สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะยัน กะจ๊าง กะเหรี่ยงคอยาว ปาดอง ,วิถีชีวิต,วัฒนธรรม,ภาษา,พม่า,ไทย
Author สมทรง บุรุษพัฒน์ และ สรินยา คำเมือง
Title สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกะยัน
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 31 Year 2542
Source สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

เนื้อหาครอบคลุมหลายประเด็น อธิบาย ลักษณะทางชาติพันธุ์, ความเป็นมา, วิถีชีวิตวัฒนธรรม, อาชีพความเป็นอยู่, โครงสร้างทางสังคม, เอกลักษณ์ทางวัฒรธรรมด้านต่าง ๆ ของกะยันทั้งในประเทศพม่าและในประเทศไทย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Focus

ศึกษาประเพณี พิธีกรรม ภาษา และวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงกะยันในประเทศพม่า ควบคู่กับสภาพการณ์ของกะยันในประเทศไทย

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

"กะยัน" เป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์นี้เรียกตัวเอง และต้องการให้แทนชื่อ "ปาดอง" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คำว่า "ปาดอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ป้ายทอง" หมายความว่าพันคอด้วยทอง คนไทยใหญ่เรียกกลุ่มชนกะเหรี่ยงโดยรวมว่า "ยาง" ดังนั้น จึงเรียกลุ่มชนนี้เต็ม ๆ ว่า "ยางปาดอง", "แลเคอ" เป็นชื่อที่คะยาหรือกะเหรี่ยงแดงเรียกกลุ่มชนกะยัน ส่วนกะยันเรียกคะยาว่า "เลากัง" มีความหมายว่า "ตอนล่างของลำธาร" เพราะคะยามาจากตอนล่างของลำธาร คำว่า "แลเคอ" คะยาบางคนแปลว่า "ขุนห้วย" นอกจากนี้ ยังมีชื่อ "กะจ้าง" ซึ่งกะยันบอกว่าเป็นชื่อเรียกพวกเขา คนไทยในประเทศไทยเรียกกะยันว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" ซึ่งเป็นชื่อที่กะยันไม่ชอบให้เรียก (หน้า 5) ถ้าดูตามลักษณะทางสรีรวิทยา กะยันจัดอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ใต้ จัดเป็นชนเผ่าหนึ่งในกลุ่มกะเหรี่ยงซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาใหญ่และสาขาย่อย ดังนี้ กะยันสาขาใหญ่ ได้แก่ สะกอ, โป, ปาโอ, คะยา ส่วน กะยันสาขาย่อย ได้แก่ ปากู, บเวตะวันตก, ปาดอง/ กะยัน, เกโก, ยินบาว, ส่วน กลุ่มกะยันในประเทศพม่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ กะยันกะเคา, กะยันกะงัน, และ กะยันละทะ และสุดท้าย กะยันที่อพยพมาอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นกะยันที่มาจากกลุ่มกะยันต่างๆ ในประเทศพม่า เช่นกะยันที่หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าและบ้านในสอย อ.เมือง มาจากหมู่บ้านจั๊ด (หน้า 7 - 8)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากะยันจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน - ทิเบต ซึ่งประกอบด้วยตระกูลภาษาย่อยคือ ทิเบต - พม่า ภาษากะยันประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะต้น 22 หน่วยเสียง, หน่วยเสียงควบกล้ำ 3 หน่วยเสียง, เสียงพยัญชนะสะกด 7 หน่วยเสียง, และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง (หน้า 8 - 9)

Study Period (Data Collection)

เป็นไปได้ว่า ระยะเวลาน่าจะอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2532 - 2542 เพราะในหน้าคำนำระบุว่า มีการเก็บข้อมูลครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532 เก็บข้อมูลครั้งที่สองระหว่างปี พ.ศ.2539 - 2540 และเก็บข้อมูลครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเสนอร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมได้ในระยะเวลาสองช่วงแรกในสารานุกรมฉบับนี้ (หน้า คำนำผู้เขียน)

History of the Group and Community

ถิ่นฐานเดิมของกะยันอยู่บริเวณมองโกเลียเมื่อประมาณ 3000 ปีมาแล้ว แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่า กะยันมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และอพยพลงมาอยู่ที่รัฐคะยา ประเทศพม่า มากกว่า 3000 ปี ขณะผ่านรัฐฉานถูกเรียกว่า "ปาดอง" ในภาษาไทใหญ่ กะยันเข้ามาในประเทศไทยทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนเมื่อปลายปี พ.ศ.2527 ในฐานะ "ผู้หลบหนีภัยการสู้รบ" ด้วยสาเหตุ 4 - 5 ประการ ได้แก่ 1.หนีการกวาดล้างของทหารพม่า, 2.นโยบายการท่องเที่ยวของผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน, 3.กะยันมีการชักชวนกันเข้ามาเอง, 4.เข้ามาหาที่ทำกินใหม่, และ 5.ลี้ภัยการเมือง (หน้า 5 - 6)

Settlement Pattern

บ้านเรือนของกะยันในประเทศพม่าทำด้วยไม้สักยกพื้นสูง มีบันไดขึ้นไปบนเรือน บันไดจะต้องอยู่ทางพระอาทิตย์ขึ้น มุงหลังคาด้วยแฝกหรือสังกะสี มีลักษณะคล้ายหลังคาบ้านของกะเหลี่ยงสะกอ คือหลังคาบ้านจะมีสันตรงกลางและค่อย ๆ ลาดชันลงมาคลุมตัวบ้านไว้จนเกือบถึงพื้นดิน หลังคานี้มีความทนทาน 20 ปี จึงจะเปลี่ยนครั้งหนึ่ง ครัวจะแบ่งบริเวณแยกออกไปจากตัวเรือนในลักษณะที่เชื่อมต่อกัน ห้องน้ำจะแยกออกจากบ้าน บางหมู่บ้านไม่มีห้องน้ำ แต่จะไปทุ่ง (หน้า 15) ส่วนบ้านของกะยันในชุมชน "ผู้หลบภัยจากการสู้รบ" จะอยู่เรียงกันเป็นแถว ยกพื้นสูงใต้ถุนใช้เป็นที่เก็บฟืนและของ อื่น ๆ ฝาบ้านเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ หลังคาบ้านใช้หญ้าคา แฝก หรือใบตองตึง ไม่ได้คลุมลงถึงพื้นเหมือนบ้านในประเทศพม่า หน้าบ้านจะมีแคร่ยกพื้นสูงสำหรับนั่งเล่น ภายในบ้านแบ่งกั้นออกเป็นสองสามห้อง มีหิ้งบูชาพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ ครัวจะแยกออกจากครัวเรือน วางเตาบนพื้นดิน เหนือเตาจะสร้างชั้นวางของที่เป็นเครื่องปรุงอาหาร บนขื่อคานจะตากข้าวโพดไว้ เพื่อจะได้แห้งจากความร้อนของเตาไฟ ห้องน้ำเป็นส้วมซึมที่แยกออกจากตัวบ้าน บางบ้านที่เลี้ยงหมู และเป็ดไก่ ก็จะสร้างเล้าไว้ข้างบ้าน หลังบ้านจะปลูกต้นไม้ นอกบ้านจะตั้งศาลเล็ก ๆ ทำด้วยไม้ ลักษณะคล้ายศาลพระภูมิเพื่อเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณที่ช่วยปกป้องคนในบ้าน (หน้า 15 - 16)

Demography

จำนวนครัวเรือน และประชากรจำแนกออกเป็นประชากรของกะยันในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีดังนี้ (1) หมู่บ้านห้วยบุเกง มี 45 ครอบครัวเป็นกะยัน 3 ครอบครัว รวมหญิงชาย 100 คน หญิงใส่ห่วงคอ 20 คน เด็กใส่ห่วงคือ 2 คน (2) หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า มี 15 ครอบครัวเป็นกะยัน 4 ครอบครัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 ครอบครัว รวมหญิงชาย 56 คน หญิงใส่ห่วงคอ 16 คน เด็กใส่ห่วงคือ 4 คน, (3) หมู่บ้านในสอย มี 38 ครอบครัวเป็นกะยัน 5 ครอบครัว เป็นคะยา 2 ครอบครัว รวมหญิงชาย 165 คน หญิงใส่ห่วงคอ 56 คน เด็กใส่ห่วงคือ 17 คน (หน้า 8)

Economy

กะยันในพม่ามีอาชีพปลูกข้าวในนาดำแบบขั้นบันได และในไร่ข้าวแบบไร่โดยทั่วไปมีการปลูกพืชผักหมุนเวียน, หาของป่าล่าสัตว์, และเลี้ยงสัตว์ นำผลิตผลที่ได้ลงมาแลกเปลี่ยนกับเกลือในตลาด นอกจากนี้ ยังมีการขายเหล้าที่หมักจากข้าว แต่ในประเทศไทยเป็นเพียง "ผู้หลบหนีภัยการสู้รบ" รัฐจึงไม่อนุญาติให้กะยันมีที่ทำกินเป็นของตนเอง แต่อนุญาตให้ปลูกพืชผลใกล้บ้านและเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ไว้กินเองได้ ไก่ 1 ตัวขายได้ 150 บาท หมูกิโลกรัมละ 45 บาท ผู้หญิงที่ใส่ห่วงทองเหลืองรัฐจะให้เงินเดือนคนละ 1,500 บาท และข้าวสาร เกลือ พริก ผงชูรส น้ำมัน ปลาแห้งจำนวนหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องอยู่บ้านตลอดทั้งวันเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่สามารถทำงานบ้านไปด้วยได้ นอกจากนี้ ยังมีรายได้บางส่วนจากการขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว ด้วย (หน้า 18-19)

Social Organization

ครอบครัว : กะยันมักแต่งงานเมื่ออายุยังน้อย เมื่อชายและหญิงแต่งงานกัน พ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะขอคำมั่นสัญญาจากฝ่ายชายว่าจะดูแลฝ่ายหญิงเป็นอย่างดี หากฝ่ายหญิงทำผิดต้องไม่ทุบตี แต่ต้องมารายงานพ่อแม่ของฝ่ายหญิง และพิจารณาโทษโดยผู้อาวุโส หลังแต่งงานฝ่ายหญิงต้องอยู่บ้านตนเองก่อน 1 สัปดาห์ถึง 6 เดือน ในระยะนี้ ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะทำความคุ้นเคยกัน เพราะในสมัยก่อนการแต่งงานมักจะทำความเห็นชอบของผู้ใหญ่ จากนั้นฝ่ายหญิงจึงจะย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกคนแรกย่าและยายจะมีบทบาทสำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่ทำคลอด ช่วยเลี้ยงดูอบรม ลูกคนต่อไปสามีทำคลอดให้ เมือเด็กโตขึ้น พ่อแม่จะแยกบ้านไปอยู่ต่างหากใกล้ๆ กัน กะยันไม่นิยมแต่งงานกับคนนอกกลุ่มที่ห่างไกลตน แต่อาจแต่งงานกับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกันเช่นกะเหรี่ยงคะยา การหย่าร้างจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีบุตรหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติตัวไม่ดี ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มผู้อาวุโสเป็นผู้ตัดสินความ ถ้าผู้ชายประพฤติตัวไม่ดี เมื่อหย่าร้างต้องใช้ค่าสินไหมแก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเป็นทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มาระหว่างการแต่งงาน และยกลูกให้อยู่ในความดูแลให้อยู่ในความดูแลของภรรยา ถ้าผู้หญิงทำตัวไม่ดีเมื่อหย่าร้างต้องให้ของมีมูลค่าเท่ากับที่ฝ่ายหญิงได้รับตอนแต่งงานแก่ฝ่ายชาย รวมทั้งลูกด้วย (หน้า 17)

Political Organization

ในพม่า หมู่บ้านกะยันเป็นชุมชนที่มีความอิสระมาก หัวหน้าหมู่บ้าน รองหัวหน้าหมู่บ้าน และกลุ่มผู้อาวุโสจะเป็นคณะผู้บริหารหมู่บ้านด้วยความเคร่งครัดยุติธรรม คณะผู้บริหารจะทำหน้าที่ทางด้านพิธีกรรมจัดงานประเพณีของหมู่บ้าน ทำหน้าที่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปกครองในระดับสูงขึ้นไป ควบคุมลูกบ้านให้อยู่ในกรอบประเพณีที่ดีงาม เป็นผู้นำในการชำระความผู้กระทำผิดโดยฟังจากความเห็นของลูกบ้าน ถ้าเป็นคดีความระหว่างลูกบ้าน เช่น ชู้สาว ลักขโมย บทลงโทษจะใช้วิธีการการปรับไหม ด้วยเงินหรือสัตว์เลี้ยง ตามความรุนแรงของความผิด ในประเทศไทย กะยันก็มีการปกครองระดับหมู่บ้านใกล้เคียงกับในพม่า คือ มีผู้ใหญ่บ้านคอยดูแลอยู่เช่นกัน แต่บทลงโทษอาจแตกต่างกันไป นอกจากผู้ใหญ่บ้านหรือหัวหน้าหมู่บ้านแล้ว เหนือขึ้นไปจะมีประธานของทั้งสามหมู่บ้านซึ่งเป็นสมาชิกหอการค้าจังหวัดเป็นผู้ดูแลอีกทีหนึ่ง หากมีเรื่องทะเลาะวิวาท หรือเดือดร้อน ผู้ใหญ่บ้านหรือหัวหน้าหมู่บ้านจะรายงานให้ประธานทราบ แต่ถ้าเป็นเรื่องภายในครอบครัวอาจไม่ต้องรายงาน กะยันที่อยู่ในความดูแลของหัวหน้าหมู่บ้านและประะานหมุ่บ้านต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่พิมพ์ใส่กระดาษโรเนียวติดไว้ที่หน้าเรือนกะยันเมื่อต้นปี พ.ศ.2540 เช่น ผู้ชายปาดองและคะยอห้ามกินเหล้าตั้งแต่เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป ยกเว้นมีการจัดงานประเพณีของเผ่า เป็นต้น (หน้า 18)

Belief System

กะยันในประเทศไทยส่วนใหญ่นับถือผีที่เรียกว่า "ซื่อกาง บเว จะ" ซึ่งเป็นผีโดยรวม ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพุทธและคริสต์ ผีที่กะยันเชื่อมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ผีป่าลึก, ผีภูเขา, และผีน้ำ เรียกผีว่า "นัต" และเรียกผู้ที่เป็นเจ้าแห่งวิญญาณว่า "กะคว้าง บเว จะ" พิธีกะคว้าง เป็นพิธีที่สำคัญของกะยัน ผู้ประกอบพิธีคือผู้ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ นอกจากนี้ กะยันยังมีความเชื่อเรื่อง "เส่อหญ่าเกียว" ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งในหมู่กะเหรี่ยง - พม่า คนที่นับถือ "เส่อหญ่าเกียว" จะต้องยึดมั่นในความดี ไม่กินเนื้อวัว สุนัข ควาย ไม่ดื่มเหล้า เชื่อกันว่าอำนาจศักดิ์สิทธิ์จะบันดาลให้เกิดผลดีแก่ชีวิต นอกจากผีแล้ว กะยันยังเชื่อเรื่อง "ขวัญ" ด้วย (หน้า 22) กะยันในประเทศพม่านับถือ "ผีลู" ควบคู่ไปกับการนับถือศาสนาพุทธและคริสต์ ส่วนกะยันในประเทศไทยส่วนใหญ่จะนับถือผี อย่างไรก็ตาม, ในการดำเนินชีวิตให้มีศิริมงคลกะยันจะจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ งานกะคว้าง, งานเลี้ยงผีน้ำ, งานเลี้ยงผีภูเขา, งานตะกรุ งานเลี้ยงผีไพร พิธีทำขวัญและเรียกขวัญ งานแต่งงาน และ งานศพ เป็นต้น ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ จะต้องใช้กระดูกขาไก่ส่วนบนในการทำนายฤกษ์ยาม และเสี่ยงทาย (หน้า 22 - 27)

Education and Socialization

หมู่บ้านกะงันในประเทศพม่า มีโรงเรียนรัฐบาลชั้นประถม 20 แห่ง มัธยมต้น 5 แห่ง มัธยมปลาย 1 แห่ง โรงเรียนมิชชันนารี ซึ่งสอนเฉพาะคัมภีร์เช้าและเย็น 4 แห่ง หมู่บ้านละทะ มีโรงเรียนประถม 5 แห่ง โรงเรียนมิชชันนารี 1 แห่ง หมู่บ้านยักขุ มีโรงเรียนประถม 5 แห่ง โรงเรียนมิชชันนารี 1 แห่ง หมู่บ้านจั๊ต มีโรงเรียนประถม 1 แห่ง ส่วนกะยันในเมืองลอยก่อ ในพม่า มีมัธยมปลาย 2 แห่ง มัธยมต้น 1 แห่ง ประถม 4 แห่ง กะยันประมาณ 50 % จบชั้นประถม หญิงที่ใส่ห่วงคอไม่ได้ศึกษาต่อในระดับสูง ถ้าจะเรียนสูงต้องถอดห่วงคอก่อน (อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่ระบุเหตุผลว่า ทำไมในหมู่บ้านกะงันจึงมีโรงเรียนจำนวนมากกว่า 20 แห่ง) ส่วน กะยันในประเทศไทย มีโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนจาก NGOs และรัฐบาลคะเรนนี ที่ต่อสู้กับพม่า ดังนี้ หมู่บ้านทนาเคว่ มีโรงเรียนมัธยม 4 แห่ง มีนักเรียนประมาณ 1,000 คน หมู่บ้านในสอย มีโรงเรียนประถม 2 แห่ง มัธยมต้น 1 แห่ง มีนักเรียนประมาณ 600 คน ที่แม่สุรินทร์มีโรงเรียนทุกระดับชั้นจนถึงระดับ 10 รวมทั้งหลังระดับ 10 ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ บัญชี และคณิตศาสตร์ ใช้เวลาเรียน 2 ปี ครูที่สอนเป็นชาวต่างประเทศและกะเหรี่ยงคะยา ที่หมู่บ้านห้วยบุเกง มีโรงเรียนประถม 1 แห่ง หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า กะยันสามารถเข้าโรงเรียนรัฐบาลได้ที่ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนประถมของสำนักงานประถมศึกษา (หน้า 19 - 20)

Health and Medicine

กะยัน ในประเทศพม่า มีศูนย์สุขภาพอยู่ห่างจากหมู่บ้านจั๊ต ไป 2 - 3 ไมล์ มีโรงพยาบาลที่อำเภอเดโมโซ หรือเมืองลอยก่อ ส่วน กะยันในประเทศไทย โดยเฉพาะที่หมู่บ้านในสอย มีคลินิกที่สนับสนุนโดย IRC และคณะกรรมการท่องเที่ยว ถ้าป่วยมากก็ต้องไปโรงพยาบาลแม่ฮ่องสอน โรคที่ทำให้เสียชีวิตในชุมชน "ผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ" ได้แก่ โรคมาเลเรีย และการแพร่ระบาดของโรคอหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง และไข้เลือดออก การคลอดบุตรของกะยันใช้วิธีการแบบดั้งเดิม คือ ทำคลอดเอง ไม่ไปโรงพยาบาล (หน้า 21)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของผู้ชายกะยันในประเทศพม่า ในชีวิตประจำวันสวมกางเกงขายาว เสื้อตัวสั้น ที่น่องตอนบนจะใส่กำไรที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือ หวาย สวมกำไรที่ข้อเท้าประดับด้วยลูกปัดสีขาว ผู้ชายกะยันในประเทศไทยในปัจจุบันแต่งตัวไม่ต่างไปจากผู้ชายไทยทั่วไปในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ในช่วงเทศกาล เช่น งานกะคว้าง ชายหนุ่มกะยันที่เข้าร่วมการเต้นรอบเสากะคว้างจะใส่กางเกงขาก๊วย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว โพกสีสะด้วยผ้าสีแดง (หน้า 9) ส่วนผู้หญิงกะยันในพม่า จะสวมเสื้อทรงกระสอบสีขาวซึ่งมีแขนในตัว ความยาวของเสื้อลงมาถึงสะโพก แล้วสวมเสื้อแขนยาวสีดำทับอีกที สวมผ้าถุงสีดำทรงกระสอบ พับทบกันด้านหน้า ยาวถึงหัวเข่า ผู้หญิงกะยันจะรวบผมมวยและปักด้วยปิ่นปักผมที่เป็นเงินหรือไม้ยาว ๆ หรือใช้หวีเงินอันใหญ่สับไว้ แล้วผูกด้วยผ้าสีเป็นปมตรงด้านหน้าศรีษะ สวมตุ้มหูเงิน รอบคอสวมห่วงคอทองเหลืองเรียกว่า "เดี้ยงตือ" ประดับด้วยเหรียญเงินและลูกปัด ใส่กำไลทองเหลืองที่ข้อมือ ที่น่องตอนบนใต้เข่าจะใส่ทองเหลืองแล้วพันผ้าไว้ใต้ห่วงกันเสียดสีกับผิว ตรงบริเวณน่องหรือข้อเท้าจะใส่ห่วงทองเหลืองลงมาตลอด รวมน้ำหนักของห่วงทั้งหมดก็ประมาณ 22 - 36 กิโลกรัม (หน้า 9 - 10) อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงกะยันที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่ได้แต่งตัวเต็มที่อย่างผู้หญิงกะยันในประเทศพม่า จะใส่เพียงเสื้อทรงกระสอบสีขาวคอวีตัวยาวถึงสะโพกและสวมผ้าถุงสีดำทรงกระสอบสั้นแค่เขา ที่น่องใส่ห่วงทองเหลืองแค่เข่า และพันผ้าตั้งแต่ใต้ห่วงทองเหลืองจนถึงข้อเท้า ที่ข้อมือจะใส่กำไรอะลูมิเนียมประมาณ 6 - 7 อัน เด็กใส่แค่ 3 อัน หญิงกะยันทุกคนจะไว้ผมม้า ด้านหลังเกล้าเป็นมวยไว้และโพกผ้าสีต่างๆ เด็กๆ มักตัดผมสั้น ที่คอสวมแค่ห่วงทองเหลืองและผ้าสีใต้คางกันการเสียดสี (หน้า 10)

Folklore

เรื่องเล่าและตำนานของกะยันมักแฝงอยู่ในความเชื่อและพิธีกรรม เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับ "กระดูกขาไก่ส่วนบน" ที่ใช้ในการเสี่ยงทายหาฤกษ์เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีความเป็นมาว่า วันหนึ่งมีเทวดามอบทองที่จารึกตัวอักษรให้พี่น้องสองคน ก็ไม่รับเพราะมีค่าเกินไปกลัวจะหาย วันต่อมาเทวดาได้มอบเงินจารึกตัวอักษรให้ ซึ่งไม่รับอีก เทวดาจึงมอบสัตว์ที่จารึกตัวอักษรให้ พี่น้องทั้งสองจึงรับและดูแลอย่างดี จนกระทั่งวันหนึ่งเข้าไปตัดไม้ในป่า ก็เอาหนังสัตว์นั้นแขวนไว้ที่ต้นไม้ ปรากฏว่ามีสุนัขมากินและอุจจาระไว้ และไก่ก็มากินต่ออีกที ในตัวไก่จึงมีตัวหนังสือ กะยันจึงนับถือไก่และใช้กระดูกไก่เป็นเครื่องเสี่ยงทายตั้งแต่นั้นมา (หน้า 22) นอกจากนี้ กะยันก็ยังมีนิทานที่เล่าถึงความเป็นมาของ "เสากะคว้าง" ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ยายหนึ่งคนกับหลานชายซึ่งมีแต่หัวไม่มีตัว ที่ได้แต่งงานกับลูกสาวเศรษฐี แต่ต่อมาก็ค้นพบว่า มีชายหนุ่มรูปงามและมีเวทมนต์อยู่ในหัวนั้น ต่อมามีคนอิจฉาก็เลยเอาหัวไปเผาไฟ คนหัวเดียวโกรธมากจึงตีกลองเสียงดังทำให้เกิดพายุ พัดยกบ้านของเขาขึ้นบนสวรรค์ แต่พ่อตาแม่ยายกอดยึดเสาเอกเอาไว้ คนหัวเดียวจึงให้พ่อตาแม่ยายรักษาเสาต้นนั้นไว้และบูชาทุกปีเพื่อความเป็นศิริมงคล กะยันจึงทำพิธีเสากะคว้างมาตั้งแต่นั้น (หน้า 25) กะยันเป็นกลุ่มชนที่รักเสียงเพลงและการเต้นในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานกะคว้าง งานศพ งานแต่งงาน และงานรื่นเริงต่างๆ เครื่องดนตรีของกะยัน ได้แก่ ฆ้อง ตะยู่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกีต้าร์ ขลุ่ยไม้ไผ่ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ไม้ไผ่ กลองยาวตีด้านเดียว กลองยาวตีสองด้าน กลองสองด้าน กลองเล็กสองด้าน และกลองใหญ่สองด้าน นอกจากนี้กะยันยังชอบร้องเพลงด้วย ตัวอย่างของเพลงที่พวกเขาชอบร้องกัน ได้แก่ เพลงลูกกำพร้า เพลงสนุกเมื่อตอนเป็นสาว และเพลงแห่งความตาย เป็นต้น (หน้า 29 - 31)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงกะยัน ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสวมห่วงทองเหลืองที่คอของหญิงกะยัน การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เคารพผู้อาวุโส การแต่งงาน การดูแลสุขภาพอนามัยด้วยตัวเอง ความเชื่อเรื่องผีต่าง ๆ และการนับถือศาสนาพุทธกับคริสต์ ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานกะคว้าง งานเลี้ยงผีน้ำ งานตะกรุ งานเลี้ยงผีภูเขา เป็นต้น การละเล่นและดนตรี และเพลง เป็นต้น (หน้า 8 - 31) ความสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่ม : ในประเทศพม่ากะยันจะมีการติดต่อกับไทใหญ่ คะยา พม่า ปาโอ โดยการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน เช่น แลกข้าวกับเสื้อผ้า หรือมาร่วมงานพิธีกัน ภาษาที่ใช้ถ้ามีการศึกษาจะใช้ภาษาพม่าเป็นภาษากลาง เพราะกะยัน 60% พูดภาษาพม่าได้ ถ้าไม่เข้าใจภาษาพม่า ก็จะพยายามเข้าใจภาษาของกันและกัน เช่น กะยันและคะยาสามารถพูดภาษาของกันและกันได้ ส่วนในประเทศไทย กะยันในชุมชน "ผู้หลบหนีภัยจากสู้รบ" กะยันอาศัยรวมอยู่กับชาวกะยอ ซุ่งอพยพมาจาก Hooyah แถวเมืองลอยก่อ และชาวคะยา กะยันจึงมีการติดต่อกับชาวคะยา กะยอ รวมทั้งปาโอด้วย สามารถสื่อสารกันพอเข้าใจด้วยภาษากันและกัน เวลาที่พบปะสังสรรค์กันคืองานพิธีกรรมต่าง ๆ (หน้า 28 - 29)

Social Cultural and Identity Change

งานวิจัยไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง แต่จากงานวิจัยทั้งหมด สามารถสรุปได้ดังนี้ ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมกะยัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกะยันในประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เรื่องของ การปกครอง ภาษา การแต่งกาย อาชีพและความเป็นอยู่ การศึกษา กล่าวคือ จากที่เคยปกครองกันเองโดยมีผู้อาวุโสเป็นผู้นำ เมื่ออพยพมาอยู่ในไทยก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและระบบการปกครองของรัฐไทย ภาษาเมื่อกะยันมีการติดต่อกับคนกลุ่มอื่นมากขึ้นและมีการศึกษาสูงขึ้นก็เริ่มหันมาพูดภาษาไทยมากขึ้น เด็กหญิงที่มีการศึกษาและอยากทันสมัยก็เริ่มมีความคิดที่จะถอดห่วงคอทองเหลืองออก อาชีพที่พวกเขาทำอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่การทำไร่ทำนาเป็นหลัก แต่กลายเป็นผู้ที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยมีค่าตอบแทนจากรัฐเป็นรายได้หลัก และปัจจุบันกะยันก็เริ่มมีการศึกษามากขึ้น

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ : บริเวณที่กะยันตั้งบ้านเรือนอยู่ในรัฐคะยาประเทศพม่าและแผนที่ประเทศไทย แสดงบริเวณที่กะยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 6) รูปภาพ : การแต่งกายของผู้ชายกะยัน (หน้า 9), เด็กและหญิงกะยัน(หน้า 10 - 11), การใส่ห่วงคอทองเหลืองให้แก่เด็กหญิงกะยัน (หน้า 12), การตั้งถิ่นฐานและสภาพที่อยู่อาศัย (หน้า 15), วัด, ศาลพระภูมิ, แคร่หน้าบ้าน, และโบสถ์คริสต์ (หน้า 16), เด็กหญิงมะนัง, โรงเรียนประถมและห้องเรียน, หมู่บ้านในสอย (หน้า 17), อาชีพและความเป็นอยู่(หน้า 18 - 19), ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า(หน้า 20), รังแตนป้องกันผีและแม่ลูกอ่อนกะยัน (หน้า 21), กะคว้าง บเว จะ และกระดูกขาไก่ (หน้า 22), ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ (หน้า 23 - 27), อาหารกะยัน(หน้า 28), เครื่องดนตรี (หน้า 29)

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 26 ต.ค. 2555
TAG คะยัน กะจ๊าง กะเหรี่ยงคอยาว ปาดอง, วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, ภาษา, พม่า, ไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง