สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยใหญ่,การสื่อสาร,ภาษา,แม่ฮ่องสอน
Author ศุภลักษณ์ วิริยะสุมน
Title การศึกษาแบบแผนในการสื่อสารของชาวไทยใหญ่ในหมู่บ้านแม่ลาน้อย ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 100 Year 2528
Source หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
Abstract

งานชิ้นนี้มีสาระสำคัญ คือ การศึกษาแบบแผนในการสื่อสาร (patterns of Communication) และองค์ประกอบในการสื่อสารของไทยใหญ่ ทำให้เห็นแบบแผนในการสื่อสารในสถานการณ์แต่ละประเภทแตกต่างกันทั้งกฎเกณฑ์และรูปแบบ รวมทั้งลักษณะองค์ประกอบในการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนภาษา (Speech Community) และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross - cultural Communication) ของไทยใหญ่

Focus

แบบแผนในการสื่อสาร (patterns of Communication) และวิเคราะห์ลักษณะองค์ประกอบในการสื่อสารภาษาไทยใหญ่ของไทยใหญ่ (หน้า 10)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยใหญ่ เป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง ปัจจุบันอาศัยอยู่ในรัฐฉาน มีเชียงตุงเป็นเมืองหลวง ประเทศพม่า นิยมเรียกตนเองว่า "ไต" (Tai) ส่วนคำว่า "ชาน "หรือ "ฉาน" เป็นภาษาพม่า หมายถึง "ไทย" ใช้เรียกคนไต (ไทย) ที่อยู่ในพม่า ภายหลังฝรั่งเรียกตามเป็น "shan" แต่หมายรวมถึงคนไตในมณฑลอัสสัม ประเทศอินเดีย มณฑลยูนาน กวางสี ประเทศจีนและพม่าด้วย (หน้า 1) คนไทยหรือชนพวกอื่นที่อยู่นอกเขตพม่าเรียกคนไตว่า "เงี้ยว" (Ngio) คนไทยใหญ่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับคนไทยในภาคเหนือ ผิวค่อนข้างขาว ล่ำสันและผึ่งผาย ว่องไว เดิมไว้ผมยาวเกล้ามวยอย่างผู้หญิง ใช้ผ้าโพกศีรษะ และนิยมสักตามร่างกาย ส่วนผู้หญิงไตมีรูปร่างสวยงาม ผิวขาวเนื้อละเอียด ไว้ผมมวยเกล้าโพกศีรษะด้วยผ้ายาว ไตเป็นคนรักสงบ ซื่อสัตย์ จริงใจ เรียบร้อย สงบเสงี่ยมมีกิริยาท่าทางที่งดงาม รักความสะอาด โอบอ้อมอารี ต้อนรับขับสู้แขกที่ไปถึงบ้านด้วยความจริงใจ ในอดีตไทยใหญ่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตประเทศไทยทางภาคเหนือในแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิษณุโลก พิจิตร เป็นเวลาร่วมหลายร้อยปี เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในพม่า (หน้า 1-2)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทยใหญ่ มีเสียงพยัญชนะ 18 เสียง เสียงสระ 21 เสียง และเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง มีลักษณะคล้ายภาษาไทยทั้งเสียงสระ พยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ การศึกษาภาษาไทยใหญ่ในพม่า ปัจจุบันพบว่ามีคำภาษาพม่าเข้าไปปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ภาษาสุภาพหรือราชาศัพท์ ภาษาศาสนาหรือภาษาวรรณคดี นอกจากนั้น จากการสำรวจพบว่าภาษาไทยใหญ่มีส่วนสัมพันธ์กับไทยใหญ่ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียอยู่หลายพวก เช่น ไทยอาหม ไทยคำตี่ ไทยลุง ไทยคำยัง ไทยนอรา ไทยพ่าเก ไทยรงและไทยอ่ายตน (หน้า 18)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุรายละเอียด แต่ระบุไว้ว่า การสังเกตโดยเข้าไปมีส่วนร่วม (Participant observation) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ.2527

History of the Group and Community

ชนชาติไทยในถิ่นเดิมมีภูมิลำเนาตามภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า มณฑลที่ต่อพรมแดนฝ่ายเหนือของประเทศไทยขึ้นไป คือมณฑลเสฉวนตอนใต้ มณฑลไกวเจาตอนตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน โดยมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปตามถิ่นที่อยู่และภูมิลำเนา แต่มีภาษาและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ไทยใหญ่ เป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง ปัจจุบันอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า มณฑลอัสสัม ประเทศอินเดีย มณฑลยูนาน กวางสี ประเทศจีน (หน้า 1) ในอดีต ไทยใหญ่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตประเทศไทยทางภาคเหนือ แถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิษณุโลก พิจิตร เป็นเวลาร่วมหลายร้อยปี เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ที่ตั้งของอำเภอแม่ลาน้อยในปัจจุบัน แต่เดิมเป็นของชนเผ่า ลัวะ หรือ ละว้า อาศัยตั้งถิ่นฐานตามสองฝังแม่น้ำสองสาย สายหนึ่งไหลผ่านตำบลแม่ลาหลวงเป็นลำน้ำสายใหญ่ เรียกว่า "แม่ลัวะหลวง" และลำน้ำสายเล็กไหลผ่านตำบลแม่ลาน้อย เรียกว่า "แม่ลัวะน้อย" ต่อมาได้อพยพไปทำมาหากินในที่อื่น ไทยใหญ่ซึ่งอพยพมาจากถิ่นเดิมก็ได้เข้ามาทำกินแทนลัวะ และเปลี่ยนชื่อแม่น้ำเป็น แม่ลาหลวง และ แม่ลาน้อย ตามสำเนียงไทยใหญ่ที่เรียก คำว่า "ลัวะ" เป็น "ลา" (หน้า 7) สำหรับไทยใหญ่ในหมู่บ้านแม่ลาน้อย ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ไทยใหญ่ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิม มาตั้งรกรากแทนชาวเขาเผ่าลัวะ ประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว โดยมาบุกเบิกทำไร่ ทำนาและทำสวน สร้างบ้านเรือน ตั้งชื่อหมู่บ้านเป็น "บ้านแม่ลัวะอ่อน" ต่อมาได้ออกเสียงเพี้ยนเป็น บ้านแม่ลาอ่อน และเมื่อประมาณ 60 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านแม่ลาน้อยในปัจจุบัน (หน้า 1-4)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ข้อมูลจากการศึกษา หมู่บ้านแม่ลาน้อย มีจำนวน 348 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 1,681 คน เป็นชาย 870 คนเป็นหญิง 817 คน มีสถานีอนามัย 1 แห่ง โรงเรียนประชาบาล 1 โรงเรียน วัดพุทธศาสนา 2 วัดและสำนักสงฆ์ 3 แห่ง (พ.ศ.2528) (หน้า 8)

Economy

อาชีพ ไทยใหญ่ในหมู่บ้านแม่ลาน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ ทำสวนและรับจ้าง (หน้า 8)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ความสัมพันธ์กับรัฐ ภายหลังจากการถือกำเนิดของเมืองแม่ฮ่องสอนในปี พ.ศ. 2374 ในปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้รวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองปาย เมืองขุนยวมและเมืองยวม (แม่สะเรียง) ขึ้นเป็นบริเวณเชียงใหม่ตะวันตก ก่อนจะย้ายที่ว่าการจากขุนยวม และเมืองยวมตามลำดับมาอยู่ที่แม่ฮ่องสอนในปี พ.ศ. 2453 (หน้า 6) ในปี พ.ศ. 2510 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย โดยมีตำบลแม่ลาหลวงและตำบลแม่ลาน้อย เป็นกิ่งอำเภอ พ.ศ. 2515 แยกตำบลแม่ลาหลวงออกเป็นตำบลแม่โถ และแยกตำบลแม่ลาน้อยออกเป็นตำบลท่าผาปุ้ม เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518 กระทรวงมหาดไทยได้ตราพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะเป็นอำเภอแม่ลาน้อย และใน พ.ศ. 2526 ได้ประกาศจัดตั้งตำบลห้วยห้อมและตำบลแม่นาจาง รวมเป็น 6 ตำบลที่อยู่ในความปกครองของอำเภอแม่ลาน้อย โครงสร้างอำนาจภายในครอบครัว ไม่ระบุไว้ชัดเจน แต่ในส่วนครอบครัวมีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้นำ สมาชิกในครอบครัวต้องให้เกียรติ เช่น ในกรณีที่หัวหน้าครอบครัวกำลังทำงานหรือทำธุระติดพันในขณะที่ได้เวลารับประทานอาหาร และต้องการจะทำงานหรือทำธุระให้เสร็จก่อน สมาชิกคนอื่นๆ สามาถลงมือรับประทานอาหารไปพลางๆ ก่อนได้แต่ต้องตักกับข้าวแต่ละอย่างใส่ไว้ในจานข้าวของหัวหน้าครอบครัวก่อน ถ้าหัวหน้าครอบครัวไปทำธุระนอกบ้าน แม่บ้านจะแบ่งกับข้าวแต่ละอย่างใส่จานไว้ต่างหากแล้วจึงลงมือรับประทาน (หน้า 37-38)

Belief System

รอยสักและความเชื่อ ผู้ชายไทยใหญ่นิยมการสักหมึกตามร่างกาย ต้นคอหรือข้อมือ โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ผู้สักมีความคงกระพันชาตรี (หน้า 2)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เสื้อผ้าและการแต่งกาย ผู้ชายไทยใหญ่จะสวมเสื้อแขนสั้นไว้รองเหงื่อข้างใน สวนเสื้อชั้นนอกเป็นแขนยาว นิยมใช้ผ้าฝ้ายสีน้ำตาลออก ผ่าอก ติดกระดุม กางเกงหลวม ๆ ก้นหย่อน มีผ้าโพกศีรษะ ใช้เข็มขัดผ้าหน้ากว้างและหนามีพู่หย่อนลงมา สะพายถุงย่าม พกมีดสั้นที่เอว และสะพายดาบที่บ่า ส่วนผู้หญิงชอบสวมเสื้อผ้าสีน้ำเงินจวนดำ สีดำและสีขาว แขนกระบอกจดข้อมือ เสื้อรัดตัว นิยมใช้หมวกใบใหญ่ ส่วนทรงผม แต่เดิมผู้ชายจะไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวย ส่วนผู้หญิงไว้ผมมวยเกล้า (หน้า 2) ศิลปะการละเล่น ไทยใหญ่มีเพลงพื้นเมือง ภาษาไทยใหญ่เรียกว่า "เฮ็ดกวาม" มีเครื่องดนตรี 2 ชุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วยกลองยาวประมาณ 1 วา มีฆ้องเล็กฆ้องใหญ่อย่างละ 1 ชุด ชุดที่ 2 มีฆ้องเล็กใหญ่ประมาณ 6-7 ลูก และฉาบ 1 คู่ การเล่นเฮ็ดกวาม คือตีกลองร้องเพลงสลับกันไป เนื้อร้องเป็นการบรรยายเกี่ยวกับงานที่จัดขึ้น เช่น บวชนาค เป็นการหยอกล้อเพื่อความครื้นเครง โดยผู้ขับร้องเป็นชาย นอกจากนี้ ยังมีการละเล่นในงานวัด งานประจำปี งานวันออกพรรษา งานแห่เทียนพันเห็ง (พันเล่ม) เช่น เต้นสิงโต รำนางนก ผีเสื้อแดง ฟ้อนดาบ มีเครื่องดนตรีวงเล็กประกอบ คือ กลอง ฆ้อง ฉาบ (หน้า 8-9)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ไทยใหญ่มีภาษาพูดและภาษาเขียน ตัวหนังสือเป็นของตนเอง (หน้า 18) มีวัฒนธรรมและศิลปการละเล่น เช่น เฮ็ดกวาม เต้นสิงโต รำนางนก ผีเสื้อแดง ฟ้อนดาบ (หน้า 8-9) ลักษณะการแต่งกายและลักษณะทางกายภาพ รูปร่าง นิสัย (หน้า 1-2) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มและชนชาติ ในด้านความสัมพันธ์ของไทยใหญ่กับกลุ่มชาติพันธ์อื่น งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือตั้งเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่ระบุไว้ในหัวข้อการสื่อสารของสมาชิกในชุมชนที่ตลาดสดตอนเช้า โดยผู้ศึกษาได้แยกสถานการณ์ออกเป็นการร้องขายสินค้าและการทักทาย พบว่าไทยใหญ่จะใช้ภาษาไทยใหญ่ทักทายระหว่างไทยใหญ่ด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการทักทายระหว่างไทยใหญ่กับไทยพื้นเมืองภาคเหนือ จะใช้ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ (หน้า 42-43) และไทยใหญ่ในหมู่บ้านแม่ลาน้อยส่วนใหญ่จะพูดภาษาคำเมืองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้บางคนยังสามารถพูดภาษากะเหรี่ยงได้อีกด้วย (หน้า 8) แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนภาษา (Speech Community - หน้า 13) และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Cross - cultural Communication - หน้า 10 ) ของไทยใหญ่ที่มีกับชาวพื้นเมืองภาคเหนือและกะเหรี่ยง

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ผลการศึกษาแบบแผนในการสื่อสารของไทยใหญ่ 5 ประเภท แบบแผนของการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ก็มีกฎเกณท์ในการใช้ภาษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์ประกอบในการสื่อสารดังราละเอียดในบทที่ 4 ว่าด้วยผลการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วยผลการศึกษาดังนี้ 1.ผลการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบในการสื่อสารของแต่ละสถานการณ์ แบ่งเป็นการสื่อสารในบ้าน ได้แก่ การสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัวขณะที่กำลังรับประทานอาหารเย็นและการสื่อสารในชุมชน ได้แก่ การสื่อสารของสมาชิกในชุมชนที่ตลาดสดตอนเช้าและที่วัดขณะไปร่วมทำบุญ โดยมีลักษณะองค์ประกอบในการสื่อสาร 10 ลักษณะ ดังนี้ 1.ประเภทสถานการณ์ 2.หัวข้อ 3.จุดประสงค์ 4.สภาพการณ์ 5.ผู้มีส่วนร่วม 6.รูปแบบของข่าวสาร 7.เนื้อหาของข่าวสาร 8.ลำดับของกิจกรรม 9.กฎของการปฏิสัมพันธ์ 10.แบบฉบับแห่งการตีความ 2. ผลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของแต่ละสถานการณ์ การสนทนาระหว่างสมาชิกในครอบครัวขณะที่กำลังรับประทานอาหารเย็น 3. ผลการศึกษาในเรื่องแบบแผนในการสื่อสารของแต่ละสถานการณ์ 4. ผลการศึกษาเปรียบเทียบแบบแผนในการสื่อสารของแต่ละสถานการณ์กับรูปแบบทางทฤษฎีของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในการสื่อสาร และผลการเปรีบเทียบระหว่างแบบแผนทั้ง 5 แบบ ผลการเปรียบเทียบพบว่า 1.แบบแผนในการสนทนาระหว่างรับประทานอาหาร มีลักษณะความสัมพันธ์เป็นไปตามรูปแบบทางทฤษฎีทุกประการ ยกเว้นลำดับกิจกรรมที่ไม่ปรากฎในแบบแผนการสนทนา 2.แบบแผนในการทักทายมีลักษณะความสัมพันธ์สอดคล้องกับรูปแบบทางทฤษฎีทุกประการ ยกเว้นหัวข้อที่ไม่มีปรากฎในแบบแผนการทักทาย 3.แบบแผนในการร้องขายสินค้า มีลักษณะความสัมพันธ์สอดคล้องกับรูปแบบทางทฤษฎีทุกประการ ยกเว้นหัวข้อที่ไม่มีปรากฎ 4.แบบแผนในการไปร่วมทำบุญ มีลักษณะที่สอดคล้องและเป็นไปตามรูปแบบทางทฤษีทุกประการยกเว้นหัวข้อและเนื้อหาของข่าวสาร ซึ่งไม่มีปรากฎในแบบแผนของการไปร่วมทำบุญ 5.แบบแผนในการสนทนาระหว่าที่ไปร่วมทำบุญมีลักษณะความสัมพันธ์สอดคล้องตามรูปแบบทางทฤษฎีของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทุกประการ (หน้า 83-96)

Map/Illustration

ภาพประกอบ รูปแบบทางทฤษฎีของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในการสื่อสาร (หน้า 24) แบบแผนในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัวขณะที่กำลังรับประทานอาหารเย็น (หน้า 71) แบบแผนในการทักทายกันระหว่างสมาชิกในชุมชนที่ตลาดสด (หน้า 73) แบบแผนในการร้องขายสินค้าที่ตลาดสด (หน้า 75)แบบแผนในการไปร่วมทำบุญที่วัดของสมาชิกในชุมชน (77) แบบแผนในการสนทนาระหว่างสมาชิกในชุมชนขณะที่ไปร่วมทำบุญ (หน้า 79) หลักการทฤษฎีของวิชามานุษยคดีด้านการสื่อสาร (หน้า 97)

Text Analyst ทรงศักดิ์ ปัญญา Date of Report 28 ก.ค. 2548
TAG ไทยใหญ่, การสื่อสาร, ภาษา, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง