สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,วิถีชีวิต,ชุมชน,โลกาภิวัตน์,วัฒนธรรม,ลพบุรี
Author เกรียงศักดิ์ อ่อนละมัย
Title วิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนบทในกระแสโลกาภิวัฒน์ : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนไทพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 108 Year 2540
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีเนื้อหาครอบคลุมในหลายประเด็น อธิบายความเป็นมา วิถีการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบเครือญาติ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม การละเล่น การแต่งกาย การสร้างบ้าน อาชีพ ฯลฯ ของพวนที่ดำรงอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และอธิบายปัจจัยชี้วัดการยอมรับระยะความสัมพันธ์ทางสังคมของพวนกับคนต่างชาติ ซึ่งได้แก่ การเข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน การมาปลูกบ้านใกล้ ๆ การคบหาเป็นเพื่อน การเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ การเป็นลูกเขยลูกสะใภ้ โดยแบ่งตามเชื้อชาติและศาสนา ด้วย (หน้า 42 - 43)

Focus

ศึกษาอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง วิถีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมในชุมชนไทพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นรวมทั้งความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนต่างชาติ (หน้า 12)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

"พวน" (Phuans) เป็นชื่อที่ใช้เรียกชื่อกลุ่มชนเชื้อชาติไท หรือ คนเผ่าไท (Tai) ซึ่งเป็นชนชาติโบราณที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน บรรพบุรุษของพวนได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณที่ราบสูงเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากนั้นก็ย้ายถิ่นมาอยู่ในประเทศไทยกว่า 200 ปี การเข้ามาตั้งถิ่นฐานด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน เมื่อพิจารณาด้านเชื้อชาติที่ผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ "พวน" ก็คือคนไทยคนหนึ่ง (หน้า คำนำ) ลักษณะเด่นของคนพวน คือ มีผิวขาว และผู้หญิงพวนส่วนใหญ่จะมีหน้าตาสวย มีนิสัยใจคอรักความสงบ ชอบอิสระ ไม่ชอบอยู่ใต้กฎระเบียบหรืออยู่ใต้อำนาจใคร มีความโอบอ้อมอารี ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ให้ความเคารพนับถือและเชื่อฟังผู้อาวุโสกว่า รักหมู่คณะและพวกพ้องของตนเองซึ่งเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดกันมาเป็นความผูกพันโดยสายเลือด คนพวนนิยมเรียกพวกเดียวกันว่า "ไทยพวน" และไม่นิยมให้เรียกว่า "ลาวพวน" (หน้า ภาคผนวก ข)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาพวนเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาไท เช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาอื่นอีกหลายภาษาที่แพร่กระจายอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศจีนตอนใต้ แต่ภาษาพวนจะมีวงศ์คำศัพท์ร่วมกับภาษาลาวและภาษาไทยกลาง จึงมีคำเรียกพวนเป็น 2 อย่าง คือ เรียก "ไทยพวน" ในฐานะประชากรของประเทศไทย และเรียก "ลาวพวน" ในฐานะกลุ่มชนที่ใช้คำศัพท์รวมกันเป็นภาษาลาวและเคยมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศลาวมาก่อน (หน้า 88) ไทพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ส่วนใหญ่พูดคุยกันในชีวิตประจำวันด้วยภาษาพวนเป็นหลัก (หน้า 63) และมีการใช้ภาษาไทยกลาง ประมาณ 40 % (หน้า 105)

Study Period (Data Collection)

เนื่องจากงานวิจัยในหน้า 45 มีการอ้างจำนวนประชากรในตำบลหินปัก 10 หมู่บ้านซึ่งเป็นกลุ่มศึกษา จากแผนพัฒนาตำบลหินปักปี 2537 ดังนั้น จึงถือว่าปี พ.ศ.2537 เป็นปีเริ่มต้นในการศึกษาวิจัย และเนื่องจากในหน้า 90 งานวิจัยระบุว่าคำว่า "ในปัจจุบัน" แล้วมีวงเล็บว่า "พ.ศ. 2539" ดังนั้น จึงถือว่างานวิจัยชิ้นนี้ทำการศึกษาชุมชนไทพวนในตำบลหินปักในช่วงระหว่างปี 2537 ถึงปี 2539

History of the Group and Community

พวนมีถิ่นฐานเดิมอยู่เมืองพวนแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว พวนมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย 3 ครั้ง คือ - ครั้งที่ 1 ประมาณปี พ.ศ.2322 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปตีเมืองลาว แล้วนำชาวลาวมาด้วย ซึ่งน่าจะมีพวนในเมืองพวนปะปนมาด้วย - ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2335 เจ้านันทเสน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเวียงจันทน์ ได้นำพวนและโส้งส่งมายังกรุงเทพฯ เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการต่อกษัตริย์ไทย - ครั้งที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2376 - 2378 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิบดีเป็นแม่ทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ในลาว ที่ญวนเข้าครอง และได้นำพวนมากรุงเทพฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการเข้ามาประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงครามแล้ว ยังมีพวนบางส่วนที่อพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาแหล่งทำมาหากินด้วย เช่น กรณีการอพยพเข้ามาของพวนในตำบลหินหลัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น (หน้า 85 - 86) สำหรับไทพวนในอำเภอบ้านหมี่ นั้น สันนิษฐานกันว่า น่าจะอพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง และแขวงหัวพันทั้งห้าหัวพันทั้งหก ได้เดินทางมาบริเวณตำบลเชียงงา ตำบลโพนทอง แล้วหยุดตั้งรกรากที่นั่น พร้อมกับเอาชื่อเดิมที่มีรกรากมาจาก "บ้านเซ่า" และ "บ้านหมี่" ในแขวงเมืองพวนมาเรียกขานตามชื่อเก่าที่ได้อพยพมา (หน้า 103)

Settlement Pattern

พวนนิยมปลูกบ้านไม้ยกพื้นสูง มุงหญ้าคา พื้นปูด้วยฟากไม้ไผ่ เสาทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ฟากรูด้วยใบไม้ซึ่งทำจากไม้ไผ่สานขัดแตะ หรือฝาเสื่อลำแพน ชั้นบนเป็นที่พำนักหลับนอน ภายในตัวบ้านกั้นเป็นห้องให้ลูกสาวหรือกั้นเป็นห้องเก็บของที่มีค่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ อัฐิของบรรพบุรุษ พื้นบ้านและฝาเรือนนิยมใช้ไม้กระดานที่เลื่อยเป็นแผ่น บาง ๆ บางบ้านนิยมประดับลายไม้ฉลุลายตามมุมจั่วและเชิงชาย พื้นที่ส่วนล่างของบ้าน ใช้เป็นที่ประกอบการงานต่าง ๆ หรือใช้เป็นคอกสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ใต้ถุนบ้านมักใช้เป็นที่วางแคร่ หรือเตียง ตั่งเพื่อเป็นที่นั่งหรือนอนพักผ่อนและใช้เป็นที่รับแขกในเวลากลางวัน บ้านของพวนนับความเล็กหรือใหญ่ตามจำนวนช่วงห้องของเสาเรือน โดยปรกติมักจะปลูกเรือนหลังคาหน้าจั่ว หันไปตามแนวตะวันออกตะวันตก บ้านบางหลังอาจจะมีการต่อชายคาออกจากตัวบ้านเพื่อทำเป็นห้องครัว ห้องน้ำ หรือเป็นเพิงเก็บของ ส่วนบริเวณใกล้บ้านมักปลูกยุ้งฉางไว้เก็บข้าวเปลือก ในปัจจุบันพวนที่มีฐานะดีนิยมปลูกบ้านแบบตะวันตกหรือตามแบบชุมชนเมือง (หน้าภาคผนวก 87 - 88.)

Demography

งานวิจัยระบุว่า ในอำเภอบ้านหมี่ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 83,488 คน เป็นชาย 40,746 คน เป็นหญิง 42,742 คน ความหนาแน่นของประชากร 137.25 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร อัตราการเกิด 0.02 % อัตราการตาย 0.05 % (หน้า 105) ส่วนใน ตำบลหินปัก มีจำนวนประชากรทั้งหมด 731 ครัวเรือน รวมประชากรทั้งหมด 3,053 คน เป็นชาย 1,475 คน และเป็นหญิง 1,578 คน (หน้า 106) แต่ผลการวิจัยระบุว่า จำนวนประชากรของกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวนตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แบ่งเป็นหัวหน้าครัวเรือน 259 รายล เป็นผู้นำท้องถิ่น 70 ราย, รวมทั้งสิ้น 329 ราย และจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างในจำนวน 329 ราย ใน 10 หมู่บ้าน ตามขนาดความหนาแน่นของประชากรในแต่ละหมู่บ้าน พบว่า หมู่ที่ 1 บ้านหินปักเหนือ มีจำนวนร้อยละ 12.5 หมู่ที่ 2 บ้านหินปักเหนือ ร้อยละ 4.9 หมู่ที่ 3 บ้านหินปักทุ่ง ร้อยละ 7.6 หมู่ที่ 4 บ้านหินปักทุ่ง ร้อยละ 6.7 หมู่ที่ 5 บ้านหินปักทุ่ง ร้อยละ 7.0 หมู่ที่ 7 บ้านหินปักใหญ่ ร้อยละ 8.5 หมู่ที่ 8 บ้านหินปักใหญ่ ร้อยละ 11.55 หมู่ที่ 9 บ้านสำโรงน้อย ร้อยละ 17.3 และหมู่ที่ 10 บ้านสำโรงใหญ่ ร้อยละ 13.9 (หน้า 53) ส่วนจำนวนสมาชิกในครัวเรือน จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 - 6 คนมีถึงร้อยละ 62.31 หรือ ประมาณ 2 ใน 3 รองลงมาจำนวนสมาชิก 1 - 3 ร้อยละ 24.92 และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมากกว่า 7 คนขึ้นไป ร้อยละ 12.77 (หน้า 53) งานวิจัยระบุด้วยว่า ร้อยละของจำนวนสมาชิกแต่ละครัวเรือน จำแนกตามเพศ พบว่า เพศของกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เพศชาย ร้อยละ 43.50 และ เพศหญิง ร้อยละ 65.50 แต่ในกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนเป็นชายร้อยละ 32.80 ประมาณ 1 ใน 3 ในกลุ่มผู้นำท้องถิ่นเป็นเพศชายร้อยละ 82.90 หรือประมาณ 4 ใน 5 ส่วนเพศหญิงในกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนมีจำนวน ร้อยละ 67.20 หรือประมาณ 67.20 หรือประมาณ 3 ใน 5 และในกลุ่มผู้นำท้องถิ่นมีร้อยละ 17.10 (หน้า 54)

Economy

ผลการวิจัยพบว่า อาชีพหลักของไทพวนในตำบลหินปักส่วนใหญ่ คือ การทำเกษตรกรรม (ทำนา) ร้อยละ 46.80 หรือ ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง รองลงมาได้แก่ อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 22.20 และการทำหัตถกรรมพื้นบ้าน(ทอผ้า) ร้อยละ 14.30 ในส่วนผู้นำท้องถิ่นพบว่า ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 65.70 รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 21.40 สำหรับหัวหน้าครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 41.70 รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 22.40 (หน้า 57) อาชีพรองของไทพวนในตำบลหินปัก ส่วนใหญ่ในภาพรวม ไม่มีอาชีพรอง ร้อยละ 83.00 หมายความว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว รองลงมาได้แก่ อาชีพรับจ้าง กับ การทำหัตถกรรม (ทอผ้า) ร้อยละ 6.70 ในส่วนของกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนกับผู้นำท้องถิ่น มีลักษณะเหมือน ๆ กัน คือ ไม่มีอาชีพรอง ร้อยละ 83.00 และร้อยละ 80.00 ตามลำดับ (หน้า 58) สถานที่ในการประกอบอาชีพของไทพวนในตำบลหินปัก ในภาพรวม ประกอบอาชีพในหมู่บ้าน ร้อยละ 91.40 รองลงมาประกอบอาชีพนอกหมู่บ้าน อำเภอบ้านหมี่ ร้อยละ 5.30 และประกอบอาชีพนอกจังหวัดลพบุรี ร้อยละ 2.00 ในระดับผู้นำท้องถิ่นส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพภายในหมู่บ้าน ร้อยละ 95.70 ส่วนหัวหน้าครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอยู่ภายในหมู่บ้านร้อยละ 90.10 (หน้า 59) นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า ไทพวนมีการขอยืมเงินรวมไปถึงการกู้เงินต่าง ๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหาในครัวเรือน ส่วนรายที่ทำนาน ๆ ครั้งมีร้อยละ 55.93 รองลงมารายที่กู้ยืมเป็นประจำ มีร้อยละ 81.00 และรายไม่มีการกู้ยืมเลยมีร้อยละ 13.07 เนื่องจากไทพวนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม มีฐานะปานกลางค่อนข้างต่ำ มีรายได้น้อย จึงทำให้ต้องมีการยืมเงิน บางรายอาจต้องกู้เงินจากนายทุนท้องถิ่น หรือจาก ธกส. หรือ ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ บางส่วนมีลักษณะของการยืมเงินทุนโดยมีการกำหนดอัตราการชำระหลังฤดูเก็บเกี่ยว เช่น ยืมเงิน 100 บาท แล้วชำระเป็นข้าวเปลือก 3 ถัง เป็นต้น (หน้า 61)

Social Organization

งานวิจัยระบุว่า โครงสร้างสังคมของพวน มีลักษณะดังนี้ 1. รูปแบบของสงฆ์ - ฆารวาส คือ พวนนับถือพุทธศาสนา พึ่งพระสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรมและเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจ พระสงฆ์มีส่วนอย่างมากในการย้ายถิ่นฐานและการตั้งหลักแหล่งในที่ทำกินใหม่ และพระสงฆ์ก็ได้ปัจจัยในการยังชีพจากพวนด้วย 2. รูปแบบอาวุโส - น้อยอาวุโส คือ การที่พวนรับแนวคิดเอาพุทธศาสนามาใช้ ทำให้เกิดรูปแบบสังคมลักษณะผู้อ่อนอาวุโสต้องเคารพผู้ที่อาวุโสกว่าตน 3. รูปแบบเครือญาติ คือ เนื่องจากสังคมของพวนเป็นสังคมชนบท จึงยังคงให้ความสำคัญกับระบบเครือญาติ มีการนับญาติกันทั้งทางสายโลหิตและทางการแต่งงาน มีการเรียกชื่อของพ่อแม่ตามชื่อบุตรคนแรก 4. รูปแบบครอบครัว คือ ครอบครัวของพวนเป็นครอบครัวแบบขยาย มีคนมากกว่า 2 รุ่นอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน โดยปกติมักเป็นญาติร่วมสายโลหิต แม้ว่าบางครอบครัวจะเป็นครอบครัวเดี่ยว คือสามีภรรยาที่ออกเรือนใหม่ สร้างที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วนของตนเอง แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีความสัมพันธ์กับเรือนหลังเดิมอย่างแนบแน่น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยระบุว่าในปี 2539 โครงสร้างแบบนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น แต่เดิมผู้นำของหมู่บ้านคือผู้อาวุโส แต่ต่อมาระบบแบบนี้ถูกแทนที่โดยระบบการปกครองท้องถิ่นที่มีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหมู่บ้าน (หน้า 89 - 90)

Political Organization

แต่เดิมในชุมชนไทพวนเกือบทุกชุมชน จะมีระบบการปกครองแบบนำโดยผู้อาวุโสของหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบัน ระบบแบบนี้ถูกแทนที่โดยระบบการปกครองท้องถิ่นที่มีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหมู่บ้านแล้ว (หน้า 89 - 90) การปกครองของอำเภอบ้านหมี่ เป็นการปกครองแบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งการปกครองออกเป็น 21 ตำบล 155 หมู่บ้าน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีเทศบาล 1 แห่ง รวม 22 ตำบล อย่างไรก็ตาม พวนซึ่งอยู่ในตำบลหินปักก็อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบนี้เช่นกัน (หน้า 104)

Belief System

โดยทั่วไป พวนมีประเพณีหลายอย่างที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานาน ในปัจจุบัน ประเพณีบางอย่างได้เสื่อมความนิยมลงไปตามสภาพของสังคม ประเพณีที่ยังเหลืออยู่ ได้แก่ (1) ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรต้องอยู่ไฟหรืออยู่กำ 7 วันขึ้นไป เด็กที่เพิ่งคลอดจะต้องถูกตัดสายรกด้วยไม้ไผ่รวกและนำรกไปฝังไว้ใต้บันไดเรือนเพื่อให้เด็กรักถิ่นฐานบ้านเกิด บริเวณห้องคลอดต้องล้อมด้วยสายสิญจน์จน์เพื่อกันไม่ให้ผีมาเอาเด็กไป ถ้าจำเป็นต้องเอาเด็กออกนอกสายสิญจน์ ก็ต้องเอาเขม่าก้นหม้อเจิมที่หน้าผากเด็ก เพื่อหลอกผีว่าเด็กมีหน้าตาน่าเกลียด ผีจะได้ไม่มาเอา (2) ประเพณีแต่งงาน การแต่งงานของพวน ฝ่ายชายจะต้องไปสู่ขอฝ่ายหญิง โดยมีบุคคลที่อาวุโส เรียกว่า "พ่อเซ้อ" หรือ "แม่เซ้อ" การไปสู่ขอเรียกว่าไป "เจาะสาว" ถ้าแต่งงานก็ต้องไปจัดที่บ้านฝ่ายหญิง โดยเชิญญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายมาร่วมพิธีเรียกว่า "พาแลง - พางาย" (3) ประเพณีเกี่ยวกับความตาย พวนจะจำแนกการตายออกเป็น 2 อย่าง คือตายโหง หรือ การตายด้วยอุบัติเหตุ กับ ตายห่า หรือ การตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ประเพณีก็แยกเป็น 2 อย่าง คือ ตายโหงจะนำไปฝัง ส่วนตายห่าจะนำไปเผา ในการทำศพจะตั้งศพโดยหันศรีษะไปทางทิศตะวันตก นิมนต์พระมาสวดไม่ตั้งศพไว้หลายวัน ที่บ้านผู้ตายเจ้าบ้านจะเตรียมขันน้ำส้มป่อยไว้ที่เชิงบันไดเรือน เพื่อให้ผู้มาร่วมงานใช้พรมศรีษะก่อนกลับเพื่อกันไม่ให้ผีร้ายติดตามไปด้วย นอกจากนี้ ระหว่างที่ตั้งศพไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลจะมีการละเล่นอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "งันเฮือนดี" หรือ "การฉลองเรือนดี" เพื่อแก้เคล็ดในฐานะที่การตายเป็นเรื่องไม่ดี (4) ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งแต่เดิมพวนเรียกว่า "สังขานต์" มีที่มาและความเชื่อเช่นเดียวกับเรื่องนางสงกรานต์ที่คนไทยนับถือ แต่แตกต่างกันตรงที่มีการถือเรื่อง "การกำ" หรือการละเว้นการทำงาน 3 วัน (5) ประเพณีทำบุญกลางบ้าน งานนี้มักจัดขึ้นในเดือนหก ส่วนวันจัดงานมักกำหนดขึ้นจากความพร้อมของคนในชุมชนจุดประสงค์ในการจัดงานบุญกลางบ้านก็เพื่อขจัดรังควานและเพื่อเป็นศิริมงคลกับชุมชน (6) ประเพณีสารทพวน พวนกำหนดให้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปีเป็นวัน "สารทพวน" มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ประเพณีห่อข้าวดำดิน" หรือ "บุญห่อข้าวประดับดิน" (7) ประเพณีกำฟ้า พวนเชื่อเรื่องผีฟ้าพญาแถนเช่นเดียวกับชาวลาวและชาวอีสาน คำว่า "กำ" หมายถึง ข้อห้ามหรือข้อกำหนดจากฟ้า ตามความเชื่อที่ว่า ถ้าถึงวาระกำฟ้าใครไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าลงโทษ (8) ประเพณีเฮียะขวัญข้าว คำว่า "เฮียะ" หมายถึง "เชิญ" ดังนั้น "เฮียะขวัญข้าว" ก็คือ การเชิญขวัญข้าว พวนที่ทำนาจะทำพิธีนี้เพื่อเป็นศิริมงคล (หน้า 92 - 98) อย่างไรก็ตาม พวนในตำบลหินปัก นับถือศาสนาพุทธ และมีประเพณีเหมือนกับพวนโดยทั่วไป เช่น เทศกาลตรุษสงกรานต์, งานบุญพระเวช, ประเพณีกำฟ้า, เส่อกระจาด, สารทพวน, ห่อข้าวลงข่วง, เส็งกลอง, บ้องไฟ, หม่าเบี้ย, นางกวัก, นางด้ง, นางสาก เป็นต้น (หน้า 107) แต่มีความเชื่อบางอย่างที่ลดน้อยลง เช่น นางด้ง นางกวัก นางสาก ซึ่งเป็นลักษณะของการเข้าทรงทางจิตวิญญาณ แม้ว่าไทพวนจะนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ก็ยังคงมีความศรัทธาต่อวิญญาณภูติผีปีศาจเทพยดาอารักษ์ และสิ่งเหนือธรรมชาติอื่น ๆ (หน้า 78)

Education and Socialization

งานวิจัยระบุว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหัวหน้าครัวเรือนและผู้นำท้องถิ่น ในภาพรวม มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในขั้นต่ำกว่าหรือเทียบเท่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 75.38 หรือประมาณ 3 ใน 4 รองลงมาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ร้อยละ 15.80 หรือประมาณ 1 ใน 5 ส่วนระดับอนุปริญญา - ปริญญาตรี มีเพียงร้อยละ 5.17 (หน้า 55)

Health and Medicine

งานวิจัยไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ไทพวนในตำบลหินปักมีระบบการรักษาพยาบาลแบบใด ระบุอย่างกว้าง ๆ ว่า แม้ว่าวิทยาการด้านสาธารณสุขได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก และพวนส่วนใหญ่นิยมใช้บริการสถานพยาบาลแผนใหม่ แต่พวนก็ยังไม่ได้ละทิ้งการรักษาพยาบาลแผนไทย เช่น กรณีมีผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ญาติผู้ป่วยบางรายได้นำน้ำต้มยาสมุนไพรบรรจุภาชนะไว้ให้ผู้ป่วยดื่ม หรือ กรณีที่บางครัวเรือนนำยาสมุนไพรผึ่งแดดตามกระบวนการเก็บรักษาตัวยา ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้เห็นวัฒนธรรมในการรักษาพยาบาลแบบพึ่งตนเองและการยอมรับวิทยาการแผนใหม่ไปในเวลาเดียวกัน (หน้า 101)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในชีวิตประจำวัน การแต่งกายของพวนมีความคล้ายคลึงกับคนไทย ส่วนใหญ่คือ หญิงนิยมนุ่งซิ่นสวมเสื้อตามสมัยนิยม หญิงสูงวัยมักสวมเสื้อ "คอกะทะ" หรือเสื้อ "อีเป้า" (เสื้อคอกระเช้า) แต่การแต่งกายรูปแบบเดิมนั้น ผู้หญิงมักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลังใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือสีพื้นแทรกลายขวาง บางถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ซึ่งมีลวดลายสีสันงามตาโดยอิงรูปแบบลายมาจากลายโบราณ พวนแต่ละภูมิภาคจะแต่งกายแตกต่างกัน ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยดำ เสื้อดำ ปัจจุบันทั้งชายและเด็กไม่มีความต่างทางด้านการแต่งกาย จนนับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัด (หน้า 86)

Folklore

พวนมีวรรณกรรมที่เล่าสืบทอดกันมาแต่โบราณหลายเรื่อง เช่น จำปาสี่ต้น มโนราห์ แก้วหน้าม้า การะเกด สังข์สินไชย ขูลูนางอั้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมพวกนี้มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เล่าได้ ส่วนคนรุ่นหลังไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก นอกจากนี้ พวนยังมีวัฒนธรรมการเล่านิทาน มีเพลงกล่อมเด็ก มีผญาและสำนวนโวหาร มีคำสอนต่าง ๆ ด้วย ส่วนการละเล่นที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของพวนเลยก็คือ "การลำพวน" ในประเพณีต่าง ๆ เช่น การกำฟ้า สงกรานต์ พวนก็จะหยุดงานและมีการละเล่นต่าง ๆ เช่น เล่นผีนางกวัก ผีลิงลม ผีนางด้ง ผีนางสาก ผีนางข้อง เป็นต้น (หน้า 98 - 101)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม : งานวิจัยระบุว่า เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทพวน ตำบลหินหลัก อำเภอบ้านหมี่ ที่ยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่ ได้แก่ 1.การแต่งกายแบบพวนดั้งเดิม (ตามที่ระบุในหัวข้อ Art and Craft) 2.ลักษณะการตั้งบ้านเรือนแบบยกพื้นสูง มุงด้วยหญ้าคา ปูพื้นด้วยฟากไม้ไผ่ ฯลฯ 3.พูดภาษาพวน 4.จัดโครงสร้างสังคมแบบสงฆ์ - ฆารวาส แบบผู้อาวุโส - น้อยอาวุโส แบบเครือญาติ และแบบครอบครัว 5.ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 6.นับถือศาสนาพุทธและนับถือผี พร้อมทั้งมีการจัดพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อ เช่น งานบุญผเวส เส่อกระจาด สารทพวน ประเพณีกำฟ้า ตรุษสงกรานต์ ประเพณีห่อข้าว ลงบ่วง บุญบ้องไฟ นางด้ง นางกวัก นางสาก เส็งกลอง เตะหมากเบี้ย ฯลฯ ความสัมพันธ์กับชนชาติอื่น : ปัจจุบัน พวนมีการติดต่อสัมพันธ์กับคนหลายชาติ ได้แก่ ลาว เขมร ญวน พม่า แขก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่ง นิโกร แต่ถ้าในกรณีที่คนเหล่านี้จะต้องเข้ามาอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน เข้ามาปลูกบ้านอยู่ใกล้ ๆ คบหาเป็นเพื่อน ทำธุรกิจร่วมกัน แต่งงาน ไทพวนจะไม่ค่อยยอมรับคนต่างชาติเหล่านี้นัก ชาติที่พวนยอมรับมากที่สุด คือ คนจีน รองลงมาคือ ฝรั่ง และญี่ปุ่น ตามลำดับ (หน้า71 - 74) นอกจากนี้ พวนยังมีการติดต่อกับคนในหลายศาสนาด้วย ได้แก่ คนคริสต์ พุทธ และอิสลาม แต่ถ้าในกรณีที่คนเหล่านี้จะต้องเข้ามาอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน เข้ามาปลูกบ้านอยู่ใกล้ ๆ คบหาเป็นเพื่อน ทำธุรกิจร่วมกัน ตลอดจนแต่งงานกัน ไทพวนจะยอมรับ พุทธ มากที่สุด ต่อมาคือคนคริสต์ และอิสลาม ตามลำดับ (หน้า 75 - 76)

Social Cultural and Identity Change

งานวิจัยไม่ได้ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหัวข้อเฉพาะ แต่จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันสูง เป็นสังคมของการบริโภค ทำให้พวนในชนบทต้องรีบเร่งทำมาหากินเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทพวนหลายด้าน เช่น ใน ด้านพิธีกรรม ก็ทำกันน้อยลง ที่ยังคงปฏิบัติเป็นประจำอยู่ก็มีเพียง ลงข่วง งานผเวส และเส่อกระจาด ในด้านศาสนาพบว่า การถือศีลในวันพระยังมีเกือบ 1 ใน 3 ที่ไม่ได้ปฏิบัติเลย ด้านความเชื่อ เนื่องจากพวนมีการศึกษาสูงขึ้น จึงไม่ค่อยเชื่อถือในเรื่องความเชื่อต่าง ๆ ดังนั้น ในปัจจุบัน ไทพวนส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติเลย หรือปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง ด้านการละเล่นพื้นบ้านก็ไม่มีการเล่นเลย เพราะมีการละเล่นที่ทันสมัยกว่าเข้ามาแทนที่ แต่ด้านการพักผ่อนหย่อนใจยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่มาก มีการติดต่อกับชาวต่างชาติและต่างศาสนามากขึ้น ในด้านเศรษฐกิจไทพวนก็ทำนาน้อยลง หันไปเป็นแรงงานรับจ้างมากขึ้น การปกครองที่ให้ผู้อาวุโสเป็นผู้นำก็ถูกแทนที่ด้วยระบอบการปกครองสมัยใหม่ การสร้างบ้านก็เป็นไปตามแบบตะวันตกมากขึ้น พวนรุ่นใหม่ไม่รู้จักนิทานโบราณ ฯลฯ

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 19 ก.พ. 2564
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, วิถีชีวิต, ชุมชน, โลกาภิวัตน์, วัฒนธรรม, ลพบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง