สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,ม้ง,สภาพเศรษฐกิจสังคม,ชุมชน,เชียงใหม่
Author Thani, Pichit and Rauechai, Venus
Title Mae Cham Watershed Development Project, Phase II : Socio- Economic Baseline survey Report.
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ม้ง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 253 Year 2527
Source Department of Agricultural Economics Faculty of Agricultural and Department of Economics Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University.
Abstract

งานชิ้นนี้เป็นการสำรวจขั้นพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (จำนวนประชากร การเกิด การตาย พื้นที่ทำกิน การเกษตรกรรม การศึกษา สาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจ) โดยพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่และความต้องการของประชากรในพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้รายงานการสำรวจครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาในพื้นที่ทางภาคเหนือต่อไป

Focus

เป็นการสำรวจขั้นพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อวางแผนการพัฒนาสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในสังคมชนบทและอยู่ในแผนพัฒนาของรัฐ (หน้า 1-2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวภาคเหนือ กะเหรี่ยง ลัวะ ม้ง ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ชาวภาคเหนือโดยส่วนใหญ่สามารถเข้าใจภาษาเหนือและภาษากลางแม้ว่าจะไม่ได้เรียนหนังสือ กลุ่มชาวเขาเกือบครึ่งของประชากรทั้งหมดเข้าใจภาษาเหนือ แต่กลุ่มผู้หญิงกะเหรี่ยงและลัวะเป็นกลุ่มที่เข้าใจน้อยที่สุด (ตาราง 2.9 B) (หน้า 24) กลุ่มชาวเขาประมาณ 50% เข้าใจภาษากลาง กล่าวโดยสรุปมากกว่า 50% ของประชากรทั้งหมดในพื้นที่สำรวจสามารถเข้าใจภาษาเหนือและภาษากลาง แต่การใช้ภาษาเหนือในการติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องง่ายกว่าสำหรับพวกเขา (หน้า 24-25)

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1984

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ชาวภาคเหนือ บ้านส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้หรือไม้ไผ่ ฝาเป็นไม้ไผ่ หลังคาทำจากหญ้าคาหรือใบตองตึง เป็นบ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูงจากดินประมาณ 2 เมตร หรือต่ำกว่า และมีลานสำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร สำหรับกะเหรี่ยงและลัวะ บ้านมีลักษณะคล้ายคลึงกันและค่อนข้างเล็ก และไม่สูงจากพื้นดินมากนัก ม้ง จะมีบ้านหลังเล็กเช่นเดียวกัน แต่ไม่ยกพื้นสูงเท่า หลังคาสังกะสี (หน้า 135-136)

Demography

ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1984 อำเภอแม่แจ่มมีจำนวนประชากรทั้งหมด 40,479 คน 7,530 ครอบครัว ในการสำรวจครั้งนี้ได้สำรวจ 3 หมู่บ้านดังนี้คือ Mae Na Chon 5,442 คน 950 ครอบครัว หมู่บ้านแม่สุก 5,068 คน 890 ครอบครัว บ้านเทพ 6,795 คน 1,280 ครอบครัว รวมทั้งสิ้น 17,505 คน 3,120 ครอบครัว (หน้า 9) อัตราเด็กรอดชีวิต 3.91 คน จำนวนต่ำสุดที่บ้าน Mae Na Chon จำนวนอัตราการตาย 13.86% ใน1 ปี การเพิ่มของประชากร 3.19% ต่อปี เมื่อรวมการอพยพ เป็น 3.044% ต่อปี ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการอพยพคือ การแต่งงาน รองลงมาคือการแสวงหาที่ทำกินใหม่ โดยส่วนใหญ่จะอพยพภายในพื้นที่เขตอำเภอแม่แจ่ม (หน้า 18-22)

Economy

อาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม เช่น ทำนาที่ลุ่ม ทำนาบนพื้นที่สูง การปลูกพืช เช่น พริก ถั่วเหลือง ข้าวโพด หอม กระเทียม แตงโม ฝิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชยืนต้นสำหรับใช้กินในครอบครัว เช่น มะม่วง ขนุน ส้ม ฯลฯ การทำนาที่ลุ่ม จากการสำรวจ 300 ครอบครัว มี 154 ครอบครัวทำนาที่ลุ่ม เริ่มทำนาในเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวในช่วงพฤศจิกายน เป็นต้นไปตามแต่ชนิดพันธุ์ข้าว ผลผลิตอยู่ในราว 431 กิโลกรัม/ไร่ แต่ละครอบครัวมีพื้นที่ในการทำนาโดยเฉลี่ย 4.54 ไร่ การปลูกข้าวบนพื้นที่สูง เป็นพืชหลักของพื้นที่บริเวณนี้ จากการสำรวจ 300 ครอบครัว มี 236 ครอบครัวทำนาบนพื้นที่สูง เริ่มต้นทำนาในเดือนมิถุนายนและเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนเช่นเดียวกัน อัตราเฉลี่ย 6.9 ไร่ต่อครอบครัว ผลผลิต 241/ไร่ ผลผลิต 88.40% ใช้บริโภคภายในครอบครัว การปลูกถั่วเหลือง เป็นพืชเสริมที่ปลูก นิยมปลูก 2 ช่วง คือ ช่วงหน้าฝน จะปลูกปลายเดือนมิถุนายน ช่วงหน้าร้อน จะเริ่มปลูกภายหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จในราวเดือนมกราคม โดยส่วนใหญ่กลุ่มคนที่ปลูกคือชาวภาคเหนือและลัวะ ผลิผลิตของชาวภาคเหนือจะขายทั้งหมด สำหรับลัวะจะปลูกสำหรับใช้บริโภค ฝิ่น พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 4.03 ไร่/ครอบครัว ผลผลิตที่ได้ 1.65 กิโลกรัม/ไร่ ราคาขาย 165.14 บาท/ ไร่แรงงานที่เข้ามาทำงานในไร่ฝิ่นจะได้รับค่าแรงเป็นฝิ่น กลุ่มคนที่ปลูกมากที่สุดคือม้ง ชาวภาคเหนือไม่มีการปลูกฝิ่น (หน้า 81-86) รายได้จากการทำการเกษตร ประมาณ 9,094 บาท/ปี ต่อครอบครัวม้งมีรายได้มากที่สุดประมาณ 13,746.06 บาท/ปี รองลงมาคือชาวภาคเหนือ กะเหรี่ยง และลัวะ รายได้อื่นๆ ประมาณ 4,675 บาท/ปี ต่อครอบครัว ชาวเหนือมีรายได้มากที่สุด คือ 7,142.13 บาท/ปี ต่อครอบครัว จากการเป็นลูกจ้างรัฐ รองลงมาคือกะเหรี่ยง ม้ง (หน้า 91) พื้นที่ในการทำการเกษตรกรรมของกลุ่มชาวเขาจะเป็นพื้นที่ภูเขาและหุบเขาแตกต่างจากชาวภาคเหนือที่จะเป็นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีที่ดินเป็นของตัวเอง ลัวะมีการถือครองที่ดินมากที่สุด และมีบางส่วนที่เช่าที่ดิน ที่ดินเช่าจะไม่ได้รับผลผลิตดีนักเนื่องจากผู้เช่าไม่สนใจปรับปรุงสภาพดิน การจ่ายค่าเช่าจะจ่ายเป็นผลผลิตครึ่งหนึ่งที่เพาะปลูก (หน้า 56-57)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

จากการสำรวจพบการนับถือ ผี ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ในกลุ่มชาวภาคเหนือนับถือศาสนาพุทธอย่างเดียว ศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญในการยอมรับเทคโนโลยีและการพัฒนาสมัยใหม่ กลุ่มที่นับถือผี มีความเชื่อและถ้ามีสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากความเข้าใจหรือความเชื่อพวกเขาจะไม่ยอมรับสิ่งใหม่เหล่านั้นเลย กลุ่มคนที่นับถือศาสนาคริสต์มีความสามารถในการยอมรับเทคโนโลยีมากกว่าผู้นับถือผี และเป็นกลุ่มที่ติดยาน้อยกว่าเช่นเดียวกัน และกลุ่มที่นับถือผีมีการฆ่าสัตว์เพื่อเลี้ยงผี แทนที่จะนำสัตว์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ เป็นลักษณะของใช้ไปโดยไม่ได้ผลกำไร สำหรับกลุ่มคนที่นับถือศาสนาพุทธยังคงมีการทำพิธีเลี้ยงผีเช่นเดียวกันแต่ทำน้อยกว่า (หน้า 17)

Education and Socialization

อาชีพหลักของประชากรในโครงการคือการเพาะปลูก ความสามารถในการจัดการไร่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประชากร เพราะว่า เกษตรกรที่มีการศึกษาจะสามารถใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรได้ดีกว่าเกษตรกรที่ไม่มีการศึกษา การเกษตรในอนาคตจะเป็นการค้าการพาณิชย์มากขึ้น ความชำนาญด้านการเกษตรจึงไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่เกษตรกรจำเป็นต้องมี แต่เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ ๆ และสถานการณ์ด้านการตลาดก็เป็นความรู้ที่เกษตรกรจำเป็นต้องรู้ด้วย โดยปกติคนไทยทุกคนต้องมีการศึกษาอย่างน้อยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่ก็พบว่ามีประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวนสูง สังคมที่มีกลุ่มประชาชนที่ไม่มีการศึกษามากเพียงใด จะพบว่ามีการพัฒนาในสังคมนั้นน้อยตามไปด้วย (ตาราง 2.7 A และ 2.7 B) โอกาสของผู้หญิงที่จะได้รับการศึกษามีน้อย เนื่องจากพ่อแม่รู้สึกว่าเป็นการเสียเงิน เพราะเมื่อเติบโตขึ้นก็ต้องแต่งงานออกเรือนไป ดังนั้น จะพบว่า ในทุกระดับการศึกษาจะมีผู้ชายเรียนหนังสือมากกว่าผู้หญิง ส่วนในกรณีการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน หัวหน้าครัวเรือนมีการศึกษาค่อนข้างต่ำ จากการวิจัยนี้พบว่า ร้อยละ 79.69 ของหัวหน้าครัวเรือนไม่เคยได้รับการศึกษาใด ๆ เลย และเมื่อพิจารณาเรื่องการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ไม่มีหัวหน้าครัวเรือนลัวะและม้งที่ได้รับการศึก (ตาราง 2.7 D) (หน้า 22-23) การศึกษาที่เป็นการอบรมพิเศษ : การได้รับการฝึกอบรมพิเศษที่นอกเหนือจากการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น อบรมด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ ด้านอาชีพ ฯลฯ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับการพัฒนา จากการสอบถามชาวบ้าน พบว่า ชาวบ้านร้อยละ 71 ไม่เคยเข้าร่วมโปรแกรมการอบรมใด ๆ เลย (ตาราง 2.8 A) และชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง และม้ง ที่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมใด ๆ มีจำนวนมากกว่า ชาติพันธุ์ลัวะ และคนไทยชาวเหนือ (หน้า 23)

Health and Medicine

การบริการทางสาธารณสุข มีสถานีอนามัยตำบล โรงพยาบาลประจำอำเภอ แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ แต่ส่วนใหญ่ประชากรแข็งแรง โรคที่พบเป็นโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด การรักษามีทั้งการซื้อยามาทานเองและไปรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ นอกจากนี้มีโครงการให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข กลุ่มคนที่รับคำแนะนำมากที่สุดคือชาวภาคเหนือ รองลงมาคือ ม้ง กะเหรี่ยง และ ลัวะ (หน้า 132-133)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กล่าวถึงกลุ่มชาวภาคเหนือ กะเหรี่ยง ม้ง ลัวะ อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันคือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การพัฒนาชนบท 1. ปัญหาที่ดินไม่เพียงพอ ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ากลุ่มชาวเขาจะอพยพโยกย้ายอีกหรือไม่แต่จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดการบุกรุกป่าขยายที่ทำกิน แนวทางในการแก้ไขที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดคือ การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น จะส่งผลดีมากกว่าการเพิ่มที่ดินในการผลิต 2. ปัญหาภาษาในการสื่อสารแนวทางในการแก้ไขคือรัฐควรจัดการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อให้กลุ่มชาวเขาสามารถพูดภาษาไทยได้ 3. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและชุมชน เนื่องจากชาวเขาที่อยู่ในป่ามีการนับถือผี ถ้ามีกลุ่มคนภายนอกเข้าไปในหมู่บ้านพวกเขามีความเชื่อว่าอาจจะทำให้ผลผลิตเสียหาย การทำงานติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ผล แนวทางในการแก้ปัญหาคือการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐและชุมชนและรัฐให้ความสำคัญกับหัวหน้าหมู่บ้านมากขึ้น 4. ถนน สะพาน ชำรุด ไม่มีประสิทธิภาพและมีปัญหาในการเดินทางหน้าฝน แนวทางในการแก้ไขรัฐควรจัดงบประมาณจัดสร้างถนนและสะพานที่ดีสามารถใช้งานได้ในระยะเวลานาน 5. การสาธารณสุขไม่ได้มาตรฐาน การมีถนนที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้ารับการรักษาตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น 6. ปัญหาการศึกษา การโยกย้ายถิ่นฐานและต้องใช้แรงงานในการทำการเกษตรกรรมทำให้เป็นการยากที่เด็กจะเข้ารับการศึกษในระบบสมัยใหม่ และผู้ปกครองไม่มีความเข้าใจในระบบการศึกษาแบบใหม่ทำให้ไม่สนใจที่จะส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียน แนวทางในการแก้ปัญหาคือ เพิ่มงบประมาณในการศึกษาและจัดอบรมครูให้มีประสิทธิภาพและมีจิตสำนึกที่เข้มแข็ง รวมถึงเพิ่มหลักสูตร การเกษตร การรักษาหน้าดิน การปลูกพืช และการรักษาป่า เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ (หน้า 155-163)

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, ม้ง, สภาพเศรษฐกิจสังคม, ชุมชน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง