สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ, ดาระอั้ง, ขมุ, มลาบรี, ความสัมพันธ์, ภาคเหนือ, ไทย, เพื่อนบ้าน
Author ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, สรินยา คำเมือง, สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์, บุญสม ชีรวณิชย์กุล, อธิตา สุนทโรทก
Title ปริศนาวงศาคณาญาติ ”ลัวะ”
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, ดาราอาง ดาระอางแดง รูไม ปะเล รูจิง ตะอาง, กำมุ ตะมอย, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ละว้า ลัวะ ว้า, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น Total Pages 199 Year 2555
Source มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract

เนื้อหาของงานเขียน กล่าวถึงการศึกษาความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ว่ามีความเป็นมาและมีความข้องเกี่ยวอย่างไรกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นหรือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหรือไม่  ซึ่งผู้เขียนต้องการสืบค้นเพื่อคลายความสงสัย จึงค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวกับลัวะ ลเวือะ ลวะ ปะหล่อง  ดาระอั้ง มลาบรี  ขมุ  ซึ่งจากการศึกษา ส่วนหนึ่งได้ข้อมูลมาจากการทำงานภาคสนาม ส่วนหนึ่งได้มาจากการจัดเสวนารวบรวมความรู้ ซึ่งผู้ข้อมูลเป็นผู้รู้จากกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ   งานเขียนระบุว่า ต้องศึกษาจากรากทางภาษา ความเป็นมา ตำนาน บางกลุ่มชาติพันธุ์แม้ว่ามีตำนาน และวีรบุรุษเดียวกัน แต่เมื่อเกิดการโยกย้ายที่อยู่ ก็อาจเกิดความเหินห่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งแม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์เดียวอาจมีภาษาที่แตกต่างกันแม้เพียงแต่อยู่คนละหมู่บ้าน หรือยู่คนละเมือง ไปจนถึงวิถีชีวิต ได้ได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประวัติศาสตร์ ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Focus

เพื่อคลี่คลายปริศนาว่าลัวะเป็นใคร มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นอย่างไร เพื่อไขปัญหา และสร้างฐานข้อมูลที่ถูกต้อง (หน้า 19)

Ethnic Group in the Focus

ลัวะ
          อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก ในสายมอญ-เขมรเหนือ โดยมีภาษาใกล้ชิดกัน สามกลุ่มย่อยดังนี้  (หน้า 32)
          กลุ่มปะหล่องอิก  ได้แก่  ละเม็ด  ว้า  ละวือะ  ปะหล่อง  (ดาละอั้ง)  ปลัง  และ สามเต้า   (หน้า 32)
          กลุ่มขมุอิก (ขมุอิก) ประกอบด้วย  ขมุ  มัล/ปรัย (ลัวะ) กับมลาบรี (หน้า 32)
และกลุ่มเวียดติก  ได้แก่  เวียดนาม  กับโซ่ (ทะวืง) (หน้า 32)
 
กลุ่มลัวะ
          ถ้าใช้ชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตัวเองสามารถแยกเป็นสี่กลุ่ม   (หน้า 35)
          ลัวะ         อยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน
          ละเวือะ    อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน  ได้แก่อำเภอแม่สะเรียง “ลัวะ” ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง  จังหวัดเชียงใหม่  ได้แก่ อำเภอหางดง
          ปลัง       อยู่บริเวณห้วยน้ำขุ่น ตำบลแม่ฟ้าหลวง  อำเภอแม่จัน  (หน้า 35)
 
ละเวือะจากเอกสารโบราณ
          จากเอกสารโบราณ หรือตำนานล้านนา นั้นจะเรียกกลุ่มคนที่เป็นบรรพบุรุษของ “ลเวือะ” ว่า “ลัวะ” ซึ่งคาดว่า ในอดีตจะตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่พื้นที่ของแคว้นไต้คง ของประเทศจีน  รัฐฉานของประเทศพม่า  ภาคเหนือของไทย  และทางเหนือของประเทศลาว โดยมีการติดต่อกับไตยวนในล้านนามาเป็นเวลานาน หรือก่อนช่วงพญาเมงรายสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1893 (หน้า 57) ซึ่งจากการตั้งข้อสังเกต เนื้อหาเกี่ยวกับลัวะ อยู่ในบันทึกหลายอย่าง เช่นตำนานเมือง  ตำนานศาสนา และอื่นๆ  (หน้า 57)  ตำนานเมืองเรียก “ลัวะ” กับ “ว้า”  ส่วนที่ปรากฎในศิลาจารึก เรียกว่า “ลัวะ” และ “ลวะ” ในตำนานจามเทวี กับชินกาลมาสัปกรณ์ เรียกว่า “มิลักขะ” ในขณะที่พงศาวดารของลาว ของมหาศิลา  วีระวงศ์ เรียกว่า “ลัวะ” บางครั้งก็เรียก “ละว้า”  (หน้า 58)
          ตามตำนานกล่าวว่า “ลัวะ” เป็นลาวเดิม กลุ่มหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ลพบุรี ถึงเมืองเชียงแสน ของไทยในทุกวันนี้  (หน้า 58) ส่วนตำนานพระธาตุดอยตุงระบุว่า “ลัวะ” ในอดีตตั้งที่อยู่ที่ดอยตุง (ในเชียงราย) และลัวะที่กล่าวถึงในตำนานเมืองเชียงตุง ที่เล่าถึง เรื่องราวของ “พ่อละ” หรือ “ขุนหลวงวิรังคะ” ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอยสุเทพ  (หน้า 58)
 
ละเวือะแบ่งเป็นสองกลุ่มย่อย
          คือหนึ่ง ละเวือที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน กลุ่มนี้ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น การถือ ผีข้างพ่อ(หน้า 68) ส่วนละเวือะที่อยู่พื้นราบเป็นกลุ่มที่มีความเป็นมาและมีบรรพบุรุษร่วมกันกับละเวือะ ที่อยู่บนดอยได้ย้ายที่อยู่ไปอยู่บนดอยได้หนีไตยวนที่อยู่พื้นราบมาเป็นเวลาเนิ่นนาน (หน้า 69)
 
ดาระอั้ง
          ดาระอั้งที่อยู่ในอำเภอเชียงตุง กลุ่มที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฉาน แบ่งเป็นสามกลุ่มย่อยดังนี้  ดาระอั้งรูไม, ดาระอั้งทอง, ดาระอั้งเงิน ซึ่งคำเรียกของพม่า เรียกดาระอั้งว่า “ปะหล่อง” อันประกอบด้วย  (หน้า 75)

  1. Shwe  หรือ Golden Palaung หรือ Ta-ang
  2. Pale หรือ Silver Palaung หรือ Di- Ang  or  Ngwe  Palaung
  3. Rumai  (หน้า 75)
          กลุ่มย่อยตั้งบ้านเรือน อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ในจีนกับพม่า กลุ่มนี้เรียกตนเองว่า  “ดาระอั้ง” (Daraang) แปลว่า “คนภูเขา” (หน้า 75) อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว (หน้า 76)  ส่วนดาระอั้งที่ปางแดงนั้นบอกว่า กลุ่มตนเองเป็นดาระอั้งซิ่น หรือดาระอั้งซิ่นแดง    (หน้า 76)   
 
การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์
          ลัวะและกลุ่มใกล้เคียง โดยยึดหลักการเรียกตัวเอง จากการศึกษามีดังนี้        ละเม็ด, ว้า, ลเวือะ, ดาระอั้ง, ปลัง, สามเต้า อยู่ในกลุ่มย่อยปะหล่องอิก (หน้า 159)
ขมุ, มัล/ ปรัย (ลัวะ) มลาบรี อยู่ในกลุ่มย่อยขมุอิก  (หน้า 159)
เวียดนาม  โซ่ (ทะวืง) อยู่ในกลุ่มย่อย เวียดติด (หน้า 159)  ทั้งสามกลุ่มย่อยอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ, เขมรเหนือ (หน้า 159)
 
ขมุ
          ขมุเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีชื่อเรียกหลากหลายชื่อ ได้แก่ ขมุ  ข่า  ลาวเทิง  ข่ามุ  คำว่าขมุ เป็นคำใช้เรียกตัวเอง ซึ่งมาจากคำว่า “ขฮมุ”  หรือ “มุ” หมายถึง “คน” ส่วนในงานของดำรง  ทายานิน (ปรานี  วงษ์เทศ แปลเมื่อปี 2548) กล่าวว่า “กำมุ” คือคำที่ขมุในประเทศลาวเรียกตัวเอง และรู้สึกขัดเคืองใจเมื่อถูกเรียกว่า “ขมุ”  ซึ่งคำว่า “กำมุ” แปลว่า “คน” คล้ายกับคำว่า “ขมุ” ที่ออกเสียงไม่เหมือนกัน  (หน้า 121)
          ผู้เขียนกล่าวว่า ในความคิดของขมุ ขมุคือผู้ที่พูดภาษาขมุ และมีประเพณีแบบขมุ  แต่เนื่องจากในความเป็นจริง  ภาษาขมุในหมู่บ้านต่างๆ นั้นไม่เหมือน ดังนั้นขมุจึงมีอีกคำเรียกว่า “ตะมอย” (tmooy) หมายถึง “ผู้มาเยือน” ใช้เรียกขมุ ที่ไม่เคยรู้จักมักจี่กันมาก่อน  ความสับสนในการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ “ขมุ” หรือ “กำมุ”  หรือ “มุ” ว่า “ข่ามุ”(khaa- mu) ที่อาจเอาไปรวมกับคำว่า “ข่า”ในภาษาลาว ที่แปลว่า “ข้าทาส” ที่สื่อสัญญะถึงชนชั้นที่อยู่ในสังคมหาใช่ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์  ซึ่งอาจทำให้ไปนับรวมกับชาติพันธุ์อื่น ในประเทศลาว ที่ถูกเรียกขานว่า “ข่า” นำหน้าให้เป็นขมุด้วยเช่นกัน ปี พ.ศ.ส่วนในงานของชาติชาย มีเกิดมูล( พ.ศ. 2529) โดย เรียก “ข่ามุ”(อ่านว่า ข่า-หมุ) ที่แยกเป็นกลุ่มย่อยต่างๆ (แยกโดยนักวิจัย)ได้ดังนี้ (หน้า 122)
  1. ข่ามุ ประกอบด้วยห้ากลุ่มย่อย  ได้แก่ ข่าฮอก  ข่ามุกสัก  ข่ามุเม  ข่ามุลื้อ  กับข่ามุ (หน้า 122)
  2. ขมุ ในประเทศลาวมีหกกลุ่มย่อยด้วยกัน คือ ตะมอยยวน,  ตะมอยเม,  ตะมอยอู,  ตะมอยเจวา,  ตะมอยเกวิน,  กับตะมอยกรอง
  3. ขมุ ในไทย ประกอบด้วยสองกลุ่มย่อย เช่น ข่ามุมกพลาง, (ข่ามุฮอก) กับ      ข่ามุลื้อ  (นิพัทธเวช, 2526  หน้า 122)
  4. ไทย มีข่ามุ สามกลุ่มย่อย ได้แก่  ข่ามุฮอก, ข่ามุลื้อ, ข่ามุเลาะ ( ชาติชาย 2529หน้า 122)
 
      แบ่งโดยขมุด้วยกันเอง
  1. ในประเทศลาวมีข่ามุ ไม่ต่ำกว่า 13กลุ่มย่อย  ได้แก่  ตะมอยหวาน, ตะมอยเถิร, ข่ามุอำ, ข่ามุเลาะ, ข่ามุฮอก, ข่ามุกุย, ข่ามุหลาย, ข่ามุมี, ข่ามุยาแทน, ข่ามุลื้อ, ข่ามุโอย กับข่ามุกะสวย  (หน้า 122)
  2. ส่วนข่ามุที่อยู่ในประเทศไทยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามแหล่งที่เคยอยู่ ได้แก่ ข่ามุมกพราง คือ ข่ามุที่มาจากมกพราง (ชื่อดอย) ตะมอยแสตง คือ ข่ามุจากบ้านห้วยแสตง  อำเภอทุ่งช้าง, ตะมอยยอมยาว คือ ข่ามุแห่งน้ำยาว และอื่นๆ  (หน้า 123)
 
มลาบรี หรือ มราบรี
          งานที่ศึกษาระบุว่า  มลาบรี กับมลาบรี ในประเทศไทย ชื่อนี้เป็นชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตนเอง ซึ่งหมายถึง “คนป่า” ที่มาจาก “มลา” หมายถึง “คน” , ส่วนบรี หมายถึง “ป่า” ส่วนคนไทยเรียกพวกเขาว่า “ผีตองเหลือง”  ส่วนงานศึกษามลาบรี ในประเทศลาว ระบุว่า พวกเขาเรียกตนเองว่า “ยัมบรี” (yumbri) ส่วนคำว่า “มลาบรี”นั้นทางการลาวได้กำหนดคำนี้ ในขณะที่ประชาชนลาวโดยทั่วไปเรียกพวกเขาว่า “ผีตองเหลือง” กับ “คนป่า”  (หน้า 125)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของปลังสามเต้า
          ปลังสามเต้าพูดไทยไม่ค่อยได้ เนื่องจากอพยพมาไม่ถึง 10ปี (หน้า 65)
 
ภาษาของลัวะ
          ผู้เขียนระบุว่า การเรียกภาษาของลัวะนั้น พบว่า  คำว่า “มัล” หรือ “ไปร๊” (ปรัย)  นักภาษาศาสตร์เป็นคนกำหนด แต่กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะอาจจะไม่รู้ว่าภาษาที่พวกเขาพูดนั้นคือภาษาอะไร (หน้า 45)  นอกจากนี้ผู้เขียนยังกล่าวถึง การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ลัวะ กับภาษา อาจมีความแตกต่างกัน  เช่นผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่งกล่าวว่า  ตนเองเป็นลัวะแต่พ่อกับพ่อ นั้นพูดภาษาที่แตกต่างกัน คือพ่อพูดภาษา “ไปร๊” ขณะที่แม่พูดภาษา “มัล” และตนเองพูดภาษา”มัล” เหมือนแม่  (หน้า 45) ตัวอย่างเช่น
          ภาษาไทย                      มัล                                     ไปร๊
              กินข้าว                     ปองซา                           ปองจ๊ะ  (หน้า 45)  

History of the Group and Community

ความเป็นมาของละว้า
          งานเขียนระบุว่า กว่าสองพันปีที่แล้ว พื้นที่บริเวณนี้ เช่นตอนใต้ของจีน  ภาคเหนือของไทย อาจมีบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธ์ “ละว้า” ที่อยู่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์  โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยได้แก่  “ลวะ” ที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย  หรือล้านนาในอดีต  และทุกวันนี้ได้แบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม ได้แก่ “ลัวะ” อยู่จังหวัดน่าน   (หน้า 41) 
          “ลเวือะ” อยู่ที่จังหวัดลำปาง  เชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน
          “ว้า” อยู่ ในมณฑลยูนนานของจีน และในพม่า และลวะที่ถูกดูดกลืนวัฒนธรรมอยู่ในที่ราบลุ่มของจังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 41)
 
ในจังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 43)
          ชุมชนที่ถูกเรียกว่า “ลัว” “ละว้า” ได้เรียกตนเองไม่เหมือนกันในแต่ละชุมชนดังนี้
          “ละวะ”  (เขตอำเภอจอมทอง)
          “ลัวะ”      บ้านขุนคงหลวง, บ้านกวน ตำบลหานแก้ว  อำเภอหางดง
          “ลเวือะ”    ที่บ้านบ่อหลวง  บ้านกิ่วลม  บ้านกองลอย  อำเภอฮอด  และอำเภอสันป่าตอง
          ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ “ปะหล่อง” นั้นเรียกตนเองว่า “ดาระอั้ง” เป็นกลุ่มที่โยกย้ายที่อยู่มาจากรัฐฉาน  ประเทศพม่า  มาอยู่ที่ดอยเชียงดาว  อำเภอเชียงดาว   อำเภอฝาง   และอำเภอแม่อาย  (หน้า 43)
          ส่วนกลุ่มที่อยู่อำเภอแม่สะเรียง  อำเภอแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  กลุ่มที่อยู่อำเภอแม่สะเรียง  และแม่ลาน้อย ที่ถูกเรียกว่า “ลัวะ” (หน้า 43)  จะเรียกตัวเองว่า “ลเวือะ และไม่พึงพอใจอย่างมากที่ถูกเรียกว่า “ลัวะ” เนื่องจากมีความคิดว่า ความหมายของคำนี้ มีนัยยะในเชิงดูถูก เหยียดหยาม และมีความหมายในเชิงลบ   (หน้า 44)
 
จังหวัดเชียงราย
          กลุ่มที่อยู่ห้วยน้ำขุน  ตำบลแม่ฟ้าหลวง  อำเภอแม่จัน เป็นกลุ่มที่ย้ายครัวเรือนมาจากสิบสองปันนา  ประเทศจีน  โดยย้ายที่อยู่  เข้ามาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ปลัง” เมื่อครั้งที่ยังสร้างบ้านเรือนอยู่ในประเทศจีน กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า “ปู้หลั่ง” ขณะที่กลุ่มที่ย้ายที่อยู่มาอยู่ที่ รัฐฉาน ประเทศพม่า ถูกเรียกชื่อกลุ่มว่า “ไตหลอย” หลังจากที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ห้วยน้ำขุน  หลังปี พ.ศ. 2529 ทางการจึงเรียกว่า “ลั้ว”  ทุกวันนี้คนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “ลัวะ” ซึ่งความจริงคือ “ปลัง” แต่ถ้าถูกเรียกว่า “ลัวะ” ก็ไม่เป็นไร  (หน้า 44)
 
ในจังหวัดน่าน
          ผู้เขียนบอกว่า “ลัวะ” อาจจะแบ่งเป็นสองกลุ่มย่อย ตามภาษาที่พูดได้แก่ “มัล”  ซึ่งจากข้อมูลชาวต่างชาติที่ลงสนามในหวัดน่าน  เมื่อประมาณ 50  ที่แล้วพบว่า คนที่เรียกตัวเองว่า “ลัวะ” ทุกวันนี้ไม่ชอบเรียกตัวเอง “ลัวะ  ผู้เขียนบอกว่า ในแต่ขณะพื้นที่จะเรียกชื่อตัวเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลัวะที่อยู่อำเภอปัว ส่วนมากจะเรียกตัวเองว่า “คลำมัล”   หรือ “คนมัล” และพบว่ามีบางกลุ่มที่อยู่บริเวณทุ่งช้างนั้นเรียกตนเองว่า  (หน้า 44) “คนปรัย” แต่จากที่ผู้เขียน ได้สำภาษณ์ระบุว่า ไม่มีใครรู้จักคำว่า “ปรัย”  รู้จักแต่คำว่า “ลัวะ”  นอกจากนี้ยังรู้สึกเคืองใจหากทางการเรียกพวกเขาว่า “ถิ่น” ส่วนคำว่า “มัล” กับ “ปรัย” ยังไม่ทราบที่มาที่แน่นอน ซึ่งจากการศึกษาระบุว่า ภาษามัล กับ ปรัย เช่นคำว่า “คน” ในภาษาไทย  ในภาษามัลจะใช้คำว่า “คยัม” แต่ในภาษาปรัยนั้นใช้คำว่า “ครัม”    ( หน้า 45)
          จากการศึกษาถึงการตั้งถิ่นที่อยู่ของ “ถิ่น” “มัล” กับ” ปรัย”  โดยสังเกตที่พยัญชนะต้นที่ใช้พบว่า   ชุมชนที่หลายแห่งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ่อเกลือเหนือ  บ่อเกลือใต้  อำเภอเชียงกลาง  อำเภอปัว เป็นกลุ่ม “มัล” มากกว่ากลุ่ม “ปรัย”  จากการศึกษาพบว่า กลุ่มไปร๊ (ปรัย) อยู่ไม่ต่ำกว่า 11หมู่บ้าน ในตำบลบ่อเกลือเหนือ  ขณะที่มัลที่อยู่บ่อเกลือใต้ (หน้า 45)
 
ประวัติดาระอั้ง
          ดาระอั้งที่โยกย้ายมาตั้งครัวเรือน ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มที่ย้ายครอครัวมาจาก้านปูงโหลง เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า สาเหตุที่อพยพเพื่อต้องการมาเสาะหาที่ทำกินแห่งใหม่ การอพยพครั้งแรกได้มาอยู่ที่ดอยลาย ที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองเชียงตองกับเมืองปั่น  (หน้า 66) เริ่มต้นปี พ.ศ. 2480 ดาระอั้งได้อพยพเข้ามาอยู่ดอยลาย เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการสู้รบ  จากนั้นดาระอั้งก็อพยพจากดอยลาย เนื่องจากมีการต่อสู้ระหว่างทหารไทยใหญ่ และทหารรัฐบาลพม่า ดังนั้นดาระอั้ง จึงอพยพเข้ามาอยู่ในไทยช่วงปลาย พ.ศ. 2510และเริ่มมากขึ้นตามลำดับ ในช่วงต้น ทศวรรษ 2520  รัฐบาลทหารพม่าได้กำหนดให้ ดาระอั้ง อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จัดสรรไว้ให้ ต่อมากลุ่มดาระอั้งได้มาตั้ง้านเรือนอยู่ในประเทศไทย ที่บริเวณดอยอ่างขาง เมื่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก ก็เกิดปัญหาที่ทำกินจึงย้ายที่อยู่มาอยู่ริเวณป่าปางไม้แดง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 67)

Settlement Pattern

บ้าน
          เนื้อหาของงานไม่ได้กล่าวถึงบ้านโดยตรง แต่กล่าวถึงการใช้สอยบ้านว่า บ้านเรือนของดาระอั้งแต่ละหลังจะมีหิ้งบูชาพระ โดยจะหันหน้าไปทางวัด โดยทุกวันพระ ดาระอั้งแต่ละครอบครัวก็จะบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ถือศีล นั่งสมาธิ นับลูกประคำ และอื่นๆ  (หน้า 104(ภาพบ้าน หน้า 143) 

Demography

ประชากร
          ปลัง “สามเต้า” ไทใหญ่ เรียก “ไตหลอย” ที่ห้วยน้ำขุ่นมีประชากร 10-15ครัวเรือน (หน้า 66)

ประชากรข่ามุ
          ประชากรข่ามุอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น ในประเทศจีน, เวียดนาม , ลาว และประเทศไทย  โดยมีประชากรทั้งหมด 175,000 คน   โดยอยู่ในแต่ละประเทศดังนี้
          ในสิบสองปันนา   ประเทศจีน    1600 คน
          อยู่ในประเทศเวียดนาม             25000  คน
          ในประเทศลาว                        13900  คน
          อาศัยอยู่ในประเทศไทย           8700   คน  (ส่วนมากอยู่ในจังหวัดน่าน )
 (ข้อมูลจาก นิพัทธเวช  สืบแสง, 2536   ดูที่หน้า 124)

Economy

การทำไม้ของขมุในสมัยรัชกาลที่ 5
          ขมุได้เคลื่อนย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ประเทศไทย เช่นในสมัยรัชกาล ที่ 5  แรงงานขมุเข้ามาทำงานตัดไม้ ชักลากไม้  และบังคับช้าง ให้กับบริษัทป่าไม้ของประเทศอังกฤษ  ที่สัมปทานจากทางการไทยในสมัยนั้น จากการศึกษาระบุว่า หลังจากที่มาทำงานแล้วขมุไม่ได้เดินทางกลับไปถิ่นที่อยู่เก่า แต่มีบางส่วนที่ลงหลักปักฐานอยู่ในประเทศไทยต่อไป (หน้า 124)

Social Organization

วงศาคณาญาติ ของละเวือะ ลวะ ปลังและดาระอั้ง ด้านสังคม วัฒนธรรม
          ละเวือะและลัวะมีความสัมพันธ์กันในอดีต (หน้า  105) เป็นเวลานานกว่า 700 ปี แต่หลังจากที่เวียงกุมกาม (เชียงใหม่) เป็นศูนย์กลางอำนาจอยู่ในการปกครองของไต ยวน  (หน้า 106) ส่วนบรรพบุรุษของลเวือะ และลวะก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เรียกตนเองว่าอะไร (อาจเป็นชื่อนี้หรือชื่ออื่น) ก็อพยพไปอยู่ตามภูเขา หรือพื้นที่สูง บางส่วนก็กลายเป็นลเวือะ ในทุกวันนี้บางส่วนอยู่ในที่ราบเรียกตนเองว่า “ลวะ”  หรือ “ไต ยวน” บ้าง และกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมของไตยวน  ส่วนภาษายังเหลือร่องรอย ของความเป็นลัวะที่พูดด้วยสำเนียง “ลวะ” หรือ “ลัวะ” อย่างไรก็ตามทั้ง “ลเวือะ” “ลวะ”นั้นต่างมีความทรงจำที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน เมื่อในอดีต แต่ทุกวันนี้ต่างก็มองว่า มีความแตกต่างกันทั้งชื่อกลุ่มและความเป็นอยู่   (หน้า 106)
          จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า  
          ละเวือะ (และลวะ) ปลัง และดาระอั้ง  ไม่เกี่ยวพันกันแต่อย่างไร หากพิจารณากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์ของภาษาในกลุ่มย่อยปะหล่อง ก็ไม่แสดงร่องรอยความเกี่ยวพันเชิงวงศาคณะญาติ สันนิษฐานว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างเร็วไว (หน้า 106)
          ส่วน  ลเวือะ กับลวะ   ครั้งหนึ่งในอดีตนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน และมีสัญลักษณ์คือมีวีรบุรุษร่วมกัน แต่มีความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความกำกวมทางอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ทั้งภาษา ความเชื่อเรื่องผี และสิ่งเหนือธรรมชาติ สังคม ส่วนลวะถูกกลืนกลายให้เป็นไต-ยวน (หน้า 106)
 
 
เปรียบเทียบลักษณะสังคม วัฒนธรรม
                                                 ลัวะ                                 ขมุ                             มลาบรี
1.ภาษาพูด                         ลัวะ(มัล หรือปรัย)                      ขมุ                         มลาบรี (หน้า 166)
2.การสืบสายเลือดสืบผี        สืบผีข้างแม่                       ไม่ชัดเจน                      ไม่ชัดเจน
                                                                                 ให้ความสำคัญ                แต่น่าจะให้ความ
                                                                                 ทางฝ่ายพ่อ                    สำคัญทางฝ่ายพ่อ
3.ผีที่นับถือ                         ผีบ้าน                               ผีหลวง                          ผีเจ้าป่าเจ้าเขา
                                          ผีบรรพบุรุษ                      ผีหมู่บ้าน(โฮร่ยกุ้ง)
                                          ผีเจ้าหลวงปัว                   ผีเรือน (โฮร่ยก่าง)
                                          ผีเจ้าหลวงภูคา                                         (ดูที่หน้า 166)                    

Political Organization

ขมุกับการเมือง
          ผู้เขียนกล่าวว่า ก่อนที่ลาวจะข้าเมาทำงานสัมปทานป่าไม้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม ยังมีมีการเดินทางเข้าออกประเทศไทย แต่เมื่อลาวเปลี่ยนเป็นสังคมนิยม (หน้า 124) ขมุก็เดินทางเข้าไปมาตั้งบ้านเรือนอัยในประเทศไทย เช่นเข้ามาทางจังหวัดน่าน กับจังหวัดเชียงราย

Belief System

ความเชื่อและศาสนา
          ละเวือะ มีทั้งนับถือผี และนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์  ในการศึกษาได้เล่าถึงความแตกต่างของการนัถือศาสนาว่า ละเวือะ บ้านบ่อหลวงกับ ละเวือะ บ้านป่าแป๋ และบ้านอุมพาย เป็นกลุ่มตระกูลเดียวกัน และมีการนับถือผีที่ไม่เหมือนกัน  ในการนัถือศาสนา ละเวือะ บ้านบ่อหลวง กับหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆ กันนั้นนับถือศาสนาพุทธ โดยได้งดการทำพิธีเซ่นไหว้ และไม่กินหมาแดง มาเป็นเวลานานในขณะที่ละเวือะ     บ้านอุมพายยังประกอบพิธีเซ่นไหว้ และบริโภคเนื้อสุนัข  (หน้า 69)
          ละเวือะ แยกความแตกต่างระหว่าง กะเหรี่ยง ไทย และละเวือะจากความเชื่อเรื่องผี โดยที่กลุ่มละเวือะมีมากกว่ากะเหรี่ยงกับคนไทย เหมือนคำเปรียบเทียบ (หน้า 71)
“กะเหรี่ยงเอาผีใส่แปม ไทยเอาผีใส่ก๊อก ละว้าเอาผีใส่ถุงย่าม” หมายถึงปริมาณของผีที่นับถือไม่เท่ากันนั่นเอง
 
พิธีกรรมและความเชื่อ
          ดาระอั้งนับถือศาสนาพุทธ ก่อนที่โยกย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ในไทย วัดเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และศึกษาเล่าเรียนของชายชาวดาระอั้ง หลังจากที่เด็กชายดาระอั้งอายุ 8-10ปี พ่อ แม่ก็จะให้บวชเรียน จึงทำให้เด็กชายอ่านออกเขียนได้ โดยจะเรียนหนังสือจากธรรมจารึกในคัมภีร์ใบลาน กระทั่งเมื่ออายุครบ 20 ปีก็จะบวชเป็นพระ (หน้า 104)  นอกจากนี้ดาระอั้งยังนิยมเดินทางไปไหว้พระธาตุในหลายพื้นที่ เช่นพระธาตุดอยบางฮุ่ง  พระธาตุฮูริน  ที่เมืองเชียงตุง (หน้า 104)
          นอกจากนับถือศาสนาพุทธแล้ว ดาระอั้งยังนับถือผี  ผีที่นับถือสูงสุดได้แก่  ผีเจ้าเมือง มีหน้าที่ปกปักรักษาชุมชนในหมู่บ้านต่างๆ ของดาระอั้งจะสร้างหอผีเจ้าเมือง  โดยจะทำพิธีเซ่นไหว้ทุกปี และในระดับครัวเรือน จะมีผีเจ้าที่ ทำหน้าที่ดูแลสมาชิกในบ้านหลังนั้น  (หน้า 104)
 
พิธีกรรมของดาระอั้ง
          พิธีกรรมของดาระอั้งในแต่ละช่วงเวลา ได้สะท้อนความเชื่อด้านศาสนาพุทธและความเชื่อเรื่องผี  (หน้า 105)
          พิธีเปิดปิดประตูผี
          พิธีจะทำหลังช่วงการเพาะปลูก (วันแรม 8 ค่ำ เดือน 7)  ในบริเวณหอผีเจ้าเมือง โดยจะสื่อสารกับผีเจ้าเมืองผ่านผีเจ้าบ้าน เนื่องจากผีเจ้าเมืองเป็นผียิ่งใหญ่  หมอผีไมม่อาจสื่อสารโดยตรง (หน้า 105)
          อาหารไหว้ผีเจ้าเมือง
          ไก่ ข้าว  อาหารหวาน คาว หลายอย่าง  สุรา  ดอกไม้  ธูปเทียน  หลังจากที่ตั้งอาหารไว้ให้เจ้าสักระยะแล้ว ดาระอั้งก็จะรับประทานอาหารนั้นต่อ เนื่องจากมีความเชื่อว่า อาหารที่นำมาเซ่นไหว้ผีเจ้าเมืองนั้นมีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย (หน้า 105)
          ตรียมอาวุธขั้นตอนการทำพิธีที่สำคัญ การเตรียมอาวุธ ได้แก่ หน้าไม้  ดาบ ปืนอย่างละห้า  สำหรับผีเจ้าเมืองที่มอบให้ผีลูกน้อง เพื่อเอาไปไล่สัตว์ที่ผีใช้ขี่มา ในขณะที่ทำพิธี คนที่อยู่ในหมู่บ้านก็จะไม่ออกนอกหมู่บ้าน และในขณะเดียวกันคนที่อยู่หมู่บ้านอื่นก็จะไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้านที่ที่กำลังทำพิธีเช่นกัน (หน้า 105)

Folklore

ตำนานหินไล่ลัวะ
          เนื้อหาได้กล่าวถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างลัวะ กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ตลอดจนพิธีกรรม  ในตำนานได้กล่าวถึงภาษาลัวะ ว่า ในเชียงใหม่มีเส้นทางสายหนึ่ง ที่ลัวะไม่อาจผ่านไปได้ เพราะมีก้อนหินที่เรียกว่า “หินไล่ลัวะ”   (หน้า 47) เนื่องว่าถ้าผ่านมาทางสายนี้แล้วถ้าพูดภาษาลัวะ ก็ไม่สามารถผ่านเส้นทางที่มีหินก้อนนี้ได้ ต้องพูดภาษาคำเมืองเท่านั้นถึงจะสามารถ ผ่านเส้นทางสายนี้ไปตามใจปรารถนา  (หน้า 48)
 
ตำนาน ลัวะ เมืองนันทบุรี (น่าน)
          ดอยภูคาน่าจะเป็นเมืองเก่าของบรรพบุรุษลัวะ ในตำนานเล่าว่า เจ้าพ่อหลวงภูคา มีลูกชายสองคน คือขุนนุ่ม และขุนย่อง  ที่ครองเมืองแยกกันคนละฝั่ง ทางฝั่งไทยเรียกว่า “วรนคร”  ต่อมา พ.ศ.1901 (ประมาณ 600 ปีก่อน)  ผู้ปกครองคนที่ห้าของฝั่งไทย ได้ย้ายเมืองใหม่มาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเรียกว่า “เวียงภูคา แช่แห้ง”  ในเวลาต่อมาได้เกิดกาฬโรคในพื้นที่เมืองเก่า จึงอพยพมาตั้งเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเรียกว่าเมือง “นันทบุรี” ซึ่งกลายเป็นพื้นที่เมืองน่านในทุกวันนี้ (หน้า 119)
 
ที่มาของชื่อหมู่บ้านภูคำของขมุลื้อ
          จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของขมุลื้อ โดยระบุว่า ขมุลื้อบ้านภูคำ ได้เดินทางมาตั้งหมู่บ้านที่มีความเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 150ปี โดยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากหมู่บ้านห้วยตอง ในประเทศลาว   และมาตั้งหมู่บ้านใหม่ชื่อว่า ภูคำ เพราะว่าที่หมู่บ้านมีต้นพลูใบสีเหลือคล้ายทองคำ  จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า ภูคำจนถึงทุกวันนี้ (หน้า 125) 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น
          โลกทัศน์กับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของดาระอั้งค่อนข้างมีความซับซ้อน เนื่องจากมีความขัดแย้งกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นหลายครั้งเช่น การหลบภัยสงครามต่อการรุกรานของกองกำลังก๊กมินตั๋ง คาแข่ หรือโจรลีซู ทหารป่า (กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่) และกองกำลังทหารของรัฐบาลพม่า เนื่องจากการติดต่อกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรง การกดขี่ข่มเหง ฆ่าฟัน  ดังนั้นชีวิตของดาระอั้งจึงเต็มไปด้วยความหวาดกลัว เช่นเรื่องที่กลายเป็นนิทานของดาระอั้งที่บอกเล่าความเหี้ยมเกรียมที่พวกเขาต้องเผชิญจากทหารป่า และจากทหารพม่า  กระทั่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศไทยก็พบกับปัญหาการถูกรบกวนจากกองกำลังขุนส่า จนกระทั่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2533-2534 ก็มีการปิดแดน เนื่องจากมีการสู้รบตามแนวชายแดน ดาระอั้งจึงลดการถูกรบกวนลง  (หน้า 76)
          หลังจากที่ดาระอั้งเข้ามาอยู่บ้านป่าแดงก็มีกลุ่มชาติทุ่งพันธุ์อื่น อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงได้แก่ คนเมือง  บ้านทุ่งหลุก  กลุ่มปาเกอะญอบ้านผาลาย กับบ้านท่าขี้เหล็ก กับลีซูบ้านห้วยอีโก๋ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วย คนเมืองเป็นเจ้าของไร่ชาส่วนดาระอั้ง  ปกาเกอะญอ กับลีซูเป็นคนงานรับจ้างในไร่ (หน้า 76)  ที่ผ่านมา ดาระอั้งถูกจัดให้มีสถานะทางสังคมด้อยกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น นอกจากนี้ยังถูกจัดว่าเป็นคนพลัดถิ่นที่ไม่มีโอกาสได้รับสัญชาติ (หน้า 76)

Map/Illustration

ตาราง
          ตระกูลออสโตรเอเชียติค (AUSTROASIATIC)  มอญ-เขมร MON-KHMER  (หน้า 33) แผนการสำรวจพื้นที่ภาคเหนือครั้งที่สอง  ระหว่างวันที่ 8-15สิงหาคม 2551 (หน้า 52,53,54,55) ชื่อพิธีกรรมเกี่ยวกับผีในงานจันทบูรณ์ สุทธิและคณะ 2539 (หน้า 88,89,90,91) ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีของละเวือะในชุมชนต่างๆ ลำดับช่วงเวลาศึกษา และพื้นที่ศึกษา พื้นที่ละอูบ (หน้า 95,96,97,98,99) ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีของละเวือะในชุมชนต่างๆ ลำดับช่วงเวลาศึกษา และพื้นที่ศึกษา  พื้นที่บ่อหลวง (หน้า 100,101)      
   
ภาพ      
          ประวัติขุนหลวงวิลังคะ บ้านบ่อหลวง (หน้า 58)  วัดขุนหลวง บ้านขุนคงหลวง(หน้า 62) ดาระอั้ง อำเภอเชียงดาว (หน้า 67) การโพกผ้าและการนุ่งซิ่น แบบปลังบ้านห้วยน้ำขุ่น (หน้า 74)  ศาลหน้าหมู่บ้านบ่อหลวง (หน้า 92)  ผีทีสุมา บ้านบ่อหลวง (หน้า 93) บ้านลัวะ ก่อกวง (หน้า 120) ชุมชนบ้านน้ำดั้น (หน้า 121) ศูนย์ข้อมูลมลาบรี บ้านห้วยหยวก (หน้า 126) ชุมชนมลาบรี บ้านห้วยหยวก (หน้า 135) ชุมชนบ้านน้ำแพะ (หน้า 139) บ้านลัวะ ก่อกวง (หน้า 140) บ้านลัวะ บ้านน้ำดั้น (หน้า 148) ภูมิทัศน์บ้านน้ำแพะ (หน้า 150)   

แผนผัง     Classification  of Lawa Ethnonyms (หน้า 41)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, ดาระอั้ง, ขมุ, มลาบรี, ความสัมพันธ์, ภาคเหนือ, ไทย, เพื่อนบ้าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง