สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ,ประวัติ,วัฒนธรรม,ภาษา,น่าน
Author ชลธิรา สัตยาวัฒนา
Title ลัวะเมืองน่าน
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 224 Year 2530
Source สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พิมพ์ที่บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งจำกัด กรุงเทพฯ
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมหลายประเด็นคือ อธิบายความเป็นมาของลัวะ พรรณนาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของลัวะในพื้นที่ดอยของจังหวัดน่าน ในอำเภอปัวและทุ่งช้าง และความสัมพันธ์ของลัวะที่มีถึงขมุ ม้ง ผู้ยวน มลาบรี และคนไทยในพื้นราบ มีจุดเน้นในเรื่องการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแบบวิถีการผลิตและภาษาของลัวะ

Focus

แบบวิถีการผลิตกับโครงสร้างสังคมของลัวะเมืองน่าน (หน้า 24-25)

Theoretical Issues

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนว่าประเด็นสำคัญที่ต้องการหาคำตอบคืออะไร หรือใช้แนวทฤษฎีอะไรเป็นกรอบหรือหลักในการจัดระเบียบข้อมูล แต่ถ้าดูจากมโนทัศน์สำคัญที่ใช้ใน 2-3 บทที่เกี่ยวข้องกันแล้ว น่าจะสันนิษฐานได้ว่า มี 2 แนวทฤษฎีด้วยกัน คือ แนวมาร์กซิสต์และแนววัฒนธรรมนิเวศในแง่ที่ว่า อาจจะเป็นแนวมาร์กซิสต์ก็เพราะว่าผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือการผลิตเป็นมาตรวัดสำคัญของพลังการผลิตของแต่ละสังคมและมีส่วนกำหนดการจัดระเบียบสังคมของสังคมนั้นๆ อย่างเช่น ในกรณีของลัวะเมืองน่านมีวิถีการผลิตแบบ "เฮ็ดไฮ่" (ทำไร่) หมุนเวียน ซึ่งเครื่องมือการผลิตยังมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะครอบครัวที่ยากจนต้องไปขอจากครอบครัวใหญ่ที่มีฐานะดีกว่า อย่างเช่น "เจ้าก๊ก" ซึ่งสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ได้มากกว่า และสะสม ผลผลิตได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เชื่อมโยงตามแนวดังกล่าวยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนเพราะว่าความแตกต่างทางชนชั้นของ ลัวะ เช่น เจ้าก๊ก และลูกเลี้ยงไม่น่าจะเป็นชนชั้นตามแนวมาร์กซ์ ส่วนการวิเคราะห์อีกแนวหนึ่งคือวัฒนธรรมนิเวศที่แอบแฝงไม่ปรากฏชัด แต่ที่น่าสนใจ คือการเชื่อมโยงระหว่างแบบแผนการผลิตที่มีเทคโนโลยีต่ำ และสภาพแวดล้อมที่มีโรคภัยไข้เจ็บทำให้เกิดการล้มตาย และเกิดปรากฏการณ์ทางสังคมที่เรียกว่า "ควันต๊ก" (ลูกเลี้ยง) ซึ่งกลายเป็นกลุ่มที่อยู่ต่ำ ในโครงสร้างความสัมพันธ์ของลัวะเมืองน่าน (หน้า 24-65)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเรียกว่า ลัวะ แต่อธิบายเพิ่มเติมว่าอาจจะเป็นกลุ่มเดียวกับละว้าในเอกสารประวัติศาสตร์ล้านนา และหากเป็นเอกสารของกองทัพภาคที่ 3 จะถูกเรียกว่า "ถิ่น" ซึ่งผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าพวกเขาเรียกตัวเองว่าลัวะ ฉะนั้น ผู้เขียนสรุปว่า ละว้า-ถิ่น-ลัวะ น่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน (หน้า 14-201)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้เขียนอธิบายว่าภาษาของลัวะอาจจะถูกเรียกว่า "ภาษาถิ่น" (Thin) หรือ "มาล" โดยนักภาษาศาสตร์อาชีพอย่าง Lebar (1964) และจัดให้อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) สาขาย่อยมอญ-เขมร ที่เรียกว่าขมุอิค (khmuic) แต่ผู้เขียนขอเรียกว่า "ภาษาลัวะ" ตามที่เจ้าของภาษาเรียก และจะจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ซึ่งมีเสียงเหมือนกันและมีคำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากหมู่บ้านลัวะแบบดั้งเดิมที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งสรุปลักษณะร่วมได้ คือ ส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียวหากมี 2-3 พยางค์จะลงเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์ท้ายและเป็นภาษาที่วรรณยุกต์ไม่เป็นหน่วยเสียงที่มีความหมาย แต่ทำนองเสียงอาจจะมีความหมาย ส่วนคำต่าง ๆ อาจมีบ้าง ที่มีการหยิบยืมจากภาษาไทย (หน้า 120-134)

Study Period (Data Collection)

รวมเวลาทั้งหมด พ.ศ. 2519-2529 การเก็บข้อมูลภาคสนามมี 2 ช่วง ช่วงแรก : พ.ศ. 2520-2524 ข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคมภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ช่วงที่ 2 : พ.ศ. 2528 เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโบราณคดี ภาษา และมรดกวัฒนธรรม (หน้า 10, 26)

History of the Group and Community

ในงานนี้ในส่วนแรกคือ ภาค 1-3 ไม่ได้แสดงภาพทางประวัติศาสตร์ของชุมชนต่าง ๆ ที่ศึกษาชัดเจน นอกจากจะระบุว่า อาจมีการย้ายหมู่บ้านกันไปมา 2-3 ครั้ง แต่ภาคที่ 4 ซึ่งเป็นการสันนิษฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ลัวะโดยอาศัยตำนานและคำบอกเล่าต่างๆ ได้กล่าวถึง ความเก่าแก่ของลัวะในพื้นที่ทางเหนือของประเทศไทยว่า คนลัวะเคยมีเมืองและอาจอยู่ในที่ราบมาก่อน ซึ่งผู้เขียนได้สันนิษฐานจากตำนานล้านนาว่า ลัวะบนภูดอยน่านกับลัวะหรือละว้า อาจเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน หากเป็นเช่นนั้น เมืองสำคัญของลัวะคือ หิรัญนครเงินยางค์ ก็ถูกสร้างเมื่อ พ.ศ. 1181 โดย ลวจังกราช และมีสัมพันธ์กับล้านนามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1,000-15,000 ปี แต่ลัวะได้มีการอพยพโยกย้ายมาเป็นระยะ ๆ และกระจายไปในท้องถิ่นต่าง ๆ อย่างเช่น ที่ภูดอยเป็นต้น (หน้า 146-193)

Settlement Pattern

ผู้เขียนไม่ได้อธิบายชัดเจนเกี่ยวกับแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่ศึกษา แต่มีภาพคร่าว ๆ ว่า "อยู่บนเทือกเขาหลวงพระบาง? ซี่งเป็นภูสูงและแนวเนิน? หุบเขาที่ลดหลั่นคั่นสลับซับซ้อน? ในบางพื้นที่มียอดสูงถึง 6,500 ฟุต แต่บางแห่งอยู่ในที่ต่ำลงมามีน้ำไหลผ่านเช่น "ถ้ำว้า" ซึ่งอยู่ในระดับความสูงเพียง 1,300-1,475 ฟุต จากภาพต่อที่เห็นเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในที่หุบเขาไม่สูงนักมีลำน้ำไหลผ่าน มีขนาดประมาณ 50 หลังคาเรือน ตั้งบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นแถวเป็นแนว เกือบจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างบ้านมีต้นไม้ปลูกซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นกล้วย นอกนั้นเป็นพื้นที่ทำไร่อยู่รอบๆ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินไกลพอสมควร (ภาพหน้า 26) ส่วนตัวบ้านเป็นเรือนกาแล ซึ่งยกพื้นสูงระดับอก ที่เรียกว่ากาแลเพราะว่า "ตรงจั่วหลังคาทั้งด้านหน้าด้านหลัง มีปั้นลมลาดไปตามขอบจั่วหลังคาแล้วไปบรรจบกันที่ปลายจั่วและยื่นต่อออกไปเหมือนเขาสัตว์สองคู่ (ภาพบ้านหน้า 93) (หน้า 24-35, 92-101)

Demography

ผู้เขียนได้ให้ตัวเลขต่าง ๆ เกี่ยวกับประชากรลัวะในพื้นที่โดยตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะไม่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์เท่าที่ปรา กฎ ประชากรลัวะทั้งหมด (ในประเทศไทย) มี 11,536 คน สำหรับการสำรวจของผู้เขียน (2529) มีลัวะ (แท้) ในเขตภูดอยจังหวัดน่าน รวม 23 หมู่บ้านจำนวนเท่ากับ 6,456 คน ส่วนประชากรใน 6 หมู่บ้านที่ศึกษาเจาะลึก มีจำนวน 2,045 คน (หน้า 14-19)

Economy

มีระบบการผลิตแบบทำไร่เลื่อนลอย (ไร่หมุนเวียน) หรือเรียกว่า "แองแซ" ในภาษาลัวะ คือใช้พื้นที่ทำไร่แบบเว้นช่วงว่างแล้วกลับมาทำใหม่ ช่วงเวลาพักจะนานประมาณ 6-15 ปี มีบางครัวเรือนที่มีที่ว่างก็จะทำนา พืชที่ปลูกมีข้าวเป็นหลัก และมีพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในบางปีมีอาหารไม่พอกินต้องขุดกลอย เผือก มันป่ามาเป็นอาหาร การผลิตส่วนใหญ่ เพื่อยังชีพ ปัจจัยสำคัญคือที่ดิน ซึ่งมีไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างครัวเรือน ส่วนเครื่องมือผลิต ก็เรีบบง่ายเช่นมีดพร้า จก (เครื่องมือสักไร่คล้ายเสียมแต่มีขนาดเล็กกว่า) เคียว (มีขนาดเล็กและบางเรียว) ครกกะเดื่อง และกระด้งฝัดข้าวแต่มีปัญหาเพราะหลายครัวเรือนมีเพียงแค่ 1 ชุด ไม่เพียงพอที่จะใช้ ภาชนะสำคัญสำหรับใส่น้ำคือ "ลุนออก" หรือน้ำเต้า ซึ่งลัวะ จะรักและหวงแหนมาก มีการขัดถูให้สวยงามเพราะแสดง "หน้าตา" ของเจ้าของ เมื่อบรรจุแล้วจะตั้งไว้ที่ชานเรือน (หน้า 24-42)

Social Organization

ครอบครัวของลัวะเมืองน่านมีลักษณะเป็นผัวเดียวเมียเดียวแบบลัวะในที่อื่น ภายในครอบครัว สถานภาพของผู้หญิงมักจะเหนือกว่าชาย แต่ครอบครัวบางครอบครัว เช่น ครอบครัวชนชั้นสูง "เจ้าก๊ก" จะมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกเกิน 10 คนขึ้นไป ในเรื่องความรักและการแต่งงานนั้น ผู้หญิงสามารถแสดงท่าทีสนใจก่อนได้และเมื่อตกลงกันได้ต่างฝ่ายต่างบอกพ่อแม่ของตัวเอง ทางฝ่ายหญิงจะส่ง "แก่นสาร" หรือเถ้าแก่ไปสู่ขอ หากฝ่ายชายตกลงก็ได้แต่งงานกัน โดยที่ช่วยกันออกค่าใช้จ่ายในเรื่องงานเลี้ยงส่วนเรื่องการเลี้ยงผี (ฝ่ายหญิง) ผู้หญิงเป็นฝ่ายออกและหลังแต่งงานผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิง และนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายหญิง การถือผีเดียวกันมีความสำคัญ เพราะทำให้รู้สึกผูกพันโดยที่อาจจะไม่เห็นหน้ากันมาก่อน ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดข้อห้ามการแต่งงานของคนผีเดียวกัน ส่วนการสืบผีก็สืบผีข้างแม่ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีการรวมกลุ่มตามสายตระกูล ผู้เขียนได้ระบุด้วยว่าลัวะเมืองน่านมีร่องรอยของการแยกตัวแบบชนชั้น ซึ่งสามารถจัดลำดับจากต่ำไปหาสูงได้คือ 1. ชนชั้นต่ำคือ ลูกเลี้ยง (ควันต๊ก-ลูกกำพร้า) ไม่มีเรือน เครื่องมือการผลิตของตนเอง 2. ชนชั้นกลาง คือลัวะทั่ว ๆ ไปที่มีเรือนหลังเล็ก มีที่ทำไร่ผืนเล็กอุปกรณ์การผลิต 1-2 ชุด และน้ำเต้า 3-4 ใบ 3. ชนชั้นสูง มีที่นาผืนใหญ่ มีน้ำเต้ามากกว่า 10 ลูก ประกอบด้วยครอบครัวในตระกูลใหญ่ หมอผี เจ้าก๊ก (หน้า 35-59)

Political Organization

เจ้าก๊กเป็นผู้นำชุมชนซึ่งไม่ได้เป็นอิสระจากรัฐไทย ในช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้ศึกษาอยู่ซึ่งกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงชายแดน ลัวะจะรู้จักอำนาจของรัฐไทยผ่านชุดคุ้มครอง 32 ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการของกองทัพภาคที่ 3 เจ้าก๊กมีอภิสิทธิ์ที่เกี่ยวกับทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แหล่งจับปลา ที่ดินทำไร่ และแรงงานของชนชั้นที่ต่ำกว่าซึ่งมักจะอยู่ในโคตรวงศ์เดียวกับเจ้าก๊ก และยังเป็นผู้ดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิม (หน้า 21, 49)

Belief System

พิธีกรรมสำคัญของลัวะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เกี่ยวกับวงจรชีวิต เช่น การเกิด การแต่งงาน การรักษาพยาบาล และความตาย ส่วนอีกประเภทหนึ่งจะเกี่ยวกับการผลิต แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดในการผลิตทำให้มีการสะสมโภคทรัพย์น้อย พิธีกรรมต่าง ๆ มีลักษณะเรียบง่ายอย่างเช่น พิธีกรรมแต่งงาน ก็ไม่มีการเสียสินสอดทองหมั้น และร่วมกันจัดอาหารมา แต่ฝ่ายผู้หญิงต้องเตรียม หมู ไก่ เหล้า เพื่อเซ่นไหว้ผี และสัญลักษณ์การผูกพันเป็นสามีภรรยา ก็คือ การมัดแขนสู่ขวัญ และหากเคร่งครัดประเพณี ฝ่ายชายจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ผีของฝ่ายหญิง และจะถือผีประจำตระกูลของฝ่ายหญิง ส่วนพิธีการตายก็มีการอาบน้ำศพ และแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดที่มีอยู่ และฝังของใช้ประจำตัวไปกับศพด้วย หลุมศพจะอยู่สูงกว่าที่ตั้งหมู่บ้าน ซึ่งต้องมีพิธีเสี่ยงทายเลือกและเซ่นไหว้ผีด้วย ข้าว เหล้า ไก่ บนหลุมฝังศพจะมี "ตาแหลว" ปักเป็นสัญลักษณ์ไว้ และมีเครื่องเซ่นผี (ผู้ตาย) วางไว้ใกล้ ๆ ในระหว่างทางที่หามศพไปผู้หญิงจะต้อง "ร้องไห้" เสียงดัง ผู้ที่ไปร่วมพิธีศพจะเป็นญาติใกล้ชิด เพราะลัวะจะกลัวคนตาย และไม่ไปร่วมงานศพถ้าไม่จำเป็น ในฤดูการผลิตของแต่ละปีลัวะจะประกอบพิธี เซ่นไหว้ผีหลายครั้ง ส่วนใหญ่เซ่นด้วยไก่ ในช่วงเวลาการผลิตต่าง ๆ เช่น การกำหนดพื้นที่ ข้าวออกรวง และเก็บเกี่ยว แต่พิธีที่สำคัญคือ"ฤกษ์กยอง" ซึ่งทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว เป็นการฉลองคล้ายกับวันปีใหม่ มีการฆ่าหมู ไก่ และควาย ไหว้ผีและเลี้ยงกันสนุกสนาน ไม่ให้ทำงานในช่วงฉลองนี้ (หน้า 81-91)

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ลัวะในพื้นที่ศึกษามีสุขภาพอ่อนแอ และมักมีโรคภัยไข้เจ็บเพราะว่าอาหารไม่พอกิน รักษาความสะอาดไม่พอ และมีเชื้อโรคหลายอย่าง เช่น มาลาเรีย ไทฟอยด์ และบิด การรักษาพยาบาลที่สำคัญคือการทำคลอดซึ่งหมอผี (ผู้ชาย) เป็นผู้ทำหน้าที่โดยนวดบีบท้องและสวดคาถาเป็นภาษาลัวะ ซึ่งมีเพื่อหาว่าไม่ให้ผีมารบกวน เมื่อเด็กคลอดผู้อาวุโสเป็นคนตัดสายสะดือ ส่วนแม่ต้องอยู่ไฟแล้วคลอดเป็นเวลา 4-5 วัน (หน้า 35, 81-83)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย : ในสมัยโบราณผู้ชายนุงผ้าเตี่ยว ผู้หญิงเปลือยอกและนุ่งผ้านุ่ง แต่จากรูปที่ปรากฏ ลัวะแต่งตัวเหมือนคนไทยในชนบททั่ว ๆ ไป บ้านอาศัย : เป็นบ้านมุงหลังคาจากและแฝก ตั้งอยู่บนเสาสูงประมาณ 1.4 เมตร เครื่องมือเครื่องใช้ : มีครกกะเดื่อง กระด้ง และภาชนะทำจากลูกน้ำเต้าซึ่งมีการตกแต่ง ดนตรี : 1. เป่าเขาแพะ(แองผงก้อย) ซึ่งมีเสียงฟังดูเศร้า ๆ 2. เคาะไม้ไผ่ เมื่อเคาะประสานกันก็จะป็นทำนองดนตรีที่เรียบนุ่ม แต่กังวาลไปไกล จะเล่นกันได้ในระหว่างฟันไร่ หล้าหยอดเมล็ดข้าว และเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว 3.การเล่นพิ (คล้ายระนาดแต่ไม่เชื่อมต่อกัน) ลัวะจะเล่นดนตรีชนิดนี้ ในช่วงข้าวแทงยอด โดยช่วยกันไปหาไม้ไผ่มาเหลา ระบำรำเต้น : เต้นพิ เต้นในระหว่างเล่น "พิ" ซึ่งในระหว่างเต้นห้ามพูดภาษาไทย

Folklore

การเล่านิทาน (เล่าดยั้ว) เป็นประเพณีสำคัญของลัวะ เรื่องที่เล่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น ๆ และมีเนื้อเรื่องหลากหลาย จัดได้หลายประเภท คือ นิทานเล่าเรื่อง อธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติ นิทานปรัมปรา นิทานภาษิต นิทานตลกและนิทานเรื่องเพศ (หน้า 102-117)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลัวะมีการรับรู้และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ หลายกลุ่มด้วยกัน เช่น กับข่ามุ ซึ่งลัวะเรียกว่าลาวเทิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกันน้อยไม่เหมือนกับ "ผู้ยวน" ซึ่งลัวะมองว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เหนือกว่า และมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศสตร์ โดยที่ลัวะเป็นผู้ที่มาทีหลัง นอกจากนี้ ภายในท้องถิ่นเอง ลัวะเป็นหนี้ผู้ยวน ส่วนกับม้งนั้นแม้จะมาอยู่หลังลัวะ แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจและอาวุธที่ดีกว่า ลัวะรู้สึกว่าม้งเหนือกว่า และในหลายกรณี ลัวะกลายเป็นลูกจ้างม้งอีกด้วย ส่วนกับคนไทยที่ราบซึ่งอยู่ไกลออกไป ลัวะมีปฏิสัมพันธ์น้อย แต่รู้จักผ่านเจ้าหน้าที่ราชการซึ่งลัวะมองว่ากดขี่ และเอาเปรียบ (หน้า 60-66)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ - ภาพหมู่บ้าน หน้า 26 - ภาพบ้าน หน้า 93

Text Analyst ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, ประวัติ, วัฒนธรรม, ภาษา, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง