สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี (Mlabri) ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างและแบบแผนพฤติกรรมทางสังคม การหาอาหาร ความเชื่อ การรักษาโรค แพร่-น่าน ประเทศไทย
Author Seidenfaden, Erik
Title THE KHA TONG LU’ANG
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
Journal of the Siam Society 1921-1930หน้า41-48 ออนไลน์ที่ : http://www.siam-society.org/pub_JSS/jss_index_1921-1930.html Total Pages 9 Year 2469
Source Journal of the Siam Society (JSS), Vol. 20, Pt. 1 (1926).
Abstract

          งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนเชิงชาติพันธุ์วรรณาพรรณนาถึงลักษณะทางกายภาพ วิถีชีวิต ความเชื่อและแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมของมลาบรีจากข้อมูลที่ได้จาก Mr. T. Wergani เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของบริษัทอีสท์เอเชียติก (East Asiatic Company) ในจังหวัดแพร่ งานเขียนนี้เป็นงานเขียนชิ้นแรกๆเกี่ยวกับมลาบรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี ทั้งการบรรยาย พรรณนาและการเชื่อมโยงกับงานศึกษาที่มีมาก่อนหน้า

Focus

          งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนเชิงชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) พรรณนาในภาพรวมถึงลักษณะทางกายภาพ วิถีชีวิต ความเชื่อ โครงสร้างและแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมของมลาบรี ในพื้นที่จังหวัดแพร่-น่าน

Ethnic Group in the Focus

          ผู้เขียนงานชิ้นนี้ใช้คำเรียกมลาบรีว่า ข่าตองเหลือง (Kha Tong Lu’ang) หรือ ผีตองเหลือง (Phi Tong Lu’ang) ตามที่เรียกในจังหวัดแพร่-น่านและในประเทศลาวในช่วงเวลาที่ศึกษา มลาบรีปฏิเสธที่จะถูกเรียกว่าผีตองเหลือง และผู้เขียนไม่ทราบแน่ชัดว่าคนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่าอย่างไร แต่เมื่อถูกถามจะบอกว่าตนเองเป็น “คนป่า” (หน้า 41,43) 

Language and Linguistic Affiliations

          มลาบรีไม่มีภาษาเขียน ภาษาของมลาบรีเป็นเสียงจากลำคอเป็นห้วงๆ แหลมสูงและแผ่วเบาฟังแทบไม่เป็นภาษา ไม่มีเสียงพยัญชนะ R เมื่อติดต่อสื่อสารกับคนนอก เช่น การติดต่อแลกเปลี่ยนของป่ากับสิ่งของที่ต้องการ มลาบรีจะใช้ภาษาที่ผสมผสานระหว่างภาษาลาวและภาษาขมุ (หน้า 47)

Study Period (Data Collection)

          ข้อมูลจาก Mr. T. Wergani ซึ่งทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของบริษัทอีสท์เอเชียติก (East Asiatic Company) ในจังหวัดแพร่และได้มีโอกาสศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในปี ค.ศ. 1924

Settlement Pattern

          มลาบรีจะอาศัยอยู่บนยอดเขาที่มีแหล่งน้ำ ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ ไม่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง เมื่ออาหารหมดลงจึงจะย้ายถิ่นฐานไปยังแหล่งที่อยู่ใหม่ ที่พักสร้างอย่างหยาบๆ เป็นหลังคาเพิงหมาแหงน ทรงสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 1 เมตร หลังคาด้านหลังลาดติดกับพื้นดินอีกด้านมีไม้ไผ่ค้ำยกสูงชี้ฟ้าในลักษณะเอียง 45 องศา ตัวหลังคาทำจากกิ่งไม้ไผ่สานเป็นโครงปูด้วยใบตอง ไม่พบว่ามีสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านหรือเครื่องหุงหาอาหาร เมื่อใบตองเหี่ยวแห้งเป็นสีเหลือง มลาบรีก็จะย้ายไปแหล่งใหม่ (หน้า 43-44) 

Economy

          มลาบรีดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่า เช่น รากไม้และน้ำผึ้ง (หน้า 44) มลาบรีล่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งแรด แต่ไม่ล่าเสือเพราะมลาบรีกลัวเสือ (หน้า 45) ไม่พบว่ามีการเพาะปลูกและระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม การผลิตมีเพียงการทำหอก เหลาไม้สำหรับใส่ขยายติ่งหู (earplug) และเหลากระบอกไม้ไผ่สำหรับใส่วัสดุที่ใช้ในการจุดไฟ นอกจากนี้กระบอกไม้ไผ่ยังไว้เก็บน้ำ น้ำผึ้ง และเป็นภาชนะหุงข้าว (หน้า 44)
มลาบรีแลกเปลี่ยนของป่ากับสิ่งของที่ต้องการจากชาวลาวและชาวขมุ โดยจะแลกเปลี่ยนกับขมุมากกว่าเพราะรู้สึกไว้วางใจมากกว่าคนลาว (หน้า 45) ของป่าที่นำไปแลกมีงาช้าง นอแรด ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง แลกกับผ้า ยาสูบ ข้าว (หน้า 46) และเหล็ก (เพื่อนำมาทำหอก) (หน้า 44) เมื่อต้องการแลกเปลี่ยนของป่ากับสิ่งของที่ต้องการ มลาบรีจะเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวขมุและจะนั่งรอบนพื้นจนกว่าจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในบ้าน โดยจะมีบางส่วนรออยู่นอกบ้านเพื่อระวังภัยเนื่องจากกลัวว่าจะถูกชาวขมุหักหลัง ในการแลกเปลี่ยนมลาบรีจะแลกเปลี่ยนของป่าที่หามาได้กับสิ่งที่ต้องการโดยไม่รู้จักมาตรวัดชั่งตวง ทำให้เป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ (หน้า 46)

อาหาร
          มลาบรีกินทุกอย่างที่กินได้ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่ไปจนถึงหนู งู แมลง หนอน อาหาร อาหารหลักคือหน่อไม้และรากไม้ไผ่ มลาบรีไม่เคี้ยวหมาก ไม่ใช้ฝิ่น (opium) แต่จะสูบยาสูบ (tobacco) มลาบรีกินอาหารด้วยมือ เมื่อล่าสัตว์ได้จะเอาไปย่างไฟโดยที่ไม่ล้าง ถลกหนังหรือเอาเครื่องในออกแต่อย่างใด เมื่อเนื้อสุกจึงใช้มือฉีกเนื้อกิน (หน้า 44) โดยจะใช้หอกล่าสัตว์ เป็นหอกยาวประมาณ 11 ฟุต ทำจากลำต้นปาล์มที่แข็งแรงแต่ยืดหยุ่นพอที่จะดัดได้ หัวหอกแหลมทำจากเหล็กยาวประมาณ 11 นิ้วหรือ 0.28 เมตร เหล็กนี้มลาบรีได้จากชาวลาวกับขมุ มลาบรีไม่รู้วิธีตีเหล็กแต่เอาเหล็กที่แลกได้มาเอามาทำหัวหอกตามที่ต้องการ เสียบหัวหอกกับด้าม ยึดไว้ด้วยลงเหล็กกลมและรัดด้วยเชือก อาบหัวหอกด้วยยาพิษที่ทำจากพืชที่มีฤทธิ์รุนแรงถึงขั้นที่รอยข่วนจากหอกสามารถทำให้สัตว์ใหญ่เช่นช้างหรือแร่ดตายได้ มลาบรีจะใช้ยาพิษนี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เช่น เมื่ออาหารที่สะสมไว้หมดลง นอกจากนี้มลาบรีใช้มีดเก่าที่แลกมาจากชาวขมุด้วย มลาบรีไม่รู้จักการใช้ห่วงและกับดักในการล่าสัตว์ ไม่รู้จักการจับปลา มลาบรีเป็นนักตามรอยชั้นเยี่ยม สามารถตามสัตว์ไปได้เป็นระยะไกลโดยการตามกลิ่น มลาบรีไม่เลี้ยงสัตว์ยกเว้นสุนัขที่ได้มาจากชาวขมุ (หน้า 44-45)

Social Organization

โครงสร้างสังคมเป็นแบบสังคมดั้งเดิม แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มสายตระกูล (clans)
          สำหรับการแต่งงานมลาบรีมีกฎว่าจะต้องแต่งงานกับคนนอกเครือญาติของตนเท่านั้นและมีสามีภรรยาเดียว ซึ่งเป็นเพราะผู้หญิงมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชาย ผู้ชายจะต้องล่าสัตว์ใหญ่เพื่อให้ได้รับการยอมรับเป็นลูกเขยและสามารถแต่งงานได้ อย่างไรก็ตาม สถานะทางสังคมของผู้หญิงมลาบรีนั้นต่ำมาก ผู้หญิงต้องทำงานทุกอย่างเทียบเท่ากับทาส (หน้า 46) สำหรับอาหารที่สมาชิกในกลุ่มหามาได้จะนำมารวมกันและแบ่งกันกินอย่างเท่าเทียม (หน้า 46)  

Political Organization

          การปกครองของมลาบรีนั้นแต่ละสายตระกูล (clans) จะมีผู้นำของตนเองและมีผู้นำสูงสุดของทั้ง 8 กลุ่ม ผู้นำจะมีอำนาจเด็ดขาด สมาชิกจะต้องเคารพในคำตัดสินของผู้นำกลุ่ม การเป็นหัวหน้านั้นไม่ได้มาจากการสืบทอดตำแหน่งแต่เลือกนักล่าที่เก่งที่สุดมาเป็นหัวหน้าแทนคนเก่า (หน้า 46) ไม่พบการต่อสู้ภายในกลุ่มหรือกับกลุ่มอื่นๆ ตามธรรมชาติแล้วมลาบรีไม่ดุร้ายแต่ถ้ามีการเผชิญหน้าในป่าจะจู่โจมเพราะความกลัวและเพื่อปกป้องตนเอง  

Belief System

          มลาบรีนับถือผี เชื่อว่ามีผีสถิตอยู่ในป่า ภูเขา ก้อนหิน ลำธารและมีการบูชาผี โดยของบูชาผีที่จัดว่าดีที่สุดคือหมู ในพิธีบูชาผีมลาบรีจะร้องเพลงพิเศษสำหรับพิธีบูชาผี มลาบรีเชื่อเรื่องจิตวิญญาณและการเกิดในชาติภพหน้า ไม่พบว่ามีการใช้เวทมนตร์คาถาหรือไสยศาสตร์ ไม่มีนักบวชหรือหมอผี(หน้า 47)เมื่อสมาชิกในวงเครือญาติเสียชีวิตจะฝังศพไว้ในหลุมลึกเพื่อป้องกันไม่ให้ศพถูกเสือขุดขึ้นมากัดกิน มลาบรีเชื่อว่าถ้ามีศพใดถูกสัตว์ขุดขึ้นมา ผีของคนที่ตายจะกลายเป็นผีร้ายคอยหลอกหลอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่ (หน้า 47) นอกจากนี้มลาบรีไม่ปลูกพืชเพราะกลัวว่าจะเป็นการลบหลู่ผี (หน้า 45)

Education and Socialization

ไม่มี (ในหน้า 43 Seidenfaden แสดงความเห็นว่ามลาบรีมีสติปัญญาที่มีพัฒนาการน้อยและมีเพียงส่วนน้อยที่มีระดับสติปัญญาสูงกว่าระดับต่ำ)

Health and Medicine

ไม่พบว่ามลาบรีใช้ยาในการรักษาอาการเจ็บป่วย เมื่อการรักษาคือการบูชาผีและทำพิธีไล่ผี เช่นการเข้าผี (Khao phi) ซึ่งเป็นความเชื่อในสังคมลาว (หน้า 47) 

Art and Crafts (including Clothing Costume)

มลาบรีมีเพลงสั้นทำนองเสียงระดับเดียวฟังคล้ายกับเพลงของชาวขมุ ไม่พบว่ามีการใช้เครื่องดนตรี (หน้า 47)  

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          สันนิษฐานว่ามลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูล มอญ-เขมร เชื่อว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวในโลกหรือในเอเชียที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและไม่สวมใส่เสื้อผ้า (หน้า 47) มีลักษณะนิสัยเฉพาะคือ มีความระแวดระวังภัยสูง ตื่นตกใจง่าย (หน้า 41) ซื่อๆ และเชื่อคนง่าย (หน้า 43)

Other Issues

          งานชิ้นนี้ให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของมลาบรี โดยบันทึกว่า มลาบรีมีขาที่แข็งแรงเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ส่วนบนของร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์เท่าร่างกายส่วนล่าง มีผิวออกเหลืองเนื่องจากอยู่ในป่าลึกทึบไม่โดนแสงแดด (หน้า 42) ไม่มีขนรุงรังตามร่างกาย (หน้า 41) ไม่สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย ผู้ชายจะพันผ้าเพื่อปกปิดบริเวณสะโพกเมื่อเข้าไปในหมู่บ้าน รูปหน้ายาวเป็นรูปไข่ จมูกไม่มีดั้งแต่ส่วนปลายจมูกเด่นและรูจมูกค่อนข้างกว้าง ดวงตามีขนาดเล็กคมตามแบบตาของนักล่าและมีสีน้ำตาล ในส่วนตาขาวสีค่อนข้างเหลือง ดวงตาลอยคล้ายกับเพ้อฝันหรือเมากัญชา (หน้า 42) ปากกว้างแต่ริมฝีปากบางโดยริมฝีปากบนค่อนข้างเล็ก (หน้า 41) ฟันและกรามแข็งแรง ฟันซี่ยาว มีคนแก่หลายคนที่ฟังยังอยู่ครบถ้วน (หน้า 42) มีการแสดงออกทางสีหน้าคล้ายกับชาวแลปป์ (Lapps) หรือชาวซามิ (Sami) ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศสวีเดน (หน้า 41) ผมยาวตรงสีดำสนิทแต่เมื่อผมผ่านการเจอกับสภาพอากาศต่างๆก็จะมีสีอ่อนลง โดยผมสีเทานั้นจะเป็นสีผมที่พบได้ทั่วไปแม้กระทั่งในกลุ่มเด็กอายุน้อย ผมจะเต็มไปด้วยฝุ่นและแตกปลาย ผู้ชายจะไว้ผมยาวถึงไหล่ ส่วนผู้หญิงจะไว้ผมยาวถึงเอว (แต่มีระบุว่า Mr. T Wergeni เคยพบเจอแต่ผู้ชายเท่านั้น) (หน้า 42) ไม่พบว่ามีการทำให้ร่างกายผิดรูปผิดร่างตามความเชื่อใดๆ นอกจากการเจาะหูและการเจาะรูขยายติ่งหูด้วยการเสียบแท่งไม้ขนาดใหญ่ที่เหลาจากไม้หรือไม้ไผ่ที่ติ่งหู เมื่อรูขยายก็จะเปลี่ยนขนาดไม้ให้ใหญ่ขึ้นจนติ่งหูยาวลงมาจนถึงระดับไหล่ (หน้า 42) และมีคนจำนวนไม่มากนักที่สักร่างกาย (Tattooing) ตามอย่างคนลาว ลายสักเป็นเส้นแนวนอนหรือจุดต่อกันเป็นเส้นตรงหน้าผากไล่ไปตามแนวผมและเส้นอื่นๆยาวไปตามแนวขอบกรามและคาง การเจาะใบหูและการสักนั้นทำเพื่อการตกแต่งร่างกายเพียงอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมความเชื่อแต่อย่างใด (หน้า 42) 

Text Analyst พิมลวรรณ บุนนาค Date of Report 05 ส.ค. 2563
TAG มลาบรี, ความเชื่อ, การหาอาหาร, การรักษาโรค, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง