สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,พิธีเสนเรือน,พิษณุโลก
Author สุกัญญา จันทะสูน
Title ภูมิปัญญาชาวบ้านและกระบวนการถ่ายทอด : การศึกษาพิธีเสนเรือนของชาวลาวโซ่ง จังหวัดพิษณุโลก
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 234 Year 2538
Source สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่องภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านและกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นลาวโซ่ง ในด้านองค์ประกอบทางวัฒนธรรมโดยศึกษาจากพิธีกรรมต่าง ๆ ของลาวโซ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยที่ผู้วิจัยเขาไปอาศัยอยู่ในชุมชน

Focus

ศึกษากระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมท้องถิ่นลาวโซ่งผ่านพิธีกรรมเสนเรือนและศึกษาปัจจัยทีทำให้เกิดการสืบทอดและเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโดยเชื่อมโยบงกับพิธีกรรมอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน (หน้า 6)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวโซ่ง

Language and Linguistic Affiliations

ลาวโซ่งมีภาษาพูดและเขียน เป็นของตนเอง ซึ่งภาษาพูดจะคล้าย ๆ กับภาษาลาวเวียงจันทน์ และลาวทางภาคอีสานของไทย ภาษาเขียนนั้นก็จะมีเพียงแค่คนแก่ ๆ ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปบางคนเท่านั้นที่เขียนได้ ลักษณะของภาษาจะมีพยัญชนะและสระคล้ายอักษรลาวหรืออักษรไทยโบราณ การเขียนนิยมเขียนในสมุดพับเป็นชั้น ๆ เช่น เดียวกับสมุดข่อย ไวยากรณ์ก็เช่นเดียวกับภาษาไทย(หน้า 78) ตัวอักษรคล้ายภาษาไขว้ ผู้ไทย และอักษรไทยถิ่นต่างๆ แถบอ่าวตังเกี๋ย อาจได้รับอิทธิพลจากรูปแบบอักษรล้านช้าง มีพยัญชนะ 27 รูป สระเดี่ยว 10 รูป สระประสม 6 รูป วรรณยุกต์ 1 รูป ปัจจุบันไม่มีการเขียนเพื่อสื่อสารกันแล้ว(หน้า 78-79) ภาษาพูด มีสำเนียงผิดเพี้ยนจากลาวเวียงจันทน์และอ่าน จะพูดภาษาของตนเฉพาะกับพวกโซ่งด้วยกัน แต่กับบุคคลภายนอกจะใช้ภาษากลางพูด (หน้า 82)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ลาวโซ่งหรือไทยโซ่งหรือผู้ไทยโซ่ง ที่จังหวัดพิษณุโลกนั้น เป็นลาวโซ่งที่อพยพมาจากเพชรบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรีมาประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่มากในท้องทีอำเภอวังทองด้วยเห็นว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เดิมหมู่บ้านนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้แยกตัวออกมาเป็นหมู่บ้านไผ่ทองมีผู้ใหญ่บ้านปกครองมาตั้งแต่เริ่มต้นจัดตั้งหมู่บ้านจนถึงปัจจุบันนี้จำนวน 2 คน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันได้ปกครองหมู่บ้านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จนกระทั่งปัจจุบัน รวมเป็นเวลา 19 ปี โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด

Settlement Pattern

สภาพการตั้งบ้านเรือน ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นหย่อม ๆ ติดต่อกันไปตามแนวถนนลูกรังสายหลักของหมู่บ้าน ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีลำน้ำที่เรียกว่า ครองไผ่คง ซึ่งแยกมาจากแม่น้าแคววังทองสภาพของหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กรุ่มแรกอยู่ตอนเหนือสุด เรียกว่า "ดงแขวน" ตรงกลางมีบ้านผู้ใหญ่บ้านเป็นศูนย์กลางเรียกว่าดงไผ่และด้านท้ายสุดเรียกว่าในไผ่ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน (หน้า 63-64) (ลักษณะโครงสร้างบ้านเรือนโซ่ ดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

มีประชากรทั้งหมดจำนวน 58 ครัวเรือนประชากรทั้งหมด 270 คน เป็นชาย 132 คน หญิง 138 คน ส่วนใหญ่เป็นโซ่งทุกครัวเรือน จะมีเพียงเขยหรือสะใภ้เท่านั้นที่มิใช่ลาวโซ่ง (หน้า 85)

Economy

ลาวโซ่งในหมู่บ้านไผ่สีทองนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก เนื่องจากสภาพพื้นดินเป็นที่ราบลุ่มและที่ดอน มีพื้นที่ทั้งหมด 1300 ไร่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อปี สามารถทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น เพราะอาศัยน้ำฝนในการทำนาเป็นหลัก และมีอาชีพรองคืองานรับจ้างทั่วไปและค้าขายโดยมีอาชีพเสริมคือการทำหมวกและตะกร้าไม้ไผ่และเลี้ยงสัตว์ (หน้า 68-70)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมของลาวโซ่งนั้นมีการแบ่งลำดับชั้นออกเป็น 2 ชนชั้นคือ 1.ชนชั้นผู้ท้าว คือ บุคคลและกลุ้มคนที่เกิดใน ตระกูล ผู้ท้าว ซึ่งลาวโซ่งมีความเชื่อว่าผู้ท้าวสืบเชื้อสายมาจากเจ้า 2.ชนชั้นผู้น้อย คือ บุคคลและกลุ้มคนทีเกิดในตระกูลสามัญชนซึ่งลาวโซ่งมีความเชื่อว่าผู้น้อยเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ท้าว ซึ่งผู้ท้าวนั้นจะมีอิทธิพลเหนือกว่าผู้น้อยเปรียบเสมือนกับเจ้าเมือง ในสมัยก่อนนั้นเองในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ นั้นจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น (หน้า 75) ในส่วนของครอบครัวลาวโซ่งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวขยาย โดยในครอบครัวคนเฒ่าจะได้รับการยอมรับจากลูกหลานและทำหน้าที่ดูแลบ้าน โดยในครอบครัวนั้นผู้ชายจะได้รับการยอมรับมากกว่าผู้หญิงในฐานะที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องใช้นามสกุลของสามี นับถือผีข้างสามี ลูกที่เกิดมาต้องใช้นามสกุลพ่อ และนับถือผีฝ่ายพ่อสืบไป ผู้ชายจะเป็นผู้นำครอบครัว(หน้า 76-77) ระบบเครือญาติ จะนับทางสายโลหิตเดียวกันและญาติที่มาจากการแต่งงานโดยเฉพาะสะใภ้จะนับรวมเป็นญาติผีเดียวกัน มีสิทธิเข้าประกอบพิธีกรรม ส่วยเขยนั้น ไม่ต้องเข้าร่วมประกอบพิธีกรรม การจัดลำดับเครือญาติ จะเป็นเครือญาติฝ่ายเดียวโดยถือเอาเครือญาติข้างพ่อเป็นสำคัญ (หน้า 77)

Political Organization

ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งจากชาวบ้านให้เป็นผู้นำโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมดำเนินการ ประกอบด้วยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจำนวน 4 คนแบ่งเป็นผู้ช่วยฝ่ายปกครอง 2 คนและผู้ช่วยฝ่ายดูแลความเรียบร้อยอีก 2 คน นอกจากนี้แล้วยังมีกรรมการฝ่ายต่างๆอีก 5 ฝ่าย คือ 1. ฝ่ายมหาดไทย 2. ฝ่ายการเกษตร 3. ฝ่ายสาธารณสุข 4. ฝ่ายการศึกษา 5. ฝ่ายการคลัง โดยมีหน้าที่ดูแลประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐและดำเนินการ (หน้า 67-68)

Belief System

ลาวโซ่ง เป็น กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีพิธีกรรมบางกลุ่มแตกต่างไปจากคนไทยหรือกลุ่มอื่นๆในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้ตามความเชื่อเป็น 2 ประเภทคือ - พิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อทางพุทธศาสนา มีการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาเหมือนคนไทยทั่วไป เช่น บวชนาค ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา งานสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ แต่รักษาเอกลักษณ์ทางการแต่งกาย และการละเล่นแบบลาวโซ่งไว้ - พิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องการนับถือผีและขวัญ เป็นความเชื่อและมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สืบทอดตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เช่นพิธีเกี่ยวกับการไหว้ผีบรรพบุรุษต่าง ๆ ที่สำคัญคือ พิธีเสนเรือน (หน้า 84) 1. พิธีเรือนเสน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน เวลาเซ่นมีการเรียกชื่อผีเรือน คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ให้มากินเครื่องเซ่น มีความเชื่อว่าการทำเช่นนั้นทำให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วไม่อดอยาก เกิดความสิริมงคลแก่บ้านเรือน ซึ่งพิธีเรือนเสน จัดเป็นพิธีครอบครัว และเป็นหน้าที่ของหัวหน้าครอบครัวที่จะต้องจัดเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้งหรือ 2-3 ครั้งมักนิยมทำกันในเดือน 4 เดือน 6 เดือน 12 เพราะเป็นช่วงว่างจากการทำนา และไม่นิยมทำในเดือน 5 เพราะเป็นเดือนที่ไม่อุดมสมบูรณ์ และจะไม่ทำพิธีในเดือน 9, 10 และ 11 เพราะเชื่อว่า 3 เดือนนี้ผีจะไม่อยู่เป็นระยะที่ผีเรือนไปเฝ้าแทน (ผีฟ้า) และตรงกับฤดูการทำนาจึงไม่สะดวกทำพิธีและยังแยกออกเป็นพิธีของผู้ท้าวและผู้น้อยอีกด้วย ซึ่งจะมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 พิธีเสนเรือนผู้น้อย โดยจะเริ่มที่การเลือกลูกหมูตัวผู้มาเลี้ยงไว้ ต้องเป็นลูกหมูที่แข็งแรงและสมประกอบเท่านั้นโดยหมูที่จะใช้ในพิธีจะเลี้ยงให้โตประมาณ 70-80 กิโลกรัม และห้ามนำหมูไปกินหรือขายเพราะเชื่อว่าจะเป็นผลร้ายกับครอบครัวนอกจากนี้ในพิธีเสนเรือนนั้นยังต้องหมักเหล้าไว้ใช้เซ่นผีเรือนด้วย เมื่อถึงกำหนดทำพิธีเสนเรือนแล้วเจ้าภาพก็จะไปปรึกษาหมอเสน เพื่อหาวันมงคล โดยวันนั้นจะต้องไม่ตรงกับวันตาย วันเผา หรือวันเก็บกระดูกของบรรพบุรุษและจะไม่ทำในเดือน 5 เมื่อใกล้ถึงวันกำหนดเจ้าภาพต้องไปวานหมอเสนให้มาทำพิธีโดยจัดของบูชาครูของหมอเสนคือหมาก พลูเสียก่อน จึงจะไปทำพิธีได้ ซึ่งจะทำกันในเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันพิธีจะฆ่าหมูตัวที่อธิฐานไว้โดยการแทงคอให้ตายหลังจากนั้นจะขูดขนออก ชำแหละเครื่องในแล้วยกขึ้นไปบนบ้าน ซึ่งลูกเขยจะเป็นคนหามหมูดังกล่าวเอาเลือดหมูมาทาที่หัวบันไดบ้าน เพื่อให้ผีรู้ว่าบ้านนี้ทำพิธีเสนเรือนแล้วจึงนำหมูไปชำแหละเป็นชิ้นๆ ในห้องผีเรือนพร้อมทั้งจัดเตรียมปานเผือนซึ่งจะต้องมีผู้มีความรู้จัดให้เรียกว่าคนแต่งเสน และเมื่อใกล้กำหนดทำพิธีเจ้าบ้านต้องไปเชิญแขกมาร่วมพิธี ได้แก่ ญาติสายโลหิตเดียวกันกับญาติจากการแต่งงานและเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยพิธีจะเริ่มจากหมอเสนมาถึงบ้านงานประมาณ 07.00-08.00 น. โดยนำพัดขนนกที่เรียกว่าวีมาด้วยเจ้าภาพจะเชิญหมอเสนเข้าไปนั่งบนเสื่อในห้องผีเรือน พร้อมทั้งมอเชี่ยนหมาก ขันน้า เสื้อฮี ให้แก่หมอเสนต่อจากนั้นเจ่าภาพและญาติผีเดียวกันจะช่วยกันยกปานเผื่อน 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ยกสูงเสมอเอว ถามหมอว่าแค่นี้พอไหมหมอจะตอบว่าดีแล้วแต่ควรยกให้สูงกว่านี้แล้ววางลง ครั้งที่ 2 ยกสูงเสมออกหรือคอแล้วถามหมอว่า แค่นี้พอหรือยัง หมอจะตอบว่า ดีเหมือนกันแต่ยังดีไม่มาก ถ้าท่วมหัวละก็ดีแล้ววางลงกับพื้น ครั้งที่ 3 ยกสูงเหนือศีรษะ แล้วถามหมอว่า สูงแค่นี้ดีหรือยัง หมอเสนจะตอบว่า แค่นี้ดีที่สุดแล้ว แล้วก็วางลง จากนั้นจะเริ่มทำพิธีต่อโดยการที่เจ้าภาพจะยกปานข้าวมาเลี้ยงหมอเสน มีข้าวเหนียวนึ่งและแกงไก่หน่อไม้ดอง ซึ่งหมอจะเสี่ยงทายตีนไก่ หากเหยียดตรงจะถือว่าดี แต่หากหงิกงอจะถือว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น แล้วจึงกินอาหารเป็นกับข้าวเช้าเรียกว่าหงายหมอ ในการเซ่นผีเรือนนี้หมอจะเชิญผีเรือนแต่ละตนมากินเครื่องเซ่นโดยเซ่นหมู 3 ครั้ง แล้วจึงเซ่นเหล้า 3 ครั้ง เซ่นครั้งที่ 1 เรียกว่า ปางแปง ครั้งที่ 2 เรียก เสนกำกก ครั้งที่ 3 เรียก เสนสองตั๊บ เมื่อเสร็จแล้วจะเซ่นเหล้าต่อโดยครั้งที่ 1 เรียกว่า เสนเหล้าหลวง ครั้งที่ 2 เรียกว่าเสนลาแกง ครั้งที่ 3 เรียกว่า เสนเหล้ากู้ ตามลำดับ หลังจากนั้น เจ้าภาพจะเชิญญาติและญาติผีเดียวกันเข้าไปในห้องผีเรือนอีกครั้งหนึ่งโดยหมอจะแจกเหล้าให้ทุกคนดื่มพร้อมๆ กัน 7 ครั้งเรียกว่า แลงฟายเรือน หมอเสนจะบอกให้พิทักษ์รักษาลูกหลานทุกคนที่ "มาหยาดฟ้ามาฟาย" แล้วหมอเสนก็จะเทเหล้าในแก้วตนทิ้งไปเรียกว่า เหล้าส่งหลำ เป็นอันเสร็จพิธีแขกจะแยกย้ายกันกลับบ้าน แต่ทางบ้านงานก็ยังคนมีพิธีต่อ คือหมอเสนจะทำพิธีแปงไต๊ให้กับลูกหลานของเจ้าภาพทุกคนและฝ่ายพ่อปู่ เป็นการเชิญเทวดามากินข้าวและสุดท้ายคือ ฟายหมอ คือเจ้าภาพขอบคุนหมอเสนที่ช่วยมาทำพิธีให้ หมอเสนจะคืนเสื้อฮีให้แล้วจึงกลับ 1.2 พิธีเสนเรือนผู้ท้าว ส่วนใหญ่จะคล้ายคล้าย ๆ กับของผู้น้อยมีส่วนที่ต่างกัน คือ - การเซ่นผีเรือนของผู้น้อยจะใช้หมูแต่ของผู้ท้าวจะใช้ควาย แต่ปัจจุบันไม่นิยมเซ่นควายเนื่องจากควายมีราคาแพง - การเซ่นผีเรือนนั้นของผู้น้อยจะเซ่นหมูก่อนแล้วเซ่นเหล้าทีหลังแต่ของผู้ท้าวจะเซ่นเหล้าก่อนเซ่นหมู - เสนผู้น้อยหมอเสนจะต้องเป็นผู้น้อย และถ้าเป็นเสนผู้ท้าวหมอเสนก็ต้องเป็นผู้ท้าวเช่นเดียวกันจะไม่ใช้หมอเสนผู้น้อยมาทำพิธีแต่ถ้าจำเป็นจริง ๆ หมอเสนผู้ท้าวจะต้องใช้คาถาข่ม - ในการทำพิธีเสนผู้น้อยจะถือพัดที่เรียกว่า " วี " แต่ของผู้ท้าวจะถือ "มีดหมอ" แทน - หมอเสนผู้น้อยจะนั่งบนเสื่อขณะทำพิธีแต่หมอเสนผู้ท้าวจะนั่งบนเก้าอี้เตี้ยที่เรียกว่า "ตั่งก่า" - ลักษณะการเซ่นอาหารต่างกัน - การเลี้ยงอาหารหมอเสนแตกต่างกัน โดยที่เสนผู้น้อยจะเลี้ยง 2 ครั้ง แต่เสนผู้ท้าวจะเลี้ยงเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีพิธีอื่น ๆ อีกคือ - เสนกวัดไกว้ หรือ เสนกวัดกวาย หมายถึงพิธีกวาดสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากเรือนแบบพิธีปัดรังควาญ เป็นพิธีเสนที่เกิดขึ้นเนื่องจากบ้านเรือนนั้นมีคนตายเรียกว่าเฮือนฮ้ายโดยผู้ทำพิธีคือแม่มด - พิธีเชิญผีขึ้นเรือน คือพิธีกระทำในทุกบ้านเมื่อมีการตายเกิดขึ้น และมีพิธีศพโดยจะทำหลังจากเผาไปแล้ว 7 วันหรือไม่เกิน 15 วัน โดยเข้าไปทำพิธีกะล้อห้อง (ถ้าเป็นผู้ท้าวจะใช้บันไดด้านหลังแทน) ในการทำพิธี โดยแต่งกายโดยใช้ชุดในโอกาสพิเศษคือ ใส่เสื้อฮีนุ่งกางเกงสีดำถือพัดวีไปด้วย คล้าย ๆ กับพิธีเรือนเสน แต่ในการเชิญผีเรือนขึ้นนั้น แขกจะเชิญผีผู้ตายที่ต้องการมาบนบ้านก่อน แล้วจึงเชิญผีเรือนอื่น ๆ จากปั๊บมากินเครื่องเซ่นด้วยโดยเรียกรายชื่อผีเรือนจนกว่าจะหมดรายชื่อ - พิธีเสนปัดตง เป็นพิธีที่แสดงถึงการปฎิบัติต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อให้มีของกินเหมือนตอนมีชีวิตอยู่ส่วนใหญ่นิยมทำกันช่วงเดือน 12 ข้างแรม - พิธีเสนเต็ง เสนเต็งเป็นพิธีเซ่นสรวงผีแถนบนฟ้า เป็นการไถ่ตัวพ่อแม่ที่ถูกขื่อคาจองจำอยู่บนฟ้า โดยของที่ใช้ในพิธีมีดังนี้ ไก่ 12 ตัว กระบอกไม้ไผ่ใช้ใส่น้ำ เหล้า 2 ขวด ควายสมมุติ 30 กว่าตัวโดยผู้ทำพิธีคือแม่มดก่อนวันพิธี 1 วันต้องเอาข้าวสารหมากพลูไปให้แม่มด ขั้นตอนสำคัญในพิธีคือตอนเสี่ยงทายด้วยไม้ หลังจากเสี่ยงเสร็จแล้วก็ทำพิธีเชิญขวัญเป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งเวลาในการทำพิธีคือตั้งแต่เช้าตรู่-เที่ยงคืนหรือตี 1 ตี 2 (หน้า 87-107)

Education and Socialization

ชาวบ้านไผ่สีทองมีโรงเรียนอยู่ 2 แห่ง คือ 1. โรงเรียนประถมศึกษา ให้การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานประถมศึกษาอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมมีนักเรียน 185 คน ชาย 96 คน หญิง 89 คน ครู 12 คน ครูช่วยราชการ 1 คน รวมเป็น13 คน 2. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้ การศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 มีทั้งหมด 4 ห้องเรียน มีครู 11 คนนักเรียน 188 คนซึ่งหลังจากจบแล้วส่วนใหญ่จะเรียนต่อที่โรงเรียนประจำจังหวัดที่อำเภอเมืองและโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล แล้วแต่ความสะดวกของนักเรียน (หน้า 71) ส่วนใหญ่นิยมสนับสนุนให้ลูกชายได้รับการศึกษามากกว่าลูกสาว (หน้า 139) นอกจากนี้ยังมีการศึกษานอกระบบโรงเรียน มีศูนย์ให้บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวังทองซึ่งชาวบ้านไผ่สีทองได้รับบริการอยู่ในเขตตำบลวังพิกุล เช่น - การศึกษาพื้นฐานเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ - การศึกษาด้านวิชาชีพเช่นตัดเย็บเสื้อผ้า การให้ความรู้ด้านข้อมูลอาทิเช่น - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน - การศึกษาตามอัธยาศัย เช่น วิยุหรือโทรทัศน์ (หน้า 71-72) นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นในเรื่องพิธีกรรม และความเชื่อโดยผ่านพิธีกรรมและประเพณี ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ไว้ดังนี้ ผู้ถ่ายทอดจะได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากบุคคลที่มีประสบการณ์มากกว่า ทั้งจากญาติพี่น้องและหมอเสนผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งความรู้นั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ การจัดองค์กรครอบครัวและเครือญาติ ระบบความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ประโยชน์ของพิธีเสนเรือนในการสร้างสัมพันธ์อันดีให้สมาชิกในสังคมลาวโซ่งและภูมิปัญญาทางด้านวัตถุ (หน้า 141)

Health and Medicine

ประชาชนส่วนใหญ่จะไปรับบริการของสถานีอนามัยตำบลวังพิกุล (หน้า 66-67)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เครื่องหัตถกรรมประเภทเครื่องมือใช้สอยของลาวโซ่งที่ใช้สอยในชีวิตประจำวันมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ได้แก่ - กะเหล็บ เป็นเครื่องสานรูปทรงคล้ายตะกร้า ก้นสอบปากเบ็นกระพุ้งเล็กน้อยทำด้วยไม้ไผ่และไม่หวาย มีหลายขนาดใช้สอย - กะแอบ เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวที่หุงสุกแล้ว - ขมุก เป็นภาชนะใช้เก็บของลักษณะคล้ายหีบมีฝาปิด - ปานเสน เป็นภาชนะใช้ใส่เครื่องเส้นตอนทำพิธีเซ่นผีทำด้วยหวายขัดไปมาคล้ายเข่งปลาทู - ซ้าไก่ไถ่ คือ ตะกร้าหวายขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายเข้งมี 2 หูสานด้วยหวายและไม้ไผ่หยาบ ๆ - ตาเหลว (เฉลว) เครื่องสานที่ใช้ปัก4มุมบ้านใช้กันไม่ให้ผีอื่นเข้าบ้านในขณะทำพิธี - ไม้ทู เป็นตะกร้าที่ใช้ในพิธีต่าง ๆ รูปร่างคล่ายตระเกียบของจีน - ไม้มอเป็นไม้เสี่ยงทายมี 20 อับใส่ใว้ในกระบอกใช้ในพิธีกรรมที่ต้องใช้แม่มด - วี คือเครื่องใช้อย่างหนึ่งในการประกอปพิธีกรรมต่าง ๆ ของหมอผี - โต๊ เคริองจักรสานขนาดเล็กใช้แทนตัวชายโดยสานเป็นกระพ้อมเล็กๆ - หอย้าคือเครื่องใช้แทนตัวฝ่ายหญิงทำจากใบตาลสอดสลับไปมาคล้ายโซ่จะเผาพร้อมเจ้าของเมื่อตาย - ปั๊ป คือสมุดห่อใบลานของโซ่งใช้จดพิธีกรรมและคาถาต่าง ๆ (หน้า 216-217) สถาปัตยกรรม แบบบ้านของลาวโซ่ง เรียกว่า "เฮือนลาว" ซึ่งลักษณะเป็นแบบเรือนเครื่องผูกวัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ เช่นหลังคาบ้านมุงด้วยแฝก ส่วนที่เป็นไม้เนื้อแข็งมีเพียงส่วนเสาบ้านเท่านั้น ตัวเรือนมีลักษณะเป็นเรือนหลังเดียว เชื่อมต่อด้วยเรือนชานเช่นเดียวกับเรือนไทย มีบันไดขึ้นสู่ชานก่อนแล้วจึงเข้าถึงตัวบ้าน มีห้องท้ายเรือนหรือเฉลียงบ้านซึ่งลดพื้นที่ลงไปเล็กน้อย มีลักษณะโค้งมน ฝาและหลังคามีลักษณะเป็นกระโจม ฝาบ้านเป็นฝาขัดแตะทำด้วยไม้ไผ่ไม่มีช่องหน้าต่าง ส่วนประกอบและโครงเป็นไม่ไผ่ทั้งลำ หลังคามีความสูงชัน มุงด้วยแฝกหรือหญ้าคาทิ้งชายคาลงมายาวมากจนบังฝาบ้านเกือบมิด เสาไม้จะใช้ไม้ทั้งต้นที่มีง่ามสามารถรับน้ำหนักของบ้านได้ ขนาดของเสามีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 นิ้วขึ้นไป ภายในบ้านจะใช้เป็นที่ทำงานจิปาถะต่าง ๆ รวมถึงเป็นที่พบปะคุยกับญาติสนิท แต่เรือนชาวโซ่งแท้ ๆ ในหมู่บ้านนี้ไม่มี ในหมู่บ้านนี้ บ้านจะเป็นใต้ถุนยกพื้นสูง ส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียว มีบันไดขึ้นตรงเฉลียงบ้าน ภายในบ้านจะเป็นห้องโถงใหญ่ไม่กั้นห้อง บางบ้านจะสร้างห้องผีเรือนเล็กๆ มุมในสุดของบ้านเป็นที่อยู่อาศัยของผีเรือนโดยเฉพาะ ซึ่งใช้เป็นห้องประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ (หน้า 63) การแต่งกาย ชาย - ในชีวิตประจำวัน นุ่งการเกงผ้าฝ้ายสีดำหรือครามเข้มที่เรียกว่า ซ้วง สวมเสือผ่าหน้าตลอด ติดกระดุม 10-15 เม็ด แขนยาว รัดข้อมือ เรียกว่าเสื้อไท มักนิยมตัดผมสั้นเกรียน - ในงานพิธีกรรม นุ่งกางเกงขายาวสีดำและสวมเสื้อฮี ซึ่งเป็นเสื้อเข้ารูปเล็กน้อย ยาวคลุมสะโพก ผ่าหน้าตลอด ด้านข้างผ่าขึ้นถึงเอว คอเสื้อเป็นคอกลมติดคอ กุ๊นรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดง เดินเส้นทับด้วยไหมสีแสด เขียว และขาว มีกระดุมติดคล้องไว้ 1 เม็ด แขนเสื้อยาวทรงกระบอก ปักตกแต่งด้านข้างเสื้อบริเวณรักแร้ด้วยเศษไหมสีต่าง ๆ และติดกระจกชิ้นเล็ก ๆ ตามลวดลายอย่างสวยงาม หญิง - ในชีวิตประจำวัน นุ่งซิ่นดำหรือครามเข้ม มีลายขาวทางลงสลับดำเป็นลายคล้ายผลแตงโม เชิงผ้ากว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ถ้าเป็นแม่ม่ายจะเลาะเชิงออก การนุ่งซิ่นจะจับผ้ามาทบกันตรงกลางให้เป็นจีบแล้วขมวดไว้ตรงหน้าท้อง หรือใช้เข็มขัดคาดแล้วดึงซิ่นข้างหน้าให้สูงกว่าด้านหลัง เพื่อสะดวกในการเดินและทำงาน สวมเสื้อเหมือนเสื้อไท แต่ติดกระดุมน้อยกว่า เรียกว่าเสื้อก้อม ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วยังนิยมคาดอกด้วยผ้าเปี่ยว เป็นผ้าฝ้ายสีดำหรือครามเข้ม กว้างประมาณ 16 นิ้ว ยาว 1 เมตร ริมด้านหนึ่งปักลวดลายตามแบบของลาวโซ่ง ทรงผมนั้นนิยมไว้ผมเกล้ามวยเสียบปิ่น ถ้ายังสาวจะเกล้ามวยสูง แต่งงานแล้วจะเกล้ามวยต่ำ นิยมสวมกำไลและต่างหู - ในพิธีกรรม จะสวมเสื้อฮี คล้ายเสื้อฮีของผู้ชายแต่มีขนาดใหญ่กว่า คอแหลมลึก สวมหัว แขนสามส่วน ปักและตกแต่งปลายแขนด้วยไหม มักใช้สวมทับเสื้อใส่อยู่อีกชั้นหนึ่ง (หน้า 83-84)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

สมาชิกส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นลาวโซ่งเกือบทั้งหมดโดยที่มีแค่บางเรือนเท่านั้นที่มีเขยหรือสะใภ้เป็นคนไทย

Social Cultural and Identity Change

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่ 4 สาเหตุคือ - อิทธิพลของพุทธศาสนา - ประสบการณ์ของคนในชุมชน - การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมด้านการคมนาคม/สิ่อสารมวลชน - สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว (หน้า 155)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่จำนวน3ชิ้น(หน้า60-62)แสดงเขตจังหวัดพิษณุโลก และอำเภอไผ่สีทอง แผนที่แสดงถิ่นที่อยู่และการอพยพของลาวโซ่งภาพประกอบ2ภาพ(ภาคผนวก ข หน้า193-198)

Text Analyst พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ Date of Report 19 ก.พ. 2564
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, พิธีเสนเรือน, พิษณุโลก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง