลังจากขึ้นบ้านใหม่ เจ้าของบ้านจะตั้งศาลเพื่อเชิญเจ้าที่มาคุ้มครองบ้าน นิยมตั้งศาลในวันพฤหัส ไม่เกิน 11นาฬิกา เซ่นไหว้ปีละ 2ครั้ง คือ ต้นเดือน 6และเดือน 12เครื่องเซ่นประกอบไปด้วย ไก่ 1  ตัว ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เหล้า 1ขวด น้ำหวาน 1คู่ เทียน 2เล่ม และธูป 5ดอก (น.25)

การเล่นผีแม่มด
ชาวกะซองและชาวซัมเรมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณหรือผี <คะมู้จ>ผีที่พวกเขานับถือมากคือ ผีแม่มด เชื่อกันว่าใครที่เข้าป่าแล้วไม่ทำตามกฎเกณฑ์และฝ่าฝืน มักจะถูกผีแม่มดทำให้เจ็บป่วย ต้องให้ร่างทรงผีแม่มดที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หมอ ทำการเข้าทรง วิธีการเข้าทรงต้องเตรียมเทียน 2เล่ม ขันใส่ข้าวสาร จากนั้นร่างทรงจะจุดเทียนเชิญผีแม่มดมาเข้าร่างและใช้เทียนส่องกับฝ่ามือเพื่อทำนายสาเหตุการเจ็บป่วย รวมถึงจัดหาเครื่องเซ่นที่เหมาะสม หากไม่ทำพิธีเซ่นอาจะเจ็บป่วยถึงตายได้โดยญาติของผู้ป่วยจะนำกรวยใบตอง 1คู่และเทียน 7เล่ม บอกกล่าวผีที่ตามมา ขอให้คนป่วยหายไข้ตั้งแต่บัดนี้ เมื่อรับผีแม่มดแล้วจะต้องทำหิ้งไม้ติดไว้ตรงหัวนอนของผู้ป่วยเพื่อเป็นที่อยู่ของผีแม่มด จากนั้นประมาณ1-2วันผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ เมื่อถึงเดือนสามผู้ที่รับผีแม่มดไว้จะต้องทำพิธีเซ่นไหว้เรียกกันว่า “การเล่นผีแม่มด”ปัจจุบันหมู่บ้านชาวซัมเร โดยเฉพาะบ้านมะม่วง ยังคงมีการเล่นผีแม่มดอย่างต่อเนื่องทุกปี ต่างกับชาวกะซองที่ไม่ได้เล่นทุกๆปี แต่ใช้วิธีจุดเทียนบอกกล่าวขอจัดเซ่นไหว้ 3ปีต่อครั้ง การเล่นผีแม่มดที่หมู่บ้านชาวกะซองน้อยลงเรื่อยๆ จากการทิ้งหิ้งผีแม่มดเมื่อคนเฒ่าคนแก่เสียชีวิตลง
หากไม่สามารถเข้าทรงเองได้ต้องทำการจ้างวานผู้อื่นให้เล่นแทน โดยเอาเทียนไป 1เล่ม เหล้า 1กั๊ก ไปเชิญคนเข้าทรง ซึ่งร่างทรงผีแม่มดจะต้แงเป็นคนที่เคยถูกผีแม่มดทำให้เจ็บป่วยและรับผีแม่มดไว้ เป็นคนจิตอ่อน และถ้าจะรับเป็นร่างทรงต้องผ่านพิธีครอบครูจากคนที่เคยเป็นร่างทรงมาก่อน
ปัจจุบันร่างทรงผีแม่มดที่รับทำนายเหลือเพียง 2คนคือนางแย้ รัตนมูล อายุ 80ปีและนางสังวาลย์ รัตนมูล อายุ 68ปี เป็นชาวซัมเร บ้านมะม่วง ส่วนชาวกะซองที่เล่นผีแม่มดครั้งสุดท้ายได้จ้างวานนางแย้ไปเข้าทรงให้ ซึ่งจะต้องมีคนตีกลองด้วย การเชิญคนตีกลองก็ต้องนำเทียนและเหล้าไปเช่นกัน ทั้งร่างทรงและคนตีกลองจะนำเหล้าและเทียนไปบอกกล่าวผีแม่มดที่หิ้งของตน จากนั้นจะนัดหมายญาติหรือเพื่อนบ้านที่จะเล่นให้มาตามวันที่กำหนด จัดเตรียมสถานที่ ปะรำพิธีหรือทำพิธีบนบ้านก็ได้ เตรียมบายศรีและเครื่องเซ่นที่สำคัญ คือ บายศรีปากชามและกะเท่อ 1คู่ และเครื่องเซ่นอื่นๆ ได้แก่ เหล้าขาว ธูป 3ดอก เทียน น้ำหวาน บุหรี่ ยาสูบ หมากพลู ขันใส่ข้าวสารกระจก หวี แป้ง น้ำมันใส่ผม กางเกง ผ้าถุง ผ้าขาวม้า ด้ายสำหรับผูกข้อมือ ไพลสำหรับพ่นเสก นอกจากนี้ยังต้องเตรียมอุปกรณ์อื่นๆที่ผีแม่มดเคยทำและเตรียมเหล้าสำหรับเลี้ยงคนตีกลองและผู้ที่มาร่วมงาน ในอดีตต้มเหล้ากันเอง แต่ในปัจจุบันมักซื้อเหล้าขาวตามท้องตลาด
ขั้นตอนการเล่นผีแม่มด จะเล่นในเวลากลางคืน สามารถเล่นรวมกันหลายราย ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติกัน เจ้าภาพจะเริ่มโดยการจุดเทียนบอกกล่าวผีของตนและเซ่นศาลพระภูมิ แล้วยกถาดเครื่องเซ่นไปร่วมพิธี ณ สถานที่ที่เตรียมไว้ ร่างทรง หรือ หมอ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงสูงอายุ นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าสีพื้นหรือผ้าถุง ไม่นิยมลายเหมือนงูเพราะเชื่อว่าผีแม่มดจะไม่ค่อยเข้า อุปกรณ์ที่สำคัญคือผ้าคล้องคอ นิยมใช้ผ้าขาวม้า เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้ว หมอจะนำขันใส่ข้าวสารมาวางตรงหน้า จุดเทียน 1  เล่ม วนรอบบายศรีแล้ววางไว้ในขันข้าวสาร เอาข้าวสารโยนใส่ถาดเครื่องเซ่น ใช้มือทั้งสองจับขันข้าวสารใช้ผ้าที่คล้องคอคลุมศีรษะ จากนั้นคนตีกลองเริ่มตีจังหวะเจริญครู่เป็นการเชิญผีครูให้มาเข้าตามด้วยจังหวะ ป๊ะเพ่ง ร่างของหมอสั่นตามจังหวะกลองที่รัวถี่ขึ้น คนร้องเพลงเริ่มร้องเพลงอัญเชิญผีมดให้มาเข้าร่าง พอผีเข้าแล้ว มือทั้งสองที่จับขันไว้จะปัดขันออกไป
ในอดีตเคยมีคนเป่าแคนและเป่าขลุ่ยประกอบการเล่นผีแม่มด ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วจึงเหลือเพียงการตีกลองเป็นเครื่องให้จังหวะ กลองที่ใช้มักจะวิ่งกันเองโดยใช้หนังสัตว์มาจึงกลอง แต่จะไม่ใช้หนังงูเพราะผีแม่มดกลัวงู เวลาตีกลองต้องหันก้นกลองให้ร่างทรงมิฉะนั้นผีจะเข้าช้าการตีกลองตีจังหวะตามที่ผีแม่มดขอ (ได้แก่ จังหวะอินจันจังหวะเพลงเดี่ยวเป็นจังหวะแบบเขมรภายหลังเพิ่มจังหวะสามช่าเข้ามาเพื่อความสนุกสนาน) ขณะที่ผีแม่มดสิงร่างทรงจะไม่รู้สึกตัวมีการจิบเหล้าเวียนกับเจ้าภาพ แขกและเต้นตามเสียงกลอง หวีผม ประแป้ง ส่องกระจกและจะทำกิริยาหรือพูดอย่างเดียวกับคนที่เคยถูกผีเข้า เช่นทำท่าตัดหวาย ใช้ปืนส่องสัตว์ หาปลา เจ้าภาพจะพูดคุยกับผีของตนที่อยู่ในร่างทรง ถามไถ่บอกกล่าวว่าเล่นให้แล้วและขอให้ช่วยคุ้มครองตนเองและลูกหลานด้วย ญาติพี่น้องที่มาร่วมพิธีขอให้ร่างทรงผูกข้อมือให้พร้อมกับเสกไพลพ่นเป่าให้
เมื่อได้เล่นกันพอประมาณแล้วผีแม่มดก็จะออกจากร่างทรง เมื่อวิญญาณผีแม่มดดวงแรกออกไปแล้วก็เชิญวิญญาณผีแม่มดดวงอื่นมาเข้าร่างอีกจนกว่าผีของเจ้าภาพมาเล่นครบหมดทุกราย ตอนผีจะออกจากร่างทรงคนตีกลองจะตีกลองจังหวะตุ้งกลักหลังจากนั้นเจ้าภาพจะนำเครื่องเซ่นไปวางไว้บนหิ้ง ด้วยเหล้าหรือน้ำหวานตามความชอบของผีนั้น ๆ ตั้งไว้ 3 คืนแล้วจึงจุดเทียนบอกว่าครบคืนครบวันแล้วจึงนำเครื่องเซ่นไปทิ้ง การเล่นผีแม่มดเป็นพิธีที่ยึดถือเป็นประเพณีแล้วยังถือว่าเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคมอีกด้วย เพราะพิธีกรรมเช่นนี้มีบทบาทสำคัญช่วยให้สมาชิกของชุมชนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันโดยมีความเชื่อเรื่องนี้เป็นกลไกในการควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ใครทำผิดจากคำสอนของบรรพบุรุษผีก็จะทักท้วง ทั้งยังโอกาสพิเศษที่สมาชิกจะได้มาร่วมกันประกอบพิธีกรรมและร่วมสนุกสนานรื่นเริงกัน(น.26-28) 

กิจกรรมในรอบปี
อาชีพและกิจกรรมต่างๆที่ชาวกะซองและชาวซัมเรปฎิบัติในแต่ละปีนั้นจะสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ สามารถสรุปเป็นปฎิทินวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ได้ดังนี้ เดือนเมษายน มีวันตรุษสงกรานต์ เป็ฯวันขึ้นปีใหม่ มีประเพณีรดน้ำให้ผู้สูงอายุ เดือนพฤษภาคม ช่วงหน้าฝน มีการหว่านข้าว ประเพณีเซ่นศาลเจ้าที่ ศาลพระภูมิ ไหว้ผีเรือน เดือนมิถุนายน มีการดำนา ไถนา ปลูกพืช เดือนกรกฎา-สิงหาคม ทำนา ทำสวน ทำไร่ เดือนตุลาคม ช่วงปลายฝน เก็บเกี่ยวผลผลิต วันออกพรรษาทำข้าวเม่าและกระยาสารท เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เข้าไร่ เข้านา เกี่ยวข้าวและฟาดข้าว เดือนมกราคม เก็บเกี่ยวเสร็จ นวดข้าว เทศกาลเผาข้าวหลามกิน หาหวายสะเดาและหวายพวนในป่า เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม หน้าแล้ง เข้าป่าหาของป่า ประเพณีเล่นไหว้ผีแม่มด (น.29)

Health and Medicine

สาเหตุหลักของการเจ็บป่วยในสมัยก่อนเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตป่าดงดิบ ติดแนวเทือกเขาบรรทัด มียุงชุกชุมโดยเฉพาะยุงก้นปล้องซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อมาลาเรีย การคมนาคมไม่สะดวกและหน่วยแพทย์อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน จึงต้องรักษาตามความเชื่อของตนด้วยวิธีการต่างๆ คือการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคที่พบตามพื้นบ้าน ได้แก่ โรคมาลาเรีย บาดทะยัก อาการปวด กระดูกหัก ฟกช้ำ ท้องเสีย ท้องผูก ไข้ทับระดู ไข้เส้น เป็นต้น แต่ในปัจจุบันสมุนไพรหายากเนื่องจากป่าถูกถางเพื่อทำการเกษตร หมอสมุนไพรที่มีอยู่ก็มีจำนวนน้อย สูตรและคาถากำกับยาก็ไม่มีการจดบันทึกจากบรรพบุรุษ จึงทำให้ถูกลืมเลือนไปบ้าง อีกวิธีหนึ่งคือการรักษาโดยหมอคาถา ซึ่งผู้ที่รักษาจะต้องเคยเป็นโรคนั้นๆมาก่อนและเรียนรู้คาถามาจากผู้รู้หรือครู ภายหลังจากการรักษาจะต้องเซ่นไหว้ครู ด้วยเงิน 12บาท ผ้า เหล้าขาว กล้วย มะพร้าว หมาก เป็นเครื่องเซ่นครูผู้สอนคาถา โรคที่มักใช้การพ่นคาถาเสกหมากหรือไพล เช่น พ่นพิษงู งูสวัด เริม ท้องป่วง นอกจากนี้การป่วยที่มาจากถูกผีกระทำจะต้องรักษาด้วยเซ่นไหว้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันชาวกะซองและชาวซัมเรรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น แต่หากรักษาด้วยแผนปัจจุบันไม่หายก็จะกลับไปใช้วิธีการรักษาแบบดั้งเดิม(น.20)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เดิมชาวกะซองและซัมเรไม่มีวัฒนธรรมการทอผ้าใช้เอง สมัยรุ่นปู่ย่าตายายยากจนมาก ต้องขอกระสอบจากชาวบ้านมาเย็บด้วยทางสับปะรดเพื่อปกปิดร่างกาย ผู้ชายจะใช้พียงกระสอบชิ้นเล็กๆคาดระหว่างขาเหมือนผ้าเตี่ยว ผู้หญิงใช้กระสอบปกปิดส่วนที่จำเป็น สำหรับตอนกลางคืนใช้การก่อไฟเพื่ออบอุ่นร่างกาย ต่อมาภายหลังรู้จักการนำของป่า การสานตะกร้าไปแลกเสื้อผ้า อาหาร เครื่องใช้ที่เมืองตราดโดยการเดินข้ามภูเขา  ซึ่งใช้เวลา 2-3วัน เครื่องประดับ ได้แก่ ต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ทำด้วยตะกั่วสีขาวหรือสตางค์  กำไลข้อมือและเท้าใช้เงินยวง ผู้หญิงสมัยก่อนนิยมนุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันแต่ละคนจะมีเสื้อผ้าไม่มาก ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง เสื้อคอกระเช้า ผู้ชายนุ่งกางเกงขาก๊วย เสื้อกุยเฮง และมักไม่สวมเสื้อเวลาอยู่บ้าน วัยรุ่นนิยมนุ่งกางเกงยีนส์ ทรงผมนิยมผมสั้นทั้งชายและหญิง หากเข้าไปในเมืองจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่ดูใหม่ ดูดี เหมาะกับฐานะทางเศรษฐกิจ (น.19)

Other Issues

สภาวะวิกฤตของภาษาซัมเรและภาษากะซอง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษาสาขาเปียริกมีจำนวนน้อย หลักฐานที่ปรากฎพบว่าภาษาเปียร์ในกัมพูชา แต่ละภาษามีผู้พูดเพียง 200-1000คนเท่านั้น ภาษาในสาขานี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มภาวะวิกฤตทั้งนั้น อีกทั้งภาษาเหล่านี้ยังเป็นของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ท่ามกลางภาษาต่างๆ จึงทำให้มีการหันไปใช้ภาษาอื่นเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มอื่นๆ ยิ่งทำให้จำนวนผู้พูดลดลง ซึ่งผู้ที่สามารถพูดภาษากะซองและภาษาซัมเรที่พบในประเทศไทยมีเพียงกลุ่มละประมาณ 50คนเท่านั้น ผู้ที่พุดได้ดีมีเพียงไม่ถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ภาษาไทยมากกว่าภาษาของตน การไปเรียนในโรงเรียนของเยาวชนก็ใช้ภาษาไทยในการเรียน ทางโรงเรียนก็ห้ามไม่ให้พูดภาษาอื่นเพราะกลัวว่าจะพูดภาษาไทยไม่ชัด ทำให้เยาวชนสามารถใช้ภาษาของตนได้แค่เฉพาะในกลุ่ม เวลาติดต่อกับตนนอกกลุ่มก็ต้องใช้ภาษาไทย บางครอบครัวได้เลิกพูดภาษาของตนเองหันไปใช้ภาษาไทย ภาษากะซองและภาษาซัมเรจึงจัดเป็นภาษาในภาวะวิกฤตขั้นสุดท้าย (ตามการจัดลำดับสภาวะวิกฤตทางภาษาของฟิชแมน (Fishman,2001) โอกาสในการฟื้นฟูให้คงอยู่จึงเป็นไปได้ยาก คาดว่าในช่วง 1-2อายุคน ภาษาเหล่านี้จะสูญหายไป (น.12)

Map/Illustration

- รูปภาพชาวกะซองและชาวซัมเร (น.6-7,15-17)
- สภาพบ้านและทำเลที่ตั้งที่อยู่อาศัยของชาวกะซอง (น.6)
- แผนที่แสดงร่องรอยอาณาบริเวณการอยู่อาศัยของชาวกะซองและชาวซัมเร (น.8)
- ลักษณะบ้านเรือนของชาวกะซองและชาวซัมเร (น.9)
- สภาพแวดล้อมและการทำมาหากิน (น.10)
- ครอบครัวชาวกะซองและชาวซัมเร (น.11)
- แผนภูมิตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (น.12)
- การแต่งกายของชาวกะซองและชาวซัมเร (น.19)
- การรักษาแบบพื้นบ้าน (น.20)
- ครัวและอุปกรณ์ต่างๆในการหาอาหาร (น.21)
- ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ (น.24-28)
- อาชีพและกิจกรรมต่างๆของชาวกะซองและชาวซัมเร (น.29)

Text Analyst ภูมิธรรม บุญสอง Date of Report 22 มี.ค 2565
TAG กะซองและซัมเร, กลุ่มชาติพันธุ์, จันทบุรี, ตราด, ภาคตะวันออก, ประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง