สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวครั่ง,ความเป็นอยู่,ประเพณี,การปรับตัว,สุพรรณบุรี
Author คนึงนุช มียะบุญ
Title การปรับตัวต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงของลาวครั่งที่บ้านโคก จังหวัดสุพรรณบุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวครั่ง ลาวขี้คั่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 127 Year 2537
Source สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านโคกซึ่งได้รับเอาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชุมชนหลายอย่าง ยังผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม วัฒนธรรมบ้านโคก ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้บางสิ่งได้รับไว้อย่างถาวร บางสิ่งยกเลิกไป การเปลี่ยนแปลงของสังคมบ้านโคกเป็นไปได้ชัดเจนในทางรูปธรรม แต่ทางนามธรรมยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้เพียงแต่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางอย่าง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ทาง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ตามสำนึกในกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนเดียวกัน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของชุมชนมีอิทธิพลต่อการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในชุมชน

Focus

เน้นการแสดงภาพรวมของชุมชนหมู่บ้านของลาวนครั่งที่บ้านโคกและพิจารณาการปรับตัวของลาวครั่งในชุมชนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม (บทคัดย่อ)

Theoretical Issues

ใช้แนวคิดของ พัลคอทท์ ปาร์สันส์ และ อ๊อกเบิร์น ในเรื่องการเคลื่อนไหวดุลยภาพ วัฒนธรรมของลาวครั่งบ้านโคกนี้ มีลักษณะที่อยู่รวมตัวกันเป็นเอกภาพของชุมชนและมีความคงตัวพอประมาณ จะมีการละทิ้งสิ่งเก่า ๆ ไปบ้างแต่ก็มีการรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาหรือมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมสะสม จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีวัฒนธรรมที่สูญเสียไปกับวัฒนธรรมที่ได้มา เช่น ในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ได้แก่ การปลูกบ้านเรือนแบบตึก โดยใช้อิฐ หิน ปูน ทราย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนทรัพยากรป่าไม้ และการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มาจากกรุงเทพฯ แทนของจักสานแบบเดิม วิถีการผลิต เมื่อผลผลิตจากการทำนาให้ปริมาณน้อยลงเนื่องจากพื้นที่จำกัด เพราะการใช้ประโยชน์ด้านอื่นสูงกว่า เช่น สร้างโรงงาน ทาวเฮาส์ ประกอบกับขาดแคลนน้ำ ทำให้คนในชุมชนหันมาสร้างผลผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อชดเชยผลผลิตทางเกษตรกรรมบางส่วนที่สูญเสียไป วิถีแห่งความคิด ความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยมต่าง ๆ ในปัจจุบันความเชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติในเรื่องภูตผีปีศาจเริ่มลดน้อยลง ผู้คนนับถือพุทธศาสนาเข้มข้นกว่า ความเชื่อเรื่องโชคชะตาพึ่งพาธรรมชาติดูจะหายไป มีความกระตือรือร้นแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ ให้กับชีวิตเข้ามาแทนที่คนรุ่นใหม่นิยมออกไปทำงานนอกชุมชน แล้วนำความรู้ความคิดใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตในชุมชนบ้านโคก(น.94-108)

Ethnic Group in the Focus

ลาวครั่ง (น.35-36)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลาวครั่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาไทหรือไต ภาษาพูดของลาวครั่งที่อยู่ในท้องถิ่นนี้พบว่ามีทั้งสำเนียงสุพรรณ ภาษาไทยกลาง สำเนียงนครปฐมผสมกับสำเนียงลาวครั่ง ส่วนภาษาเขียนนั้นมีปรากฏทั้งในหนังสือใบลานและสมุดไทยขาว ซึ่งเรื่องราวที่เขียนไว้มีทั้งที่เกี่ยวกับกับตำนาน คาถา ยันต์ ตำรายา วิธีรักษาโรค การดูฤกษ์ยาม โชคชะตาและนิทานพื้นบ้านเหล่านี้บันทึกด้วยตัวอักษรที่มีตัวไทยน้อยและยังมีตัวธรรมอีสาน บางครั้งบาลีกับอักษรขอมแทรกปนอยู่ด้วย มีลักษณะการเขียนใต้บรรทัด (น.42-43)

Study Period (Data Collection)

พฤศจิกายน พ.ศ.2536 - ธันวาคม พ.ศ.2537 (น.3)

History of the Group and Community

ลาวครั่งเป็นประชากรของประเทศลาว เรียกว่า "ภูคัง" ในสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น ลาวตกเป็นเมืองประเทศราชของสยาม เกิดสงครามระหว่างประเทศหลายครั้งด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2370 สยามปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตรัสสั่งให้ทำลายเวียงจันทน์ เพื่อมิให้ตั้งตัวได้อีกและรวมเข้ากับสยาม ลาวครั่งได้ถูกกวาดต้อนเข้ามายังสยามในครั้งนั้น ในสมัยต่อมาชื่อเพี้ยนเป็น "ลาวขี้ครั่ง" "ลาวครั่ง" "ลาวเต่าเหลือง" "ลาวด่าน" "ลาวโนนปอแดง" "ลาวก๊ะล่ะ" "ลาวล่อก๊อ" (น.35-36)

Settlement Pattern

เนื่องจากลาวครั่งอยู่ในฐานะเชลยศึก เพื่อความปลอดภัยของประเทศจึงมีการอพยพโยกย้ายที่อยู่อาศัยหลายครั้ง ลักษณะการสร้างบ้านเรือนจึงเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ถาวรทำจากไม้ไผ่ แฝก เมื่อเข้ามาจับจองที่ที่บ้านโคก ปลูกสร้างบ้านและยุ้งฉางด้วยไม่เป็นส่วนใหญ่ หลังคาใช้แฝก ต่อมาใช้สังกะสี แต่ตัวบ้านโดยทั่วไปใช้ไม้เป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาง่ายในท้องถิ่นนี้ ในสมัยก่อนนั้นบ้านโคกรายล้อมด้วยป่าไม้ใหญ่ วัสดุที่ใช้ปลูกบ้านหาได้ง่ายจากป่า เมื่อสภาพ่ป่าหมดไปในภายหลังเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าและการให้สัมปทานระเบิดภูเขา ชาวบ้านต้อฝไปซื้อวัสดุก่อสร้างแถวตลาดอู่ทอง พบว่าการใช้ไม้สร้างบ้านจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้อิฐ หิน ปูน ทราย หลายคนจึงเลือกสร้างบ้านตึกที่ทำด้วยคอนกรีต เพราะเห็นว่าค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและแปลกตาดี บัดนี้ชุมชนบ้านโคกจึงมีบ้านตึกหลายหลังมีทั้งที่เป็นบ้านชั้นเดียวและสองชั้น มีหลายหลังที่ไม่ทาสีเหมือนบ้านตึกที่อยู่ในตัวเมือง เนื่องจากเหตุผลที่ว่าสร้างไว้อยู่อาศัยไม่ได้สร้างไว้อวดแสดงความสวยงามให้ผู้อื่นดู (น.33-35, 74)

Demography

บ้านโคกมีประชากรทั้งหมด 2,144 คน 374 ครัวเรือน ชาย 1,057 คน หญิง 1,087 คน (น.27)

Economy

ระบบการผลิต การแลกเปลี่ยนและการบริโภคของชุมชนลาวครั่งที่บ้านโคก ครั้งแรกก่อตั้งชุมชนเป็นการผลิตเพื่อยังชีพ ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เอาผลผลิตที่ได้มาแลกเปลี่ยนกัน (น.63-70) ภายหลังผลิตเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนกันโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง ต่อมาเมื่อทำนาไม่ได้ผลจากที่เคยทำได้ปีละ 2 ครั้งเหลือแค่ครั้งเดียว ทำให้รายได้ขาดหายไป จึงหารายรายได้จากวิธีการอี่นโดยการประกอบอุตสาหกรรมบ้าง รับจ้างบ้าง แต่เหล่านี้ก็เป็นเพียงอาชีพดสริม ยังคงทำนาเป็นอาชีพหลัก สินค้าจากโรงงานจำเป็นต่อการดำรงชีพ พึ่งพาอาหารจากตลาด (น.71-73) การแบ่งแรงงาน แรงงานในชุมชนบ้านโคกส่วนใหญ่ คือ สมาชิกในครอบครัว ทั้ง หญิง ชาย และเด็ก รวมถึงญาติพี่น้องที่อยู่ในระแวกบ้านใกล้เคียงกัน ทุกคนจะช่วยงานในกิจการของครอบครัว งานหนักเป็นหน้าที่ของชาย งานที่เกี่ยวกับดูแลบ้านเรือนและงานเบา ๆ เป็นหน้าที่ของผู้หญิง อย่างไรก็ตาม งานในนา-ไร่ ทั้งหญิง ชาย และเด็กจะช่วยกันทำ เพราะต่างก็เป็นสมาชิก ซึ่งต้องมีส่วนร่วมกันในเชิงเศรษฐกิจครอบครัว (น.43-44)

Social Organization

ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม ตามความสัมพันธ์นั้นครอบครัวคือกลุ่ม ๆ หนึ่งของผู้คนที่มีการรวมกลุ่มทางเพศอย่างมั่นคง มีระบบการเรียกชื่อตามสถานะของสมาชิก สมาชิกมีความสัมพันธ์กันและความเป็นเครือญาตินี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมของคนในชุมชน ความเป็นเครือญาตินี้ สืบเนื่องมาจากการเป็นลูกหลานของบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเดียวกันภายในกลุ่มชาติพันธ์ตั้งแต่เริ่มอพยพเข้ามาจากประเทศลาว ความสัมพันธ์ของระบบเครือญาตินี้เป็นที่มาของแรงงานทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การทำนาและทางด้านประเพณี เช่น งานบวช บรรดาญาติพี่น้องก็จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ (น.40-42) กลุ่มผู้นำและกรรมการหมู่บ้าน ในอดีตลาวครั่งจะเชื่อฟังผู้เฒ่าผู้แก่ที่น่าเคารพในหมู่บ้าน ต่อมารัฐได้จัดรูปแบบการการปกครองท้องถิ่นผู้นำของชุมชนเปลี่ยนเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านช่วยกันปกครองดูแลหมู่บ้านกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน - กลุ่มสินเชื่อเพื่อการกู้เงินแบบเร่งด่วนเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อกู้เงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก เพื่อนำมาลงทุนภายในกลุ่ม เช่น กลุ่มสมาชิกกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) และกลุ่มผู้กู้เงินกับนายทุนภายนอก - กลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงาน มี 2 ประเภท คือ กลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงานในกิจกรรมทางการผลิต เรียกว่า "เอาแรง" เช่น การทำนา และกลุ่มแลกเปลี่ยนแรงงานในกิจกรรมทางประเพณีเพื่อชีวิต เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ หากบ้านใด้ต้องการความช่วยเหลือชาวบ้านก็จะให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มใจจะแลกแเปลี่ยนแรงกันอย่างนี้เรื่อย ๆ - กลุ่มกรรมการวัดเป็นกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับวัด เช่น งานประจำปี งานหารายได้เข้าวัด - กลุ่มความสัมพันธ์เฉพาะอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่ประกอบอาชีพเดียวกัน เป็นการรวมตัวชั่วคราวและไม่เป็นทางการเพื่อปรึกษาในเรื่องเกี่ยวกับอาชีพ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้เลี้ยงวัว กลุ่มผู้ปลูกผัก กลุ่มผู้ตัดอ้อย กลุ่มผู้ตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มผู้จัดสร้างวัสดุก่อสร้าง กลุ่มคนงานไฟแช็ค(น.53-59) - การจัดช่วงชั้นทางสังคม โดยการแบ่งกลุ่มตามวัย ซึ่งแต่ละวัยจะมีกรอบเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติให้เหมาะสม ได้แก่ เด็กน้อย ผู้บ่าว-ผู้สาว ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า (น.59-61) - การจัดชนชั้นทางสังคม ไม่ปรากฏการแบ่งชนชั้นทั้งจากอดีตจนกระทั้งปัจจุบันซึ่งถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงในหลายๆอย่าง ทั้งนี้คงเป็นเพราะความเหนียวแน่นในความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยทางสังคม สำนึกในกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนเดียวกัน (น.61)

Political Organization

บ้านโคกมีกรรมการหมู่บ้านคอยควบคุมดูแล ภายใต้ความเห็นชอบจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน หากชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องใดก็สามารถแจ้งต่อคณะกรรมการหมู่บ้านได้ และคณะกรรมการเหล่านี้ก็จะนำเรื่องไปแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านก็จะปรึกษากันกับผู้ช่วยฯ แล้วนำเรื่องไปแจ้งต่อกำนัน และกำนันก็แจ้งต่อทางการที่อำเภอ ทางการอำเภอก็จะจัดการแก้ปัญหาให้ และถ้าหากทางการมีเรื่องแจ้งให้ชาวบ้านทราบก็จะเรียกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เข้าประชุม แล้วให้นำเรื่องมาแจ้งต่อลงมาตามลำดับ (น.23-24) ในอดีตชาวบ้านจะให้ความเคารพเชื่อฟังผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นที่เคารพรักของคนในหมู่บ้าน ในเวลาต่อมารัฐได้จัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่น ทำให้บ้านโคกต้องยอมรับนโยบายแผนงานต่างๆ ระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมายที่รัฐหยิบยื่นให้โดยผ่านตัวแทนของรัฐ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาสู่ชุมชน ตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ถือเป็นผู้นำที่เป็นทางการ โดยได้รับการเลือกจากผู้คนในหมู่บ้าน เพื่อทำหน้าที่ปกครอง ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย เรียกเก็บภาษีต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินงานตามนโยบายและโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการที่เข้าสู่หมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมด้วย ซึ่ง ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน (น.53-54)

Belief System

ลาวครั่งนับถือพุทธศาสนา ในวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะไปทำบุญตักบาทที่วัด (น.33) มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ นับถือผี ซึ่งผีประจำหมู่บ้านมี่ 2 ฝ่าย คือ ผีฝ่ายเทวดาและผีเจ้านาย (เจ้าขุนมูลนาย หรือ กษัติรย์ที่เคยปกครอง) ศาลของพี่ทั้งสองจะตั้งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ห่างจากตัวบ้านออกไปมีการทำพิธีบูชาผีทั้งสองฝ่ายในเดือน 7 หรือเดือนมิถุนายนของทุกปี จะมีการทำพิธีบูชาและจัดเครื่องเซ่นผีเจ้านายก่อน หลังจากนั้นฝ่ายที่นับถือผีเทวดาจึงจัดงานเลี้ยงของตน เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะนำอาหารมาเลี้ยงกินในหมู่บ้าน ดื่มสุราและร้องรำอย่างสนุกสนาน ถือเป็นโอกาสที่ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีความคิดและเป้าหมายร่วมกัน ความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างพลังอันเหนียวแน่นภายในชุมชนบ้านโคกได้ส่วนหนึ่ง ในพิธีแต่งงานลาวครั่งต้องทำพิธีเลี้ยงผีเทวดา สำหรับชายหญิงที่พากันหนีแล้วกลับมาจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีที่บ้านของฝ่ายหญิง ปัจจุบันความเชื่อเกี่ยวกับผีเทวดาและผีเจ้านายนั้นได้จืดจางลง กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเซ่นไหว้ต่างๆ มีความเคร่งครัดน้อยลง เด็กๆ และคนรุ่นใหม่ไม่มีความเชื่อในเรื่องนี้เลย อย่างไรก็ตาม ประเพณีเซ่นไหว้ผีก็ยังคงกระทำกันเป็นประจำทุกปีตราบเท่าทุกวันนี้ (น.50-51)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูลชัดเจน

Health and Medicine

หลังจากที่มีการดำเนินโครงการสาธารณสุขมูลฐานในปี พ.ศ.2528 บ้านโคกเริ่มซื้อยาจากโรงพยาบาลเพื่อนำมาจำหน่ายในหมู่บ้าน ปัจจุบันได้จัดตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้าน นอกจากมีสาธารณสุขหมู่บ้านแล้วยังมีโรงพยาบาลอู่ทองเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานสาธารณสุขอนามัย ได้จัดตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนและปฏิบัติงานด้านอนามัย โดยได้จัดหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่มาฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดแก่ชาวบ้านโคกปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแก่เด็กนักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาปีละ 12 ครั้งด้วย (น.28-30)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของคนในชุมชนบ้านโคกจะแต่งตามสมัยนิยมหรือตามความพึงพอใจ บางคนนิยมสวมกางเกง บางคนนุ่งผ้าถุงไปเที่ยวตลาด แต่ก็เดินไปด้วยกันได้ไม่มีการต่อว่าหรือนินทากัน (น.75,90)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวบ้านโคกมีความผูกพันกันในระบบเครือญาติ เชื่อฟังกลุ่มเครือญาติ มีจิตสำนึกในความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมและอุดมการณ์ต่าง ๆ ที่สะสมมาเป็นเวลาช้านานตามบรรพบุรุษของตน มีความสัมพันธ์ภายในครัวเรือนในกลุ่มเครือญาติและระหว่างครัวเรือนภายในชุมชนอย่างเหนียวแน่น สมาชิกทุกคนมีความรู้สึกได้รับการดูและเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา ทำให้รู้สึกว่าตนเป็นส่วนที่มีความสำคัญและทำให้เกิดความมั่นใจและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตหรือการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คนในสังคมไม่มีความเป็นปัจเจกชนเหมือนสังคมสมัยใหม่หรือสังคมเมืองทั่วไป จิตสำนึกร่วมในความเป็นกลุ่มชุมชนเดียวกันและเครือญาติอย่างเหนียวแน่นมีผลต่อการยอมรับไม่ยอมรับและการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของกลุ่มมิใช่ปัจเจกชน การยอมรับสิ่งใหม่ ๆ เข้าสู่ชุมชนเกิดจากการยอมรับสิ่งใหม่เข้าสู่ชุมชน เกิดจากการลองรับของชาวบ้านเอง ซึ่งมีหลายอย่างที่ยอมรับปฏิบัติกันมาอย่างถาวรและบางอย่างล้มเลิกไป (น.99-100)

Social Cultural and Identity Change

เมื่อชุมชนบ้านโคกรับเอาสิ่งใหม่ ๆ ที่เชื่อว่าทันสมัย เช่น เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาในชุมชน ทำให้ละเลยในกฎเกณฑ์และความเชื่อประเพณีดั้งเดิม เช่น การนับถือผีไม่เคร่งครัดเหมือนในอดีต คนหนุ่มสาวทำงานไม่มีเวลาเข้าวัด มีเฉพาะรุ่นพ่อแม่เท่านั้นที่ยังไปวัด พบว่าหญิงทำงานเย็บผ้า ชายทำงานในอู่ซ่อมรถ ชีวิตความเป็นอยู่พึ่งพาสิ่งของเครื่องใช้จากโรงงาน เช่น เสื้อผ้าตามสมัยนิยม โทรทัศน์ พัดลม หม้อหุงข้าว สบู่ แป้ง วัสดุในการสร้างบ้าน ซึ่งเงินถือว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างมาก เมื่อพื้นที่ในหมู่บ้านเป็นที่ต้องการของพวกนายทุนเข้ามาซื้อเพื่อทำธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร การมองความแตกต่างในฐานะรวย-จนในชุมชนต่อคนในชุมชนยังไม่ปรากฏชัดเจน ที่พบบ่อยครั้งจะเป็นการมองของคนในชุมชนต่อคนในชุมชนภายนอก เช่น การมองคนที่อาศัยอยู่ในตลาดนั้นเป็นคนรวย เพราะมีกิจกรรมทางการค้าขายหลายอย่างและที่พบเสมอว่า คนบ้านโคกเวลาขัดสนเงินทองในเวลากระทันหันจะไปยืมเงินคนในตลาด (น.90-91)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ฉวี บัวผัน Date of Report 11 เม.ย 2556
TAG ลาวครั่ง, ความเป็นอยู่, ประเพณี, การปรับตัว, สุพรรณบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง