สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,การนับถือผี,เลย
Author เพ็ญนิภา อินทรตระกูล
Title การนับถือผีของชาวไทยดำบ้านนาป่าหนาด ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จังหวัดเลย
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 197 Year 2535
Source ปริญญานิพนธ์สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาคติความเชื่อการนับถือผีของไทยดำ และความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมในด้านต่าง ๆ ซึ่งไทยดำนี้มีคติความเชื่อเรื่องการนับถืออย่างแน่นแฟ้นและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ที่ถึงแม้ว่าจะมีการเข้ามาของวัฒนธรรมจากภายนอกก็เกิดผลกระทบกับความเชื่อดั้งเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งลักษณะของความเชื่อนั้นได้ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปของไทยดำ ทั้งในด้านครอบครัวและเครือญาติ, ศาสนาพิธีกรรม, เศรษฐกิจ, การปกครอง, การศึกษาและสุขอนามัย

Focus

ศึกษาคติความเชื่อและพิธีการนับถือผีของไทยดำ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการนับถือผีกับโครงสร้างทางสังคมของไทยดำในด้านต่าง ๆ (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยดำหรือลาวโซ่ง (หน้า 5)

Language and Linguistic Affiliations

ไทยดำมีภาษาพูดเป็นของตัวเอง รูปศัพท์โดยมากจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยโดยทั่วไป ต่างกันที่ระบบเสียง วรรณยุกต์และเสียงสระ แต่มีคำศัพท์เฉพาะที่แตกต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยอีสาน แต่เมื่อมีการติดต่อกับกลุ่มชาติพันธ์อื่นมากขึ้นก็ทำให้ภาษาพูดเปลี่ยนไป คือมีทั้งพูดไทยดำและก็พูดภาษาอื่นกับบุคคลอื่น และไทยดำที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนก็สามารถพูดภาษาไทยกลางได้ด้วย อย่างไรก็ตาม จะใช้ภาษาไทยดำกับกลุ่มไทยดำด้วยกัน (หน้า 37-38)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุ

History of the Group and Community

ไทยดำหรือลาวโซ่ง หรือ ไทยโซ่ง หรือ ผู้ไทยดำ ฯลฯ นั้นเดิมมีถิ่นฐานอยู่บริเวณแม่น้ำอู ในแคว้นสิบสองจุไทย มีเมืองแถงเป็นเมืองหลวง เป็นหัวเมืองที่ขึ้นตรงกับแคว้นสิบสองจุไทย และปกครองตัวเองมาเป็นระยะเวลานาน แต่ก็มีการอพยพย้ายถิ่นไปหลายที่ ไทยดำนั้นมีการอพยพข้าสู่ประเทศไทยหลายครั้ง คือตั้งแต่สมัยธนบุรี ปี พ.ศ.2321 เนื่องจากการสงครามที่มีการกวาดต้อนกลุ่มไทยดำและชาวเวียงจันทน์มาในประเทศไทย และให้ไปอยู่ที่เมืองเพชรบุรี จวบจนในสมัย ร.5 ก็มีการกวาดต้อนไทยดำเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง (หน้า 17-18) สำหรับไทยดำที่หมู่บ้านป่าหนาดนั้น อพยพมาจากเมืองแถง เมืองพวนและเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นผลมาจากการปราบฮ่อเมื่อสมัย รัชกาลที่ 5 (หน้า 18) โดยได้ไปตั้งถิ่นฐานที่ลพบุรีอยู่ประมาณ 8-9 ปี จึงย้ายไปยังเมืองหล่มสัก เพชรบูรณ์ ตั้งบ้านเรือนที่นั่นประมาณ 16 ปี ต่อมาฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นได้ปกครองลาวอยู่ได้มาขอนำราษฎรที่ตกค้างอยู่กลับลาว ซึ่งกลับไปเพียงบางส่วน ส่วนที่กลับไปก็ไปได้ถึงแค่เวียงจันทน์เนื่องจากชาวฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ไปส่งถึงเมืองเชียงขวาง ไทยดำส่วนหนึ่งจึงเดินทางไปเมืองเชียงขวางเอง เมื่อถึงเมืองเชียงขวางพบว่าไม่เหมาะสมที่จะตั้งหลักแหล่งอยู่ จึงคิดอพยพกลับมายังเมืองหล่มสัก โดยข้ามแม่น้ำโขงที่บ้านสงาว เมืองเชียงคาน เจ้าเมืองเชียงคานได้อนุญาตให้บุกเบิกทำไร่ทำนาได้ จึงตั้งบ้านเรือนกันที่บ้านท่าบม และได้ย้ายมาที่บ้านนาเบนและตั้งถิ่นฐานถาวรที่บ้านนาป่าหนาดในปี พ.ศ. 2448 ซึ่งบ้านนาป่าหนาดนี้มีลักษณะเป็นที่ดอนคล้ายบ้านเก่าที่เมืองพวน เมืองแถง จึงได้ตั้งหลักปักฐานกันอย่างมั่นคง โดยมีครอบครัวที่อพยพมาอยู่ที่บ้านป่าหนาดครั้งแรก 15 ครอบครัวมีประชากรประมาณ 60 คน (หน้า 19-20)

Settlement Pattern

ในระยะแรกที่ตั้งบ้านเรือนของไทยดำจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ดอน ศาลเจ้าและป่าช้าก็อยู่ทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกัน และจัดพื้นที่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นที่ลุ่มนั้นทำนา เมื่อประชากรมากขึ้นจึงขยายการตั้งบ้านเรือนออกไปทางทิศตะวันออก (หน้า 22) การตั้งบ้านเรือนจะรวมกันเป็นกลุ่มและเรียงรายไปตามถนนภายในหมู่บ้านซึ่งมีถนนหลักเป็นเส้นแบ่งกลางหมู่บ้าน 1 สาย จากถนนสายนี้จะมีถนนเล็กๆ ตัดเข้าไปในหมู่บ้าน (หน้า 14) (ลักษณะบ้านเรือนดูหัวข้อ Art and Craft) เนื่องด้วยลักษณะพื้นที่ทางเหนือนั้นเป็นที่ลุ่ม จึงทำให้ชาวบ้านได้จัดสรรพื้นที่ส่วนนี้ในการทำนา และพื้นที่ทางตอนใต้และตะวันออกนั้นเป็นที่ดอนก็เป็นที่ทำกิน และจัดพื้นที่ให้วัดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ทิศใต้เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานีอนามัย และสถานีตำรวจภูธร ด้านตะวันตกเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านป่าหนาดและโรงเรียนเขาแก้วประชาสรรค์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ป่าช้าและศาลเจ้าบ้านหรือหอเจ้าบ้านยังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกอีกด้วย(หน้า 15)

Demography

มีประชากร 182 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 811 คน ชาย 453 คน หญิง 358 คน มีคู่สมรสที่เป็นไทยดำแท้ 31 ครอบครัว และคู่สมรสที่เป็นไทยลาว 17 ครอบครัว (หน้า 14)

Economy

ชาวบ้านนาป่าหนาดประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยต่อคน 10,192 บาท ต่อปี ซึ่งจะประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังนี้ - การทำนา จะเริ่มทำเมื่อเดือนพฤษภาคม (หน้า 43) - การทำไร่ นิยมทำ ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วเหลืองเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 44) - การเลี้ยงสัตว์ นิยมเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ วัว ควาย เพื่อบริโภค ขาย และไว้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งหากใช้ประกอบพิธีกรรมจะใช้พันธุ์พื้นเมือง หากเลี้ยงขายจะเลี้ยงพันธุ์เกษตร (หน้า 45)

Social Organization

ไทยดำจะเรียกสกุลว่า "ซิง" การสืบสายสกุลจะใช้สายบิดา ภรรยาจะใช้ "ซิง" ตามสามี บุตรจะใช้ "ซิง" ตามบิดา หญิงใดแต่งงานใน "ซิง" ใด ก็จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของ "ซิง" นั้น ซึ่ง "ซิง" นี้มีลักษณะคล้ายกับแซ่ของจีน (หน้า 25) ระบบเครือญาติจะนับญาติทางสายโลหิตและญาติทางการแต่งงาน โดยที่ญาติตระกูลเดียวกันจะประกอบพิธีกรรมร่วมกัน ยึดหลักอาวุโส และ ญาติฝ่ายพ่อเป็นสำคัญ บุตรจะใช้นามสกุลของฝ่ายพ่อและจะนับถือผีตามฝ่ายพ่อด้วย แต่ฝ่ายหญิงยังนับถือผีฝ่ายตนอยู่ รวมทั้งญาติฝ่ายหญิงจะเป็นญาติกับฝ่ายชายด้วย (หน้า 26) สำหรับข้อห้ามเกี่ยวกับเครือญาตินั้นจะห้ามแต่งงานระหว่างบุคคลที่สืบสายโลหิตโดยตรง คือลูกพ่อแม่เดียวกัน ให้โครงสร้างทางสังคมของไทยดำเป็นสังคมเปิดสามารถแต่งงานนอกเผ่าพันธุ์ได้ แต่ก็มีผลทำให้ไทยดำแท้ ๆ ลดจำนวนลง พิธีแต่งงานของไทยดำ ก่อนที่จะมีการผสมกลมกลืนของประเพณีทางภาคกลางและอีสาน จะมีลักษณะเฉพาะถิ่น คือเมื่อหนุ่มสาวชอบพอกัน ฝ่ายชายจะให้ผู้ใหญ่ไปขอ หรือส่องหมากส่องพลู จะจัดขันหมากอันประกอบด้วย หมาก พลู สีเสียด ใส่ตะกร้าเล็ก ๆ ไปให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ถ้าผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงรับขันหมาก ก็ถือว่าตกลงรับฝ่ายชายเป็นเขย จากนั้นก็จะหาฤกษ์หายามเพื่อแต่งงานกัน หากฝ่ายหญิงไม่รับขันหมาก แต่หนุ่มสาวรักกันก็จะทำพิธีส่องไก่ ฝ่ายชายจะนำไก่ไปสู่ขอ โดยนำไก่ที่ถอนขนแล้วไปต้มทั้งตัวให้สุก แล้วนำไปให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะดูไก่ ถ้าเท้าไก่เหยียดตรงสวยงาม แสดงว่าหนุ่มสาวเป็นเนื้อคู่กัน ก็จะรับเป็นเขย หากไม่ถูกใจผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ฝ่ายชายจะกลับไปต้มไก่มาใหม่กี่ครั้งก็ได้จนกว่าจะพอใจ หากตกลงรับแล้ว ก็จะหาฤกษ์เพื่อกำหนดวันแต่งงานต่อไป (หน้า 32-33) พิธีแต่งงานนั้นฝ่ายชายจะเซ่นไหว้ผีเรือนฝ่ายหญิงในตอนเช้า โดยจัดสำรับมี หมู ไก่ เหล้าแกลบ ข้าว น้ำ ไปที่กะล่อห้องบ้านเจ้าสาว บอกผีเรือนว่าจะมาเป็นเขย วางสำรับไว้ที่กะล่อฮ่องแล้วออกมากราบญาติฝ่ายหญิง กราบญาติฝ่ายชาย แล้วรับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อประกอบพิธีแต่งงานเสร็จ ฝ่ายชายจะนำเสื่อ เสื้อผ้า หมอน ผ้าห่ม งอบ จอบ เสียม มีด เพื่อไปอยู่บ้านเจ้าสาว โดยไม่ได้นอนห้องเดียวกับฝ่ายหญิง แต่จะนอนอยู่ที่ชานบ้าน เป็นการลองใจ ซึ่งระยะเวลาในการลองใจนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย และระหว่างที่ฝ่ายชายอยู่บ้านฝ่ายหญิงก็ต้องช่วยทำไร่ทำนาและงานอื่น ๆ ทดสอบว่าฝ่ายชายจะขยันทำมาหากินและซื่อตรงเพียงใด เมื่อครบกำหนดก็จะประกอบพิธีสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ฝ่ายหญิงจะเกล้าผมสูงกลางศีรษะเป็นสัญลักษณ์ว่ามีคู่ครองแล้ว และฝ่ายชายจะเอาปิ่นมาปักบนผมที่เกล้าไว้ พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะนำเหล้า 1แก้วเข้าไปที่กะล่อห้อง บอกกล่าวผีเรือน และทำพิธีปูเสื่อ ฝ่ายชายสามารถอยู่ร่วมห้องกับฝ่ายหญิงได้ ในวันรุ่งขึ้น ฝ่ายชายจะต้องตื่นก่อนพ่อตาแม่ยาย เตรียมน้ำล้างหน้าไว้ให้ เป็นเวลา 3 วัน และอยู่บ้านภรรยาต่ออีก 2-5 ปี แล้วจะย้ายกลับไปอยู่บ้ายของฝ่ายชายทั้งสามีและภรรยา(หน้า 33-34) ในครอบครัวของไทยดำ ฝ่ายชายจะได้รับการยกย่องมากกว่าฝ่ายหญิง ในฐานะที่เป็นหัวหน้าครอบครัว บุตรชายจะมีความสำคัญมากเพราะจะเป็นผู้ไว้ทุกข์ จำศีล และจูงศพ เมื่อแต่งงานมีครอบครัว ฝ่ายชายจะทำหน้าที่เป็นผู้นำครอบครัว รับผิดชอบต่อสมาชิกในครอบครัวและเป็นผู้นำในการทำงาน(หน้า 119) การจัดลำดับชั้นทางสังคมนั้น จะใช้วงศ์หรือตระกูลในการแบ่งชั้น คือจะแบ่งออกเป็น 2 ชนชั้นคือ 1. ชนชั้นผู้ท้าว หมายถึงบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เกิดในตระกูลผู้ท้าว ซึ่งไทยดำมีความเชื่อว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหรือผู้ปกครองเมืองในสมัยเมื่ออยู่เมืองแถง 2. ชนชั้นผู้น้อย หมายถึง บุคคลและกลุ่มบุคคลที่เกิดในตระกูลสามัญชน ซึ่งเชื่อว่าจะอยู่ใต้ปกครองของชนชั้นผู้ท้าว ไทยดำทุกคนจะรู้ว่าตนอยู่กลุ่มผู้ท้าวหรือผู้น้อยโดยดูจากซิง ถ้าอยู่ในซิงใหญ่จะเป็นชนชั้นผู้ท้าว แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในการดำรงชีวิตโดยทั่วไป หากแต่แตกต่างทางพิธีกรรม (หน้า 130)

Political Organization

ไทยดำให้ผีมีอำนาจในการปกครองพวกตน เช่นการนับถือผีเรือน มีการเซ่นไหว้ และเมื่อมีการทำผิดก็ต้องขอขมาผีเรือน ผีเรือนจึงทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองคอยควบคุมให้ไทยดำยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม นอกจากนี้ พิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงการป้องกันการรุกรานทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอก แม้ไทยดำจะไปวัด ทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนา แต่พิธีกรรมเกี่ยวกับผีแล้วจะไม่มีการนิมนต์พระไปเกี่ยวข้องเด็ดขาด เช่น ไม่มีพระพุทธรูปในบ้านหรือพิธีศพ ไม่นิมนต์พระไปสวดศพ และป่าช้าของไทยดำจะแยกจากป่าช้าของชาวพุทธ (หน้า 142) แม้ไทยดำจะยอมรับความสัมพันธ์กับสังคมอื่น แต่ในบางพิธีกรรมนั้นก็ยังป้องกันมิให้คนภายนอกเข้าร่วมพิธีกรรมในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน (หน้า 132) สำหรับการปกครองนั้นนอกจากจะมีการปกครองตามกฎหมายแล้ว ยังผู้นำอย่างไม่เป็นทางการอีกด้วยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน (หน้า 43)

Belief System

ไทยดำมีความเชื่อเรื่องผี ซึ่งจะนับถือผีเรือน ผีเจ้าบ้าน ผีแถน ผีมด และผีมนต์ ผีเรือน คือเมื่อ ปู่ ย่า ตา ยาย ในสกุลตายแล้ว วิญญาณจะมาคุ้มครองรักษาอยู่ภายในบ้านเรือน โดยจะอัญเชิญให้มาอยู่ที่กะล่อห้อง(ภาพประกอบที่ 7 และ 8 หน้า 169) ซึ่งจะจัดให้มีการเซ่นปีละ 1 ครั้ง (หน้า 29) ผีเจ้าบ้าน คือ ผีที่อยู่ประจำในหมู่บ้าน เป็นผีที่คอยเฝ้าติดตามดูแลมาแต่บ้านเดิมของตน ซึ่งชาวบ้านจะสร้างศาลหรือหอรักษาอยู่ 4 หอ คือ หอเจ้าบ้านเมืองแถง, หอเจ้าอนุวงศ์, หอเจ้าที่เจ้าแผ่นดิน, หอเจ้าภูหวดภูแก้ว ซึ่งหอเหล่านี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน บริเวณนี้จะมีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบ (ภาพที่ 21 หน้า 178) ซ่างจะมีการสักการะ 3 โอกาสคือ ทุกวันพระใหญ่ (ขึ้น 15 ค่ำและแรม 15 ค่ำ) ในพิธีเลี้ยงผีเจ้าบ้านประจำปีครั้งใหญ่ ซึ่งจัดในเดือน 6 และพิธีเลี้ยงประจำปีครั้งที่สองจัดในเดือน 12 (หน้า30-31) ผีมดและผีมนต์ คือ ผีตามเชื้อสาย ผู้ที่เป็นร่างทรงของผีมดหรือหมอมดจะต้องมีเชื้อสายของหมอมด จะอยู่กับใครนั้นจะบ่งบอกมาตั้งแต่เกิด คือ เมื่อแรกเกิดจะมีสายรกพันจากก้นเกี้ยวมาที่คอและมีกลิ่นหอม หมอมดเป็นได้ทั้งชายและหญิง เมื่อไทยดำคนใดเจ็บป่วยญาติพี่น้องจะไปตามหมอมดมารักษา การรักษาคือการไล่ผี เมื่อหายป่วยแล้วผู้ป่วยก็จะเป็นลูกเลี้ยงของหมอมดต่อไป ซึ่งลูกเลี้ยงนี้จะต้องช่วยงานต่าง ๆ ของหมอมดตามสมควร(หน้า 31) ซึ่งหมอมดนี้จะต้องเรียนวิชาของหมอมนต์ด้วย จึงเรียกควบคู่กันว่าหมอมดหมอมนต์ หากหมอมดคนใดไม่เรียนวิชาหมอมนต์ก็จะเรียกว่าหมอมดเฉย ๆ (หน้า 63) การเลี้ยงผีมดของหมอมดจะเลี้ยง 3 ปีครั้ง เรียกว่า พิธีเลี้ยงปาง จัดในเดือน 6 (หน้า 64) ผีแถน คือผีสูงสุดของไทยดำ เป็นผีผู้สร้างโลก และเมื่อตายไปก็จะได้พบกับผีแถนบนฟ้าอีก ผีแถนประกอบไปด้วย แถนหลวงซึ่งเป็นหัวหน้าแถน, แถนแนน เป็นผู้กำหนดอายุ, แถนเคอ เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิต, แถนเคาะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ, และแถนแม่นาง เป็นแถนที่ทำให้มนุษย์เติบโต ซึ่งแถนเหล่านี้จะทำหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาและลงโทษไทยดำตามหน้าที่ของตน (หน้า54-55)

Education and Socialization

ภายในหมู่บ้านนั้นมีสถาบันการศึกษา 3 แห่งคือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, โรงเรียนบ้านนาป่าหนาด ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาประจำหมู่บ้านและโรงเรียนเขาแก้ววิทยาสรรค์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล ประชาชนส่วนใหญ่นิยมส่งบุตรหลานไปเข้าเรียนกันมาก (หน้า 15)

Health and Medicine

การนับถือผีของไทยดำ มีส่วนสัมพันธ์กับสุขอนามัยคือ 1. การเซ่นไหว้ เครื่องเซ่นนั้นจะต้องนำอาหารที่ดีมาเซ่นไหว้ คือไก่พันธุ์พื้นบ้านและหมูพันธุ์พื้นบ้าน เมื่อเซ่นไหว้เสร็จ เครื่องเซ่นจะกลายเป็นอาหารของผู้ร่วมพิธีกรรมต่อไป ทำให้ผู้ร่วมพิธีนั้นมีโอกาสได้รับประทานอาหารอย่างอิ่มเอม โดยเฉพาะได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อไก่และหมู 2. จากพิธีศพ ผู้ที่ไปร่วมพิธีศพนั้นกลับมาจะต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนขึ้นเรือน ซึ่งเมื่อไปประกอบพิธีศพนั้นอาจไปจับต้องศพหรือขุดดินช่วยฝังศพ ทำให้ร่างกายสกปรก เมื่อกลับบ้านจึงควรได้รับการทำความสะอาดร่างกายก่อน ซึ่งเป็นกุศโลบายที่มีผลต่อสุขอนามัยของไทยดำ (หน้า 137) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องผีว่าหากผู้ใดไปลบหลู่ผีหรือถูกผีเข้าสิงจะต้องเชิญหมอมดมารักษา โดยประกอบพิธีต้นเคอ ซึ่งจะเป็นการไล่ผีออกจากร่างกายของผู้ป่วย ช่วยลดอาการหวาดกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติได้ (หน้า 125)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สถาปัตยกรรม (หน้า 22) แบบดั้งเดิม มี 2 ลักษณะ - บ้านใต้ถุนสูง ใช้เสาหลายต้นเชื่อมต่อกัน มีชานยื่นออกมา ครัวอยู่นอกตัวบ้าน (ภาพประกอบที่ 1 หน้า 173) - บ้านใต้ถุนเตี้ย ยกพื้นสูงประมาณ 1 มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ฝาและพื้นใช้ไม้ ครัวอยู่นอกชานหลังบ้าน สาเหตุที่สร้างใต้ถุนเตี้ยเนื่องจากป้องกันลมตีจากใต้ถุนขึ้นบ้านในฤดูหนาว (ภาพประกอบที่ 2 หน้า 174) บ้านเรือนแบบปัจจุบัน มี 2 ลักษณะ - บ้านสองชั้น ชั้นล่างเป็นอิฐโบกปูน ชั้นบนเป็นไม้ มุงหลังคาสังกะสี พื้นล่างโล่ง ลาดซีเมนต์ ด้านหลังมีห้องน้ำ และห้องครัว หน้าต่างเป็นกระจก - บ้านชั้นเดียว ใช้อิฐบล็อกเป็นฝาผนัง หลังคามุงสังกะสี พื้นลาดปูนซีเมนต์ เป็นบ้านขนาดเล็ก เครื่องนุ่งห่ม ชาย : นุ่งกางเกงสีดำแบบจีน ยาวแค่น่อง เสื้อสีดำ คอกลมแขนยาวถึงข้อมือ กระดุมเฉียงจากไหล่ซ้ายพาดมาเอวข้างขวา บริเวณเอวถักและปักด้วยลวดลายสีสันต่าง ๆ ทั้งด้านในและด้านนอก แต่ด้านในจะมีลายปักสวยงามกว่าด้านนอก เสื้อจะมีขนาดใหญ่คล้ายเสื้อนอก ทอด้วยฝ้ายทั้งตัวย้อมสีดำ เรียกว่า ก๊อล้อง ในปัจจุบันจะใช้ในพิธีกรรมที่สำคัญ และเมื่อถึงแก่กรรมญาติจะสวมเสื้อตัวนี้ให้กับผู้ตายโดยจะกลับด้านในไว้ด้านนอก นิยมไว้ผมมวยข้างท้ายทอย แล้วใช้ผ้าดำประมาณ 2 วา กว้าง 30 - 40 เซนติเมตร เป็นผ้าบาง ๆ อาจทอด้วยไหมหรือฝ้าย โพกศีรษะเวลาออกจากบ้าน ผ้านี้เรียกว่า ผ้าเตี่ยวเบาะ หญิง : นุ่งซิ่นดำ มีลายตรงพาดจดบนลงล่าง และมีลายของซิ่นด้านล่างเป็นลายขวางเรียกว่าตีนซิ่น ด้านบนที่เหน็บเอวเรียกว่าหัวซิ่น เสื้อจะเป็นเสื้อคลุมยาวแบบญวน สีดำ ทอด้วยฝ้าย ตัวเสื้อยาวถึงเข่าหรือน่อง คอกลมมีลาย ผ่าอกจากบนถึงล่างสุด แขนเสื้อปักลายให้งดงาม ด้านในตอนล่างก็จะมีการปักลวดลายด้วยผ้าสี ซึ่งเสื้อนี้จะใส่ในโอกาสสำคัญเช่นเดียวกับฝ่ายชาย (ภาพประกอบที่ 4 หน้า 166) นิยมเกล้ามวย หญิงสาวหรือหญิงหม้ายจะเกล้ามวยต่ำที่ท้ายทอย ถ้ามีสามีจะเกล้ามวยสูง

Folklore

การนับถือผีของไทยดำนี้มีพื้นฐานความเชื่อมาจากมโนภาพเกี่ยวกับโลกและจักรวาล ดังนี้ เดิมแผ่นดินของมนุษย์กับเมืองฟ้านั้นอยู่ติดกัน มีสายโยงเชื่อมกัน มีรูปพรรณสัณฐานคล้ายดอกเห็ด มนุษย์อยู่ส่วนพื้นดินตอนล่าง ตอนบนเป็นที่อยู่ของผีฟ้า เนื่องจากตอนบนและตอนล่างอยู่ใกล้กันมากทำให้เดินทางไปมาลำบาก บรรพบุรุษของมนุษย์หรือปู่เจ้าจึงตัดสายโยงฟ้าออกจากดิน ฟ้าจึงลอยขึ้นไปสูงมาก สัตว์ในสมัยก่อนพูดได้จึงก่อให้เกิดเสียงดังไปถึงสวรรค์เสมอ ทำให้แถนโกรธและบันดาลให้เกิดความแห้งแล้งให้คนและสัตว์ต่าง ๆ ในโลกตาย ปู่เจ้าจึงทำพิธีขอฝนจนฝนตกมามากมายทำให้น้ำท่วม มนุษย์และสัตว์ได้ล้มตายกันมากมาย แถนสงสาร จึงช่วยเหลือเอาคนและสัตว์ใส่ในน้ำเต้ายักษ์เพื่อมิให้สูญพันธ์ พอน้ำลดแถนจึงให้ท้าวสวงและท้าวเงินเอาน้ำเต้าปุงลงมาจากฟ้าเพื่อปลดปล่อยคนและสัตว์สู่โลกมนุษย์อีกครั้ง ท้าวสวงและท้าวเงินจึงกลายเป็นผู้ปกครองของไทยดำต่อมา (หน้า 51-52)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มีข้อห้ามในการแต่งงานระหว่างบุคคลที่สืบสายโลหิตโดยตรง คือลูกพ่อแม่เดียวกัน ทำให้โครงสร้างทางสังคมของไทยดำเป็นสังคมเปิดสามารถแต่งงานนอกเผ่าพันธุ์ได้ แต่ก็มีผลทำให้ไทยดำแท้ ๆ ลดจำนวนลง (หน้า 32) แม้ไทยดำจะไปวัด ทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนา แต่พิธีกรรมเกี่ยวกับผีแล้วจะไม่มีการนิมนต์พระไปเกี่ยวข้องเด็ดขาด เช่น ไม่มีพระพุทธรูปในบ้านหรือพิธีศพ ไม่นิมนต์พระไปสวดศพ และป่าช้าของไทยดำจะแยกจากป่าช้าของชาวพุทธ (หน้า 142) แม้ไทยดำจะยอมรับความสัมพันธ์กับสังคมอื่น แต่ในบางพิธีกรรมนั้นก็ยังป้องกันมิให้คนภายนอกเข้าร่วมพิธีกรรมในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน (หน้า 132)

Social Cultural and Identity Change

การเข้ามาของวัฒนธรรมจากภายนอกได้ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม กล่าวคือไทยดำนับถือผีมาแต่เดิม แต่เมื่อมาอยู่ในสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็ยอมรับพระพุทธศาสนาด้วย แต่การยอมรับนั้นจะไม่ขัดกับความเชื่อดั้งเดิมคือการนับถือผี กล่าวคือ มีเพียงการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาร่วมกับคนไทยอีสานในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียง แต่จะไม่มีพระพุทธรูปไว้เคารพบูชาที่บ้าน ไม่นิมนต์พระสงฆ์เข้ามาในบ้านหรือร่วมพิธีกรรมที่วัดในวันที่บ้านของตนประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือ การยอมรับพุทธศาสนาคือการไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่วัดเท่านั้น ถึงแม้ไม่มีพระพุทธศาสนาไทยดำก็สามารถอยู่ได้ ผู้วิจัยเองก็ไม่แน่ใจว่าการไปวัดนั้นเป็นเพราะความนับถือหรือเพราะการปฏิบัติตนทางสังคมเพื่อการปรับตัว (หน้า 143) นอกจากทางด้านศาสนาแล้ว การเข้ามาของเทคโนโลยีนั้นก็ได้ทำให้ความเชื่อบางอย่างหายไป คือความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับหมอมดหมอมนต์และพิธีกรรมต้นเคอ สาเหตุที่ไม่มีพิธีกรรมดังกล่าวก็เนื่องจากหมอมดคนสุดท้ายได้เสียชีวิตแล้ว และการคลอดบุตรนั้นจะคลอดที่โรงพยาบาลหรือมีผดุงครรภ์เป็นผู้ทำคลอด ทำให้ไม่มีผู้รู้ว่าทารกนั้นมีลักษณะของผีมดหรือไม่ (หน้า144)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่จำนวน 4 ชิ้น (หน้า 168-171) แสดงเขตจังหวัดเลย, อ. เชียงคาน, อาณาเขตไทยในเวียตนามเหนือและสถานที่ตั้งบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ในหมู่บ้านป่าหนาด ตามลำดับ ภาพประกอบ 25 ภาพ (ภาคผนวก ง หน้า 173-197)

Text Analyst พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, การนับถือผี, เลย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง