สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ประวัติศาสตร์,การต่อสู้,พม่า
Author Ohno, Toru
Title ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยของชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่า
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาญี่ปุ่น
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดสยามสมาคม Total Pages 26 Year 2513
Source 東南アジア研究 วิจัยเอเชียอาคเนย์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3
Abstract

การต่อสู้เพื่อเอกราชและการปกครองตนเองของชนชาติกะเหรี่ยงต่อกองกำลังพม่าหลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ความแตกแยกเป็นกลุ่ม ๆ ของกะเหรี่ยงทั้งในด้านหลักการและวิธีการต่อสู้

Focus

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชนชาติกะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ ในพม่า

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศพม่า

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ บทความเขียนในปี ค.ศ.1969

History of the Group and Community

กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามสันเขาตะนาวศรี รัฐกาเรนนีและสามเหลี่ยมอิระวดีและลุ่มแม่น้ำสาละวินของประเทศพม่า สันนิษฐานว่าอพยพมาจากยูนนานตั้งแต่ศตวรรษที่ 6-7 ในปี ค.ศ.1901 จำนวนประชากรกะเหรี่ยงมีปริมาณ 727,235 คน และเพิ่มมาเป็นประมาณ 2 ล้านคนในปี ค.ศ.1967 โดยอาศัยอยู่รัฐก่อทูเร 729,000 คน รัฐคะยา 104,000 คน (หน้า 364-365)

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงอาศัยอยู่บนที่ราบสูง เป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะแก่การทำนาข้าว เหตุที่กะเหรี่ยงต้องไปตั้งถิ่นฐานบนที่สูงเนื่องจากในพื้นที่ที่ราบนั้นมีมอญและชาวพม่าอาศัยอยู่มาก่อนแล้ว และกลุ่มคนเหล่านี้มีจำนวนและกำลังมากกว่า (หน้า 365)

Demography

ดูหัวข้อ History of the Group and Community

Economy

อาชีพหลักของกะเหรี่ยงคือ ทำนา

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ภายใต้การเป็นอาณานิคมของอังกฤษ กลุ่ม KNA ได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ได้แก่ การช่วยเหลือโรงเรียนสำหรับกะเหรี่ยง หรือการเพิ่มจำนวนผู้นำกะเหรี่ยงในรัฐบาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กะเหรี่ยงที่เพิ่มบทบาททางการเมืองส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงที่อาศัยในพื้นที่ราบ ขณะที่กะเหรี่ยงที่อยู่บนที่สูงก็ยังคงวิถีชีวิตแบบของตน (หน้า 369-370)

Belief System

หลังสงครามอังกฤษพม่าครั้งที่ 1 กะเหรี่ยงเปลี่ยนจากนับถือผีมาเป็นศาสนาคริสต์จำนวนมาก โดยเฉพาะกะเหรี่ยงในพื้นที่ราบ และพบว่ากะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หันมานับถือศาสนาคริสต์เร็วที่สุดในกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในพม่า (หน้า 367)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่กลุ่มหนึ่ง แต่มักอาศัยอยู่เป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อรักษาความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (หน้า 371)

Social Cultural and Identity Change

จากทศวรรษที่ 18-19 วิถีชีวิตของกะเหรี่ยงเปลี่ยนแปลงไป คือ กะเหรี่ยงค่อย ๆ เริ่มเคลื่อนตัวลงไปอยู่ที่ราบ สาเหตุที่ทำให้กะเหรี่ยงอพยพไปอยู่ที่ราบคือ สงครามกับอังกฤษทั้ง 3 รอบ ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่การตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ กะเหรี่ยงขณะนั้นเข้าข้างฝ่ายอังกฤษในการต่อต้านกับพม่า (หน้า 366)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

กะเหรี่ยง KNA (Karen National Association) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ.1881 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกะเหรี่ยงคริสต์และกะเหรี่ยงศาสนาอื่น ต่อต้านพม่าและร่วมมือกับอังกฤษ (หน้า 367) ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าหลังจากปี ค.ศ.1948 ความคิดเห็นของอังกฤษในช่วงอาณานิคมได้ส่งผลต่อพลังการต่อต้านของกะเหรี่ยงต่อพม่า เช่น อังกฤษให้ข้อสังเกตว่าสิทธิของกะเหรี่ยงในรัฐบาลพม่ามีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา จำนวนข้าราชการ เป็นต้น การปกครองแบบแบ่งแยกและปกครองของอังกฤษส่งผลให้ความแตกแยกระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยงสูงขึ้น (หน้า 368-370) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองพม่า (ค.ศ. 1942-1945) ซึ่งหมายความว่า กะเหรี่ยงได้สูญเสียผู้นำอย่างอังกฤษไปแล้ว ในช่วงแรกทหารพม่าก็ได้เข้าไปในดินแดนกะเหรี่ยงเพื่อถอนอาวุธที่ยังหลงเหลืออยู่ ทำให้กะเหรี่ยงไม่พอใจพม่ามากขึ้น กระทั่งกองทัพญี่ปุ่นสามารถขยายอำนาจเข้าไปปกครองดินแดนของกะเหรี่ยงได้ ความขัดแย้งระหว่างกะเหรี่ยงและพม่าจึงสงบลง (หน้า 370-374) ปี ค.ศ.1945 มีการประชุมของชนชาติกะเหรี่ยงในเมืองร่างกุ้งโดยมีข้อตกลงที่จะแยกจากประเทศพม่า ต่อมาในเดือนมกราคมปี ค.ศ.1947 พลเองซอบาจีและคณะได้เดินทางไปอังกฤษเพื่อขออยู่ภายใต้การดูแลของอังกฤษแต่ก็ไม่เป็นผล ทาง KNU ต้องตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการร่างรัฐธรรมนูญกับทางพม่าหรือรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า และปัญหาดังกล่าวก็ทำให้เกิดความแตกแยกภายในกลุ่มกะเหรี่ยง (หน้า 376-377) ต่อมา ซอ ซัมโพทิน และ มัน บากาอิน ได้แยกตัวออกมาจาก KNU และร่วมมือกับ AFPFL ก่อตั้งเป็นกลุ่ม KYO (Karen Youth Organization) (หน้า 377) ปี ค.ศ.1945-1947 หลังจากญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากพม่า อองซานได้จัดตั้งรัฐบาลของประเทศพม่าขึ้น ส่งผลให้กะเหรี่ยงซึ่งไม่ไว้วางใจชาวพม่ากังวลต่อการเมืองของตนเองมากขึ้น ในปี ค.ศ.1947 รัฐบาลพม่าไม่เชิญผู้แทนของกะเหรี่ยง KNU เข้าร่วมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่กะเหรี่ยงจากกลุ่ม KYO ได้ที่นั่งถึง 19 ที่นั่ง ในจำนวน 24 ที่นั่งของชนชาติกะเหรี่ยงในรัฐบาล (หน้า 375-376) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่ม KYO ได้รวมเข้ากับกลุ่ม KCO หลังจากนั้นก็เปลี่ยนชื่อเป็น KNU และในปี ค.ศ.1947 กลุ่ม KNU ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งระดับประเทศ ทำให้ KYO แยกตัวออกมาอีกครั้งหนึ่ง (หน้า 377-378) โดยหลักการแล้ว KYO และ KNU มีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องวิธีการต่อสู้ KYO ปฏิเสธที่จะใช้อาวุธ แต่ต้องการให้กะเหรี่ยงอยู่ร่วมกับพม่าแบบสหภาพ (union) เพราะเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์กับชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมากกว่า (หน้า 378) กลุ่มใหญ่ของ KNU ซึ่งเป็นกะเหรี่ยงภายใต้การนำของ ซอบาจี ยอมรับว่าการปลดปล่อยรัฐกะเหรี่ยงไม่สามารถเป็นจริงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อ AFPFL ไม่ยอมรับข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้อของ KNU กลุ่มก็จะปฏิเสธในการเข้าร่วมการเลือกตั้งระดับประเทศ (ข้อเรียกร้องที่สำคัญได้แก่ พม่าต้องยอมรับให้มีการสร้างท่าเรือในรัฐกะเหรี่ยง ในสภาต้องมีตัวแทนของกะเหรี่ยงร้อยละ 25 พม่าต้องยอมให้กะเหรี่ยงมีกองทัพของตนเอง องค์กรของรัฐต้องมีข้าราชการชกะเหรี่ยงตามสัดส่วนประชากร) ซึ่งรัฐบาลพม่านำโดยอูนุอนุญาตให้กะเหรี่ยงมีที่นั่งในสภาได้ 24 ที่นั่ง และปฏิเสธข้อเรียกร้องหลักทั้ง 5 ข้อ (หน้า 378-379) ในเดือนกันยายนปี 1947 คนกะเหรี่ยงได้จัดตั้งกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยง KNDO (Karen National Defense Organization) ซึ่งเป็นกองกำลังที่ยิ่งใหญ่ (หน้า 379) ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1948 อังกฤษให้เอกราชแก่พม่า KNU แสดงการต่อต้านด้วยการตั้งวันระลึกเอกราชของกะเหรี่ยงในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1948 (หน้า 381) ในปีเดียวกันกะเหรี่ยงได้ตั้งรัฐบาลและลงมติร่วมกัน คือ การก่อตั้งรัฐกะเหรี่ยงชั่วคราว ความเท่าเทียมระหว่างกะเหรี่ยงกับพม่า การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ และการหลีกเลี่ยงสงครามภายใน (หน้า 381) กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งตระหนักดีว่า ชาวพม่าจะไม่ทำตามข้อเรียกร้องของตน จึงตัดสินใจใช้กำลังในการต่อต้าน ในปี 1948 ทหารกะเหรี่ยง KNDO ได้เข้ายึด มะละแหม่ง ท่าตอนและตองอู แต่การยึดครองดังกล่าวเป็นการกระทำของกะเหรี่ยงในท้องถิ่นไม่ใช่การรับคำสั่งจากศูนย์ KNU ซึ่งซอบาจียังประกาศว่าจะไม่ใช้วิธีการรุนแรง จะเดินหน้าเรียกร้องให้มีการก่อตั้งรัฐกะเหรี่ยง ขณะที่ KNDO ต้องการแยกตัวออกมาจากพม่าเท่านั้น (หน้า 381-383) ในปี พ.ศ.1948 ผู้นำ KNU ได้ร่วมมือกับกลุ่มชาติพันธุ์นิยมม้งเรียกร้องให้มีการก่อตั้งประเทศเอกราชกะเหรี่ยงและม้ง ครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดพื้นที่ตอนล่างของพม่า ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ปลายปี 1948 KNDO กองกำลังทหารซึ่งนำโดย ม่านบาซาน ได้เพิ่มกองกำลังโดยดึงดึงกลุ่มคะฉิ่นเข้ามาร่วมด้วย (หน้า 383-384) ธันวาคม ค.ศ.1948 สงครามระหว่างกะเหรี่ยงและพม่าได้เริ่มขึ้นที่ เมลากี และมีการปะทะกันระหว่างกลุ่ม KNDO กับ PVO (กองกำลังทางทหารของพม่า) เกิดขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ การปะทะที่หมู่บ้านไทจี (ห่างจากย่างกุ้ง 40 ไมล์) ในเดือนมกราคม 1949 ซึ่งทหาร PVO ได้บุกเข้าโจมตี ทำให้มีกะเหรี่ยงเสียชีวิตประมาณ 150 คน ทหาร KNDO ได้ตอบโต้ฝ่ายพม่าโดยการเข้าทำลายคลังอาวุธที่อินเซ็น จู่โจมคลังเก็บเงินที่มาอูวิน (หน้า 385-386) อย่างไรก็ตาม การบุกโจมตีของ KNDO ไม่ได้เป็นนโยบายของ KNU ในปี 1949 ซอบาจีได้เรียกร้องให้กะเหรี่ยงหลีกเลี่ยงการต่อสู้ระหว่างกะเหรี่ยงกับพม่า แต่การโจมตีก็ยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากรัฐบาลพม่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ (หน้า 387) ได้แก่ในเขต ซานชาอูน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของกะเหรี่ยงในเมืองย่างกุ้ง ได้ถูกล้อมรอบโดยทหารพม่า ทหาร PVO ได้เข้าไปปลดอาวุธในทามาอิน และคาเวจัน ขณะที่ KNDO ก็ต่อสู้เพื่อป้องกันตนเอง กลุ่ม KNDO ได้ถอนอาวุธออกไปจากเขตอาลองซึ่งเป็นที่อยู่ของกะเหรี่ยงเพียง 1 วันเขตอาลองก็ถูกโจมตีโดย PVO ทำให้กะเหรี่ยงถูกทำร้ายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนถูกเผารวมทั้งบ้านของซอบาจี (ผู้นำ KNU) ด้วย KNDO จึงตอบโต้ด้วยการบุกโกดังอาวุธทางอากาศที่ มินกาลาโด่ง และปล้น สดมภ์กระสุนปืนของพม่า (หน้า 388-389) ต่อมารัฐบาลพม่าจึงได้ประกาศว่า KNDO เป็นองค์กรผิดกฎหมาย (หน้า 389)

Map/Illustration

โครงสร้างกลุ่มต่อสู้ต่าง ๆ ของกะเหรี่ยง - หน้า 379, รายชื่อผู้นำของกลุ่ม KNU และ KYO และ KNDO- หน้า 379

Text Analyst Tatsuo Iida, Sivarin Lertpusit Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ประวัติศาสตร์, การต่อสู้, พม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง