สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ความคาดหวัง, อึมปี้, ผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น
Author ปัญจพร คำโย, เนาวรัตน์ มากพูลผล และรัตนพงศ์ มิวันเปี้ย
Title ความคาดหวังของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา: หมู่บ้านดง จังหวัดแพร่
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ก่อ (อึมปี้), Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 18 Year 2563
Source วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 11 (2) ก.ค. – ธ.ค. 2563
Abstract

“บ้านดง” หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกว่า “บ้านอึมปี้” เป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของเทศบาลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึ่งมีประชากรเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในพื้นที่ของเทศบาลตำบลสวนเขื่อนที่มีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งการร่วมกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น จึงเกิดการตั้งคำถามถึงปัจจัยที่มีอิทธพลต่อระดับความคิดเห็นของกลุ่มชาติพันธุ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำทางการเมืองถ้องถิ่นตามความคาดหวังของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ โดยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้มีความคาดหวังต่อผู้นำทางการเมืองอยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยจำเพาะบุคคล (สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุ รายได้) ไม่มีผลต่อระดับความคิดเห็นที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น ซึ่งทั้งความคาดหวังที่มีต่อผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์กับความคิดเห็นที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นมีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันและมีระดับความสัมพันธ์สูง

Focus

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นตามความคาดหวังของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความคิดเห็นของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น

Theoretical Issues

ความคาดหวัง ทฤษฎีความคาดหวังเป็นทฤษฎีที่สามารถนําไปสู่ความเข้าใจในเรื่องแรงจูงใจในการทํางาน ครอบคลุมถึงการจัดการพฤติกรรมอันซับซ้อนหลากหลายของบุคคลในองค์กรและนําไปสู่การเพิ่มขีดความพยายามของตัวเองในการทํางาน โดยแนวคิดความคาดหวังประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความพึงพอใจ เครื่องมืออุปกรณ์ และความคาดหวังของบุคคลนั้นๆ
ความเป็นผู้นำ การที่ผู้นำใช้อิทธิพลหรืออำนาจหน้าที่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีลักษณะผู้นำที่ดี เช่น การตัดสินใจที่ดี มีแรงจูงใจสูง
คุณลักษณะของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ แบบอย่างพฤติกรรมที่แสดงถึงความดี เป็นผู้มีความเหมาะสมในด้านการเป็นผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น พฤติกรรมการหาเสียง การดำเนินตามนโยบาย ภาพลักษณ์นักการเมืองและสมรรถนะ (น.36-40)

Ethnic Group in the Focus

อึมปี้

History of the Group and Community

ชาวอึมปี้เล่ากันว่าบรรพบุรุษของเขา อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาในประเทศจีน เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว และมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเสือกิน ต.ยอด อ.ปง จ.เชียงราย (ปัจจุบันคือ อ.สอง จ.แพร่) และก็มีบางส่วนได้ย้ายจากหมู่บ้านเสือกินมาอยู่ที่ ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ และเรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า “บ้านอึมปี้” แต่คนอื่นๆ เรียกว่า “บ้านดง” (น.35)

Demography

ในประเทศไทยมีประชากรชาวอึมปี้เพียง 3,500 คน
สำหรับหมู่บ้านดงหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 8 ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ มีประชากรประมาณ 1,400 คน

Economy

ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทําไม้กวาด และรับจ้างทั่วไป
กรณีศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 บาท

Social Organization

พื้นที่ของกลุ่มชาติ พันธุ์อึมปี้ที่ศึกษา อยู่ในเขตอํานาจหน้าที่ของเทศบาลตําบลสวนเขื่อน อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยกลุ่มชาติพันธ์อึมปี้นั้นเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีความน่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากค่อนข้างที่มีกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ในจังหวัดแพร่ ซึ่งชาวอึมปี้ก็ถือเป็นประชากร กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในพื้นที่ของเทศบาลตําบลสวนเขื่อน ที่มีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งการร่วมกิจกรรมของเทศบาลตําบล และการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งผู้นําทางการเมืองท้องถิ่น  

Belief System

ชาวอึมปี้นับถือพุทธศาสนา

Education and Socialization

เมื่อรายได้ต่อครัวเรือนไม่มากนักจึงมีเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับสูง

Social Cultural and Identity Change

ด้านภาษา ตระหนักถึงภาวะเปราะบางทางด้านภาษาและการสืบทอดภาษาในรุ่นต่อๆ ไป เนื่องจากยังมีการใช้ภาษาในกลุ่มเฉพาะผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เยาวชนส่วนใหญ่สื่อสารกันด้วยภาษาคําเมือง

Critic Issues

โดยภาพรวมของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ หมู่บ้านดง จังหวัดแพร่ มีความคาดหวังในระดับมากที่สุดเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น หากแยกพิจารณาเป็นรายด้านสามารถลำดับได้ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความเป็นผู้นํา ด้านบทบาทหน้าที่และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโดยภาพรวมกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ให้ความสําคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาของผู้นําทางการเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นสําคัญ และยังคาดหวังว่าจะมีผู้นําที่เปิดโอกาสให้ประชาขนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศตามระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นการกระจายอํานาจ (Decentralization) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้มองว่าด้านความเป็นผู้นําก็มีความสําคัญเพราะหากประชาชนมีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งและมีผู้นําที่มีภาวะความเป็นผู้นําก็จะทําให้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความคิดเห็นของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นําทางการเมืองท้องถิ่น ตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศมีผลต่อระดับความคิดเห็นของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นําทางการเมืองท้องถิ่นในระดับที่แตกต่างกัน โดยสังเกตได้ว่าประชากรเพศหญิงจะมีจํานวนมากกว่าประชากรเพศชาย อีกทั้งโดยธรรมชาติเพศหญิงนั้นมีความคิดที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและให้ความสําคัญกับบางประเด็นที่แตกต่างจากเพศชายส่งผลให้ระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาในการอาศัยในพื้นที่ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อระดับความคิดเห็นของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นําทางการเมืองท้องถิ่น ทั้งนี้จากการศึกษายังพบอีกว่าหาก กลุ่มชาติพันธุ์มีความคาดหวังต่อผู้นําทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์มากเท่าใดก็ จะส่งผลต่อระดับความคิดเห็นที่มีต่อผู้นําทางการเมืองเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย (น.45-47)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 03 ส.ค. 2564
TAG ความคาดหวัง, อึมปี้, ผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง