สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),บ้าน,การเล่นของเด็ก,แม่ฮ่องสอน
Author กวิน ว่องวิกย์การ
Title มิติที่ซ่อนอยู่สำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้าน
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 75 Year 2545
Source สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

การศึกษามิติที่ซ่อนอยู่สำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านของงานวิจัยเล่มนี้ เป็นทฤษฎีที่ใช้เป็นแนวทางออกแบบบ้านของตัวเอง บ้านไม่จำเป็นต้องใหญ่โตหรูหรา เพราะนอกจากเป็นที่อยู่อาศัยแล้วยังเป็นมิติที่เอื้อต่อธรรมชาติของเด็ก และบ้านยังมีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจสติปัญญาของเด็ก ให้เจริญเติบโตอย่างงดงาม และเรียกได้ว่า เป็นบ้านแห่งชีวิตสำหรับวัยที่เป็นก้าวแรกที่จะเติบโตเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจต่อไป

Focus

ศึกษาว่าในบ้านของกะเหรี่ยงมีมิติที่ซ่อนอยู่ สำหรับเด็กที่จะมีจินตนาการและการเรียนรู้ในการปรับตัวทางสังคมอย่างไรบ้าง

Theoretical Issues

ผู้เขียนเสนอว่า "ใต้ถุนหลองข้าว" และ "เล้าหมู" ของบ้านกะเหรี่ยงเป็นที่ที่เด็กกะเหรี่ยงชอบเข้าซ่อน เพราะมีบรรยากาศกระชับ และอบอุ่น ทำให้เด็กมีความฝันและจินตนาการตามทฤษฎีของ G. Bacheland

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง (กลุ่มปกาเกอะญอ)

Language and Linguistic Affiliations

ในการศึกษาระบุแต่เพียงว่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาพูดเป็นของตนเอง มีบางคนเท่านั้นที่พอจะพูดภาษาได้บ้าง

Study Period (Data Collection)

ในการศึกษางานวิจัยผู้วิจัยระบุแต่เพียงว่าผู้วิจัยได้เข้าไปเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนกันยายน พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม เท่านั้นข้อมูลในการเรียบเรียงไม่ได้ระบุใว้ในงานวิจัย

History of the Group and Community

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กะเหรี่ยงเป็นชุมชนที่รักความสงบรักธรรมชาติอาศัยอยู่รวมกันอย่างสงบสุข กะเหรี่ยงวส่วนใหญ่จะเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสไม่ทำร้ายพวกเดียวกันและปกครองกันอย่างเป็นธรรม ที่สำคัญกะเหรี่ยงจะรักและหวงแหนธรรมชาติกะเหรี่ยงจะถือว่า ธรรมชาติมีความสำคัญกับตนเองมากที่สุด กะเหรี่ยงในประเทศไทย ปัจจุบันมีอยู่เพียงสองกลุ่มใหญ่ คือ กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งเรียกตัวเองว่าปกาเกอะญอและกะเหรี่ยงโปว์ หรือโพล่ง หรือเยอโพล่ง คำว่าปกาเกอะญอ และเยอโพล่งมีความหมายแปลว่าคน หรือฉันคือคน ซึ่งเป็นคนรักสงบใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติที่สมบูรณ์

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณท่ามกลางหุบเขาและลำน้ำแม่สุรินมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวนทำนาเลี้ยงสัตว์ ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะอาศัยกันอยู่แบบชุมชนเล็กๆไม่ใหญ่จนเกินไปการสร้างบ้านเรือนจะสร้างกันแบบยกพื้นสูงใช้ไม้ไผ่มาทำฝาบ้านใต้ถุนบ้าน จะมีครกกระเดื่องไว้ตำข้าว และไว้ทำประโยชน์อีกหลายอย่าง (หน้า 41) (รายละเอียดลักษณะบ้านดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

มีประชากรจำนวน 49 คน ชาย 25 คน หญิง 24 คนมีจำนวน 7 ครอบครัว 11 หลังคาเรือน บ้านที่มีเด็กอาศัยอยู่ในช่วง 2 สัปดาห์ - 12 ปี มีจำนวนทั้งหมด 12 คน เป็นชาย 6 คน และหญิง 6 คน

Economy

สังคมของกะเหรี่ยงเป็นสังคมที่อาศัยอยู่กับธรรมชาติ มีการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ วิถีชีวิตของปกาเกอะญอปลูกข้าวเพื่อใช้รับประทาน ไม่ได้ปลูกไว้เพื่อทำการค้า แต่ละครอบครัวจะมีไร่นาเป็นของตนเองครอบครัวละหลายแห่ง และจะทำไร่ทำนาสลับหมุนเวียนกันไปประมาณ 5-6 ปีก็จะกลับมาทำที่เดิมเพื่อให้ผืนดินได้พักตัวและฟื้นฟูสภาพความอุดมสมบูรณ์ไปตามวิถีทางแห่งธรรมชาติของผืนดิน แต่ละครอบครัวก็จะมีเมล็ดข้าวใส่กระสอบเก็บไว้รับประทานต่อไป (หน้า 48)

Social Organization

ในงานการศึกษาไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน กล่าวแต่เพียงว่าสังคมของกะเหรี่ยงเป็นสังคมที่รักสงบ รักธรรมชาติ มีการรวมกลุ่มการอยู่รวมกันภายใต้กฎระเบียบแบบแผนอันเดียวกันไม่ปะปนกับชนชาติอื่น ทุกคนในสังคมเคารพและเชื่อฟังผู้อาวุโสและผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน และในการอยู่รวมกันภายในหมู่บ้านก็จะไม่มีการลักขโมยหรือการประทุษร้ายระหว่างพวกเดียวกันเองก็ไม่เคยมีให้เห็น เขาปกครองกันด้วยความเป็นธรรม ดังนั้น จึงกลายเป็นความจำเป็นที่บังคับให้ทุกคนประพฤติตนเป็นคนดีรักตนเองและรักธรรมชาติไม่ย่ำยีซึ่งกันและกัน (หน้า 40, 42)

Political Organization

กะเหรี่ยงมีการจัดระเบียบภายในโดยเคารพผู้อาวุโสและหัวหน้าหมู่บ้านเขาปกครองกันด้วยความเป็นธรรมมีจิตสำนึกที่สร้างความสามัคคีในหมู่บ้านมากมีศีลธรรมที่บังคับให้ทุกคนเป็นคนดี (หน้า 40)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนกล่าวแต่เพียงว่าเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผลเขาก็จะใช้สมุนไพรจากธรรมชาติในการรักษาแผล เช่นหญ้าสาบเสือใช้รักษาแผลสดเท่านั้น (หน้า42)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในด้านการศึกษาผู้วิจัยได้กล่าวไว้ช่วงหนึ่งว่า รูปกายของธรรมชาติเป็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ดังเช่นในเรื่องนี้ กะเหรี่ยงจะสร้างหลองข้าวและเล้าหมูไว้ภายในบริเวณบ้านเพื่อเป็นที่ใช้ประโยชน์ในการเก็บเมล็ดข้าวและเมล็ดพืช และไว้เป็นสถานที่สำหรับไว้เลี้ยงหมูแต่พวกเด็กก็ได้ดัดแปลงเป็นมุมเล่นอันแสนวิเศษสำหรับพวกเขาทั่วทุกมุมของหลองข้าว และเล้าหมูจะถูกดัดแปลงเป็นสถานที่เล่นที่พวกเขาสามารถนำมาเล่นตามความอิสระของจินตนาการบางครั้งก็นำมาประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ที่ตอบสนองความฝันของพวกเขาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อย่างคานที่ยื่นเกินออกมาเป็นหลองข้าวเด็ก ก็จะดัดแปลงคานนั้นเป็นที่เกาะเกี่ยวไว้ห้อยโหนเล่นอย่างสนุกสนาน เพราะส่วนใหญ่กะเหรี่ยงจะนิยมสร้างบ้านแบบยกพื้นสูง ใต้ถุนบ้านจะโปร่งและโล่ง ไว้เป็นที่สำหรับเก็บครกกระเดื่องตำข้าวและเป็นที่วางของไว้เก็บอุปกรณ์ทางการเกษตร ส่วนฝาบ้านกะเหรี่ยงจะเป็นฝาฟาก พื้นบ้านจะเป็นพื้นฟากเหมือนกันกับฝาบ้าน หลังคามุงด้วยใบตองตึง วัสดุที่ใช้สร้างบ้านของกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นไม้ ไม้ไผ่ และสาเหตุที่กะเหรี่ยงนิยมสร้างบ้านแบบยกพื้นสูงก็เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากใต้ถุนบ้านนั่นเอง (หน้า 30-39 ,44-57, 61-66 ) ในด้านหัตถกรรมกะเหรี่ยงก็ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเครื่องจักสานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างเช่นนำไม้ไผ่มาคลี่ออกเป็นแผ่นเพื่อใช้ทำเป็นพื้นหรือที่เขาเรียกว่าพื้นฟาก นอกจากนี้ ก็ยังมีการทอผ้าแต่ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ส่วนศิลปะการแต่งกายไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน (หน้า 41 )

Folklore

ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่กล่าวไว้ส่วนหนึ่งว่าการฟังนิทานหรือเรื่องเล่าก่อนนอนเป็นจุดเริ่มต้นของการจิตนาการของเด็ก ๆ ทุกคน เมื่อได้ฟังนิทานที่พ่อแม่เล่าให้ฟังก่อนนอนนั้น เด็กจะรู้สึกถึงจุดเริ่มต้นแห่งจินตนาการของเขาและนิทานก็เป็นบันไดสำคัญที่จะนำเด็กน้อยไปสู่จุดเริ่มต้นของการอ่าน (หน้า 20 ,44) ในจินตนาการการเล่นของเด็กกะเหรี่ยงทั่วทุกมุมของสิ่งแวดล้อมในบ้านและธรรมชาติล้วนถูกจัดเป็นสถาปัตยกรรมการเล่นของพวกเด็ก ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใต้ถุนบ้านก็จะถูกดัดแปลงไว้เป็นที่ปีนป่าย ห้อยโหน ตามคานที่ยื่นออกมาจากใต้ถุนบ้าน ส่วนต้นไม้ก็ถูกดัดแปลงเป็นสถานที่ซุกซ่อน วิ่ง กระโดดถีบ เตะ ต่อย กิ่งก้านก็จะเป็นเสมือนที่หลบซ่อนจากสายตาของผู้ใหญ่ พวกเด็ก ๆ จะเข้าไปต่อเติมเสริมสร้างให้บนต้นไม้นั้นเป็นเสมือนรังส่วนตัวของตัวเอง ส่วนความลาดเทของบริเวณบ้านก็จะถูกดัดแปลงเป็นที่เตะลูกบอลและวิ่งเล่นไปตามความลาดเอียงของพื้นดินส่วนมุมต่าง ๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นใต้ถุนบ้าน หลองข้าว เล้าหมู บันไดบ้าน ล้วนถูกดัดแปลงให้เป็นสถาปัตยกรรมการเล่นชั้นเยี่ยมของพวกเด็ก ๆ กะเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี (หน้า 40-75)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในการศึกษากล่าวแต่เพียงว่ากะเหรี่ยงในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ก็คือ กะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งเรียกตัวเองว่าปกาเกอะญอ และกลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ หรือโพล่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า เยอโพล่ง ทั้งปกาเกอะญอและเยอโพล่งล้วนมีความหมายว่า ฉันคือคนที่รักความสงบใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติอันสมบูรณ์ (หน้า 1)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ตั้งของบ้านแม่สุริน ( หน้า 40 )

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 10 เม.ย 2556
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), บ้าน, การเล่นของเด็ก, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง