สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เมี่ยน อิวเมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), คะยัน กะจ๊าง ปาดอง,โครโมโซม, การโยกย้ายถิ่นฐาน, ความผันแปรระหว่างประชากร, ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อย
Author เมธวี ศรีคำมูล
Title X-, Y- Chromosomal and Mitochondrial DNA variations of the Karen, Hmong and Iu Mien in the Upper Northern Part of Thailand
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, กะยัน แลเคอ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
Dissertation (Biology), Faculty of Graduate Studies, Chiang Mai University Total Pages 155 Year 2548
Source วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Abstract

เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางพันธุกรรมและความเกี่ยวข้องของเผ่าม้ง, กะเหรี่ยง และอิวเมี่ยน รวมถึงผลของความผันแปรทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจากการย้ายถิ่นฐานหลังการแต่งงาน และความสัมพันธ์ทางเชื้อสายระหว่างชนเผ่ากับกลุ่มย่อยต่างๆ โดยใช้โครโมโซม X-,Y- linked microsatellite marker และ mitochondrial DNA ที่สกัดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเครื่องมือในการศึกษา มีการวิเคราะห์จีโนไทป์ของไมโครแซเทลไลท์ 14 ตำแหน่งในโครโมโซม X จีโนไทป์ของไมโครแซเทลไลท์ 15 ตำแหน่งในโครโมโซม Y และลำดับเบสของ mitochondrial DNAบริเวณ hypervariable segment 1 ใน control region โดยมีการเพิ่มปริมาณ DNA ทั้งหมดด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส

ผลการศึกษาพบว่า ความผันแปรทางพันธุกรรมนั้นส่วนใหญ่เกิดจากความหลากหลายภายในกลุ่มย่อยหรือของแต่ละบุคคล การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานหลังแต่งงานก็มีผลต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของชาวเขาที่ศึกษา และแต่ละกลุ่มย่อยของแต่ละเผ่ามีความสัมพันธ์กันทางเชื้อสายอย่างใกล้ชิดยกเว้นอิวเมี่ยนจาก 3จังหวัดที่มีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่เฉพาะซึ่งแตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากความแตกต่างของเส้นทางและระยะเวลาในการอพยพ

Focus

เน้นศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางพันธุกรรมและความเกี่ยวข้องของเผ่าม้ง, กะเหรี่ยง และอิวเมี่ยน รวมถึงผลของความผันแปรทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจากการย้ายถิ่นฐานหลังการแต่งงาน และความสัมพันธ์ทางเชื้อสายระหว่างชนเผ่ากับกลุ่มย่อยต่างๆ โดยใช้โครโมโซม X-,Y- linked microsatellite marker และ mitochondrial DNA เป็นเครื่องมือในการศึกษา 

Theoretical Issues

ใช้ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมเกี่ยวกับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม X, Y และ ลำดับเบสในดีเอ็นเอของไมโตคอนเดรียเป็นตัวเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง(กะเหรี่ยงคะยา, กะเหรี่ยงโป, กะเหรี่ยงสะกอ, กะเหรี่ยงตองสู) ,ม้ง (ม้งดำ, ม้งขาว), อิวเมี่ยน (จากจังหวัดเชียงราย, น่าน, พะเยา)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

กะเหรี่ยง : อพยพมาจากทิเบตผ่านทางประเทศพม่า และเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันตก แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มคือ
                              
กะเหรี่ยงสะกอ – เริ่มตั้งหมู่บ้านเมื่อประมาณ 130 ที่แล้วในลักษณะของค่ายพักชั่วคราวเพื่อใช้ในฤดูเกษตรกรรม ต่อมาจริงได้ตั้งหมู่บ้านถาวรและขยายขนาดใหญ่ขึ้นตามจำนวนประชากรที่มีการอพยพเข้ามาเรื่อยๆ
                              
กะเหรี่ยงโป – ส่วนใหญ่อพยพมาจากหมู่บ้านตุงลอยเก่า ซึ่งมีการอพยพดั้งเดิมมาจากประเทศพม่าเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกในการเดินทาง
                             
กะเหรี่ยงคะยา – เป็นผู้ลี้ภัยมาจากรัฐคะยา ประเทศพม่า
                              
กะเหรี่ยงตองสู – อพยพมาจากเมืองพิน ประเทศพม่าเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว
               
ม้ง : อพยพมาจากประเทศจีนผ่านทางประเทศเวียดนาม ลาวและเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 50-60 ปีที่แล้ว แบ่งเป็นสองกลุ่มย่อยตามความเชื่อคือ
                              
ม้งดำ
กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ – มีการอพยพมาจากดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว
กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย – ประชากรส่วนใหญ่มากจากอำเภอเถิง จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านมีอายุประมาณ 30 ปี
กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพะเยา – เกิดจากการรวมคนจากเขตเกษตรกรมหลายๆเขต เช่นอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่านเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว
                       
ม้งขาว

กลุ่มที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ – เริ่มตั้งหมู่บ้านจากการทำไร่เลื่อนลอยเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้วก่อนที่จะตั้งถิ่นฐาน ณ ที่อยู่ปัจจุบันเมื่อ 25 ปีที่แล้ว

กลุ่มที่อาศัยในจังหวัดเชียงราย – ประชากรมาจากจังหวัดพะเยาและน่านเพื่อเหตุผลทางเกษตรกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน
            
อิวเมี่ยน : 
อพยพมาจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ผ่านประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณ 170-180 ปีที่แล้ว โดยมีผู้นำคือพระยาคีรี ศรีสมบัติ ได้อพยพผู้คนจำนวนหนึ่งออกจากประเทศลาวมายังอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ก่อนจะย้ายต่อมายังอำเภอเฉลิมประเกียรติ จังหวัดพะเยา และอำเภอปง จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน อิวเมี่ยนกลุ่มที่อาศัยที่จังหวัดน่านนั้นคือกลุ่มที่พระยาคีรี ศรีสมบัติได้อพยพมาจากประเทศลาวและไม่ได้อพยพต่อมายังจังหวัดพะเยา กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายมีการอพยพมาจากประเทศลาวผ่านทางอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

เผ่ากะเหรี่ยง ยังคงมีการอพยพย้ายทั้งไป และกลับจากประเทศพม่าอยู่ต่อเนื่องบริเวณชายแดน

Economy

กะเหรี่ยงตองสู ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นแรงงานทั่วไป

Social Organization

กะเหรี่ยง : หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายย้ายเข้ามาอาศัยอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิง สร้างบ้านใหม่ และอาศัยอยู่ร่วมกันในลักษณะครอบครัวเดี่ยว แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยตามความเชื่อ คือกะเหรี่ยงสะกอ, กะเหรี่ยงโป, กะเหรี่ยงคะยา และกะเหรี่ยงตองสู
              
ม้ง : หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายย้ายเข้าไปอาศัยกับครอบครัวของฝ่ายชายและอยู่ร่วมกันในลักษณะครอบครัวขยาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยตามความเชื่อ คือม้งดำ และม้งขาว
              
อิวเมี่ยน : หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายย้ายเข้าไปอาศัยกับครอบครัวฝ่ายชาย มีการอยู่ร่วมกันทั้งในลักษณะครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย มีประเพณีในการรับบุตรบุญธรรมทั้งจากในเผ่าหรือภายนอกเผ่า 

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

พบว่าแต่ละกลุ่มย่อยของแต่ละเผ่านั้นมีความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรม และเป็นไปได้ว่าแต่ละกลุ่มย่อยอาจจะมีบรรพบุรุษเดียวกัน
              
โครงสร้างทางพันธุกรรมของทั้ง 3 กลุ่มคือ กะเหรี่ยง ม้ง และอิวเมี่ยน มีความแตกต่างกันแต่พบว่ามีเปอร์เซนต์ความผันแปรที่ต่ำ แสดงให้เห็นว่าทั้ง 3 กลุ่มมีความสัมพันธ์กันทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจจะมาจากการที่บรรพบุรุษของกะเหรี่ยงที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแม่น้ำเหลืองในประเทศจีนมีพันธุกรรมผสมของกลุ่มจีนใต้ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของทั้งม้งและอิวเมี่ยนก่อนที่แต่ละเผ่าจะมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน

1. ความแตกต่างของการย้ายถิ่นฐานหลังการแต่งงานมีผลต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของการศึกษากลุ่มชาวเขา โดยที่ความหลากหลายของโครโมโซม Y นั้นกลุ่มของเผ่ากะเหรี่ยงซึ่งผู้ชายเป็นฝ่ายย้ายไปอยู่กับครอบครัวทางฝ่ายหญิงนั้นจะมีความหลากหลายมากกว่าม้ง ในทางกลับกันความหลากหลายของ mitochondrial DNA ในม้งซึ่งผู้หญิงเป็นฝ่ายย้ายเข้าสู่ฝ่ายชายก็จะมากกว่ากะเหรี่ยง
              
2. การรับบุตรบุญธรรมของอิวเมี่ยน ทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของโครโมโซม Y มากกว่าของกะเหรี่ยงและม้ง
              
3. อัตราการอพยพที่คำนวณจากความผันแปรทางพันธุกรรมของโครโมโซม X, Yและ mitochondrial DNA แสดงให้เห็นว่าผู้ชายมีการอพยพมากกว่าผู้หญิงในกลุ่มที่ผู้ชายเป็นฝ่ายย้ายสู่ครอบครัวฝ่ายหญิงหลังการแต่งงาน (กะเหรี่ยง) และผู้หญิงจะมีการอพยพมากกว่าผู้ชายในกลุ่มที่ผู้หญิงเป็นฝ่ายย้ายเข้าสู่ครอบครัวฝ่ายชายหลังการแต่งงาน (ม้งและอิวเมี่ยน)

Social Cultural and Identity Change

กะเหรี่ยง : หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายย้ายเข้ามาอาศัยอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิง สร้างบ้านใหม่ และอาศัยอยู่ร่วมกันในลักษณะครอบครัวเดี่ยว แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยตามความเชื่อ คือกะเหรี่ยงสะกอ, กะเหรี่ยงโป, กะเหรี่ยงคะยา และกะเหรี่ยงตองสู
              
ม้ง : หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายย้ายเข้าไปอาศัยกับครอบครัวของฝ่ายชายและอยู่ร่วมกันในลักษณะครอบครัวขยาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยตามความเชื่อ คือม้งดำ และม้งขาว
              
อิวเมี่ยน : หลังจากการแต่งงาน ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายย้ายเข้าไปอาศัยกับครอบครัวฝ่ายชาย มีการอยู่ร่วมกันทั้งในลักษณะครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย มีประเพณีในการรับบุตรบุญธรรมทั้งจากในเผ่าหรือภายนอกเผ่า 

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

แผนที่แสดงถิ่นที่อยู่ของชาวเขาที่เป็นข้อมูลในการศึกษา (กะเหรี่ยง ม้ง และอิวเมี่ยน)

Text Analyst กรกนก ศฤงคารีเศรษฐ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG เมี่ยน อิวเมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), คะยัน กะจ๊าง ปาดอง, โครโมโซม, การโยกย้ายถิ่นฐาน, ความผันแปรระหว่างประชากร, ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง