สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject แนวคิด คนเมือง มุสลิมปากีสถาน ยูนนาน กลุ่มชาติพันธุ์ เชียงใหม่ ไทย เพื่อนบ้าน
Author สุเทพ สุนทรเภสัช
Title ชาติพันธุ์สัมพันธ์: แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยาในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ ประชาชาติ และการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, ไทใหญ่ ไต คนไต, จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น Total Pages 288 Year 2548
Source มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract

          เนื้อหาของงานเขียนกล่าวถึงชาติพันธุ์สัมพันธ์ หรือการธำรงชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ผู้เขียนกล่าวถึง เช่นปากีสถานมุสลิม ยูนนานมุสลิม คนเมือง มาเลย์มุสลิม และอื่นๆ ชาติพันธุ์สัมพันธ์เป็นการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี ในชุมชนที่อยู่ เช่นกลุ่มปากีสถานมุสลิม ที่เดินทางมาอยู่ในเชียงใหม่ และยูนนานมุสลิม ที่แรกเริ่มเข้ามานั้นทั้งสองกลุ่ม ได้มีการผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมือง หรือคู่สมรสที่เป็นคนในท้องถิ่นที่พวกเขามาอยู่ ผู้เขียนบอกว่า เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่กลุ่มมุสลิมมีจำนวนประชากรมากขึ้นก็เริ่มแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมอย่างชัดเจน
          การแสดงตัวตน ได้บอกสาเหตุถึงที่มา และประวัติศาสตร์ และการเมืองในอดีตที่กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มได้ประสบ เช่นการต่อสู้ทางการเมืองของเจ้าอาณานิคมในอดีต ในกลุ่มประเทศลาว เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มปากีสถานมุสลิม และยูนนานมุสลิม ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหรือเกิดการผสมกลมกลืน เมื่ออยู่ท่ามกลางชนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาพุทธ หรือบางครั้งก็แสดงอัตลักษณ์ของตนอย่างชัดเจน เพื่อธำรงรักษากลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองเอาไว้เพื่อไม่ให้เลือนหายไป ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ของตน              

Focus

เพื่ออธิบายความหมายและความสำคัญของคำว่าชาติพันธุ์และชาติพันธุ์สัมพันธ์ และวิเคราะห์ถึงปัจจัยหรือเงื่อนไขของการเกิดชาติพันธุ์สัมพันธ์ (หน้า คำนำ)

Theoretical Issues

ชาติพันธุ์สัมพันธ์
          คำว่า “ชาติพันธุ์” (Ethnic)  หมายถึงเกี่ยวกับคนต่างชาติ โดยเฉพาะคนยิว ที่หมายถึงคนนอกศาสนา  คำว่า  Ethnic  มาจากคำว่า Ethnikos  เป็นคำภาษากรีก ที่มีความหมายเกี่ยวกับคนนอกศาสนา  (หน้า 15) แต่คริสต์ศตวรรษ ที่ 19เรื่อยมาคำว่า คนนอกศาสนาค่อยๆเลือนหายไป ดังนั้นคำว่า  Ethnic จึงได้รับการนิยามความหมายที่เกี่ยวกับเชื้อชาติตั้งแต่นั้นมา  (หน้า 16)  
          ชาติพันธุ์สัมพันธ์ Ethnicityพจนานุกรมอ็อกฟอร์ด เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1953   (หน้า 25) นักมานุษยวิทยาได้ให้นิยามความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ว่าเป็น 4แนวดังนี้   1) กลุ่มที่สร้างความเป็นปรึกแผ่นให้กับตนเอง    2) กลุ่มที่มีระบบคุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นฐานร่วมกัน  3)  กลุ่มที่สร้างเครือข่ายการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กัน   4)  กลุ่มที่สมาชิกได้มาโดยกำหนดตัวเอง และโดยคนอื่นเป็นผู้กำหนด ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์กำหนดที่ต่างจากเกณฑ์กำหนดอื่นๆ ในระบบเดียวกัน   (หน้า 31)

Ethnic Group in the Focus

ชาวจีน 
          ชาวจีนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประชากร 3,790,000 คน   ชาวจีนได้โยกย้ายที่อยู่เนื่องจากความต้องการแรงงานในอดีต(หน้า 132) การที่คนจีนมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม จึงเป็นที่หวาดระแวงของรัฐบาลไทยและชนชั้นปกครอง เช่นความหวาดระแวงในการเผยแพร่ลัทธิประชาธิปไตยในช่วงแรกที่เข้ามา และลัทธิคอมมิวนิสต์ในระยะหลัง  เนื่องจากความหวาดระแวงต่อชาวจีนของรัฐบาลไทย ดังนั้นชาวจีนจึงกระทำทุกวิถีทางเพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ  ในทางกลับกันชาวจีนก็ได้จัดตั้งองค์กรต่างๆ เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของพวกเขา เช่นสมาคมการกีฬา  สมาคมการค้า หอการค้า  สถาบันทางภาษา และอื่นๆ (หน้า 133)
 
มาเลย์มุสลิม
          เป็นชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากเป็นอันดับสอง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ภาคใต้ของไทย ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่จังหวัด สตูล  สงขลา  ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส  กลุ่มนี้นับถือศาสนาอิสลาม พูดภาษามลายูท้องถิ่น มีความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมจึงติดต่อสื่อสาร และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทย เป็นไปด้วยความยากลำบาก (หน้า 134)
 
จีนฮ่อ
          ชาวจีนยูนนานหรือ “จีนฮ่อ” เป็นกลุ่มที่โยกย้ายครอบครัวมาจากมณฑลยูนนานตอนใต้ของประเทศจีน โดยเข้ามาตั้งแต่ช่วง 25ปี แรกของศตวรรษที่ 20โดยเข้ามาอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่โดยตั้งชุมชนของตัวเองอยู่ต่างหาก ชาวจีนยูนนานหรือจีนฮ่อมีจำนวน 1,500 คน (ดูที่หน้า 138)
 
กลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า
          ในการศึกษาได้กล่าวถึง การแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศพม่าในสมัยที่พม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษว่า ในปี ค.ศ. 1932 เจ้าหน้าที่อาณานิคมของอังกฤษได้ทำการสำรวจประชากรในประเทศพม่าจากนั้นก็ได้ลงมือเขียนหนังสือชื่อ “เชื้อชาติของพม่า” (Races ofBurma)  โดยกล่าวรวบยอดว่า ในพม่ามีประชากรเป็นจำนวนมาก กระทั่งไม่อาจร่วงรู้จำนวนที่เป็นจริง ซึ่งจากการสำรวจเมื่อ ค.ศ. 1931  โดยแยกกลุ่มชาติพันธุ์ตามจำนวนภาษาพูด มีจำนวน 135ภาษา กระทั่งในปี ค.ศ.1917 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น 242ภาษา  โดยสรุปว่า ชาวพม่า  คฉิ่น  ฉิ่น  ฉาน และกะเหรี่ยง เป็นเชื้อชาติที่มีความสำคัญมีความยิ่งใหญ่ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อ่อนด้อยกว่า (หน้า 176)
          ผู้เขียนระบุว่า การแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์เช่นนั้น คงได้รับอิทธิพลจากนักมานุษยวิทยา(ทางกายภาพ) ที่เชื่อว่ามีเชื้อชาติที่สูงส่ง  โดยเป็นเชื้อชาติที่มีความเหมาะสมในการอยู่รอดในกระบวนการวิวัฒนาการ ตามทฤษฎีของชารลส์ ดาร์วิน   (หน้า 177)  แนวคิดเช่นนี้ได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในประเทศเยอรมันนี อันนำไปสู่การสังหารหมู่ชาวยิว อย่างเหี้ยมโหด (หน้า 177)
 
จามมุสลิม
          เป็นมุสลิมที่อยู่ในประเทศเวียดนามและกัมพูชา โดยอยู่บริเวณนี้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8เมืองบริเวณชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นประเทศเวียดนามในทุกวันนี้ เคยเป็นอาณาจักรจัมปา อันเป็นอาณาจักรตามคติฮินดู พุทธ  จากบันทึกของอาหรับและเปอร์เซีย กล่าวว่า  บริเวณนี้มีชุมชนมุสลิมที่มีระบบการเมืองและสถาบันทางศาสนาที่ซับซ้อน  ในชุมชนชนนี้มีคนหลากหลายอาชีพทั้งพ่อค้า ผู้นำทางศาสนา ช่างฝีมือ และอื่นๆ  (หน้า 110)  
          เมื่อเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1863  ชาวจามมุสลิมได้โยกย้ายไปอยู่ทางทิศใต้บริเวณเมืองไซง่อน  ระหว่างค.ศ. 1865–1867ชาวเวียดนามและเขมรร่วมกันต้านฝรั่งเศสและชาวจามมุสลิมก็ร่วมด้วยเช่นกัน   (หน้า 112) ในกัมพูชา เมื่อปี 1972 ในสมัยพอลพตเป็นผู้นำเขมรแดง วัฒนธรรมของจามมุสลิมก็ตกเป็นเป้าหมายการโจมตี ผู้หญิงจามถูกบังคับให้ตัดผมสั้นเช่นเดียวกับชาวเขมร ห้ามผู้ชายจามมุสลิมสวมโสร่ง แต่ให้นุ่งกางเกงสีดำ (หน้า 112) เหมือนการแต่งกายของชาวนาเขมร (หน้า 116)
 
อินเดียและปากีสถานมุสลิม
          ชาวอินเดียนมุสลิมเข้ามาอยู่ภาคกลางของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งอินเดียกับไทยนั้นได้ติดต่อทางการฑูตและค้าขายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ อินมุสลิมเข้ามาครั้งที่สองในช่วงตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19  ชาวอินเดียและปากีสถานที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯทุกวันนี้ มีบรรพบุรุษอพยพเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 19  มุสลิมอินเดีย ส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย และเป็นช่างฝีมือ ตัดเย็บเสื้อผ้าและอื่นๆ   (หน้า 114) นอกจากนี้ยังมาทำงานไปรษณีย์มีหน้าที่รับส่งไปรษณีย์ที่มาจากต่างประเทศ (หน้า 115)
          ชาวอินเดียมุสลิมที่อยู่กรุงเทพฯ ใช้ภาษากูเจราตี (Gujerati) กลุ่มนี้มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย กลุ่มนี้มีความสามารถด้านการค้า กลุ่มอินเดียมุสลิม อาศัยอยู่ในย่านถนนบำรุงเมือง มุสลิมอินเดียประกอบอาชีพต่างๆดังนี้  เช่นมุสลิมที่มาจากบอมเบย์นั้นจะมีอาชีพ ส่งสินค้าและสั่งสินค้าจากต่างประเทศ  ส่วนมุสลิมที่มาจากทางตอนใต้ของอินเดีย ประกอบอาชีพร้านอาหาร ส่วนกลุ่มที่มาจากจากูเจราตจทำอาชีพขายผ้า และสินค้าอื่นๆ  ส่วนมุสลิมปาธานส์ที่มาจากปากีสถาน ทำอาชีพขายเนื้อสัตว์  (หน้า 115) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20มุสลิมอินเดียเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นครั้งที่สาม  กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มค้าขายผ้าที่บุกเบิกตั้งตลาดพาหุรัด กระทั่ง ค.ศ.1950 มุสลิมกลุ่มนี้ ได้เปลี่ยนอาชีพมาทำธุรกิจการส่งออก  การเงิน ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์  (หน้า 115)
 
มุสลิมในภาคเหนือของไทย
          ในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง มีมุสลิมอยู่สองกลุ่มได้แก่ ปากีสถานมุสลิม กับยูนนานมุสลิม ดั้งเดิมกลุ่มปากีสถานมุสลิมได้อพยพมาช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19  จากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แต่หลังจาก ค.ศ. 1947หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็แบ่งประเทศเป็นอินเดียและปากีสถาน ดังนั้นจึงมีชาวอินเดียอพยพมาจากพื้นที่ตะวันออกของปากีสถาน นั่นประเทศบังคลาเทศในทุกวันนี้  ปากีสถานมุสลิมได้โยกย้ายครอบครัวมาตั้งที่อยู่ในประเทศพม่า หลังจากที่สมรสกับหญิงพม่าจึง ย้ายครอบครัวมาอยู่จังหวัดเชียงใหม่  ปากีสถานมุสลิม แต่เดิมทำอาชีพเลี้ยงวัว ขายเนื้อวัว และอื่นๆ   มุสลิมกลุ่มนี้ได้สร้างมัสยิดศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ เป็นครั้งแรกที่ตำบลช้างคลาน ที่เป็นศูนย์กลางของปากีสถานมุสลิมที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 117) ปากีสถานมุสลิมมีจำนวนประชากรประมาณ 2,500 คน   (หน้า 118)
          ส่วนมุสลิมยูนนาน งานเขียรฃนระบุว่า ค.ศ. 1856 -1873 ยูนนานมุสลิมได้ต่อต้านจีน อันมีผลมาจากความขัดแย้งอันเนื่องมาจากประทานบัตรเหมืองแร่ในมณฑลยูนนาน ในระยะแรกชาวยูนนานมุสลิมได้ประสบชัยชนะ จึงสามารถสถาปนารัฐสุลต่าน ซึ่งมีเมืองต้าหลี่เป็นเมืองหลวง กระทั่ง ค.ศ. 1873 ก็ปราชัยให้กับกองกำลังทหารจีน หลังจากที่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจึงอพยพมาอยู่บริเวณชายแดนพม่า ที่เทือกเขาคฉิ่น  กับในพื้นที่ประเทศลาว  (หน้า 118)
          ยูนนานมุสลิมในภาคเหนือของไทย เป็นกลุ่มที่โยกย้ายที่อยู่มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19  กลุ่มยูนนานมุสลิมรุ่นบุกเบิกเป็นพ่อค้า ที่เดินทามาค้าขายตามเมืองต่างๆที่อยู่ในภาคเหนือ  สินค้าที่สำคัญได้แก่ผ้าไหม  ใบชา และเครื่องโลหะทองเหลือง  แล้วซื้อฝ้ายกับเกลือจากไทยและลาว กลับไปยูนนาน  ชาวยูนนานมุสลิมเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่พื้นที่เวียงพิงค์ ในตัวเมืองเชียงใหม่ (ย่านไนท์บาร์ซาร์) แล้วสร้างมัสยิด ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ที่ชุมชนมุสลิมเวียงพิงค์ (หน้า 118)
           ภายหลังจากที่จีนปกครองด้วยระบบอกคอมมิวนิสต์ในระหว่างปี ค.ศ. 1950ชาวยูนนานที่นับถือศาสนาอิสลามและอื่นๆ จึงอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศพม่า  ซึ่งในกลุ่มผู้อพยพนั้นมีกองกำลังทหารจีนคณะชาติรวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมีการสู้รบกับทหารจีนอยู่บ่อยครั้ง ฉะนั้นแล้วทางการพม่ากลัวว่าจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีน ดังนั้นจึงผลักดันชาวยูนนานอพยพออกจากพม่าในช่วงปี ค.ศ. 1955-1960 ยูนนานมุสลิมจึงอพยพเข้ามาภาคเหนือของไทยกับประเทศลาว โดยชาวยูนนานได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่พื้นที่ภูเขาเขตอำเภอเชียงดาว ส่วนหนึ่งก็ย้ายมาอยู่ที่ตัวเมืองเชียงใหม่ บริเวณสันป่าข่อย กับเวียงพิงค์ โดยมีจำนวนประชากรราวสองพันคน  (หน้า 118)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทใหญ่
          กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (ฉาน) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ไท สันนิษฐานว่าเคยมีอาณาจักรของตนเองอยู่ในยูนนาน ส่วนในยูนนานใช้อักษรอยู่สองอย่าง ไดแก่ “ลิ่ถั่วงอก” ใช้เขียนเรื่องโดยทั่วไป กับ “ลิ่กยวน”ใช้บันทึกเนื้อหาทางศาสนา ที่ผ่านมาตัวหนังสือไทใหญ่ที่ใช้จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12  นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญภาษาจีน ได้ แสดงทัศนะว่า แรกเริ่มเดิมที ไทใหญ่ไม่มีตัวหนังสือเป็นของตัวเอง ตัวหนังสือที่ใช้อยู่ในพื้นที่ต่างๆนั้น เป็นตัวหนังสือที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ ตัวหนังสือที่คิดว่าเป็นที่มาของตัวหนังสือไทใหญ่นั้น ไทมาวคือไทใหญ่ที่อยู่ในจีนได้รับอิทธิพลมาจากพม่า (หน้า 180)
          ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์พม่าระบุว่า ไทใหญ่ได้รับตัวหนังสือและศาสนาพุทธมาจากพม่า แต่นักวิชาการไทใหญ่โต้แย้งว่าตัวหนังสือไทใหญ่ พัฒนามาจากตัวหนังสือพราหมี – นาครี  ส่วนการศึกษาของชาย  คำเมือง ระบุว่า ในศตวรรษที่ 19กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ใช้ตัวหนังสือพม่ามากขึ้น  โดนเอาคำบาลีแบบเก่าที่เคยเขียนด้วยตัวหนังสือภาษาพม่ามาเขียนในงานเขียนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ปัจจุบันชาวไทใหญ่พบว่าอักษรไทยังไม่ได้รับการแก้ไข (หน้า 180)
          ใน ค.ศ. 1956 พระและกลุ่มแกนนำชาวไทใหญ่ได้จัดประชุมเพื่อแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทใหญ่ ในปี ค.ศ. 1957จึงได้มีพระไตรปิฎกที่เขียนภาษาบาลีด้วยตัวหนังสือพม่า แล้วแปลเป็นภาษาไทใหญ่ ขณะที่พระชาวไทใหญ่ก็ยังไม่พึงพอใจเนื่องจากอยากให้มีการเขียนภาษาบาลีด้วยตัวหนังสือภาษาไทใหญ่อย่างแท้จริง  กระทั่ง ค.ศ. 1975จึงได้มีการจัดประชุมสัมมนาเรื่องการเขียนภาษาบาลี ด้วยตัวหนังสือไทใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพระชาวไทใหญ่  พม่า และชาวไทย เข้าร่วมการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น  จึงได้คิดค้นตัวอักษรที่คิดว่าดีงามจำนานหนึ่ง สำหรับใช้เขียนตัวบาลีเป็นภาษาไทใหญ่ แต่ยังพบอุปสรรคที่ไม่มีผ็มีอำนาจในส่วนกลาง  (หน้า 180)
 
ภาษากลุ่มชาติพันธุ์คฉิ่น
          จากการศึกษาของอี อาร์ ลีช ชาวอังกฤษที่เดินทางไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ได้พบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาถิ่นจำนวนมาก  โดยแบ่งกลุ่มภาษาได้สี่กลุ่มดังต่อไปนี้  (หน้า 198)

  1. จิงปอ (Jingphaw) คนที่อยู่ในกลุ่มภาษานี้ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกหกกลุ่ม (หน้า 198) ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีภาษาที่พูดจาเข้าใจได้กับกลุ่มอื่น  (หน้า 199)
  2. มารู (Maru)  ภาษานี้ใกล้กับภาษาพม่ามากกว่าภาษาจิงปอ โดยแบ่งได้ห้ากลุ่มย่อย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายพวกที่ไม่สามารถพูดจากันให้เข้าใจได้เลย (หน้า 199)
  3. นุง (Nung) แบ่งเป็นหลายกลุ่มที่ไม่เหมือนกัน  และไม่อาจสื่อสารกันได้ ภาษานุงใกล้กับภาษาทิเบต และภาษานุงทางตอนใต้มีความใกล้ชิดกับภาษามารูตอนเหนือ  (หน้า 199)
  4. ลีซู (Lisu) แบ่งเป็นภาษาถิ่นที่ไม่เหมือนกันเป็นจำนวนมาก ภาษาลีซูนั้นต่างจากภาษาจิงปอและมารูเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังใช้ไวยากรณ์แบบภาษาพม่า  (หน้า 199) ผู้เขียนสรุปว่า การที่ลีซไปที่บริเวณภูเขาคฉิ่น ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็บอกว่าเป็นคะฉิ่นเหมือนกัน แต่พูดคนละภาษาดังนั้น ภาษาหาให้เป็นตัวกำหนดอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เสมอไป (หน้า 199)
 
ภาษาในโรงเรียนปอเนาะ
          ตำราเรียนที่เขียนเป็นภาษามลายูที่ใช้ตัวหนังสืออาหรับ เรียกว่า “กี ตับ ยาวี” (หน้า 106) ภาษาอาหรับเป็นภาษาในการประกอบพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม ส่วนที่มาของศาสนาอิสลามก็คือคัมภีร์อัลกุรอาน กับ อัล ฮาดิธ (หรือจารีตของพระศาสนา) ต่างก็เขียนด้วยภาษาอาหรับ จะเห็นได้ว่าภาษาอาหรับ กับศาสนามีความแนแน่นต่อกันยากที่จะแงแยก คำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับจะพบในพื้นที่ต่างๆ ทั้งทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป (หน้า 236) ภาษาที่พบในเอเชีย เช่น เปอร์เซีย ,เดอร์กี,เคอร์ตีส, อูรดู, ฮินดี, ออริยา, ทมิฬ, เบงกาลี, ทิเบต, มลายูและอื่นๆ  (หน้า 236) ภาษาที่พบในทวีปแอฟริกา เช่น สวาฮิลี, โซมารี, อัมฮาริค, เอร์เอร์, เฮาสา เป็นต้น (หน้า 236) ส่วนในยุโรป ได้แก่ ภาษาโปรตุเกส, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาเลียน, เป็นต้น (หน้า 236)
 
ภาษามาเลย์
          ผู้เขียนกล่าวว่า  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเลือกภาษามาเลย์เป็นภาษาหลักในการเผยแพร่ศาสนาภาษาอาหรับแล้ว ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่อยู่โรงเรียนสอนศาสนา นอกจากภาษาอาหรับในการเรียนการสอนยังใช้ตำราที่ชื่อ “กีตับ ยาวี” (Kitab Jawi) หนังสือภาษามาเลย์ ที่เขียนด้วยตัวหนังสือภาษาอาหรับ โดยมากแล้วผู้เขียนบอกว่า หนังสือที่แปลมาจากภาษาอาหรับ และมีคำอธิบายเป็นภาษามาเลย์ ฉะนั้นจึงมีนักเรียนไทยมุสลิมจำนวนมากที่มีความสามารถด้านภาษา ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสอนศาสนาที่มีชื่อเสียงที่ประเทศมาเลเซียและอื่นๆ   (หน้า 106)
          เนื่องด้วยชาวมาเลย์มุสลิม มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับคนไทยส่วนใหญ่ ทางการจึงได้อนุโลม ให้ใช้ภาษามลายูในโรงเรียนสอนศาสนาได้  แต่เนื่องด้วยการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ของขบวนการเพื่อเคลื่อนไหวในการปลดปล่อยรัฐปัตตานี รัฐบาลไทยจึงไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใจกลุ่มชาติพันธุ์มาเลย์ (หน้า 134) ตัวอย่างในเรื่องการใช้ภาษามาเลย์  เมื่อ พ.ศ. 2490 ผู้นำทางความเชื่อของศาสนาอิสลาม ได้เรียกร้องให้ใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาทางการในจังหวัดที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเรียกร้องให้มีการบรรจุข้าราชการระดับสูงกว่า 80เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นมุสลิม แต่ปฏิกิริยา ต่อข้อเรียกร้องนั้น ผู้นำมุสลิมที่เรียกร้องก็ถูกจับกุม และมีการประท้วงที่จังหวัดนราธิวาส  การตอบโต้ของรัฐบาลนั้นเป็นไปอย่างแข็งกร้าวและมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากทางการระแวงว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาจากการสนับสนุนของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อปลดปล่อยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (หน้า 135)

History of the Group and Community

ความเป็นมาของมุสลิมยูนนาน
          ยูนนานมุสลิมได้โยกย้ายที่อยู่หลบหนีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เมื่อประมาณ ค.ศ. 1950 แต่เนื่องจากกลี่มที่มาด้วยมีทหารจีนคณะชาติปะปนมาด้วย จึงมีการต่อสู้กับทหารจีนบ่อยครั้ง ดังนั้นพม่ากลัวจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีน จึงผลักดันยูนนานมุสลิมออกนอกประเทศ (หน้า 118) เนื่องจากยูนนานมุสลิมมีความชำนาญด้านการทำการค้า กับคนที่อยู่บริเวณพื้นราบ และกลุ่มที่อยู่บนภูเขาที่อยู่ในพม่า ลาว และไทยมาก่อน หลังจากที่ย้ายเข้ามาอยู่ในภาคเหนือของไทย ชาวยูนนานจึงตั้งบ้านเรือนปะปนกับชาวเขาที่ย้ายมาอยู่ก่อน  แต่เพราะเคยทำการค้าด้วยกันมาก่อนตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ยูนนาน จึงปรับตัวได้ง่าย บางคนแต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นยูนนานมุสลิมจึงมีหน้าที่เป็นคนกลางในการทำการค้ากับคนพื้นราบและขนส่งสินค้าไปขายในเมือง (หน้า 119) 

Settlement Pattern

ลักษณะรูปแบบปอเนาะ
          ปอเนาะเป็นกระท่อมหลังเล็กๆ ที่นักเรียนพักอยู่ด้วยกัน 2-3คนช่วงที่ไปเรียนศาสนาอิสลามกับโต๊ะครูที่ปอเนาะ กระท่อมนั้นสร้างด้วยไม้ไผ่ และมุงจาก ยกพื้นสูงจากพื้นดิน 2-3ฟุต ภายในปอเนาะจะมีบ้านพักครูสอนศาสนา “โต๊ะคร” กับครูผู้ช่วย บ้านพักของนักเรียนที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วจะอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “ปอเนาะดาแล หมายถึง “บ้านพักส่วนใน” และก็เป็นที่พักของนักเรียนหญิงด้วยเช่นกัน  ส่วนนักเรียนผู้ชายจะพักอยู่บริเวณที่เรียกว่า “ปอเนาะนอก”  สำหรับที่พักด้านในจะมีลักษณะมั่นคงกว่าที่พักด้านนอก  เนื่องจากการพักอยู่อาศัยเพื่อเล่าเรียนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน (หน้า 231)

Demography

มาเลย์มุสลิม
          มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมากในภาคใต้ มีประชากรทั้งหมด 1,325,587  คน ในจำนวนนี้มีมาเลย์มุสลิมกว่า เจ็ดแสนคน  หรือ 70-80เปอร์เซ็นต์  ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ในภาคใต้ เช่นจังหวัด สงขลา  ยะลา  สตูล  ปัตตานี  และจังหวัดนราธิวาส (ข้อมูลการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2513 หน้า 134)
 
จามมุสลิม
          เมื่อ ค.ศ. 1878ฝรั่งเศส ได้สำรวจประชากรในเขตอาณานิคมเป็นครั้งแรก พบว่าในกัมพูชา มีประชากรชาวจาม 25,599 คน  หรือ 3เปอร์เซ็นต์ของงจำนวนประชากรทั้งหมด  กระทั่ง ค.ศ. 1936ประชากรชาวจามในกัมพูชามีจำนวน 88,000 คน ประชากรจามเพิ่มขึ้นอย่างงรวดเร็ว เพราะอัตราการตายลดลงและมีการใช้ระบบการแพทย์สมัยใหม่  ในปี ค.ศ. 1975  ประชากรจามได้เพิ่มขึ้น 250,000 คน และสูงขึ้นอย่างน้อย 260,000  คน  ในปี ค.ศ. 1981 ในกัมปงจาม  มีประชากร 66,000 คน  งานเขียนระบุว่า 70เปอร์เซ็นต์ ได้เสียชีวิตด้วยน้ำมือของเขมรแดง เนื่องจากพวกเขานับถือศาสนาอิสลาม กระทั่ง ค.ศ. 1982 ชาวจามมุสลิมก็มีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขท่ามกลางชาวเขมรที่นับถือศาสนาพุทธ (หน้า 113)  (หน้า 113)
 
ประชากรในภาคเหนือ
          จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2513ภาคเหนือมีประชากร 7,468,000 คน  เชียงใหม่มีประชากรมากเป็นอันดับสอง รองจากจังหวัดเชียงราย โดยมีจำนวน 1,026,450 คน มีจำนวนครัวเรือน 203,186ครัวเรือน  (หน้า 137)
 
กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่
          ประชากรชาติพันธุ์ชาวจีนอยู่ในเมืองเชียงใหม่มีประมาณ 5000  คน ในจำนวนนี้มีชาวจีนยูนนาน หรือจีนฮ่ออยู่ประมาณ 1500คน  ที่เป็นกลุ่มที่โยกย้ายที่อยู่มาจากมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน นับตั้งแต่ 25ปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20  ส่วนข้อมูลการสำรวจประชากร เมื่อพ.ศ. 2513 พบว่า มีประชากรที่อพยพมาจากพม่า  อินเดีย  ปากีสถาน  ศรีลังกา (หน้า 138) มีจำนวน 7000 คน โดย มีมุสลิมปากีสถาน  กว่า 2000 คน ที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่  และตั้งชุมชนไม่รวมกลุ่มกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น  (หน้า 138) ส่วนพื้นทีรอบเมืองที่เป็นภูเขา มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่อย่างน้อยเจ็ดกลุ่ม มีประชากรประมาณ 92,862 คน    (หน้า138)
 
ประชากรมุสลิมปากีสถานและยูนนานมุสลิมในเชียงใหม่
          ชุมชนปากีสถานมีจำนวน 2,500 คน และชาวยูนนาน มีประมาณ 2,000คน  โดยมี ฮยี  ยง  ฟูอนันต์ (ประธานคณะกรรมการกลางของชาวมุสลิมจังหวัดเชียงใหม่)เป็นผู้นำทางศาสนาของชุมชนชาวยูนนาน และปากีสถาน  และอิหม่ามอ๊อด ศรีจันดร อิหม่ามของมัสยิดตำบลช้างคลาน (หน้า 264)
          ชาวปากีสถาน ได้โยกย้ายมาจากพื้นที่ที่ต่อมากลายเป็นประเทศบังกลาเทศ และชาวยูนนานที่โยกย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ภาคเหนือของไทย โดยมาจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน  การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของทั้งสองชุมชน นับย้อนไปได้ถึงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19(หน้า 264) ในช่วงแรกผู้อพยพได้สมรสกับคนไทยในชุมชน และปรับตัวเข้ากับสังคมภาคเหนือ แต่ครั้งแรกมีเพียง หลังจากทศวรรษของ ค.ศ. 1950 (พ.ศ.2493) ชาวปากีสถานและยูนนานก็เริ่มเปิดเผยอัตลักษณ์ด้านศาสนาและชาติพันธุ์ ว่าวัฒนธรรมประเพณีของพวกเขานั้นไม่เหมือนคนไทยภาคเหนือและคนที่นับถือศาสนาพุทธ (หน้า 264)
          การตั้งที่อยู่ของปากีสถานมุสลิม  ครั้งแรกมีเพียง 10กว่าครอบครัว และมีประชากรไม่ถึง 100คน ประมาณ พ.ศ. 2438ชาวมาเลย์มุสลิมในรัฐปาฮัง  ได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านผู้ปกครองชาวอังกฤษ ดังนั้นจึงทำให้มีมาเลย์มุสลิม  กว่า 80คน ที่หนีการปราบปรามเข้ามาอยู่ชายแดนภาคใต้ของไทย ชาวมาเลย์ที่เข้ามาก็ลักลอบเข้าไปก่อความไม่สงบอยู่หลายครั้ง รัฐบาลอังกฤษจึงขอร้อง ดังนั้นรัชกาลที่ 5จึงส่งชาวมาเลย์มุสลิมกลุ่มนี้ให้มาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ มุสลิมที่มาส่วนใหญ่เป็นชนชั้นปกครอง จึงได้ตั้งบ้านเรือนแยกต่างหากกับชุมชนปากีสถานมุสลิมที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากมาเลย์มุสลิมเป็นผู้มีความรู้ จึงทำอาชีพเป็นครูสอนศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับให้เด็กในชุมชน (หน้า 142)

Economy

เนื่องจากยูนนานมุสลิมมีความชำนาญด้านการทำการค้า กับคนที่อยู่บริเวณพื้นราบ และกลุ่มที่อยู่บนภูเขาที่อยู่ในพม่า ลาว และไทยมาก่อน หลังจากที่ย้ายเข้ามาอยู่ในภาคเหนือของไทย ชาวยูนนานจึงตั้งบ้านเรือนปะปนกับชาวเขาที่ย้ายมาอยู่ก่อน  แต่เพราะเคยทำการค้าด้วยกันมาก่อนตั้งแต่เมื่อครั้งอยู่ยูนนาน จึงปรับตัวได้ง่าย บางคนแต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นยูนนานมุสลิมจึงมีหน้าที่เป็นคนกลางในการทำการค้ากับคนพื้นราบและขนส่งสินค้าไปขายในเมือง (หน้า 119)

Social Organization

สังคมของชาวปากีสถาน และยูนนานมุสลิม
          เนื่องจากมุสลิมยูนนานที่เข้ามาค้าขายในช่วงบุกเบิกนั้น โดยมากจะเป็นชายหนุ่ม ดังนั้นพ่อค้ายูนนานบางรายจึงได้แต่งงานมีครอบครัวกับผู้หญิงปากีสถานมุสลิม รวมทั้งหญิงสาวจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆด้วย ในทางสังคมนั้น ปากีสถานมุสลิมมักจะชื่นชมชาวยูนนาน มุสลิมว่าเป็นกลุ่มที่มีหัวด้านการทำการค้า และยูนนานมุสลิมเป็นกลุ่มที่มีฐานะความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยกว่าฝ่ายตน ดังนั้นทั้งปากีสถานมุสลิม และยูนนานมุสลิมจึงมีการติดต่อทำการค้ากับกลุ่มมุสลิมต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ปากีสถานมุสลิมยังซื้อวัวจากชายแดนภาคเหนือที่ส่งมาจากประเทศพม่าแล้วนำไปขายในภาคเหนือ และกรุงเทพฯ  (หน้า 119)
 
โครงสร้างชุมชน
          ชุมชนมีความสัมพันธ์ระดับเครือญาติ และความเป็นเพื่อบ้าน มีทั้งที่เป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ในชุมชนพื้นฐานมาจากครอบครัว  ทั้งชุมชนปากีสถาน ยูนนานมุสลิม เป็นระบบเครือข่ายทางสังคม โดยคนรู่นใหม่กับผู้อพยพที่เข้ามาอยู่ใหม่ร่วมมือกัน ที่จะทำให้ชุมชนที่อยู่เกิดความมั่นคง และมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข  (หน้า 146)
 
การแต่งงาน
          ชาวปากีสถานและยูนนานมุสลิมในอดีตเมื่อครั้งอยู่ที่อินเดียกับยูนนาน ได้ถือระบบการสืบเชื้อสายทางฝ่ายชาย แต่หลังจากที่ย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ พวกเขาจึงเปลี่ยนมายอมรับระบบเครือญาติของธรรมเนียมท้องถิ่นที่ให้ความเท่าเทียมกับญาติทั้งสองฝ่าย ดังนั้นการสืบเชื้อสายจึงเป็นการผสมกับการแต่งงานในกลุ่ม ฉะนั้นกลุ่มชุมชนชาวปากีสถานกับยูนนานมุสลิมจึงให้ความสำคัญกับญาติฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง (หน้า 154)
 
เครือญาติของปากีสถานมุสลิม
          ในกลุ่มชาวมุสลิม ความสัมพันธ์แบบเครือญาติจะเป็นระบบที่ให้ความสำคัญแก่ญาติฝ่ายหญิง และฝ่ายชายเท่าเทียมกัน บุคคลหนึ่งจะมีความเกี่ยวข้องทั้งญาติฝ่ายแม่ และญาติฝ่ายพ่อ การถ่ายทอดสิทธิ์ รวมทั้งสิทธิ์ในที่ดิน และทรัพย์สินต่างๆ ให้แก่ลูกชายหรือลูกสาว หรือทั้งลูกชายและลูกสาว  (หน้า 147)
 
เครือญาติของยูนนานมุสลิม
          ครอบครัวยูนนานมุสลิม โดยพื้นฐานจะมีเฉลี่ยประมาณ ห้าคน  ระบบเครือญาตินั้นให้ความสำคัญกับญาติทั้งสองฝ่ายโดยเท่าเทียม  ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากพวกเขาเป็นชายมุสลิมที่มาค้าขายเพียงลำพัง ต่อมาเมื่อแต่งงานกับหญิงไทยหรือมุสลิมในชุมชน ก็จะไปอยู่ในชุมชนของฝ่ายหญิง  ที่ถือระบบเครือญาติที่ให้ความสำคัญกับญาติทั้งสองฝ่าย  สิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินนันจะมอบให้ลูกชายและลูกสาวอย่างเสมอภาค (หน้า 149) 

Political Organization

การได้รับสัญชาติไทยของชาวปากีสถานและยูนนานมุสลิม
          การได้รับสัญชาติไทย  ผู้อพยพชาวปากีสถาน กับยูนนานมุสลิมนั้นจะต้องมีหลักฐานของการตั้งถิ่นที่อยู่ (สำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้าน) และบัตรประจำตัวประชาชน  ซึ่งการได้หลักฐานนั้นต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ  ในขณะที่ผู้อพยพพักอยู่พื้นที่ชายแดน หลังจากได้หลักฐานการตั้งถิ่นฐาน (หน้า145) และบัตรประจำตัวประชาชน  ผู้อพยพก็สามารถที่จะย้ายหรือเปลี่ยนที่อยู่เข้ามาอยู่บริเวณเมือง เมืองเชียงใหม่ และจังหวัดอื่นๆ  (หน้า 146)
          สำหรับการยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้   1) ต้องอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์  2) มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยโดยอยู่ติดต่อกันอย่างต่ำห้าปี    3)  มีความรู้ภาษาไทยในระดับที่กำหนดไว้ในกฎหมาย    4) มีอาชีพทำเป็นหลักแหล่ง  5)  มีความประพฤติเรียบร้อยหลังจากที่ได้สัญชาติไทย  ผู้อพยพมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของที่ดิน รวมทั้งได้รับการยกเว้นข้อห้ามเกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่รักษาไว้เพื่อคนไทยเท่านั้น  (หน้า 146) ปากีสถานมุสลิม และยูนนานมุสลิม โดยมากได้รับสัญชาติไทยโดยการโอนสัญชาติ แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย (หน้า 146)

Belief System

ความเชื่อและศาสนา
          ปากีสถานมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามนิกายฮานาฟี ซึ่งได้รับความเชื่อจากอินเดียแต่เนื่องจากได้โยกย้ายที่อยู่เข้ามาในประเทศพม่า ก่อนที่จะอพยพมายังภาคเหนือของไทย ก็ได้รับวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามา ส่วนกลุ่มยูนนานมุสลิมนั้นเป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซาฟิอี และนับว่าเป็นกลุ่มหัวก้าวหน้า  ดังนั้นชาวยูนนานมุสลิมจึงเป็นผู้นำด้านการปฏิรูปศาสนา  โดยตั้งโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามซึ่งมีหลักสูตรการเล่าเรียน ตามหลักของโรงเรียนศาสนาอิสลามสมัยใหม่ และ (หน้า 119)
ของกระทรวงศึกษาธิการ
 
มัสยิดของปากีสถานมุสลิม
          มัสยิดสร้างด้วยเงินบริจาคของคนในชุมชน ชาวปากีสถานมุสลิมที่อยู่พื้นที่ช้างคลานจะลงทะเบียนเป็นสมาชิกของมัสยิดนี้ ที่นี่มุสลิมจะไปทำพิธีละหมาดและพิธีอื่นๆ  พิธีละหมาดจะทำวันละห้าครั้ง (ตอนรุ่งเช้า  กลางวัน  ตอนบ่าย  เวลาเย็น และก่อนค่ำ)  สำหรับการละหมาดตอนกลางวัน และเวลาเย็นจะละหมาดที่มัสยิด โดยมีอิหม่ามเป็นผู้นำในการประกอบพิธี ส่วนการละหมาดในตอนเย็นวันศุกร์ถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งโดยมากแล้วมุสลิมในชุมชนจะเข้าร่วมพิธี (หน้า 148) 
          มุสลิมชายและหญิงจะมาประกอบพิธีละหมาดประจำวัน และพิธีทางศาสนาที่มัสยิด แต่มุสลิมหญิงจะแยกต่างหากในระดับเดียวกันภายในมัสยิดที่อยู่ตรงข้ามกับที่ยืนประกอบพิธีของอิหม่าม (หน้า 148)
          ภายในมัสยิดนั้นจะมีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม กับภาษาอาหรับ โดยเด็กมุสลิม อายุ 8-15 ปีนั้นจะมาเรียนภาษาที่นี่ ที่นี่จะมีครูเชื้อสายมาเลย์อยู่สองคน มัสยิดกับโรงเรียน มีคณะกรรมการประจำมัสยิดดูแล ที่ประกอบด้วย อิหม่าม ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการ, กาติบ เป็นนักเทศน์, บิลาล คือคนเดินสารของมัสยิด  เลขานุการ กับผู้ช่วยทำหน้าที่เป็นผู้จัดและบันทึกการประชุม  เหรัญญิก ทำหน้าที่ในการเก็บสาเก็ต (เงินบริจาคสำหรับคนจนในช่วงเทศกาลถือศีลอด )และเงินบริจาคต่างๆ  นายทะเบียนรับผิดชอบในการจดทะเบียนมุสลิมทุกคน (หน้า 148) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์กับผู้ช่วย  กรรมการสามคนแรกของมัสยิดนั้นจะทำหน้าที่ทั้งชีวิต ส่วนที่เหลือจะอยู่ตำแหน่งละสี่ปี   การทำหน้าที่ของคณะกรรมการไม่มีเงินค่าจ้างถือว่าเป็นอาสาสมัคร (หน้า 149)
 
มัสยิดของยูนนานมุสลิม
          ยูนนานมุลิมไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เมื่อมาทำพิธีทางศาสนามัสยิดนั้นพิธี จะเป็นศูนย์กลางในการทำพิธี โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีคนเข้าร่มพิธี ประมาณสองร้อย ถึงสามร้อยคน  ที่เข้าทำพิธีละหมาดและอื่นเป็น มัสยิดสร้างด้วยวัสถุถาวร ได้รับเงินบริจาคจากมุสลิมที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งชุมชนชาวยูนนานเมื่อ 20ปีที่แล้ว ที่ห้องโถงใหญ่ของมัสยิดใช้เป็นที่ประกอบพิธีละหมาด และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆ  ส่วนผู้หญิงนั้นจะมีเรือนไม้สองชั้นแยกอยู่ต่างหากใช้เป็นที่ละหมาดและประกอบพิธีอื่นๆ  ภายในพื้นที่มัสยิดนั้นจะมีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามสำหรับเด็กๆ และห้องสมุด  โดยมีคณะกรรมการมัสยิดเป็นคนดูแล  ที่ประกอบด้วยอิหม่าม เป็นประธาน กาติบ  กับบิลาลทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเทศน์  เลขานุการ  เหรัญญิก  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ทางศาสนา สามคนแรกได้รับเลือกให้อยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต ส่วนตำแหน่งอื่นๆ อยู่ในวาระละสี่ปี คณะกรรมการมัสยิดทุกคนได้รับเงินตอบแทนจากเงินบริจาคของสมาชิกในชุมชน  (หน้า 150) 

Education and Socialization

ต้นแบบของโรงเรียนปอเนาะ
          ปอเนาะเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (หน้า 225) เกิดจากรัฐได้นำต้นแบบมาจากโรงเรียน “มาดราซาฮ์” ที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน  สำหรับที่มาของโรงเรียน “มาดราซาฮ์” มีเรื่องเล่าว่า โรงเรียนมาดราซาฮ์ ไม่ได้ถือกำเนิดมาจากศาสนาอิสลาม แต่มาจากวัดของศาสนาฮินดู และพุทธ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระหรือนักบวช หรือคนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางศาสนา และเยาวชนในพื้นที่  แต่ในเวลาต่อมาคัมภีร์ที่ใช้ในโรงเรียนมาดราซาฮ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากคัมภีร์ตรันตริกของศาสนาฮินดู กับคัมภีร์ของศาสนาพุทธ เปลี่ยนมาเป็นคัมภีร์อัลกุรอาน ของศาสนาอิสลาม ต่อมาคนที่อยู่ในโรงเรียนก็เปลี่ยนจากพระกับนักบวชมาเป็น “อูลามา” (Ulama) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางศาสนาอิสลาม (หน้า 226)
          ทุกวันนี้โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย เรียกว่า “เปสันเตร็น” (Pesantren)  ลักษณะรูปแบบยังเป็นเหมือนในอดีต บริเวณที่พักกั้นรั้วมักอยู่บริเวณลานที่อยู่ในป่า หรือไม่ก็เป็นบริเวณรอบหมู่บ้าน ในโรงเรียนมี “กิจาจิ” หรือครูสอนศาสนากับนักเรียนชาย ซึ่งส่วนมกยังไม่แต่งงานมีครอบครัวที่มาเรียนการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน  และฝึกปฏิบัติลัทธิรหัสย ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากอินเดียซึ่งเป็นภาษาอาหรับ ในภายหลังเมื่อมีผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ (Hajj) ที่นครเมกกะ ได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามบทบัญญัติของคัมภีร์อัลกุรอานเพิ่มความเคร่งครัด ฉะนั้นโรงเรียนสอนศาสนาเปสันเตร็น จึงได้กลายเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอับกุรอานโดยมีมุสลิมที่กลับมาจากการประกอบพิธีฮัจญ์จากนครเมกกะเป็นผู้นำ และได้รับการส่งเสริมทุนจากมุสลิมที่มีฐานะร่ำรวย (หน้า 226)
          ในยุคเริ่มต้นรูปแบบของโรงเรียนเปสันเตร็น ยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร แต่เนื้อหาการสอนได้มีการเปลี่ยนแปลง และมีการสอนวิชาศาสนาอิสลาม กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 ได้มีการฟื้นฟูศาสนาอิสลามในตะวันออกกลาง (หน้า 226) และเป็นการเปลี่ยนที่ยังคงรักษาจารีต ศาสนาอิสลามสมัยกลางไว้อย่างเหนียวแน่น ลักษณะรูปแบบยังเป็นเหมือนในอดีต บริเวณที่พักกั้นรั้วมักอยู่บริเวณลานที่อยู่ในป่า หรือไม่ก็เป็นบริเวณ รอบหมู่บ้านในโรงเรียนมี “กิจาจิ” หรือครูสอนศาสนากับนักเรียนชายซึ่งส่วนมากยังไม่แต่งงาน มีครอครัวที่มาเรียนการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน และฝึกปฏัติรหัสย ซึ่งได้รับการสืทอดมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ ในภายหลังเมื่อมีผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ (Hajj) ที่นครเมกกะ ได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติ ตามบทบัญญัติของคัมภีร์  อัลกุรอาน เพิ่มความเคร่งครัด  (หน้า 226)
          ฉะนั้นโรงเรียนสอนศาสนาเปสันเตร็นจึงได้กลายเป็นโรงเรียนสอนคัมภีร์ อัลกุรอาน โดยมีมุสลิมที่กลัมาจากการประกอบพิธีฮัจญ์ จากนครเมกกะเป็นผู้นำและได้รับการส่งเสริมทุนจากมุสลิมที่ร่ำรวย ในยุคเริ่มต้นรูปแบบของโรงเรียนเปสันเตร็นยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร แต่เนื้อหาการสอนได้มีการเปลี่ยนแปลง และมีการสอนวิชาศาสนาอิสลาม (หน้า 226) กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 ได้มีการฟื้นฟูศาสนาอิสลามในตะวันออกกลาง (หน้า 226) และเป็นการเปลี่ยนที่ยังคงรักษาจารีตศาสนาอิสลามสมัยกลางไว้อย่างเหนียวแน่น  และส่งผลกระทบต่อศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียเป็นเวลานานกว่า 5-6ศตวรรษ (หน้า 227)
          ในช่วงต่อมา นักปฏิรูปศาสนาและกลุ่มทันสมัยนิยม ได้โจมตีเปสันเตร็นว่าได้สืบทอดความเชื่อทางศาสนา จากศาสนาฮินดู และพุทธ  ต่อมาคณะปฏิรูปได้แนะนำโรงเรียนสมัยใหม่ที่มีการแงชั้นเรียน กับสอนวิชาสามัญ และโรงเรียนสอนศาสนาแบบใหม่ ที่เรียกว่า “มาดราซาฮ์” (Madrasah) ที่เป็นระบบสหศึกษา ที่ประกอบด้วย นักเรียนชาย และหญิง  ส่วนการเรียนการสอนของโรงเรียนมาดราซาฮ์ ยังมีการสอนศาสนาอยู่เช่นเดิม โดยคิดเป็นหนึ่งในสามหรือสองในสามของวิชาในหลักสูตร  (หน้า 227) ส่วนการสอน ผู้รู้ภาษาอาหรับ อาจิม (Alim) จะอธิบาย ความหมายของภาษาอาหรับแทนการเรียนแบบท่องจำที่ไม่รู้ความหมายอย่างแท้จริง เมื่อตอนเรียนที่โรงเรียนเปสันเตร็น   (หน้า 227) ส่วนในงานเขียนของคริฟฟอร์ด เกียรซระบุว่า ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20ในอินโดนีเซียไม่มีโรงเรียนมาดราซาฮ์ เหมือนเช่นทุกวันนี้ แต่ใน ค.ศ. 1950มีโรงเรียน   มาดราซาฮ์ จำนวน  12,000 แห่ง โดยมีนักเรียนประมาณ หนึ่งล้านถึง หนึ่งล้านห้าแสนคน ส่วนโรงเรียนเปสันเตร็น มี 53,000 แห่ง มีนักเรียนกว่า สองล้านคน  (หน้า 228)
          ในช่วงแรกฝ่ายเคร่งศาสนาได้ต่อต้านโรงเรียนมาดราซาฮ์ เนื่องจากโรงเรียนมีผลกระทบต่อโครงสร้างของอำนาจ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าต่อไปคงไม่จำเป็นต้องเดินทางไปนครเมกกะ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้รู้ทางศาสนา  หรือสามารถท่องจำคัมภีร์อัลกุรอาน เพื่อสื่อเนื้อหาความรู้ทางศาสนาอิสลาม และการเรียนการสอนแบบใหม่ก็สามารถเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ  แต่ท่าทีการต่อต้านก็มีอยู่ในช่วงระยะเวลาไม่นานเนื่องจากว่ากลุ่มผู้รู้ศาสนาเห็นความจำเป็นที่ต้องรักษานะผู้นำจิตวิญญาณและเห็นถึงความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียน การสอนนั้นๆ (หน้า 228)
          ต่อมาผู้รู้ทางศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย ได้ก่อตั้ง “นาดาตูล อูลามา” (Nadatul Ulama)  อันเป็นองค์กรฟื้นฟูผู้รู้ทางศาสนา เพื่อปรับแนวคิดให้เข้ากับพื้นฐานของระโรงเรียนเปสันเตร็น และโรงเรียนมาดราซาฮ์ กระทั่งเกิดเป็นโรงเรียนที่มีชื่อว่า “เซโกลาฮ์ อิสลาม (Sekolah Lslam)ที่มีระบบการเรียนการสอนคล้ายกัโรงเรียนคาทอลิกในประเทศสหรัฐอเมริกา กับยุโรป ซึ่งเป็นโรงเรียนสามัญที่เพิ่มการสอนศาสนาเข้าในหลักสูตรแต่ไม่เหมือนโรงเรียนมาดราซาฮ์  เพราะการศึกษาวิชาสามัญไม่มีความเป็นอิสระ เพราะต้องรับใช้การเรียนการสอนทางศาสนา (หน้า 228)
          จากการปฏิรูประบบโรงเรียนเปสันเตร็น เพื่อให้เข้ากับระบบการศึกษาสมัยใหม่ จากการศึกษาพบว่า โรงเรียนมาดราซาฮ์มีอยู่ในหมู่บ้านที่เคร่งศาสนา ส่วนโรงเรียนเซกโกลาฮ์  อิสลามที่สอนในระดับประถม มัธยมส่วนใหญ่อยู่ในเมือง และมหาวิทยาลัย (หน้า 229)
 
 โรงเรียนปอเนาะของไทย
           ในช่วง พ.ศ. 2473 –2493 ในพื้นที่เมืองจะนะ  จังหวัดสงขลา มีโรงเรียนปอเนาะที่ได้รับความนิยมจากมุสลิมที่อยู่ภาคใต้ เช่น นครศรีธรรม ตรัง, พังงา, กระบี่, สุราษฎร์ธานี, สงขลา และสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ในเมืองจะนะ จังหวัดสงขลา มีโรงเรียนสอนศาสนาที่มีชื่อเสียง 4แห่ง โดยเรียกตามชื่อของโต๊ะครู ได้แก่  (หน้า 229) 1) โรงเรียนปอเนาะโต๊ะครู ฮยีนอร์  2)  โรงเรียนปอเนาะ โต๊ะครู ฮยีเลฮ์  3) โรงเรียนปอเนาะโต๊ะครูฮยี โซหมัด  และ 4) โรงเรียนปอเนาะโต๊ะครูคนิ หรือปอเนาะปาดัง ลังกา (หน้า 229)  งานเขียนระบุว่า ในจำนวนนี้สามโรงเรียนแรกนั้นมีชื่อเสียงเนื่องจากมีโต๊ะครูที่มีความรู้เกี่ยวกับงานเขียนภาษาอิสลาม โดยแปลจากภาษาอาหรับ เป็นภาษายาวี (หน้า 229) โดยใช้เป็นหนังสือเรียน หรือเรียกว่า “กีตับยาวี” โรงเรียนเหล่านี้นอกจากประกอด้วยโต๊ะครูที่มีความรู้ทางศาสนาอิสลามแล้วยังเคร่งครัดต่อนักปฏิบัติ ของศาสนาอิสลามอีกด้วย  (หน้า 230)
          ส่วนโต๊ะครูคนิ (พ.ศ. 2472-2525) แห่งโรงเรียนปอเนาะ ปาดัง ลังกา ที่ถือว่าเป็นตัวแทนของมุสลิม นับว่าเป็นตัวแทนของมุสลิมที่มีความคิดใหม่ (Kuam Muda) ของภาคใต้ และได้นำหลักปฏิบัติทางศาสนาแบบดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้ใหม่อีกครั้ง โต๊ะครูคนิได้จบการศึกษา จากประเทศมาเลเซียมีความรอบรู้ ภาษาอาหรับจึงได้รับการเคารพนับถือจากนักเรียน จึงทำให้โรงเรียนปอเนาะ ปาดัง ลังกามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักเรียนมุสลิมอย่างแพร่หลาย (หน้า 230)
 
โรงเรียนสอนศาสนาของยูนนานมุสลิม
          ชาวยูนนานมุสลิมได้ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาชื่อ โรงเรียนจิตภักดี เป็นโรงเรียนกินนอนที่รับนักเรียนที่มาจากชุมชนชาวมุสลิมในเมืองเชียงใหม่ กับพื้นที่ใกล้เคียง โดยมุ่งใหเป็นที่เรียนศาสนา นักเรียนที่มีผลการเรียนดีจะได้รับการคัดเลือกเพื่อส่งให้ไปเรียนวิชาทางศาสนาในประเทศตะวันออกกลาง เช่นซาอุดิอาระเบีย ที่มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน  (หน้า 151)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของคนเมือง
          เป็นภาพแสดงการแต่งกายของคนเมืองในอดีต เป็นภาพวาดฝาวิหารลายคำ วัดพระสิงห์  เชียงใหม่  ผู้ชายจะสักขา  ผู้หญิงไว้ผมยาว นุ่งซิ่นยาว มีผ้าพาดไหล่ (ภาพฝาผนัง เขียนในสมัยรัชกาลที่ 5 หน้า 190)  

Folklore

ตำนานของชาวปากีสถานและยูนนานมุสลิม
          ตำนานการกำเนิดและข้ออ้างของความเหนือกว่าของชาวปากีสถาน และยูนนานมุสลิม ที่อ้างว่ากลุ่มของพวกตนเหนือกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ในเชียงใหม่ เช่น ยูนนานมุสลิม อ้างว่า กลุ่มของตนสืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับที่อยู่ในคาบสมุทร   อาระเบีย โดยเข้ามาในจีนตามคำขอของจักรพรรดิเพื่อให้มาปราบกบฎที่อยู่ในทิเบต  (หน้า 155) และข้ออ้างที่เหนือกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นคือ การไม่กินเนื้อหมู ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนัน ฉะนั้นจึงทำให้ชาวปากีสถานกับยูนนานมุสลิม รู้สึกว่า กลุ่มตนมีความสะอาดไร้มลทิน และเหนือกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ (หน้า 155)
 
ตำนานสุวรรณคำแดง(ตำนานเจ้าอินทขีล)
          นานมาแล้วมีหมูอยู่สี่กลุ่ม  อยู่ประจำในทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก แต่เดิมหมูทุกกลุ่มต่างก็รักใคร่สามัคคีกันดี  แต่อยู่มาวันหนึ่งได้มีเรื่องบาดหมางกัน จึงเดินทางไปคนละทิศ คนละทาง   ไม่นานหัวหน้าหมูที่อยู่ทางทิศเหนือเมื่อเสียชีวิตแล้วก็กลายเป็นพญา แต่เมื่อพญาผู้นั้นสิ้นชีพแล้วก็กลายเป็นเจ้าสุวรรณคำแดง เมื่อโตเป็นหนุ่มก็ขี่ม้าไปล่าสัตว์แล้วไปพบกวางทอง  แล้วได้ติดตามกวางนั้นไปจึงไปพบภูมิประเทศที่สวยงาม ต่อมาจึงตั้งเมืองชื่อเชียงใหม่ จากตำนานดังกล่าว จึงพอประเมินถึงการจัดการพื้นที่ใช้สอย  โดยถือทิศทั้งสี่เป็นหลัก ได้แก่ ตะวันออก  ตะวันตก เหนือใต้ การจัดพื้นที่หลักทั้งสี่ต่อมาอาจพัฒนากลายเป็นแปด ซึ่งรวมทิศเฉียงทั้งสี่ (ถ้ารวมศูนย์กลางเข้าไปก็จะเป็นห้า หรือเก้า) บางครั้งอาจจะแยกย่อยออกไปเป็น 16หรือ 32  ซึ่งการแบ่งหัวเมืองจะแบ่งตามทิศทั้งสี่  การจัดประตูเมืองทั้งสี่ทิศ การวางแผนผัง วัด หรือวัง ก็ใช้รูปแบบนี้  (หน้า 195)
 
ตำนานปรัมปราเกี่ยวกับการกำเนิด และสืบเชื้อสาย
          เงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ที่เป็นสำนึก ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ได้แก่ตำนานปรัมปราเกี่ยวกับการเกิดเชื้อสาย โดยใช้เป็นตัวกำเนิดถิ่นฐานร่วมกัน  ที่อธิบายถึง กำเนิด การเติบโต และชะกรรม   ดังนั้นนิทานปรัมปราจึงความรู้สึกร่วม ว่าทำไมคนจึงเหมือนกันและรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน (หน้า 44)
          นิทานปรัมปราของการสืบเชื้อสาย ส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบหลายระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นตำนานที่เกี่ยวกับพื้นที่  กำเนิดทางเวลา  การโยกย้ายที่อยู่ ความเกี่ยวพันกับบรรพบุรุษ ยุคของความก้าวหน้า และเสื่อมทรุด การหนีภัยสงคราม  รวมทั้งการเกิดใหม่  ภายหลังตำนานปรัมปราถูกแบ่งแยกจาก แต่จนแล้วจนรอดก็ถูกนำกลับมารวมกัน เป็นนิทานปรัมปราเกี่ยวกับการกำเนิด กับการสืบเชื้อที่มีลักษณะซับซ้อน ที่เป็นผลงานของปัญญาชนในอดีต  แล้วสร้างเป็นประวัติศาสตร์ประชาคมที่มีลักษณะเป็น “วิทยาศาสตร์” แต่มีเป้าหมายที่แท้ของการรวบรวมนิทานปรัมปรา หาใช่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะวัตถุวิสัยทางวิทยาศาสตร์ แต่มักจะเกี่ยวกับอารมณ์ และความเป็นหนึ่งเดียวของสุนทรียภาพ และการกำหนดอัตลักษณ์ของตนเองและเพื่อให้สังคมที่อยู่รู้รักสามัคคี  (หน้า 45)
 
นิทาน อลองเจ้าสามลอ
          ผู้เขียนได้เล่าถึงบทความของอนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ ที่เล่าถึงวรรณกรรม ไทขึน  ลื้อ  และลัวะที่อยู่ในเชียงใหม่ เอาไว้ดังนี้  เนื้อเรื่องที่ปริวรรต เป็นภาษาอังกฤษ เป็นนิทานเรื่อง อลองเจ้าสามลอ ที่ได้เค้าเรื่องมาจากลิ่กของไทใหญ่ ที่เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องรักอกหักรักคุด คล้ายลิลิตพระลอ วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงอยุธยาตอนต้น  ในช่วงที่รัฐไทสยามในยุคสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่สร้างศูนย์กลางอำนาจบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา และมีความปรารถนาที่จะทำสงครามกับอาณาจักไทที่อยู่ภาคเหนือ (หน้า 181)ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยของพระเจ้าติโลกราช  การสู้รบของอยุธยาที่ตั้งอยู่ที่เมืองหน้าด่านพิษณุโลก กับหัวเมืองในภาคเหนือ ลงเอยที่ความปราชัยของไทยวน หรือ      คนเมือง  ทหารของอยุธยา ได้กวาดต้อนประชาชน ศิลปวัฒนธรรมลงไปที่อยุธยา รวมทั้งนิทานเรื่องพระลอของภาคเหนือ (หน้า 182)
          ในเวลาเดียวกัน “ลิลิตยวนพ่าย” ของอยุธยา ได้สื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ และอุดมการณ์ของอยุธยาที่จะโจมตีล้านนาให้สูญสิ้นไป นอกจากนี้ยังสื่อให้เห็นความรู้สึกหมิ่นแคลน ของชนชั้นปกครองสยามที่มีต่อคนเมือง หรือไทยวน ซึ่งไทสยามเรียกพวกเขาว่า “ลาว” ดังนั้น “ลิลิตพระลอ ที่กวีกรุงศรีอยุธยานำไปเล่าเรื่องใหม่ให้ดูเป็นสเห็นประเพณีวัฒนธรรมยาม ก็เหมือนกระจกที่สองให้เห็นความความงดงามของสศิลปวัฒนธรรมของล้านา (หน้า 182)
 
ตำนานนานพื้นเมืองเวียงจันทน์
          ผู้เขียนได้กล่าวถึงบทความของสมหมาย เปรมจิตต์ ที่วิเคราะห์วรรณกรรมไทลาว เรื่อง “พื้นเวียงจันทน์” หรือ “ตำนานพื้นเมืองเวียงจันทน์” เป็นเอกสารใบลาน เขียนด้วยอักษรธรรม ไม่พบชื่อผู้เขียน คาดว่าแต่งในสมัยเจ้าอนุวงศ์กู้ชาติ ซึ่งงานเขียนระบุว่าตำนานพื้นเวียงจันทน์ ไม่ได้เป็นตำนานประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่ถือว่ามีความจริงทางประวัติศาสตร์  ฉะนั้นการวิเคราะห์วรรณกรรมจึงมุ่งไปที่คุณค่าทางวรรณกรรม  ส่วนนักวิชากาสรบางท่านยังให้ทัศนะที่ต่างออกไปว่า วรรณกรรมพื้นเวียงเป็นการจดบันทึกเอกสารประวัติศาสตร์ อีกมุมหนึ่งของชาวไทลาวอีสาน  ซึ่งวรรณกรรมพื้นเวียงนั้นสามารถแต่งเป็นคำประพันธ์อีกแบบหนึ่งเรียกว่า “กลอนลำ” เพื่ออ่านในงานวรรณกรรมของชาวบ้านที่มาชุมนุมกันที่มีการจัดงานศพ เมื่อมีคนเสียชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่า   “งันเฮือนดี”   (หน้า 182)
          วรรณกรรมจะเริ่มต้นเพื่อให้คนฟังนั้นตกอกตั้งใจฟังให้ดี แล้วบอกวัตถุประสงค์ของผู้แต่งว่า เป็นการเล่าเรื่องเพื่อให้ลูกหลานได้รับรู้เรื่องราวในช่วงบ้านเมืองเกิดกลียุค ซึ่งผู้เขียนระบุว่า วรรณกรรมพื้นเวียงฉบับดั้งเดิมนั้น ก่อนที่จะคัดลอกต่อๆกันมานั้น น่าจะแต่งก่อน พ.ศ. 2443  ซึ่งเจ้าอนุวงศ์เกิดเมื่อ พ.ศ. 2369ดังนั้นจึงแต่หลังเหตุการณ์ 53 ปี  โดยเริ่มตั้งแต่กบฏอ้ายสาเกียดโง้ง  และจบลงช่วงสงครามไทย-ญวน เมื่อ พ.ศ. 2390ซึ่งผู้จดบันทึกน่าจะมีอายุอยู่ในยุคที่เกิดเรื่องราวเหล่านั้น  แล้วเขียนเมื่อบั้นปลายชีวิต  โดยใช้ประสบการณ์และได้รับรู้จะการเล่าเรื่องราวต่อๆ กันมา  แต่อิทธิพลของวรรณกรรมพื้นเวียงที่มีต่อคนอีสานนั้น  เป็นเพราะว่าพบเอกสารอยู่ในที่ต่างๆ และมีหลายสำนวน  วรรณกรรมเรื่องนี้คงได้รับความนิยมอย่างมากมายเมื่อในอดีต  (หน้า 182) แต่จากการสัมภาษณ์มีผู้จดจำเรื่องพื้นเวียงอย่างขึ้นใจและมีคนจำนวนมากบอกว่าเคยฟังในงันเฮือนดี (งานศพ) บางส่วนก็เคยฟังตอนที่บวชเป็นพระสงฆ์  ผู้เขียนเล่าว่าเหตุที่วรรณกรรมพื้นเวียงส่งผลต่อความรู้สึกของไทลาวในอดีต  น่าจะมีหลากหลายเหตุผล อาทิเช่น (หน้า 183)
          เหตุการณ์ในครั้งนั้นคงสะเทือนอารมณ์อย่างที่สุด จึงบอกเล่าให้ลูกหลานได้ฟังต่อๆ กันมา บ้างก็นำมาอ่านในที่ประชุม  (หน้า 183) การอพยพพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน ดั้งนั้นจึงนำมาเล่าให้ลูกหลานได้รับรู้เรื่องราวในอดีต  (หน้า 183) เหตุผลทางด้านการเมือง เช่นสาเหตุที่เจ้าอนุวงศ์คิดก่อกบฏ  การที่ต้องสูญเสียพระแก้วมรกต เช่นข้อความในพื้นเวียงที่ว่า .....กับทั้ง องค์พระแก้ว ได้ไปแล้วพระแก้วมรกต ได้ไปหมด โชติตระการบั้น (หน้า 183)
          ผู้เขียนจึงสรุปการวิเคราะห์วรรณกรรมพื้นเวียง(ของธวัช ปุณโณทก ผู้วิจัย) ไว้ดังนี้

  1. เอกสารพื้นเวียงมีรูปแบบเป็นบันทึกประวัติศาสตร์มากเกินกว่าจะเป็นวรรณกรรม (หน้า 183)
  2. โครงเรื่องทั่วไปตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ที่ไม่เหมือนกันก็คือข้อมูลที่ผู้เขียน รวบรวมและตรึกตรองตามความเชื่อ ความเข้าใจของคนภาคอีสาน  ที่ไม่พบในเอกสารประวัติศาสตร์ของรัฐบาลไทย  เช่นความคิดเห็นที่ค่อนข้างไม่ดีต่อเจ้าเมืองนครราชสีมา หรือไม่พบชื่อท้าวสุรนารี  คนอีสานได้รับความทุกข์เวทนาจากการสักเลก  การจากบ้านเกิดเมืองนอนของคนอพยพ กับหัวเมืองอีสานมีใจโน้มเอียงมาทางฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ และอื่นๆ  (หน้า 183)
 
สานลึบพะสูน (สานลบไม่ศูนย์)
          ผู้เขียนได้วิเคราะห์บทความของนู ไซยะสิดทิวง กับปีเตอร์ โคเรต ที่วิเคราะห์วรรณกรรมไทลาวเรื่อง “สานลึบพะสูน” (หมายถึง สาส์นลบไม่ศูนย์) อันเป็นวรณกรรมประวัติศาสตร์และการเมืองของลาว เช่นในช่วงหลังการเสื่อมอำนาจของนครเวียงจันทน์ “สานลึบพะสูน” มีต้นฉบับหลากหลาย  แต่ฉบับที่นูนำมาใช้วิเคราะห์นั้นเป็นฉบับของคณะกรรมการวรรณกรรมลาว  ที่พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1967 (หรือ พ.ศ.2510) เนื้อเรื่องของสานลึบ มีความเห็นที่หลากหลายทัศนะ บางรายเห็นว่าเป็นสาส์นรักโรแมนติก บางคนก็ว่าเป็นคำสอนธรรม  ในขณะที่ นักวิชาการของลาวมีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันว่า เรื่องนี้มีเนื้อหาทางการเมือง  ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ลาวเสียเอกราชให้สยาม เมื่อครั้ง ค.ศ. 1779 (พ.ศ.2322) โดยผู้เขียนเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปลุกเร้ามวลชนให้ลุกฮือขึ้นเพื่อต่อสู้กูเอกราชจากสยาม แต่กลวิธีในการเขียนนั้น ผู้เขียนได้ใช้สัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดการตีความ  ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจารณ์มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป(หน้า 183)
          ส่วนปีเตอร์ โคเรต ได้เสนอความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยสะท้อนให้เห็นความไม่เหมือนของนักวิเคราะห์ ทั้งลาว และไทย  ตัวอย่างเช่นตัวหนังสือที่เขียนวรรณกรรมลาว นักวิจารณ์ฝ่ายลาว  เรียกว่า “ตัวหนังสือลาวโบราณ” แต่นักวิจารณ์ฝ่ายไทยเรียกว่า “ตัวหนังสือไทน้อย” ซึ่งนักวิชาการฝ่ายลาวเห็นว่า เป็นต้นแบบของตัวหนังสือไทยยุคพ่อขุนรามคำแหง  ส่วนนักวิชาการไทยเห็นว่าตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงเป็นต้นธารของตัวหนังสือไทน้อย (ลาว) ที่นักวิชาการของลาวเรียกวรรณกรรมเรื่อง “สานลึบพะสูน” ว่า “วรรณคดีลาว” บางครั้งก็เรียกว่ามูลมรดกทางวรรณคดีของชาติลาว” ในขณะที่นักวิชาการของไทยเรียกว่า “วรรณคดีอีสาน” หรือ “วรรณคดีสองฝั่งโขง” (วรรณคดีล้านช้าง )เพจะเลี่ยงคำว่าลาว นั่นเอง  (หน้า 183)
          ส่วนนักวิชาการไทยในอีสานมองวรรณกรรมเรื่อง “ลึบพะสูน” ว่าเป็นเรื่องราวของความรักเสน่หา  ขณะที่ปีเตอร์ โคเรต เห็นว่าน่าจะมาจากความคิดเดิมของประชาชน นักวิชาการบางส่วนมองว่าเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งมีความเห็นว่า “ลึบพะสูน” นั้นเขียนเป็นรหัสมีนัยยะซ่อนเร้น อ่านเพียงชั้นเดียวไม่ได้ต้องตีความหลายตลบ ซึ่งปีเตอร์ โคเรทได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในการตีความวิเคราะห์เรื่องลึบพะสูนในด้านการเมืองหากเป็นในประเทศลาวมีเพียงสองคนเท่านั้นคือ มหาสิลา วีรวงส์ กับ ส.เดชา ที่เป็นประชาชนลาวที่กำเนิดในภาคอีสาน แล้วอพยพไปอยู่ประเทศลาว  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  ก็ได้รับความคิดเห็นแบบชาตินิยม ที่แพร่มายังประชาชนลาวในยุคนั้น  ซึ่งคนทั้งสองต่างมองว่าตนเองเป็นคนลาวที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมไทย ฉะนั้นจึงรื้อค้นเหตุการณ์ยุคเจ้าอนุวงศ์ โดยใช้แว่นการมองจากเรื่อง “ลึบพะสูน”  เพื่อมุ่งหวังให้เยาวชนลาวคิดและถกเถียงหาข้อสรุปของความเป็นมาและความหมายของความเป็นอีสาน นั่นเอง (หน้า 184)  ซึ่งมหาสิลาเป็นนักวิจารณ์ที่บุกเบิกให้ความหมาย “ลึบพะสูน” ทางด้านการเมืองเพื่อมีเป้าหมายในการสร้างชาติ ในยุคที่ประเทศลาวยังเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส  ซึ่งปีเตอร์ โคเรต มองว่า งานวิจารย์ของมหาสิลา กับส.เดชานั้น หาแตกต่างกันไม่ในด้านความเข้าใจประวัติศาสตร์ กับความเป็นมาของเนื้อหา  แต่อยู่ที่เป้าหมายของการวิจารณ์  ซึ่ง ส.เดชานั้นเริ่มงานวิจารณ์ในสมัยสงครามกลางเมือง โดยมีเป้าหมายในการรับใช้นโยบายของกลุ่มลาวรักชาติ กับพรรคคอมมิวนิสต์ (หน้า 184)
          ส่วนในงานของมหาสิลา การต่อสู้ของเจ้าอนุวงศ์ เหมือนการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส (และสยาม)  ซึ่ง ส.เดชา เห็นว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตมีความหมายที่ต่างกัน ก็คือ “ลึบพะสูน”  สื่อให้เห็นถึง ความชอบธรรมของฝ่ายลาวรักชาติเพื่อต่อสู้ในการปลดปล่อยประเทศลาว   โดยเปรียบลาวรักชาติกับเจ้าอนุวงศ์ และเปรียบให้รัฐบาลของอาณาจักรลาว กับคนที่คิดคดหักหลัง  ซึ่งเป็นคนชาติเดียวกันนั้น ซึ่งในทัศนะขอปีเตอร์ โคเรท  การตีความของ ส.เดชา  พบปัญหาใหญ่ประการหนึ่ง นั่นคือ เนื้อหาของเรื่อง “ลึบพะสูน” ไม่ใกล้เคียงสอดคล้องกับอุดมการณ์ที่ผู้วิจารณ์เสนอ ซึ่งผู้เขียน “ลึบพะสูน” ได้ใช้สัญญะเกี่ยวกับกษัตริย์  และเนื้อเรื่องทั้งหมดก็คือการขับเคี่ยวเพื่อทวงบังลังก์คืนจากข้าศึก  ซึ่งอาจสนับสนุนแนวคิดของมหาสิลาที่ว่า “ลึบพะสูน” คือการต่อสู้ของเจ้าอนุวงศ์ แต่ถ้าหากเอ่ยถึงสถาบันกษัตริย์ ก็จะขัดต่อทัศนะของ ส.เดชา เพราะถ้าหาก ส.เดชา เห็นด้วยกับมหาสิลาว่า ผู้เขียนเรื่อง “ลึบพะสูน” (หน้า 184) หมายถึงเจ้าอนุวงศ์ หรือผู้สนับสนุนที่ทำสงครามกับสยาม เพื่อฟื้นอำนาจของราชวงศ์เวียงจันทน์ ปีเตอร์ โคเรตได้สรุปว่า การประเมินค่าเกี่ยวกับ “ลึบพะสูน”  การใช้เหตุผลนั้นเป็นเกณฑ์หลัก  แต่การกำหนดความหมายให้กับเรื่อง “ลึบพะสูน”ในลาวทุกวันนี้  การใช้เหตุผลก็ดูมีความสำคัญน้อยกว่านโยบายของรัฐในการควบคุมข่าวสาร ดังนั้นลึบพะสูนจึงมีความหมายตามความเห็นของทางการลาว ( หน้า 185)

Other Issues

พัฒนาการของมานุษยวิทยาในไทย : บทบาทของสุเทพ สุนทรเภสัช
เรมอนด์ สคูปิน (หน้า 251-270)
          สุเทพ สุนทรเภสัช เกิด เมื่อ พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ที่จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 253) เมื่ออายุ 5 ขวบ   พ.ท. สุวรรณ  สุนทรเภสัช นายแพทย์ทหารบก พ่อของเขา ได้ย้ายไปประจำกรมทหารที่จังหวัดลพบุรี   ดังนั้นสุเทพจึงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่จงหวัดลพบุรี   หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5  ครอบครัวของเขาจึงย้ายเข้ากรุงเทพฯ  เขาเข้าเรียนต่อชั้น ม.6ที่โรงเรียนอำนายศิลป์ พระนคร ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และเรียนจบเมื่อ ค.ศ. 1954 ต่อมาสุเทพได้สอบเข้าเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเรียนในภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต  นอกจากนี้เขายังสอบผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรียนจบทั้งสองมหาวิทยาลัย เมื่อ ค.ศ. 1958 (หน้า 254)
          เมื่อเรียนจบ เขาก็ทำงานเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลาสองปี  ในช่วงนั้นสุเทพได้พบกับพัทยา สายหู  ที่เพิ่งจบปริญญาโทด้านมานุษยาวิทยาสังคม จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด  พัทยาได้เป็นผู้แนะนำให้สุเทพรู้จากมานุษยวิทยาและงานวิจัยชาติพันธุ์วรรณา  (หน้า 254) ต่อมาสุเทพได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ของ School  of Oriental  and  African Studies (สถาบันการศึกษาแห่งบูรพาทิศ และแอฟริกา- SOAS) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน โซแอส โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชียในประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ฟิวเรอร์  ไฮเมนดอร์ฟ  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  แต่เนื่องจากสุเทพไม่มีพื้นฐานทางมานุษยวิทยา ดังนั้นสุเทพจึงไปเรียนวิชามานุษยวิทยาหลักสูตรปริญญาตรีที่ แอล.เอส.ซี. เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เรียนกับนักมานุษยวิทยา อาทิเช่น  เรย์มอนด์  เฟอร์ธ, ลูซีแมร์, ไอแซค ชาเปอรา, โมรีช  ฟรีดแมน และเอ็ดมันด์  ลีช จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  อี.อี. อีแวนส์ – พริทชาร์ด  จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด  และโคลด เลวี่-สโตรสส์ จากมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส  ต่อมาเมื่อได้รับการปูพื้นฐานด้านทฤษฎี เขาก็เลือกศึกษาเรื่องระบบเครือญาติ และครอบครัวของชาวนาในภาคกลางของไทย  เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ ในระดับปริญญาโท(หน้า 254)
          ส่วนโครงการวิจัยที่สุเทพมีส่วนทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ได้แก่ โครงการสำรวจชาวเขา ของมหาวิทยาลัยเบนนิ่งตัน คอร์แนล  ที่นำโดยนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน อันประกอบด้วย  ลอริสตัน  ชาร์ป กับลูเซียน แฮงส์   จึงทำให้สุเทพได้กลับภาคเหนือของไทยอีกวาระหนึ่ง และต่อมาก็ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ม้งและได้เรียนรู้การทำวิจัยในสนาม และในช่วงเวลาเดียวกันที่เขาได้ทำงานให้กับทางการในการดำเนินนโยบาย โดยมีจุดหมายเพื่อส่งเสริมสภาพเศรษฐกิจและสังคมของภาคอีสาน เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ ฉะนั้นกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอให้เขาทำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้นำตามประเพณีวัฒนธรรม ในหมู่บ้าน ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  งานวิจัยที่ทำในเวลานั้นมีสองเรื่องได้แก่ “โครงสร้างสังคมของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “ กับ “ ความเชื่อเรื่องผีปู่ตาในหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อมางานวิจัยทั้งสองได้รวมอยู่ในหนังสือสังคมวิทยาของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เขาเป็นบรรณาธิการ สำนักพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย  ให้การสนับสนุน   (หน้า 258)
          ในภาคอีสาน สุเทพยังทำวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมของหมู่บ้านในเขตอำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนคร ซึ่งโครงการนี้อยู่ภายใต้การอำนายการของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น  ดร.โตชิโอ  ยัตสุชิโร ที่ปรึกษาสภาวิจัยแห่งชาติ กับองค์กรยูซอม (USOM) ในประเทศไทย  ขณะที่เข้าร่วมโครงการวิจัยต่างๆ เขายังได้สอนวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม  ในภาควิชาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  สุเทพลาออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพ.ศ. 2511  (หน้า 260) ออกไปทำงานบริษัทเอกชนระยะหนึ่ง กระทั่ง พ.ศ. 2514สุเทพได้กลับเข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์อาวุโสทางมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทั่ง พ.ศ. 2516สุเทพก็ได้รับทุนฟูลไบรท์ไปเรียนต่อปริญญาเอกทางมานุษยวิทยา ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา  (หน้า 261)
 
ความสัมพันธ์ทางนิเวศน์วิทยาของกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐสวัต  ภาคเหนือ ของปากีสถาน  เฟรดริค  บาร์ธ
          ผู้เขียนได้เล่าถึงความสัมพันธ์ของสามกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในรัฐสวัต ที่อยู่บริเวณมณฑลด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน อันประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์  1)   ปาธานส์ ที่พูดภาษาปาสฮ์โต(ที่อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่าน) ที่ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ทำอาชีพเลี้ยงสัตว์   2) โคฮ์อิสตานีส์  ที่พูดภาษาดาร์ดิค ทำอาชีพเกษตรและเลี้ยงสัตว์  3) กูรจารส์ ที่พูดภาษากูจรี ที่เป็นภาษาหนึ่งของชาวอินเดียนที่อยู่พื้นราบ และมีอาชีพเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน  งานเขียนระบุว่าชาติพันธุ์โคฮ์อิสตานี เป็นชนดั้งเดิมของรัฐสวัต  ต่อมาชาติพันธุ์ปาธานส์ได้เข้ามาแย่งชิงที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในช่วง ค.ศ. 1000-1600 ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์กูรจารส์ เริ่มเข้ามาอยู่บริเวณนี้เมื่อประมาณ 400ปีที่ผ่านมา กลุ่มชาติพันธุ์ปาธานส์ในรัฐสวัตมีจำนวนประชากร 450,000 คน  ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์โคฮ์อิสตานี มีจำนวน 30,000 คน  ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์กูรจารส์ ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด (หน้า 275) งานเขียนเล่าว่า กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ได้ใช้อาณาเขตทางวัฒนธรรม และอาณาเขตทางธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด กลุ่มปาธานส์แม้เป็นผู้รุกรานที่เข้มแข็งก็ไม่อาจฝ่าข้ามพรมแดนทางธรรมชาติไปหากลุ่มโคสฮ์อิสตานี ได้ ขณะที่กลุ่มกูรจารส์นั้นสามารถอยู่ได้ทั้งสองพื้นที่  งานเขียนได้บอกเล่าการต่อสู้ต่อรองทางวัฒนธรรมและสังคม เพื่อความอยู่รอดของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน บางครั้งก็ใช้ความร่วมมือระหว่างกันแล้วแต่สถานณ์ แม้ว่าการรุกรานระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์จะหยุดมานานกว่าแปดชั่วอายุคน   (หน้า 273-288)  

Map/Illustration

ภาพ
          ภาคที่หนึ่ง : มุสลิมที่มัสยิดจักรพงษ์ ในย่านบางลำพู เป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯในอดีตมุสลิมในชุมชนนี้รับราชการในวังหลวงด้วย (หน้า 101)
          ภาคที่สอง :  ยูนนานมุสลิมหรือจีนฮ่อในเมืองเชียงใหม่ ที่มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน ที่มัสยิดในย่านถนนเจริญประเทศ (หน้า 130) คัมภีร์ทางศาสนา ของชาวยูนนานมุสลิม ที่มีทั้งภาษาอาหรับและภาษาจีน (หน้า 131) ลักษณะการแต่งกายของหญิงชายคนเมืองในอดีตที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในภาพผู้ชายสักหมึกดำที่ขา ส่วนผู้หญิงไว้ผมยาว นุ่งซิ่นกรอมเท้า ภาพนี้เขียนในราวสมัยรัชกาลที่ 5(หน้า 190) กระท่อมหลังเล็กๆ ที่เรียงรายอยู่ในสวนยางของโต๊ะครู เป็นที่พักสำหรับผู้มาศึกษาเล่าเรียน (หน้า 220) ลักษณะการเรียนการสอนตามแบบดั้งเดิมในโรงเรียนปอเนาะ ที่โต๊ะครูนั่งบนพื้น และนักเรียนนั่งกางหนังสือเรียนรายล้อมครูอยู่เบื้องหน้า (หน้า 221) เด็กหญิงมุสลิมในภาคใต้ สวมชุดตามประเพณีคือสวมเสื้อแขนยาว กระโปรงยาว และมีผ้าฮิญาบผืนยาวคลุมศีรษะมิดชิด (หน้า 222)
          ภาคผนวกหนึ่ง :  ผู้เขียน(คนที่สองยืนจากขวา) กับคณะวิจัยในการออกภาคสนามที่หมู่บ้านเสือกินวัว จังหวัดมหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2507ร่วมกับ อ.ประหยัด พงษ์ทองคำ(คนที่ห้า ยืนจากซ้าย)และ รศ.ศิริ สมบัติศิริ คนที่หนึ่ง ยืนจากขวา(หน้า 255) ผู้เขียนร่วมในพิธีบายศรีที่ชาวบ้านโคกกลาง อำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนคร จัดให้ภายหลังจากที่ผู้เขียนจบโครงการวิจัยในพื้นที่ เมื่อครั้งที่ทำโครงการวิจัยศึกษาสภาพเศรษฐกิจ และสังคมของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ พ.ศ.2510(หน้า 256) คณะผู้วิจัยในโครงการสำรวจชาวเขา เบนนิงตัน-คอร์แนล ในขณะไปเยี่ยมบ้านชาวเขาที่อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่ (จากซ้ายไปขวา) คือ วิลเลียม  วอลนัส, ลอริสตัน  ชาร์ฟ,   รูธ  ชาร์ฟ, เอชี ชาวเขากลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ, เจน แฮงส์ และ ม.ร.ว.วุฒิเลิศ เทวกุล พ.ศ. 2506 (หน้า 257) คณะผู้วิจัยในโครงการสำรวจชาวเขา เบนนิงตัน- คอร์แนล (พ.ศ. 2506-2507) ประกอบด้วยนักวิชาการ (จากซ้ายไปขวา) คือ เจน แฮงส์, เอดวาร์ด แวนรอย, รูธและลอริสตัน ชาร์ฟ และลูเซีย เอ็ม แฮงส์ (หน้า 259) ผู้เขียนนั่งคนที่สองจากซ้าย กับนักมานุษยวิทยาคนสำคัญของไทยคือ ดร. ม.ร.ว.อคิณ รพีพัฒน์(คนที่สี่จากซ้าย) รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม (คนนั่งที่สองจากขวา) รศ.ปรานี วงษ์เทศ (คนยืนที่หนึ่งจากขวา) ที่หมู่บ้านไทเขิน ตำบลเวียงแหง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2547(หน้า 269)
 
แผนที่        
          ภาคที่สอง : มณฑลมหาราษฎร์ แสดงการแบ่งเขตดินแดนในภาคเหนือก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแบ่งเขตการปกครองเป็นระบบจังหวัด (หน้า 191)
          ภาคผนวกสอง : แผนที่สังเขปของอาณาบริเวณรัฐสวัต (หน้า 274)
          พื้นที่ที่แรเงาคือบริเวณเพาะปลูกของชาวปาธานส์ (หน้า 274)
          เส้น...........เป็นเส้นพรมแดนระหว่างปาธานส์กับโคฮ์อิสตานีย์ (หน้า 274)
          เส้น_._._._ เป็นเส้นแบ่งอาณาบริเวณที่ใช้โดยชาวกูจารส์ (เส้นแบ่งทั้งสองมาบรรจบกันทางด้านตะวันออกเฉียงใต้) (หน้า 274)
          อักษร pเป็นบริเวณที่ตั้งชุมชนชาวปาธานส์อักษร gเป็นที่ตั้งชุมชนชาวกูจารส์ที่เคลื่อนย้ายตามฤดูกาล ชาวกูจารส์ผู้เร่ร่อนจะใช้เวลาในฤดูร้อนบนภูเขาที่อยู่บริเวณตอนกลางและตอนเหนือของแผนที่ และใช้เวลาในฤดูหนาวบริเวณตอนใต้สุดของแผนที่ (หน้า 274) 

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG แนวคิด, คนเมือง, มุสลิมปากีสถาน, ยูนนาน, กลุ่มชาติพันธุ์, เชียงใหม่, ไทย, เพื่อนบ้าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง