สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ดาระอั้ง ดาระอาง ดาละอั้ง ปะหล่อง, การจัดการทรัพยากรป่าไม้, อัตลักษณ์, บ้านปางแดงนอก, เชียงใหม่
Author ธีรัช สีหะกุลัง
Title ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรป่าของรัฐไทยต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของชาวดาระอั้ง หมู่บ้านปางแดงนอก จังหวัดเชียงใหม่
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ดาราอาง ดาระอางแดง รูไม ปะเล รูจิง ตะอาง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 174 หน้า Year 2551
Source การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นการนำเสนอผลกระทบของการจัดการทรัพยากรป่าของรัฐไทยต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของชาวดาระอั้ง หมู่บ้านปางแดงนอก จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านคดีความบุกรุกป่าสงวน เพื่อสะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงนอก
 
ผลการศึกษาพบว่า ชาวดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงนอกปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ผ่านการเปลี่ยนการนับถือศาสนา ชาวบ้านบางส่วนยังคงนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับความเชื่อเรื่องผี  และพยายามสร้างการต่อรองเรื่องการจัดการทรัพยากรด้วยการทำฝายปะหล่อง ส่วนอีกกลุ่มเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนความคิดและวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการนับถือศาสนาคริสต์  และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับคริสตจักรภายในจังหวัดเชียงใหม่
 
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดาระอั้ง บ้านปางแดงจะมีการนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความพยายามที่จะธำรงอัตลักษณ์ความเป็นดาระอั้งอยู่

Focus

เพื่อศึกษาหมู่บ้านปางแดงนอก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านปัญหาคดีความบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนเพื่อสะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ดาระอั้งหมู่บ้าน
ปางแดงนอก

Theoretical Issues

ผู้เขียนใช้ประสบการณ์จากการทำงานภาคสนามในพื้นที่ชุมชนชาวดาระอั้งจังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ดาระอั้ง สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ระบบการผลิต และเศรษฐกิจ รวมถึงพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ ของชาวดาระอั้งในประเทศไทย

Ethnic Group in the Focus

ดาระอั้ง

Language and Linguistic Affiliations

นักภาษาศาสตร์กำหนดให้ภาษาที่ชาวดาระอั้งใช้สื่อสารเป็นสายหนึ่งของปะหล่องอิคตะวันออก(Eastern Palaungic)ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยในสายออสโตร-เอเชียติค(Austro-Asiatic)  ปัจจุบัน ดาระอั้งที่อพยพเข้ามาในไทยสามารถพูดภาษาไทยได้(หน้า 27)
 
ดาระอั้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง ดาระอั้งในรัฐฉานจะใช้ภาษาไทใหญ่ของพม่าเป็นภาษาเขียนของกลุ่มดาระอั้ง(หน้า 27)
 
ชาวดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงสามารถฟัง พูดภาษาไทยได้ แต่การอ่านการเขียนภาษาไทยยังเป็นอุปสรรคในการสื่อสาร(หน้า 74)

Study Period (Data Collection)

2551

History of the Group and Community

กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แต่เดิมอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่าก่อนอพยพเข้ามาเมืองไทยประมาณปี พ.ศ. 2522 (หน้า 23)
 
ชาวดาระอั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รัฐฉานได้รับความเดือดร้อนจากภัยสงคราม เนื่องจากพื้นที่รัฐฉานเป็นพื้นที่ที่มีกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มต้องอพยพอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาพื้นที่ที่มีความปลอดภัยในการตั้งถิ่นฐานของครอบครัว (หน้า 40)
 
ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2523 – 2524 เป็นช่วงเวลาที่ชาวดาระอั้งได้อพยพเข้ามาอยู่บริเวณชายแดนประเทศไทยมากที่สุด (หน้า 41) ดาระอั้งได้ลี้ภัยมาอยู่ที่ศูนย์ผู้ลี้ภัยหมู่บ้านนอแล อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ ศูนย์ผู้ลี้ภัยหมู่บ้านนอแล เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบไปด้วย ชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และดาระอั้ง และกลุ่มคนพลัดถิ่น
กระจายตัวอยู่ใน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนกว่า 600 ครัวเรือน (หน้า 45)
 
ชาวดาระอั้งได้อพยพหนีภัยสงครามมาจากพม่า และเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่หมู่บ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของโครงการหลวงดอยอ่างขาง (หน้า 48-49)
 
ชาวดาระอั้งได้เข้ามาในอำเภอเชียงดาว เนื่องจากชาวดาระอั้งได้เข้ามารับจ้างทำสวนชาที่บ้านแม่จอน ชาวดาระอั้งมีความสามารถในการปลูกชาตั้งแต่อาศัยอยู่ในพม่าและเมื่อชาวดาระอั้งเข้ามาก็ได้มีการชักชวนญาติพี่น้องคนอื่นๆ เข้ามาอยู่อาศัยภายในหมู่บ้านแม่จอนด้วย หมู่บ้านแม่จอนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนดาระอั้งในอำเภอเชียงดาว (หน้า50)ก่อนจะกระจายกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ภายในอำเภอเชียงดาว จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่จอน  บ้านห้วยปง บ้านปางแดงใน และบ้านปางแดงนอก (หน้า 93)
 
ในปี พ.ศ.2532 รัฐได้ประกาศใช้นโยบายปิดป่าเพื่อให้ป่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ และทำให้รัฐเป็นฝ่ายเข้าไปจัดการทรัพยากรป่าได้อย่างถูกกฎหมาย จากนโยบายดังกล่าว ดาระอั้งประสบปัญหาขัดแย้งกับรัฐมาโดยตลอด ทั้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย  ปัญหาการจับกุมดังกล่าวทำให้ชาวดาระอั้งไม่กล้าเข้าไปทำไร่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตป่า พื้นที่การทำมาหากินและการสร้างที่อยู่อาศัยถูกจำกัด และการดำรงชีวิตใน ปัจจุบันดาระอั้งต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหลายประการ เช่น อาชีพ การนับถือศาสนา เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
 
ปัจจุบัน ชาวดาระอั้งที่เกิดในประเทศไทยได้รับสัญชาติไทยบ้างแล้ว  แต่ดาระอั้งที่อพยพเข้ามาจากพม่าส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ชาวดาระอั้งจึงต้องการสัญชาติไทยเพื่อให้ได้มีที่ดินทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

Settlement Pattern

ดาระอั้งที่หมู่บ้านปางแดงมีการสร้างบ้านเรือน 2 ลักษณะ คือ 
1. บ้านที่ติดดิน เป็นบ้านชั้นเดียว ภายในบ้านมีเตาไฟ และแคร่ไม้ไผ่สำหรับนอน
2. บ้านยกพื้น มีใต้ถุนเป็นที่เก็บของและเลี้ยงสัตว์ บนบ้านมีเตาไฟ บางบ้านกั้นห้องไว้นอน
 
เตาไฟของชาวดาระอั้ง ไม่ได้มีไว้ใช้ประกอบอาหาร แต่ใช้สำหรับสร้างความอบอุ่นและชงชา ต้มน้ำเท่านั้น 

Demography

ในประเทศไทยมีการประมาณการว่ามีจำนวนประชากรชาวดาระอั้งประมาณ 5,000 – 7,000 คน (หน้า 25)
 
หมู่บ้านปางแดงนอกเป็นหมู่บ้านที่มีจำนวนประชากรของชาวดาระอั้งจำนวนมาก (หน้า 74)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ระบบเครือญาติของชาวดาระอั้งมีการนับญาติทั้งทางฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ ทำให้ชาวดาระอั้งภายในหมู่บ้านจึงเป็นเครือญาติกันเกือบทั้งหมด ระบบเครือญาติได้เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบการผลิตของชาวดาระอั้ง ภายในกลุ่มเครือญาติเดียวกันชาวดาระอั้งจะมีการออมแรงกันในเครือญาติในการช่วยเหลือเรื่องการเพาะปลูก (หน้า 38-39)
 
นอกจากนี้ ชาวดาระอั้งยังมีการนับญาติที่ผูกพันจากการแต่งงานอีกด้วย เมื่อลูกชายแต่งงานจะให้ลูกสะใภ้เข้ามาอยู่ภายในบ้านของฝ่ายชาย (หน้า 74) จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ชายชาวดาระอั้งได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวดาระอั้งภายในชุมชน จะทำให้ระบบเครือญาติมีความเข้มแข็งมากขึ้น  ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมของชุมชน เช่น การทำบุญที่วัด การไหว้ผีในการทำเกษตร ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนแรงงานในการเพาะปลูก (หน้า73)

Political Organization

ชาวดาระอั้งที่อาศัยอยู่หมู่บ้านปางแดงนอกมีผู้นำชุมชน สามารถแยกออกได้ตามกลุ่มที่นับถือศาสนาออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบไปด้วย ผู้นำกลุ่มดาระอั้งที่นับถือศาสนาพุทธ และผู้นำกลุ่ม
ดาระอั้งที่นับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 86)
 
กลุ่มดาระอั้งที่นับถือศาสนาพุทธประกอบไปด้วยกลุ่มผู้นำที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ผู้นำที่เป็นทางการของกลุ่มศาสนาพุทธจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำของดาระอั้งที่ไม่เป็นทางการจะเป็นผู้สูงอายุภายในชุมชน และผู้นำทางพิธีกรรมของชาวดาระอั้ง (หน้า 87)
 
ในสังคมของชาวดาระอั้งมีระบบผู้ชายเป็นใหญ่ ระบบชายเป็นใหญ่ของชาวดาระอั้งสามารถเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาพุทธของชาวดาระอั้ง เพราะผู้ชายชาวดาระอั้งเป็นกลุ่มคนที่สามารถบวชเรียนเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและหาความรู้ได้ (หน้า 39)
 
ระบบชายเป็นใหญ่ได้มีอิทธิพลในการดำรงชีวิตของชาวดาระอั้งในหลายๆด้าน เช่น การตัดสินใจก็จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย และผู้ชายจะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้าน
ทั้งความเชื่อทางศาสนาพุทธ และความเชื่อเรื่องผี (หน้า 39)
 
ผู้นำทางพิธีกรรมของชาวดาระอั้งมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินพิธีกรรมที่เป็นรูปแบบของชุมชนดาระอั้งแบบครั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า ผู้นำทางพิธีกรรมจึงได้รับความเคารพจากชาวดาระอั้งให้ดำเนินพิธีกรรม และทำการรักษาคนที่ไม่สบายภายในหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าปัจจุบันบทบาทของผู้นำทางพิธีกรรมในการรักษาพยาบาลจะลดลง แต่บทบาทความเป็นผู้นำทางพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผียังคงมีอยู่ ทำให้บทบาทของผู้นำทางพิธีกรรมยังเป็นที่เคารพของชุมชนในปัจจุบัน (หน้า 87) เช่น การตัดสินใจก็จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย และผู้ชายจะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้านทั้งความเชื่อทางศาสนาพุทธ และความเชื่อเรื่องผี (หน้า 39)
 
ผู้นำทางพิธีกรรมของชาวดาระอั้งมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินพิธีกรรมที่เป็นรูปแบบของชุมชนดาระอั้งแบบครั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า ผู้นำทางพิธีกรรมจึงได้รับความเคารพจากชาวดาระอั้งให้ดำเนินพิธีกรรม และรักษาคนที่ไม่สบายภายในหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าปัจจุบันบทบาทของผู้นำทางพิธีกรรมในการรักษาพยาบาลจะลดลง แต่บทบาทความเป็นผู้นำทางพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผียังคงมีอยู่ ทำให้บทบาทของผู้นำทางพิธีกรรมยังเป็นที่เคารพของชุมชนในปัจจุบัน (หน้า 87) 

Belief System

ชาวดาระอั้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักตั้งแต่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า ความเป็นชาติพันธุ์ของดาระอั้งจึงผูกอยู่กับศาสนาพุทธ ความเชื่อ และพิธีกรรม (หน้า 76)
 
ชาวดาระอั้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก (หน้า 47)วัดดาวสนธยาสร้างขึ้นโดยชาวดาระอั้งป๊อกศาสนาพุทธ วัดแห่งนี้จึงมีแต่ชาวดาระอั้งเท่านั้นที่เข้ามาประกอบพิธีกรรมภายในวัด โดยที่ชาวลาหู่ และคนเมืองจะไม่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในวัดแห่งนี้ วัดสร้างด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น เสาไม้ไผ่ มุงหลังคาหญ้าคา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป และมีพระชาวดาระอั้งจำพรรษา(หน้า 61)
  
ชาวดาระอั้งในหมู่บ้านห้วยปงส่วนมากจะนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 51)
 
ความเชื่อเรื่องผีในสังคมดาระอั้งมีบทบาทควบคู่กับพระพุทธศาสนา ผีในสังคมดาระอั้งมีความสำคัญหลายระดับลดหลั่นลงไป โดยผีที่มีความสำคัญสูงสุดคือผีเจ้าเมือง เป็นผีระดับชุมชนที่คอยปกปักรักษาหมู่บ้านให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข (หน้า 77) ทุกหมู่บ้านมีการสร้างหอผีเจ้าเมืองมีการเซ่นไหว้กันเป็นประจำทุกปี ในการบูชาผี โดยชาวดาระอั้งจะทำการบูชาผีเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง (หน้า 77)
 
ชาวดาระอั้งมีความเชื่อในเรื่องของวิญญาณอยู่ 2 ลักษณะคือ ระดับที่หนึ่งเรียกว่า “กาบู” เป็นผี หรือวิญญาณของสิ่งมีชีวิต และอีกระดับหนึ่งคือ “กานำ” เป็นวิญญาณที่สถิตอยู่ในสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ โดยเชื่อว่าคนจะมีระดับวิญญาณทั้งสองนี้คอยให้ความคุ้มครองอยู่ (หน้า 77)
 
งานปีใหม่ของชาวดาระอั้งมีพิธีกรรมแรกในรอบปีของชุมชน งานปีใหม่นั้นตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทใหญ่ และสงกรานต์ของคนไทย ซึ่งตรงกับช่วงเดือนเมษายนของทุกปี งานปีใหม่ของชาวดาระอั้งกินเวลา 5 วัน (หน้า 78)
 
พิธีปิด-เปิดประตูผีเป็นพิธีกรรมที่สำคัญมาก จะทำขึ้นในช่วงหลังการเพาะปลูกเสร็จแล้ว โดยชาวดาระอั้งจะทำการปิดประตูเมือง และปิดประตูผี จะทำบริเวณหอผีเจ้าเมืองของหมู่บ้าน โดยมีหมอผีประจำหมู่บ้านเป็นผู้ประกอบพิธี (หน้า 79) 

ชาวดาระอั้งจะขออนุญาตนำอาหารออกมากิน เชื่อว่าการกินอาหารต่อจากผีเจ้าเมืองจะทำให้แข็งแรง อยู่เย็นเป็นสุข (หน้า 79)
 
ในอดีตชาวดาระอั้งอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ชาวดาระอั้งมีความเชื่อผสมผสานระหว่างพุทธและผีซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการปฏิบัติของพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ หมู่บ้านปางแดงนอกเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ชาวดาระอั้งได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ การเปลี่ยนแปลงทางศาสนาได้จัดระเบียบวิธีคิดความเชื่อในแนวทางปฏิบัติการของพิธีกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ดาระอั้งของชาวดาระอั้งใหม่อีกกลุ่มหนึ่งคือ อัตลักษณ์ของกลุ่มดาระอั้งที่นับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 82)

Education and Socialization

ชาวดาระอั้งรุ่นใหม่ ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนในเมืองไทยซึ่งสามารถพูดภาษาไทยภาคกลางได้ (หน้า 27)
 
โรงเรียนบ้านปางแดง เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีครูอยู่ในโรงเรียน 9 คน โดยเป็นครูที่สอนตามแต่ระดับชั้นเรียนไปและเป็นครูคนเมืองจากข้างล่าง  โรงเรียนนี้มีกลุ่มนักเรียนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายทั้ง  ดาระอั้ง ลาหู่ ลีซู อาข่า กะเหรี่ยงจากหมู่บ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านห้วยปง บ้านปางแดงใน บ้านท่าขี้เหล็ก บ้านห้วยอีโก๋ (หน้า 62)
 
เด็กนักเรียนจะทราบว่าเพื่อนๆมาจากหมู่บ้านไหน กลุ่มชาติพันธุ์อะไร ส่วนใหญ่จะสื่อสารระหว่างกลุ่มด้วยภาษาไทยภาคเหนือ แต่ภายในกลุ่มดาระอั้ง เด็กๆจะสื่อสารด้วยภาษาดาระอั้ง
 
กลุ่มดาระอั้งที่เรียนหนังสือก็จะเป็นกลุ่มดาระอั้งที่เป็นวัยรุ่น และเด็กเท่านั้นส่วนผู้ใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญ และยังมีเรื่องอื่นๆที่สำคัญกว่านี้มาก เช่น เรื่องปากท้องของครอบครัว และ
ที่อยู่อาศัย ทำให้การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ถูกมองข้ามออกจากวิถีชีวิตของชาวดาระอั้ง (หน้า 63)

Health and Medicine

เมื่อชาวดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงนอกที่ถือศาสนาคริสต์ไม่สบาย จะไปขอยาจากผู้นำหมู่บ้านชาวลีซู ส่วนป๊อกศาสนาพุทธจะซื้อยากินเอง แต่ถ้าอาการร้ายแรง ชาวบ้านจะลงไปที่
โรงพยาบาลในอำเภอเชียงดาว (หน้า 66)
 
ชาวดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงนอกไม่สามารถใช้สิทธิ์ 30 บาท รักษาทุกโรคได้ เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน บางส่วนที่มีบัตรก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์ในโรงพยาบาลนี้ได้เนื่องจากชื่อและบัตรอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอฝาง ทำให้การไปรักษาที่โรงพยาบาลเป็นตัวเลือกสุดท้ายของชาวดาระอั้งเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย (หน้า 66)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

อัตลักษณ์หนึ่งของดาระอั้งสะท้อนในการแต่งกายของผู้หญิง คือ นุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อแขนยาว มีพู่ไหมพรมห้อยรอบแขนเสื้อทั้งสองข้างและมีผ้าคาดศีรษะ เอกลักษณ์อีกอย่างคือ การสวมหน่อง หรือที่คล้องเอวที่ทำจากเงิน และไม้ หรือหวาย แต่บางคนอาจใช้สังกะสีทำหน่อง
 
ดาระอั้งเชื่อว่า หน่อง เป็นวัตถุมงคลของชีวิต เมื่อตายไปจะทำให้ขึ้นสวรรค์ ถ้าถอดออกจะทำให้สิ่งไม่ดีเข้าครอบงำ ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องสวมไว้ตลอดเวลา
 
ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อแบบคนไต ผ้าฝ้ายสีน้ำเงินหรือดำ กางเกงเซียม คล้ายกับกางเกงของคนไต บางคนก็หันมาใส่เสื้อยึดแทน(หน้า 73)
 
 อย่างไรก็ตามในหมู่บ้านปางแดงนอกเด็กวัยรุ่นจะแต่งกายชุดประจำกลุ่มเฉพาะในเทศกาลงานสำคัญเท่านั้น เช่น วันไหว้ผี  หรืองานคริสต์มาสที่ต้องออกไปนอกหมู่บ้าน แต่ถ้าอยู่บ้านหรือไปโรงเรียน เด็กจะแต่งชุดเหมือนคนพื้นราบ 

Folklore

มีตำนานเล่าว่า ต้นกำเนิดของดาระอั้งคือนางดอยเงิน หรือหลอยเงิน ซึ่งเป็นวิญญาณผีสาว (บางคนใช้ว่านางฟ้า) วันหนึ่งได้เหาะลงมาอาบน้ำในโลกมนุษย์อย่างสนุกสนาน และไม่ทันระมัดระวังตัว จึงถูกแร้วของนายพราน(บางตำนานบอกว่าเป็นชาวมูเซอ) รัดเข้าที่เอว ดิ้นไม่หลุด ผีสาวได้ถูกนายพรานจับตัวเข้าเมืองโดยไม่ทันได้ถอดแร้วออกจากเอว และนายพรานยังได้เอาห่วงเงินคล้องไว้ที่เอว เพื่อถ่วงน้ำหนักไม่ให้ผีสาวสามารถบินขึ้นไปได้ จากนั้นมาแร้ว และห่วงเงินดังกล่าวได้กลายมาเป็น “หน่อง” ได้กลายมาเป็นเครื่องประดับสำคัญของผู้หญิง
ชาวดาระอั้ง (หน้า 72)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ดาระอั้ง(Dlang)หรือปะหล่อง(Palaong) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า เรียกตนเองว่า ดาระอั้ง มีความหมายว่า คนที่อยู่บนดอย ดา แปลว่า คน ระอั้ง แปลว่า ภูเขา ส่วนชื่อปะหล่องนั้น เป็นชื่อเรียกในภาษาไทใหญ่ มีความหมายว่า กลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ
 
การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ดาระอั้งมีความหลากหลายอย่างมาก Howard and Wattana ได้จำแนกดาระอั้งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ปะหล่องทอง ปะหล่องเงิน และปะหล่องรูไม และเห็นว่า
ปะหล่องในประเทศไทยคือ ปะหล่องเงิน
 
Diran  จำแนกโดยใช้เครื่องแต่งกายของชาวดาระอั้ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปะหล่องทอง และกลุ่มปะหล่องเงิน
 
สกุณี ณัฐพูลวัฒน์ จำแนกเป็น 3  กลุ่มใหญ่ คือ ดาระอั้งแดง ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในประเทศไทย ดาระอั้งเงิน หรือดาระอั้งรูไม เป็นกลุ่มดาระอั้งอาศัยอยู่มากที่สุดในรัฐฉาน ประเทศพม่า และ
ดาระอั้งทอง อาศัยอยู่ในเมืองน้ำสาน ประเทศพม่า
 
จากการสัมภาษณ์ของผู้วิจัย พบว่า ชาวดาระอั้งในหมู่บ้านปางแดงนอกมีทั้งที่บอกว่าตนเองเป็นดาระอั้งแดงและ บางส่วนบอกว่าตนเองเป็นดาระอั้งเงิน

Social Cultural and Identity Change

หมู่บ้านปางแดงนอกตั้งอยู่ริมถนนลาดยางสายทุ่งหลุก-ห้วยตะโก้-ผาลาย มีเสาไฟฟ้าหน้าหมู่บ้าน แต่มีเพียงบ้านคนเมือง บ้านลาหู่ และรีสอร์ทของชาวต่างชาติที่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนดาระอั้งพุทธและคริสต์ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เพราะไม่มีทะเบียนบ้าน และหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน บางบ้านจะใช้แผงโซลาเซล แบตเตอรี่รถยนต์ และยังมีส่วนมากที่ใช้เทียนไข และเตาไฟ
เพื่อส่องสว่างยามกลางคืน

ชาวดาระอั้งจะใช้น้ำประปาภูเขาต่อท่อมาถึงหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังน้ำจากลำห้วย  และใช้ห้องน้ำร่วมกันทั้งหมู่บ้าน(หน้า 77)
 
ชาวดาระอั้งมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการกินให้เกิดความสอดคล้องกับวัฒนธรรมคนเมืองที่เป็นพ่อค้า แม่ค้า ในพื้นที่หมู่บ้าน ส่วนหนึ่งเกิดจากการชื่นชอบในรสชาติอาหาร และราคาที่
ไม่แพง (หน้า 75)
 
ความเป็นดาระอั้งที่หมู่บ้านปางแดงนอกได้รับกระแสวัฒนธรรมจากกลุ่มคนเมือง ที่เป็นคนไทยในพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนผสมผสานวัฒนธรรมของชาวดาระอั้งขึ้นมาใหม่ ความเป็นดาระอั้งที่หมู่บ้านปางแดงนอกจึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในรัฐฉาน กลุ่มคนเมืองได้ทำให้กลุ่มดาระอั้งสามารถรับวัฒนธรรมของคนเมืองไปได้บางส่วน โดยสิ่งสำคัญคือภาษา ทำให้ชาวดาระอั้งสามารถเข้าใจและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นไทยของกลุ่มคนเมืองได้ (หน้า 91-92)
 
ชาวดาระอั้งในประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูก โดยนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวในลักษณะของเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้ชาวดาระอั้งมีความสัมพันธ์กับระบบตลาด และการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ต้องพึ่งพาระบบเงินตรามากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการดำรงชีวิตในรัฐฉาน (หน้า 94)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

- ภาพการตั้งบ้านเรือนของชาวดาระอั้งหมู่บ้านกาลอ ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงตุง  (หน้า 26)
- ภาพไร่ชาของชาวดาระอั้งในรัฐฉาน ประเทศพม่า (หน้า 30)
- ภาพชาวดาระอั้งกลุ่มดาระอั้งเงิน ที่หมู่บ้านกาลอ ประเทศพม่า  (หน้า 31)
- ภาพปะหล่องรูไม เป็นกลุ่มดาระอั้งกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า (หน้า 40)
- ภาพใจบ้านของชาวดาระอั้งหมู่บ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 44)
- ภาพการแต่งกายของผู้หญิงดาระอั้งหมู่บ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่  (หน้า 44)
- ภาพใจบ้านหมู่บ้านปางแดงใน  (หน้า 54)
- ภาพชุมชนดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงนอก (หน้า 60)
- ภาพการเพาะปลูกพืชเชิงเดียวของดาระอั้ง  (หน้า 69)
- ภาพการแยกเส้นด้ายเพื่อที่จะนำมาทอซิ่นของชาวดาระอั้ง (หน้า 71)
- ภาพการตากข้าวโพด  (หน้า 72)
- ภาพการจับกุมชาวดาระอั้งหมู่บ้านปางแดงนอก  (หน้า 122)

Text Analyst สุนิษา ฝึกฝน Date of Report 28 มิ.ย 2560
TAG ดาระอั้ง ดาระอาง ดาละอั้ง ปะหล่อง, การจัดการทรัพยากรป่าไม้, อัตลักษณ์, บ้านปางแดงนอก, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง