สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียดนาม นโยบายปฏิบัติผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ประเทศไทย
Author มานิดา สาชุม
Title นโยบายและการปฏิบัติของรัฐบาลไทยต่อผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2518-2539
Document Type อื่นๆ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 115 Year 2551
Source สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Abstract

 หลังสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้สิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 เวียดนามเหนือได้เข้าครอบครองเวียดนามใต้โดยสมบูรณ์ แล้วทำให้การเปลี่ยนการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และสังคมให้เป็นไปตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันให้ชาวเวียดนามที่ไม่ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องพากันอพยพหนีออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวเวียดนามเชื้อสายจีน เนื่องจากได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่การอพยพออกนอกประเทศในระยะหลังพบว่า เป็นชาวเวียดนามที่ต้องการไปตั้งถิ่นฐานถาวรในประเทศตะวันตกเพราะต้องการที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่า ผู้อพยพเห่านี้จึงไม่ได้เป็นผู้อพยพที่แท้จริงแต่เป็นผู้อพยพทางเศรษฐกิจ และสาเหตุที่ต้องอพยพเดินทางโดยเรือเข้ามาในประเทศไทยนั้นเพราะประเทศไทยไม่มีพรมแดนติดกับประเทศเวียดนามแต่ใช้น่านน้ำเดียวกัน รัฐบาลไทยมีนโยบายต่อผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามที่เดินทางเขามาในประเทศไทย โดยจะให้พักพิงเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร และได้มีมติคณะรัฐมนตรีในวาระต่างๆ เป็นมาตรการที่จะนำมาปฏิบัติกับผู้อพยพตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เมื่อผู้อพยพมีจำนวนมากขึ้นจนประเทศไทยไม่สามารถแบกรับโดยลำพังได้ รัฐบาลไทยจึงได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ และรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะไม่ให้มีการตั้งถิ่นฐานถาวรในประเทศไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติก็ได้ตอบรับข้อเรียกร้องของรัฐบาลไทย โดยประสานงานกับนานาชาติเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการส่งผู้อพยพเหล่านี้ออกจากประเทศไทยสองแนวทางคือ การส่งกลับประเทศเดิมและการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรยังประเทศที่สาม สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ส่งผู้อพยพชาวเวียดนามรุ่นสุดท้ายใน พ.ศ.2539 ถือเป็นการสิ้นสุดปัญหาผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามในประเทศไทย

Focus

          ศึกษาสาเหตุการอพยพชาวเวียดนาม ศึกษานโยบายและการปฏิบัติของรัฐบาลไทยต่อผู้อพยพ และศึกษาการให้ความช่วยเหลือทางเรือชาวเวียดนามในประเทศไทย  

Theoretical Issues

          ผู้ศึกษาใช้วิธีศึกษาจากการค้นคว้าจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับหัวข้อวิจัย แล้วนำมาประมวลและวิเคราะห์ ตามวิธีทางประวัติศาสตร์และเขียนด้วยการพรรณนาเพื่อวเคาะห์ให้เห็นสาเหตุหลักของการอพยพชาวเวียดนาม ตลอดจนทำให้ทราบนโยบายของรัฐไทยในขณะนั้นว่าปฏิบัติต่อผู้อพยพเป็นเช่นไร   

Study Period (Data Collection)

          ผู้ศึกษากำหนดขอบเตงานด้านเอกสารต่างๆ ในช่วง พ.ศ. 2518-2539

History of the Group and Community

          ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองที่ทำให้เกิดความกลัวต่อระบบการปกครองใหม่คือระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากการที่เวียดนามได้ดำเนินตามนบโยบายการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมให้เป็นแบบสังคมนิยมโดยการเกณฑ์ประชาชนเข้าสู่เขตเศรษฐกิจใหม่ที่ตั้งขึ้นในชนบทและบังคับให้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมผู้อพยพชาวเวียดนามได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตั้งแต่ พ.ศ. 2518-2538 ประมาณ 796,310 คน และชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะชาวเวียดนามเชื้อสายจีน ได้อพยพออกนอกประเทศจำนวนมากโดยอาศัยเรือเป็นพาหนะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนาม “Victnamesc Boat People” เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยมากกว่า 100,000 คน ทางราชการไทยได้แบ่งประเภทของผู้อพยพชาวเวียดนามออกเป็นสองประเภทโดยจำแนกตามวิธีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย คือ ผู้อพยพชาวเวียดนามทางบกและผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนาม ผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนถึง 4,000-5,000 คนต่อปี การอพยพออกนอกประเทศโดยทางเรือของชาวเวียดนามแบ่งได้สามช่วงระยะเวลา คือ ระยะก่อนหน้าที่คอมมิวนิสต์จะได้รับชัยชนะในเวียดนามใต้ ระยะที่สองคือหลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ชัยชนะเวียดนามใต้แล้วสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เพื่อนำพาประเทศเข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และระยะที่สามของการอพยพ ผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามไม่ได้อพยพจากประเทศด้วยเพราะเหตุผลทางการเมืองแต่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวทางเศรษฐกิจ คือต้องการที่จะมีชีวิตที่ดีกว่าในประเทศทุนนิยมตะวันตก (หน้า, 109-112) 

Social Organization

          ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองที่ทำให้เกิดความกลัวต่อระบบการปกครองใหม่คือระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากการที่เวียดนามได้ดำเนินตามนบโยบายการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมให้เป็นแบบสังคมนิยมโดยการเกณฑ์ประชาชนเข้าสู่เขตเศรษฐกิจใหม่ที่ตั้งขึ้นในชนบทและบังคับให้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมผู้อพยพชาวเวียดนามได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตั้งแต่ พ.ศ. 2518-2538 (หน้า, 109)

Map/Illustration

ตาราง
ตารางจำนวนผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามที่รับไว้ในค่ายอพยพตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2535 (หน้า, 40)
ตารางจำนวนผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามที่รับไว้ในค่ายผู้อพยพของ UNHCR และเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2535 (หน้า, 102)

ภาพ
ภาพแผนที่แสดงเส้นทางการอพยพออกนอกประเทศของผู้อพยพชาวอินโดจีน พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2535 (หน้า, 34)
ภาพอัตราส่วนของผู้บริโภคอพยพทางเรือ๙วเวียดนามที่ไปถึงประเทศต่างๆ (หน้า, 39)
ภาพการตูนล้อโจรสลัดในอ่าวไทย (หน้า, 43)
ภาพ ที่ตั้ศูนย์อพยพชาวอินโดจีนโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับ UNHCR ตั้งแต๋ทศวรรษที่ 1980-1900 (หน้า, 103) 

Text Analyst เอกรินทร์ พึ่งประชา Date of Report 07 มิ.ย 2562
TAG เวียดนาม, นโยบายปฏิบัติผู้อพยพ, ผู้ลี้ภัย, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง