สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี (Mla Bri) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การควบคุมทางสังคม ความขัดแย้ง รูปแบบการตั้งชุมชน ข้อมูลทางประชากร ระบบเครือญาติ การแต่งงาน แพร่ น่าน ประเทศไทย
Author Long, Mary, Long, Eugene and Waters, Tony
Title Suicide among the Mla Bri Hunter-Gatherers of Northern Thailand
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 22 Year 2556
Source Journal of the Siam Society (JSS), Vol. 101, 2013, pp.155-176.
Abstract

          งานเขียนชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายในสังคมมลาบรีในช่วงหลังปีค.ศ.1980 เป็นต้นมา คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participatory observation) บันทึกการพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายในกลุ่มมลาบรี เพื่อที่จะวิเคราะห์บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ผลักดันให้เกิดการฆ่าตัวตาย ผู้วิจัยให้ข้อสรุปว่าการฆ่าตัวตายเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างฉับพลันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งทำให้วิธีการเลี่ยงความขัดแย้งตามธรรมชาติของสังคมมลาบรีนั้นไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ ปัญหาและความกดดันต่างๆ ผลักดันให้มลาบรีดื่มสุราทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นไปอีก ในที่สุด มลาบรีจึงต้องหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย 

Focus

          งานเขียนชิ้นนี้วิเคราะห์และอธิบายปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายในกลุ่มชาวมลาบรี ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างฉับพลันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา วิถีชีวิตของมลาบรีเปลี่ยนแปลงจากสังคมเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์มาอยู่เป็นหลักแหล่งในบ้านที่สร้างแบบกึ่งถาวร ทำให้มลาบรีมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแต่ในขณะเดียวกันการอยู่เป็นหลักแหล่งนั้นได้ขัดขวางกลไกการจัดการความขัดแย้งในสังคมมลาบรีหรือ “paluh” ทำให้เกิดความกดดัน สิ้นหวังไร้ทางออกซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการดื่มสุรา การหย่าร้างและการฆ่าตัวตายในที่สุด

Theoretical Issues

          ผู้เขียนได้เชื่อมโยงปรากฏการณ์ฆ่าตัวตายในหมู่ชาวมลาบรีว่ามีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสังคมของชาวมลาบรีอย่างฉับพลันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะการที่มลาบรีตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้นส่งผลกระทบต่อวิธีการจัดการความขัดแย้งในสังคมมลาบรี ผู้เขียนได้ศึกษางานเขียนของ Emile Durkheim นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสที่เสนอว่าการอพยพของชาวนาในชนบททางภาคเหนือของยุโรปมาสู่เมืองอุตสาหกรรมนั้นสัมพันธ์กับอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว Durkheimระบุว่าสังคมแบบนี้ความสัมพันธ์ระหว่างคนสังคมจะเป็นแบบหลวมๆ ทำให้คนรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่ง Durkheim เรียกภาวะผิดปกติของสังคมเช่นนี้ว่า “anomie” (หน้า 162) “anomie” สะท้อนให้เห็นสภาวะสังคมที่พัฒนาทางด้านวัตถุแต่กลับมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นและเกิดปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดสุรา การหย่าร้าง การทำผิดกฎหมายของวัยรุ่น อาการป่วยทางจิตและการมีเพศสัมพันธ์ที่ผิดจารีตประเพณี โดยมีกรณีเปรียบเทียบคือกรณีของชาวม้งที่อพยพจากค่ายผู้อพยพในไทยไปสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1980 ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงในหมู่เด็กวัยหนุ่มสาวซึ่งส่วนใหญ่ติดสุรา (หน้า 162)
ผู้เขียนได้เสนอให้เชื่อมโยงการฆ่าตัวตายของมลาบรีกับ “paluh” ซึ่งหมายถึงการทำร้ายด้วยคำพูดที่อาจเทียบได้กับคำว่า “ดุด่า” “วิจารณ์” “กังขา” “กล่าวหา” “ขัดเคือง” โดยทั่วไปคำว่า paluh ในภาษามลาบรีใช้เป็นคำกริยาหรือคำนามก็ได้แล้วแต่บริบท จัดเป็นวิธีควบคุมทางสังคม (social control) และเป็นวิธีจัดการความขัดแย้งของชาวมลาบรี (หน้า 162) ในอดีตมลาบรีจะรับมือกับการถูก paluh หรือถูกตำหนิด้วยการหนีเข้าไปในป่าหรือย้ายจากที่พักเดิมของตนเอง แต่ต่อมาเมื่อมลาบรีต้องอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมลาบรีไม่สามารถหนีไปอยู่ที่อื่นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายในสังคมมลาบรี (หน้า 156-157)

Ethnic Group in the Focus

          ผู้เขียนงานชิ้นนี้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ว่า “มลาบรี” (Mla Bri) มลาบรีมีวิถีชีวิตเร่ร่อนในป่าโดยจะสร้างเพิงที่พักชั่วคราวที่มุงด้วยใบตอง วิถีชีวิตของมลาบรีที่มักย้ายที่อยู่ภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ใบตองที่มุงเพิงกลายเป็นสีเหลืองทำให้คนนอกกลุ่มเรียกว่า “ผีตองเหลือง” (Spirits of the Yellow Leaves)ซึ่งเป็นชื่อ ที่ชาวมลาบรีไม่ยอมรับ (หน้า 156)

Language and Linguistic Affiliations

         ภาษามลาบรีอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร (หน้า 155, 158) ในปัจจุบันเด็กชาวมลาบรีพูดภาษาไทยได้และจะพูดภาษามลาบรีที่บ้าน ส่วนผู้ใหญ่ใช้ภาษามลาบรีเป็นภาษาหลักในการสื่อสารกับมลาบรีคนอื่นๆ (หน้า 159) มีข้อสังเกตว่าภาษามลาบรีมีคำว่า “สุรา” ซึ่งไม่ใช่คำยืมจากภาษาอื่น แม้ว่าในช่วงต้นปี 1980 ก่อนนั้นไม่พบว่ามีมลาบรีที่ติดสุราหรือมีการต้มสุราดื่มเองก็ตาม (หน้า 160)

Study Period (Data Collection)

เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงระหว่างปี 1984-2012

History of the Group and Community

        ความเป็นมาของกลุ่มมลาบรีมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ซึ่งเป็นบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวถิ่นและชาวขมุ (หน้า 158) สันนิษฐานว่าในอดีตนั้นมลาบรีแยกตัวออกมาจากชาวถิ่นซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนเล็กๆอยู่บนที่ราบสูงในพื้นที่ห่างไกลในจังหวัดน่าน จากหลักฐานทางภาษาศาสตร์และพันธุกรรมพบว่ามลาบรีมีความคล้ายคลึงกับชาวถิ่นเป็นอย่างมาก (หน้า 158) 

Settlement Pattern

         ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1993 มลาบรีอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆในป่า ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ บางครั้งก็ทำงานในไร่นาของชาวนาที่ราบสูงเช่นชาวม้ง มลาบรีจะย้ายที่อยู่เพื่อหนีหนี้หรือไปช่วยญาติชดใช้หนี้ เมื่อมีการตายเกิดขึ้นในกลุ่มและเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (หน้า 160-161) ตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมารัฐบาลไทยมีนโยบายให้มลาบรีมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งใน 4 พื้นที่ในจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน (หน้า 155, 158 และ 160) ปี 2001 เป็นปีสำคัญเนื่องจากเป็นปีที่หมู่บ้านได้ทะเบียนบ้านและมลาบรีได้รับการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย  ได้รับสัญชาติไทย (หน้า 161) รัฐบาลไทยสนับสนุนให้มีการพัฒนาหลายประการ เช่น การกำจัดไข้มาลาเรีย สร้างโรงเรียน สถานพยาบาล พัฒนาระบบไฟฟ้าและถนน ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาสู่สังคมสมัยใหม่ (หน้า 159) ในตอนแรกมลาบรีอยู่ใน 3 พื้นที่คือ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จากนั้นในปี ค.ศ.2009 จึงมีการสร้างหมู่บ้านมลาบรีแห่งใหม่ขึ้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านซึ่งเป็นศูนย์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น  (หน้า 161) 

Demography

          ในช่วงปี 2012 มีมลาบรีประมาณ 400 คนใน 4 พื้นที่ในจังหวัดแพร่และน่าน (หน้า 155) ในช่วงปีค.ศ.1980 ไม่พบว่ามีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญคืออุบัติเหตุ โรคที่เกิดจากติดเชื้อ เช่น มาลาเรียและโรคบิด รวมทั้งการทำร้ายร่างกายซึ่งพบไม่บ่อยนักเนื่องจากมลาบรีมักจะเลี่ยงการปะทะด้วยการหนีเข้าไปในป่า (หน้า 159-160) แต่ในช่วงหลังจากที่มลาบรีมาอยู่เป็นหมู่บ้านพบว่ามีฆ่าตัวตายและความพยายามที่จะฆ่าตัวตายในช่วงปี ค.ศ. 1984-2012 ถึง 15 ราย (หน้า 163) 

Economy

         ก่อนหน้าที่มลาบรีมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้นมลาบรีดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ (หน้า 155) เครื่องมือล่าสัตว์ของมลาบรีมีแหลน กับดักสัตว์ หนังสติ๊กยิงนก ใช้ปืนแก๊ปเป็นบางครั้ง สัตว์ที่ล่ามีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน ตัวอ่อนของแมลง นอกจากนี้มลาบรีเก็บน้ำผึ้ง พืชหัวต่างๆ ผลไม้ หน่อไม้และของป่าอื่นๆตามฤดูกาล มลาบรีไม่เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ แลกเปลี่ยนของป่ากับของที่ต้องการจากชาวนาในที่ราบ รวมทั้งรับจ้างทำงานในไร่นาซึ่งในปัจจุบันยังพบมลาบรีรับจ้างทำไร่นาอยู่เป็นจำนวนมาก (หน้า 156)ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ประชากรในสังคมกสิกรรมเช่น ชาวม้งและกลุ่มอื่นๆในจังหวัดแพร่และน่านเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พืชและสัตว์ที่มลาบรีกินเพื่อดำรงชีพนั้นหาได้ยากขึ้น แหล่งอาหารในป่าลดลงเนื่องจากป่าถูกทำลายเพื่อการทำนาและเพาะปลูกพืชอื่นๆ ทำให้การรับจ้างทำไร่ทำนามีความสำคัญต่อความอยู่รอดของมลาบรี (หน้า 159) มลาบรีจึงต้องมารับจ้างในไร่นาของชาวม้งและชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือ เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีจึงต้องหนีเข้าไปอยู่ในป่าลึกเมื่อนายจ้างเหล่านี้ข่มขู่ทำร้ายและเพื่อป้องกันไม่ให้ถูก paluh ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้ายแรงตามความเชื่อของมลาบรี (หน้า 158-159) 

Social Organization

         มลาบรีเป็นคนชายขอบทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองในพื้นที่ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนาชาวไร่ (หน้า 155) มลาบรีแต่งงานตั้งแต่ตอนเป็นวัยรุ่นโดยสามีภรรยาจะอาศัยร่วมชายคากันหลังจากที่พ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายอนุญาตแล้ว มลาบรีมองว่าการแต่งงานเป็นสิ่งสำคัญแม้ว่าการแต่งงานของมลาบรีนั้นจะเป็นแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีงานฉลอง การจดทะเบียนสมรสหรือการมอบสินสอดให้แก่พ่อแม่ของฝ่ายหญิง (หน้า 161) มลาบรีจะแต่งงานกันภายในกลุ่มเท่านั้น การแต่งงานกับคนนอกกลุ่มหรือแต่งงานกับพี่น้องร่วมบิดามารดาเป็นสิ่งต้องห้ามและความผิดร้ายแรงโดยจะถูกสมาชิกในกลุ่ม paluh(หน้า 159, 174) ข้อห้ามเหล่านี้ทำให้การหาสามีหรือภรรยานั้นทำได้ยากเนื่องจากมลาบรีมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว การมีภรรยาหลายคนในช่วงเวลาเดียวกันนั้นพบเห็นได้บ่อยครั้งและมีอัตราการหย่าร้างสูง การเป็นหม้ายและการแต่งงานใหม่เป็นเรื่องปกติในสังคม มลาบรี มลาบรีไม่นิยมแต่งงานกับชาวม้งหรือคนไทยภาคเหนือเพราะมีความเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความโชคร้าย(หน้า 161) 

Belief System

          มลาบรีมีความเชื่อเรื่องวิญญาณและผี (หน้า 156) และเชื่อว่าการว่ากล่าว (paluh) นั้นส่งผลร้ายต่อทั้งคนที่เป็นฝ่ายว่าและคนที่ถูกว่า ส่วนใหญ่แล้วคนที่ถูก paluh จะออกจากหมู่บ้านเพื่อให้คนที่ paluh ตนเองกลายเป็นฝ่ายผิด (หน้า 173) นอกจากนี้มลาบรีมีความเชื่อว่าหากแต่งงานกับคนนอกกลุ่มแล้วเกิดโชคร้าย (หน้า 161)

Education and Socialization

ตั้งแต่ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาเด็กชาวมลาบรีได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียน และสามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้ (หน้า 159) 

Health and Medicine

          ก่อนที่มลาบรีจะมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนั้นมลาบรีรับจ้างทำไร่ทำนาให้กับชาวเขากลุ่มอื่นๆ จึงมีการติดต่อกลุ่มประชากรในพื้นที่ราบสูงของไทยซึ่งทำให้ติดโรคภัยต่างๆ (หน้า 159) ในช่วงปี 1993 เป็นต้นมามลาบรีได้อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งตามนโยบายของรัฐบาล มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น มีการรักษาและป้องกันไข้มาลาเรีย ได้อยู่ในบ้านเรือนที่สะดวกสบายขึ้น รวมทั้งมาตราการทางสาธารณสุขอื่นๆ เมื่อเจ็บป่วยก็สามารถรักษาที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล ซึ่งทำให้อัตราการเสียชีวิตของมลาบรีลดลงมาก (หน้า 159)

Folklore

          ตำนานที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับชาวมลาบรีที่ถูกผู้อื่น paluh ซึ่งเป็นการควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่ง (หน้า 157) มีเรื่องเล่าว่าผู้หญิงมลาบรีคนหนึ่งฆ่าสามีของตนเองด้วยการให้กินหน่อไม้ที่เป็นพิษเพื่อที่จะแต่งงานกับชายอีกคน และมีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับคนนอกกลุ่มที่ฆ่ามลาบรี (หน้า 158)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          มลาบรีมีวิถีชีวิตแบบเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นอาหารและไม่เพาะปลูก มลาบรีย้ายที่อยู่ทุกๆ 2 สัปดาห์ ซึ่งในปัจจุบันวิถีชีวิตแบบนี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็ยังมีอยู่ (หน้า 156) และแม้ว่ามลาบรีจะมีจำนวนประชาการไม่มากนักและอยู่แบบกระจัดกระจาย มลาบรียังคงรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมไว้ได้ (หน้า 159)

Social Cultural and Identity Change

          เดิมนั้นมลาบรีเป็นกลุ่มคนเร่ร่อนในป่าที่ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ ต่อมาด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผืนป่าถูกทำลายเพื่อการทำนาและเพาะปลูกพืช ทำให้มลาบรีต้องออกจากป่ามารับจ้างทำไร่ทำนา มลาบรีเริ่มอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งตั้งแต่ค.ศ. 1990 เป็นต้นมาตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรที่เป็นชุมชนชายขอบที่สุดในประเทศและต้องการรักษาพื้นที่ป่าไว้ (หน้า 155, 158 - 160) มลาบรีได้รับการรับรองสถานะบุคคลในสถานะคนสัญชาติไทยในปีค.ศ. 2001 (หน้า 161) เมื่อมีบัตรประชาชนแล้วมลาบรีสามารถขึ้นศาลและได้รับสวัสดิการสังคม เช่น การรักษาพยาบาล การเข้าศึกษาในโรงเรียนและสวัสดิการอื่นๆของรัฐบาล (หน้า 159, 161) มลาบรีพักอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้าน บ้านที่อาศัยเป็นที่พักกึ่งถาวรสร้างจากอิฐบล็อกถ่าน ไม้ ไม้ไผ่และแผ่นสังกะสี (หน้า 159) มีชีวิตความเป็นอยู่และภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น อัตราการเสียชีวิตลดลง (หน้า 159) ตั้งแต่ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาเด็กชาวมลาบรีได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนและเริ่มอ่านเขียนภาษาไทยได้ (หน้า 159) มลาบรีทำงานรับจ้างได้เงินมาซื้อเครื่องใช้ เช่น วิทยุและโทรทัศน์ สิ่งเหล่านี้เกิดในช่วงที่การขยายตัวของสังคมชนบทชะลอตัวลงและการอพยพย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองนั้นเพิ่มสูงขึ้น (หน้า 159)
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในช่วงปี 1980-2010 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสังคมมลาบรี นอกเหนือจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่และโอกาสที่จะได้รับสวัสดิการต่างๆ แล้ว ยังพบว่าเริ่มมีคนติดสุรา ก่อนหน้าที่มลาบรีจะอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้นไม่พบว่ามีมลาบรีคนใดติดเหล้าหรือต้มเหล้าดื่มเอง ชายชาวมลาบรีดื่มเหล้าเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น ส่วนผู้หญิงไม่ดื่มเหล้า (หน้า 159-160) และไม่พบว่ามีการฆ่าตัวตายในหมู่ชาวมลาบรีมาก่อน (หน้า 155) แต่ปัจจุบันนี้มลาบรีจำนวนไม่น้อยติดเหล้าเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการทะเลาะวิวาทและการฆ่าตัวตายในสังคมมลาบรี (หน้า 174) 

Map/Illustration

งานวิจัยนี้มีตารางที่สำคัญดังนี้
ตารางที่ 1 ตารางสรุปการฆ่าตัวตายและความพยายามฆ่าตัวตายของชาวมลาบรีในช่วงปี 1984 ถึง 2012 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวมลาบรีที่ฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายนั้นส่วนใหญ่เป็นชายที่แต่งงานแล้วและมักใช้วิธีฆ่าตัวตายด้วยยาพิษ พบว่ามีการขู่ฆ่าตัวตายในปี 1999 แต่พบว่ามีการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในปี 2005 ถึง 2008 ในบางกรณีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นห่างกันเพียงไม่กี่วัน (หน้า 163)
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติระหว่างคนที่ฆ่าตัวตาย ในจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตาย 15 รายนั้นมีจำนวนถึง 10 รายที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน (หน้า 172)

Text Analyst พิมลวรรณ บุนนาค Date of Report 21 เม.ย 2559
TAG มลาบรี, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, การควบคุมทางสังคม, ความขัดแย้ง, รูปแบบการตั้งชุมชน, ข้อมูลทางประชากร, ระบบเครือญาติ, การแต่งงาน, แพร่, น่าน, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง