สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียดนามในประเทศไทย, เวียดนามในมิติประวัติศาสตร์, การอพยพ, การเมืองระหว่างประเทศ, สงครามเย็น, สงครามเวียดนาม
Author Poole, Peter A.
Title The Vietnamese in Thailand: A Historical Perspective
Document Type หนังสือ Original Language of Text -
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 180 Year 2513
Source Poole, Peter A. The Vietnamese in Thailand: A Historical Perspective. Ithaca; London: Cornell University Press, 1970.
Abstract

          การศึกษาประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์เพื่อแสดงให้เห็นระลอกของการเคลื่อนย้ายคนเวียดนาม และความเกี่ยวเนื่องระหว่างนโยบายการต่างประเทศ การจัดการกลุ่มผู้ลี้ภัยภายใต้ความกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศในสงครามเย็น

Focus

          พัฒนาการคนเวียดนามในประเทศไทยและการตั้งชุมชน รวมทั้งการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับคนไทย การเมืองระหว่างประเทศในอินโดจีนในระหว่างสงครามเย็นส่งผลกระทบต่อพลเมืองเวียดนาม เกิดการลี้ภัยสงคราม นอกจากนี้ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ ประเทศไทย และประเทศต่างๆ ในอินโดจีนยังกลายเป็นเงื่อนไขในการจัดการกับปัญหาผู้ลี้ภัยด้วยท่าทีของความไม่วางใจระหว่างกัน

Ethnic Group in the Focus

          เวียดนาม

Language and Linguistic Affiliations

          ภาษาเวียดนาม

Study Period (Data Collection)

          “เวียดนามเก่า”, 1945-1957, 1960-1964, 1958-1968 เป็นการจัดแบ่งตานประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยการพิจารณาเชิงนโยบายการต่างประเทศที่ปฏิบัติต่อกลุ่มเวียดนามในแต่ละระลอกของการอพยพและการตอบโต้สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศตามระยะเวลาที่ระบุไว้

History of the Group and Community

          กล่าวถึงประวัติศาสตร์ทางการเมือง เวียดนามถูกปกครองโดยจีนตั้งแต่ 111ก่อนคริสตกาลถึงราว 989รูปแบบการบริหารที่อิงกับระบบของจีนโดย Si Voung รวมถึงการรับอิทธิพลพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอิทธิพลจีนไม่ใช่จากอินเดียอย่างในประเทศไทย และการสืบทอดความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13เวียดนามปกครองตนเอง เพราะผลพวงจากการบุกรุกชาวมองโกลในประเทศจีน และการต่อต้านโดยผู้นำเวียดนาม (p.4-8)
การขยายตัวของประชากรมีมากขึ้นนับจากการปกครองตนเอง แต่ได้รับการรุกรานจากจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ในศตวรรษที่ 15 แต่ด้วยความช่วยเหลือจากราชวงศ์ในลาว อย่างไรก็ตามในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ไม่ปรากฏความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและสยาม ในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดความขัดแย้งในระหว่างราชวงศ์ต่างๆ ในภูมิภาค สำหรับเวียดนาม ประเทศแบ่งเป็นเหนือกับใต้จากการปกครองโดยตระกูล Trinh และ Nguyen ในปลายศตวรรษที่ 17 สยามครองจำปาศักดิ์ และเมืองอื่นๆ เวียงจันทน์และหลวงพระบางในระยะต่อมา ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและเวียดนามปรากฏในศตวรรษที่ 17 จากการที่กษัตริย์ไชยเชษฐา กัมพูชา สมรสกับลูกสาวในตระกูล Nguyen และบุตรชายสืบทอดราชบัลลังก์ ด้วยกองทัพที่ส่งมาจากเวียดนามใต้ ในระหว่างศตวรรษที่ 18 เกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายในของเวียดนาม กระท่ังกลางศตวรรษที่ 18 เมื่อสยามถูกยึดครองโดยพม่า เวียดนามแทนที่ผู้ครองราชบัลลังก์กัมพูชาที่ให้ความสำคัญกับเวียดนาม จนเมื่อพระยาตากสินสามารถรวมสยาม และส่งกำลังเข้าไปในกัมพูชา ค.ศ. 1769 และยังได้รุกเข้าไปยัง Hatien เวียดนามกลายเป็นรัฐในอารักขาของกัมพูชา ค.ศ. 1772 กระทั่งเกิดการจลาจล Tay-son และส่งผลให้เวียดนามไม่สามารถแสดงอิทธิพลเหนือกัมพูชาเป็นการชั่วคราว ในสยามเกิดการเปลี่ยนแปลงพระยาจักรีขึ้นครองราชย์ ค.ศ. 1782 (p.9-14)
          ในสมัยรัชกาลที่ 1 ตระกูล Nguyen มีความสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักสยาม เกิดการอพยพของคนเวียดนามเข้ามายังกรุงเทพ น้องสาวของ Prince Anh เป็นชายาในรัชกาลที่ 1 และมีการแต่งตั้ง Ang Eng ครองบัลลังก์กัมพูชา แผ่อิทธิพลในหลายพื้นที่ของกัมพูชาในฐานะเป็นเมืองบริวารของเวียดนาม ทั้งเสียมราฐ พระตะบอง สีโสภณปฏิมา มงคลบุรี และโคราช สยามเข้าตีกัมพูชาอีกครั้งจากเหตุที่กษัตริย์สวามิภักดิ์ ทั้งราชวงศ์เว้และสยาม เกิดสงครามระหว่างสยาม เวียดนาม และกัมพูชา ตั้งแต่ ค.ศ. 1831-1841 จนเมื่อ ค.ศ. 1845 ทั้งสามเจรจาสงบศึก โดยให้ Ang Duong ครองบัลลังก์กัมพูชา และปล่อยให้ Queen Ang Mei เป็นอิสระ เหตุการณ์ในระยะต่อมาเป็นบทบาทของฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลในอินโดจีน นำมาสู่ข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ค.ศ. 1867 พระตะบอง เสียมราฐ และสีโสภณ กลายเป็นส่วนหนี่งของกัมพูชาซึ่งอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ปลายทศวรรษ 1880 ลาวตกเป็นของฝรั่งเศส และบังคับให้สยามถอนกำลังทหารตามข้อตกลง ค.ศ. 1893 และต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เขตแดนระหว่างสยาม-ลาว และสยาม-กัมพูชาถูกกำหนดจากข้อตกลง ค.ศ. 1907 (p.15-19) กลุ่มชาตินิยมเวียดนามใช้ไทยเป็นสถานที่ในการเคลื่อนไหวเพื่อการต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศส ในช่วงปลายศควรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 การส่งเยาวชนฝึกฝนในประเทศจีนและญี่ปุ่นเพื่อรับการฝึกที่จำเป็นสำหรับการปฏิวัติ เมืองไทยกลายเป็นฐานในการส่งกำลังคนและอาวุธเพื่อสนับสนุนเวียดมินห์ในการเคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศส จนถึง ค.ศ. 1945 โฮจิมินห์ประกาศอิสรภาพ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 รัฐบาลจอมพล ป. ไม่ไว้วางใจทั้งจีนและเวียดนามเนื่องจากความแตกต่างอุดมการณ์ทางการเมืองและการสนับสนุนจากชาติตะวันตกในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้กลุ่มเวียดนามเก่าและกลุ่มลี้ภัยเริ่มไม่ไว้วางใจ (p.29-32)

Settlement Pattern

          เวียดนามเก่าในสยาม เป็นกลุ่มที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่สยามราว 150 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ค.ศ. 1785Prince Nguyen Anh เป็นกลุ่มที่หนีรอดมาจากการลุกฮือของ Tay-son หลังจากที่พระองค์ช่วยสยามรบกับพม่าแล้ว พระองค์กลับไปยังเวียดนามอย่างลับๆ เมื่อ ค.ศ.1787 ทหารจำนวนหนึ่งเลือกตั้งรกรากอยู่กรุงเทพ อีกกลุ่มเป็นทหารที่ภักดีต่อพระองค์นาม Nyugen Huynh Duc สามารถหนีจากการลุกฮือ แต่เมื่อเขามาถึง Prince Nguyen Anh ออกจากพระนคร และการตัดสินใจของนายพล Duc คือการกลับไปยังเวียดนาม โดยราชสำนักสยามแต่งสำเภาเรือในการเดินทาง แต่ขอสัญญาให้เขาอนุญาตให้ทหารที่ต้องการตั้งรกรากอยู่กรุงเทพสามารถช่วยกองทัพสยาม ทั้งนี้เมื่อรวมกับกลุ่มเวียดนามที่เป็นคาทอลิกที่อพยพมาอยู่แขวงสามเสนก่อนหน้านั้น มีคนเวียดนามราว 3,000-4,000 คนที่อยู่ในกรุงเทพ โดยเจ้ากระทรวงกลาโหมมอบให้ Thong Dung Gian และ Ho Duong Dac ดูแลเหล่าทหารเวียดนามที่บางโพ (p.23-25) หลังจากการเคลื่อนไหวต่อต้านตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2และโฮจิมินห์ประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 2กันยายน ค.ศ.1945ทั้งเวียดนามในไทยและในเวียดนามให้การยอบรับสถานภาพผู้นำของโฮจิมินห์ แต่เหตุการณ์ในกัมพูชาที่เกิดความวุ่นวายระหว่างคนกัมพูชาท้องถิ่นและชุมชนเวียดนาม รวมถึงการไม่ยอมรับกับอำนาจของฝรั่งเศสที่จะกลับมาส่งอิทธิพลในพื้นที่ รวมถึงความเคลื่อนไหวในลาวในการต่อต้านอิทธิพลของฝรั่งเศส เหตุการณ์ในช่วงปลายทศวรรษ 1940ส่งผลต่อการลี้ภัยของคนเวียดนามเข้ามายังฝั่งไทย จำนวนที่บันทึกไว้โดยตำรวจประมาณ 46,700คน เป็นกลุ่มเวียดนามเหนือดั้งเดิมที่ลี้ภัยมาจากทั้งลาวและกัมพูชา ความเป็นอยู่ในช่วงแรกอาศัยความช่วยเหลือของกลุ่มเวียดนามเก่าในอีสาน กลุ่มผู้ลี้ภัยเห็นการมาอยู่ในไทยเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว อย่างน้อยในช่วงทศวรรษ 1950ถึงการเกิดสงครามอ่าวตังเกี๋ย (p.36-42)

Demography

          การจัดกลุ่มประชากรไว้ 3 ประเภท หนึ่ง "เวียดนามเก่า" กลายเป็นพลเมืองไทย ในปัจจุบัน (ปีตีพิมพ์หนังสือ : ค.ศ. 1970) เป็นคนรุ่นที่ห้า หก เจ็ด จากการอพยพเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 18 จากสงครามและการต่อต้านคริสต์ศาสตร์นิกายคาทอลิก จำนวนราว 20,000 คน กลุ่มที่สองมีจำนวนประชากรราว 15,000 ถึง 25,000 คน เป็น "ผู้ลี้ภัยรุ่นแรก" ของการศึกษานี้ พวกเขาลี้ภัยจากการต่อสู้ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ในช่วงทศวรรษ 1940 กลุ่มที่สามเป็นลูกหลาน "ผู้ลี้ภัยรุ่นสอง" เกิดในแผ่นดินไทยราว 30,000 คน ซึ่งจะอยู่ในวัยบรรลุนิติภาวะราวทศวรรษ 1960 (p.2) รูปแบบการแต่งงานกับคนนอกกลุ่มคนเชื้อสายเวียดนามไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งในกลุ่มเวียดนามเก่าที่อพยพเข้ามาในไทยตั้งแต่ศตววรษที่ 19 และกลุ่มเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ การควบคุมคนเวียดนามกลุ่มลี้ภัยตั้งแต่ 1940 ยังคงปฏิบัติในฐานะผู้ลี้ภัย โดยต้องอยู่ในความดูแลของข้าราชการท้องถิ่น มีการกำหนดการออกจากพื้นที่ การรายงานตัว การแจ้งและการขออนุญาตในการเปลี่ยนถิ่นฐานจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง แต่มีความพยายามในการขึ้นทะเบียนในฐานะคนต่างด้าว แต่มีจำนวนที่ลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 `(p.89-93)  กลุ่มผู้ลี้ภัยรุ่นแรกไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานกับคนที่ไม่ใช่เชื้อสายเวียดนาม ตรงข้ามกับลูกหลานเวียดนามเก่าที่มองตนเองเป็นไทยและส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษาเวียดนามได้ อย่างไรก็ดี เมื่อสถานการณ์การส่งผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามกลับต้องชะลอเมื่อ ค.ศ. 1964 ทำให้ลูกหลานเริ่มมองหาคู่สมรสที่เป็นคนไทย เจ้าหน้าที่ทางการเวียดนามใต้ในนครพนมระบุการแต่งงานข้ามเชื้อชาติราว 600 คู่ในระหว่าง ค.ศ. 1964-1967 แต่เจ้าหน้าที่ทางการไทยมองเด็กสาวที่มีความสัมพันธ์กับชายไทยเป็นโสเภณีและต้องการสืบความลับ แต่ในหลายกรณี เห็นว่าการแต่งงานกับคนไทยเป็นโอกาสของการลบล้างตราบาปของการเป็นผู้ลี้ภัยหรือถูกส่งกลับไปยังเวียดนามเหนือ  (126-127)

Social Organization

          กลุ่มที่อพยพเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 18 กระจายอยู่ทั่วไปในไทย และแต่งงานกับคนไทยหรือคนจีนและลูกหลานไม่ได้พูดภาษาเวียดนาม ส่วนในศตวรรษที่ 19 ชาวเวียดนามคาทอลิกที่ถูกต่อต้านจากเวียดนามจีน (Vietnamese Madarins) อันสืบเนื่องจากการรุกรานของฝรั่งเศส ลี้ภัยเข้ามาในสยาม  และตั้งรกรากในจันทบุรี นอกจากนี้มีบางส่วนตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม. และส่งผลให้มีการสืบทอดคริสต์ คาทอลิก กลุ่มเวียดนามเก่าได้รับสถานภาพพลเมืองไทย รับราชการ และประสบความสำเร็จในธุรกิจ ตารางการสำรวจประชากรเวียดนาม ค.ศ.1965 แสดงให้เห็นที่ตั้งชุมชนเวียดนามเก่าในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคอีสาน(p.27-29)

Political Organization

          นโยบายด้านการปราบปรามคอมมิวนิสต์ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1940 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. เช่นการจำกัดกิจกรรมของชาวคาทอลิกเชื้อสายเวียดนาม และพิจารณาว่าทั้งจีนโพ้นทะเลในไทยและผู้ลี้ภัยเวียดนามเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ยังผลให้จำกัดการพำนักของผู้ลี้ภัยเวียดนามใน 13 จังหวัด เพื่อยังยั้งการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าสู่ส่วนกลาง ความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลไทยและผู้ลี้ภัยเป็นไปในหลายลักษณะ ตั้งแต่ข่าวการกำหนด ค่ายผู้อพยพแทนที่การตั้งถิ่นฐานตามหมู่บ้าน แต่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ จนถึงค.ศ. 1954 เวียดมินห์มีชัยชนะในอินโดจีน และยังส่งผลต่อการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและเวียดนามใต้ในการส่งกลับผู้ลี้ภัยเวียดนามเจนีวาในปีเดียวกัน และการประชุมร่วมกับเวียดนามเหนือในปีต่อมา ไม่ได้ส่งผลต่อนโยบายใดๆ ที่ชัดเจน การส่งผู้ลี้ภัยเวียดนามกลับไปยังถิ่นฐานเป็นไปตามความสมัครใจ  (p.45-51) การต่อรองระหว่างรัฐบาลไทยกับเวียดนามเหนือในการส่งผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามกลับ เมื่อ ค.ศ. 1959 จะมีชาวเวียดนามส่งกลับทางทะเลจำนวนไม่น้อยหนึ่งพันคนในแต่ละเดือน เป็นเวลา 30 เดือน ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการประท้วงจากเวียดนามใต้ การส่งกลับมีหน่วยกาชาดเวียดนามเหนือทำหน้าที่เป็นตัวกลางและตัวแทนจากรัฐบาลทั้งสองร่วมสังเกตการณ์ เหตุการณ์โจมตีในอ่าวตังเกี๋ย ระหว่างกองทัพสหรัฐฯ กับหน่วยกองทัพเรือของเวียดนามเหนือ มีจำนวน 40,000คนกลับเมื่อถึงระยะเวลานั้น ส่วนคนที่ลงทะเบียนส่งกลับอีกจำนวนหลายหมื่นคน ยังอยู่ในประเทศไทย เมื่อ ค.ศ. 1964 (p.57-66) ข้อปัญหาความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพและรัฐบาลฮานอยชัดเจนยิ่งขึ้น จากการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อรัฐบาลไทยและการสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวในอีสานของไทย(p.71-80)

Belief System

          กล่าวถึงการสร้างวัดพุทธในบางโพ วัดอันนามนิกาย ซึ่งได้รับวิสุงคามสีมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหนังสือกล่าวถึงวัดเวียดนามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศาสนาเพียงสิบแห่ง (ค.ศ.1967) นอกจากในกรุงเทพ ปรากฏเจดีย์พุทธโดยชาวเวียดนามในจันทบุรี สงขลา และกาญจนบุรี เจดีย์ในอุดรธานีเพิ่งสร้างและยังไม่ได้รับวิสุงคามสีมา ในกาญจนบุรี มีสถานที่สำหรับการอบรมพระภิกษุอันนัมนิกาย ราวสิบรูปเมื่อ ค.ศ. 1967 และอีกสิบรูปได้รับการอบรมเพื่อเผยแผ่ศาสนาทางเหนือของไทยให้กับกลุ่มอพยพมาในระยะหลัง (p.25-27)อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มเวียดนามคาทอลิกเป็นกลุ่มใหญ่กว่าเวียดนามพุทธ ในกรุงเทพ กลุ่มผู้นับถือคาทอลิกสามเสนมีความเป็นปึกแผ่นอย่างสูง และยิ่งได้ผูกความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นจากการมีนักบวชชาวเวียดนามทำหน้าที่ในดูแลโบสถ์นักบุญฟรานซิส ซาสิเย กลุ่มผู้หญิงในย่านเวียดนามสามเสนใส่ชุดประจำชาติเวียดนาม (ao dais) ส่วนใหญ่มีสัญชาติไทยหรือลงทะเบียนเป็นบุคคลต่างด้าว เมื่อ ค.ศ. 1967 แสดงสัญลักษณ์ของการไม่ยอมรับกับกลุ่มเวียดนามลี้ภัย (p.115)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 นโยบายการจำกัดการอพยพลี้ภัยของชาวเวียดนามเข้าสู่ประเทศไทย แต่การทำงานติดตามของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างจำกัด นอกจากนี้ แม้จะมีการจำกัดหรือยุบเลิกโรงเรียนของชุมชนเวียดนาม เฉกเช่นที่รัฐบาลไทยดำเนินกับชุมชนจีนโพ้นทะเลในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ขาดบุคลากรในการปฏิบัติการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการกลืนกลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้ลี้ภัยเวียดนามนั้นแตกต่างจาก "เวียดนามเก่า" เพราะกลุ่มเวียดนามเก่ากลายเป็นพลเมืองไทย และในสถาบันทางการศึกษาและศาสนา เช่น โบสถ์คาทอลิกย้ำถึงสำนึกของความเป็นไทย ส่วนกลุ่มผู้ลี้ภัยรุ่นแรก คงเต็มไปด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย เช่น ข้อจำกัดในการออกจากพื้นที่ที่กำหนดให้กับกลุ่มคนอพยพ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเวียดนามที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลเวียดนามเหนือ ส่งผลให้กลุ่มผู้ลี้ภัยดังกล่าวรักษาระยะห่างกับกลุ่มคนไทย ในอีกทางหนึ่ง ลูกหลานของผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มที่ใช้ภาษาไทยได้พอๆ กับภาษาเวียดนาม แม้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง Lao Dong กำหนดห้ามการส่งลูกหลานเวียดนามเข้าโรงเรียนไทยในช่วงทศวรรษ 1950 แต่ในทศวรรษถัดมา เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาและพบปะกับเพื่อนไทยและไทย-ลาว รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาและค่านิยมไทย แต่รัฐบาลคงไม่ไว้วางใจกับกลุ่มเด็กลูกหลานผู้อพยพ มองเด็กๆ ในฐานะสายลับ ส่วนคนเวียดนามเก่ามองกลุ่มเด็กในฐานะหน่วยข้อมูลให้กับกลุ่ม Lao Dong (p.121-125)

Social Cultural and Identity Change

          ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและเวียดนามเหนือ (Democratic Republic of Vietnam - DRV) ในการส่งผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามกลับในช่วงเวลานั้นนับว่าสำคัญอย่างยิ่งในสถานภาพของประเทศภายหลังจากประกาศอิสรภาพ และเป็นการสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลเวียดนามใต้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้น (p.95)เหตุการณ์การลอบโจมตี ฐานทัพอากาศจังหวัดอุดรธานี ค.ศ. 1962 ยิ่งสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐไทยและเวียดนามเหนือมากยิ่งขึ้นหลักฐานจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ฝ่าย DRV ดำเนินการทั้งในลับและในทางแจ้งให้กลุ่มผู้อพยพเวียดนามคงภักดีกับ DRV และจำต้องสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักรบในป่า แม้จะไม่ด้วยความเต็มใจ ทั้งหมดนี้ยิ่งส่งผลให้รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายที่เข้มงวดกับกลุ่มผู้ลี้ภัยเวียดนามมากยิ่งขึ้น (p.99-103) การเคลื่อนไหวกลุ่มคอมฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ในอีสานยังเชื่อมโยงกับพรรค Lao Dong และการรวมเวียดมินห์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 1952 กลุ่มดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับชุมชนผู้ลี้ภัย และใช้สถานทูตในเวียงจันทน์ ประเทศลาว เป็นฐานในการดูแลการส่งกลับผู้ลี้ภัยไปยังเวียดนามเหนือ ทั้งในนี้ในระดับอำเภอ มีคณะกรรมการระดับจังหวัด กรรมการหนึ่งคนดูแลการส่งกลับผู้ลี้ภัยเวียดนาม 500 คน ตารางสถานที่พำนักของผู้ลี้ภัยในหน้า 88 (p.97-98)รัฐบาลเวียดนามใต้เน้นการขัดขวางบรรลุข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับเวียดนามเหนือ ในระหว่างทศวรรษ 1950-ต้นทศวรรษ 1960การลงนามข้อตกลงกับเวียดนามเหนือในการส่งกลับผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1959กลายเป็นแรงตึงระหว่างรัฐบาลไทยกับเวียดนามใต้ แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเกิดสงครามเวียดนาม รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนกองทัพสหรัฐฯ และการส่งกองกำลังเข้าทำสงครามร่วมกับเวียดนามใต้ (p.110-111) นอกจากนี้ยังมีการจ้างคนเวียดนามหรือลูกหลานเวียดนามที่ได้รับสัญชาติไทย เป็นเจ้าหน้าที่ข้อมูลในพื้นที่ ในช่วงเวลาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1960ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและเวียดนามใต้กระชับมากขึ้นตามลำดับ หน่วยข่าวสารดังกล่าวทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์บทบาทของฝ่ายทางการเวียดนามใต้ที่ให้ความใส่ใจกับกลุ่มผู้ลี้ภัย เช่น ในอุดรธานี ประชากรราวสามหมื่นคน มีประชากรเวียดนามราวหนึ่งในสิบ ศูนย์ข้อมูลจัดการพบปะรายสัปดาห์ โดยอาศัยการประกอบกิจกรรมหลังพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ (p.112-114) ตั้งแต่ ค.ศ. 1967รัฐบาลเวียดนามใต้เสนอข้อตกลงสามประการ หนึ่ง การส่งผู้ลี้ภัยเวียดนามที่ยินดีเดินทางไปเวียดนามใต้ สอง ขอให้รัฐบาลไทยออกมาตราการอนุญาตให้คงพำนักในไทยหากไม่ประสงค์กลับไปยังเวียดนามใต้ สาม ให้ข้อมูลผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามที่ฝ่าฝืนกฎหมายไทย ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการดำเนินการจริงเมื่อ ค.ศ. 1969  (p.116-117)

Map/Illustration

ตาราง

  • สถานที่ตั้งวัดชุมชนเวียดนามในไทย (ค.ศ. 1965) (p.27)
  • ชุมชน "เวียดนามเก่า" ในประเทศไทย สำรวจ ค.ศ. 1960, 1965 (p.30)
  • ความเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1964 (p.65)
  • บริเวณต่างๆ ในไทยที่มีกลุ่มผู้ลี้ภัยเวียดนาม สำรวจ ค.ศ. 1965 (p.88)
  • ผู้ลี้ภัยลงทะเบียนเป็นคนต่างด้าว ค.ศ. 1950-1964 (p.92)
  • ลูกหลานเวียดนามในประเทศไทย ค.ศ. 1967 (p.93)
  • ร้านค้าปลีกในนครพนมจำแนกต่างปีและสัญชาติของเจ้าของกิจการ (p.100)
  • คนเวียดนามในกัมพูชาในแต่ละจังหวัด ค.ศ. 1950 (p.131)
  • ชีวประวัติคนเวียดนามเก่าที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจำนวน 19 ราย (p.159)
  • ชีวประวัติผู้ลี้ภัยเวียดนามจำนวน 34 คน (p.162)

แผนที่
  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคพื้นทวีป สมัยราชวงศ์ถังและหยวน (p.6)
  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคพื้นทวีป สมัยราชวงศ์หมิงและฉิง (p.7)
  • การขยายอิทธิพลของไทยและเวียดนาม (p.18)
  • สถานที่ตั้งวัดพุทธของชุมชนเวียดนามในกรุงเทพ (p.26)
  • บริเวณที่ตั้งชุมชน "เวียดนามเก่า" ในประเทศไทย (p.31)
  • บริเวณที่พำนักผู้ลี้ภัยเวียดนาม ค.ศ. 1949, 1950 (p.46)
  • บริเวณที่ตั้งชุมชนเวียดนามในจังหวัดต่างๆ (p.89)

Text Analyst ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ Date of Report 14 พ.ย. 2561
TAG เวียดนามในประเทศไทย, เวียดนามในมิติประวัติศาสตร์, การอพยพ, การเมืองระหว่างประเทศ, สงครามเย็น, สงครามเวียดนาม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง