สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ประชากร,เศรษฐกิจ,การเปลี่ยนแปลง,ภาคเหนือ
Author Kunstadter, Peter; Kunstadter, Sally Lennington and Ritnetikul, Prasit
Title Hmong in Thailand : Evidence and Explanation of Change
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 21 Year 2533
Source เสนอต่อสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ม้งในประเทศไทยที่ไม่ใช่ม้งอพยพมีประมาณ 90,000 คน ม้งเหล่านี้เป็นลูกหลานของม้งที่อพยพมาจากประเทศจีนผ่านลาว และเริ่มเข้ามาในไทยเมื่อ 100 ปีที่แล้ว หรือเป็นลูกหลานม้งที่อพยพเข้ามาทางประเทศพม่า เข้ามายังจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ม้งปรับตัวเข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้รวดเร็ว ม้งได้ขยายเข้าไปครอบครองพื้นที่สูงที่ยังไม่ถูกครอบครอง การเจริญเติบโตของประชากรที่รวดเร็วสัมพันธ์กับการขยายตัวทางพื้นที่ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับครัวเรือนขนาดใหญ่ นโยบายรัฐที่มุ่งกำจัดการปลูกฝิ่น จำกัดการตัดโค่นเผาป่า และควบคุมการย้ายถิ่นของประชากร ทำให้ระบบเศรษฐกิจม้งแบบดั้งเดิมหยุดชะงัก ขณะเดียวกันประชากรม้งจำนวนมากก็ได้ถูกย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากนโยบายความมั่นคงของรัฐ การควบคุมของรัฐที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดเครือข่ายถนนบนที่สูง ซึ่งทำให้คนบนที่สูงเดินทางไปตลาดในที่ราบได้สะดวก การตอบสนองเศรษฐกิจของม้งต่อเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปยังรวมไปถึงการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจโดยการใช้เทคนิคเพาะปลูกใหม่ ๆ ด้วย การเจริญพันธุ์ของม้งเริ่มลดลงเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาหลังจากประชากรไทยได้ลดลงมาแล้ว 20 ปี การลดการเจริญพันธุ์ลงอย่างรวดเร็วในชุมชนชนบทเกี่ยวข้องกับการรับรู้การลดโอกาสในการเพาะปลูก อันเป็นผลมาจากข้อกำหนดการได้ที่ดินใหม่ ขณะที่การเจริญพันธุ์ของประชากรม้งในเมืองลดลงเป็นผลมาจากต้นทุนการเลี้ยงดูบุตรสูง การตายของเด็กทารกลดลง ส่วนการเจริญพันธุ์ก็ยังคงสูงอยู่ ขณะที่ผู้หญิงใช้การดูแลสุขภาพและคลอดบุตรสมัยใหม่ และในช่วงที่อัตราการตายลดลงนี้การศึกษาของผู้หญิงก็ยังต่ำอยู่ ผู้ศึกษาเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็วในหมู่ม้งสัมพันธ์กับความเต็มใจในการยอมรับนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้เห็นได้ในการยอมรับอย่างรวดเร็วของความหลากหลายของพืชชนิดใหม่และระบบการเพาะปลูก และเห็นได้ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขั้นพื้นฐาน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้หญิงม้งบางคนก็มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนเอง โดยมีรายได้จาการค้าขายและการเพาะปลูกของตนเอง ความสำคัญของสภาวะทางเศรษฐกิจในการกำหนดพฤติกรรมม้งไม่เหมือนกับชาวเขากลุ่มอื่นในประเทศไทย มังมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้าสภาพเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนปลงโดยปรับเปลี่ยนแบบแผนพฤติกรรมดั้งเดิม ขณะที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนไว้ (จาก abstract)

Focus

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการผันแปรทางเศรษฐกิจกับพฤติกรรมประชากรในชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน เพชรบูรณ์และตาก

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ม้งในจังหวัดภาคเหนือของไทย

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาม้งที่พูดในประเทศไทยมี 2 ถิ่นใหญ่ ได้แก่ ม้งขาว(Hmong Der) และม้งน้ำเงิน(Hmong Njua) (น.3)

Study Period (Data Collection)

เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปี ค.ศ.1987-1988 (น.2)

History of the Group and Community

ม้งเดินทางข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวเข้ามาจังหวัดเชียงรายครั้งแรกเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว เส้นทางอื่นที่ม้งจากลาวเข้ามาในไทย ได้แก่ จังหวัดเลยและพิษณุโลก ส่วนม้งจากพม่าเข้ามาในไทยทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ หลังจากนั้นจำนวนประชากรม้งก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนั้นก็ได้ขยายเข้าไปอยู่ในเขตพื้นที่ที่ยังไม่ถูกครอบครอง และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ม้งจากลาวที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยก็มีฐานะเป็นผู้อพยพ เกือบทั้งหมดจะอยู่ในค่ายอพยพและจำนวนมากได้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม (น.3)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จำนวนประชากรม้งในประเทศไทยมีประมาณ 90,000 คน (น.3) โครงสร้างอายุของประชากรโดยเฉลี่ยมีอายุต่ำกว่า 14 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นภาวะการเจริญพันธุ์สูงและการเติบโตประชากรที่รวดเร็ว สภาพภาวะการเจริญพันธุ์สูงยังดำเนินต่อไป เนื่องจากจำนวนการแต่งงานของทั้งหญิงและชายมีมากกว่า 90% และการแต่งงานครั้งแรกของประชากรก็อยู่ในช่วงอายุน้อย ผู้ศึกษาเห็นว่า การเติบโตของประชากรที่สูงนี้ สืบเนื่องมาจากม้งมีครัวเรือนแบบขยาย และแบบแผนการอพยพที่ย้ายถิ่นทั้งครอบครัวหรือชุมชนก็เกี่ยวข้องกับภาวะการเจริญพันธุ์ที่สัมพันธ์กับอัตราการตาย (น.5-6) อัตราการเจริญพันธุ์ของม้งที่ลดลงไม่ได้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการแต่งงาน จำนวนคนที่ไม่แต่งงานยังต่ำอยู่ (น.9) ม้งคำนึงถึงสภาวะทางเศรษฐกิจของตนและความจำเป็น ซึ่งบ่งชี้ว่าขนาดของครอบครัวที่ปรารถนาและความเต็มใจที่จะใช้การวางแผนครอบครัวและความเต็มใจที่จะจำกัดขนาดครอบครัวมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสภาวะทางเศรษฐกิจมากกว่าปัจจัยการรับรู้การวางแผนครอบครัว (น.10-11) อัตราการตายในเด็กทารกลดลงเนื่องจากม้งสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์และเด็ก ๆ ได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถซื้อยาสมัยใหม่จากตลาดได้ (น.11-12)

Economy

กล่าวถึงลักษณะเศรษฐกิจของม้งในอดีตว่า แต่เดิมม้งปลูกข้าวแบบทดน้ำ (irrigated rice) ในพื้นที่ราบต่ำจนกระทั่งถูกจีนรุกรานจึงหนีขึ้นไปบนที่สูงจึงได้เปลี่ยนมาปลูกข้าวบนที่สูงแบบที่รู้จักกันในปัจจุบัน เมื่อม้งเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ยังคงนำรูปแบบการปลูกนี้มาด้วยและถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งสะท้อนถึงการติดต่อกับจีนและต้องเป็นสิ่งใหม่เพราะต้องพึ่งพาพืชต่างถิ่นสูง อันรวมถึงข้าวโพดและฝิ่น และอาจจะรวมข้าวไร่ซึ่งเป็นพืชยังชีพแบบดั้งเดิม (น.4) ต่อมาลักษณะเศรษฐกิจของม้งในประเทศไทยได้เปลี่ยนไป ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 รัฐได้ใช้กำลังทหารและตำรวจเข้าไปดำเนินการตามกฎหมายห้ามปลูกฝิ่น ควบคุมการตัดถางป่าและควบคุมการอพยพ รวมทั้งการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมมาก (น.7) ในการดำเนินการดังกล่าว รัฐได้สร้างเครือข่ายถนน ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นปัจจัยต่อการประสบความสำเร็จของม้งในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป การเดินทางด้วยรถยนต์ได้ปฏิรูปตลาดผลผลิตของม้ง ทำให้สามารถขนส่งผลผลิตไปยังตลาดได้จำนวนมาก สิ่งนี้ได้ทดแทนการสูญเสียตลาดฝิ่นเพราะทำให้ม้งติดต่อกับตลาดได้โดยตรง สามารถเพิ่มราคาผลผลิตได้ (น.8-9)

Social Organization

ไม่มี

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

แม้ม้งจะใช้การดูแลรักษาสมัยใหม่แพร่หลาย การยอมรับความคิดเกี่ยวกับการรักษาสมัยใหม่ก็ยังไม่สมบูรณ์ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพยังคงมีอยู่ สุขลักษณะในบ้านยังคงต่ำอยู่ (น.17) ม้งมีการปฏิบัติหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่รอดของเด็ก ๆ เช่น การเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ การห้ามคนนอกครัวเรือนเยี่ยมมารดาหลังคลอดเป็นเวลา 30 วัน (น.13)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

เริ่มมีสิ่งบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้หญิง ผู้หญิงม้งบางคนมีรายได้เป็นของตนเองจากการค้า บางคนปลูกพืชเศรษฐกิจมีรายได้เป็นของตนเอง (น.14-15)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst อธิตา สุนทโรทก Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, ประชากร, เศรษฐกิจ, การเปลี่ยนแปลง, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง