สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ดาระอั้ง,การเคลื่อนย้าย, การตั้งถิ่นฐาน, เชียงใหม่
Author นนทวรรณ แสนไพร
Title การเคลื่อนย้าย การตั้งถิ่นฐาน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้าน เศรษฐกิจของชาวดาระอั้งในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ดาราอาง ดาระอางแดง รูไม ปะเล รูจิง ตะอาง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
Total Pages 150 หน้า Year 2554
Source วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ภูมิศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

พัฒนาการการเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของชาวดาระอั้งในอำเภอเชียงดาว
         
ชาวดาระอั้งย้ายถิ่นฐานมาจากรัฐฉานและรัฐคะฉิ่นประเทศพม่า เข้ามาในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2511 เนื่องจากปัญหาทางการเมืองคือลี้ภัยสงคราม มาอยู่ที่บ้านนอแล ซึ่งเป็นการย้ายมาอยู่ชั่วคราว
         
เมื่อบ้านนอแลมีประชากรชาวดาระอั้งจำนวนมาก ที่ดินทำกินและอัตราการจ้างงานไม่เพียงพอ จึงเกิดการย้ายถิ่นฐานขึ้นอีกโดย ย้ายมาอยู่ในอำเภอเชียงดาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีที่ดินทำกินมากพอและมีภูมิประเทศเหมาะสมแก่การอยู่อาศัยมากกว่า และมีการจ้างงานในภาคเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มมีการย้ายมาอยู่ในหย่อมบ้าน แม่จร บ้านปางแดงใน บ้านห้วยปง บ้านปางแดงนอก ตามลำดับ
         
การย้ายถิ่นของชาวดาระอั้งนั้นมีลักษณะไม่ตายตัว ชาวดาระอั้งบ้านแม่จรมีลักษณะการย้ายถิ่นโดยตรง ในขณะที่บ้านปางแดงในมีการย้ายถิ่นแบบผลักดันส่วนบ้านห้วยปงมีการย้ายถิ่นแบบเป็นขั้นตอนและบ้านปางแดงนอกมีการย้ายถิ่นแบบแทนที่ โดยการย้ายถิ่นของดาระอั้งในแต่ละหมู่บ้านแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่ลักษณะการย้ายถิ่นจะไม่มีรูปแบบที่ตายตัว เพราะจะมีรูปแบบการย้ายถิ่นอื่นๆ แฝงอยู่ด้วย  (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:137)
         
ปัจจัยที่มีอิทธิในการย้ายถิ่นและการต้องถิ่นฐานของชาวดาระอั้งที่มีความสำคัญที่สุดนั่นคือ ปัจจัยเรื่องกายภาพ ปัจจัยที่ดินทำกินเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด หากดูจากการศึกษาพบว่าปัจจัยเรื่องที่ดินทำกินนั้นอยู่ในลำดับความสำคัญลำดับที่ 1 ใน 3 ของชาวดาระอั้งในทุกๆหมู่บ้าน
         
ส่วนบ้านปางแดงนอกเป็นหมู่บ้านเดียวที่ไม่มีปัจจัยดังกล่าวอยู่ใน3 อันดับแรก แต่มีปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมเข้ามามีความสำคัญสูงสุด โดยมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การจ้างงาน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอันดับที่ 2ของการตัดสินใจย้ายถิ่นฐานและตั้งถิ่นฐานทุกๆหมู่บ้าน
 
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจของชาวดาระอั้งในอำเภอเชียงดาวชาวดาระอั้งนั้นมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงและแตกต่างในช่วงเวลาทั้งสาม โดยช่วงเวลาแรกนั้น ชาวดาระอั้งมีวิถีการผลิตเพื่อการยังชีพยังไม่ได้มีความเข้มข้น จำนวนประชากรก็ยังคงมีจำนวนน้อย การเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนโดยพักหน้าดิน 3-4ปี ยังเป็นวิถีการผลิตหลักที่ยึดถืออยู่ ช่วงเวลาที่ สอง เปลี่ยนจากการผลิตแบบไร่หมุนเวียนเพื่อการยังชีพมาเป็นการปลูกพืชเชิงพานิช เช่น งา ข้าวโพด โดยเลิกพักหน้าดิน 3-4 ปี เปลี่ยนมาเป็นการพักหน้าดินเพียง 1 ปี เท่านั้น เป็นต้น ส่วนช่วงเวลาที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีรายได้จากการท่องเทียวอย่างเป็นระบบ มีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นมากขึ้น ถือว่าเป็นยุคที่มีชีวิตเป็นทุนนิยมมากขึ้น

Focus

การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้าย การตั้งถิ่นฐาน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจของชาวดาระอั้งในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ทำการศึกษาประวัติความเป็นมา อัตลักษณ์ ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ดาระอั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และจากนั้นจึงศึกษาปัจจัยต่างๆที่ทำให้ชาวดาระอั้งตัดสินใจย้ายถิ่นฐานและอยู่อาศัย ณ พื้นที่ต่างๆตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

Theoretical Issues

แนวคิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่นและการพลัดถิ่น แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน แนวคิดประชากรกับการใช้ทรัพยากร และแนวคิดรูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร

Ethnic Group in the Focus

ดาระอั้ง 

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาดาระอั้งนั้นจัดอยู่ในสายตระกูลออสโตรเอเชียติก โดยเป็นการใช้คำยืมจากภาษาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยใหญ่ คะฉิ่น ลีซอ โดยชาวดาระอั้งมักใช้ภาษาไทยใหญ่เป็นหลัก ปัจจุบันชาวดาระอั้งในประเทศไทยสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยภาคเหนือได้บ้าง โดยเฉพาะคนที่อายุยังไม่มาก

Study Period (Data Collection)

ปี พ.ศ. 2554

History of the Group and Community

ชาวดาระอั้งเป็นผู้พลัดถิ่นเชื้อสายมอญ เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2511 ด้วยการเดินเท้าเข้ามาตามแนวชายแดนและเข้ามาอยู่ในพื้นที่บ้านนอแล ต. ม่อนปิ่น อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ ทางรัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะผลักดันให้ชาวดาระอั้งกลับออกไปในเขตพม่า แต่ชาวดาระอั้งก็เดินทางกลับมาไทยอีกหลายครั้ง จนกระทั้งปี พ.ศ. 2525 ชาวดาระอั้งได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จที่บ้านขอบด้ง และได้ขออนุญาตอาศัยในประเทศไทย ทรงโปรดเกล้าให้ชาวดาระอั้งกลุ่มนี้อยู่ที่บ้านนอแลในฐานะผู้อพยพจนถึงปัจจุบัน 
 
จากการศึกษาทราบว่า ที่อยู่อาศัยเดิมของชาวดาระอั้งนั้นถูกแทนที่ด้วยชาวไทใหญ่ ที่มีความเจริญและเทคโนโลยีที่สูงกว่ามาแทนที่ ทำให้ชาวดาระอั้งต้องอพยพขึ้นไปอยู่บนเขา ชาวดาระอั้งเป็นคนที่รักความสงบ อาศัยอยู่บนเขาที่ห่างไกล จึงทำให้มีภาษาและเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ โดยรัฐฉานเป็นรัฐที่ชาวดาระอั้งอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีรัฐเล็กที่ปกครองด้วยชาวดาระอั้งนั้นคือรัฐตองบายหรือรัฐปะหล่อง ชาวดาระอั้งไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง ดังนั้น ความพยายามที่จะเขียนประวัติศาสตร์ของชาวดาระอั้งจึงเกิดขึ้นด้วยการใช้ภาษาไทยใหญ่เป็นภาษาเขียน โดยได้กล่าวว่าชาวดาระอั้งนั้นมีต้นกำเนิดมาจากพระอาทิตย์และเจ้าฟ้ามังกร โดยกล่าวว่าชาวดาระอั้งอพยพมาจากจีน เมื่ออพยพมาถึงภูเขาที่ไม่มีน้ำจึงได้ขอน้ำจากผี เมื่อขอเสร็จแล้วจึงปักไม้ไผ่ลงดินนำไป ปรากฏว่ามีน้ำไหลออกมา จึงอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวเรียกว่า “น้ำซัน”หรือน้ำสั่น
 
ในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่ชาวดาระอั้งอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐฉาน ซึ่งพม่าถูกอังกฤษรุกราน และในช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองพม่านั้นเกิดความไม่สงบในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ. 2521 ชาวดาระอั้งจึงเริ่มอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
 
เหตุการณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในประเทศพม่าคือการสู้รบกันของชนกลุ่มต่างๆ ในรัฐฉานกับทหารพม่าในช่วง พ.ศ. 2493-2503 ส่วนชาวดาระอั้งที่อยู่ในรัฐฉานนั้น ได้รับผลกระทบจากสงครามเมื่อประมาณ ปี 2513โดยการเข้ามาของลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้มีการสู้รบกับทหารพม่า ชาวดาระอั้งเองก็ถูกเกณฑ์ไปสู้รบกับกลุ่มต่างๆ โดยในช่วงเวลานั้นมีชาวดาระอั้งที่ตั้งกองกำลังของตนเองขึ้นมาคือ นายพลจอนละ ใช้ชื่อว่ากองกำลังกู้ชาติปะหล่อง เกิดการสู้รบกันมากขึ้น ชาวดาระอั้งจึงเข้ามาอยู่อาศัยรวมกันที่น้ำซันและดอยลาย จนสถานการณ์บีบบังคับต้องอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารซึ่งชาวดาระอั้งไม่อยากเป็นและยังต้องเจอกับความกดดันทั้งจากคอมมิวนิสต์สองฝ่าย คือ คอมมิวนิสต์จากพม่าและจากจีน กับทหารพม่าอีกด้วย (จากการสัมภาษณ์ของผู้นำชาวดาระอั้ง) (นนทวรรณ แสนไพร:69)
 
ความเป็นมาของชุมชนชาวเขา มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายที่ได้รับจากการเมืองระดับประเทศเกี่ยวกับเรื่องชาวเขา ในช่วงเวลาก่อนหน้าปี พ.ศ.2503นั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวเขาเผ่าต่างๆ มีวิถีชีวิตที่เน้นการผลิตแบบการเกษตร แต่เป็นการเกษตรแบบการทำไร่เลื่อนลอย ทำให้ต้องอพยพอยู่เรื่อยๆระหว่างชายแดน ไทย-พม่า รัฐไทยเริ่มมาให้ความสำคัญเริ่มให้ความช่วยเหลือชาวเขาก็เมื่อ ประมาณปี พ.ศ.2499ในช่วงสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์
 
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2503จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะผู้นำประเทศในขณะนั้นได้สั่งให้มีการจัดตั้งนิคมสงเคราะห์ชาวเขาขึ้นอันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่จะให้ชาวเขาอาศัยอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง ไม่อพยพ แต่การจัดตั้งนิคมในครั้งนี้เกิดความผิดพลาดขึ้น เมื่อเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆทำให้การอยู่ของชาวเขากลุ่มต่างๆนั้นเป็นไปได้ยาก หลังจากนั้นมีการปรับนโยบายดังกล่าวให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยเป็นการกำหนดเขตพื้นที่การสงเคราะห์และการพัฒนา โดยให้ชาวเขาเผ่าต่างๆย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณที่กรมประชาสงเคราะห์กำหนดเพื่อให้ง่ายแก่การดูแล
 
ปี พ.ศ.2516 เป็นปีที่ขบวนการคอมมิวนิสต์เริ่มเข้ามาแทรกซึมในหมู่ชาวเขาเผ่าต่างๆ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับชาวเขาอีกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเขามีความคิดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยเกิดนโยบายรวมพวกขึ้นและนโยบายดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่จนถึงช่วง ปี พ.ศ.2536

Settlement Pattern

พัฒนาการการเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2511 โดยชาวดาระอั้งหนีภัยสงครามจากพม่ามาอยู่ในเมืองไทย และเมื่อปี พ.ศ. 2525 ชาวดาระอั้งได้รับอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อยู่อาศัยในบ้านนอแลในฐานะผู้อพยพ ทำให้ชาวดาระอั้งจำนวนมากย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ณ บริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมากถึง 2,000 คน ชาวดาระอั้งจึงมีความคิดที่จะแสวงหาที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อโอกาสที่ดีของชีวิต ประจวบกับชาวดาระอั้งอพยพเข้ามาเป็นแรงงานป่าไม้ในอำเภอเชียงดาวเป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว
 
ป่าไม้ที่มีการสัมปทานเป็นเวลา 120 ปีนั้นทำให้พื้นที่ป่าเชียงดาวนั่นโล่งเตียนส่งผลให้มีการอพยพของกลุ่มคนต่างๆมากมาย ชาวดาระอั้งส่วนหนึ่งและชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ก็ได้ทำการจองที่ในบริเวรนั้นเมื่ออุตสาหกรรมป่าไม้ยุติลง จนเมื่อพ.ศ. 2516 รัฐได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนห้ามบุกรุกจึงส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำกินของชาวดาระอั้งเป็นอย่างมาก การเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงดาวนั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวดาระอั้งที่อยู่ในบ้านนอแล อำเภอฝางและมีบางส่วนที่มาจากบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง โดยอพยพมาโดยเท้าในเส้นทางป่าเพื่อหลบหนีการจับกุม โดยจะเดินทางเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-5 คน และจะแจ้งให้ญาติพี่น้องทราบเรื่องการย้ายถิ่นที่หลัง
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านแม่จร
บ้านแม่จรแต่เดิมนั้นคือบ้านปางฮ้อ เพราะมีคนจีนฮ้ออาศัยอยู่ก่อนที่จะย้ายออกไปแล้วมีชาวลาหู่และชาวดาระอั้งเข้ามาอาศัยอยู่แทนที่ในปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านแม่จรหรือแม่จอน สามารถเขียนได้ทั้ง 2 แบบ
 
การเคลื่อนย้ายของชาวดาระอั้งที่บ้านแม่จรนั้นมี 3 ช่วงด้วยกัน คือ
1.ช่วงก่อนปี 2526
2.ช่วงก่อตั้งหมู่บ้านจนถึงช่วงที่ประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา และ 3.ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน
 
ช่วงก่อนปี 2526
ชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านแม่จรเป็นแห่งแรก โดยย้ายเข้มาอาศัยเพียง 2-3 ครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาค่อยมีกลุ่มอื่นๆ ย้ายเข้ามาอีก โดยชาวดาระอั้งบ้านแม่จรนั้นมีผู้นำคือ นายบุญ จองคำ จากการศึกษาพบว่าเริ่มแรกนั้นชาวดาระอั้งย้ายถิ่นฐานมาเพื่อเก็บชาให้กับชาวจีนฮ้อ จำนวน 300 ไร่ด้วยกัน จนกระทั่งมีกลุ่มชาวบ้านที่มาจากบ้านเปียงหลวง อำเภอวังแหง เข้ามาทำให้มีคนมากขึ้น ต่อมานาย คำ จองตาลจึงได้พาชาวดาระอั้งที่ย้ายมาด้วยกันไปอยู่อาศัยในบ้านปางแดงใน บ้านแม่จรนั้นถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าไปย้ายให้มาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน้ำ
 
ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526- ปี พ.ศ. 2532)
การย้ายออกจากพื้นที่ของชาวบ้านบางส่วนไปอยู่ที่บ้านปางแดงในนั้นทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในบ้านแม่จร ขอชื้อที่ดินที่จำนวน 6 ไร่ 3 งาน  เพื่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งในขณะนั้นมีทั้งสิ้น 12 ครัวเรือนเป็นชาวดาระอั้ง 11 ครัวเรือนและลาหู่ 1ครัวเรือน การซื้อที่ดินช่วยกันจ่ายจำนวนครัวเรือนละ 600 บาท (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:74) นอกจากนั้นเมื่อตั้งหมู่บ้านแล้วก็มีการจับจองที่ดินเพิ่มขึ้นอีกด้วย การเข้ามาตั้งหมู่บ้านในช่วงแรกนั้น ชาวดาระอั้งส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างในภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเก็บชา การเก็บข้าวโพด ส่วนอาชีพการเกษตรนั้นเป็นอาชีพที่เพิ่งเริ่มทำตอนที่มีที่ดินทำกินของตนเอง
 
การย้ายถิ่นฐานเข้ามาของชาวดาระอั้งในช่วงนี้ 2 แบบ คือการย้ายจากบ้านนอแลเข้ามาอยู่ในบ้านแม่จร และย้ายจากบ้านเปียงหลวงเข้ามาที่แม่จร ลักษณะการตั้งถิ่นฐานนั้นจะเป็นการตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ตรงกลาง โดยจะตั้งให้ง่ายแก่การคมนาคมเพื่อให้สามารถเข้ามาช่วยเหลือกันได้ในยามที่มีเหตุร้ายจากคนหรือจากสัตว์ บริเวณรอบหมู่บ้านก็จะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่การทำการเกษตร
 
ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533 - 2553)
การประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้นส่งผลกระทบกับชาวดาระอั้งโดยตรง พื้นที่ในการทำกินลดลง พื้นที่การหาของป่า ล่าสัตว์ ก็ลดลง เช่นกัน ดังนั้นชาวดาระอั้งจึงหันมาทำเรื่องการท่องเที่ยวและอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
 
การตั้งถิ่นฐานในช่วงนี้ มีความแน่นอนไม่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปที่ไหนอีกแล้ว ลักษณะการสร้างบ้านนั้นก็มีความแตกต่างจากการตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกกล่าวคือ ให้ความสำคัญกับถนนอย่างมากเพราะต้องเดินทางออกไปรับจ้างในช่วงเวลานอกฤดูกาลการเพาะปลูก ดังนั้นบ้านเรือนจึงมีลักษณะขนานกับถนนเป็นแนวนอน
 
เหตุการณ์การออกนโยบายปิดป่าของรัฐนั้นทำให้ชาวดาระอั้งบ้านแม่จรถูกจับ พร้อมๆ กับชาวบ้านหมู่บ้านปางแดงในและปางแดงนอก ใช้ช่วง พ.ศ. 2533 และได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นชาวดาระอั้งก็ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ มากขึ้น คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงหรือ UHDP (Upland Holistic Development Project) เข้ามาช่วยเหลือด้านน้ำประปาและการขอสัญชาติ ส่งผลให้ชาวดาระอั้งมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้นและไม่ย้ายถิ่นฐานออกแต่อย่างใด
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านปางแดงใน
บ้านปางแดงในเป็นหย่อมบ้านของบ้านทุ่งหลุก หมู่ที่ 9 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมที่เรียกว่าบ้านห้วยหกเนื่องจากมีลำห้วยหกไหลผ่านขนานกับหมู่บ้านและชาวบ้านก็ใช้ลำห้วยสายนี้ ปัจจุบันเรียกว่า “บ้านปางแดงใน”การย้ายถิ่นฐานและตั้งถิ่นฐานของชาวดาระอั้งบ้านปางแดงในสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาเช่นเดียวกับชาว   ดาระอั้งบ้านแม่จรคือ ด้วยกัน คือ
1.ช่วงก่อนปี 2526
2. ช่วงก่อตั้งหมู่บ้านจนถึงช่วงที่ประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
3. ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน
 
1) ช่วงก่อนปี 2526
ผู้นำของบ้านปางแดงในคือ นาย คำ จองตาล ที่อพยพภัยสงครามในประเทศพม่ามาอยู่ในบ้านนอแล อำเภอฝาง โดยในช่วงนั้นมีการไปรับจ้างในโรงการหลวงและมีการข้ามไปทำการเพาะปลูกในประเทศพม่า เนื่องจากยังไม่มีความเข้มงวด แต่ได้รับผลกระทบจากขุนส่าเจ้าพ่อยาเสพติดรายใหญ่ จึงต้องเดินทางอพยพเข้ามาที่บ้านแม้จรเพื่อมารับจ้างในภาคการเกษตร โดยมาอาศัยอยู่กับชาวดาระอั้งที่มาอยู่ในบ้านแม่จรอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว
นายคำ จองตาลเล่าให้ฟังว่า “ช่วงปี พ.ศ. 2526 ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านแม่จร รับจ้างชาวจีนฮ่อที่มีสวนชาเก็บใบชา ตอนนั้นมารับจ้างเด็ดยอดชาได้กิโลกรัมละ 2.50 บาท จนกระทั่งปี พ.ศ.2527 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านปางแดงในจนถึงปัจจุบัน”(นนทวรรณ แสนไพร,2554:80) จากข้อความดังกล่าวผู้นำชาวดาระอั้งได้บอกถึงช่วงเวลาที่ย้ายจากบ้านแม่จรเข้ามาอยู่ในบ้านปางแดงใน
 
2) ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526- ปี พ.ศ. 2532)
 
การย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในต้นปี 2527 นั้นเป็นการเริ่มต้นจากการเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างในภาคการเกษตร ให้กับชาวเมืองแลชาวจีนฮ้อ ที่เข้ามาบุกเบิกที่ดินทำเกษตรอยู่ก่อน ก่อนที่จะย้ายออกไปจากพื้นที่ โดยชาวบ้านได้รวมเงินกัน 11 ครัวเรือน จำนวน 2,000 บาท และย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของชาวเมืองที่เข้ามาทำการเกษตรแต่่ไม่ได้อยู่อาศัยอยู่ในที่แห่งนั้นเพื่อความยุติธรรม ชาวบ้านได้ทำการจับฉลากเพื่อแบ่งที่ดินจำนวน 10 ไร่ แก่ 11 ครัวเรือน โดยชาวบ้านปางแดงในในตอนนั้นได้ทำการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีรอบการปลูกหมุนเวียน 3-4 ปีด้วยกัน
 
3) ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533- ปี พ.ศ. 2553)
 
ในช่วงหลังจากที่ชาวดาระอั้งโดนจับกุมในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยนั้น เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวดาระอั้งไปอย่างสิ้นเชิง โดยระบบการผลิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นการผลิตเพื่อยังชีพ กลายเป็นการผลิตเพื่อพาณิชย์  โดยมีพ่อเลี้ยงที่เข้ามาสนับสนุนให้หญิงชาวดาระอั้งที่ไม่ได้ถูกจับกุมทำการเพาะปลูกงาและเข้ามารับซื้อผลผลิตทั้งหมด
 
นอกจากนั้นเนื่องจากจำนวนที่ดินทำกินที่จำกัดทำให้ชาวดาระอั้งในบ้านปางแดงในเริ่มหารายได้จากนักท่องเที่ยวและงานหัตถกรรม การทอผ้าของตนเองมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อ พ.ศ. 2535 ชาวดาระอั้งชายที่ถูกจับกุมได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชาวดาระอั้งย้ายถิ่นฐานแต่อย่างใด โดยยอมสูญเสียพื้นที่ทำกินบางส่วนให้รัฐไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวดาระอั้งนั้นไม่ได้เป็นผู้ที่ทำร้ายป่าแต่อย่างใด โดยมีครัวเรือนทั้งหมด 58 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปางแดงใน
 
ชาวดาระอั้งจำนวนมากได้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านปางแดงใน แต่เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะถูกจับชาวดาระอั้งจึงไม่ขอรับชาวดาระอั้งที่อพยพเข้ามาใหม่ถึงแม้ว่าจะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันตามสายเลือกอย่างใกล้ชิด สุดท้ายจึงต้องเดินทางออกไปจากบ้านปางแดงใน
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านห้วยปง
บ้านห้วยปง เป็นหย่อมบ้านจอง บ้านแม่ยะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ โดยช่วงของการย้ายถิ่นฐานนั้นมี 3 ช่วงด้วยกัน คือ หนึ่ง ช่วงก่อนปี 2526 สองช่วงก่อตั้งหมู่บ้านจนถึงช่วงที่ประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา และ สาม ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน
1) ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2526
ชาวดาระอั้งบ้านห้วยปงนั้นมีลักษณะการย้ายถิ่นฐานแบบเดียวกันกับบ้านปางแดงในและบ้านแม่จร โดยย้ายจากพม่าเข้ามาสู่บ้านนอแลแล้วเข้ามาในอำเภอเชียงดาว โดยพื้นที่ของบ้านห้วยปงนั้นเดิมมีชาวลาหู่เข้ามาอาศัยอยู่ก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 30 หลังคาเรือน โดยพื้นที่บ้านห้วยปงนั้นเป็นฝั่งตะวันออกของป่าเชียงดาว หลักจากที่มีการทำสัมปทานป่าไม้เป็นที่เรียบร้อย ทำให้พื้นดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่งจึงมีชาวบ้านเข้ามาจับจองเป็นที่ดินทำกิน ก่อนที่ชาวลาหู่และชาวดาระอั้งจะเข้ามาจับจองพื้นที่ดังกล่าว
 
2) ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526 - ปี พ.ศ. 2532)
ชาวดาระอั้งที่ย้ายมาอยู่ในห้องปงนั้นมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกที่ย้ายมาจากอำเภอเชียงดาวแล้วมาอยู่กับชาวลาหู่ซึ่งย้ายมาช่วงก่อน พ.ศ. 2526 แต่พวกที่สองเป็นพวกที่มาอยู่ทีหลัง คือย้ายมาจากบ้านนอแลแล้วเข้ามาที่บ้านปางแดงใน แต่บ้านปางแดงในไม่มีทีดินทำกินที่เพียงพอจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านห้วยปงต่อไป โดยย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ชาวาหู่อาศัยอยู่ โดยมีที่ทำกินกันระหว่างที่ดินของชาติพันธุ์ทั้งสองเท่านั้นซึ่งในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2530 มีชาวดาระอั้งและลาหู่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านห้วยปง ประมาณ 48 หลังคาเรือน (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:84) ชาวดาระอั้งเริ่มมีการบุกเบิกพื้นที่ทำกินของตนเองไปได้จำนวนมาก แต่ภายหลังจากการปิดพื้นที่ป่า จึงถูกยึดคืนทำให้พื้นที่ทำกินเหลือน้อยลงและไม่สามารถที่จะบุกเบิกพื้นที่ทำกินได้อีกต่อไป
 
3) ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533- ปี พ.ศ. 2553) หลังจากมีการประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ทำให้ชาวดาระอั้งในบ้านห้วยปงนั้นมีที่ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงมากขึ้น เพราะการย้ายถิ่นฐานไปยังที่อื่นมีความเสี่ยงในการถูกจับกุมเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นบ้านห้วยปงยังเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมการอยู่อาศัยเนื่องจากมีที่ดินทำกินที่เพียงพอและยังมีชาวลาหู่ที่ได้รับการยอมรับจากทางการจึงทำให้ยากที่จะถูกจับ
 
หมู่บ้านห้วยปงนั้นมีสองชาติพันธุ์ที่อาศัยร่วมกัน ดังนั้นบ้านเรือนจึงมีการปลูกสร้างที่แยกกันอย่างชัดเจน ระหว่างบ้านเรือนของชาวลาหู่และบ้านเรือนของชาวดาระอั้ง โดยจะมีพื้นที่เล็กเป็นที่ทำกินที่แยกกันระหว่างสองฝั่ง นอกจากนั้นวิถีชีวิตความเชื่อของทั้งสองกลุ่มยังแตกต่างอีกด้วย
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านปางแดงนอก
บ้านปางแดงนอกนั้นเป็นหย่อมบ้านที่ขึ้นกับ บ้านทุ่งหลุก หมู่ที่ 9 ตำบลเชียงดาว อำเภอ เชียงดาว ประกอบด้วยหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็น คนเมือง ลีซู ดาระอั้ง ชาวดาระอั้งอาศัยอยู่ในพื้นที่เพียงแค่ 3 งานเท่านั้น ซึ่งเป็นการอยู่อาศัยอย่างลำบาก ภายหลังที่ถูกจับกุม ได้มีองค์กรเข้ามาช่วยเหลือชาวดาระอั้ง คือโครงการชุมชนชนบทมั่นคง ทำให้ชาวดาระอั้งมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการเข้ามาอยู่ในบ้านปางแดงนอกนั้นแบ่งไก่เป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
 
1) ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2526
ชาวดาระอั้งกลุ่มดังกล่าวได้ย้ายมาจากประเทศพม่า เข้ามาบ้านนอแลและย้ายเข้ามาที่บ้านปางแดงใน แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกินจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านปางแดงนอก โดยมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติอย่างใกล้ชิดกับบ้านปางแดงใน และถือว่าเป็นกลุ่มชาวดาระอั้งกลุ่มสุดท้ายที่เข้ามาอยู่อาศัยในอำเภอเชียงดาว
 
2) ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526– ปี พ.ศ. 2532) ชาวบ้านบางแดงนอกนั้นอพยพมาจาก  บ้านนอแล จากการชีกชนของชาวดาระอั้งที่บ้านแม่จรที่ย้ายออกจากบ้านแม่จร เนื่องจากได้รับจ้างให้ไปปลูกป่าในอำเภอฝาง จากนั้นชาวดาระอั้งกลุ่มนี้จึงย้ายออกจากบ้านแม่จรไปยังบ้านปางแดงในเนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด แต่ทั่งนั้นก็เพราะว่าที่ดินทำกินไม่เพียงพอและถือเป็นการผิดกฎหมายทำให้ไม่สามารถที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านปางแดงในได้จึงต้องอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบ้านปางแดงนอก
 
โดยบ้านปางแดงนอกนั้นมีชุมชนที่อาศัยอยู่ก่อนแล้วแต่นับถือศาสนาคริสต์ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ชาวดาระอั้งส่วนหนึ่งต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์เพื่อให้กลมกลืนกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ก่อน ส่วนคนที่ไม่ยอมนับถือศาสนาคริสต์ก็ต้องอยู่อาศัยนอกหมู่บ้าน โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โดยชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกนั้นถูกจับกุมในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าและเข้าเมืองผิดกฎหมาย 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ การจับกุมในปี พ.ศ. 2532 ปี พ.ศ. 2541 และปี พ.ศ. 2547

3) ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533- ปี พ.ศ. 2553) ชาวดาระอั้งถูกจับข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ในปี พ.ศ. 2533 แต่เนื่องจากย้ายเข้ามาทีหลังในฐานะของคนงานเก็บชาจึงได้รับการปล่อยตัว หลังจากถูกปล่อยตัวก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านแม่จร จนกระทั่งมีชาวลีซอชักชวนให้มาอยู่ในบ้านปางแดงนอก เนื่องจากมีโรงพยาบาลและโรงเรียน จึงย้ายเข้ามาอยู่อาศัย โดยเข้ามานับถือศาสนาคริสต์ จากนั้นก็ได้ทำการซื้อที่ดินจำนวน 3 งานจากคนพื้นเมืองในราคา 15,000 บาท เป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเดิมก่อนที่จะถูกจับ หลังจากนั้นถึงเริ่มสร้างบ้านเรือน แต่ก็มาถูกจับอีกครั้งหนึ่งในช่วงปี 2541 แต่ถูกปล่อยในปีเดียวกัน แล้วกลับมาสร้างบ้านจนเสร็จ  พ.ศ. 2547 ชาวบ้านกลุ่มนี้ถูกจับกุมตัวและได้รับการปล่อยตัวอีกครั้งจากการที่หน่วยงานต่างๆเข้าไปช่วยเหลือ และมีการย้ายพื้นที่อยู่อาศัยไปยังที่อยู่ที่ถูกต้องในที่สุด
 
ที่ดินจำนวน 3 งานของชาวดาระอั้งนั้นมีการอยู่อาศัยอย่างแออัด เนื่องจากต้องการแสดงให้เห็นว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้บุกรุกป่าไม้แต่อย่างใด “ทั้งนี้ในปัจจุบันการสร้างบ้านเรือนของดาระอั้งบ้านปางแดงนอกในพื้นที่ใหม่มีลักษณะการสร้างบ้านเรือนเรียงรายไปตามถนนในหมู่บ้าน โดยมีการเกาะกลุ่มหนาแน่นไม่เป็นระเบียบ เพราะพื้นที่ประมาณ 37 ไร่ต้องแบ่งให้กับ 90 ครัวเรือน (ดาระอั้ง 72 ครัวเรือน ลาหู่ 16 ครัวเรือนและคนเมือง 2 ครัวเรือน) ทำให้แต่ละครัวเรือนได้พื้นที่เฉลี่ยเพียงครัวเรือนละ 44 ตารางวาเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวดาระอั้ง มีลาหู่และคนเมืองเล็กน้อย (ปัจจุบันคนเมืองได้ย้ายออกไปแล้ว)”(นนทวรรณ แสนไพร)
 
ในปี พ.ศ. 2551 นั้นโครงการบ้านมั่นคงชนบทบ้านปางแดงนอกร่วมกับมูลนิธิมะขามป้อมได้รวบรวมเงินบริจาคแก่ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงในเพื่อซื้อที่ดินเป็นจำนวนเงินถึง 800,000 บาท ที่ดินส่วนหนึ่งได้ถูกกันไว้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยการใช้พื้นที่ที่ได้รับบริจาคนั้นชาวบ้านมีกฎ 3 ข้อด้วยกันคือ ห้ามเสพยา ห้ามบุกรุกพื้นที่ป่าละห้ามนำคนเข้ามาอยู่เพิ่ม ชาวบ้านทุกคนต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพรากลัวโดนจับ
 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น
บ้านแม่จร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นของชาวดาระอั้งกลุ่มบ้านแม่จรนั้นมีปัจจัยทางกายภาพอยู่ถึง 2 ปัจจัยด้วยกัน คือการขาดที่ดินทำกินและปัจจัยเรื่องสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งและสองที่ทำให้เกิดการตัดสินใจย้ายถิ่นฐาน
 
นับตั้งแต่การย้ายจากน้ำจาย ประเทศพม่าที่มีการตัดสินใจย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเนื่องจากไม่มีทรัพยากรและพื้นที่ทำกินที่ดีเพียงพอจนหระทั้งเข้ามาอยู่ในบ้านนอแล ก็เจอกับปัญหาของการที่มีประชากรดาระอั้งอาศัยอยู่แล้วจึงทำให้ต้องอพยพ เข้ามาอยู่ในบ้านแม่จร จนในที่สุดก็ต้องถูกเคลื่อนย้ายอีกทีเพราะเจ้าหน้าที่รัฐมองว่าเป็นพื้นที่ต้นน้ำไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ดังนั้นเรื่องทางกายภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งและสองที่ทำให้มีการย้ายถิ่น
 
ส่วนปัจจัยเรื่องการเมืองเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3 คือเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของชาวดาระอั้ง เนื่องจากหนีภัยสงครามเมื่อครั้งอยู่ในพม่าเข้ามาเพื่อหาความสงบสุขในประเทศไทย
 
ปัจจัยที่ทำให้ชาวดาระอั้งกลุ่มบ้านแม่จรตัดสินใจตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย มีปัจจัยทางกายภาพทั้งสามลำดับคือ 1 มีที่ดินทำกินเพียงพอ 2 ความเหมาะสมของลักษณะภูมิประเทศ 3 มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
 
ที่ดินทำกินนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเนื่องจากชาวดาระอั้งนั้นอาศัยอยู่โดยพึ่งการผลิตแบบการเกษตร ดังนั้นจึงต้องการที่ทำกินแลที่อยู่อาศัย ส่วนปัจจัยเรื่องสภาพภูมิประเทศนั้นก็มีส่วนที่ทำให้ตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากที่เดิมของบ้านแม่จรนั้นเป็นป่าต้นน้ำไม่สามารถมาอยู่อาศัยได้ ส่วนปัจจัยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอนั้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ ที่มีสัตว์ป่า ต้นไม้ พันธุ์ไม้และของป่าให้สามารถที่จะหาประโยชน์ได้ น้ำที่เพียงพอต่อการบริโภคและการทำการเกษตรด้วย
 
บ้านปางแดงใน
ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของชาวดาระอั้งบ้านปางแดง อันดับที่ 1 คือ ปัจจัยเรื่องการเมือง ความมั่นคงในชีวิต ปัจจัยที่มีผลอันดับที่สองได้แก่เรื่องของลักษณะทางกายภาพที่ดินทำกิน ปัจจัยที่สามคือเรื่องเศรษฐกิจในส่วนของการจ้างแรงงาน
 
ปัญหาเรื่องการเมืองนั้นเนื่องจากพม่ามีสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ กับทหารพม่า ทหารพม่ากับทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จากพม่าและจากจีน เป็นการสู้รบที่มากมายหลายกลุ่มนอกจากนั้นยังมีกลุ่มอิทธิพลของขุนส่าที่ค้ายาเสพติด จึงเป็นปัจจัยให้เกิดการย้ายถิ่นขึ้น แต่เมื่อย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศไทยที่บ้านนอแลก็พบว่ามีชาวดาระอั้งที่ย้ายมาจากรัฐฉานนั้นเข้ามาอยู่อาศัยก่อนแล้ว จึงไม่มีที่ทำกิน นี่เป็นปัจจัยลำดับที่สองคือเรื่องกายภาพ จึงจำเป็นต้องอพยพเข้ามาอยู่ในบ้านแม่จร แต่เนื่องจากบ้านแม่จรไม่มีโรงเรียน ยากลำบากกับเด็กนักเรียนในการเดินทางสัญจรทำให้ย้ายไปอยู่ที่บ้านปางแดงในในที่สุด
 
การจ้างงานก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่น เนื่องจากบ้านนอแลนั้นมีการจากงานน้อยกว่าจำนวนประชากรที่มีอยู่ ประกอบกับยังมีการจ้างงานในภาคการเกษตรที่อำเภอเชียงดาวเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเก็บชา หรือการรับจ้างในไร่ปลูกผัก จึงมีการอพยพเข้ามาอยู่ในบ้าน
 
แม่จรอำเภอเชียงดาว
ปัจจัยดึงดูดให้เกิดการเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเมืองและปัจจัยทางกายภาพ เป็นปัจจัยอันดับที่ 1 ปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
 
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจนั้นเนื่องจากอำเภอเชียงดาวมีเกษตรกรที่ทำการเกษตรเป็นจำนวนมากจึงมีความต้องการแรงงานในจำนวนที่มากกว่าบ้านนอแลทำให้เริ่มมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบ้านปางแดงในมากขึ้น ปัจจัยทางการเมืองก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันที่ทำให้ชาวดาระอั้งตัดสินใจอาศัยอยู่ที่บ้านปางแดง เพราะหลีกภัยสงครามในประเทศพม่าซึ่งเป็นปัจจัยเสริมให้ชาวดาระอั้งย้ายมาอยู่ในประเทศไทยและย้ายเข้ามาในบ้านปางแดงใน ในที่สุดนอกจากนั้นปัจจัยทางกายภาพในเรื่องของที่ดินทำกินและเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากกว่า โดยชาวดาระอั้งสามารถที่จะหาของป่าและล่าสัตว์เพื่อการดำรงชีพได้
 
บ้านห้วยปง
ปัจจัยผลักดันที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นของดาระอั้งบ้านห้วยปง ได้แก่ ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยอันดับที่ 1 ส่วนปัจจัยผลักดันอันดับที่ 2 และ 3 ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ
 
ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมนั้น คือ ชาวดาระอั้งนิยมที่จะอยู่อาศัยกันกับหมู่เครือญาติ หากมีครอบครัวหนึ่งที่อพยพมาในที่ที่ปลอดภัยมีความมั่นคงในชีวิต ก็จะมีกลุ่มคนอื่นๆเข้ามาอยู่อาศัยด้วยเช่นกัน ส่วนปัจจัยเรื่องที่ดินทำกินและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กว่านั้นถือเป็นเรื่องเสริมให้ชาวดาระอั้งบ้านห้วยปงเข้ามาอาศัยอยู่ ณ พื้นที่ดังกล่าว
 
บ้านปางแดงนอก
ปัจจัยผลักดันที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของดาระอั้งบ้านปางแดงนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง เป็นปัจจัยอันดับที่ 1 ส่วนปัจจัยอันดับที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
 
ชาวดาระอั้งกลุ่มนี้ตอนที่อยู่บ้านนอแลได้มีการข้ามชายแดนพม่าไปเพาะปลูกด้วย จึงมีความขัดแย้งกับกลุ่มของขุนส่าพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ ประกอบกับปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยทำให้ชาวดาระอั้งกลุ่มนี้ตัดสินใจย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
เมื่อย้ายมาอยู่ที่บ้านปางแดงนอก ปรากฏว่าชาวดาระอั้งกลุ่มนี้ถูกจับเป็นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน แต่การถูกจับแต่ละครั้งก็ไม่ได้ทำให้ชาวดาระอั้งย้ายที่อยู่อาศัยไปที่อื่นแต่อย่างใด เพราะไม่ต้องการแสดงหาพื้นที่ใหม่โดยไม่มีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ด้วย จนกระทั้งมีความช่วยเหลือจากโครงการชุมชนมั่นคงเข้ามาทำให้ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกต้อง
 
การถูกจับในครั้งแรกวันที่ 26 มกราคม 2532 มีการจับกุมชาวบ้านจำนวน 29 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด โดยถูกแจ้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งศาลสั่งตัดสินจำคุก 5 ปี 9 เดือน (จากการสัมภาษณ์ผู้นำดาระอั้งบ้านปางแดงใน อ้างใน นนทวรรณ แสนไพร, 2554:102) เป็นการจับกุมโดยไม่มีหมายจับและชาวบ้านทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ. 2535
 
ครั้งที่ 2 เจ้าหน้าที่รัฐนำกำลัง 120 คนเข้าจับกุมชาวดาระอั้งจำนวน 31 คนโดยเป็นชาวบ้านปางแดงนอกทั้งหมด(องอาจ เดชา, 2553 อ้างใน นนทวรรณ แสนไพร, 2554:103) ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีการจับกุมชาวดาระอั้งจำนวน 19 คน เป็นดาระอั้งบ้านปางแดงนอกทั้งหมดเช่นเดียวกับการถูกจับกุมในครั้งที่ 2
 
ชาวดาระอั้งถูกจับกุมทุกครั้งโดยไม่มีหมายศาล การกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพ.ศ. 2540 จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวดาระอั้งเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีทนายที่อาสามาทำคดีให้กับชาวดาระอั้งคือนายสุมิตรชัย หัตถสาร จากการต่อสู้ดังกล่าวเป็นผลให้ศาลเข้ามาไกล่เกลี่ยคดีความ โดยมีข้อสรุปให้จัดหาที่ทำกินให้ชาวดาระอั้งที่มีบัตรประจำตัวประมาณ 36-37 ไร่ โดยชาวดาระอั้งได้ใช้ชื่อหมู่บ้านดังกล่าวว่า “บ้านมั่นคงบ้านปางแดงนอก”
 
ปัจจัยที่ทำให้ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกตั้งถิ่นฐาน คือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยอันดับที่ 1 และอันดับที่ 3 โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยอันดับที่ 2 ชาวดาระอั้งมีความรู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่ออยู่อาศัยกับเครือญาติ เนื่องจากได้รับคำแนะนำทำให้ง่ายในการปรับตัว นอกจากนั้นยังมีเรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่เหมือนกัน ทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปได้อย่างดี
 
ส่วนประเด็นเรื่องอัตราการจ้างงานนั้นถือว่าเป็นประเด็นสำคัญอันดับที่สอง เนื่องจากชาวดาระอั้งนั้นได้รับค่าแรงในอัตราที่ถูกกว่าคนไทยในพื้นราบ ทำให้ชาวดาระอั้งเป็นแรงงานที่สำคัญให้ภาคการเกษตรของอำเภอเชียงดาว
         
ปัจจัยที่ทำให้ชาวดาระอั้งชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงดาวนั้นมีหลากหลายปัจจัยดัวยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ที่เป็นการลี้ภัยสงครามจากประเทศพม่า โดยชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาในประเทศไทย เพราะ เจ้าหน้าที่ไทยในช่วงเวลานั้นไม่มีความเข้มงวดในเรื่องการย้ายถิ่นฐานเข้าออกประเทศ จึงเป็นโอกาสดีที่ชาวดาระอั้งจะย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
         
ส่วนประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ ในเรื่องของการจ้างงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง โดยพื้นที่อำเภอเชียงดาวนั้น ต้องการแรงงานในภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่วนชาวดาระอั้งในฐานะชนกลุ่มน้อยนั้นก็จะถูกกดค่าแรง ทำให้เป็นที่ต้องการเนื่องจากค่าแรงถูกว่าคนไทยพื้นราบ
 
นอกจากนั้นประเด็นเรื่องวัฒนธรรมที่ชาวดาระอั้งนิยมอยู่อาศัยกับแบบเครือญาติและปัจจัยเรื่องลักษณะกายภาพในเรื่องที่ดินทำกินที่เพียงพอต่อความต้องการและพ้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและมีทรัพยากรมากมายก็เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นของชาวดาระอั้งหลายกลุ่มที่ทำให้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานและตั้งถิ่นฐานอีกด้วย
 
จากการเคลื่อนย้ายของทั้ง 4 หย่อมหมู่บ้านนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือการย้ายที่อยู่จากพม่ามาสู่บ้านนอแล และย้ายมายังอำเภอเชียงดาวในช่วงก่อน พ.ศ. 2526 โดยเริ่มย้ายมาอยู่ในบ้านแม่จร บ้านห้วยแดงใน บ้านห้วยปง และบ้านห้วยแดงนอกตามลำดับ
 พัฒนาการการเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย
การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2511 โดยชาวดาระอั้งหนีภัยสงครามจากพม่ามาอยู่ในเมืองไทย และเมื่อปี พ.ศ. 2525 ชาวดาระอั้งได้รับอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อยู่อาศัยในบ้านนอแลในฐานะผู้อพยพ ทำให้ชาวดาระอั้งจำนวนมากย้ายเข้ามาอยู่อาศัย ณ บริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมากถึง 2,000 คน ชาวดาระอั้งจึงมีความคิดที่จะแสวงหาที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อโอกาสที่ดีของชีวิต ประจวบกับชาวดาระอั้งอพยพเข้ามาเป็นแรงงานป่าไม้ในอำเภอเชียงดาวเป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว
 
ป่าไม้ที่มีการสัมปทานเป็นเวลา 120 ปีนั้นทำให้พื้นที่ป่าเชียงดาวนั่นโล่งเตียนส่งผลให้มีการอพยพของกลุ่มคนต่างๆมากมาย ชาวดาระอั้งส่วนหนึ่งและชนกลุ่มน้อยต่างๆที่เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ก็ได้ทำการจองที่ในบริเวรนั้นเมื่ออุตสาหกรรมป่าไม้ยุติลง จนเมื่อพ.ศ. 2516 รัฐได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนห้ามบุกรุกจึงส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำกินของชาวดาระอั้งเป็นอย่างมาก การเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงดาวนั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวดาระอั้งที่อยู่ในบ้านนอแล อำเภอฝางและมีบางส่วนที่มาจากบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง โดยอพยพมาโดยเท้าในเส้นทางป่าเพื่อหลบหนีการจับกุม โดยจะเดินทางเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-5คนและจะแจ้งให้ญาติพี่น้องทราบเรื่องการย้ายถิ่นที่หลัง
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านแม่จร
บ้านแม่จรแต่เดิมนั้นคือบ้านปางฮ้อ เพราะมีคนจีนฮ้ออาศัยอยู่ก่อนที่จะย้ายออกไปแล้วมีชาวลาหู่และชาวดาระอั้งเข้ามาอาศัยอยู่แทนที่ในปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านแม่จรหรือแม่จอน สามารถเขียนได้ทั้ง 2 แบบ
 
การเคลื่อนย้ายของชาวดาระอั้งที่บ้านแม่จรนั้นมี 3 ช่วงด้วยกัน คือ
1.ช่วงก่อนปี 2526
2ช่วงก่อตั้งหมู่บ้านจนถึงช่วงที่ประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา และ 3.ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน
 
ช่วงก่อนปี 2526
ชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านแม่จรเป็นแห่งแรก โดยย้ายเข้มาอาศัยเพียง 2-3 ครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาค่อยมีกลุ่มอื่นๆย้ายเข้ามาอีก โดยชาวดาระอั้งบ้านแม่จรนั้นมีผู้นำคือ นาย บุญ จองคำ จากการศึกษาพบว่าเริ่มแรกนั้นชาวดาระอั้งย้ายถิ่นฐานมาเพื่อเก็บชาให้กับชาวจีนฮ้อ จำนวน 300 ไร่ด้วยกัน จนกระทั่งมีกลุ่มชาวบ้านที่มาจากบ้านเปียงหลวง อำเภอวังแหง เข้ามาทำให้มีคนมากขึ้น ต่อมานาย คำ จองตาลจึงได้พาชาวดาระอั้งที่ย้ายมาด้วยกันไปอยู่อาศัยในบ้านปางแดงใน บ้านแม่จรนั้นถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าไปย้ายให้มาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน้ำ
 
ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526- ปี พ.ศ. 2532)
การย้ายออกจากพื้นที่ของชาวบ้านบางส่วนไปอยู่ที่บ้านปางแดงในนั้นทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในบ้านแม่จร ขอชื้อที่ดินที่จำนวน 6 ไร่ 3 งาน  เพื่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งในขณะนั้นมีทั้งสิ้น 12 ครัวเรือนเป็นชาวดาระอั้ง 11 ครัวเรือนและลาหู่ 1ครัวเรือน การซื้อที่ดินช่วยกันจ่ายจำนวนครัวเรือนละ 600 บาท (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:74) นอกจากนั้นเมื่อตั้งหมู่บ้านแล้วก็มีการจับจองที่ดินเพิ่มขึ้นอีกด้วย การเข้ามาตั้งหมู่บ้านในช่วงแรกนั้น ชาวดาระอั้งส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างในภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเก็บชา การเก็บข้าวโพด ส่วนอาชีพการเกษตรนั้นเป็นอาชีพที่เพิ่งเริ่มทำตอนที่มีที่ดินทำกินของตนเอง
 
การย้ายถิ่นฐานเข้ามาของชาวดาระอั้งในช่วงนี้ 2 แบบ คือการย้ายจากบ้านนอแลเข้ามาอยู่ในบ้านแม่จร และย้ายจากบ้านเปียงหลวงเข้ามาที่แม่จร ลักษณะการตั้งถิ่นฐานนั้นจะเป็นการตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ตรงกลาง โดยจะตั้งให้ง่ายแก่การคมนาคมเพื่อให้สามารถเข้ามาช่วยเหลือกันได้ในยามที่มีเหตุร้ายจากคนหรือจากสัตว์ บริเวณรอบหมู่บ้านก็จะล้อมรอบไปด้วยพื้นที่การทำการเกษตร
 
ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533 - 2553)
การประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้นส่งผลกระทบกับชาวดาระอั้งโดยตรง พื้นที่ในการทำกินลดลง พื้นที่การหาของป่า ล่าสัตว์ ก็ลดลง เช่นกัน ดังนั้นชาวดาระอั้งจึงหันมาทำเรื่องการท่องเที่ยวและอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
 
การตั้งถิ่นฐานในช่วงนี้ มีความแน่นอนไม่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปที่ไหนอีกแล้ว ลักษณะการสร้างบ้านนั้นก็มีความแตกต่างจากการตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกกล่าวคือ ให้ความสำคัญกับถนนอย่างมากเพราะต้องเดินทางออกไปรับจ้างในช่วงเวลานอกฤดูกาลการเพาะปลูก ดังนั้นบ้านเรือนจึงมีลักษณะขนานกับถนนเป็นแนวนอน
 
เหตุการณ์การออกนโยบายปิดป่าของรัฐนั้นทำให้ชาวดาระอั้งบ้านแม่จรถูกจับ พร้อมๆกับชาวบ้านหมู่บ้านปางแดงในและปางแดงนอก ใช้ช่วง พ.ศ. 2533 และได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นชาวดาระอั้งก็ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆมากขึ้น คือ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงหรือ UHDP (Upland Holistic Development Project) เข้ามาช่วยเหลือด้านน้ำประปาและการขอสัญชาติ ส่งผลให้ชาวดาระอั้งมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้นและไม่ย้ายถิ่นฐานออกแต่อย่างใด
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านปางแดงใน
บ้านปางแดงในเป็นหย่อมบ้านของบ้านทุ่งหลุก หมู่ที่ 9 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมที่เรียกว่าบ้านห้วยหกเนื่องจากมีลำห้วยหกไหลผ่านขนานกับหมู่บ้านและชาวบ้านก็ใช้ลำห้วยสายนี้ ปัจจุบันเรียกว่า “บ้านปางแดงใน”การย้ายถิ่นฐานและตั้งถิ่นฐานของชาวดาระอั้งบ้านปางแดงในสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาเช่นเดียวกับชาว   ดาระอั้งบ้านแม่จรคือ ด้วยกัน คือ
1.ช่วงก่อนปี 2526
2. ช่วงก่อตั้งหมู่บ้านจนถึงช่วงที่ประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
3. ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน
 
1)ช่วงก่อนปี 2526
ผู้นำของบ้านปางแดงในคือ นาย คำ จองตาล ที่อพยพภัยสงครามในประเทศพม่ามาอยู่ในบ้านนอแล อำเภอฝาง โดยในช่วงนั้นมีการไปรับจ้างในโรงการหลวงและมีการข้ามไปทำการเพาะปลูกในประเทศพม่า เนื่องจากยังไม่มีความเข้มงวด แต่ได้รับผลกระทบจากขุนส่าเจ้าพ่อยาเสพติดรายใหญ่ จึงต้องเดินทางอพยพเข้ามาที่บ้านแม้จรเพื่อมารับจ้างในภาคการเกษตร โดยมาอาศัยอยู่กับชาวดาระอั้งที่มาอยู่ในบ้านแม่จรอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว
นายคำ จองตาลเล่าให้ฟังว่า “ช่วงปี พ.ศ. 2526 ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านแม่จร รับจ้างชาวจีนฮ่อที่มีสวนชาเก็บใบชา ตอนนั้นมารับจ้างเด็ดยอดชาได้กิโลกรัมละ 2.50 บาท จนกระทั่งปี พ.ศ.2527 จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านปางแดงในจนถึงปัจจุบัน”(นนทวรรณ แสนไพร,2554:80) จากข้อความดังกล่าวผู้นำชาวดาระอั้งได้บอกถึงช่วงเวลาที่ย้ายจากบ้านแม่จรเข้ามาอยู่ในบ้านปางแดงใน
 
2) ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526- ปี พ.ศ. 2532)
 
การย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในต้นปี 2527 นั้นเป็นการเริ่มต้นจากการเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างในภาคการเกษตร ให้กับชาวเมองแลชาวจีนฮ้อ ที่เข้ามาบุกเบิกที่ดินทำเกษตรอยู่ก่อน ก่อนที่จะย้ายออกไปจากพื้นที่ โดยชาวบ้านได้รวมเงินกัน 11 ครัวเรือน จำนวน 2,000 บาท และย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของชาวเมืองที่เข้ามาทำการเกษตรแต่ไม่ได้อยู่อาศัยอยู่ในที่แห่งนั้นเพื่อความยุติธรรม ชาวบ้านได้ทำการจับฉลากเพื่อแบ่งที่ดินจำนวน 10 ไร่ แก่ 11 ครัวเรือน โดยชาวบ้านปางแดงในในตอนนั้นได้ทำการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีรอบการปลูกหมุนเวียน 3-4 ปีด้วยกัน
 
3) ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533- ปี พ.ศ. 2553)
 
ในช่วงหลังจากที่ชาวดาระอั้งโดนจับกุมในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยนั้น เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวดาระอั้งไปอย่างสิ้นเชิง โดยระบบการผลิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นการผลิตเพื่อยังชีพ กลายเป็นการผลิตเพื่อพานิชย์  โดยมีพ่อเลี้ยงที่เข้ามาสนับสนุนให้หญิงชาวดาระอั้งที่ไม่ได้ถูกจับกุมทำการเพาะปลูกงาและเข้ามารับซื้อผลผลิตทั้งหมด
 
นอกจากนั้นเนื่องจากจำนวนที่ดินทำกินที่จำกัดทำให้ชาวดาระอั้งในบ้านปางแดงในเริ่มหารายได้จากนักท่องเที่ยวและงานหัตถกรรม การทอผ้าของตนเองมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อ พ.ศ. 2535 ชาวดาระอั้งชายที่ถูกจับกุมได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชาวดาระอั้งย้ายถิ่นฐานแต่อย่างใด โดยยอมสูญเสียพื้นที่ทำกินบางส่วนให้รัฐไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าชาวดาระอั้งนั้นไม่ได้เป็นผู้ที่ทำร้ายป่าแต่อย่างใด โดยมีครัวเรือนทั้งหมด 58 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปางแดงใน
 
ชาวดาระอั้งจำนวนมากได้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านปางแดงใน แต่เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะถูจับชาวดาระอั้งจึงไม่ขอรับชาวดาระอั้งที่อพยพเข้ามาใหม่ถึงแม้ว่าจะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันตามสายเลือกอย่างใกล้ชิด สุดท้ายจึงต้องเดินทางออกไปจากบ้านปางแดงใน
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านห้วยปง
บ้านห้วยปง เป็นหย่อมบ้านจอง บ้านแม่ยะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ โดยช่วงของการย้ายถิ่นฐานนั้นมี 3 ช่วงด้วยกัน คือ หนึ่ง ช่วงก่อนปี 2526 สองช่วงก่อตั้งหมู่บ้านจนถึงช่วงที่ประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา และ สาม ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน
1) ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2526
ชาวดาระอั้งบ้านห้วยปงนั้นมีลักษณะการย้ายถิ่นฐานแบบเดียวกันกับบ้านปางแดงในและบ้านแม่จร โดยย้ายจากพม่าเข้ามาสู่บ้านนอแลแล้วเข้ามาในอำเภอเชียงดาว โดยพื้นที่ของบ้านห้วยปงนั้นเดิมมีชาวลาหู่เข้ามาอาศัยอยู่ก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 30 หลังคาเรือน โดยพื้นที่บ้านห้วยปงนั้นเป็นฝั่งตะวันออกของป่าเชียงดาว หลักจากที่มีการทำสัมปทานป่าไม้เป็นที่เรียบร้อย ทำให้พื้นดินบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่งจึงมีชาวบ้านเข้ามาจับจองเป็นที่ดินทำกิน ก่อนที่ชาวลาหู่และชาวดาระอั้งจะเข้ามาจับจองพื้นที่ดังกล่าว
 
2) ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526 - ปี พ.ศ. 2532)
ชาวดาระอั้งที่ย้ายมาอยู่ในห้องปงนั้นมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกที่ย้ายมาจากอำเภอเชียงดาวแล้วมาอยู่กับชาวลาหู่ซึ่งย้ายมาช่วงก่อน พ.ศ. 2526 แต่พวกที่สองเป็นพวกที่มาอยู่ทีหลัง คือย้ายมาจากบ้านนอแลแล้วเข้ามาที่บ้านปางแดงใน แต่บ้านปางแดงในไม่มีทีดินทำกินที่เพียงพอจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านห้วยปงต่อไป โดยย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ชาวาหู่อาศัยอยู่ โดยมีที่ทำกินกันระหว่าที่ดินของชาติพันธุ์ทั้งสองเท่านั้นซึ่งในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2530 มีชาวดาระอั้งและลาหู่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านห้วยปง ประมาณ 48 หลังคาเรือน (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:84) ชาวดาระอั้งเริ่มมีการบุกเบิกพื้นที่ทำกินของตนเองไปได้จำนวนมาก แต่ภายหลังจากการปิดพื้นที่ป่า จึงถูกยึดคืนทำให้พื้นที่ทำกินเหลือน้อยลงและไม่สามารถที่จะบุกเบิกพื้นที่ทำกินได้อีกต่อไป
 
3) ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533- ปี พ.ศ. 2553) หลังจากมีการประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ทำให้ชาวดาระอั้งในบ้านห้วยปงนั้นมีที่ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงมากขึ้น เพราะการย้ายถิ่นฐานไปยังที่อื่นมีความเสี่ยงในการถูกจับกุมเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นบ้านห้วยปงยังเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมการอยู่อาศัยเนื่องจากมีที่ดินทำกินที่เพียงพอและยังมีชาวลาหู่ที่ได้รับการยอมรับจากทางการจึงทำให้ยากที่จะถูกจับ
 
หมู่บ้านห้วยปงนั้นมีสองชาติพันธุ์ที่อาศัยร่วมกัน ดังนั้นบ้านเรือนจึงมีการปลูกสร้างที่แยกกันอย่างชัดเจน ระหว่างบ้านเรือนของชาวลาหู่และบ้านเรือนของชาวดาระอั้ง โดยจะมีพื้นที่เล็กเป็นที่ทำกินที่แยกกันระหว่างสองฝั่ง นอกจากนั้นวิถีชีวิตความเชื่อของทั้งสองกลุ่มยังแตกต่างอีกด้วย
 
การเคลื่อนย้าย และการตั้งถิ่นฐานของดาระอั้งบ้านปางแดงนอก
บ้านปางแดงนอกนั้นเป็นหย่อมบ้านที่ขึ้นกับ บ้านทุ่งหลุก หมู่ที่ 9 ตำบลเชียงดาว อำเภอ เชียงดาว ประกอบด้วยหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็น คนเมือง ลีซู ดาระอั้ง ชาวดาระอั้งอาศัยอยู่ในพื้นที่เพียงแค่ 3 งานเท่านั้น ซึ่งเป็นการอยู่อาศัยอย่างลำบาก ภายหลังที่ถูกจับกุม ได้มีองค์กรเข้ามาช่วยเหลือชาวดาระอั้ง คือโครงการชุมชนชนบทมั่นคง ทำให้ชาวดาระอั้งมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการเข้ามาอยู่ในบ้านปางแดงนอกนั้นแบ่งไก่เป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
 
1) ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2526
ชาวดาระอั้งกลุ่มดังกล่าวได้ย้ายมาจากประเทศพม่า เข้ามาบ้านนอแลและย้ายเข้ามาที่บ้านปางแดงใน แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกินจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านปางแดงนอก โดยมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติอย่างใกล้ชิดกับบ้านปางแดงใน และถือว่าเป็นกลุ่มชาวดาระอั้งกลุ่มสุดท้ายที่เข้ามาอยู่อาศัยในอำเภอเชียงดาว
 
2) ช่วงเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน จนถึงการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา (ปี พ.ศ. 2526– ปี พ.ศ. 2532) ชาวบ้านบางแดงนอกนั้นอพยพมาจาก  บ้านนอแล จากการชีกชนของชาวดาระอั้งที่บ้านแม่จรที่ย้ายออกจากบ้านแม่จร เนื่องจากได้รับจ้างให้ไปปลูกป่าในอำเภอฝาง จากนั้นชาวดาระอั้งกลุ่มนี้จึงย้ายออกจากบ้านแม่จรไปยังบ้านปางแดงในเนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด แต่ทั่งนั้นก็เพราะว่าที่ดินทำกินไม่เพียงพอและถือเป็นการผิดกฎหมายทำให้ไม่สามารถที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านปางแดงในได้จึงต้องอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบ้านปางแดงนอก
 
โดยบ้านปางแดงนอกนั้นมีชุมชนที่อาศัยอยู่ก่อนแล้วแต่นับถือศาสนาคริสต์ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ชาวดาระอั้งส่วนหนึ่งต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์เพื่อให้กลมกลืนกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ก่อน ส่วนคนที่ไม่ยอมนับถือศาสนาคริสต์ก็ต้องอยู่อาศัยนอกหมู่บ้าน โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โดยชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกนั้นถูกจับกุมในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าและเข้าเมืองผิดกฎหมาย 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ การจับกุมในปี พ.ศ. 2532 ปี พ.ศ. 2541 และปี พ.ศ. 2547

3) ช่วงหลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2533- ปี พ.ศ. 2553) ชาวดาระอั้งถูกจับข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ในปี พ.ศ. 2533 แต่เนื่องจากย้ายเข้ามาทีหลังในฐานะของคนงานเก็บชาจึงได้รับการปล่อยตัว หลังจากถูกปล่อยตัวก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านแม่จร จนกระทั่งมีชาวลีซอชักชวนให้มาอยู่ในบ้านปางแดงนอก เนื่องจากมีโรงพยาบาลและโรงเรียน จึงย้ายเข้ามาอยู่อาศัย โดยเข้ามานับถือศาสนาคริสต์ จากนั้นก็ได้ทำการซื้อที่ดินจำนวน 3 งานจากคนพื้นเมืองในราคา 15,000 บาท เป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเดิมก่อนที่จะถูกจับ หลังจากนั้นถึงเริ่มสร้างบ้านเรือน แต่ก็มาถูกจับอีกครั้งหนึ่งในช่วงปี 2541 แต่ถูกปล่อยในปีเดียวกัน แล้วกลับมาสร้างบ้านจนเสร็จ  พ.ศ. 2547 ชาวบ้านกลุ่มนี้ถูกจับกุมตัวและได้รับการปล่อยตัวอีกครั้งจากการที่หน่วยงานต่างๆเข้าไปช่วยเหลือ และมีการย้ายพื้นที่อยู่อาศัยไปยังที่อยู่ที่ถูกต้องในที่สุด
 
ที่ดินจำนวน 3 งานของชาวดาระอั้งนั้นมีการอยู่อาศัยอย่างแออัด เนื่องจากต้องการแสดงให้เห็นว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้บุกรุกป่าไม้แต่อย่างใด “ทั้งนี้ในปัจจุบันการสร้างบ้านเรือนของดาระอั้งบ้านปางแดงนอกในพื้นที่ใหม่มีลักษณะการสร้างบ้านเรือนเรียงรายไปตามถนนในหมู่บ้าน โดยมีการเกาะกลุ่มหนาแน่นไม่เป็นระเบียบ เพราะพื้นที่ประมาณ 37 ไร่ต้องแบ่งให้กับ 90 ครัวเรือน (ดาระอั้ง 72 ครัวเรือน ลาหู่ 16 ครัวเรือนและคนเมือง 2 ครัวเรือน) ทำให้แต่ละครัวเรือนได้พื้นที่เฉลี่ยเพียงครัวเรือนละ 44 ตารางวาเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวดาระอั้ง มีลาหู่และคนเมืองเล็กน้อย (ปัจจุบันคนเมืองได้ย้ายออกไปแล้ว)”(นนทวรรณ แสนไพร)
 
ในปี พ.ศ. 2551 นั้นโครงการบ้านมั่นคงชนบทบ้านปางแดงนอกร่วมกับมูลนิธิมะขามป้อมได้รวบรวมเงินบริจาคแก่ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงในเพื่อซื้อที่ดินเป็นจำนวนเงินถึง 800,000 บาท ที่ดินส่วนหนึ่งได้ถูกกันไว้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยการใช้พื้นที่ที่ได้รับบริจาคนั้นชาวบ้านมีกฎ 3 ข้อด้วยกันคือ ห้ามเสพยา ห้ามบุกรุกพื้นที่ป่าละห้ามนำคนเข้ามาอยู่เพิ่ม ชาวบ้านทุกคนต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพรากลัวโดนจับ
 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น
บ้านแม่จร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นของชาวดาระอั้งกลุ่มบ้านแม่จรนั้นมีปัจจัยทางกายภาพอยู่ถึง 2 ปัจจัยด้วยกัน คือการขาดที่ดินทำกินและปัจจัยเรื่องสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งและสองที่ทำให้เกิดการตัดสินใจย้ายถิ่นฐาน
 
นับตั้งแต่การย้ายจากน้ำจาย ประเทศพม่าที่มีการตัดสินใจย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเนื่องจากไม่มีทรัพยากรและพื้นที่ทำกินที่ดีเพียงพอจนหระทั้งเข้ามาอยู่ในบ้านนอแล ก็เจอกับปัญหาของการที่มีประชากรดาระอั้งอาศัยอยู่แล้วจึงทำให้ต้องอพยพ เข้ามาอยู่ในบ้านแม่จร จนในที่สุดก็ต้องถูกเคลื่อนย้ายอีกทีเพราะเจ้าหน้าที่รัฐมองว่าเป็นพื้นที่ต้นน้ำไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ดังนั้นเรื่องทางกายภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งและสองที่ทำให้มีการย้ายถิ่น
 
ส่วนปัจจัยเรื่องการเมืองเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3 คือเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของชาวดาระอั้ง เนื่องจากหนีภัยสงครามเมื่อครั้งอยู่ในพม่าเข้ามาเพื่อหาความสงบสุขในประเทศไทย
 
ปัจจัยที่ทำให้ชาวดาระอั้งกลุ่มบ้านแม่จรตัดสินใจตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย มีปัจจัยทางกายภาพทั้งสามลำดับคือ 1 มีที่ดินทำกินเพียงพอ 2 ความเหมาะสมของลักษณะภูมิประเทศ 3 มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
 
ที่ดินทำกินนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเนื่องจากชาวดาระอั้งนั้นอาศัยอยู่โดยพึ่งการผลิตแบบการเกษตร ดังนั้นจึงต้องการที่ทำกินแลที่อยู่อาศัย ส่วนปัจจัยเรื่องสภาพภูมิประเทศนั้นก็มีส่วนที่ทำให้ตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากที่เดิมของบ้านแม่จรนั้นเป็นป่าต้นน้ำไม่สามารถมาอยู่อาศัยได้ ส่วนปัจจัยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอนั้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ ที่มีสัตว์ป่า ต้นไม้ พันธุ์ไม้และของป่าให้สามารถที่จะหาประโยชน์ได้ น้ำที่เพียงพอต่อการบริโภคและการทำการเกษตรด้วย
 
บ้านปางแดงใน
ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของชาวดาระอั้งบ้านปางแดง อันดับที่ 1 คือ ปัจจัยเรื่องการเมือง ความมั่นคงในชีวิต ปัจจัยที่มีผลอันดับที่สองได้แก่เรื่องของลักษณะทางกายภาพที่ดินทำกิน ปัจจัยที่สามคือเรื่องเศรษฐกิจในส่วนของการจ้างแรงงาน
 
ปัญหาเรื่องการเมืองนั้นเนื่องจากพม่ามีสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ กับทหารพม่า ทหารพม่ากับทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จากพม่าและจากจีน เป็นการสู้รบที่มากมายหลายกลุ่มนอกจากนั้นยังมีกลุ่มอิทธิพลของขุนส่าที่ค้ายาเสพติด จึงเป็นปัจจัยให้เกิดการย้ายถิ่นขึ้น แต่เมื่อย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศไทยที่บ้านนอแลก็พบว่ามีชาวดาระอั้งที่ย้ายมาจากรัฐฉานนั้นเข้ามาอยู่อาศัยก่อนแล้ว จึงไม่มีที่ทำกิน นี่เป็นปัจจัยลำดับที่สองคือเรื่องกายภาพ จึงจำเป็นต้องอพยพเข้ามาอยู่ในบ้านแม่จร แต่เนื่องจากบ้านแม่จรไม่มีโรงเรียน ยากลำบากกับเด็กนักเรียนในการเดินทางสัญจรทำให้ย้ายไปอยู่ที่บ้านปางแดงในในที่สุด
 
การจ้างงานก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่น เนื่องจากบ้านนอแลนั้นมีการจากงานน้อยกว่าจำนวนประชากรที่มีอยู่ ประกอบกับยังมีการจ้างงานในภาคการเกษตรที่อำเภอเชียงดาวเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเก็บชา หรือการรับจ้างในไร่ปลูกผัก จึงมีการอพยพเข้ามาอยู่ในบ้าน
 
แม่จรอำเภอเชียงดาว
ปัจจัยดึงดูดให้เกิดการเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเมืองและปัจจัยทางกายภาพ เป็นปัจจัยอันดับที่ 1 ปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
 
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจนั้นเนื่องจากอำเภอเชียงดาวมีเกษตรกรที่ทำการเกษตรเป็นจำนวนมากจึงมีความต้องการแรงงานในจำนวนที่มากกว่าบ้านนอแลทำให้เริ่มมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบ้านปางแดงในมากขึ้น ปัจจัยทางการเมืองก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันที่ทำให้ชาวดาระอั้งตัดสินใจอาศัยอยู่ที่บ้านปางแดง เพราะหลีกภัยสงครามในประเทศพม่าซึ่งเป็นปัจจัยเสริมให้ชาวดาระอั้งย้ายมาอยู่ในประเทศไทยและย้ายเข้ามาในบ้านปางแดงใน ในที่สุดนอกจากนั้นปัจจัยทางกายภาพในเรื่องของที่ดินทำกินและเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากกว่า โดยชาวดาระอั้งสามารถที่จะหาของป่าและล่าสัตว์เพื่อการดำรงชีพได้
 
บ้านห้วยปง
ปัจจัยผลักดันที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นของดาระอั้งบ้านห้วยปง ได้แก่ ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยอันดับที่ 1 ส่วนปัจจัยผลักดันอันดับที่ 2 และ 3 ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ
 
ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมนั้น คือ ชาวดาระอั้งนิยมที่จะอยู่อาศัยกันกับหมู่เครือญาติ หากมีครอบครัวหนึ่งที่อพยพมาในที่ที่ปลอดภัยมีความมั่นคงในชีวิต ก็จะมีกลุ่มคนอื่นๆเข้ามาอยู่อาศัยด้วยเช่นกัน ส่วนปัจจัยเรื่องที่ดินทำกินและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กว่านั้นถือเป็นเรื่องเสริมให้ชาวดาระอั้งบ้านห้วยปงเข้ามาอาศัยอยู่ ณ พื้นที่ดังกล่าว
 
บ้านปางแดงนอก
ปัจจัยผลักดันที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของดาระอั้งบ้านปางแดงนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง เป็นปัจจัยอันดับที่ 1 ส่วนปัจจัยอันดับที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
 
ชาวดาระอั้งกลุ่มนี้ตอนที่อยู่บ้านนอแลได้มีการข้ามชายแดนพม่าไปเพาะปลูกด้วย จึงมีความขัดแย้งกับกลุ่มของขุนส่าพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ ประกอบกับปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยทำให้ชาวดาระอั้งกลุ่มนี้ตัดสินใจย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
เมื่อย้ายมาอยู่ที่บ้านปางแดงนอก ปรากฏว่าชาวดาระอั้งกลุ่มนี้ถูกจับเป็นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน แต่การถูกจับแต่ละครั้งก็ไม่ได้ทำให้ชาวดาระอั้งย้ายที่อยู่อาศัยไปที่อื่นแต่อย่างใด เพราะไม่ต้องการแสดงหาพื้นที่ใหม่โดยไม่มีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ด้วย จนกระทั้งมีความช่วยเหลือจากโครงการชุมชนมั่นคงเข้ามาทำให้ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกต้อง
 
การถูกจับในครั้งแรกวันที่ 26 มกราคม 2532 มีการจับกุมชาวบ้านจำนวน 29 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด โดยถูกแจ้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งศาลสั่งตัดสินจำคุก 5 ปี 9 เดือน (จากการสัมภาษณ์ผู้นำดาระอั้งบ้านปางแดงใน อ้างใน นนทวรรณ แสนไพร, 2554:102) เป็นการจับกุมโดยไม่มีหมายจับและชาวบ้านทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ. 2535
 
ครั้งที่ 2 เจ้าหน้าที่รัฐนำกำลัง 120 คนเข้าจับกุมชาวดาระอั้งจำนวน 31 คนโดยเป็นชาวบ้านปางแดงนอกทั้งหมด(องอาจ เดชา, 2553 อ้างใน นนทวรรณ แสนไพร, 2554:103) ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีการจับกุมชาวดาระอั้งจำนวน 19 คน เป็นดาระอั้งบ้านปางแดงนอกทั้งหมดเช่นเดียวกับการถูกจับกุมในครั้งที่ 2
 
ชาวดาระอั้งถูกจับกุมทุกครั้งโดยไม่มีหมายศาล การกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพ.ศ. 2540 จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวดาระอั้งเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีทนายที่อาสามาทำคดีให้กับชาวดาระอั้ง คือนายสุมิตรชัย หัตถสาร จากการต่อสู้ดังกล่าวเป็นผลให้ศาลเข้ามาไกล่เกลี่ยคดีความ โดยมีข้อสรุปให้จัดหาที่ทำกินให้ชาวดาระอั้งที่มีบัตรประจำตัวประมาณ 36-37 ไร่ โดยชาวดาระอั้งได้ใช้ชื่อหมู่บ้านดังกล่าวว่า “บ้านมั่นคงบ้านปางแดงนอก”
 
ปัจจัยที่ทำให้ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกตั้งถิ่นฐาน คือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยอันดับที่ 1 และอันดับที่ 3 โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยอันดับที่ 2 ชาวดาระอั้งมีความรู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่ออยู่อาศัยกับเครือญาติ เนื่องจากได้รับคำแนะนำทำให้ง่ายในการปรับตัว นอกจากนั้นยังมีเรื่องวัฒนธรรมประเพณีที่เหมือนกัน ทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปได้อย่างดี
 
ส่วนประเด็นเรื่องอัตราการจ้างงานนั้นถือว่าเป็นประเด็นสำคัญอันดับที่สอง เนื่องจากชาวดาระอั้งนั้นได้รับค่าแรงในอัตราที่ถูกกว่าคนไทยในพื้นราบ ทำให้ชาวดาระอั้งเป็นแรงงานที่สำคัญให้ภาคการเกษตรของอำเภอเชียงดาว
         
ปัจจัยที่ทำให้ชาวดาระอั้งชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงดาวนั้นมีหลากหลายปัจจัยดัวยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ที่เป็นการลี้ภัยสงครามจากประเทศพม่า โดยชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาในประเทศไทย เพราะ เจ้าหน้าที่ไทยในช่วงเวลานั้นไม่มีความเข้มงวดในเรื่องการย้ายถิ่นฐานเข้าออกประเทศ จึงเป็นโอกาสดีที่ชาวดาระอั้งจะย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
         
ส่วนประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ ในเรื่องของการจ้างงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง โดยพื้นที่อำเภอเชียงดาวนั้น ต้องการแรงงานในภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่วนชาวดาระอั้งในฐานะชนกลุ่มน้อยนั้นก็จะถูกกดค่าแรง ทำให้เป็นที่ต้องการเนื่องจากค่าแรงถูกว่าคนไทยพื้นราบ
 
นอกจากนั้นประเด็นเรื่องวัฒนธรรมที่ชาวดาระอั้งนิยมอยู่อาศัยกับแบบเครือญาติและปัจจัยเรื่องลักษณะกายภาพในเรื่องที่ดินทำกินที่เพียงพอต่อความต้องการและพ้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกและมีทรัพยากรมากมายก็เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นของชาวดาระอั้งหลายกลุ่มที่ทำให้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานและตั้งถิ่นฐานอีกด้วย
 
จากการเคลื่อนย้ายของทั้ง 4 หย่อมหมู่บ้านนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือการย้ายที่อยู่จากพม่ามาสู่บ้านนอแล และย้ายมายังอำเภอเชียงดาวในช่วงก่อน พ.ศ. 2526 โดยเริ่มย้ายมาอยู่ในบ้านแม่จร บ้านห้วยแดงใน บ้านห้วยปง และบ้านห้วยแดงนอกตามลำดับ
 
การย้ายเข้ามาอยู่จนกระทั่งก่อตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวดาระอั้งใช้วิธีการซื้อที่ดินจากชาวเมืองบุกรุกที่ทำกินดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และยังมีการบุกรุกแผ้วถางที่ทำกินเพิ่มขึ้นอีก จนกระทั้งในช่วงปี พ.ศ. 2533 ได้มีการเข้าจับกุมชาวดาระอั้งขอหาบุกรุกผืนป่าและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่การจับกุมดังกล่าวไม่ได้ทำให้ชาวดาระอั้งย้ายหนีออกไปไหน กลับยังมีความมั่นคงมากขึ้นและได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆมากขึ้น
 
การย้ายเข้ามาอยู่จนกระทั่งก่อตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวดาระอั้งใช้วิธีการซื้อที่ดินจากชาวเมืองบุกรุกที่ทำกินดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และยังมีการบุกรุกแผ้วถางที่ทำกินเพิ่มขึ้นอีก จนกระทั้งในช่วงปี พ.ศ. 2533 ได้มีการเข้าจับกุมชาวดาระอั้งขอหาบุกรุกผืนป่าและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่การจับกุมดังกล่าวไม่ได้ทำให้ชาวดาระอั้งย้ายหนีออกไปไหน กลับยังมีความมั่นคงมากขึ้นและได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆมากขึ้น
 

Demography


ประชากร
จากการศึกษาลักษณะประชากรในเชิงประชากรศาสตร์นั้นพบว่าประชากรชาวดาระอั้งใน 4 หมู่บ้าน คือบ้าน ปางแดงใน ปางแดงนอก บ้านห้วยปง บ้านแม่จร มีประชากรในวัยทำงานที่สูงเมื่อเทียบกับประชากรวัยพึ่งพิง ซึ่งเป็นผลดีในระบบเศรษฐกิจและกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังพบว่า ชาวดาระอั้งในบ้านปางแดงใน และบ้านและบ้านแม่จรที่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเองนั้นมีประชากรมากกว่าหย่อมหมู่บ้านอื่นๆในละแวกนั้นด้วย
 
บ้านแม่จรมีจำนวนประชากรดาระอั้งทั้งสิ้น 161 คน แบ่งเป็นชาย 77 คน หญิง 84คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 30 ครัวเรือน เฉลี่ย 5.4 คนต่อครัวเรือน จำนวนประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 39.13 ของประชากรทั้งหมด และประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 15-60 ปี มีจำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 60.87 (นนทวรรณ แสนไพร,2554:47)แสดงว่ามีประชากรในวัยทำงานค่อนข้างมาก
 
บ้านปางแดงในมีจำนวนประชากรดาระอั้งทั้งสิ้น 313 คน แบ่งเป็นชาย 150 คน หญิง163 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 58 ครัวเรือนเป็นชาวดาระอั้งทั้งหมด เฉลี่ย 5.4 คนต่อครัวเรือน จำนวนประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงมี 148 คน คิดเป็นร้อยละ 47.28 ของประชากรทั้งหมดและประชากรวัยแรงงาน มีจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 52.72 (นนทวรรณ แสนไพร,2554:47) อัตราส่วนระหว่างวัยทำงานและวัยพึ่งพิงมีจำนวนเท่ากัน
 
บ้านห้วยปงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 172 คน แบ่งเป็นชาย 78 คน หญิง 94 คนมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 37 ครัวเรือน เฉลี่ย 4.6 คนต่อครัวเรือน ประชากรวัยพึ่งพิง มีจำนวนประชากร 55 คน คิดเป็นร้อยละ 31.98 ของประชากรทั้งหมด และประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานซึ่งมี 117 คนคิดเป็นร้อยละ 68.02 (นนทวรรณ แสนไพร,2554:47) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประชากรทั้งหมด
            
บ้านปางแดงนอกมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 217 คน แบ่งเป็นชาย 98 คน หญิง 119คนมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 72 ครัวเรือน เฉลี่ย 3.0 คนต่อครัวเรือน ประชากรในวัยพึ่งพิง 60คน คิดเป็นร้อยละ 27.65 ของประชากรทั้งหมด ประชากรในวัยแรงงาน 157 คน ร้อยละ72.35 (นนทวรรณ แสนไพร,2554:47)พบว่า บ้านปางแดงนอกมีสัดส่วนของประชากรในวัยพึ่งพิงน้อย และมีสัดส่วนของประชากรในวัยแรงงานสูง
           
การที่มีประชากรชายมากกว่าหญิงนั้นไม่ได้มีผลกับเรื่องระบบการผลิตแต่อย่างใด เนื่องจากผู้หญิงถึงว่าจะถูกสอนให้เป็นแม่บ้านแม่เรือนตามวัฒนธรรมของชาวดาระอั้งแล้วนั้น พวกเขายังสามารถที่จะมาเป็นแรงงานในภาคการเกษตรอีกด้วย แต่สิ่งที่จะมีผลนั่นคือผู้หญิงจะเป็นกลุ่มคนที่เข้าถึงการศึกษาได้ยากเนื่องจากเหตุผลทางจารีตประเพณี ทำให้ผู้ชายเข้าใจภาษาไทยได้มากกว่าและกล้าที่จะพูดกับคนไทย
 

Economy

ชาวดาระอั้งมีระบบการผลิตแบบการเพาะปลูกมาเป็นเวลานาน ซึ่งการเพาะปลกดังกล่าวนั้นมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่จากการที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่อุทยานและป่าสงวนแห่งชาติ โดยการปลูกพืชต่างๆ ของชาวดาระอั้งนั้นสามารถที่จำนำมาเรียงลำดับได้ดังนี้

1. ฝิ่น (อดีต – พ.ศ. 2521)เริ่มปลูกตั้งแต่อยู่อาศัยในประเทศพม่า แต่เมื่อย้ายมาอยู่ประเทศไทยนั้น ก็ถูกควบคุมและปราบปรามอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่ของไทย และจากการดูแลของเจ้าหน้าที่โครงการหลวง จนกระทั่งพื้นที่ปลูกในประเทศไทยเหลือน้อยลง
 
2. ข้าวไร่ (ปี พ.ศ. 2523 – ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554))ข้าวไร่ เป็นพืชที่ชาวดาระอั้ง ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน โดยมักจะปลูกในบริเวณที่ราบสูง แต่เนื่องจากการเข้ามาของระบบตลาดทำให้พื้นที่ในการปลูกข้าวไร่ลดลง เพื่อที่จะสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นได้ แต่หากไม่ปลูกข้าวไร่เสียเลย ก็จะทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงขึ้น จึงมีการเพาะปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภคในครัวเรือนเอาไว้ส่วนหนึ่งของที่ดินทำกิน
 
3. ข้าวโพด (ปี พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน)ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของชาวดาระอั้ง โดยมีการรับเมล็ดพันธ์ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจากกลุ่มนายทุน แล้วนำไปขาย หักต้นทุนออกแล้วนำเงินที่เหลือกลับมา ชาวดาระอั้งคิดว่าข้าวโพดเป็นพืชที่ทำกำไรได้มากที่สุด แต่พวกเขาไม่ได้คิดต้นทุนเรื่องค่าแรงของพวกเขาลงไปด้วย

4. ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วแปะยี (ปี พ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน)เป็นพืชที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
 
5. ไม้ผล (ปี พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน) ได้แก่ กล้วย มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ และเสาวรสเป็นพืชที่ปลูกต่อจากเจ้าของที่เดิม ต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ
 
6. งา (ปี พ.ศ. 2532 – ปี พ.ศ. 2535) เป็นพืชที่กลุ่มนายทุนมาสนับสนุนให้ปลูก จนเมื่อถูกจับและถูกปล่อยตัว จึงเลิกปลูกงา ปัจจุบันการปลูกพืชชนิดลดลง
 
อาชีพ
ชาวดาระอั้งเกือบทั้งหมด ประกอบอาชีพการเกษตร โดยการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไปตามสิ่งแวดล้อม ที่ดินและจำนวนแรงงานชาวดาระอั้งบ้านแม่จรจะเริ่มปลูกข้าวไร่พร้อมกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน พืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วแดงและถั่วดำ จะปลูกพร้อมกันในเดือนช่วงสิงหาคมและจะเก็บเกี่ยวช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ส่วนถั่วแปะยี ช่วงเดือนกันยายนแต่จะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตพร้อมกันในเดือนมกราคม
 
บ้านปางแดง
ในนั้นการปลูกข้าวไร่และข้าวโพดเริ่มประมาณเดือนมิถุนายนหรือบางครัวเรือนอาจจะมีการปลูกข้าวโพดก่อนลงปลูกข้าวไร่หนึ่งเดือน ส่วนการปลูก ถั่วลิสง ถั่วแดงและถั่วดำของบ้านปางแดงในจะเริ่มปลูกพร้อมกันในเดือนสิงหาคม แต่การเก็บผลผลิตจะต่างกัน คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมจะเก็บเกี่ยวถั่วลิสง พอถึงเดือนมกราคมจะถั่วแดง ต่อด้วยเดือนกุมภาพันธ์จะมีการเก็บเกี่ยวถั่วดำ ส่วนถั่วแปะยีถูกเก็บเกี่ยวสุดท้ายในเดือนมีนาคมตามลำดับ
 
บ้านห้วยปง
เริ่มปลูกข้าวไร่เดือนพฤษภาคม ซึ่งบางครัวเรือนจะปลูกข้าวไร่พร้อมกับการปลูกข้าวโพด แต่บางครัวเรือนปลูกข้าวโพด เดือนเมษายน และเก็บเกี่ยวพร้อมกันเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่พืชตระกูลถั่ว จะปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน หลังจากนั้นเป็นการปลูกถั่วแปะยีในช่วงเดือนตุลาคม โดยผลผลิตทั้งหมดจะถูกเก็บเกี่ยวเก็บในเดือนมกราคม
 
บ้านปางแดงนอกถือเป็นหมู่บ้านที่มีการถือครองที่ดินน้อยที่สุด ดังนั้นรายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากการรับจ้างและการท่องเที่ยว การปลูกข้าวไร่ของบ้านปางแดงนอกจะเริ่มปลูกช่วงเดือนพฤษภาคมพร้อมกับข้าวโพด เก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายน พืชตระกูล จะปลูกถั่วลิสงและถั่วแดงเดือนมิถุนายนและเก็บเกี่ยวตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน ส่วนถั่วดำและถั่วแปะยีจะเริ่มปลูกประมาณเดือนกันยายนและเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนมกราคม
 
บ้านปางแดงนอกนั้นเป็นบ้านที่มีที่ดินในการครอบครองน้อยที่สุดดังนั้นจึงเป็นบ้านที่มีรายได้จากการรับจ้าง และการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของหมู่บ้าน เนื่องจากมีชาวบ้านจำนวนน้อยที่มีที่ดินทำกินของตนเอง
 
การเพาะปลูกของชาวดาระอั้งนั้นมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ หนึ่งการปลูกพืชไรผสม ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด สอง การปลูกผลไม้ผสม คือ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ กล้วยและเสาวรส แต่ละครัวเรือนนั้นจะมีทำการเกษตรทั้งสองแบบด้วยกัน โดยผลไม้นั้นชาวดาระอั้งจะนำไปขายให้แก่พ่อค้าคนกลาง
 
เงินทุนของการทำการเกษตรนั้น มีสองรูปแบบด้วยกัน คือ การกู้ในระบบ มีแหล่งกู้จากแหล่งต่าง เช่น กองทุนหมู่บ้านเป็นหลัก ส่วนการกู้เงินนอกระบบนั้นมีแหล่งเงินทุนสำคัญคือกลุ่มนายทุนที่ชาวดาระอั้งเรียกว่าพ่อเลี้ยง และกลุ่มพ่อค้าคนกลาง โดยเป็นการกู้ในระบบพันธะสัญญา คือนำเงินมาก่อนแล้วค่อยคืนเมื่อขายผลผลิตได้
 
จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันการกู้เงินนอกระบบนั้นไม่ได้มีเยอะเหมือนในตอนที่ชาวดาระอั้งย้ายมาในช่วงแรกแล้วเนื่องจากมีปัญหาเรื่องภาพลักษณ์และเครดิต
 
ส่วนผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินนั้นก็จะมีอาชีพในภาคแรงงาน โดยแรงงานในหมู่ชาวดาระอั้งนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงไป โดยในอดีตนั้นเนื่องจากการผลิตยังเป็นการผลิตเพื่อบริโภคและยังมีที่ดินจำนวนมากเนื่องจากจำนวนประชากรมีน้อย ชาวดาระอั้งจึงใช้ระบบแรงงานในครัวเรือนและอาศัยการลงแขก ส่วนปัจจุบันนั้นการผลิตมีความเข้มข้นขึ้นเป็นการผลิตเพื่อเชิงพานิชย์ ชาวดาระอั้งจึงเริ่มมีการจ้างแรงงาน
 
ส่วนแรงงานในบ้านปางแดงนอกนั้น เนื่องจากเริ่มมีบัตรประชาชนที่สามารถจะเดินทางออกนอกพื้นที่ของตนเองได้จึงเริ่มไปเป็นแรงงานรับจ้างนอกพื้นที่มากขึ้น เช่น การเก็บลำไย เก็บพริก เก็บกระเทียม ฯลฯ และรับจ้างเลี้ยงช้างให้กับปางช้างต่างๆ เช่น ปางช้างแม่สา เป็นต้น(นนทวรรณ แสนไพร, 2554:27)
 
การท่องเที่ยวพบว่ามีบ้านแม่จรและบ้านปางแดงในเท่านั้นที่มีอาชีพด้านการท่องเที่ยว โดยบ้านแม่จรนั้น จะเน้นเรื่องธรรมชาติ การเดินป่าส่วนชาวบ้านปางแดงในนั้นจะเน้นเรื่องวัฒนธรรม หัตถกรรม การแสดงให้นักท่องเที่ยวได้รับชม
 
ทรัพยากรน้ำถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการเกษตร ใช้กิน ใช้อาบและประกอบอาหาร โดยจะสูบน้ำจากห้วยและลำธารใกล้หมู่บ้านมายังแท็งก์น้ำและต่อไปยังหมู่บ้าน เรียกว่า ประปาภูเขา ทั้งนี้การใช้น้ำของแต่ละหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นการใช้น้ำด้วยการต่อท่อมาจากลำห้วยสายต่างๆ ในพื้นที่  
 
ส่วนไฟฟ้านั้นใช้เครื่องปั่นไฟในการผลิตกระแสไฟฟ้าและแผงโซล่าเซลล์ โดยแผงโซล่าเซลล์จะใช้ได้ประมาณ2 ชั่วโมงสำหรับการดูโทรทัศน์ แต่หากใช้ไฟฟ้าเพื่อทำอย่างอื่นที่กินไฟน้อยกว่าอาจใช้ได้นานกว่านั้น โดยแต่ละหมู่บ้านมีแผงโซล่าปริมาณแตกต่างกัน ดังนี้ บ้านแม่จรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 11 หลังคาเรือน บ้านปางแดงในติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 25 หลังคาเรือน บ้านห้วยปงติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 20หลังคาเรือน ส่วนบ้านปางแดงนอกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 7 - 8 หลังคาเรือน
 
ชาวดาระอั้งนั้นมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงและแตกต่างในช่วงเวลาทั้งสาม โดยช่วงเวลาแรกนั้น ชาวดาระอั้งมีวิถีการผลิตเพื่อการยังชีพยังไม่ได้มีความเข้มข้น จำนวนประชากรก็ยังคงมีจำนวนน้อย ช่วงเวลาที่ สอง เปลี่ยนจากการผลิตแบบไร่หมุนเวียนเพื่อการยังชีพมาเป็นการปลูกพืชเชิงพานิช เช่น งา ข้าวโพด เป็นต้น ส่วนช่วงเวลาที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีรายได้จากการท่องเทียวอย่างเป็นระบบ มีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นมากขึ้น ถือว่าเป็นยุคที่มีชีวิตเป็นทุนนิยมมากขึ้น
 
 
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจของชาวดาระอั้งในอำเภอเชียงดาว
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชาวดาระอั้งใน 3ช่วงเวลาด้วยกันคือ ช่วงปี พ.ศ. 2526 – ปี พ.ศ. 2534 ช่วงที่สอง คือ ปี พ.ศ. 2535- ปี พ.ศ. 2542และช่วงสุดท้าย ได้แก่ ปี พ.ศ. 2543 – ปี พ.ศ. 2553โดยจะแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของแต่ละหมู่บ้านดังนี้

บ้านแม่จร
ช่วงปี พ.ศ. 2526 – ปี พ.ศ. 2534
ชาวดาระอั้งย้ายมาที่บ้านแม่จรเมื่อปี 2523และมีชาวดาระอั้งที่ย้ายมาจากบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหงอีกในปี 2526 เข้ามาเพื่อเป็นแรงงานรับจ้างเก็บชาให้ชาวจันฮ้อ โดยผู้ชายได้รับค่าจ้างวันละ 120บาท ส่วนผู้หญิงได้วันละ 100บาท นอกจากนั้นยังมีการเพาะปลูกไปด้วยเช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด และถั่วต่างๆ รวมทั้งไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น จนในปี พ.ศ. 2530ได้มีการก่อตั้งหมู่บ้านขึ้น และได้มีการบุกเบิกที่ทำกินเพิ่มขึ้นหลักจากนั้น ส่วนการหาของป่านั้นเป็นการหาเพื่อยังชีพและได้มีการนำไปขายบ้างเล็กน้อย ได้แก่ น้ำผึ้ง ไก่ป่า หมู่ป่า เก้ง
 
จนกระทั่งเมื่อมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ทำให้พื้นที่ทำกินลดลง จากระบบการผลิตที่เป็นลักษณะไร่หมุนเวียน ก็เลิกการพักหน้าดินที่กินเวลา 3-4ปี เป็นการใช้การปลูกหมุนเวียนในที่ดินผืนเดิม โดยที่ดินในหมู่บ้านนั้นสามารถจำแนกประเภทของการใช้ที่ดินโดยแบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนจำนวน 8.51ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.11พื้นที่ในภาคการเกษตรจำนวน 141.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.90และพื้นที่ป่าสมบูรณ์จำนวน 7,268.81ไร่ คิดเป็นร้อยละ 97.82นอกจากนั้นบ้านแม่จรยังถือเป็นพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำ ส่งผลให้การใช้ที่ดินที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำจำนวน12.43ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.17ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:110)
 
ช่วงปี พ.ศ. 2535 – ปี พ.ศ. 2542
ในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถแบ่งพื้นที่ของบ้านแม่จรได้ดังนี้ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนจำนวน 6.25ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.09แบ่งเป็นพื้นที่ในภาค การเกษตรจำนวน 143.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.93และพื้นที่ป่าสมบูรณ์จำนวน 7,268.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 97.81นอกจากนั้นบ้านแม่จรยังถือเป็นพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำ ส่งผลให้การใช้ที่ดินที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำจำนวน 12.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.17ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:113)
         
หลังจากถูกปล่อยตัวทำให้ชาวบ้านแม่จรมีพื้นที่การทำเกษตรที่เข้มข้นขึ้นกว่าช่วงที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการเก็บของป่าล่าสัตว์นั้นไม่สามารถที่จะนำมาขายในเมืองได้อีกต่อไป
         
ช่วง ปี พ.ศ. 2543 – ปี พ.ศ. 2553
ในช่วงเวลานี้เนื่องจากประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย โดยแบ่งได้ดังนี้ พื้นที่หมู่บ้าน 12.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.17ของพื้นที่ทั้งหมดการประกอบอาชีพด้านการเกษตรมีการปลูกพืชไร่ผสมที่มีการปลูกแบบพืชหมุนเวียน ได้แก่ ข้าวไร่ข้าวโพด และถั่วต่างๆ จำนวน 381.25ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.13นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชแบบไร่หมุนเวียนบางส่วนจำนวน 37.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.50ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:113) ส่วนพื้นที่ต้นน้ำ 12.5ไร่นั้น ชาวดาระอั้งจำเป็นต้องย้ายออกจากพื้นที่มาตั้งอยู่ ณ พื้นที่อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมจากเจ้าหน้าที่
         
ชาวดาระอั้งเปลี่ยนระบบการเพาะปลูกเป็นแนวใหม่คือมีการเพาะปลูก โดยใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เพื่อเร่งผลผลิต จากที่เคยทิ้งหน้าดินไว้ 3-4ปีก็เปลี่ยนเป็น 1ปีเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งแทนที่ดินที่ลดลงจากนโยบายปิดป่า ส่วนค่าจ้างนั้น ชาวดาระอั้งได้รับเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 200บาท ส่วนค่าจ้างเลี้ยงช้างนั้นชาวดาระอั้งได้รับเพิ่มจากเดือนละ 3,600บาทเป็น 4,000บาทต่อเดือนในปี พ.ศ. 2554
 
การกำหนดอุทยานแห่งชาติศรีลานนานั้นทำให้ชาวดาระอั้งมีพื้นที่ทำกินลดลง จนทำให้เกษตรกรต้องเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนก็กลายเป็นการเกษตรแนวใหม่ มีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง เพื่อเร่งผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในเชิงพานิชย์มากขึ้น
         
ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวก็เป็นรายได้ที่เพิ่มเข้ามา โดยบ้านแม่จรมี โฮมสเตย์ จำนวน 6หลังคาเรือน คิดอัตราคนละ 50บาท ต่อคนต่อวัน นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเข้าถึงธรรมชาติและวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวดาระอั้งได้ นอกจากนั้นมีบริษัททัวร์ที่นำนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้าน โดยมีราคาอยู่ที่ 8-10คน คนละ 800-1,000บาท หากจำนวนคนน้อยกว่านั้นก็จะคิดราคาต่อหัวแพงขึ้นมาอีก กิจกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขี่ช้างชมธรรมชาติ ล่องแพ เดินชมป่า เล่นน้ำตก เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีรายได้จากการขายหัตกรรม โดยเฉพาะผ้าทอโดยหญิงชาวดาระอั้ง
         
การช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกก็มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของชาวดาระอั้งเช่นกัน โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ HRID (Highland Research and Development Institute) เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวดาระอั้ง
 
บ้านปางแดงใน
ช่วงปี พ.ศ. 2526 – ปี พ.ศ. 2534
ชาวดาระอั้งกลุ่มบ้านปางแดงในนั้น ได้ย้ายมาเป็นแรงงานรับจ้างเก็บใบชา เมื่อประมาณปี 2526โดยเข้ามาอยู่ในพื้นที่บ้านปางแดงในก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่อีกพื้นที่หนึ่งคือบ้านปางแดงในในปัจจุบัน
 
ในช่วงแรกมีผู้มาอยู่อาศัย 11ครัวเรือน มีการเพาะปลูกพืชเพื่อการบริโภค เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด จนกระทั่งมีการจับกุมในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทำให้แรงงานชายถูกจับ ระบบการผลิตจึงเปลี่ยนโดยมีแรงงานหญิงเป็นหลักสำคัญ โดยมีพ่อค้าคนกลางแนะนำให้ปลูกงา เพื่อขายแลกกับเงินแทนที่การปลูกเพื่อบริโภค
         
การถูกจับกุมทำให้ชาวบ้านเป็นที่รู้จักและได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆมากขึ้น เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่สูง (UHDP) เข้ามาช่วยเหลือเรื่องน้ำประปา ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวกรมป่าไม้ได้ทำการจ้างชาวดาระอั้งให้มาปลูกป่าโดยได้รับค่าจ้างวันละ 32บาท เพื่อการดำรงชีพ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการใช้ที่ดินในช่วงเวลานี้ คือ พื้นที่ชุมชน 18.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ0.58โดยมีพื้นที่สำหรับการเกษตรที่ใช้เพาะปลูกข้าวไร่ งา ข้าวโพดและถั่วต่างๆ จำนวน 231.25ไร่คิดเป็นร้อยละ 7.17และพื้นที่ป่าจำนวน 2,975ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.25ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:117)
 
ช่วงปี พ.ศ. 2535 – ปี พ.ศ. 2542
ในช่วงเวลาดังกล่าวแรงงานชายของหมู่บ้านได้รับการปล่อยตัวแล้ว การปลูกงาจึงเลิกไปในที่สุดแต่ระบบการผลิตเชิงพานิชย์นั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงกับไปที่เดิม โดยมีการปลูกเพื่อขายอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น การปลูกเพื่อขายนั้นส่งผลให้ชาวดาระอั้งใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิต สำหรับชาวบ้านที่มีที่ดินทำกินน้อย (ซึ่งย้ายเข้ามาทีหลัง)ก็จะปลูกพืชอย่างเช่น ข้าวไร่ ถั่วต่างๆ เพื่อการบริโภคมากกว่า แล้วหารายได้จากการไปรับจ้างในภาคการเกษตรแทน เช่น การปลูกข้าวโพด การปลูกถั่ว การเก็บข้าวโพด การเก็บถั่วและการปลูกพริก
 
การใช้ที่ดินในช่วงเวลานี้แบ่งออกเป็นพื้นที่ชุมชน 18.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.58โดยมีพื้นที่สำหรับการเกษตรที่ใช้เพาะปลูกข้าวไร่ งา ข้าวโพดและถั่วต่างๆ จำนวน 231.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.18และพื้นที่ป่าจำนวน 2,974.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.24ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:118)
 
การจับกุมแรงงานชายนั้นทำให้รายได้จากการผลิตลดลง ชาวบ้านจึงคิดวิธีที่จะนำรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามาแทนที่ โดยมีการนำนักท่องเที่ยวมาพักแรม มีการแสดงรอบกองไฟ กิจกรรมฝึกงานหัตถกรรมต่างๆอีกมากมาย โดยเฉพาะกิจกรรมรอบกองไฟ เป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจจัดขึ้น โดยมีการเล่นดนตรี ฟ้อนรำแบบพื้นเมืองด้วย
 
ปัญหาในการดำนงชีวิตขิงชาวบ้านแม่จรนั้น พบว่าชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ตัดไม้ทำรายป่าบุกรุกพื้นที่ป่า เนื่องจากชาวดาระอั้งอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ จึงทำให้ต้องย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวทำให้พื้นที่ทำกินลดลง  มีแรงงานบางส่วนที่ต้องออกไปหากินนอกพื้นที่แล้วกลับมาเมื่อฤดูกาลเพาะปลูกหรือมีพิธีการสำคัญ
 
ช่วงปี พ.ศ. 2543 – ปี พ.ศ. 2553
ช่วงเวลาดังกล่าวมีการใช้พื้นที่อย่างเข้มข้นกว่าสองช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยมีพื้นที่เท่าเดิมแต่มีประเภทของการใช้เพิ่มขึ้น โดยแบ่งได้ดังนี้  โดยแบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัย 18.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.58ของพื้นที่ทั้งหมด การประกอบอาชีพด้านการเกษตรมีการปลูกพืชไร่ผสมที่มีการปลูกแบบพืชหมุนเวียน ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด และถั่วต่างๆจำนวน 543.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.86นอกจากนั้น ยังมีการปลูกพืชแบบเดิมเมื่อครั้งมาอยู่ในพื้นที่ช่วงแรก คือ การปลูกพืชแบบไร่หมุนเวียนบางส่วน 25ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.78 (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:119)
 
ในช่วงปี 2549การเข้ามาของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวดาระอั้ง โดยมีการนำความรู้เรื่องการเลี้ยงสุกร การเลี้ยงกบ การปลูกผลไม้ โดยชาวบ้านสามารถนำมาบริโภคและทำให้เป็นรายได้เสริมด้วย ในช่วงเวลานั้นพื้นที่ในการปลูกผลไม้อย่าง เสาวรส ลำไย มะม่วง มี 50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.55ของพื้นที่ทั้งหมด
 
บ้านปางแดงในนั้นถือเป็นพื้นที่ติดถนนทำให้ง่ายต่อการเข้ามาพัฒนาของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีคือชาวบ้านได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องสิทธิความเป็นพลเมืองไทย แต่การเข้ามาของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนั้น พวกเขาได้นำค่านิยมต่างๆเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้ชาวดาระอั้งหญิงวัยรุ่นในปัจจุบันแต่งกายแบบคนพื้นราบมากขึ้นถือเป็นปัญหาเรื่องวัฒนธรรมที่สำคัญเช่นกัน
 
บ้านห้วยปง
ช่วงปี พ.ศ. 2526 – ปี พ.ศ. 2534
บ้านห้วยปงมีชาวลาหู่เป็นกลุ่มที่มาอยู่อาศัยเป็นกลุ่มแรก โดยเข้ามาแผ้วถางพื้นที่เพื่อทำการปลูกฝิ่น แต่จากการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ทำให้ฝิ่นหายไปในที่สุด จนกระทั่งเมื่อชาวดาระอั้งย้ายเข้ามาจึงไม่มีการปลูกฝิ่นอีกต่อไป โดยมีการเพาะปลูกทั่วไปและมีการจ้างงานในภาคการเกษตร
 
การย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านห้วยปงของชาวดาระอั้งนั้นมี 2กลุ่มด้วยกัน นั่นคือ กลุ่มชาวดาระอั้งที่ย้ายมาจากบ้านแม่จรและกลุ่มที่ย้ายจากบ้านแม่จรแล้วไปพักอยู่กับกลุ่มบ้านป่งแดงในแต่สุดท้ายมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกินจึงต้องย้ายมาอยู่ด้วยกันในบ้านห้วยปง ซึ่งมีที่ดินทำกินเพียงพอสามารถที่จะอยู่อาศัยและทำกินได้ โดยในปี พ.ศ. 2530มี ชาวดาระอั้งทั้งสิ้น 12ครัวเรือน
 
รายได้ส่วนใหญ่ในช่วงนั้นนอกจากการเพาะปลูกเพื่อการยังชีพนั้นยังพบว่า ชาวดาระอั้งมีการรับจ้างในภาคการเกษตรโดยได้ค่าจ้างวันละ 120บาท และยังมีการหาของป่าล่าสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำผึ่ง ไข่มดแดง สัตว์ป่า อย่างไก่ป่า หมู่ป่า แล้วนำไปขายเป็นต้น
 
การใช้ที่ดินของชาวดาระอั้งและลาหู่บ้านห้วยปงเป็นการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับการปลูกข้าวไร่ ข้าวโพดและถั่วต่างๆ จำนวน 162.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.34โดยมีพื้นที่อยู่อาศัยทั้งหมู่บ้านจำนวน 93.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.35ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:124)
 
การช่วยเหลือขององค์กรต่างๆนั้นมีทั้งสถาบันวิจัยพื้นที่สูงที่ให้การช่วยเหลือแบบเดียวกับบ้านแม่จรและบ้านปางแดงใน และยังมีการนำแผงโซล่าเซลล์มาติดใน โดยองการบริการส่วนตำบลแม่นะ ซึ่งชาวบ้านห้วยปงนั้นเป็นชาวบ้านกลุ่มเดียวที่ไม่ถูกจับใน พ.ศ. 2533
 
ช่วงปี พ.ศ. 2535 – ปี พ.ศ. 2542
เป็นช่วงเวลาที่ทำการเพาะปลูกต่อเนื่องกับช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ยากลำบากแก่การเข้าถึง ทำให้เจ้าหน้าไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง จึงมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปเพื่อเพิ่มรายไดและตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากชาวดาระอั้งนั้นย้ายมาทีหลังพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงเป็นของชาวลาหู่ ชาวดาระอั้งส่วนใหญ่จึงเป็นแรงงานรับจ้างในภาคการเกษตรโดยได้รับค่าจ้างวันละ 120-150บาท นอกจากนั้นยังมีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นที่พักที่มี 2หลัง และการรับจ้างเลี้ยงช้าง รายได้วันละ 200โดยของชาวดาระอั้งและลาหู่บ้านห้วยปงเป็นการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับการปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และถั่วต่างๆ จำนวน 171.85ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.47โดยมีพื้นที่อยู่อาศัยทั้งหมู่บ้านจำนวน 92.42ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.33ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:126)
 
ช่วงปี พ.ศ. 2543 – ปี พ.ศ. 2553
การใช้ที่ดินมีความเข้มข้นกว่าช่วงเวลาแรกโดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ แบ่งออกเป็นพื้นที่หมู่บ้าน 93.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.35ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนั้น ยังมีการปลูกข้าวโพดเพียงอย่างเดียวจำนวน 6.25ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.09ซึ่งพื้นที่การปลูกข้าวโพดเพียงอย่างเดียวเป็นพื้นที่คั่นกลางระหว่างหย่อมบ้านของชาวลาหู่และหย่อมบ้านของชาวดาระอั้ง ส่วนพื้นที่อื่นมีการปลูกพืชไร่แบบไร่หมุนเวียนจำนวน 337.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.85และมีการปลูกแบบพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชไร่ผสม ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด และถั่วต่างๆ จำนวน 587.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.45โดยมีไม้ผลผสมที่ปลูกมะม่วงเป็นหลักจำนวน 1,112.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.99
 
นอกจากนั้นยังมีการปลูกลำไยจำนวน 75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.08ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:126) เนื่องจากจำนวนประชากรที่มากขึ้นและความต้องการทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นทำให้ชาวดาระอั้งเปลี่ยนจากการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นการหมุนเวียนบนพื้นที่เดิม นอกจากนั้นยังมีการใช้สารเคมี ไม่ว่าจะปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงเพื่อรักษาผลผลิตให้เพิ่มขึ้น
         
รายได้จากการท่องเที่ยวนั้น ได้จากการขายเครื่องดื่มและบุหรี่ ในที่พักอาศัยโดยจะอาศัยอยู่คืนละ 20บาทเท่านั้น ส่วนเรื่องการเลี้ยงช้างนั้น ไม่มีใครรับจ้างอีกแล้วเนื่องจากเป็นการมองว่าทำลายป่าไม้ ปัญหาของชาวดาระอั้งบ้านห้วยปงคน พวกเขาเป็นคนกลุ่มน้อยของที่นี่จึงต้องยอมรับข้อตกลงของหมู่บ้านที่กำหนดโดยคนส่วนใหญ่
 
บ้านปางแดงนอก
ช่วงปี พ.ศ. 2526 – ปี พ.ศ. 2534
ชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกในช่วงที่ย้ายมาอยู่อาศัยในช่วงแรกนั้น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานรับจ้างในภาคการเกษตรได้รับค่าจ้างวันละ 100-120บาท เท่านั้น บางรายรับการเกษตรแบบพันธะสัญญาเข้ามา โดยเช่าที่ของคนพื้นเมืองเพื่อปลูกข้าวโพดเมื่อขายผลผลิตหักต้นทุนแล้วอาจจะได้เงินเพียงแค่ 3000-5000บาทเท่านั้น
         
ชาวดาระอั้งที่ปลูกข้าวโพดนั้นเป็นชาวดาระอั้งที่มีฐานะค่อนข้างดี มีเงินทุนบางส่วน ส่วนชาวดาระอั้งชาวดาระอั้งที่มีฐานะยากจนนั้นก็จะเป็นแรงงานรับจ้าง
         
ช่วงปี พ.ศ. 2535 – ปี พ.ศ. 2542
การถูกจับกุมนั้นทำให้ชาวบ้านได้รับความช่วยเหลือเรื่องสิทธิพลเมืองมากยิ่งขึ้น จึงสามารถที่จะเดินทางไปรับจ้างยังที่ต่างๆได้อย่างง่ายดายมากขึ้น แต่การจับกุมนั้นก็ทำให้ชาวบ้านอยู่อย่างระแวดระวัง โดยชาวดาระอั้งจะอาศัยอยู่กันอย่างแออัดในพื้นที่เล็ก ส่วนรายได้อีกทางหนึ่งคือการท่องเที่ยว โดยมีการขายสินค้าหัตถกรรมต่างๆมากมาย ให้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้แก่ครอบครัว
         
ช่วงปี พ.ศ. 2543 – ปี พ.ศ. 2553
เนื่องจากมีการร่วมกันของหลายหน่วยงานในการเข้ามาแก้ไขปัญหาการถูกจับกุมของชาวดาระอั้งที่ถูกจับกุมดำเนินคดีถึง 3ครั้งด้วยกัน ช่วงเวลาปัจจุบันนี้ ดาระอั้งบ้านปางแดงนอกอาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 37.50ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.33ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่ที่ได้รับจากการทำการไกล่เกลี่ยตามกระบวนการยุติธรรมไทย โดยพื้นที่รอบหมู่บ้านเป็นพื้นที่ที่มีการทำเกษตร ได้แก่ ข้าวโพด225.00ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.95พืชไร่ผสม 93.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.81ลำไย 18.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.16ไม้ผลผสม 393.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24.42และพื้นที่ป่าสมบูรณ์ 843.75ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.33ของพื้นที่ทั้งหมด (นนทวรรณ แสนไพร, 2554:131)
         
อาชีพของชาวดาระอั้งคือการเพาะปลูกเพื่อการพานิช มีการนำปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกมาใช้ในพื้นที่การเกษตรของชาวดาระอั้ง ส่วนแรงงานในหมู่บ้านนั้นก็มีรถเข้ามารับส่งเป็นประจำเพื่อไปทำงานในภาคการเกษตรในอำเภอเชียงดาว โดยได้รับค่าจ้างวันละ 120-150บาท นอกจากนั้นยังมีองค์กรต่างๆเข้ามาช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นสถาบันวิจัยพัฒนาพื้นที่สูงและมูลนิธิมะขามป้อม ภาครัฐอย่างทหาร ศาลปกครอง ก็เข้ามาช่วยปลูกสร้างสาธารณูปโภคต่างๆอีกมากมาย
         
ปัญหาที่ดินนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญของชาวดาระอั้งเป็นอย่างมาก ชาวดาระอั้งส่วนใหญ่จึงต้องกลายเป็นแรงงานนอกพื้นที่หมู่บ้าน ซึ่งวิธีการที่ชาวดาระอั้งกระทำคอการเก็บเงินเพื่อซื้อที่ดินจากเจ้าของพื้นที่เดิม ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการเข้ามาของเจ้าที่จากภายนอกนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือชาวดาระอั้งได้รับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอกมาขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการได้รับการพัฒนาต่างๆ แต่ชาวดาระอั้งก็มีวิถีชีวิตแบบทุนนิยมไปเสียแล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูกเชิงพานิชย์ การทำหัตถกรรมต่างๆเพื่อขายของให้แก่นักท่องเที่ยว

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ในด้านของสิทธิพลเมือง พบว่าชาวดาระอั้งมีบัตรที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบัตรประจำตัวชาวเขาในแบบต่างๆ ไปจนถึงการได้รับสิทธิบัตรประจำตัวประชาชน ของชาวดาระอั้งที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2548 และมีจำนวนมากในปี 2551 โดยบัตรแต่ละชนิดนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงสิทธิของการเป็นพลเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถในการเดินทางข้ามจังหวัด ประเทศ หรือสิทธิในการครอบครองที่ดินทำกิน ตัวอย่างเช่น ประชากรดาระอั้งที่มีบัตรสีฟ้า ที่จะต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้งที่มีการเดินทางข้ามอำเภอและจังหวัด

Belief System

จากการสำรวจพบว่า ชาวดาระอั้ง บ้านปางแดงนอกและบ้านห้วยปงนับถือศาสนาพุทธและคริสต์อาศัยอยู่ร่วมกันโดยชาวดาระอั้งจะนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ชาวลาหู่ที่อาศัยอยู่ด้วยจะนับถือศาสนาคริสต์ ส่วนบ้านแม่จรนั้นทั้งชาวดาระอั้งและลาหู่นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด ส่วนการนับถือศาสนาของชาวดาระอั้งบ้านปางแดงนอกบางส่วนมีการนับถือศาสนาคริสต์
         
การแสดงออกถึงการนับถือศาสนาพุทธของชาวดาระอั้งนั้น แสดงออกโดยการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ คือ การทำบุญทุกวันพระ ถือศีลและฟังเทศน์ โดยชาวดาระอั้งถือว่ามีความเคร่งครัดในศาสนาพุทธอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้สูงอายุ โดยวัดกลายเป็นหลักสำคัญของหมู่บ้านได้อย่างดี ความเคร่งครัดของชาวดาระอั้งนั้นถึงขั้นที่สามารถที่จะขับไล่ผู้คนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ออกจากหมู่บ้าน
         
วัดหรือสำนักสงฆ์นั้นจึงเป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญของชาวดาระอั้ง เนื่องจากความเสื่อมใส ศรัทธาของชาวดาระอั้ง ชาวดาระอั้งจะไม่ทำงานในทุกวันพระ และมีหิ้งพระไว้ทุกๆบ้าน
         
แม้ว่าจะมีการนับถือศาสนาต่างๆแต่ชาวดาระอั้งก็นับถือผีพร้อมกันไปด้วย ความเชื่อเรื่องผีก็ถูกผูกโยงเข้ากับชีวิตประจำวันของชาวดาระอั้ง ตั้งแต่การเกิดจนถึงการตาย ซึ่งผีที่ชาวดาระอั้งให้ความเคารพสูงสุดคือ ผีเจ้าที่
 
ชาวดาระอั้งเชื่อว่าวิญญาณมี2 ระดับ ระดับหนึ่งเรียกว่า “กาบู” คือ วิญญาณของสิ่งมีชีวิต อีกระดับหนึ่งคือ “กานำ” เป็นวิญญาณที่อยู่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ และเชื่อว่าบุคคลแต่ละคนจะมีวิญญาณที่สิงอยู่ จากความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวบ้านมีพิธีบูชา ผีหรือวิญญาณควบคู่ไปกับพิธีกรรมทางศาสนาพุทธอยู่เสมอ ทั้งงานแต่งงาน งานศพ โดยมีหัวหน้าพิธีกรรมเรียกว่า “ด่าย่าน” เป็นผู้ประกอบพิธี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญที่สุดของชาวดาระอั้ง คือ ศาลผีเจ้าที่ (คะมู เมิ้ง) โดยชาวดาระอั้งจะตั้งศาลดังกล่าวไว้เหนือหมู่บ้านและคอยดูแลรักษาตลอดเวลา เนื่องจากคิดว่าเป็นวิญญาณที่คอยคุ้มครองหมู่บ้าน มีการบูชาผีเจ้าที่ปีละ 2 ครั้งคือช่วงเข้าพรรษา 1 ครั้ง และช่วงก่อนออกพรรษา 1 ครั้ง พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษาเรียกว่า“เฮี้ยงกะน่ำ” ซึ่งในช่วงเข้าพรรษานี้ชาวบ้านจะไม่มีการแต่งงานเกิดขึ้น จากนั้นจึงทำพิธี “กะปี๊สะเมิง” หรือ ปิดประตูศาลเจ้าที่ เมื่อใกล้ออกพรรษา ชาวบ้านก็จะทำพิธี “แฮวะ ออกวา” คือบูชาผี  เจ้าที่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการเปิดประตูศาลผีเจ้าที่ หรือ“วะ สะเมิง” เพื่อเป็นการบอกกล่าวช่วงที่ชาวบ้านจะมีการแต่งงานกันมาถึงแล้วและในพิธีแต่งงานนี้จะมีการเชื้อเชิญผีเจ้าที่ออกไปรับเครื่องเซ่นบูชาด้วยทั้งนี้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะต้องมาในพิธีกรรมนี้ โดยนำไก่ต้มสับเป็นชิ้นๆนำไปรวมกันที่ศาลเจ้าที่ผีเจ้าที่จากนั้น “ด่าย่าน” หรือผู้นำในการทำพิธีกรรม ก็จะเป็นผู้บอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ต่อไป (วาสนา ละอองปลิว, 2545 อ้างใน นนทวรรณ แสนไพร, 2554:53)
         
นอกจากนั้นพญานาคก็ยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวดาระอั้งนับถือ โดยเชื่อว่าพญานาคพลิกตัวจะทำให้แผ่นดินไหว โดยพญานาคจะพลิกตัวทุกๆ 3เดือน
         
การเกี้ยวพาราศีของหญิงชายนั้นจะเกิดขึ้นจาก การพบเจอกันระหว่างพิธีกรรมต่างๆ โดยเมื่อชอบพลอกันฝ่ายชายก็จะไปหาฝ่ายหญิงที่บ้าน ตอนกลางคือ โดยจะเป่าปี่(เว่อ) หรือ ดีดซึง (ติ๊ง)เพื่อให้ฝ่ายหญิงมาเปิดประตูรับ หากเปิดประตูรับก็แสดงว่าไม่รังเกียจ จะไม่มีเรื่องของเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง การพบกันทุกครั้งพบกันในบ้าน มีพ่อแม่ของฝ่ายชายดูแลเสมอ เมื่อมีความเข้าใจกันแล้วจึงแต่งงานกัน โดยสินสอดจะอยู่ที่ 3,000-4,000บาท หากผู้ใดไม่มีเงินก็จะต้องแต่งงานแล้วมาอยู่ทำงานให้ครอบครัวของหญิงสาวก่อน 3ปี แล้วจึงออกไปอยู่สร้างครอบครัวเองได้
         
ส่วนการจัดงานศพ จะจัดเฉพาะคนที่ตายในหมู่บ้านเท่านั้น ส่วนคนที่ตายนอกหมู่บ้านนั้นจะไม่สามารถนำศพเข้าหมู่บ้านได้ เนื่องจากเป็นสิ่งไม่ดีอาจจะนำเรื่องเลวร้ายเข้ามาได้ ส่วนการจัดงานศพนั้นจะจัดตามฐานะของผู้ตาย โดยส่วนใหญ่จะตั้งศพไว้ 2วัน แล้วมีการเลี้ยงอาหารแก่แขก และมีการทำพิธีเลี้ยงผี โดย “ด่าย่าน”เป็นคนทำพิธีให้ โดยการทำพิธีส่งศพนั้นจะไม่ทำเมื่อวันขึ้น 15ค่ำ และขึ้น 1ค่ำ เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องไม่ดี โดยงานศพนั้นยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของเศรษฐกิจของชาวดาระอั้งด้วย โดยมีความเชื่อว่า ระหว่างการจัดงานศพชาวดาระอั้งจะไม่แตะต้องเมล็ดพันธุ์พืชเด็ดขาดเนื่องจากจะทำให้พืชพันธุ์ไม่งอกงาม
 
ความเชื่อเรื่องความเจ็บป่วย มีความเชื่อมโยงกับศาสนาพุทธและความเชื่อเรื่องผี โดยหากว่าชาวบ้านคนใดที่ป่วยเป็นระยะเวลานานจะมีการเชิญพระมาสวดข้ามคืน โดยมีความเชื่อว่าผลบุญที่ยิ่งใหญ่ดังกล่าวจะสามารถที่จะทำให้ผู้ป่วยหายได้ นอกจากนั้นยังมีการรักโดยหมอผีประจำหมู่บ้านอีกด้วย โดยตำแหน่งหมอเมืองนั้น ชาวบ้านจะเลือกจากความสามารถในการทำพิธีและดูจากคนที่แต่งงานกันมานานแล้ว ยังไม่เลิกกัน โดยจะมาทำพิธีขอโทษผีต่างๆ ที่ชาวดาระอั้งนับถือ เช่น การขอโทษผีบันได เป็นการเลี้ยงผีบันไดให้เป็นสื่อกลางช่วยขอโทษผีอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุให้ป่วย หากยังไม่หายชาวบ้านจะต้องไปถามผีเจ้านายที่แยกวัดอินทร์ เชียงดาว เมื่อทราบว่าผีตนใดโกรธก็จะต้องไปขอโทษผีตนนั้น(นนทวรรณ แสนไพร,2554:55) 

Education and Socialization

ในบริเวณของทั้ง4หมู่บ้านนั้นมีโรงเรียนอยู่เพียงแค่หนึ่งโรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านปางแดง สอนตั้งแต่ ป. 1-6มีนักเรียนประมาณ 275คนมีครู 6-7คน (ในปี พ.ศ. 2549) นอกจากนั้นเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2แห่ง ณ บ้านแม่จรและบ้านห้วยปง มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง 2แห่ง คือ บ้านแม่จรและบ้านห้วยปง เช่นกัน
         
วัดและสำนักสงฆ์ถือเป็น สถานที่สำคัญของชาวดาระอั้งเช่นกัน โดยมีวัด 2แห่ง คือบ้านปางแดงในมีวัดปางแดงในตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ส่วนบ้านปางแดงนอกมีวัดดาวสนธยาที่ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน มีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง คือบ้านแม่จรและบ้านห้วยปง

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สาวชาวดาละอั้งส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าขนหนูซึ่งซื้อจากตลาดของคนพื้นราบมาโพกศีรษะ แต่สิ่งสำคัญที่บ่งบอกความเป็นหญิงดาละอั้งคือ การการสวมหน่อง

หน่อง มีความหมายว่า วงสวมเอว ผู้หญิงดาระอั้งจะสวมหว่องเมื่ออายุ 12 ปี ด้วยเชื่อว่า คือ สัญลักษณ์ของการเป็นลูกหลานนางฟ้า ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาถึงนางฟ้าชื่อหรอยเงินที่บินลงมายังโลกมนุษย์ แต่โชคร้ายไปติดแร้วดักสัตว์ของชาวลาหู่ ทำให้กลับไปสวรรค์ไม่ได้ ชาวดาระอั้งเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของางหรอยเงินจึงต้องสวมหน่องว่องซึ่งเปรียบเหมือนแร้วดักสัตว์ไว้เป็นสัญลักษณ์ถึงนางฟ้าหรอยเงิน หากถอดห่วงอาจทำให้สิงไม่เป็นมงคลเข้ามาในชีวิต 

หน่องทำจากหวายลงรักแกะลาย หรือ ใช้หวายเส้นเล็กย้อมสีถักเป็นลาย บางคนใช้โลหะสีเงินเหมือนแผ่นสังกะสีมาตัดเป็นแถบยาวตอกลายและขดเป็นวง 

Folklore

ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาถึงนางฟ้าชื่อหรอยเงินที่บินลงมายังโลกมนุษย์ แต่โชคร้ายไปติดแร้วดักสัตว์ของชาวลาหู่ ทำให้กลับไปสวรรค์ไม่ได้ ชาวดาระอั้งเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของางหรอยเงินจึงต้องสวมหน่องว่องซึ่งเปรียบเหมือนแร้วดักสัตว์ไว้เป็นสัญลักษณ์ถึงนางฟ้าหรอยเงิน หากถอดห่วงอาจทำให้สิงไม่เป็นมงคลเข้ามาในชีวิต 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Text Analyst สุร แก้วเกาะสะบ้า Date of Report 26 ก.ค. 2559
TAG ดาระอั้ง, การเคลื่อนย้าย, การตั้งถิ่นฐาน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง