สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อึมปี้ , กลุ่มชาติพันธุ์ , แพร่ , ภาคเหนือ , ประเทศไทย , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author มยุรี ถาวรพัฒน์
Title สารานุกรมชาติพันธ์ในประเทศไทย : อึมปี้
Document Type - Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ก่อ (อึมปี้), Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Call no. DS 570 .อ6ม47 2559
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097170
Total Pages 32 Year 2559
Source มยุรี ถาวรพัฒน์ (2559)สารานุกรมชาติพันธ์ในประเทศไทย : อึมปี้ .สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล .กรุงเทพมหานคร. เอกพิมพ์ไทย จำกัด
Focus

การจัดทำสารานุกรมต้องการศึกษาและค้นคว้าเรื่องราว เพื่อการบันทึกและรวบรวมข้อมูล  วัฒนธรรมประเพณี สังคมและวิถีชีวิตของชาวอึมปี้เพื่อนำมาเรียบเรียงจัดเป็นหมวดหมู่และเผยแพร่สู่สังคมภายนอก

Ethnic Group in the Focus

อึมปี้ (Mpi) เป็นชื่อภาษาและกลุ่มชาติพันธ์กลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณบ้านดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ประเทศไทย ส่วนที่อาศัยอยู่ที่บ้านสะเกิน จังหวัดน่าน เรียกตัวเองว่า กอ , ปะกอ  บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ก่อ , ก่อเมืองแพร่ , ก่อบ้านดง , มปี , มปี้ (น.7)

Language and Linguistic Affiliations

ตระกูลภาษาอึมปี้ (Mpi) อยู่ในกลุ่มโลโลใต้ ตระกูลทิเบต-พม่า และอยู่ในตระกูลภาษาใหญ่ของจีน-ทิเบต มีโครงสร้างภาษารูปแบบเดียวกับภาษาอื่นๆในตระกูลทิเบต-พม่า ลักษณะที่สำคัญของภาษาคือมีแต่พยัญชนะต้น ไม่มีพยัญชนะท้าย มีเสียงวรรณยุกต์และเรียงประโยคแบบ ประธาน กรรม กริยา (น.13)
จากสารานุกรมภาษาอึมปี้ (2519) สรุปได้ว่า ภาษาอึมปี้มีพยัญชนะต้นจำนวน 19ตัว พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวน 11ตัว สระเดี่ยวของภาษาอึมปี้มี 4ลักษณะคือ สระธรรมดา สระเสียงต่ำลึก สระเสียงขึ้นจมูก และสระเสียงขึ้นจมูก-เสียงต่ำลึก สระประสมมี 4ตัว สำหรับวรรณยุกต์แต่ละเสียงมี 6ลักษณะ (น.13-15)

History of the Group and Community

ประวัติความเป็นมาคนอึมปี้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรคือ ป้ายประวัติวัดดงใต้ในใบลานจารึก กล่าวว่าชาวอึมปี้นั้นอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา เขตลือเด่นฮ่อ ในช่วงปีพ.ศ.2189นอกจากนี้ พินิจ พิชยกัลย์ (2525: 16) กล่าวว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมื่อหลายร้อยปีก่อน ในแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีนในปัจจุบันเกิดการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยต่างๆ ส่งผลให้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อย ส่วนใหญ่ได้เดินทางลงมาบริเวณทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน สำหรับคนอึมปี้ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบนั้น บางส่วนก็ได้อพยพลงมาสู่เมืองพรหม ประเทศลาว ต่อมาในช่วงปีพ.ศ.2225 เจ้าเมืองแพร่ ทำสงครามที่เมืองพรหมชนะ จึงทำการกวาดต้อนผู้คนบางส่วนกลับมาสู่เมืองแพร่ รวมไปถึงคนอึมปี้ด้วย ระหว่างทางที่เดินทัพกลับได้สั่งให้ผู้ที่ถูกกวาดต้อนบางส่วนพักอาศัยบริเวณบ้านสะเกิน เขตตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย และได้นำคนอึมปี้จำนวน 6 คู่กลับมาที่เมืองแพร่ โดยให้ทำหน้าที่เลี้ยงม้าและช้าง ตั้งแต่นั้นมาคนอึมปี้จึงได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านดงมาจนถึงปัจจุบัน (น.8)

Settlement Pattern

ชาวอึมปี้จะตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบ ใกล้แหล่งน้ำ บ้านเรือนในสมัยก่อนจะมีทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่แบบยกพื้นสูง ตัวฝาหนังสานกับไม้ไผ่ มัดกับเส้นหวาย ลักษณะหลังคาเป็นแบบกจั่วสูง มุงด้วยใบพลวงหรือหญ้าคา ภายในเรือนแบ่งออกเป็น 3ส่วนสำหรับใช้สอย คือ บริเวณนอกชาน สำหรับบ้านเรือนในปัจจุบันจะปลูกบ้านใกล้กัน เรียงตามถนน มีลักษณะบ้านหลากหลายมากขึ้น แต่ภายในบ้านจะมีหิ้งบูชาเทวดาหรือบรรพบุรุษตั้งอยู่ (น.9)
วัดในหมู่บ้านดง ชุมชนบ้านดงมีวัดทั้งหมด 2แห่งคือ วัดดงใต้ มีอายุประมาณ 365ปี สร้างในปีพ.ศ.2189ภายหลังจากที่มีการต้อนชาวอึมปี้เข้ามายังบริเวณบ้านดง ก็มีการสร้างวัดให้ชาวอึมปี้พร้อมกัน ในเวลาต่อมาเมื่อหมู่บ้านเริ่มขยับขยายไปทางทิศเหนือ จึงมีการสร้างวัดบ้านดงเหนือขึ้นอีกแห่ง โดยมีเจ้าอาวาสคือพระครูวิจิตรศิลปาคม (น.10)
หอเทวดา หรือ “อะลา เกอ” ตั้งอยู่บริเวณเขตป่าละเมาะทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ลักษณะเป็นอาคารไม้ตั้งอยู่บนเสาเดียว ชาวบ้านบ้านดงจะใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีไหว้เทวดา จะมีการประกอบพิธีที่หอเทวดานี้ปีละ 4ครั้ง
โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนแห่งแรกของบ้านดงสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2486บริเวณวัดดงเหนือ ต่อมาในปีพ.ศ. 2490ทางราชการให้แยกโรงเรียนออกจากวัด แล้วยกขึ้นเป็นโรงเรียนประชาบาลมีชื่อว่า โรงเรียนบ้านดง (ธรรมราชษฎร์นุสรณ์) ต่อมาในปีพ.ศ.2551องค์การบริหารส่วนตำบลสวนเขื่อนและหลายๆหน่วยงานส่งเสริมให้โรงเรียนบ้านดงเป็นศูนย์การศึกษาภาษา-วัฒนธรรมบ้านดง แต่ในปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ยุบไปแล้ว นอกจากนี้ที่บ้านดงยังมีศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่งที่ตั้งอยู่ภายในวัดดงเหนือ (น.11)

Demography

ชุมชนบ้านดงแบ่งเป็น 2หมู่ คือ หมู่ 4ซึ่งมี 255 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 742 คน ผู้ที่ไม่มีเชื้อสายอึมปี้ 40คน และ หมู่ 8 มี 128 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ  450คน ผู้ที่ไม่มีเชื้อสายอึมปี้ 20คน (น.9)

Economy

ชาวอึมปี้ทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พืชที่ปลูกมีทั้งข้าว กระเทียม หอมแดง ถั่วเหลือง รองลงมาคือเลี้ยงสัตว์ การทำไม้กวาดและการค้าขาย สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ได้จากธรรมชาติ นอกจากนี้ชาวอึมปี้มีอาชีพรับจ้างปลูกบ้านและก่อสร้าง แต่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่นิยมเข้าไปทำงานในเมือง (น.28)
 อาหารของชาวอึมปี้ ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตหรือส่วนประกอบที่ได้มาจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติในท้องถิ่น ทั้งเนื้อสัตว์ พืชผักและเห็ดต่างๆ อาหารที่ชาวอึมปี้นิยมกันมากคือ พริกหยวกยัดไส้ชะอม (แนกะล้อ) ยำหน่อไม้ ห่อนึ่งสาหร่าย (ไก) สำหรับผู้หญิงแม่ลูกอ่อนที่กำลังอยู่ไฟหรืออยู่เดือน ได้แก่ ปลาก่อ (ปลาช่อน) คั่วเกลือ ผักนึ่ง (น.29)

Belief System

คนอึมปี้อยู่ท่ามกลางคนไทลื้อและคนไทยวน ในอำเภอเมืองแพร่ คนอึมปี้จึงซึมซับวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆของล้านนา เกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม สำหรับศาสนา ชาวอึมปี้นับถือศาสนาพุทธ และมีความเลื่อมใสศรัทธา รวมถึงปฎิบัติตนตามหลักพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด  นอกจากนี้ชาวอึมปี้ยังมีความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ ทั้งเทวดา ผีบรรพบุรุษ สิ่งศักสิทธิ์ต่างๆ การสักยันต์และการเข้าทรง (น.17)
พิธีไหว้เทวดา ในช่วง1ปีชาวอึมปี้จะประกอบพิธีไหว้เทวดาที่เรียกว่า “อะลา” 4ครั้งคือ วันแรม 4ค่ำ เดือน 4วันเข้า-ออกพรรษาและวันที่ 16เมษายน ชาวอึมปี้เชื่อว่าเทวดานั้นเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองหมู่บ้านและชาวบ้าน เมื่อถึงวันไหว้เทวดา ก็จะมีการจัดพิธีบูชาและแสดงความเคารพต่อเทวดา เพื่อให้คุ้มครองหมู่บ้านและเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวอึมปี้ เครื่องประกอบพิธีกรรม ประกอบด้วย ดอกฝ้าย 4ดอก ธูป 4 คู่ หมากพลู 4 ชุด ข้าวสาร น้ำส้มป่อยหรือน้ำอบน้ำหอม ข้าวเสี้ยว จะไม่ใช้เนื้อและสุรา พร้อมกับเงินกำนัลแก่อะลาปู หรือ ผู้ที่ดูแลหอเทวดา
          เมื่อถึงวันประกอบพิธี อะลาปูจะแต่งกายด้วยเสื้อสีขาว กางเกงสุภาพ ส่วนชาวบ้านจะแต่งกายสุภาพหรือนุ่งขาวห่มขาวแบบผู้ถือศีล หลังจากนั้นอะลาปูและตัวแทนชาวบ้านจะนำเครื่องสักการะถวายแด่เทวดาอะลาปูหรือตัวแทนเทวดา และกล่าวคำบูชาด้วยภาษาอึมปี้ แล้วอะลาปูจะทำการสื่อสารกับเทวดาให้รับรู้ถึงการเคารพบูชาของชาวบ้าน หลังจากนั้นอะลาปูจะพรมน้ำส้มป่อยที่เชื่อกันว่าเป็นน้ำทิพย์ให้กับผู้ที่มาร่วมงานและผูกข้อมือให้ศีลให้พร จากนั้นผู้ร่วมงานก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน นำน้ำส้มป่อยไปพรมที่บ้านของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล (น.18-19)
พิธีสังคหะ ในภาษาอึมปีเรียกว่า “สังคหะเค” เป็นพิธีที่มีจุดประสงค์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อรอดพ้นจากภัยพิบัติ และให้เกิดความเจริญ ถือเป็นพิธีกรรมระดับหมูบ้าน ประกอบพิธีกรรมเป็นเวลา 2วัน เริ่มขึ้นหลังจากวันวิสาขบูชา 7วัน ตรงกับวันแรม 7-8ค่ำ เดือน 6 ชาวบ้านจะจัดทำสะตวงเท่ากับจำนวนเทพประจำทั้งแปดทิศ         ประมาณ 16.00น. พระสงฆ์และผู้ชายชาวอึมปี้จะจัดเตรียมสถานที่ คนอื่นๆจะนำเครื่องบูชาใส่สะตวง เมื่อถึงเวลาของพิธีสังคหะผู้นำชาวบ้านก็จะนิมนต์พระภิกษุมาประกอบพิธีกรรม ผู้นำหรือตัวแทนชาวบ้านจะเริ่มนำไหว้พระรับศีล เมื่อพระสงฆ์สวดคาถาเสร็จจะพรมน้ำมนต์ให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีจะประเคนเครื่องสังคหะจตุปัจจัยต่างๆให้แก่พระสงฆ์ หลังจากนั้นเยาวชนชายจะนำสะตวงไปวางไว้ตามบริเวณชายป่าตามป้ายที่ระบุไว้ในสะตวง เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาให้พรกับชาวบ้าน พิธีจึงเป็นอันเสร็จสิ้น ชาวบ้านจะนำขวดต่างๆที่เตรียมมาใส่น้ำมนต์กลับไปพรมที่บ้านของตนเพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลต่างๆ วันต่อมา จะมีการทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้กับครอบครัวที่ล่วงลับ ชาวบ้านจะทำกระทงเล็ก เมื่อเสร็จแล้วจึงนำส่งตามสถานที่ที่เตรียมไว้ (น.20)
พิธีทานข้าวล้นบาตร เป็นประเพณีทานข้าวใหม่เพื่อขอพรในการทำนาครั้งต่อไปให้ได้ข้าวเพิ่มพูนงอกงามและเป็นการอุทิศบุกุศลให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว จัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 4หรือขึ้น 15ค่ำเดือน 4เป็นการนำข้าวสาร ข้าวเปลือก ข้าวสุก และอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด ชาวอึมปี้เรียกประเพณีนี้ว่า “ทานข้าวล้นบาตร” หรือ “ลุงแปะ” ในภาษาอึมปี้  (น.21)
พิธีฝากข้าวไว้กับท้าวทั้งสี่ ในภาษาอึมปี้เรียกว่า “กอปูจาเค” แปลว่า การบูชาข้าวโดยจะฝากข้าวไว้กับเทพ มีจุดประสงค์ในการฝากข้าวไว้กับท้าวทั้ง 4เพื่อให้ช่วยดูแลไม่ให้แมลงหรือสัตว์มารบกวน เครื่องเซ่นที่ชาวนาจะนำไปไหว้ประกอบไปด้วย ข้าว ข้าวต้ม ขนม บุหรี่ เมี่ยง แหนม หมากพลูที่ขาดไม่ได้ ของทั้งหมดจะวางไว้บนกาบกล้วย จากนั้นเจ้าของนาจะขอให้เทพทั้งหมดคุ้มครองนาข้าวและขอให้ข้าวได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ (น.22)
ประเพณีการทำปูจาเค เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ที่ทำในวันขึ้น 8ค่ำ ของทุกเดือน ชาวอึมปี้จะนำเสื้อผ้าของบุคคลในบ้านคนละหนึ่งชิ้นมาใส่ในภาชนะบรรจุ จากนั้นนำเครื่องประกอบพิธีกรรมที่แสดงถึงการสะเดาะเคราะห์และเงินตามกำลังศรัทธา นำไปถวายภายในโบสถ์ เมื่อถึงวัดจะนำของทั้งหมดไปวางที่บริเวณหน้าพระพุทธรูปประธาน เมื่อพระสวดพิธีใกล้เสร็จ เด็กวัดจะนำของทั้งหมดไปเผานอกวิหาร เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีส่งเคราะห์ เป็นพิธีที่จะทำเมื่อคนอึมปี้มีความทุกข์ หรือรู้สึกว่ากำลังเผชิญกับปัญหา อุปสรรคในการดำเนินชีวิตหรือหน้าที่การงาน ผู้ประกอบพิธีจะเตรียมบัตรพลีหรือเครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆ นำอาหารใส่ในสะตวง จากนั้นผู้ประกอบพิธีจะอ่านตำราไสยศาสตร์ที่เป็นอักษรล้านนา  (น.23)
พิธีขอฝน หรือ แช่น้ำอุปคุต ในภาษาอึมปี้เรียกว่า “อุปาโค เจอะโฮ๋ตุ้ง” เป็นพิธีกรรมที่เลิกทำไปนานเกิน50-60ปีแล้ว เนื่องจากเป็นพิธีที่จะทำต่อเมื่อเกิดภัยแล้งเท่านั้น จะมีการจัดเตรียมสถานที่ โดยการขัดรั้วราชวัติ โยงสายสิญจน์รอบบริเวณพื้นที่หรือบริเวณวังน้ำ จากนั้นจัดตั้งที่สำหรับบูชาท้าวทั้ง 4มณฑป จากนั้นกลับไปที่วัด พระสงฆ์จะสวดคาถาในอุโบสถวัดบ้านดงใต้ตลอด 7วัน หากฝนยังไม่ตกการสวดจะยุติลง (น.24)
ประเพณีและความเชื่อในรอบปี     ปัจจุบันเมื่อผู้หญิงมีครรภ์ก็จะไปคลอดที่โรงพยาบาล สมัยก่อนเป็นหมอตำแยที่มีคาถาอาคมมาพรมน้ำมนต์และเป่าคาถาบนศีรษะและท้องเพื่อให้เด็กกลับหัวลง ง่ายต่อการคลอด คนอึมปี้เชื่อว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาจะมีวิญญาณบรรพบุรุษมาเกิดใหม่พร้อมกัน จึงเกิดพิธี “ฮ่อทูวางอ์” ขึ้น หมายถึง พิธีเสี่ยงทายด้วยก้อนข้าวเหนียว เพื่อถามเสี่ยงทายว่าเป็นบรรพบุรุษท่านไหนกลับมาเกิด นอกจากนี้ยังมีพิธีรับขวัญเด็ก เพื่อเด็กให้เลี้ยงง่าย (น.25)
การแต่งงาน ในสมัยก่อนไม่นิยมการแต่งงานนอกกลุ่ม การแต่งงานของคนอึมปี้ในอดีตผู้ใหญ่ฝ่ายชายไปสู่ขอ หาวันฤกษ์ดี แล้วก็จะนำสินสอดเงินทองให้ฝ่ายหญิง เมื่อถึงวันฤกษ์ดีฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง 5-7วัน หลังจากนั้นฝ่ายหญิงจะย้ายมาบ้านฝ่ายชาย จัดเตรียมอาหาร ของกินของใช้มากราบไหว้พ่อ-แม่ฝ่ายชาย และทำงานบ้านทุกๆอย่าง หลังจากนั้นผู้อาวุโสฝ่ายชายจะผูกข้อมือให้ เป็นศิริมงคลและความสุขในชีวิตสมรส จากนั้นพ่อแม่ฝ่ายชายก็จะมอบเงินทองให้ฝ่ายหญิง ปัจจุบันพิธีแต่งงานของคนอึมปี้ไม่ต่างกับพิธีแต่งงานของคนภาคเหนือ นิยมแต่งงานเดือนคู่
การขึ้นบ้านใหม่ ในสมัยก่อนชาวอึมปี้จะนำเมล็ดข้าวไปฝังยังบริเวณที่จะปลูกบ้านเพื่อเสี่ยงทายดูว่าพื้นที่นี้ดีหรือไม่ หากดีเมล็ดจะคงอยู่ดังเดิม หากไม่ดีเมล็ดก็จะกระจายหรือหายไป นิยมปลูกบ้านในเดือนมีนาคม หากจะทำการปลูกในพื้นที่ใหม่หรือนำดินจากพื้นที่อื่นมาถมจะมีการทำพิธีถอน เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคล(น.26)
งานศพ ประเพณีการทำศพของชาวอึมปี้มีหลากหลายแบบอย่าง ขึ้นอยู่กับประเภทของบุคคลที่เสียชีวิต เดิมแล้วหากเป็นเด็กเล็กแรกเกิดถึงอายุ 15ปีจะฝังภายใน 1วัน หรือฝังภายในวันนั้น ถ้าเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ การคลอด หรือโรคร้ายก็จะทำการฝังเช่นเดียวกัน ขั้นตอนการฝังศพจะเรียงแถวตามสายตระกูล บนหลุมศพจะมีไม้ไขว้กันไว้เพื่อแสดงว่าเป็นหลุมศพ มีการอุทิศสิ่งของให้กับผู้ตายเรียกว่า “การตานเฮือนน้อย” หากเป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่มรณภาพ จะเผาศพแล้วนำอัฐบรรจุใส่โกศเก็บไว้ที่วัด ปัจจุบันการฌาปนกิจศพชาวอึมปี้จะประกอบพิธทางศาสนาและเผาศพที่วัดเหมือนกันหมด ยกเว้นเด็กแรกเกิดถึง 1ชวบยังต้องนำไปฝังเหมือนเดิม (น.27)
การสักยันต์ ในสมัยก่อนผู้ชายชาวอึมปี้นิยมสักยันต์บนร่างกาย เป็นอักขระโบราณ บริเวณที่พบคือ แขนท่อนล่าง ต้นขา หลัง หน้าอก โดยเชื่อว่าการสักยันต์ช่วยป้องกันอันตรายต่างๆ จิตใจแข็งแกร่งและอยู่ยงคงกระพัน (น.28)

Health and Medicine

เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนในชุมชนส่วนใหญ่จะไปที่สถานีอนามัยประจำตำบล หรือไปรักษาที่โรงพยาบาลกับแพทย์แผนปัจจุบัน มีบางส่วนที่ใช้วิธีการรักษาแบบแพทย์พื้นบ้านและใช้สมุนไพรในการรักษา ซึ่งสมุนไพรที่นำมาใช้รักษามีทั้งจากพืชและสัตว์ (น.28)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวอึมปี้จะใช้ภาษาไทยเหนือหรือไทยกลาง ในพื้นที่สาธารณะ วัฒนธรรมและบุคลิกไม่ต่างไปจากชาวไทยล้านนา ชาวอึมปี้ได้นิยามอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของตนเอง
ภาษาอึมปี้นั้นมีความแตกต่างกับภาษาไทล้านนาอย่างชัดเจน ชาวอึมปี้พูดภาษาไทล้านนาและภาษาไทยกลางไม่ชัดเนื่องจากระบบเสียงในภาษาอึมปี้นั้นไม่ค่อยมีตัวสะกด นิสัยของชาวอึมปี้ ในสมัยก่อนชาวไทล้านนานิยามว่าชาวอึมปี้เป็นพวกที่ซื่อสัตย์ รูปร่างชาวอึมปี้ส่วนใหญ่รูปร่างเล็ก มีความสูงประมาณ 150 – 170 เซนติเมตร สีผิวคล้ำกว่าคนล้านนา สำหรับอาหารที่ชาวอึมปี้นิยมจะเป็นอาหารที่มีรสเผ็ดและเค็มเป็นหลัก (น.12)

Other Issues

สถานการณ์ภาษาและการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ภาษาอึมปี้เสี่ยงต่อการสูญหาย ชาวอึมปี้ในหมู่บ้านดงเหนือยังสามารถใช้ภาษาของตนเองได้เป็นอย่างดี แต่ในเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่ เพราะกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านต้องไปเรียนหนังสือนอกหมู่บ้านหรือย้ายเรียนที่จังหวัดอื่นๆ จึงทำให้สามารถใช้ภาษาอึมปี้ได้แต่ไม่ค่อยดี
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาช่วยชุมชนบ้านดงเหนือในการทำโครงการฟื้นฟูภาษาอึมปี้และพัฒนาระบบตัวเขียนภาษาอึมปี้ด้วยภาษาไทย ส่งเสริมให้คนในชุมชนและเยาวชนได้ร่วมกันทำงานวิจัยทางด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษา ได้แก่โครงการ “สร้างระบบตัวเขียน : สืบชะตาภาษาอึมปี้บ้านดง ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จังหวัดแพร่” โครงการ “รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมในการฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาอึ้มปีด้วยพลังเยาวชนในพื้นที่บ้านดง ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จังหวัดแพร่” ในปีพ.ศ.2556-2557มีการริเริ่มโครงการนักวิจัยตัวน้อยร่วมสืบสานภาษาและวัฒนธรรมอึมปี้และโครงการแหล่งเรียนรู้เส้นทางสายวัฒนธรรมอึมปี้ และในปีพ.ศ.2557 ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติโดยกระทรวงวัฒนธรรม กิจกรรมต่างๆทั้งหมดส่งผลให้ภาษาอึมปี้ยังคงเข้มแข็งและมีผู้สืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ (น.31)  

Map/Illustration

- “บ้านโบราณ” หรือบ้านแบบดั้งเดิมของชาวอึมปี้ (น.9)
- บ้านของชาวอึมปี้ในปัจจุบัน (น.9)
- ตะแหลว เครื่องลางศักดิ์สิทธิ์ป้องกันผีร้าย (น.9)
- วัดดงใต้ (น.10)
- วัดดงเหนือ (น.10)
- พระครูวิจิตรศิลปาคม (ตุ๊อา) เจ้าอาวาสวัดดงเหนือ พระผู้มีความรู้เรื่องประเพณีวัฒนธรรมของชาวอึมปี้ (น.10)
- หอเทวดา หรือ “อะลาเกอ” เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของหมู่บ้านดงเหนือและดงใต้ (น.11)
- เครื่องเซ่นและของบูชาเทวดาภายในหอเทวดา (อะลาเกอ) (น.11)
- โรงเรียนบ้านดง (ธรรมราษฎร์นุสรณ์) (น.11)
- ครู พระ และชาวบ้านกำลังช่วยกันติดป้ายศูนย์การศึกษาภาษา-วัฒนธรรมบ้านดง (อึมปี้) (น.11)
- ภาพหญิงชาวอึมปี้ในหมู่บ้านดงแต่งกายตามประเพณี (น.12)
- เยาวชนชาวอึมปี้รุ่นพี่กำลังสอนภาษาอึมปี้ให้กับเด็กในหมู่บ้าน (น.13)
- อาจารย์ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ ระหว่างการเก็บข้อมูลในหมู่บ้าน (น.14)
- เด็กและเยาวชนอึมปี้กำลังเรียนรู้ภาษาอึมปี้ผ่านการศึกษาพืชพรรณสมุนไพรในหมู่บ้าน (น.14)
- การถ่ายทอดภาษาอึมปี้จากคนแก่สู่เด็กคือแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ภาษาที่สำคัญ (น.15)
- เด็กและเยาวชนกำลังเรียนภาษาอึมปี้กันในชุมชน (น.15)
- เด็กและเยาวชนชามอึมปี้กับแผ่นพับข้อมูลวัฒนธรรมและนิทานของชาวอึมปี้ (น.15)
- “อะลาปู” ผู้ประกอบพิธีกรรมของชาวอึมปี้ (น.16)
- ชาวบ้านโดยทั่วไปกำลังนั่งประกอบพิธีบูชาเทวดา (อะลา) ที่ศาลเทวดา (น.16)
- เด็กๆชาวอึมปี้กำลังสนทนากับคนแก่ในหมู่บ้าน (น.16)
- เด็กน้อยชาวอึมปี้ (น.16)
- เด็กๆชาวอึมปี้กำลังสนทนากับคนแก่ในหมู่บ้าน (น.17)
- สะตวงและตุ๊กตากระดาษรุปคนเพื่อใช้ในพิธีสงเคราะห์ (น.17)
- ชาวอึมปี้กำลังประกอบพิธีไหว้เทวดา (อะลา) (น.18)
- ชาวบ้านนำเครื่องประกอบพิธีมาที่บ้านของเทวดา (อะลา) (น.18)
- เครื่องประกอบพิธีในถาดสำหรับไหว้เทวดา (อะลา) (น.18)
- ชาวบ้านกำลังเดินผ่านทุ่งนาเพื่อประกอบพิธีไหว้เทวดา (น.19)
- อะลาปูกำลังกล่าวคำบูชาเทวดาที่ศาลเทวดา (น.19)
- “อะลาปู” กำลังรดน้ำมนต์ให้กับชาวอึมปี้ในหมู่บ้านที่ศาลเทวดา (อะลาเกอ) (น.19)
- เจ้าอาวาสวัดดงใต้กำลังประกอบพิธีสังคหะ (น.20)
- สะตวงหรือกระทงใส่เครื่องประกอบพิธี (น.20)
- พญายมขี่ควายหนใต้ (น.20)
- วะรุณะขี่นาควันตก (น.20)
- พระนารายณ์ขี่ครุฑวันตกแจ่งใต้ (น.20)
- พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ (น.20)
- ข้าวเปลือกและข้าวสารที่เทจนล้นบาตรหน้าพระประธานในอุโบสถอันที่มาของพิธีทานข้าวล้นบาตร (น.21)
- ชาวบ้านเทข้าวเปลือกลงในบาตรจนล้น (น.21)
- ชาวบ้านเทน้ำลงในบาตรหน้าอุโบสถ (น.21)
- พระรับข้าวล้นบาตรที่ชาวบ้านนำมาถวาย (น.21)
- ชาวบ้านเทข้าวสารลงในบาตรจนล้น (น.21)
- ชาวบ้านนำอาหารและข้าวเหนียวถวายหน้าพระอุโบสถ (น.21)
- เจ้าของนากำลังทำพิธีฝากข้าวกับท้าวทั้งสี่ หรือ “กอปูจาเค” (น.22)
- อาหารและเครื่องเซ่นที่ใช้ถวายท้าวทั้งสี่ (น.22)
- ชาวบ้านนำข้าวเหนียวไปถวายท้าวทั้งสี่ในวัดเนื่องในประเพณีการทำปูจาเค (น.23)
- เครื่องประกอบพิธีที่ชาวอึมปี้นำมาถวายวัดในประเพณีการทำปูจาเค (น.23)
- ชาวบ้านต่างนำข้าวเหนียวมาถวายวัดในวันประเพณีปูจาเค (น.23)
- การทำพิธีส่งเคราะห์ (น.23)
- ปลาช่อนและนกช้อนหอยแกะสลักจากไม้ซึ่งใช้ในพิธีขอฝน (น.24)
- นกช้อนหอยแกะสลักจากไม้ (น.24)
- กระบอกไม้ไผ่สลักคาถา (น.24)
- สระน้ำจำลองที่ใช้ในพิธีขอฝน (น.24)
- พ่อของนาคกำลังถวายผ้าไตรจีวรให้กับนาค (น.25)
- พ่อแม่และพระที่เพิ่งอุปสมบท (น.25)
- การทำพิธีอุปสมบทพระในอุโบสถ (น.25)
- พิธีแต่งงานของชาวอึมปี้ทำที่บ้านของตนเองอย่างเรียบง่าย (น.26)
- ชาวอึมปี้กำลังสร้างบ้านใหม่ (น.26)

- สิ่งของเครื่องใช้จำเป็ฯสำหรับพิธีขึ้นบ้านใหม่ (น.26)
- เจ้าอาวาสวัดดงเหนือกำลังสวดมนต์อุทิศสิ่งของให้ผู้ตายที่เรียกว่า “การตานเฮือนน้อย” (น.27)
- “เฮือนน้อย” หรือบ้านหลังเล็กที่ทำขึ้นเพื่ออุทิศให้กับผู้ตาย (น.27)
- เครื่องเซ่นต่างๆที่อุทิศไว้ใต้เฮือนน้อย (น.27)
- ธูป เทียน ดอกไม้ที่ปักบนดินอุทิศให้ผู้ตาย (น.27)
- ตลาดเช้าข้างวัดดงเหนือ (น.28)
- การทำไม้กวาด อาชีพของชาวอึมปี้ในปัจจุบัน (น.28)
- รอยสักบนร่างกายของชายชาวอึมปี้ (น.28)
- สำรับอาหารชาวอึมปี้ (น.29)
- ห่อนึง (น.29)
- ชาวอึมปี้กำลังเล่นดนตรีและขับร้องเพลงพื้นบ้าน (น.30)
- เด็กและเยาวชนกำลังทำกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมชาวอึมปี้ (น.31)
- เด็กและเยาวชนจัดนิทรรศการเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของชาวอึมปี้ (น.31)

Text Analyst ภูมิธรรม บุญสอง Date of Report 22 มี.ค 2565
TAG อึมปี้, กลุ่มชาติพันธุ์, แพร่, ภาคเหนือ, ประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง