สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ ,คะยัน กะจ๊าง,คะยาห์ กะเรนนี บเว,โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู ,กะเหรี่ยง, ปัญหาแรงงานต่างชาติ, แรงงาน,ชนกลุ่มน้อย, แม่สอด, ตาก
Author เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม
Title แรงงานต่างชาติ : ศึกษากรณีกะเหรี่ยงหลบหนีเข้าเมือง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, กะแย กะยา บเว, กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
(เอกสารฉบับเต็ม) Total Pages 117 หน้า Year 2535
Source เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม. ปัญหาแรงงานต่างชาติ : ศึกษากรณีกะเหรี่ยงหลบหนีเข้าเมือง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2535.
Abstract

          งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาปัญหาแรงงานต่างชาติ กรณีศึกษาแรงงานกะเหรี่ยง ชนกลุ่มน้อย สัญชาติพม่า ที่หลบหนีเข้ามาในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของประเทศไทย ซึ่งประเด็นสำคัญในการศึกษา ได้แก่ ปัญหาการแย่งอาชีพพื้นฐานของแรงงานไทย ปัญหาการเปรียบเทียบคุณภาพแรงงานกะเหรี่ยงกับแรงงานไทย  และผลกระทบที่อาจเป็นปัญหาต่อความมั่นคงของประเทศไทย เรื่องอำเภอแม่สอดสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ และเรื่องการเสียภาพพจน์ของประเทศไทยในสายตาของต่างชาติ จากการเข้ามาทำงานด้านงานบริการทางเพศของแรงงานกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า โดยมีการสำรวจและสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มนักธุรกิจภาคเอกชน กลุ่มข้าราชการประจำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น และกลุ่มแรงงานไทย รวมถึงศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานกะเหรี่ยงในประเทศไทย เรื่องสภาพความเป็นอยู่ ลักษณะของการลักลอบเข้ามาทำงาน การดำเนินชีวิต วิถีทางในการประกอบอาชีพและลักษณะของงาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มแรงงานกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า

          จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์เป็นหลัก พบว่า มีแรงงานกะเหรี่ยงชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าลักลอบเข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นจำนวนมาก แรงงานกะเหรี่ยงที่หลบหนีเข้าเมืองมาทำงานนั้น จะมีทั้งกรณีที่หนีภัยสงครามมาอยู่ที่ศูนย์แรกรับผู้อพยพก่อนจะหางานทำต่อไป และกรณีที่หนีภัยความยากจน ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในพม่า แรงงานกะเหรี่ยงเหล่านี้ส่วนใหญ่เดินทางมาจากเมืองผาอัง เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง โดยชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ที่เข้ามาหางานทำจะอยู่ในวัยหนุ่มสาวจะรับทำงานประเภทกรรมกร งานรับจ้างในไร่ในสวน งานโรงงานอุตสาหกรรม งานร้านอาหาร และงานเด็กรับใช้ภายในบ้าน เป็นต้น 

Focus

          การศึกษาปัญหาที่เกิดจากการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานกะเหรี่ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงทางการเมืองของประเทศไทย โดยเน้นศึกษาความคิดเห็นของคนไทยที่คาดว่าจะมีต่อปรากฏการณ์การหลบหนีเข้าเมืองของชาวกะเหรี่ยง คือ การถูกมองว่าแย่งงานแรงงานไทย และเกิดการเปรียบเทียบการทำงานของแรงงานกะเหรี่ยงว่ามีคุณภาพสูงกว่าแรงงานไทย และเน้นศึกษาสาเหตุและวิธีการเข้ามาในประเทศไทยของแรงงานกะเหรี่ยง รวมถึงศึกษาลักษณะการประกอบอาชีพ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานกะเหรี่ยงชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าในพื้นที่อำเภอแม่สอดโดยทั่วไป (หน้า 6)

Theoretical Issues

          งานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้ทฤษฎีและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการอพยพมาใช้เป็นหลัก คือ กฎแห่งการอพยพ (Law of Migration) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์การหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานกะเหรี่ยงชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าและสามารถอธิบายถึงการลักลอบเข้าเมืองได้

          รายละเอียดได้แก่ ประชากรส่วนใหญ่จะอพยพไปในระยะทางใกล้ๆ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ทางกายภาพที่ใกล้ชิดของอำเภอแม่สอดกับชายแดนพม่า หรือหากมีการอพยพไปในระยะทางไกลๆ สถานที่แห่งนั้นต้องเป็นศูนย์กลางการค้าและอุตสหกรรม สอดคล้องกับคำบอกเล่าของญาติพี่น้องกะเหรี่ยงที่เคยเข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอดว่าเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีความเจริญ มีโรงงานขนาดใหญ่จำนวนมาก

          ส่วนขั้นตอนการอพยพที่ทำให้เกิดคลื่นการอพยพไปสู่ศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรม นำไปสู่ความหนาแน่นของประชากรท่ามกลางการเติบโตเป็นเมืองใหญ่อย่างรวดเร็ว และดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนอื่นอพยพเข้ามามากขึ้น สอดคล้องกับการที่ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากหาทางลักลอบเข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอดอยู่เสมอ ทำให้ง่ายต่อการหาแรงงานของเจ้าของธุรกิจ  ผู้ประกอบการ รวมถึงเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า ที่สอดคล้องกับแนวคิดว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้ชาวกะเหรี่ยงเข้ามมาหางานทำมากขึ้น และปัจจัยตัวสุดท้าย คือ ลักษณะของสภาพสังคมที่ไม่น่าอยู่อาศัย สอดคล้องกับปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของประเทศพม่า ความขัดแย้งของปัญหาทางการเมือง และภัยสงคราม ก็เป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจอพยพ  

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง

Study Period (Data Collection)

          ผู้วิจัยระบุว่าได้ทำงานและอาศัยอยู่ในเขตอำเภอแม่สอดทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองเป็นเวลา 2 ปี (หน้า 75) ตั้งแต่ พ.ศ.2533-2534 (หน้า 31) และจากข้อมูลของวันที่สัมภาษณ์ทั้งหมดพบว่าผู้วิจัยได้ข้อมูลมาในช่วง 7-22 พฤษภาคม 2535 (ข้อมูลการสัมภาษณ์, บทที่5 ผลการศึกษาวิจัย)

History of the Group and Community

          ประวัติศาสตร์กะเหรี่ยงมีถิ่นฐานเดิมในด้านตะวันออกของธิเบต เมื่อประมาณ 3000 ปีมาแล้ว ต่อมาถูกขับถอยร่นลงมาตามลุ่มน้ำแยงซีเกียง และเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพม่าตอนเหนือ ต่อมาปะทะกับไทใหญ่ จึงถอยร่นลงมาทางใต้บริเรณรัฐกะเหรี่ยง แบ่งออกเป็น 2กลุ่ม
          1.กลุ่มที่อยู่ในสหภาพพม่า
          2.พวกที่อยู่อย่างอิสระ อาศัยอยู่บริเวณชายแดนพม่าด้านติดต่อกับประเทศไทย (หน้า 18)
 
          ประวัติการอพยพของชาวกะเหรี่ยงมาในประเทศไทย  พบว่า พวกกะเหรี่ยงอพยพเข้ามาในประเทศไทยในสมัยพระเจ้าอลองพญา ทำสงครามกับพวกมอญ ในขณะนั้นกะเหรี่ยงเป็นมิตรกับมอญ เมื่อพม่ายกทัพมาตีมอญจึงตีค่ายกะเหรี่ยงด้วย กะเหรี่ยงบางส่วนจึงอพยพเข้าในประเทศไทย(หน้า 19) ในปี พ.ศ. 2527 รัฐบาลพม่ากวาดล้างกะเหรี่ยงครั้งใหญ่ เสริมกำลังตลอดชายแดนไทย  ทำให้กะเหรี่ยงเดินทางกลับไปในพม่าไม่ได้ ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงจึงสร้างที่พักถาวร ขุดบ่อน้ำ และสร้างโบสถ์วิหาร และโรงเรียนเพื่อสอนหนังสือ(หน้า 20)
 
          อำเภอแม่สอด ได้รับการยกฐานะจากเมืองฉอด มาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตากในปีพ.ศ.2441 ตั้งอยู่ห่างจากเส้นกั้นพรมแดนกับสหภาพพม่า 6 กิโลเมตร ซึ่งอำเภอแม่สอดนี้อยู่ใกล้กับเมืองเมียวดีและเมืองมะละแหม่งของพม่า ทำให้มีการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานพม่าจำนวนมาก เพราะด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการข้ามแดนและความเข้มงวดของด่านตรวจคนผ่านแดนนั้นไม่มีมาตรการอย่างเข้มงวด

          อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอชายแดนที่มีความรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างสูง มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก อำเภอแม่สอดจึงกลายเป็นพื้นที่สำคัญต่อการเข้ามาของชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าทั้งหลายเพื่อหางานทำ จุดสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ตลอดแนวชายแดนของจังหวัดตาก เป็นที่ตั้งของกองกำลังชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า "โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สอด มีที่ตั้งของกองกำลังชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงอิสระที่สู้รบกับพม่า ชื่อว่า ค่ายคอมูล่า อยู่ตรงข้ามบ้านวังแก้ว หมู่ที่4 ตำบลแม่ปะ และยังมีศูนย์ผู้อพยพห้วยกะโหลก เป็นค่ายผู้อพยพหนีภัยสงครามของชาวกะเหรี่ยง” (หน้า29-30) อีกทั้งผาอัง เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงยังตั้งอยู่ใกล้กับอำเภอแม่สอดมาก (หน้า30)

          ดังนั้นจึงส่งผลให้อำเภอแม่สอดเป็นที่รองรับชาวกะเหรี่ยงที่ลักลอบหนีเข้ามาเป็นแรงงานมากที่สุด เพื่อความต้องการในการหางานทำและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเนื่องจากอำเภอแม่สอดเป็นแหล่งรวมชนกลุ่มต่างๆหลากหลายขนบธรรมเนียมเข้าด้วยกัน โดยกลืนเข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีของภาคเหนือและการเข้ามาร่วมงานในเทศกาลต่างๆของคนฝั่งพม่า แสดงให้เห็นถึงการยอมรับชนกลุ่มต่างๆที่จะเข้ามาร่วมดำรงชีวิตในพื้นที่เดียวกันนี้อย่างง่ายดาย จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ของชาวกะเหรี่ยง

Settlement Pattern

          ศูนย์แรกรับผู้อพยพห้วยกะโหลก ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยกะโหลก หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด มีชาวกะเหรี่ยงหนีสงครามจากพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ (หน้า 30) และค่อยๆเริ่มปรับตัวกับการอยู่อาศัยและหางานทำในระยะต่อๆมา โดยแรงงานกะเหรี่ยงที่ลักลอบเข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอด มีความเป็นอยู่ 3 แบบ (หน้า 75) ได้แก่
          1. อาศัยอยู่กับนายจ้าง โดยนายจ้างจะเป็นคนจัดหาเพิงที่พักอาศัยให้อยู่ในบริเวณบ้าน หรือห้องพัก หรือปลูกโรงเรือนให้อยู่ในบริเวณโรงงาน
          2. อาศัยอยู่ตามห้างนา โดยนายจ้างจะปลูกห้าง เพิงพักอาศัยให้อยู่ชั่วคราว เพราะแรงงานกะเหรี่ยงกลุ่มนี้จะมาทำงานในท้องไร่ท้องนาเฉพาะในฤดูทำการเกษตรเท่านั้น
          3. การเช่าบ้านอาศัยรวมกัน โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงานอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่สอด หรือการปลูกกระต๊อบอยู่กันเป็นกลุ่ม ตามแนวชายแดน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีจำนวนหลังคาเรือนไม่มากนัก

Demography

          ศูนย์แรกรับผู้อพยพห้วยกะโหลก มีจำนวนผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย 3,545 คน (หน้า 30) , คาดว่ามีกะเหรี่ยงลักลอบหนีเข้าเมืองอาศัยอยู่ในแม่สอด จำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000 คน (ข้าราชการผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและการควบคุมความเคลื่อนไหวของแรงงานกะเหรี่ยง, สัมภาษณ์ 22 พ.ค. 2535) (หน้า 31)

Economy

          แรงงานกะเหรี่ยงที่เข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นอกจากหนีภัยสงครามแล้ว ยังหนีจากปัญหาเศรษฐกิจที่แร้นแค้นของประเทศพม่าด้วย ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีความคิดที่จะเข้ามาหาเงิน เก็บออมไว้เพื่อสร้างฐานะให้กับตนเอง และกลับไปอาศัยที่ประเทศพม่าในเวลาที่เหมาะสม โดยค่าแรงที่ได้เดือนละประมาณ 500-1000 บาท เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินพม่าแล้ว จะถือว่าได้ค่าแรงค่อนข้างสูง (หน้า 33)
 
          ลักษณะของงานที่ทำโดยส่วนมากจะเป็นงานกรรมกรหรือรับจ้างทำไร่ทำนาสำหรับผู้ชาย ส่วนงานของผู้หญิงจะเป็นงานร้านค้า ร้านอาหาร พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน เป็นต้น
 
          แรงงานกะเหรี่ยงที่นายจ้างไว้ใจอาจได้ทำงานอยู่ด้วยเป็นเวลานานถึงสิบปี หรือบางกลุ่มจะมาใช้เวลาอยู่เป็นช่วงๆ โดยเข้ามาทำงานเป็นระยะเวลา 1-3 เดือน หรือ 6-12 เดือน ในช่วงฤดูกาลการเกษตร เมื่อหมดฤดูกาลนี้แล้วก็จะกลับประเทศพม่าเหมือนเดิม ด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทำให้ผลกำไรที่สูงไปตกอยู่กับนายจ้างคนไทย และส่งผลดีให้เศรษฐกิจในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย ทำให้แรงงานกะเหรี่ยงมีหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Social Organization

          แรงงานกะเหรี่ยงมีความผูกพันกับครอบครัวที่ตนจากมา มีความหวังว่าเมื่อสร้างฐานะการเงินได้อย่างมั่นคงแล้วจะกลับไปใช้เวลาร่วมกับครอบครัวที่ประเทศบ้านของตนเอง ชาวกะเหรี่ยงมักจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องของตนเองประมาณ 1-2ครั้งต่อปี และใช้เวลาอยู่กับครอบครัวประมาณ 1-3 เดือน และเมื่อกลับไปบ้านก็จะชักชวนให้ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือคนรู้จักในหมู่บ้านเดียวกัน เข้ามาทำงานในประเทศไทย นอกจากญาติพี่น้องก็ยังมีกะเหรี่ยงนายหน้าที่จะคอยติดต่อหางานให้เข้ามาทำงานในช่วงฤดูกาลการเกษตร การเข้ามาแต่ละครั้งจะเข้ามาเป็นกลุ่ม 4-5คน (หน้า 80) 

Political Organization

          กะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสำนึกทางชาติพันธุ์ในกลุ่มของตนเองอย่างสูง มีกองกำลังที่เข้มแข็ง มีระเบียนวินัย และสู้รบกับทหารพม่าอย่างทรหดอดทน (หน้า18) รัฐบาลของพม่าจึงต้องรับมือกับการก่อกบฏของกะเหรี่ยงในปี 2490 ด้วยสถานการณ์ที่ล่อแหลมอย่างยิ่ง (หน้า17) และตลอดเวลาที่ผ่านมาชนกลุ่มน้อยยังคงรู้สึกว่าตนเองถูกกดขี่ข่มเหงมาโดยตลอด ประกอบกับตั้งแต่ปี 2526 รัฐบาลพม่าได้ปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังของชนกลุ่มน้อยอย่างจริงจัง จึงมีผู้อพยพชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆหลบหนีมาอาศัยในประเทศไทย (หน้า 23) โดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยง ที่ส่วนหนึ่งหนีสงครามเข้ามาอาศัยที่ศูนย์แรกรับผู้อพยพ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื่องจากถูกกองกำลังทหารพม่าโจมตีขับไล่ และอีกส่วนหนึ่งถูกทางการพม่าบังคับให้ไปเป็นลูกหาบขนอาวุธสงคราม เป็นแนวหน้าออกรบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยต่างๆ

          ส่วนการตั้งข้อสังเกตของผู้วิจัยเรื่องรัฐบาลพม่าจะกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุนกะเหรี่ยงต่อต้านพม่านั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับแรงงานชาวกะเหรี่ยง เพราะแรงงานดังกล่าวเป็นแรงงานชาวบ้าน ที่คงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง (หน้า 71) แต่อย่างไรก็ตาม การที่กองกำลังของชนกลุ่มน้อยยังคงตั้งที่มั่นประชิดกับชายแดนไทยและค่อยๆอพยพหนีเข้ามาในประเทศไทยนั้น รัฐบาลพม่าก็ยังคงมีความหวาดระแวงต่อรัฐบาลของไทยอยู่ดี ทำให้การเมืองระหว่างไทยและพม่ายังมีความเปราะบางอยู่ในบางสถานการณ์

Belief System

ชาวกะเหรี่ยงโดยส่วนใหญ่ ปัจจุบันหันมานับถือศาสนาพุทธ (หน้า 29)

Education and Socialization

          แรงงานกะเหรี่ยงที่เข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอดอยู่ในช่วงวัยรุ่นหนุ่มสาว เมื่อมีครอบครัวแล้วจะกลับไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเกิดของตนเอง และไม่กลับเข้ามาทำงานที่อำเภอแม่สอดอีก แต่พวกเขาจะแนะนำให้ชาวกะเหรี่ยงวัยรุ่นหนุ่มสาวชุดใหม่เข้ามาหาหางานทำที่อำเภอแม่สอดต่อไป และมีการส่งต่อประสบการณ์การทำงานเช่นนี้ไปยังรุ่นๆต่อไปอีกด้วย (หน้า33) 

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

          ชาวกะเหรี่ยงที่เข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย อยู่ในสถานะผู้หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งกระทำผิดกฏหมายตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง มีสภาพเป็นคนเถื่อนหลบหนีเข้าเมือง เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบควบคุมอย่างเป็นระบบ (หน้า 31) เข้ามาทำงานเป็นแรงงานพื้นฐาน โดยได้ทำงานที่ไม่ต้องใช้ฝีมือหรืองานหนัก ซึ่งคนไทยไม่ทำ นายจ้างคนไทยส่วนใหญ่จึงสามารถเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน

          จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างคนไทยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ส่วนใหญ่มองว่า แรงงานกะเหรี่ยงแย่งอาชีพพื้นฐานของแรงงานไทยในบริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเหตุผลที่ทำให้แรงงานกะเหรี่ยงได้รับความนิยม คือ มีค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้เจ้าของกิจการได้กำไรมาก และไม่มีความผูกพันทางกฏหมายแรงงานให้ต้องคำนึงถึงด้วย (หน้า 81) ส่วนกรณีที่ชาวกะเหรี่ยงเข้ามาทำงานเป็นหญิงบริการทางเพศนั้น โดยส่วนใหญ่มองว่า ทำให้ภาพพจน์ของประเทศไทยเสียหายและอาจทำให้ถูกต่างชาติรุมประณามประเทศไทย (หน้า 82) 

Social Cultural and Identity Change

          มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติ(ชาวกะเหรี่ยง)จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยความสมัครใจ เพื่อหนีภัยสงคราม จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชุมชนจากประเทศพม่ามาตั้งถิ่นฐาน ปรับตัว และใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย แม้เป้าหมายสุดท้ายของทุกคนคือการได้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตนเองที่พม่า แต่ยังมีแรงงานกะเหรี่ยงบางส่วนที่ไม่คิดจะกลับประเทศบ้านเกิดของตนอีกต่อไป เนื่องจากมีสามีหรือภรรยาเป็นคนไทย หรือ เป็นคนไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีใครให้กับไปหา ประกอบการได้รับความไว้วางใจจากนายจ้าง (หน้า 80) จึงมีความต้องการที่จะทำงานและอาศัยอยู่กับนายจ้างไปตลอด ไม่มีเป้าหมายจะกลับไปใช้บั้นปลายชีวิตที่ประเทศพม่าอีกต่อไป (หน้า 33)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

          แผนที่แสดงรัฐของชนกลุ่มน้อยในสหภาพพม่าและชายแดนไทย (แสดงในส่วนของสารบัญ) และมีตารางแสดงการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในแม่สอด ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มข้าราชการ และกลุ่มแรงงานไทย เกี่ยวกับประเด็นต่างๆของแรงงานชาวกะเหรี่ยง ดังนี้ การเลือกใช้แรงงานกะเหรี่ยงมากกว่าแรงงานไทย (หน้า 35)

          การเข้ามาของแรงงานกะเหรี่ยงที่ทำให้แรงงานไทยตกงาน (หน้า 40)

          การทำงานที่มีคุณภาพดีกว่าแรงงานไทยของแรงงานกะเหรี่ยง (หน้า 45)

          แรงงานไทยไม่มีความอดทนและไม่ได้รับการยอมรับจากนายจ้าง (หน้า 50) ความซื่อสัตย์สุจริต การได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากนายจ้างของแรงงานกะเหรี่ยง (หน้า 54)

          การขาดแคลนแรงงานไทย ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการในอำเภอแม่สอด (หน้า 58)

          การเข้ามาหางานทำของกะเหรี่ยงสัญชาติพม่าทำให้อำเภอแม่สอดต้องสูญเสียเงินออกนอกประเทศ (หน้า 62)

          การเข้ามาของแรงงานกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า ด้านบริการสังคม(ทางเพศ) ทำให้ประเทศไทยถูกประณามจากต่างชาติ (หน้า 66)

          การที่คนไทยยอมรับชาวกะเหรี่ยงเข้าทำงาน มีผลทำให้รัฐบาลพม่าไม่พอใจ (หน้า 71)

          รวมถึงในส่วนของภาคผนวกมีการแจกแจงสถิติในรูปของตารางแสดงผล ดังนี้ ประเภทงานของแรงงานผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า จากสำนักแรงงานจังหวัดตาก ตุลาคม 2534(หน้า 103)

          บุคคลสัญชาติพม่าที่เข้าเดินทางเข้า-ออก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ.2530-2534 (หน้า 113)

          คนต่างด้าวที่ขออยู่ต่อในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ.2530-2534 (หน้า 114) การจับกุมผู้ใช้หนังสือเดินทางปลอม พ.ศ.2530-2534 (หน้า 114)

          การจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมือง และสถิติการดำเนินคดีคนต่างด้าวที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองหรืออื่นๆ พ.ศ.2530-2534 (หน้า 115)

          ผู้อพยพหลบภัยสงครามตามค่ายควบคุมผู้อพยพแนวชายแดนไทยพม่า จังหวัดตาก (หน้า116) 

Text Analyst บงกช เจริญรัตน์ Date of Report 29 มิ.ย 2560
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ, คะยัน กะจ๊าง, คะยาห์ กะเรนนี บเว, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู, กะเหรี่ยง, ปัญหาแรงงานต่างชาติ, แรงงาน, ชนกลุ่มน้อย, แม่สอด, ตา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง