สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,เศรษฐกิจ,การเปลี่ยนแปลง,ความขัดแย้ง,เชียงใหม่
Author Renard, Ronald D.
Title The Monk, the Hmong, the Forest, the Cabbage, Fire and Water: Incongruities in Northern Thailand Opium Replacement.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 8 Year 2537
Source Law & Society Review, Volume 28, Number 3, pp.657-664.
Abstract

ในกลางทศวรรษ 1980 หมู่บ้านม้งที่ป่ากล้วย ได้กลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งระหว่างม้งกับคนไทยพื้นราบ ซึ่งนำโดยพระภิกษุ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงไทยนอรเวย์ และกรมป่าไม้ของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เนื่องจากความพยายามในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของม้งให้หันมาปลูกกะหล่ำปลีเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งต้องใช้ระบบส่งน้ำ ปุ๋ย สารเคมี และยาฆ่าแมลง ทำให้คนพื้นราบ ซึ่งอยู่ปลายน้ำไม่พอใจ และโทษว่า ม้งเป็นต้นเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อม เผาป่า และก่อให้เกิดมลภาวะในน้ำ จึงร่วมกันประท้วงขับไล่ให้ม้งย้ายไป โดยมีพระพงษ์ศักดิ์เป็นแกนนำ มีการล้อมรั้วลวดหนามแบ่งกั้นม้งออกจากคนไทยพื้นราบ และประท้วงให้ย้ายม้งไป แต่เนื่องจากไม่มีพื้นที่อื่น ม้งจึงยังคงอยู่ต่อไป

Focus

ศึกษาปัญหาความขัดแย้งระหว่างม้งที่บ้านป่ากล้วยและคนพื้นราบที่อยู่ปลายน้ำ และการเข้ามาจัดการกับปัญหานี้ของ 3 เสาหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

Theoretical Issues

ผู้เขียนเสนอว่า การส่งเสริมของโครงการต่าง ๆ ให้ม้งเปลี่ยนมาปลูกกะหล่ำปลีและพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ตลอดจนการย้ายถิ่นฐานม้งจากบริเวณที่เคยทำไร่หมุนเวียน ซึ่งกลายเป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์ป่ามาอยู่ที่บ้านป่ากล้วยนั้น ทำให้เกิดความขัดแย้งต่อต้านจากชาวบ้านในบริเวณที่ต้องใช้น้ำในพื้นที่ต่ำลงมา ปัญหานี้มิใช่เป็นเพียงความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ผู้เขียนต้องการชี้ว่านี่เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในทัศนคติเกี่ยวกับกลุ่มคนที่อาศัยในป่าและพื้นที่สูง อันสืบเนื่องมาจากการก่อตัวของสามสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในการก่อตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความคิดว่าด้วยการเป็นพลเมืองไทย (น.657- 658)

Ethnic Group in the Focus

ม้ง

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ เป็นการศึกษาจากเอกสาร

History of the Group and Community

ในทศวรรษ 1930 ม้ง (ที่ป่ากล้วย) อพยพมาที่ อ.จอมทอง ห่างออกไป 60 ก.ม. ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเชียงใหม่ และตั้งถิ่นฐานอยู่ห่างจากบริเวณหมู่บ้านปัจจุบัน 5 ก.ม. จนทศวรรษ 1970 จึงได้ย้ายมาที่ป่ากล้วย (น.662)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

โครงการผลิตภัณฑ์และการตลาดทางการเกษตรบนพื้นที่สูง ได้เข้ามาสนับสนุนให้ม้งที่บ้านป่ากล้วยปลูกพืชอื่นทดแทนฝิ่น โดยให้เมล็ดพันธุ์ไปเพาะปลูก และรับซื้อผลผลิต แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จนักเพราะฝิ่นสร้างรายได้ให้มากกว่าพืชอื่น ๆ มีขนาดเล็กสะดวกในการขนส่งผ่านพื้นที่ป่าเขาได้โดยไม่บอบช้ำเสียหาย ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีดินน้อย มีคุณค่าเป็นยาด้วย ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นดังเช่นพืชอื่น ๆ ในระหว่างปี 1980-1984 ที่ HAMP เข้าไปนั้น ไม่สามารถจะลดการปลูกฝิ่นได้มากนัก โครงการพัฒนาของไทย-นอรเวย์ (TN-HDP) เข้ามารับช่วงต่อในปี 1984 รัฐบาลได้เข้าไปทำลายไร่ฝิ่นในป่ากล้วยและจับกุมผู้ปลูก ชาวบ้านหันมาปลูกกะหล่ำปลีทดแทน และเหลือเพียงปลูกฝิ่นเล็กน้อยเพื่อใช้เอง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่พืชที่โครงการสนับสนุน ม้งทำตามอย่างม้งที่แม่โถ และแม่วัน มีรถบรรทุกมารับผลผลิตจากหมู่บ้านส่งไปขายกรุงเทพฯ ทำรายได้มากพอ ๆ กับฝิ่น การปลูกกะหล่ำปลีจำนวนมากทำให้มีการใช้ยาฆ่าแมลง และทำระบบชลประทาน ติดตั้งสปริงเกอร์รดน้ำ จนปี 1985-86 ชาวไทยพื้นราบที่อยู่ปลายน้ำเริ่มสังเกตถึงกระแสน้ำที่ลดลง และมีมลพิษจากสารเคมีที่ม้งใช้

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

สมัยรัชกาลที่ 5 แม้จะเริ่มมีกระบวนการทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ กลายเป็นพลเมืองไทย เช่น ร.5 เสด็จเยี่ยมกะเหรี่ยงตามชายแดนตะวันตก และสร้างสัมพันธ์กับผู้นำโดยให้ทำหน้าสอดแนมข่าวบริเวณชายแดน อย่างไรก็ตาม สมัย ร.6 เมื่อมีความชัดเจนเรื่องอาณาเขตประเทศ ผู้นำไทยก็หมดความสนใจ (น.661-662) ชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่บนที่สูงและห่างไกลก็ยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ บางกลุ่มยังไม่ได้เป็นพลเมืองสัญชาติไทย จนกระทั่งปี ค.ศ.1896 จึงมีการตั้งกรมป่าไม้ โดยจ้างชาวอังกฤษมาดูแล เพื่อแก้รวมศูนย์อำนาจแก้ปัญหาการให้สัมปทานทำไม้แก่บริษัทต่างชาติซ้ำซ้อนกันของเจ้าเมืองทางเหนือ ปี 1913 รวบอำนาจให้การตัดไม้ทุกชนิดอยู่ความดูแลของกรมป่าไม้ ปี 1938 ออกกฎหมายป่าสงวน ตามแนวคิดที่ต้องกันคนออกจากป่า จึงเกิดความขัดแย้งกับคนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในป่า ทำไร่หมุนเวียน เก็บของป่า ล่าสัตว์ ปี 1985-86 ได้มีการกำหนดโซนบริเวณลุ่มน้ำในภาคเหนือ ห้ามทำกิจกรรมที่จะก่อผลกระทบต่อป่าและทรัพยากรธรรมชาติ มีการแบ่งระดับตามคุณภาพ เช่น พื้นที่ที่ต้องอนุรักษ์ เป็นระดับ 1 A ไปจนถึงพื้นที่หุบเขาที่มีคนอาศัยอยู่เป็นระดับ 5 เป็นการเข้าควบคุมพื้นที่ป่าทั้งหมดของรัฐ ทำให้เส้นแบ่งเดิมที่แยกคนเมืองกับคนป่าหมดไป เหลือเป็นเพียงประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศ และแบ่งเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยกับคนต่างด้าวเท่านั้น (658-660) ทศวรรษ 1950 เริ่มมีการต่อสู้ตามชายแดน ม้งและชาวเขาเริ่มถูกมองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในแง่ความมั่นคง ปี 1959 รัฐบาลไทยกำหนดให้การปลูกฝิ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ม้งและชาวเขาเริ่มถูกมองว่าเป็นตัวปัญหาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งนี้เพราะแต่งตัวต่างไป ไม่ได้พูดภาษาไทย มีชีวิตที่ต่างไปจากคนไทยพื้นราบ โดยเฉพาะการเพาะปลูกโดยเผาถางป่า จึงมีการตั้งหน่วยงานเฉพาะของรัฐขึ้นจัดการกับคนกลุ่มนี้ เพื่อให้ม้งเลิกปลูกฝิ่นและมีความภักดีต่อชาติ จึงเกิดโครงการพัฒนาปลูกพืชทดแทนขึ้นในปี 1973 ในนามของ HAMP โดยใช้เงินของสหประชาชาติ ป่ากล้วยก็เป็นหมู่บ้านที่เข้าโครงการด้วย (น.662) ม้งบ้านป่ากล้วยหันมาปลูกกะหล่ำปลีเพื่อส่งขายกรุงเทพฯ มีการใช้ยาฆ่าแมลง และทำระบบชลประทานกั้นน้ำ จนเกิดความขัดแย้งกับคนไทยพื้นราบที่อยู่ปลายน้ำซึ่งได้รับผลจากกระแสน้ำที่ลดลง มลพิษทางน้ำ และเห็นว่าม้งไม่ใช่คนไทย ควรจะถูกขับไล่ไปจากป่ากล้วย เกิดความโกรธแค้นจะเข้าไปเผาทำลายหมู่บ้าน (น.663) (ไม่ได้ระบุปี คาดว่าเหตุเกิดหลังปี 1986-ผู้สรุป) พระพงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม (ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุ พบว่ามีการตัดไม้และทำถนนโดยม้งและคนพื้นราบ จึงริเริ่มตั้งมูลนิธิธรรมนาทขึ้นในปี 1983 เพื่ออนุรักษ์ป่า เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทเคลื่อนไหวทางสังคมให้รักษาป่า) (น.661) ได้พยายามจะลดความโกรธของชาวบ้านด้วยการระดมทุนมาสร้างรั้วลวดหนามยาว 14 กม.ตามบริเวณลุ่มน้ำกั้นระหว่างม้งกับคนพื้นราบ (น.663) แม้ว่าจะเกิดความขัดแย้ง แต่โครงการ TN-HDP ก็ยังดำเนินต่อ ข้อพิพาทว่าม้งถางพื้นที่ป่าใหม่นั้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะตามระบบเดิมนั้น ม้งเพาะปลูกหมุนเวียน โดยจะปลูกพืชในบริเวณเดิม 1-2 ปี แล้วพักไว้ให้ป่าฟื้นตัว อีก 7-8 ปีจึงกลับมาเพาะปลูก ณ ที่นั้นอีก แต่สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ไม่เข้าใจ ก็จะคิดว่าป่านั้นเป็นป่าดั้งเดิมที่ถูกบุกรุกโดยม้ง (น.663-664) เจ้าหน้าที่ในเชียงใหม่พยายามแก้ปัญหานี้ โดยเสนอให้ย้ายม้งไปอยู่ในพื้นที่อื่น มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมป่าไม้ประกาศว่า ป่ากล้วยจะเป็นหมู่บ้านแรกที่ถูกโยกย้าย แต่เพราะไม่มีพื้นที่อื่นอีกแล้ว ม้งจึงยังอยู่ที่ป่ากล้วย ต่อมาพระพงษ์ศักดิ์เริ่มป่วย และมีข่าวลงหนังสือพิมพ์ว่า ยุ่งเกี่ยวกับสีกา ได้ลาสิกขาบท แต่ยังคงนุ่งห่มขาว เมื่อขาดผู้นำในการต่อต้านม้ง ม้งก็ยังคงปลูกกะหล่ำปลีอยู่บนเขาต่อไป (น.664)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

มีการตั้งโรงเรียนประถมขึ้นที่บ้านป่ากล้วย สอนด้วยภาษาไทยภาคกลางเพื่อให้เด็กม้งพูดไทยได้ และเรียนรู้ที่จะคิดเหมือนคนพื้นราบ โดยหวังว่าในอนาคตเมื่อม้งกลายเป็นไทยมากพอ (Thai-ized) ก็จะมีความสัมพันธ์กับคนพื้นราบและแก้ปัญหาความขัดแย้งของตนเองกับสังคมภายนอกได้ (น.664)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งมีการแต่งกายที่ต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งพูดสื่อสารภาษาไทยไม่ค่อยได้ และไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ รวมทั้งมีวิธีเพาะปลูกที่แตกต่างไป (น.663) ดังนั้น จึงทำให้คนไทยพื้นราบรู้สึกว่าม้งไม่ใช่คนไทย ในทางเชื้อชาติและศาสนา แต่สำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว การให้โอกาสม้งในการเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปถือเป็นการผูกใจให้ม้งจงรักภักดี (น.662)

Social Cultural and Identity Change

โครงการพัฒนาต่าง ๆ และนโยบายของรัฐบาลที่สั่งทำลายไร่ฝิ่นและจับกุมผู้ปลูก ทำให้ม้งบ้านป่ากล้วยหันมาปลูกกะหล่ำปลีเพื่อส่งขายกรุงเทพฯ มีการใช้ยาฆ่าแมลง และทำระบบชลประทานกั้นน้ำ จนเกิดความขัดแย้งกับคนไทยพื้นราบที่อยู่ปลายน้ำ

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, เศรษฐกิจ, การเปลี่ยนแปลง, ความขัดแย้ง, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง