สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มุสลิม,ตลาดชายแดนไทย-พม่า,วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ,พหุสังคม,การธำรงชาติพันธุ์,ตาก
Author จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง
Title ชุมชนมุสลิมในตลาดชายแดนไทย-พม่า : สัมพันธภาพระหว่างพหุสังคม วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ และการธำรงชาติพันธุ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Total Pages 208 Year 2543
Source ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ผู้เขียนได้นำเสนอถึงภาพความเป็นพหุสังคมในการศึกษาครั้งนี้ไว้ 2 ระดับ คือ ระดับชุมชนมุสลิมและระดับชุมชนแม่สอดอันประกอบไปด้วยคนหลายชาติหลายศาสนา โดยชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้พหุสังคมดำรงอยู่ได้ว่า ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการมีค่านิยมบางอย่างร่วมกัน นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ว่าการเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กเป็นเอกลักษณ์ของมุสลิม อีกทั้งยังได้กล่าวถึงเอกลักษณ์ทางกายภาพ และทางพิธีกรรม แนวปฏิบัติทางศาสนา และระบบสัญลักษณ์ของมุสลิมในเรื่องของการธำรงชาติพันธุ์ รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพหุสังคม วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ และการธำรงชาติพันธุ์ของชุมชนมุสลิมในเมืองตลาดชายแดนไทย-พม่า

Focus

ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ พหุสังคม และการธำรงชาติพันธุ์ของมุสลิมในตลาดชายแดนไทย-พม่า

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ระบุไว้ว่าแนวคิดหรือทฤษฎีที่ผู้ศึกษานำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ 1. พหุสังคม : ตามแนวคิดของ John Sydenham Furnivall ซึ่งเน้นว่า ปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยให้พหุสังคมดำรงอยู่ได้คือ การที่คนเหล่านี้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน หรือ การมีค่านิยมร่วมกันและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน อย่างเช่น บริเวณย่านตลาด 2. การธำรงชาติพันธุ์ : ใช้แนวการศึกษาเชิงสถานการณ์ โดยใช้แนวคิดของ Barth เพื่อแสดงให้เห็นว่าเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง (น.22,40) ผสมผสานกับแนวการศึกษาเชิงเสวนาของ Gladney Dru C. และแนวคิดของ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช ที่ให้ความสำคัญของเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม (น.25) และปัจจัยอื่นๆ เช่นการต้องการการยอมรับ จากโลกอิสลาม (น.25,167) ทำให้มุสลิมแม่สอดมีเอกลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งทั้งเอกลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมและวิถีทางเศรษฐกิจนี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน ดังเช่น การเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ซึ่ง ก็พบได้ในกลุ่มจีน มอญ และการตั้งอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมการมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งในอุดมการณ์ ระบบความเชื่อ ก็นำไปสู่การก่อตัวของการธำรงรักษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ของมุสลิม ทั้งในเชิงของการรักษาและสร้างเอกลักษณ์ขึ้นมาใหม่ (หน้า 43)

Ethnic Group in the Focus

มุสลิมในเมืองตลาดชายแดนไทย-พม่า ซึ่งมีเชื้อสายต่าง ๆ ประมาณ 6 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. มุสลิมที่สืบเชื้อสายจากมุสลิมบังคลาเทศ 2. มุสลิมอินเดีย 3. มุสลิมปาทาน 4. มุสลิมพม่าหรืออาระกัน 5. มุสลิมมาเลย์ 6. มุสลิมกลุ่มอื่นๆ (หน้า 72-73)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นไปตามบรรพบุรุษ ได้แก่ ภาษาเบงกาลี อูรดู พม่า ไทยเหนือ และไทยกลาง และใช้ภาษาอาหรับในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (น.148)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2541-2543

History of the Group and Community

กล่าวกันว่าชุมชนมุสลิมนี้มีพัฒนาการควบคู่ไปกับเส้นทางการค้าของพ่อค้าวัวในสมัยโบราณ โดยใช้แม่สอดเป็นด่านการค้าที่สำคัญ และเริ่มย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรขึ้น เชื่อว่าบรรพบุรุษคนแรกของมุสลิมแม่สอดคือ นายซามอด อาลี ซึ่งมาจากบังคลาเทศ เข้ามาค้าขายที่พม่าและข้ามมาขายที่ประเทศไทย พบว่าที่แม่สอดทำเลดีจึงย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยชวนญาติพี่น้องจากพม่ามาด้วย เกิดเป็นชุมชนมุสลิมขึ้นเช่นในปัจจุบัน (น.83-84) และยังมีคหบดีจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ชื่อ ตอเล็บ อุดดีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ชุมชนแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมี นายตอน แสนพรม ชาวลำปาง ซึ่งเป็นต้นตระกูลแสนพรม ล่องเรือมาตามลำน้ำวังลัดเลาะเข้าสู่น้ำปิงและมาขึ้นฝั่งที่เมืองตาก แล้วเดินเท้าต่อจนถึงชุมชนแม่สอด และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีคหบดีจากเชียงใหม่ชื่อ อับดุลกุสดุส พร้อมด้วยครอบครัวหนีภัยสงครามมาอยู่ที่แม่สอด เมื่อสงครามสงบก็ไม่ได้เดินทางกลับถิ่นฐานเดิม ยังคงปักหลักอยู่บริเวณถนนศรีพานิช มีมุสลิมบางครอบครัวที่หนีภัยสงครามไปค้าขายอยู่ที่เมืองมะละแหม่ง หลังสงครามสงบจึงกลับมาอยู่ทีแม่สอดอีกครั้ง (หน้า 86-87)

Settlement Pattern

ชุมชนมุสลิมมีการตั้งถิ่นฐานแบบรวมกลุ่มกันและนิยมสร้างบ้านเรือนเรียงรายไปตาม 2 ฟากของถนนศรีพานิชไปจนถึงถนนอิสลามบำรุงและบางส่วนของถนนชิดลม และอาจมีบางส่วนที่ตั้งบ้านเรือนแยกออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของเมือง โดยแบ่งชุมชนมุสลิมแม่สอดออกเป็น ชุมชนมุสลิมเดิม และชุมชนมุสลิมรอบนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 5 หย่อมบ้านด้วยกัน (น.69-70)

Demography

จากเอกสาร "ประวัติมุสลิมแม่สอด" พบว่ามีประชากรมุสลิมไทย 2,500 คน 400 ครอบครัว และมุสลิมพม่า 2,000 คน 200 ครอบครัว ส่วนฝ่ายกิจการพิเศษ สำนักงานอำเภอและงานทะเบียนราษฎร เทศบาลตำบลแม่สอด สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 พบว่ามีผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า 1,198 คน ส่วนใหญ่นับถืออิสลาม (น.78)

Economy

ผู้เขียนได้แบ่งเรื่องเศรษฐกิจออกเป็น 2 ระดับ คือ 1.ระดับชุมชนแม่สอด โดยได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจของชุมชนนี้ว่าเริ่มมาจากการเป็นจุดพักสินค้าของพ่อค้าต่างแหล่งต่างๆ และได้กลายมาเป็นที่แลกเปลี่ยนสินค้ากัน มีการนำสินค้าเข้า-ออกไปขายที่ชายแดนไทย-พม่า นอกจากนี้แม่สอดยังเป็นศูนย์รวมสินค้าที่สำคัญตั้งแต่ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม แร่ธาตุ ของอุปโภคบริโภค และตลาดนัดโค (น.103) 2. ระดับของชุมชนมุสลิม : มุสลิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย มีกิจการของตนเอง โดยมักจะเปิดร้านอาหารที่ขายอาหารที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา รวมทั้งร้านขายของชำและเบ็ดเตล็ด ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาและเครื่องแต่งกายอิสลาม (หน้า 119) อาจมีผู้ที่รับจ้างตามโรงงาน รับซื้อของเก่าอยู่บ้าง แต่อาชีพนี้ต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนา ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นมักเป็นช่างตีมีด ช่างทอง ช่างก่อสร้าง หรือทำการเกษตร ดังนั้น อาชีพค้าขายจึงเป็นช่องทางเศรษฐกิจที่ดี และสามารถตอบสนองความต้องการของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ตนด้วย (หน้า 116-123)

Social Organization

ลักษณะครอบครัวของมุสลิมในแม่สอดส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย (น.81) และมีการแต่งงานแบบพหุภรรยา ที่น่าสนใจคือมุสลิมมีการแต่งงานแบบข้ามชาติพันธุ์ด้วย โดยผู้ที่อยู่ต่างศาสนาจะต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามหลังจากแต่งงานแล้ว (น.82) ลักษณะทางสังคมของชุมชนแม่สอดนี้เป็นแบบพหุนิยม ประกอบด้วยชาวพม่า เงี้ยว กระเหรี่ยงพุทธ ล้านนา จีน มอญ และมุสลิม มีการปฏิสัมพันธ์กันอยู่เสมอโดยผ่านทางกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ เช่นในตลาดหรือร้านค้า นอกจากนี้คนในชุมชนยังมีค่านิยมบางประการร่วมกัน แม้ว่าจะอยู่ต่างกลุ่มชาติพันธุ์และต่างศาสนา เช่นเรื่องของอาหารหรือขนม เป็นต้น (น.152-161)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

มีองค์การทางศาสนาที่ดูแลชุมชนประกอบด้วย คณะกรรมการมัสยิดนูรูลอิสลาม กลุ่มยุวมุสลิม ชมรมมุสลิม นอกจากนี้มีกลุ่มมุสลิมผู้หญิงเรียกว่า มุสลีมะฮ์ ให้ความรู้ด้านศาสนา มีคณะกรรมการมัสยิด ที่มีหน้าที่ดูแลมัสยิด โรงเรียน และชุมชน นอกจากนี้ในเขตชุมชนมุสลิมรอบนอกมีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ (นมาซคานา) อีก 4 แห่ง ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนกับกรมศาสนาและรับรองอย่างเป็นทางการ ผู้มาประกอบพิธีส่วนใหญ่เป็นมุสลิมสัญชาติพม่า (หน้า 76-80) อาจแบ่งพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามออกได้เป็น 1. พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานภาพของมุสลิมที่สำคัญ ได้แก่การตั้งชื่อ พิธีสุหนัด พิธีแต่งงาน และพิธีศพ ผู้ที่มีบทบาทในพิธีกรรมคือ อิหม่าม ถ้าไม่มีจะถือว่าพิธีนั้นไม่สมบูรณ์ (น.135) 2. พิธีกรรมประจำวัน ได้แก่ การละหมาด วันละ 5 เวลา โดยจะต้องชำระร่างกายให้สะอาดก่อนและหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อันเป็นที่ตั้งของนครเมกกะ อีกทั้งยังมีละหมาดเนื่องในโอกาสพิเศษ คือในพิธีศพ ในวันอีดดิ้ลพิตริ คือวันที่กลับคืนมาสู่การเว้นจากการถือศีลอด ถือเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จในการถือศีลอด และวันอีดิลีอัฎฮา หมายถึงวันที่เวียนมาสู่การเสียสละ หรือวันออกฮัจญี (น.139) เป็นพิธีกรรมที่มุสลิมจัดขึ้นในช่วงที่มุสลิมทั่วโลกกำลังเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ โดยจะมีการเชือดสัตว์จำพวก แพะ แกะ อูฐ หรือวัว แจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้ เรียกพิธีนี้ว่า กุรบาน 3. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

Education and Socialization

มีโรงเรียนอิสลามศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน 1 แห่ง ให้การศึกษาในระดับประถมศึกษา เป็นโรงเรียนแห่งเดียวในภาคเหนือที่เปิดสอนวิชาสามัญควบคู่ไปกับศาสนา โดยการกำหนดให้เรียนวิชาศาสนาอิสลามทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ผู้สอนเป็นมุสลีมีนจากปักษ์ใต้ และในช่วงเย็นจะมีมุสลีมีนอาวุโสท้องถิ่นให้ความรู้ทางศาสนาที่มัสยิดนูรุลอิสลาม โรงเรียนแห่งนี้ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษา และได้รับเงินอุดหนุนจากมัสยิดนูรุลอิสลาม นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 98 เป็นมุสลิม เป็นมุสลิมพลัดถิ่นมีอยู่ร้อยละ 30

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้ชายมุสลิมนิยมสวมเสื้อแขนยาว นุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาว ชุดตามประเพณีนิยมนี้เรียกว่า "กุลต่า" สวมหมวกทำจากผ้าหรือหมวกถัก หรือใช้การโพกผ้าแทน ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อแขนยาว นุ่งผ้าถุงหรือกระโปรง ทรงสุภาพกรอมเท้า คลุมศีรษะด้วยผ้า เรียกว่า "หิญาบ" (น.132)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

คนที่แม่สอดนิยมเรียกมุสลิมว่า "กะลา" ซึ่งมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจนักเพราะเป็นคำที่แฝงนัยยะของการดูถูกเอาไว้ (น.126) ตามการให้ความหมายของคำว่า "กะลา" ว่า "อนารยชน" หรือชาวอินเดียและผู้มีผิวดำ ส่วนมุสลิมเองมักจะแทนตนเองว่า "อิสลาม" แทน "มุสลิม" (น.129) ผู้ศึกษาได้แบ่งเอกลักษณ์อันเป็นเครื่องแสดงพรมแดนทางชาติพันธุ์ออกเป็นเอกลักษณ์ทางกายภาพ อันได้แก่ ลักษณะรูปร่าง หน้าตา และเครื่องแต่งกาย เอกลักษณ์ทางพิธีกรรม แนวปฏิบัติทางศาสนา ระบบสัญลักษณ์ และเอกลักษณ์ทางศาสนา อย่างไรก็ตาม มุสลิมแม่สอดก็มีปฏิสัมพันธ์อันดีกับชนกลุ่มอื่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นพม่า เงี้ยว ล้านนา จีน โดยผ่านทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่มักจะพบกันที่ตลาดหรือตามร้านค้า ซึ่งถือเป็นตัวช่วยลดระยะห่างทางสังคมและพรมแดนทางชาติพันธุ์ลงได้ (น.152) หรือในกิจกรรมทางสังคม เช่นที่โรงเรียนอิสลามศึกษาหรือในงานชุมชนต่างๆ (น.156-157) นอกจากนี้ยังพบว่าคนต่างชาติต่างศาสนาเหล่านี้ยังมีค่านิยมบางอย่างร่วมกันด้วย มีการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ และยังคงรักษาความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายใต้ความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ได้อย่างดี (น.82,160) อย่างไรก็ตามมุสลิมเองก็มีการพยายามธำรงเอกลักษณ์ของตนเองไว้โดยการรณรงค์การแต่งกายของนักเรียนหญิงให้ตามแบบเอกลักษณ์ของมุสลิม (น.167) นอกจากความสัมพันธ์กับกลุ่มชนอื่นแล้วยังมีเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมด้วยกันเองแต่มาจากต่างเชื้อสายอีกด้วย โดยมักจะมองว่ามุสลิมเชื้อสายพม่าและอะระกัน จะอยู่ชายขอบและมีฐานะด้อยกว่าชาติอื่น พวกนี้เต็มใจให้เรียก "กะลา" (น.176) แต่มุสลิมส่วนใหญ่จะภูมิใจที่ตนเองเป็น "มุสลิม" อันเป็นเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ศาสนาและแสดงตัวเป็นคนไทยเพื่อมีสิทธิเท่าเทียมกับสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น และปฏิเสธ "กะลา" (น.177)

Social Cultural and Identity Change

ลักษณะครอบครัวในปัจจุบันมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจะครอบครัวขยายมาเป็นแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และนิยมการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียวแทนแบบพหุภรรยามากขึ้น (น.81-82)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางจำนวนประชากรมุสลิมในเขตอำเภอแม่สอด, จำนวนประชากรมุสลิมสัญชาติพม่าโดยประมาณแยกตามหย่อมบ้าน (หน้า 74) ตารางสินค้าที่ผ่านด่านแม่สอดไปจำหน่ายยังประเทศพม่าระหว่าง พ.ศ. 2433-2435 (หน้า94) ตารางสินค้าขาออกของสยามที่ผ่านด่านแม่สอดไปพม่า พ.ศ. 2434 (หน้า95) ตารางสินค้าขาเข้าจากพม่าที่นำเข้ามาจำหน่ายในสยาม พ.ศ.2434(หน้า96) ตารางข้อมูลการค้าชายแดนไทย-เมียนม่าร์ ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก: มูลค่าการนำเข้าและส่งออกระหว่าง พ.ศ.2536-2542(หน้า 104,106) ตารางอาชีพและกิจการขอมมุสลิมในเขตอ.แม่สอด(หน้า 122) ตารางภาษาอูรดูที่ใช้ภายในครอบครัวหรือชุมชนมุสลิมแม่สอด (หน้า 149) แผนที่ชุมชนมุสลิมแม่สอด (หน้า52) ภาพพื้นที่บางส่วนในเขตชุมชนมุสลิมรอบนอก(หน้า72) ภาพที่ทำการชุมชนอิสลาม(หน้า 75) ภาพมัสยิดนูรุลอิสลาม อ.แม่สอด จ.ตาก (หน้า 76) แผนที่เส้นทางวัวต่าง (เฉพาะที่สำคัญ)ในภาคเหนือของไทย (หน้า 90) ภาพสถานที่สำคัญในเขตเทศบาล ต.แม่สอด (หน้า100) แผนภาพพงศาวลีของการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์สองตระกูล(หน้า 162) ภาพมุสลิมพม่า(หน้า 175)

Text Analyst นาถศิริ โกมลพันธุ์ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG มุสลิม, ตลาดชายแดนไทย-พม่า, วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ, พหุสังคม, การธำรงชาติพันธุ์, ตาก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง