สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ตั้งรกราก,สยามต้นรัตนโกสินทร์,มอญ,ลาว,จาม,เปอร์เซีย,อาหรับ,อินเดีย,มาเลย์,แต้จิ๋ว,ฮกเกี้ยน,ฮากกา,ไหหลำ,กวางตุ้ง,ขแมร์,เวียดนาม,ไทยยวน,ซิกข์,โปรตุเกส
Author เอ็ดเวิร์ด ฟาน รอย
Title Siamese melting pot: Ethnic minorities in the making of Bangkok
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, ลาวเวียง ลาวกลาง, ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, มอญ รมัน รามัญ, ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  Total Pages 296 Year 2560
Source
Abstract

งานศึกษาภูมิหลังเชิงประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เข้ามาตั้งรกรากในกรุงเทพฯ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประกอบด้วย มอญ ลาว จาม เปอร์เซีย อาหรับ อินเดีย มาเลย์ จีน ขแมร์ เวียดนาม ไทยโยนก ซิกข์ จีนเชื้อสายต่างๆ รวมไปถึงชาวตะวันตก สะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่า กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มคนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรมอาศัยอยู่ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการผสมผสานเชิงวัฒนธรรมจนเป็นที่มาของความเป็นคนสยาม ซึ่งต่อมาก็คือ “คนไทย” ข้อเท็จจริงดังกล่าวได้นำไปสู่การสะท้อนย้อนคิด ถอดรื้อความคิดความเชื่อ มายาคติเรื่องชาติพันธุ์ หรือเชื้อชาติไทย ว่าแท้ที่จริงแล้ว “ความเป็นไทย” ในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของของความเป็นชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรม ล้วนเป็นส่วนผสมที่เกิดจากการหลอมรวมเอาคนต่างชาติพันธุ์ต่างวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน ความเป็น คนสยาม หรือ คนไทย จึงอุปมาดั่งหม้อหลอมใบใหญ่ที่บรรจุเอาสิ่งละอันพันละน้อยเข้าไว้ด้วยกัน

Focus

อธิบายถึงที่มาทางสังคม การเมือง การย้ายถิ่น การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ที่ทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมและเกิดสังคมที่มีความหลากหลายเป็นพหุวัฒนธรรมขึ้นในกรุงเทพ ซึ่งส่งผลให้เกิดการหลอมรวม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ก่อรูปเป็นสังคม-วัฒนธรรม พัฒนาการของเมือง องค์กรทางสังคม เช่นทุกวันนี้

Ethnic Group in the Focus

มอญ ลาว จาม เปอร์เซีย อาหรับ อินเดีย มาเลย์ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ฮากกา ไหหลำ กวางตุ้ง ขแมร์ เวียดนาม ไทยยวน ซิกซ์ โปรตุเกส ฯลฯ

Study Period (Data Collection)

ช่วงเวลาของการศึกษาวิจัยคือระหว่างปี ค.ศ. 1997 ถึง ปี ค.ศ. 2016โดยงานวิจัยมุ่งศึกษาช่วงเวลารัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ของราชวงศ์จักรี คือช่วงปี ค.ศ. 1782-1910 จากการศึกษาเอกสาร และการลงพื้นที่วิจัยในชุมชนที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตั้งรกรากอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกำหนดช่วงเวลาและพื้นที่ ที่ทำการศึกษา แต่ผู้เขียนก็ได้กล่าวถึงบริบทที่เกี่ยวข้องนอกห้วงเวลาและพื้นที่ที่ทำการศึกษาด้วย เพื่อให้มีความเข้าใจที่มาที่ไปของช่วงเวลาที่ทำการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

History of the Group and Community

มอญ – ชาติพันธุ์มอญตั้งชุมชนอยู่ในบริเวณธนบุรีและกรุงเทพฯ ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นกองรักษาการณ์ ทางฝั่งธนบุรีชาวมอญตั้งบ้านเรือนและสร้างวัดบริเวณสองฝากฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะที่คลองมอญเรียกบริเวณนี้ว่า บ้านมอญ และบางยี่เรือ ทางตอนใต้ของคลองบางกอกใหญ่ เช่นเดียวกับชาวสยาม ชาวมอญสร้างวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ได้แก่ วัดราชคฤห์วรวิหาร วัดอินทารามวรวิหาร วัดนาคกลางวรวิหาร และวัดยานนาวา นอกจากบริเวณบางยี่เรือแล้ว ยังมีชุมชนชาวมอญที่คลองด่าน ปัจจุบันคือคลองบางขุนเทียน ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางทางน้ำในอดีตที่เป็นโครงข่ายทางน้ำเชื่อมต่อกับแม่น้ำท่าจีนทางทิศตะวันตกซึ่งเชื่อมทะเลฝั่งอันดามัน บริเวณนี่มีวัดมอญเช่นกันคือ วัดท่าข้าม วัดหูกระบือ และวัดบางกระดี่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนมอญ ที่ปากเกร็ด นครไชยศรี และพระประแดง เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ได้มีมอญกลุ่มใหม่ย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับชาวมอญที่บ้านมอญ โดยได้ตั้งชุมชน บ้านมอญใหม่ที่อีกฝากของคลองมอญ บ้านหม้อ บ้านขมิ้น บ้านข้าวเม่า บ้านสมเด็จ ทางฝั่งกรุงเทพฯ ชาวมอญตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านพระอาทิตย์ บ้านลาน บ้านพระยาศรี บ้านทวาย บ้านตะนาว

ลาว - หลังสงครามที่เวียงจันทร์ เชื้อพระวงศ์และเชลยศึกชาวลาวถูกกวาดต้อนมาไว้ที่ธนบุรีและกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก เชื้อพระวงศ์ลาวได้รับอนุญาตให้สร้างวังบริเวณบางยี่ขัน เชลยศึกลาวที่ถูกเรียกว่า ลาวเวียง บางส่วนได้รับอนุญาตให้ตั้งชุมชนที่กรุงเทพฯ บริเวณบ้านลาวพวนหรือปัจจุบันคือบางขุนพรหม บ้านตีทอง บ้านกระบะ บ้านหม้อ และทางใต้น้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บางไส้ไก่ บ้านกรวย นอกจากนี้ยังมีที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านช่างหล่อ บ้านสามเสนใน บ้านไทยตลาดนางเลิ้งและตลิ่งชัน หลังจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ ชาวลาวจำนวนมากที่เป็นชาวนาได้ถูกกวาดต้อนมายังสยามอีกและให้ตั้งชุมชนอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น เพชรบุรี ราชบุรี

 จาม – มุสลิมจาม หรือแขกจาม ตั้งถิ่นฐานชุมชนทั้งฝั่งธนบุรีและกรุงเทพฯ คือริมคลองบางกอกใหญ่ ได้แก่ ชุมชนกุฎีใหญ่ หรือกุฎีเก่า ปัจจุบันเรียกมัสยิดต้นสน กุฎีใหม่หรือกุฎีหลวง ปัจจุบันรู้จักในนามมัสยิดกุฎีขาว กุฎีอาสาจามริมคลองบางกอกน้อยซึ่งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวคือกองบัญชาการกองทัพเรือ และมัสยิดบ้านครัวริมคลองแสนแสบ

เปอร์เซีย - ชาวเปอร์เซียตั้งชุมชนอยู่ที่ธนบุรี บริเวณคลองบางกอกใหญ่ เดิมเรียกกุฎีนอก หรือกุฎีกลาง ในปัจจุบันคือกุฎีเจริญพาศน์ และชุมชนกุฎีเจ้าเซ็น ซึ่งเคยเป็นชุมชนของชาวเปอร์เซียปัจจุบันพื้นที่ส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกองบัญชาการกองทัพเรือและชุมชนได้ถูกย้ายไปอยู่ที่ถนนพรานนก และได้รับการตั้งชื่อว่ากุฎีหลวง ซึ่งมีชุมชนแขกจามอยู่ในบริเวณเดียวกัน

อาหรับ – ชาวอาหรับตั้งถิ่นฐานในบริเวณด้านใต้ริมคลองบางกอกน้อย ในบริเวณที่เรียกว่าบ้านแขกบางกอกน้อย เดิมชุมชนอาหรับอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของเจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข หลังสิ้นพระชนม์ทำให้ชาวอาหรับที่เคยช่วยราชการลดความสำคัญลง ต่อมาพื้นที่ตรงนี้ถูกใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟสายใต้หรือสถานีรถไฟธนบุรี

อินเดีย – ชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งรกรากเป็นมุสลิมมีอาชีพเป็นพ่อค้า เข้ามาตั้งรกรากในสยาม 3 ระลอก โดยในระลอกแรกราวปี ค.ศ. 1844 เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์จากบอมเบย์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณคลองบางหลวงใกล้กับชุมชนเปอร์เซียซึ่งเป็นมุสลิมนิกายเดียวกัน และยังมีมุสลิมสุหนี่จากมาดราสภายใต้การอุปถัมป์จากพระยาศรีพิพัฒน์จางวางกรมพระคลังสินค้า สายสกุลบุนนาค ซึ่งสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลที่เป็นแขกเปอร์เซียซึ่งเข้ามาสยามตั้งแต่สมัยอยุธยา พ่อค้าอินเดียยังตั้งชุมชนอยู่บริเวณกุฎีนอก หรือกุฎีหลัง โดยได้รับอนุญาตให้สร้างโกดังสินค้าและโรงงานพิมพ์ลายผ้า ซึ่งได้มีการนำคนงานชาวอินเดียเข้ามาทำงานผลิตผ้าพิมพ์ลายด้วย ในระลอกที่สองภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง พ่อค้าอินเดียซึ่งถือเป็นคนในบังคับอังกฤษ ได้ประโยชน์จากการที่สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ จึงเข้ามาทำการค้ามากขึ้น ได้มีการตั้งชุมชนที่บริเวณคลองสาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสร้างโกดังหลวงและท่าเรือภายใต้การดูแลของพระยาศรีพิพัฒน์ โกดังที่สร้างขึ้นเป็นโครงสร้างอิฐฉาบปูน ย่านนี้จึงถูกเรียกว่า ตึกขาว ปัจจุบันมัสยิดตึกขาวก็คือมัสยิดเซฟี ต่อมาได้มีชาวอินเดียมุสลิมจากคุชราช เข้ามาตั้งถิ่นฐานขออนุญาตสร้างโกดังสินค้า โดยก่ออิฐแต่ไม่ได้ฉาบปูน ในบริเวณต้นแม่น้ำจากย่านตึกขาวขึ้นไปราว 500 เมตร ย่านนี้จึงถูกเรียกว่าย่านตึกแดง ในบริเวณนี้ปัจจุบันยังคงมีมัสยิดตึกแดงตั้งอยู่ สำหรับระลอกที่สาม คือช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียมุสลิมชีอะห์ที่อาศัยอยู่ย่านคลองสานจึงได้ข้ามมาตั้งร้านค้าที่ฝั่งกรุงเทพฯ โดยได้มาตั้งสำนักงานใหญ่ในบริเวณสำเพ็งและราชวงศ์ ขณะที่มุสลิมอินเดียที่เป็นสุหนี่ได้ข้ามฝั่งมาตั้งร้านค้าอยู่ที่บริเวณบางรัก ในปัจจุบันคือย่านที่เรียกกันว่าบ้านแขกบางรัก

มาเลย์ - หรือชาวมลายู ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนในหลายพื้นที่ของธนบุรีและกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นเชลยที่กวาดต้อนมาจากปัตตานี ในสมัยกรุงธนบุรี ชาวมลายูตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสวนพลูบริเวณคลองบางกอกใหญ่ ใกล้กับชุมชน จาม เปอร์เซีย ไม่ไกลจากชุมชนมอญบางยี่เรือ บางส่วนตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณที่เป็นบางอ้อ ถนนจรัญสนิทวงศ์ในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีมัสยิดอิห์ซานเป็นศูนย์กลางต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 สยามได้มีการทำสงครามกับปัตตานีหลายครั้ง หลังสงครามครั้งแรกในปี ค.ศ. 1785-1786 สยามได้กวาดต้อนเชลยศึกมลายูมาเป็นจำนวนมาก กลุ่มช่างฝีมือและขุนนางปัตตานีได้รับอนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนบริเวณปากคลองบางลำพู มีการสร้างมัสยิดบางลำพูซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมัสยิดจักรพงศ์เมื่อมีการตัดถนนจักรพงศ์ผ่านย่านนี้ ในราว ค.ศ. 1790-1791 ได้มีการทำสงครามและกวาดต้อนเชลยอีก โดยให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณทุ่งกระบือ ริมคลองมหานาค ตั้งชื่อว่า บ้านตานีภายหลังบริเวณนี้มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมและคลองแสนแสบ เนื่องจากเป็นจุดตัดของคลองหลายสาย จึงได้กลายมาเป็นตลาดน้ำ มีชาวอินเดียและชาวจีนเข้ามาค้าขายโดยเฉพาะผ้า ปัจจุบันคือย่านโบ๊เบ๊ ราวปี ค.ศ. 1808 ได้มีการกวาดต้อนเชลยศึกจากไทรบุรี หรือเคดาห์ ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณที่เป็นชุมชนบ้านสวนหลวง ปัจจุบันคือซอยเจริญกรุง 103 โดยเชลยศึกไทรบุรีเหล่านี้ถูกเกณฑ์แรงงานให้ขุดคลองสวนหลวง จากพื้นที่ที่ตั้งชุมชนออกไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีมัสยิดอัลอติกเป็นศูนย์กลางของชุมชน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีเหตุให้เกิดการสู้รบระหว่างกรุงเทพฯและปัตตานีอีกครั้ง หลังการสู้รบได้มีการกวาดต้อนเชลยศึกครั้งใหญ่ มายังกรุงเทพฯ ได้ตั้งชุมชนในบริเวณรอบนอกของเขตเมืองกรุงเทพฯในขณะนั้นออกไป คือบริเวณ บางกะปิ หัวหมาก มีนบุรี หนองจอก ตลอดแนวคลองแสนแสบที่ได้ขุดให้ยาวออกไปจากคลองมหานาคไปจรดแม่น้ำบางประกง นอกจากนี้ยังมีการตั้งถิ่นฐานในฝั่งธนบุรีในพื้นที่บ้านแขกไส้ไก่ หรือปัจจุบันรู้จักกันในชื่อบ้านแขกบ้านสมเด็จ สำหรับในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงมีการย้ายถิ่นฐานชาวมลายูเข้ามายังกรุงเทพฯ โดยตั้งชุมชนอยู่ไม่ห่างจากชุมชนบ้านสวนหลวง คือชุมชนบางอุทิศและชุมชนบ้านตรอกหมอ 

โปรตุเกส - ชาวโปรตุเกสเข้ามายังสยามตั้งแต่สมัยอยุธยา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ พ่อค้า ทหารรับจ้าง กลุ่มผู้เผยแผ่ศาสนา และลูกหลานที่เกิดจากการแต่งงานของชาวโปรตุเกสและชาวพื้นเมือง หลังจากกรุงศรีอยุธยาแพ้แก่พม่า ชุมชนชาวโปรตุเกสได้ย้ายจากอยุธยามาธนบุรี โดยกลุ่มที่เป็นทหารรับจ้างได้ตั้งรกรากใกล้กับกำแพงเมืองกรุงธนบุรี ใกล้กับชุมชนกุฎีจีนของชาวจีน และได้สร้างโบสถ์และชุมชนซางตาครูซขึ้นในบริเวณนี้ ชุมชนชาวโปรตุเกสยังมีที่บริเวณบ้านโปรตุเกส สามเสน ซึ่งเป็นชุมชนเก่าที่ถูกย้ายจากอยุธยาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ และมีชาวโปรตุเกสใหม่ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเขมร โปรตุเกสกลุ่มใหม่ที่ย้ายมาสมทบที่บ้านโปรตุเกสสามเสนนี้ ส่วนใหญ่เคยอยู่ที่อยุธยาก่อนจะหนีภัยสงครามระหว่างอยุธยาและพม่าไปยังเขมร และถูกกวาดต้อนเข้ามาสมทบที่บ้านโปรตุเกสสามเสนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เมื่อสยามยกทัพไปตีเขมร นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวโปรตุเกสบริเวณตลาดน้อยซึ่งแยกตัวออกจากชุมชนซางตาครูซ อีกด้วย

ชาวจีน - จำแนกตามกลุ่มตามภาษาพูดคือ แต้จิ๋วฮกเกี้ยน ฮากกา ไหหลำ กวางตุ้ง

ขแมร์ - เวียดนาม - ไทยยวน - ซิกข์ 

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานเป็นไปในลักษณะที่ชุมชนของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตั้งอยู่ในบริเวณริมแม่น้ำและลำคลองซึ่งเป็นไปตามความสะดวกในการสัญจร มีทั้งที่ตั้งบ้านเรือนชุมชนอยู่บริเวณที่อยู่ในเขตเมือง คือใกล้กับกำแพงพระราชวัง และที่ตั้งถิ่นฐานไกลออกไป แต่ละชุมชนมีความสามารถเฉพาะในวิชาชีพ เช่น เป็นช่างฝีมือ ช่างเหล็ก ช่างทอง จึงทำให้ชุมชนได้กลายเป็นพื้นที่ศูนย์กลางย่านการค้าตามที่แต่ละชุมชนมีความชำนาญในภายหลัง รูปแบบการตั้งชุมชนคล้ายกันคือจะมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมื่อมีชาติพันธุ์เดียวกันถูกกวาดต้อนหรือย้ายมาในภายหลังจะได้รับอนุญาตให้ตั้งชุมชนใหม่ที่อยู่ไม่ไกลจากชุมชนเดิมที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันอาศัยอยู่ 

Map/Illustration

แผนที่
แผนที่ 1.1 ปริมณฑลของกรุงธนบุรี ก่อน ปี ค.ศ. 1782 (หน้า 5)
แผนที่ 1.2 ปริมณฑลดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ปี ค.ศ. 1782-1785 (หน้า 5)
แผนที่ 1.3 ปริมณฑลของกรุงเทพฯ ปี ค.ศ. 1809 (หน้า 5)
แผนที่ 1.4 กรุงเทพฯ: การแบ่งพื้นที่ระหว่างพระมหากษัตริย์และวังหน้า ปี ค.ศ. 1782-1885  (หน้า 9)
แผนที่ 1.5 กรุงเทพฯ: เมืองยุคหลังปริมณฑล ปี ค.ศ. 1910 (หน้า 9)
แผนที่ 1.6 ธนบุรี: การตั้งถิ่นฐานของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ ปี ค.ศ. 1767-1782   (หน้า 25)
แผนที่ 1.7 กรุงเทพฯ: การตั้งถิ่นฐานของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ ปี ค.ศ. 1782-1851         (หน้า 26)
แผนที่ 1.8 กรุงเทพฯ: การตั้งถิ่นฐานของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ ปี ค.ศ. 1851-1910 (หน้า 27)
แผนที่ 1.9 กรุงเทพฯ: ผังเมือง ปี ค.ศ. 1910 (หน้า 37)                            
แผนที่ 2.1 เส้นทางการค้าเข้าสู่/ออกจาก สยาม ของโปรตุเกส ปี ค.ศ. 1511-1767 (หน้า 45)
แผนที่ 2.2 อยุธยา: การตั้งถิ่นฐานและสถานที่ที่เกี่ยวข้องของชาวโปรตุเกส ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1767 (หน้า 51)
แผนที่ 2.3 ธนบุรีและกรุงเทพฯ: การตั้งถิ่นฐานและสถานที่ที่เกี่ยวข้องของชาวโปรตุเกส ช่วงหลังปี ค.ศ. 1782 (หน้า 55)
แผนที่ 3.1 อยุธยา: การตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและสถานที่ที่เกี่ยวข้องช่วงก่อนปี ค.ศ. 1767 (หน้า 77)
แผนที่ 3.2 เส้นทางหลักทางน้ำ และศูนย์กลางประชากรมอญในปริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยา (หน้า80)
แผนที่ 3.3 ธนบุรี: การตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและสถานที่ที่เกี่ยวข้องช่วงปี ค.ศ. 1767-1782  (หน้า 82) 
แผนที่ 3.4 กรุงเทพฯ: การตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและสถานที่ที่เกี่ยวข้องช่วงก่อนปี ค.ศ. 1910 (หน้า 88)
แผนที่ 4.1 ลาวเหนือน้ำ: บางขุนพรหม บางยี่ขัน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นศตวรรษที่ 20 (หน้า 111)
แผนที่ 4.2 ลาวเวียง: บ้านหม้อ บ้านกระบะ บ้านตีทอง ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นศตวรรษที่ 20 (หน้า 111)
แผนที่ 4.3 ลาวใต้น้ำ: บางไส้ไก่ ศตวรรษที่ 19 (หน้า 119)
แผนที่ 4.4 ลาวใต้น้ำ: บ้านกรวย ปลายศตวรรษที่ 19 (หน้า 119)
แผนที่ 5.1 กรุงเทพฯเก่า: หมู่บ้านมุสลิมแยกตามชาติพันธุ์ (หน้า 134)
แผนที่ 6.1 ธนบุรี: การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนและชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยอื่น ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1782 (หน้า 175)
แผนที่ 6.2 สำเพ็งและบริเวณโดยรอบ ระหว่างปี ค.ศ. 1782-1868 (หน้า 177)
แผนที่ 6.3 สำเพ็งและบริเวณโดยรอบ ชาวจีนที่พูดภาษาจีนต่างๆ ปี ค.ศ. 1910 (หน้า 185)
แผนที่ 7.1 กรุงเทพฯ: สถานที่หลักของชาวขแมร์ ช่วงปี ค.ศ. 1782-1910 (หน้า 201)
แผนที่ 7.2 กรุงเทพฯ: สถานที่ของชาวไทยยวน ช่วงปี ค.ศ. 1782-1910 (หน้า 217)
แผนที่ 7.3 กรุงเทพฯ: สถานที่หลักบริเวณบางรัก ช่วงปี ค.ศ. 1855-1910 (หน้า 221)
แผนที่ 7.4 กรุงเทพฯ: สถานที่ต่าง ๆ ชาวเวียดนามกลุ่มหลัก,ชาวซิกข์,และชาวตะวันตก ภายในกำแพงพระนคร ปี ค.ศ. 1910 (หน้า 223)

ตาราง
ตาราง 1.1 พระราชวังในกรุงเทพฯ: ที่ตั้งของวังต่างๆ ใน 5 รัชสมัยแรกของราชวงศ์จักรี ระหว่างปี ค.ศ. 1782-1910 (หน้า 7)
ตาราง 1.2 ประมาณการจำนวนประชากรของสยามจำแนกตามชาติพันธุ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1822-1904 หน่วยเป็นพันคน (หน้า 21)
ตาราง 1.3 ประมาณการจำนวนประชากรของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ: จำแนกตามเขตที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์หลัก ในปี ค.ศ. 1782, 1851, และ 1910 (หน้า 23)
ตาราง 1.4 ประมาณการจำนวนประชากรของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ: จำแนกตามภาษาจีนของกลุ่มต่างๆ  ในปี ค.ศ. 1782, 1851, และ 1910 (หน้า 23)
ตาราง 1.5 ประมาณการจำนวนประชากรของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ: กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่ชาวจีน ในปี ค.ศ. 1782, 1851, และ 1910 (หน้า 24)
ตาราง 1.6 ประชากร กรุงเทพฯ-ธนบุรี จำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ปี ค.ศ. 1933/34 และ ค.ศ. 1937/38 (หน้า 40)
ตาราง 4.1 สาแหรกราชวงศ์เวียงจันทน์ (หน้า 110)
ตาราง 5.1 หมู่บ้านมุสลิมและมัสยิดของกรุงเทพฯ เก่า (หน้า 135) 

Text Analyst อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ตั้งรกราก, สยามต้นรัตนโกสินทร์, มอญ, ลาว, จาม, เปอร์เซีย, อาหรับ, อินเดีย, มาเลย์, แต้จิ๋ว, ฮกเกี้ยน, ฮากกา, ไหหลำ, กวางตุ้ง, ขแมร์, เวียดนาม, ไทยยวน, ซิกข์, โปรตุเกส, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง