สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยมุสลิม,ชุมชน,นครศรีธรรมราช
Author จุไรรัตน์ สวัสดิภาพ
Title ชุมชนกับความยึดมั่นในศาสนาของชาวไทยมุสลิม : ศึกษากรณีไทยมุสลิม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Total Pages 166 Year 2530
Source หลักสูตรปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามมีสาเหตุมาจากการมีแนวคิดแบบโลคอลลิซึม และสาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเชิงสาเหตุและผลกับแนวความคิดดังกล่าว กล่าวคือ การมีแนวความคิดแบบโลคอลลิซึม ระยะเวลาที่อยู่อาศัย และการศึกษาศาสนาอิสลาม เป็นสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลาม ในขณะเดียวกัน การศึกษาและการเป็นชนกลุ่มใหญ่ในชุมชน ไม่ได้เป็นสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลาม

Focus

ศึกษาระดับความยึดมั่นผูกพันในศาสนาและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในศาสนาของคนไทยมุสลิม

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้นำเอาทฤษฎีโลคอล-คอสโมโพลิแทน (local-cosmopolitan theory) มาใช้เป็นทฤษฎีหลักในการศึกษาศาสนาโดยเน้นในเรื่องของความยึดมั่นผูกพันในศาสนา แนวคิดโลคอลลึซึม เน้นเรื่องปัจเจกบุคคลที่มีความเกี่ยวพันโดยตรงกับชุมชนหรือสังคมที่ตนอยู่อาศัยในรูปแบบความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ภายในกลุ่มในลักษณะปฐมภูมิ เช่น การให้ความสำคัญกับครอบครัว เพื่อนบ้านและองค์การต่าง ๆ ภายในชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องของศาสนา ส่วนแนวคิดแบบคอสโมโพลิแทน จะเน้นในเรื่องของปัจเจกบุคคลที่มีความคิดเกี่ยวพันเป็นกลางๆ กับสังคมหรือชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ มีความสัมพันธ์กับบุคคลในชุมชนแบบกลุ่มทุติยภูมิ จึงเป็นพวกที่มีโลกทัศน์กว้างกว่าแบบโลคอลลิซึม ผู้เขียนจึงได้นำแนวคิดข้างต้นมาใช้ศึกษาชุมชนไทยมุสลิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนำมาใช้อธิบายถึงหน้าที่ของบุคคลที่มีต่อชุมชนและองค์การต่างๆ ทำให้พบว่าการที่บุคคลนั้นๆ มีการถ่ายทอดความยึดมั่นผูกพันในศาสนาออกมาในรูปแบบที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีต่อๆ มา และเมื่อได้นำแนวคิดดังกล่าวมาศึกษาในฐานะเป็นตัวแปรแทรกระหว่างตัวแปรต่างๆ ทางสังคมกับความยึดมั่นผูกพันในศาสนาแล้วนั้น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันในศาสนาอิสลามในชุมชนดังกล่าวก็คือ การมีแนวคิดแบบโลคอลลิซึม ระยะเวลาที่อยู่อาศัยและการศึกษาศาสนาอิสลาม (หน้า 15-21, 117-120)

Ethnic Group in the Focus

ไทยมุสลิมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Language and Linguistic Affiliations

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนว่าไทยมุสลิมในพื้นที่นี้ใช้ภาษาใดในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่ได้ระบุประวัติศาสตร์ของชุมชนที่ทำการศกษา เพียงแต่ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลามพอสังเขปว่าได้มีการแพร่ขยายจากดินแดนอาระเบียไปยังเกือบทุกทวีป (หน้า 140-158)

Settlement Pattern

ผู้เขียนไม่ได้อธิบายชัดเจนเกี่ยวกับแบบแผนการตั้งถิ่นของชุมชนที่ศึกษาแต่พบว่า มัสยิดทั้งสองต่างก็มีครอบครัวที่เป็นสมาชิก อยู่ประมาณ 750 ครอบครัว (หน้า 47)

Demography

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนว่าในชุมชนที่ศึกษามีจำนวนประชากรเท่าไร หากแต่ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาไว้จำนวนมัสยิดละ 150 คน สองมัสยิดรวม 300 คน เพศชาย 150 คน เพศหญิง 150 คน กลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วงอายุ 15-35 ปีร้อยละ 50 และอีกร้อยละ 50 อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป (หน้า 47)

Economy

มุสลิมในกลุ่มที่ศึกษาประกอบอาชีพค้าขายมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36.3 กลุ่มอาชีพรับจ้างมีร้อยละ 27 รับราชการร้อยละ 17.3 แม่บ้าน ไม่มีอาชีพ และว่างงาน มีร้อยละ 10.3 อาชีพเกษตรกรและทำงานรัฐวิสาหกิจมีร้อยละ 0.3 นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่อยู่ในระหว่างการศึกษามีร้อยละ 8.3 ส่วนรายได้คือ ระหว่าง 1001 - 3,000 บาทมีร้อยละ 30.7 ระหว่าง 3,001 - 5,000 บาท มีร้อยละ 35 ระหว่าง 5,001 - 7,000 บาทมีร้อยละ 21.3 ระหว่าง 7,001 - 9,000 บาทมีร้อยละ 5.3 ระหว่าง 9,001 - 10,000 บาทมีร้อยละ 2.3 กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 10,001 บาทขึ้นไปมีร้อยละ 2 (หน้า 52-53)

Social Organization

อิสลามเป็นธรรมนูญชีวิต เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องศาสนา ทั้งจากญาติและครูสอนศาสนา มีการสืบทอดศาสนาจากบิดามารดามายังบุตร โดยมีบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว มีการแลกเปลี่ยนทัศนะต่าง ๆ ทำให้มีความสัมพันธ์กันในกลุ่มอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะการไปนมาซร่วมกันที่มัสยิดทุก ๆ วันศุกร์ (หน้า 52, 140,151,153-154)

Political Organization

มีการจัดตั้งคณะกรรมการของมัสยิดแต่ละมัสยิด โดยมีอิหม่ามเป็นผู้นำในศาสนพิธีต่าง ๆ มีคอเต็บบรรยายหลักธรรมทางศาสนาและมีบิหลั่นเป็นผู้กล่าวอะซาน (เชิญชวน) ให้มุสลิมบำเพ็ญนมัสการต่ออัลลอฮ์เมื่อเข้าสู่เวลาของการนมัสการ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้อธิบายถึงผู้สืบทอดต่อจากท่านนบีมุฮัมมัดว่าจะมีคอลีฟะฮ์ ทำหน้าที่ปกครองมุสลิมสืบต่อมา (หน้า 47,145,147)

Belief System

อิสลามเป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว โดยมีหลักศรัทธา 6 ประการ (รุก่นอิมาน) คือความศรัทธาในอัลลอฮ์, ในบรรดามาลาอิกะฮ์, ในบรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์, ในนบีหรือรซูล(ศาสนฑูต) ของอัลลอฮ์, ในการกำเนิดใหม่และวันตัดสินสุดท้ายของโลกหน้า, ในการกำหนดสภาวะต่าง ๆ ของอัลลอฮ์ หลักปฏิบัติ 5 ประการ (รุก่นอิสลาม) คือ การปฏิญาณตน, การนมาซ, การถอศีลอด, การออกซะกาตและการประกอบพิธีฮัจญ์ (หน้า 149-153) มุสลิมยึดจารีตประเพณีและวิถีประชาเป็นหลักในการควบคุมทางสังคม ไม่มีข้อขัดแย้งในการดำเนินชีวิต ไม่มีการเชื่อถือโชคลางและลัทธิบูชาวัตถุ (หน้า 154-156)

Education and Socialization

จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน มีผู้ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา 113 คนคิดเป็นร้อยละ 37.7 ระดับมัธยมศึกษา 112 คนคิดเป็นร้อยละ 37.7 ศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 4.7 การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรีจำนวน 23 คนคิดเป็นร้อยละ 7.7 และมีผู้ได้รับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีมีจำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 1.3 และผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือมีจำนวน 11 คนคิดเป็นร้อยละ 3.7 (หน้า 51) ในด้านการศึกษาศาสนาอิสลาม พบว่ามีผู้ได้รับการศึกษาศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการมีจำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 72 และผู้ที่ไม่ได้ศึกษาศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการมีจำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 28 ระยะเวลาของการศึกษาศาสนาอิสลามของประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาอย่างเป็นทางการ คือ ศึกษาศาสนาอิสลาม 1-3 ปี (ร้อยละ 27.3) 4-6 ปี (ร้อยละ 38.5) 7-9 ปี (ร้อยละ 13.9) 10-12 ปี (ร้อยละ 12.6) 13-15 ปี (ร้อยละ 3.7) 16-18 ปี (ร้อยละ 2.4) 19 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 1.9) (หน้า 51-52) ผู้ที่ให้ความรู้ทางศาสนาอิสลามแก่กลุ่มตัวอย่าง ทั้งที่เรียนอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ พบว่า เรียนกับครูสอนศาสนาโดยตรงมากที่สุด คือจำนวนร้อยละ 25.3 ส่วนอีกร้อยละ 12.7 เรียนศาสนากับญาติซึ่งมีอาชีพเป็นครูสอนศาสนา (หน้า 52)

Health and Medicine

ผู้คนในชุมชนมีทั้งกลุ่มโรคประจำตัว ประเภทโรคชรา เบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีอายุมาก รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพดี นอกจากนั้นก็เป็นโรคกระเพาะและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (หน้า 55, 83-84)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้เขียนไม่ได้อธิบายไว้ชัดเจน เพียงแต่กล่าวไว้ว่า ภาษาอาหรับที่ใช้ในคัมภีร์กุรอานนั้นเป็นกวีนิพนธ์ที่มีความไพเราะงดงามยิ่ง (หน้า 145-146)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มุสลิมถือว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน โดยไม่จำกัดชาติ ภาษา ผิว ชั้นวรรณะ ทำให้เกิดภารดรภาพของมุสลิมทั่วโลก เห็นได้ชัดตรงที่การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะเป็นต้น นอกจากนั้น ศาสนาอิสลามก็มีความสัมพันธ์กับคนไทยมุสลิม ซึ่งก็เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย แต่นับถือศาสนาอิสลาม (หน้า 6, 153)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น เกิดการสมรสข้ามศาสนากัน หรือมีการแปลคัมภีร์ กุรอานออกเป็นภาษาต่าง ๆ หรือการที่มุสลิมให้การคารวะแก่บรรดาศาสดาศาสนาต่าง ๆ ที่ได้อุบัติขึ้นก่อนท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นต้น (หน้า 54-55, 146, 156)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ชาคริต สิทธิฤทธิ์ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ไทยมุสลิม, ชุมชน, นครศรีธรรมราช, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง