สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),กระบวนการเคลื่อนไหวของครูบา,สังคม,วัฒนธรรม,การเปลี่ยนแปลง,เชียงใหม่
Author ขวัญชีวัน ศรีสวัสดิ์
Title The Karen and The Khruba Khao Pi Movement : A Historical study of the response to the transformation in Northern Thailand.
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 206 Year 2531
Source A Thesis Present to The Faculty of The Graduate School Ateneo de Manila University.
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษาการนับถือครูบาขาวปี๋ของกลุ่มกะเหรี่ยง กระบวนการเคลื่อนไหวของครูบา และการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมทางภาคเหนือของไทย

Focus

ศึกษากระบวนการเคลื่อนไหวของครูบา โดยเฉพาะครูบาขาวปี๋ และอิทธิพลของครูบาที่มีต่อกะเหรี่ยง (หน้า 4)

Theoretical Issues

งานวิจัยนี้พยายามจะอธิบายให้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดกะเหรี่ยงจึงมีความศรัทธาต่อครูบาขาวปี๋ โดยการพิจารณาความสอดคล้องในเชิงอุดมการณ์ (Ideology) ของทั้งสองฝ่าย ทางฝ่ายกะเหรี่ยงโปว์ซึ่งมีอุดมการณ์นับถือผี และอาศัยอยู่ในท้องถิ่นล้านนามาช้านาน มีความสัมพันธ์กับชาวล้านนาและได้คุ้นเคยกับพุทธศาสนาแบบล้านนา ส่วนทางฝ่ายครูบาเองแม้จะเป็นพุทธก็เป็นแบบล้านนา ซึ่งมีองค์ประกอบในเรื่องผีอยู่ด้วยจึงไม่แตกต่างกันมากนัก (หน้า 167-168) เมื่อกะเหรี่ยงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ชีวิตกะเหรี่ยงตกต่ำทั้งในแง่เศรษฐกิจและความเป็นอิสระทางการเมืองที่ลดน้อยลง กะเหรี่ยงจึงหันไปยึดถือครูบา เพราะอุดมการณ์ครูบาสามารถครอบงำกะเหรี่ยงได้ในหลายแง่มุม เช่น ในทางการเมืองครูบาและกระบวนการของครูบาเป็นตัวแทนของสังคมดั้งเดิม ในการต่อต้านอำนาจรัฐและอำนาจสงฆ์ส่วนกลาง อีกทั้งยังยอมรับกะเหรี่ยง ส่วนเชิงศีลธรรมครูบาก็เป็นบุคคลที่มีบุญและอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เหนือกว่าผีของกะเหรี่ยงเองและยังสามารถทำนายทายทักสภาวะสังคมและเหตุการณ์ข้างหน้าซึ่งผีของกะเหรี่ยงมิอาจทำได้ (หน้า 169-170)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มกะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่ฉาง Mae Chang อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดเชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ผู้เขียนกล่าวถึงคำอธิบายศัพท์ คำเมือง ทางภาคเหนือของไทย ไม่ปรากฎข้อมูลทางระบบภาษาศาสตร์ (หน้า XI)

Study Period (Data Collection)

การศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ ค.ศ.1986 และการศึกษาภาคสนาม มิถุนายน - ธันวาคม ค.ศ. 1987

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมทางภาคเหนือของไทย ซึ่งมีอีกชื่อเรียกหนึ่ง คือ ล้านนา หมายถึงล้านไร่นา อาณาจักรล้านนารวมพื้นที่ 8 จังหวัดทางภาคเหนือคือ เชียงใหม่, ลำปาง, ลำพูน, เชียงราย, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, แพร่, และน่าน อาณาจักรล้านนาก่อตั้งโดยพระยามังรายในปี ค.ศ.1292 ราชวงศ์มังราย ปกครองล้านนา 266 ปี (1292-1558) หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1558 ล้านนาได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพม่ายาวนานกว่า 200 ปี (1558-1774) ภายหลังพระยากาวิละได้กอบกู้อิสระภาพจากพม่าและนำล้านนาเข้าเป็นประเทศราชของไทยในสมัยธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 (ค.ศ. 1776) พระยากาวิละได้รับตำแหน่ง เจ้าพระยาเทศาราช ปกครองล้านนา ราชวงศ์ของเจ้ากาวิละเข้าปกครองล้านนาจนกระทั่งปี ค.ศ.1886 ซึ่งส่งผลให้ผู้ครองนครเชียงใหม่เดิมหมดอำนาจและบทบาทลง (หน้า 24-26) กลุ่มคนส่วนใหญ่ในล้านนาถูกเรียกว่า "ไทยวน" (Thai Yuen) ซึ่งสืบเนื่องมาจากอาณาจักรดั้งเดิมคือ โยนก สร้างโดยพระยามังราย คนยวนอาศัยในดินแดนแถบนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากยวนยังมีกลุ่มคนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่เช่น ลัวะ Lua, Lao, Chao, Tai, Man, Meng (มอญจากอาณาจักรหริภุญชัย) ลัวะ ถือได้เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมปัจจุบันอาศัยอยู่ตามหุบเขา พื้นที่ อำเภอฮอด, อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดเชียงใหม่และแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 27) สำหรับกะเหรี่ยงมีสองกลุ่มย่อย คือ โปว์และ สกอร์ กะเหรี่ยงโปว์มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานทางภาคเหนือของไทยยาวนานกว่า ดังหลักฐานปรากฎว่า พระยากาวิละได้จัดระเบียบการปกครองและการตั้งถิ่นฐาน ของก กะเหรี่ยงโปว์ในเชียงใหม่และลำพูนเมื่อ 200 ปีมาแล้ว หลายงานวิจัยสันนิษฐานว่า กะเหรี่ยงโปว์ได้อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทยประมาณ 150-300 ปีมาแล้ว กะเหรี่ยงโปว์ ในหมู่บ้านห้วยลา จังหวัดลำพูน เชื่อว่า พวกเขาอพยพมาทางเทือกเขาขุนยวม ผ่านจอมทองและตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยลามาเป็นเวลา 400 ปีมาแล้วหรือมากกว่า 5 ชั่วอายุคน กะเหรี่ยงโปว์ ในแม่สะเรียง อาศัยอยู่ในหุบเขาลึก ขนาบด้วยลัวะ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนดั้งเดิม สำหรับ กะเหรี่ยงสกอร์ ได้เข้ามามีความสัมพันธ์ในภายหลัง และเข้ามาอาศัยภายในเมือง Kunstandter (1969:69) ผู้วิจัยชุมชนกะเหรี่ยงสกอร์ ในบ้านห้วยเปิง (Huai Phueng) อำเภอแม่สะเรียงพบว่า กะเหรี่ยงสกอร์ อพยพมาจากทางตะวันตกประมาณ 100-150 ปีมาแล้ว (หน้า 76-77) ผู้วิจัยได้ศึกษาภาคสนามชุมชนกะเหรี่ยงสกอร์ ในหมู่บ้านแม่ฉางซึ่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาว่าชุมชนได้มีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในบริเวณนี้มากว่า 200 ปีมาแล้ว หมู่บ้านห่างจากถนนหลังประมาณ 17 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองแม่สะเรียง 10 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 70 ครัวเรือน (หน้า 83)

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงโดยทั่วไปอาศัยอยู่ในบริเวณหุบเขา 1,000 เหนือระดับน้ำทะเล ในบริเวณเทือกเขาขุนยวม (Khun yuam) และบริเวณ แม่น้ำปิง ภาพแสดงสภาพพื้นที่ Figure 2 (หน้า 74)

Demography

ตารางข้อมูลกลุ่มชาติพันธ์บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทยในปี ค.ศ. 1986-1987 (หน้า 75) กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือดังนี้ เชียงรายมี 5,458 คน เชียงใหม่ 88,161 คน แพร่ 7,992 คน แม่ฮ่องสอน 67,516 คน ลำปาง 2,923 คน ลำพูน 21,329 คน

Economy

กลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ Pwo ในหมู่บ้านแม่ฉางส่วนใหญ่ทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน หรือการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจะถางเอาต้นไม้เล็กและพุ่มไม้ออก และพื้นที่จะถูกใช้เป็นเวลา 1 ปี แล้วปล่อยทิ้งไว้ 5 ปี หรือมากกว่าให้ต้นไม้ใหญ่และพุ่มไม้ได้เจริญเติบโตต่อไป พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดเป็นของหมู่บ้าน แต่คนสุดท้ายที่ออกจากพื้นที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเจ้าของพื้นที่แห่งนั้น ถ้าผู้อื่นต้องการใช้พื้นที่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของก่อน ครอบครัวส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ใกล้กันเนื่องจากเป็นการง่ายในการดูแลที่ดิน สามารถให้คนในครอบครัวทำงานร่วมกันได้และสามารถแลกเปลี่ยนแรงงานกันได้สะดวก คน 1 คนอาจจะมีที่ดิน 1 ถึง 13 ผืน ปกติผู้ที่มีที่ดินมากกว่า 8 ผืนจะเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางเครือญาติกับหัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้นำทางพิธีกรรม (หน้า 87,89) การถางไร่จะเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์แล้วเผาในเดือนเมษายน หลังจากนั้นจะเตรียมการปลูกข้าว ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ส่วนใหญ่กะเหรี่ยงที่แม่ฉางกินข้าวเจ้า ส่วนข้าวเหนียวจะใช้ในงานประเพณี ปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนเป็นระยะเวลาสำหรับเก็บเกี่ยว ข้าวเปลือกจะถูกเก็บไว้ในยุ้งฉางในเดือนธันวาคม นอกจากข้าวแล้วยังมีการเพาะปลูก ข้าวโพด, พริก, ถั่ว, ยาสูบ และผักต่าง ๆ ถ้าอยู่ในพื้นที่เป็นระยะเวลานานจะปลูกต้นไม้พวกขนุน, มะม่วง, และมะขามเป็นต้น (หน้า 87-90) ในช่วงศตวรรษที่ 20 การทำไร่ไม่สามารถย้ายที่ทำกินและปล่อยพื้นที่ให้เว้นว่างไว้ได้เหมือนดังเดิม เมื่อจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้นในหมู่บ้านทำให้มีพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอ นอกจากนี้ในหมู่บ้านแม่สะเรียงม้งได้เข้ามาซื้อที่ดินของกะเหรี่ยงแต่ไม่ยอมจ่ายเงิน ทางรัฐก็เพิกเฉยไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือจัดการ จนก่อให้เกิดปัญหาขึ้น นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับกรมป่าไม้เนื่องจากการขยายที่ดินทำกินในส่วนที่รัฐประกาศให้เป็นป่าสงวน (หน้า 101) ในปี ค.ศ.1964 หน่วยงานพัฒนาชาวเขาของรัฐได้จัดโครงการสำหรับพัฒนาการเกษตรกรรมในพื้นที่แม่ฉางและส่วนอื่นๆ โดยส่งเสริมการปลูกพืช เช่น การทำนา และพืชเศรษฐกิจ อาทิเช่น กาแฟ ยาสูบ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก มีเพียง 5 ครอบครัวจากทั้งหมด 70 ครอบครัว ทำการทำลองปลูกข้าว (wet rice) สาเหตุที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากความไม่เหมาะสมของความหลากหลายของพันธุ์พืช การใช้น้ำ และต้องใช้แรงงานมากกว่าในการผลิต ซึ่งกะเหรี่ยงแม่ฉางมีความเห็นว่าการปลูกข้าว (wet rice) ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตน สำหรับ พืชเศรษฐกิจ ยาสูบ และกาแฟ มีการเพาะปลูกในพื้นที่ กะเหรี่ยงสกอร์ (Skaw) หลายหมู่บ้าน และในหมู่บ้านแม่ฉางมี Pha Jolo ซี่งได้ทำการเพาะปลูกกาแฟ แต่เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ราคาไม่ดี นอกจากนี้สภาพของการติดฝิ่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของกะเหรี่ยงให้เป็นไปยากลำบากยิ่งขึ้น (หน้า 102-104)

Social Organization

กะเหรี่ยงโปว์ มีการนับญาติทางฝ่ายมารดา (หน้า 82) กะเหรี่ยงแม่ฉาง มีกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ในวิธีของตนเอง เช่น เด็กผู้หญิงเรียนรู้การทำงานบ้าน ถักเย็บ จากมารดา เด็กผู้ชายออกไปข้างนอกกับบิดา เรียนรู้การล่าสัตว์ ทำไร่ เป็นต้น (หน้า 107)

Political Organization

หมู่บ้านกะเหรี่ยงโปว์ ที่แม่ฉางมีผู้นำ 2 แบบคือ 1. ผู้นำหมู่บ้าน (Chai Kei Khu) เป็นผู้ชายและเป็นหัวหน้าในการประกอบพิธีทางศาสนาภายในหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้านจะต้องเป็นผู้มีพฤติกรรมที่ดีรวมถึงพฤติกรรมที่ดีของสมาชิกภายในครอบครัวผู้นำด้วยเช่นกัน ผู้นำจะมีหน้าที่ในการเลือกสถานที่ตั้งหมู่บ้านและที่สำคัญที่สุดคือเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรมสำคัญในหมู่บ้าน การสืบทอดผู้นำหมู่บ้านผ่านทางสายเลือดโดยลูกชายคนโตจะเป็นหัวหน้าแทนพ่อ 2. ผู้นำทางพิธีกรรม (Ther Mue Khae Khu) เป็นผู้หญิงสูงอายุซึ่งมีสายเครือญาติกับวิญญาณบรรพบุรุษ มีหน้าที่ในการรักษาผู้เจ็บป่วยในชุมชน นอกจากผู้นำทั้งสองยังมีผู้อาวุโสในชุมชนช่วยเหลือและแนะนำในการปกครอง ผู้อาวุโสจะมีการนัดพบเมื่อเกิดปัญหาภายในหมู่บ้านเพื่อหาวิธีจัดการ (หน้า 83-86) การเคลื่อนไหวทางการเมือง : ก่อนศตวรรษที่ 20 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยภาคกลางและไทยภาคเหนือเป็นไปในแบบที่มีระบบของตัวเอง ราชวงศ์ทางภาคเหนือมีอำนาจในการปกครองดินแดน ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและล้านนาขาดระยะเมื่อล้านนาขึ้นต่อพม่า สังคมในขณะนั้นมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ สำหรับในด้านศาสนา ทางภาคเหนือมีระบบศาสนาที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองภายใต้ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และพิธีกรรมแบบยวนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์และผู้ปกครองแคว้น หนังสือธรรมะถูกแต่งขึ้นโดยใช้ตัวหนังสือยวนและมีแบบปฏิบัติในลักษณะประเพณีดั้งเดิมของยวนล้านนา หนังสือะรรมะได้ถูกสร้างขึ้นและสร้างขึ้นใหม่เพิ่มความเชื่อการคงอยู่ของพุทธเจ้าการมาของพระศรีอาริยะ และพระธรรมาหรือ ต้นบุญ (หน้า 71) อย่างไรก็ตาม ล้านนาไม่ได้เชื่อแต่เพียงศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเท่านั้นยังเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายาน และนิกายพรามัน (Brahmanism) และความเชื่อเรื่องผีซึ่งส่วนใหญ่รับมาจากพม่า เนื่องจากมีความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและพม่ากว่า 200 ปี การขาดหายไปของคณะผู้ปกครองสงฆ์ทางภาคเหนือในศตวรรษที่ 20 ความเป็นผู้นำทางศาสนาและการปฏิบัติยังคงได้รับการสืบทอดในหลากหลายผู้นำตามแต่ละพื้นที่และในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่ การเข้ามาจัดระเบียบของรัฐไทย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราชวงศ์ทางภาคเหนือและผู้คนในสังคม และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวใน 2 รูปแบบ คือ การเกิดจลาจลและการเคลื่อนไหวทางศาสนา การจลาจลเกิดขึ้นจาก Phya Phab และ Shan Revolts ทำตัวออกห่างซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครอง สำหรับการเคลื่อนไหวทางศาสนาเห็นได้เด่นชัดในการเคลื่อนไหวของครูบาศรีวิชัยได้เริ่มขึ้น (หน้า 72-73)

Belief System

ความเชื่อดั้งเดิมของกะเหรี่ยงโปว์ ในแม่ฉาง เป็นการนับถือผี (Animism) ที่สำคัญ เช่น ผีบรรพบุรุษ เทพผู้คุ้มครอง (Guardian sprits) ซึ่งอาศัยอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น เจ้าป่า, เทพเจ้าแห่งน้ำ, เทพผู้คุ้มครองที่ดินปลูกข้าว, เทพเจ้าแห่งการเดินทาง เป็นต้น จะมีเทศกาลประจำปีโดยผู้นำหมู่บ้านเป็นผู้จัดเตรียมในราวเดือนมกราคม และในเดือนมิถุนายน (หน้า 91) ในปี ค.ศ.1965 รัฐบาลได้จัดโครงการ ธรรมจาริก ในการเผยแพร่พุทธศาสนาให้กับกลุ่มชาวเขาเพื่อนำไปสู่ความเป็นไทย แต่โครงการไม่ได้รับความสนใจเท่าไรนัก เนื่องจาก พระสงฆ์ไม่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมของกะเหรี่ยง ทำให้การเผยแพร่ไม่เกิดผลและไม่ได้รับความสนใจจากกะเหรี่ยง (หน้า 108) สำหรับการนับถือครูบา ของกะเหรี่ยงได้เกิดขึ้นตั้งแต่การนับถือครูบาศรีวิชัย จนกระทั่งถึงครูบาขาวปี๋ และครูบาอื่น ๆ ต่อมา กะเหรี่ยงมีความเข้าใจและนับถือครูบาเป็นเสมือนเทพเจ้าของพวกเขา (The lord of the guardian spirits) ซึ่งเป็นเทพในความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มกะเหรี่ยง (หน้า 113) ครูบา ตามระบบความเชื่อพุทธศาสนาในภาคเหนือ คือ ผู้ทรงศีลและเป็นผู้ที่อยู่ในข้อระเบียบทางศาสนาอย่างเคร่งครัด (หน้า 1) ครูบาผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในล้านนาคือครูบาศรีวิชัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำพุทธศาสนาในแบบล้านนา สิ่งที่สร้าง ชื่อเสียงให้กับครูบาศรีวิชัยคือ การเดินเท้าจากเชิงดอยสุเทพขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพใช้เวลา 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1934 - 30 เมษายน ค.ศ.1935 ในการเดินทางครั้งนี้มีผู้คนทั้งคนเมืองและชาวเขาไม่ต่ำกว่า ห้าพันคนเข้าร่วมทุกวัน พวกเขาเข้าร่วมเนื่องจากมีความเชื่อความศรัทธาต่อครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี๋ ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของครูบาศรีวิชัย (หน้า 2) ภายหลังครูบาศรีวิชัยในปี ค.ศ.1938 ครูบาขาวพีได้มีบทบาทเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวต่อ (หน้า 125) นอกจากกลุ่มกะเหรี่ยง ครูบายังเป็นที่รู้จักในกลุ่มลัวะ ฉาน มอญ และชาวพม่า เช่นกัน (หน้า 148) ภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรมกะเหรี่ยงทั้งด้านวัตถุและจิตวิญญาณ แบบประเพณีดั้งเดิมทางภาคเหนือของไทยและ ความเชื่อเทพเจ้าของกะเหรี่ยงครูบาได้เข้ามานำเสนอใหม่ และตอกย้ำสนับสนุนผ่านครูบา ซึ่งทำให้กะเหรี่ยงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวของครูบา (หน้า 119-120)

Education and Socialization

โรงเรียนได้ถูกสร้างขึ้นในหมู่บ้านแม่ฉาง หลังปี ค.ศ.1964 และกลายเป็นโรงเรียนประถมศึกษาภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการในปี 1973 การศึกษาในโรงเรียนไม่ได้รับความสนใจจากกะเหรี่ยงมากนัก เด็ก ๆ มาโรงเรียนในช่วงเวลาว่างจากงานไร่ หรือไม่ได้ช่วยงานพ่อแม่ และหยุดเรียนช่วงที่มีพิธีกรรมภายในหมู่บ้านและในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ภายหลังจบประถมปีที่ 4 ไม่มีใครศึกษาต่อส่วนใหญ่จะออกไปทำไร่กับครอบครัว (หน้า 105-106)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานเล่าถึงสองพี่น้องต้องการเป็นพุทธเจ้า พวกเขามีความเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ได้เห็นดอกบัวปรากฎใกล้ตนจะได้เป็นพุทธเจ้าองค์ต่อไป ทั้งสองนั่งลงทำสมาธิ น้องชายซึ่งมีความอิจฉาและเต็มไปด้วยเล่ห์อุบาย ได้เปิดตาเนื่องจากกลัวว่า ดอกบัวจะปรากฏขึ้นที่พี่ชาย และเมื่อดอกบัวปรากฎจริง น้องชายได้ขโมยไปและวางไว้ใกล้ที่ตน ด้วยเหตุนี้ น้องชายจึงได้เป็นพุทธเจ้า ซึ่งได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายเต็มไปด้วยความชั่วร้ายภายในสังคม ผู้คนต้องอดทนและรอคอยการเกิดขึ้นของพุทธเจ้าองค์ใหม่ผู้ซึ่งควรจะเป็นพี่ชายคนโตในตำนาน ตำนานเรื่องนี้ได้แสดงแนวคิดและอัตลักษณ์ของกะเหรี่ยงซึ่งเป็นเหมือนพี่ชายในตำนาน กะเหรี่ยงเชื่อว่าเขาเป็นพี่คนโตของกลุ่มชาติพันธ์ทั้งหมดทางภาคเหนือของไทย ซึ่งสามเหตุนี้เองที่ทำให้พวกเขาจนและไม่มีบ้านเมืองของตนเอง (หน้า 119)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนพื้นที่ราบและกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงเป็นไปในระบบเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนสิ่งของ ของป่ากับเครื่องมือเครื่องใช้ในเมือง หรือ พวกงานหัตถกรรม เป็นต้น กะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่ฉางมีความสัมพันธ์กับกลุ่มลัวะในหมู่บ้านขุนวง ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียง มีการแต่งงานระหว่างกัน โดยส่วนใหญ่ประชากรเป็นเชื้อชาติผสม (หน้า 80) ประวัติศาสตร์ความเป็นมากล่าวถึงผู้คนในบริเวณภาคเหนือของไทย กลุ่มคนพื้นราบ และกลุ่มคนบนพื้นที่สูงมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมายาวนานทั้ง คนเมือง ลื้อ ลัวะ กะเหรี่ยง ขมุ และฉาน ในฐานะเพื่อนบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะ กะเหรี่ยงและลัวะ บ่อยครั้งที่มีการพูดถึงในฐานะผู้คนในพื้นที่เดียวกันหรือถือว่าเป็นกลุ่มเครือญาติกัน (หน้า 81) ผู้คนที่มีสายเลือดครึ่ง ลัวะ และกะเหรี่ยง ยังคงนับถือศาสนา ความเชื่อแบบดั้งเดิมของลัวะและกะเหรี่ยงไว้ และมีความเชื่อว่าตนเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมของล้านนา ความเชื่อเหล่านี้ถูกตอกย้ำโดยครูบาศรีวิชัย และครูบาขาวพี และได้ส่งทอดไปสู่กลุ่มกะเหรี่ยงในแม่ฉาง กะเหรี่ยงทุกคนพูดถึงประวัติศาสตร์ของลัวะป็นเหมือนประวัติศาสตร์ของกลุ่มตนเช่นกัน (หน้า 166)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมภาคเหนืออันเกิดจากแนวคิดการเป็นศูนย์กลางของรัฐ (Centralized) การเข้ามามีบทบาทจัดการของรัฐจากภาคกลางส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของครูบาศีวิชัยและผู้คนที่นับถือครูบาทั้งชาวพื้นราบ และกลุ่มคนบนพื้นที่สูง (หน้า 174) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากรัฐส่งผลกระทบต่อชุมชนแม่ฉาง อาจจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ไม่พอใจในโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูกข้าว ซึ่งไม่สอดคล้องกับพื้นที่ของกะเหรี่ยง ทำให้เกิดการเพิกเฉยและไม่สนใจเจ้าหน้าที่รัฐในขณะที่รัฐเรียกพวกนี้ว่า พวกหัวหมอ ส่วนใหญ่กลุ่มคนกลุ่มนี้นับถือครูบาขาวพี (หน้า 110-111) กลุ่มที่ 2 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาล ได้รับการสนับสนุนในการทำมาหากินจากรัฐมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ากลุ่มที่ 1 บางคนได้เข้าไปทำงานในองค์กรต่างๆ ของรัฐ กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับครูบา และเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมัยใหม่ได้ดีกว่ากลุ่มอื่น กลุ่มที่ 3 ถือเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีลักษณะแตกแยก บางคนไม่สนใจติดต่อกับรัฐและพยายามหลีกเลี่ยง บางกลุ่มเข้าร่วมโครงการกับรัฐ กลุ่มนี้ไม่สนใจความเคลื่อนไหวของครูบา แต่ก็ไม่ถึงกับไม่พอใจ และเป็นกลุ่มที่มีการติดฝิ่นมากที่สุด สังเกตได้ว่ากลุ่มที่ไม่ยอมรับรัฐมากที่สุดเป็นกลุ่มที่ให้ความนับถือในครูบาและกลุ่มกะเหรี่ยงที่ไม่นับถือครูบามีความสัมพันธ์กับรัฐที่ดีกว่า (หน้า 112)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพแสดงสภาพพื้นที่ Figure 2 (หน้า 74) ตารางข้อมูลกลุ่มชาติพันธ์บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทยในปี ค.ศ. 1986-1987 (หน้า 75) ตารางแสดงพื้นที่ทางภาคเหนือของไทย (หน้า 77) แผนที่ตั้งหมู่บ้านแม่ฉางและสภาพโดยรอบ (หน้า 84)

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), กระบวนการเคลื่อนไหวของครูบา, สังคม, วัฒนธรรม, การเปลี่ยนแปลง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง