สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject การเร่ร่อนในทะเล,มอแกน,พังงา,ภาคใต้,ประเทศไทย,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author เสาวภา อาศน์ศิลารัตน์
Title วัฒนธรรมการเร่ร่อนในทะเล, การเปลี่ยนแปลงอาณาเขต และการปรับตัว: การใช้ทรัพยากร และรูปแบบการบริโภคในหมู่เกาะตอนใต้ของประเทศไทย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text -
Ethnic Identity มอแกน บะซิง มาซิง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขเรียกหนังสือ TH S239se 2007
ฐานข้อมูล Thai Digital Collection (TDC)
Total Pages 158 Year 2550
Source วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

วิถีชีวิตของชาวมอแกนซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการเร่ร่อนในทะเลถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากอันเนื่องมาจากการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1981 เป็นต้นมา โดยขาดการคำนึงถึงกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์เป็นหลักซึ่งเป็นคนท้องถิ่น แม้ว่าในภายหลังจะมีการประนีประนอมการใช้ทรัพยากรร่วมกันแล้วก็ตาม
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาเอกสารแผนแม่บทในการจัดการพื้นที่อุทยานหมู่เกาะสุรินทร์ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากฎระเบียบของรัฐจำกัดสิทธิพื้นที่อยู่อาศัยของชาวมอแกน จากเดิมที่มีวิถีการตั้งถิ่นฐานที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ฤดูกาล และระบบสังคมทำให้ต้องย้ายไปอยู่รวมกันที่อ่าวบอนใหญ่ตามพื้นที่ที่รัฐจัดให้เนื่องด้วยการจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ทั้งยังจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรทางบกและทางทะเลด้วยการควบคุมลักษณะเครื่องมือจับสัตว์น้ำและพื้นที่ ซึ่งเดิมเป็นแหล่งอาหารสำคัญด้วยเหตุผลของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ
การอนุรักษ์และการท่องเที่ยวของอุทยานก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในการปกครองตนเองของชาวมอแกน มีการจ้างงานชาวมอแกนในภาครัฐและภาคเอกชนส่งผลให้มีรายได้ในฤดูกาลท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันกลับเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยเฉพาะระบบการใช้ทรัพยากรจากการหาด้วยตนเองเป็นการพึ่งพิงระบบตลาด รูปแบบอาหารเปลี่ยนแปลงจากอาหารตามธรรมชาติเป็นอาหารที่เสี่ยงต่อปัญหาทางโภชนาการ ทั้งยังส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของพื้นที่และการลดจำนวนลงของทรัพยากรทางทะเล

Focus

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งอธิบายผลของการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ในช่วง ค.ศ. 1981 เป็นต้นมา ซึ่งทับซ้อนพื้นที่อาศัยและที่ทำกินของชาวมอแกนที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อนหน้า ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเร่ร่อนในทะเล อาณาเขตที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การปรับตัวต่อการใช้ทรัพยากรทางทะเล และการบริโภคหลังจากการประกาศพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์

Ethnic Group in the Focus

มอแกน โดยเฉพาะในหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ได้รับการขนานนามว่าเป็นกลุ่มยิปซีทะเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตและประเพณีไว้ (น.2)

Study Period (Data Collection)

ศึกษาเอกสารแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ พ.ศ. 2543-2547 และแผนแม่บทการจัดการพื้นที่กลุ่มอุทยานมรดกอาเซียน หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน อ่าวพังงา พ.ศ. 2550-2559 (น. 41) รวมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549-มกราคม 2550 (น. 43)

History of the Group and Community

ชาวมอแกนในพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์อพยพมาจากหมู่เกาะมะริด ประเทศพม่า และจากจังหวัดพังงาและระนอง ประเทศไทย ใน 4 ช่วงเวลา (น. 50)
ก่อนการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ช่วงที่ 1 ก่อน ค.ศ. 1981ชาวมอแกนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (1) กลุ่มที่เกิดในประเทศพม่าที่เกาะ Dungและเกาะ Yan Chiak (2) กลุ่มที่เกิดและโตในประเทศไทยที่เกาะพยาม เกาะลาว เกาะช้าง เกาะขามใน เกาะขามนอก เกาะไข่ ในจังหวัดระนอง เกาะพระทอง เกาะลา ในจังหวัดพังงา กระจายตัวใน 3 อ่าว คือ อ่าวกระทิง อ่าวไทรเอน อ่าวแม่ยาย อ่าวละ 10 ครอบครัว (น. 51)
หลังการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ช่วงที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1981-1990 ชาวมอแกนที่อ่าวแม่ยายและอ่าวกระทิงอพยพย้ายไปยังอ่าวช่องขาดซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานอุทยานฯ เพื่อความปลอดภัย ช่วงที่ 3 ระหว่าง ค.ศ. 1990-2004 จำนวนประชากรชาวมอแกนที่อพยพมาจากอ่าวไทรเอนมีจำนวนมากขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้เจ้าหน้าที่พยายามส่งตัวกลับไปยังอ่าวไทรเอนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ท้ายที่สุดได้แตกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่อ่าวบอนเล็ก อีกกลุ่มย้ายกลับไปยังอ่าวไทรเอน ซึ่งทั้งสองกลุ่มยังคงมีการติดต่อไปมาหาสู่ตามงานประเพณีต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด (น. 51) แต่ด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัดของอุทยานที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวมอแกน รวมทั้งปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการต่างงานกับคนต่างกลุ่ม ทำให้บางส่วนย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานที่เดิมอีกครั้ง ทั้งยังมีชาวมอแกนจากประเทศพม่าอพยพเข้ามาตามญาติพี่น้องที่เข้ามาก่อนหน้าอีกด้วย ช่วงที่ 4 หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งพื้นที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือชาวมอแกนที่อ่าวบอนเล็กและอ่าวไทรเอน โดยได้สร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวให้ที่วัดป่าส้านในอำเภอคุระบุรี หลังเหตุการณ์ผ่านพ้น ชาวมอแกนได้กลับมาสร้างบ้านที่หมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้ง โดยพื้นที่ของอ่าวบอนใหญ่ได้ถูกจัดการสร้างหมู่บ้านถาวรโดยอุทยานฯ ช่วงนี้ ชาวมอแกนในพม่าก็ยังคงอพยพตามญาติพี่น้องอย่างต่อเนื่อง (น. 52)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของชาวมอแกนเลือกจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ โดยต้องสามารถจอดเรือและทอดสมอได้ ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ สามารถหาอุปกรณ์หาปลาได้ ปัจจัยทางระบบนิเวศ เป็นเขตปะการังน้ำตื้นที่ชาวมอแกนสามารถดำน้ำหาปลาได้และมีความมั่นคงทางอาหาร ปัจจัยทางสังคม เป็นพื้นที่สงบไม่มีคนต่างกลุ่มมากนัก มีอิสระในการทำกิจกรรมของตน นอกจากนี้ยังต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างบ้านได้อย่างปลอดภัย (น. 58-59)

Demography

จำนวนประชากรมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ในปี 1993 มีจำนวน 136 คน, ปี 1994 มีจำนวน 201 คน, ปี 1997 มีจำนวน 134 คน,ปี 1998 มีจำนวน 144 คน, ปี 1999 มีจำนวน 141 คน, ปี 2000 มีจำนวน 162 คน และปี 2004 มีจำนวน 170 คน (น. 28)
ชุมชนมอแกน ในพื้นที่อ่าวบอนใหญ่ ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา มีจำนวน 51 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 194 คน เป็นเพศชาย 80 คนและเพศหญิง 114 คน (น. 5, 55)
อาชีพหลักของชาวมอแกนเปลี่ยนไปตาม ในช่วงมรสุมหรือนอกฤดูท่องเที่ยวซึ่งอุทยานฯ ปิด ชาวมอแกนจะใช้ชีวิตอยู่ในทะเลเพื่อหาปลิงทะเลและเปลือกหอยมาขาย บางส่วนไปทำงานก่อสร้างหรือตกปลาในเขตเหนืออุทยาน ส่วนช่วงฤดูแล้งหรือฤดูท่องเที่ยว ซึ่งอุทยานฯ เปิดทำการ ชาวมอแกนบางส่วนทำงานในอุทยานฯ มีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ขับเรือ ทำความสะอาด เป็นแรงงานก่อสร้าง และขายปลาให้กับอุทยาน บางส่วนเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวและไม่ใช่การท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้และศักยภาพให้กับชาวมอแกน บางส่วนทำงานภาคเอกชน เช่น ขับเรือนำเที่ยวหมู่เกาะสุรินทร์ นอกจากงานประจำแล้ว ชายชาวมอแกนยังใช้ทักษะแกะสลักในการทำโมเดลเรือ ตุ๊กตาไม้ หญิงสร้างงานศิลปะ เช่น ทำกล่อง แหวน เสื่อ กำไล สำหรับขายนักท่องเที่ยวอีกด้วย (น. 56)

Economy

ชาวมอแกนมีระบบการแบ่งปันทรัพยากรที่เข้มแข็งทั้งอาหาร เงิน และงาน ชาวมอแกนหาอาหารแบบพึ่งพาตนเองแม้จะออกเรือไปด้วยกันแต่จะแยกกันหาอาหารของตนเอง แต่ในการทำงานอื่น ๆ ชาวมอแกนมีความสามัคคีและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี เช่น ผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะช่วยกันสร้างเรือ (น. 58)
แหล่งทรัพยากรในพื้นที่อ่าวสำคัญของชาวมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ ได้แก่
(1)  อ่าวบอน แบ่งออกเป็นอ่าวบอนเล็กและอ่าวบอนใหญ่ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานถาวรและเป็นแหล่งหาอาหารประจำวันของชาวมอแกน มีสัตว์น้ำประเภทปลาจำนวนมาก มีพืช เช่น มะละกอ กล้วย สมุนไพร บนอ่าวบอนใหญ่มีแหล่งน้ำ 2 แหล่ง และอ่าวบอนเล็กมีแหล่งน้ำ 1 แหล่ง
(2)    อ่าวเต่าและอ่าวสับปะรด เป็นแหล่งอาหารตลอดปี สัตว์สำคัญ คือ หอยกาบและเต่า
(3)    อ่าวผักกาด เป็นสถานที่พักของชาวมอแกนในฤดูมรสุมเพื่อเก็บปลิงทะเล
(4)    อ่าว Ma Dah เป็นพื้นที่ปลอดลมมรสุมซึ่งต้องเดินเท้ามาจากอ่าวบอนใหญ่ 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งทรัพยากรทั้งทางบกและทะเล เช่น หอยและปลา (น. 64)
(5)    อ่าวสุเทพ เป็นพื้นที่เขตน้ำขึ้นน้ำลงที่กว้างขวาง เป็นแหล่งของหอย ปลา และเต่า
(6)  อ่าวช่องขาด มีลักษณะภูมิประเทศที่ดีที่สุดซึ่งชาวมอแกนเลือกตั้งถิ่นฐานที่นี่หลายครั้งในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่ทำการของอุทยานฯ เป็นแหล่งสัตว์ทะเลพิเศษประเภทต่าง ๆ และพืชประเภทหวายและผลไม้
(7)    อ่าวกระทิง เป็นแหล่งทรัพยากรบก
(8)    อ่าวไม้งาม เป็นแหล่งในการหาอาหารรอบป่าโกงกางและแนวปะการังน้ำตื้น
(9)    อ่าวจาก มีระยะทางที่ไกลจากอ่าวบอนใหญ่กว่า 7.2 กิโลเมตร จึงไม่เป็นที่นิยมของชาวมอแกน เป็นแหล่งของสัตว์ทะเลที่สามารถนำมาประดิษฐ์เรือจำลองได้ เช่น หอยกาบยักษ์ เม่นทะเล หอยนางรม และต้นชบา (น. 65-66)
(10)อ่าวไทรเอน มีความหนาแน่นของปะการังสูง ชาวมอแกนจึงนิยมใช้ทรัพยากรบนบกแทน เช่น มะม่วง นอกจากนี้ยังมีสัตว์ทะเลพิเศษอย่างหอยยักษ์ เม่นทะเล และหอยนางรม
(11)อ่าวแม่ยาย ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอแกน ปัจจุบันเป็นแหล่งอาหารขนาดใหญ่ทั้งในทะเล เช่น ปลากระเบน ปลิงทะเล เม่นทะเล หอยนางรม และบนบก มีสัตว์ป่า เช่น กระจง พืชป่า เช่น เกี๋ยงป่า ที่นี่เป็นแหล่งพักพิงชั่วคราวในช่วงมรสุมของชาวมอแกนบางส่วน
(12)อ่าวหินแพ เป็นทั้งแหล่งอาหารสำหรับการดำรงชีพและการค้า มีสัตว์น้ำประเภทหอย ปู และปลาประเภทต่าง ๆ (น. 66-67)
ชาวมอแกนมีหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยการใช้พื้นที่จุดละ 4-5 ครอบครัวจากนั้นจะหมุนเวียนทุก ๆ 2-3วัน เพื่อให้เกิดการสร้างสมดุลในธรรมชาติ และด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้มีความรู้ในการเก็บหาอาหารโดยมือเปล่าด้วยวิธีการที่ไม่ทำลายทรัพยากรส่วนอื่น ผู้ชายสามารถดำน้ำได้ลึก 20 เมตร มีหน้าที่เก็บปลิงทะเล และใช้หอกเพื่อจับปลาทะเลและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในขณะที่ผู้หญิงดำน้ำได้ 8 เมตร มีหน้าที่เก็บหอย หอยเม่นทะเล และปูเป็นส่วนมาก (น. 67) การใช้ทรัพยากรจากทะเลไม่เป็นไปตามฤดูกาลเนื่องจากทั้งหมดสามารถหาได้จากในทะเล วัยรุ่นชาวมอแกนยึดถือวิถีปฏิบัติของผู้สูงอายุในการหาอาหาร มีมุมมองเรื่องการใช้หอกแทงปลาเฉพาะที่ต้องการมากกว่าการใช้อวนซึ่งอาจทำลายสภาพแวดล้อมส่วนอื่น (น. 69)
ทรัพยากรทางทะเลมีจำนวนลดลงหลังจากการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ บางสายพันธุ์ เช่น เต่าทะเล และหอยมือเสือยักษ์ เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อรายได้ของชาวมอแกนอีกด้วย รายได้จากการขายปลิงทะเลและเปลือกหอยลดลง ในฤดูกาลท่องเที่ยว ชาวมอแกนมีรายได้จากการทำงานให้อุทยานและภาคการท่องเที่ยว ในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูกาลท่องเที่ยว รายได้หลักกลับมาจากการประมงขนาดเล็ก แต่ก็ยังถูกควบคุมด้วยกฎหมาย ทำให้สามารถหาสัตว์ทะเลได้เพียงครั้งละเล็กน้อยเท่านั้น (น. 87-88)
การเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลของชาวมอแกนมีลักษณะที่ลดลง โดยแบ่งเป็น (1) กลุ่มที่มีโอกาสเข้าถึงสูงมาก 9 ครัวเรือน เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ทำงานใด ๆ และยังคงรักษาวิถีชีวิตเดิมในการหาอาหารเพื่อยังชีพซึ่งเป็นไปตามกฎของอุทยานฯ (2) กลุ่มที่มีโอกาสเข้าถึงสูง 9 ครัวเรือน เป็นกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมาอยู่ในหมู่บ้านมอแกน ส่วนมากทำงานให้กับ CUSRI มีเวลาในการออกทะเลเพื่อหาอาหารยังชีพ (3) กลุ่มที่มีโอกาสเข้าถึงปานกลาง 7 ครัวเรือน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายปลาให้อุทยานแห่งชาติ และ (4) กลุ่มที่มีโอกาสเข้าถึงต่ำ 26 ครัวเรือน เป็นกลุ่มที่ทำงานให้กับอุทยานฯ วันละ 7 ชั่วโมง ไม่มีเวลาในการออกทะเล (น. 97-100) อาหารสังเคราะห์และอาหารที่ไม่ได้มีในธรรมชาติของเกาะกลายเป็นสิ่งที่ชาวมอแกนต้องการ เช่น ขนมขบเคี้ยว เป็นที่ต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็ก, น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง, อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร อาหารกระป๋อง และกาแฟ และเนื้อสัตว์ประเภทไก่และหมูซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่มีราคาแพง (น. 105-106) อาหารเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการกับชาวมอแกนได้ในอนาคต (น. 107)

Social Organization

ชีวิตของชาวมอแกนให้ความสำคัญกับระบบเครือญาติ โดยปกติมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวจากการที่ต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก แต่บางครอบครัวก็จะมีญาติอาศัยอยู่ด้วย การแบ่งงานตามเพศเป็นไปอย่างชัดเจน ผู้ชายมีหน้าที่หาอาหารจากธรรมชาติในทะเลที่ไกลออกไปจากชายฝั่งและสร้างเรือ ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่หาอาหารใกล้ชายฝั่ง ผู้สูงอายุมีบทบาทในการเป็นผู้นำ และหมอหรือหมอผี ผู้นำจะสืบเชื้อสายตามระบบเครือญาติ โดยต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนาน สามารถจัดการกับบุคลภายนอก และสามารถติดต่อสื่อสารกับบรรพบุรุษได้ (น. 57)

Political Organization

ชาวมอแกนปกครองด้วยระบบผู้นำชุมชนที่เป็นผู้อาวุโส แต่หลังการจัดตั้งอุทยานฯ ทำให้ชาวมอแกนอยู่ภายใต้การนำของอุทยานฯ โดยผู้นำชุมชนยังคงมีบทบาทในเทศกาล และพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การรักษาอาการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนในชุมชนเท่านั้น (น. 57)
การเข้ามาจัดการพื้นที่ของรัฐ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกลุ่มมอแกนอันเป็นผลมาจากการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในปี 1981 โดยมีการกำหนดแผนแม่บทที่ขาดการมีส่วนร่วมของชาวมอแกนซึ่งเป็นประชากรในท้องถิ่น ส่งผลให้ในปี 1988 ชาวมอแกนที่เดิมตั้งถิ่นฐานที่อ่าวช่องขาดบางส่วนต้องถูกย้ายไปยังอ่าวบอนเล็ก และบางส่วนไปอยู่ที่อ่าวไทรเอน มีข้อห้ามในการจับปลาเพื่อการค้า โดยสามารถใช้อุปกรณ์จับสัตว์น้ำขนาดเล็กได้โดยมีเหตุผลเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการท่องเที่ยวมารองรับ ในปี 1996 ชาวมอแกนยังถูกควบคุมโดยห้ามเก็บปลิงทะเลและเปลือกหอยซึ่งเป็นช่องทางในการหารายได้ อีกทั้ง รัฐยังมีนโยบายการควบคุมอัตราการเกิดของชาวมอแกน ซึ่งปัจจุบันร้อยละ 40 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยอุทยานฯ จะมีการสำรวจสำมะโนประชากรทุกปีเพื่อป้องกันการหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย พื้นที่เดิมซึ่งเคยเป็นพื้นที่หาอาหารของชาวมอแกน กลายเป็นพื้นที่จัดสรรเพื่อกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การดำน้ำ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับการท่องเที่ยวมากกว่าคนท้องถิ่น (น. 73-77)
ท้ายที่สุด แม้ว่าอุทยานฯ จะมีการกำหนดเงื่อนไขที่เคร่งครัด แต่ก็พบการประนีประนอมการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากชาวมอแกนซึ่งเป็นคนพื้นถิ่น โดยประนีประนอมให้จับสัตว์น้ำเพื่อดำรงชีพและใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก อนุโลมให้ทำประมงพาณิชย์ขนาดเล็กตราบที่ยังไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ สามารถเก็บปลิงทะเลและเปลือกหอยซึ่งเป็นวิถีชีวิตและการค้าได้ (น. 79-80) ปัญหาการดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเริ่มต้นทำแผนแม่บทโดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขาดการมีส่วนร่วมของชาวมอแกนตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์หลัก (น. 81-82)
การก่อตั้งอุทยานฯ ทำให้ชาวมอแกนสูญเสียสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล เนื่องจากรัฐได้ประกาศพื้นที่ทับซ้อนพื้นที่ทำกินของพวกเขา เกิดความรู้สึกสูญเสียความเป็นเจ้าของและไม่รู้สึกว่าต้องปกป้องทรัพยากรซึ่งกลายเป็นหน้าที่ของอุทยานฯ แทน (น. 88-89)

Belief System

อ่าวต่าง ๆ ในหมู่เกาะสุรินทร์ล้วนเคยเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวมอแกน โดยสังเกตได้จาก “หล่อโบง” หรือเสาบรรพบุรุษที่ตั้งอยู่จนถึงปัจจุบัน (น. 55)
ชาวมอแกนเชื่อว่าห้ามกินหอยฝาเดียว เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติจะลงโทษผู้ที่กินให้ไม่สามารถหาหอยฝาเดียวได้อีกในครั้งต่อไป ควรหลีกเลี่ยงการกินหอยนางรมในเดือนเมษายน-พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬหรือน้ำทะเลเปลี่ยนสี สัตว์บางชนิดจะมีพิษในช่วงดังกล่าว (น. 71)
ชาวมอแกนเชื่อว่าห้ามกินเต่าในช่วงเดือน 5 หรือเดือนเมษายน เนื่องจากเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชาหล่อโบงหรือเสาบรรพบุรุษ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำผึ้ง นม ใบพลู ไก่ ของหวาน ซึ่งจะกระทำในช่วงดังกล่าว (น. 71)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เรือก่าบาง เป็นชื่อเรียกเรือของชาวมอแกน (น. 85)

Social Cultural and Identity Change

ความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเร่ร่อนของชาวมอแกนหลังจากการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ด้านการตั้งถิ่นฐาน: เดิมชาวมอแกนมีวัฒนธรรมเร่ร่อนย้ายถิ่นฐานไปตามฤดูมรสุมและฤดูแล้งเพื่อหาสถานที่ปลอดภัยและแหล่งอาหารยังชีพ ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยภูมิประเทศ ระบบนิเวศ และสังคม แต่ภายหลังมีการตั้งถิ่นฐานถาวรที่อ่าวบอนใหญ่ เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นการตั้งถิ่นฐานถาวร ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมบางส่วนกลายเป็นจุดท่องเที่ยว (น. 83-84)
ด้านกฎหมาย: การควบคุมตามกฎของอุทยานฯ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเร่ร่อนไปโดยสิ้นเชิงจากการบังคับให้ย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลของการปกป้องแหล่งทรัพยากร ทำให้ผู้สูงอายุบางส่วนที่ไม่สามารถรับแรงกดดันนี้ได้ได้ย้ายถิ่นฐานออกไปยังจังหวัดภูเก็ต และหลังเหตุการณ์สึนามิ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดการชาวมอแกนได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยการให้อาศัยอยู่ร่วมกันในอ่าวเดียวเท่านั้นคืออ่าวบอนใหญ่ (น. 85)
ด้านบุคลิกลักษณะและความปลอดภัยในชีวิต: ชาวมอแกนเป็นคนรักสงบ ไม่ได้อยู่ร่วมกับคนกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ใช้ชีวิตส่วนมากในเรือก่าบาง ชาวมอแกนมองว่าแผ่นดินใหญ่เป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนทรัพยากรและสินค้าที่มีอัตราการแข่งขันสูงซึ่งต่างกับสังคมมอแกนมาก บุคลิกเช่นนี้ของชาวมอแกนอาจทำให้เสี่ยงต่อการเอารัดเอาเปรียบได้ (น. 85)
ด้านการใช้ทรัพยากร: ปัจจุบันชาวมอแกนตั้งถิ่นฐานถาวรที่อ่าวบอนใหญ่เป็นเวลา 2 ปีแล้วโดยไม่ได้ย้ายไปที่ใดตามวัฒนธรรมเร่ร่อนตามฤดูกาลเหมือนในอดีต พวกเขาอาศัยในบ้านปูนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีการจ้างงานที่มั่นคง การยอมทำตามกฎของอุทยานฯ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในด้านการใช้ทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเดิม และอาจส่งผลให้มีการย้ายถิ่นของชาวมอแกนเข้าไปในเมืองเพื่อความทันสมัยกว่าในอนาคต (น. 86)

Map/Illustration

แผนที่

  • แผนที่การตั้งถิ่นฐานของชาวมอแกน ช่วงที่ 1-3 ตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 1981-2004 (น. 53)
  • แผนที่การตั้งถิ่นฐานของชาวมอแกน ช่วงที่ 4 ค.ศ. 2005-2006 (น. 54)
  • แผนที่การใช้ประโยชน์ทับซ้อนระหว่างอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์และชาวมอแกน (น. 78)
แผนภาพ
  • ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาวมอแกนที่เกาะบอนใหญ่ (น. 60)
ตาราง
  • ตารางการใช้ประโยชน์พื้นที่อ่าวในหมู่เกาะสุรินทร์ของชาวมอแกน (น. 63)
  • ตารางความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับลักษณะ ที่อยู่ ข้อห้ามของสัตว์ประเภทต่าง ๆ (น. 71)
  • ตารางการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ต่าง ๆ ตามฤดูกาล (น. 72)
  • ตารางแสดงพื้นที่ตั้งถิ่นฐานก่อนและหลังการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ของชาวมอแกน (น. 84)

Text Analyst พิสุทธิลักษณ์ บุญโต Date of Report 24 ก.ย. 2563
TAG การเร่ร่อนในทะเล, มอแกน, พังงา, ภาคใต้, ประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง