สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,พัฒนาการทางภาษาพูด,เด็ก,ภาษาไทยมาตรฐาน,ภาษาถิ่น,ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา,ภาคเหนือ
Author ชนันพร โอภาสพันธ์
Title การศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดของเด็กไทยกลาง เด็กไทยเหนือ และเด็กไทยม้งที่มีอายุในช่วง 7-9 ปี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 112 Year 2536
Source หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
Abstract

การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาของคนไทยถิ่น เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยมาตรฐาน โดยมีการเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และชนิดของประโยคของภาษาไทยถิ่นและภาษาไทยกลางระหว่างเด็กไทยเหนือ เด็กไทยม้งและเด็กไทยกลาง

Focus

พัฒนาการทางภาษาพูดในภาษาถิ่นและภาษาไทยกลางด้านคำศัพท์ การใช้ชนิดของคำและการใช้ประโยคของเด็กไทยกลาง เด็กไทยเหนือ เด็กไทยม้งและศึกษาเปรียบเทียบภาษาพูดในภาษาไทยกลางด้านคำศัพท์ การใช้ชนิดของคำและการใช้ประโยคของเด็กไทยกลาง เด็กไทยเหนือและเด็กไทยม้ง ที่มีอายุระหว่าง 7-9 ปี ศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูด ด้านคำศัพท์และด้านการใช้ชนิดของประโยคระหว่างเพศชายกับเพศหญิงของกลุ่มเด็กไทยกลาง เด็กไทยเหนือ และเด็กไทยม้งในแต่ละกลุ่มอายุ (หน้า 9, 99)

Theoretical Issues

ใช้ทฤษฎีการพัฒนาทางภาษา คือ 1.ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Autistic Theory) 2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) 3. ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory) 4. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) 5. ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Luck) (หน้า 21-22) โดยใช้เทคนิควิจัย เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างและใช้แบบทดสอบวัดพัฒนาการทางภาษาพูดคำศัพท์ ชนิดของประโยคเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจนับคะแนน หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนน โดยใช้ One - Way Analysis of Variance การทดสอบเป็นรายคู่ โดยใช้ Studentized Q - Statistic แบบ Newman - Kuls Method การทดสอบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์ และด้านการใช้ชนิดของประโยค โดยใช้ t - test (หน้า 99-102) สมมติฐานของการศึกษาคือปัญหาการใช้ภาษาไทยของคนไทยถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างทั้งระบบเสียงและคำ จึงเกิดปัญหาเมื่อจำเป็นต้องใช้ภาษาไทยมาตรฐานเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาของคนไทยถิ่น เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (หน้า 43) ซึ่งผลการวิจัยที่ได้มีดังนี้ 1. พัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาถิ่นกับระดับอายุ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กนักเรียนชั้นประถมที่มีอายุมากกว่า มีพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาถิ่นสูงกว่าเด็กประถมที่มีอายุน้อยกว่าในแต่ละภาษาถิ่น มีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 1 ยกเว้นพัฒนาการทางภาษาพูดชนิดของประโยคของเด็กไทยกลางและเด็กไทยม้งที่มีอายุ 7 ปีและ 8 ปีที่ไม่พบความแตกต่าง 2.พัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของเด็กไทยกลางเด็กไทยเหนือและเด็กไทยม้งจำแนกตามอายุ ผลการวิจัยปรากฏว่า เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาทุกกลุ่มที่พูดภาษาไทยกลางที่มีอายุมากกว่า มีพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคสูงกว่าเด็กนักเรียนมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 2 ยกเว้นพัฒนาการทางภาษาพูดด้านชนิดของประโยคของเด็กนักเรียนไทยกลางอายุ 7 ปีและ 8 ปีที่ไม่พบความแตกต่าง 3.เปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดกับคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางเด็กไทยเหนือและเด็กไทยม้ง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนไทยเหนือ มีพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์ในภาษาไทยกลางสูงกว่าเด็กนักเรียนไทยกลางและเด็กนักเรียนไทยม้ง และเด็กนักเรียนไทยกลางมีพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์สูงกว่าเด็กนักเรียนไทยม้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 3 4.พัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางจำแนกตามเพศ ผลวิจัยปรากฏว่า เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาหญิงมีพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคไม่แตกต่างจากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาชาย ทั้งในเด็กนักเรียนไทยกลาง เด็กนักเรียนไทยเหนือและเด็กนักเรียนไทยม้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 4 (หน้า 105 - 109)

Ethnic Group in the Focus

ไทยภาคกลาง ไทยภาคเหนือ และ ม้ง

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทยสยาม (Siamese) หรือภาษาไทยกลาง (Central Thai) เป็นภาษาไทยมาตราฐาน (standard Thai) ถือเป็นภาษากลางและภาษาราชการของไทย มีอักษรใช้มีเสียงพยัญชนะ 20 - 21 หน่วย เสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วย พยัญชนะที่สามารถควบกล้ำกับพยัญชนะอื่น 3 เสียงและมีผู้พูดไม่ต่ำกว่า 17.30 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือ (Northern Thai) ได้แก่ภาษาล้านนา (Lanna) หรือภาษา ไตยวน (Tai yuan) ที่พูดโดยคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือของไทย เจ้าของภาษานิยมเรียกว่า "คำเมือง" มีหน่วยเสียง 20 หน่วยเสียง เสียงสระเดี่ยว 18 เสียง เสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วย เสียงควบกล้ำ 10 เสียงและมีผู้พูดไม่ต่ำกว่า 10.4 ล้านคน ภาษาแม้ว - เย้า (Mao- Yao) เดิมเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของตระกูลทิเบต - พม่า (Tibeto - Burman) นิยมเรียกตนเองว่า "ม้ง" ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยจัดออกเป็น 3 ภาษาไทยคือ 1.ภาษาม้งดำหรือแม้วดำ บางแห่งเรียก ม้งน้ำเงิน (Hmong Niva) ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดแพร่ น่าน ตาก เชียงรายและมีประปรายในจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ 2.ภาษาม้งขาว (Hmong - Daw Klaw) ภาษาม้งขาวแตกต่างจากม้งดำในระดับเสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะบางเสียงและสระบางตัว ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ น่าน 3.ภาษาม้งชะบา ส่วนใหญ่อพยพมาจากลาวมาตั้งบ้านเรือนในจังหวัดน่าน ลักษณะของภาษาม้งมีเสียงพยัญชนะ 51 หน่วยเสียง เสียงควบกล้ำเสียง ล 60 หน่วยเสียง วรรณยุกต์ 7 - 9 ระดับเสียง ไม่มีพยัญชนะตัวสะกด ภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือ มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เสียงวรรณยุกต์เอก เสียงวรรณยุกต์จัตวา และเสียงวรรณยุกต์โทใกล้เคียงกันมากที่สุด ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาแม้ว - เย้า ยังไม่มีผู้ศึกษาไว้ (หน้า 6 - 8, 13, 40 - 42)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ภาษาถิ่นเหนือ หรือภาษาล้านนามีผู้พูดส่วนใหญ่ในจังหวัดภาคเหนือของไทยไม่ต่ำกว่า 10.4 ล้านคน ภาษาม้ง ที่พูดโดยชาวเขาเผ่าม้งอยู่ทางเหนือของประเทศมีผู้พูดประมาณ 80,082 คน ภาษาไทยกลาง ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางของประเทศ มีประมาณไม่ต่ำกว่า 17.3 ล้านคน (พ.ศ. 2531) (หน้า 6-7, 13)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คนไทยม้งมีภาษาพูดและภาษาเขียน พยัญชนะ เสียงควบกล้ำเสียง วรรณยุกต์ และมีลักษณะเฉพาะทางภาษาของกลุ่มตนเอง (หน้า 6 - 8,13) (หน้า 40 - 42) ในด้านความสัมพันธ์ของคนไทยม้งกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือตั้งเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่ระบุไว้ในการกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าจากประชากรเด็กในโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่ โดยเด็กไทยม้ง เด็กไทยเหนือมีการใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง และภาษาไทยมาตรฐาน (standard Thai) ถือเป็นภาษากลางในการศึกษาของไทย (หน้า 10,42)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางประกอบ 1.แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างของเด็กนักเรียน ชั้นประถมแยกตามอายุ เพศและภาษาถิ่น (หน้า 59) 2.แสดงค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์ และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลาง ภาษาไทยเหนือและภาษาไทยม้ง ของเด็กไทยกลาง เด็กไทยเหนือและเด็กไทยม้ง (หน้า 73) 3.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคของเด็กนักเรียนไทยกลางที่มีระดับอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 76) 4.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์ของเด็กไทยกลางที่พูดภาษาไทยถิ่นกลาง ที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 77) 5.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยเหนือของเด็กนักเรียนไทยเหนือที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า78) 6.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาด้านพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยเหนือของเด็กนักเรียนไทยเหนือที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 80) 7.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาม้งของเด็กนักเรียนไทยม้งที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 81) 8.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านชนิดของประโยคในภาษาม้งของเด็กนักเรียนไทยม้งที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 82) 9.แสดงค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละภาษาถิ่น (หน้า 83) 10.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของเด็กนักเรียนไทยกลางที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 86) 11.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์ในภาษาไทยกลางของเด็กนักเรียนไทยกลางที่มีอายุต่างกัน (หน้า 87) 12.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของเด็กนักเรียนไทยเหนือที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 88) 13.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคของเด็กนักเรียนไทยเหนือที่พูดภาษาไทยกลางที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 89) 14.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของเด็กนักเรียนไทยม้งที่มีอายุต่าง 3 ระดับ (หน้า 90) 15.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของเด็กนักเรียนไทยม้งที่มีอายุต่างกัน 3 ระดับ (หน้า 91) 16.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางของเด็กนักเรียนไทยกลาง เด็กนักเรียนไทยเหนือและเด็กนักนักเรียนไทยม้ง (หน้า93) 17.ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนอดของประโยคของเด็กนักเรียนไทยกลาง เด็กนักเรียนไทยเหนือและเด็กนักเรียนไทยม้งที่พูดภาษาไทยกลางเป็นรายคู่ (หน้า 94) 18.การเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคในภาษาไทยกลางระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงของเด็กนักเรียนไทยกลาง เด็กนักเรียนไทยเหนือและเด็กนักเรียนไทยม้ง (หน้า95) 19.การเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดประโยคระหว่างเด็กชายกับเด็กหญิงในระดับอายุเดียวกัน ในกลุ่มเด็กนักเรียนไทยกลาง (หน้า 96) 20.การเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคระหว่างเด็กชายกับเด็กหญิงในระดับอายุเดียวกันในกลุ่มเด็กไทยเหนือ (หน้า 97) 21.การเปรียบเทียบพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์และด้านชนิดของประโยคระหว่างเด็กชายกับเด็กหญิงในระดับอายุเดียวกันในกลุ่มเด็กนักเรียนไทยม้ง (หน้า98) 22.แสดงค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดพัฒนาการทางภาษาพูดด้านคำศัพท์ (หน้า 145) 23.แสดงค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดพัฒนาการทางภาษาพูดด้านประโยค (หน้า 158)

Text Analyst ทรงศักดิ์ ปัญญา Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ม้ง, พัฒนาการทางภาษาพูด, เด็ก, ภาษาไทยมาตรฐาน, ภาษาถิ่น, ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง