สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,วันเดือนปี,วิถีชีวิต,ประเทศไทย
Author จันทบูรณ์ สุทธิ, สมเกียรติ จำลอง
Title วันเดือนปี ชาวเขา (ลัวะ และวัน เดือน ปี)
Document Type เอกสารวิชาการ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 70 Year 2539
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Abstract

ลัวะเป็นกลุ่มชนที่ถือกันว่าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมาก่อนที่คนเมืองจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือพื้นที่แห่งนั้น ลัวะในปัจจุบันมีการผสมผสานกับคนเผ่าพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ ทำให้เกิดกลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า คนเมือง ในปัจจุบัน แม้ว่าลัวะจะเป็นกลุ่มชนดั้งเดิม แต่ก็ไม่มีการรับเอาอิทธิพลในการลำดับวันเดือนปีมาใช้เหมือนกับกลุ่มชนอื่น ๆ ในปัจจุบันการลำดับวันรอบสัปดาห์หรือรอบ 7 วัน ได้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวันของลัวะทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ในชุมชนลัวะจึงต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี คติความเชื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่และต้องสอดคล้องกับช่วงเวลาวิกฤตด้านแรงงานของชุมชนจึงจะประสบผลสำเร็จ

Focus

เป็นการรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ วัน เดือน ปี ในชีวิตประจำวันตามคติความเชื่อของลัวะ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานพัฒนา ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวเขา

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ละเวือะ

Language and Linguistic Affiliations

ลัวะจัดอยู่ในกลุ่มชนที่พูดภาษาออสโตร - เอเชียติค (AUSTRO - ASIATIC) สาขามอญ - เขมร (MON - KHMER) แต่เนื่องด้วยพวกลัวะสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจึงมีภาษาพูดที่ต่างกัน ทำให้ลัวะบางแห่งต้องสื่อความหมายโดยใช้ภาษาของกะเหรี่ยงกลุ่มย่อยสะกอเป็นภาษากลาง และบางแห่งที่คุ้นเคยกับคนเมืองก็ใช้ภาษาคนเมืองเป็นภาษากลางในการสื่อความหมาย (หน้า 171, 175)

Study Period (Data Collection)

กันยายน พ.ศ. 2532 (หน้า 159)

History of the Group and Community

ลัวะเป็นกลุ่มชนเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีลัวะอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย อุทัยธานี ลำปาง และสุพรรณบุรี สำหรับ ชาวอูด ที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำแม่กลองตอนบนของจังหวัดกาญจนบุรี และ ชาวบน ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ก็ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มลัวะด้วยเช่นกัน ลัวะในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน เรียกตนเองว่า เหล่อเวือะ หรือ เหล่อเวียะ และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้หลายกลุ่มตามภาษาพูดและประเพณีบางอย่าง สำหรับลัวะ ในจังหวัดเชียงราย ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง เรียกตนเองว่า บีซู คนไทยภาคเหนือเรียก ลัวะ ว่า ลัวะ แต่คนภาคเหนือเฉพาะในจังหวัดน่านเรียก ถิ่น ว่า ลัวะ แต่ทั้งสองกลุ่มนี้ได้แยกตัวออกจากกันและมีเอกลักษณ์ทางด้านสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เป็นของตนเอง ในปัจจุบันลัวะมีการผสมผสานกับคนเผ่าอื่นอีกหลายเผ่าพันธุ์จนรวมตัวขึ้นมากลายเป็นคนเมืองรุ่นใหม่(หน้า 171-172, 174, 177)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ในประเทศไทยมีจำนวนประชากรลัวะซึ่งรวบรวมโดยสถาบันวิจัยชาวเขาเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2532 ทั้งหมดประมาณ 7,845 คน 41 หมู่บ้าน จำนวนประชากรคิดเป็นร้อยละ 1.42 ของจำนวนประชากรชาวเขาทั้งประเทศ (หน้า 176)

Economy

การทำกินของลัวะในภาคเหนือเป็นการทำกินแบบยังชีพ (subsistence agriculture) เป็นการผลิตเพื่อการยังชีพของตัวเองในแต่ละปีเท่านั้น ระบบการเกษตรเป็นระบบการเกษตรแบบตัดฟันโค่นเผา ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลา 1 ปี แล้วจึงกลับมาทำใหม่ซึ่งเรียกว่า ไร่หมุนเวียน โดยทั่วไปแล้วชุมชนลัวะดั้งเดิมที่ตั้งมาเป็นเวลานาน ๆ พื้นที่ทำกินของหมู่บ้านจะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของชุมชน ชุมชนมีหน้าที่จัดสรรให้แก่สมาชิกผู้อยู่ร่วมชุมชนทำกิน ผู้ถือครองพื้นที่ทำกินจะนำที่ไปซื้อขายโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากชุมชนไม่ได้ สำหรับหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นมาไม่นาน รูปแบบการถือครองที่ดินไม่สามารถจัดระบบได้อย่างสมบูรณ์ คงจัดให้พื้นที่บางแห่งเท่านั้นที่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน ซึ่งการเข้าทำกินในพื้นที่ต้องมีการตัดสินใจร่วมของชุมชน แต่พื้นที่อื่นๆ ผู้ถือครองสามารถตัดสินใจซื้อขาย จ่ายโอน และจำนองได้เอง หมู่บ้านที่มีอายุการจัดตั้งน้อยจะไม่มีพื้นที่ที่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน จะมีแต่พื้นที่ส่วนบุคคล ลักษณะการครองพื้นที่ทั้งสามรูปแบบนี้ ทำให้นักพัฒนามักประสบกับปัญหาการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของชุมชน นอกจากนี้ลัวะยังมีอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงวัวและควายบนภูเขาในระบบการเลี้ยงแบบแบ่งครึ่งกับคนเมือง โดยคนเมืองและลัวะจะได้รับผลประโยชน์จากลูกสัตว์ที่เกิดมาเท่า ๆ กัน ในอดีตระบบเศรษฐกิจของลัวะเป็นแบบการยังชีพ (subsistence economy) สามารถถลุงเหล็กนำมาใช้เป็นเครื่องมือการเกษตร หาของป่า ทำเกลือสินเธาว์ แต่ในปัจจุบัน รัฐได้ตัดผ่านถนนเข้าถึงชุมชนลัวะ ทำให้ระบบการทำกินและระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปโดยรับจากสังคมภายนอกมากขึ้น เริ่มมีการปลูกกะหล่ำปลีซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ บางครอบครัวได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราเต็มตัว (money economy) ด้วยการปลูกกะหล่ำปลีเพียงอย่างเดียว ลัวะในหมู่บ้านอื่น ๆ ก็เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากรูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ที่เข้าสู่ชุมชนลัวะ (หน้า 179-182)

Social Organization

ลัวะเรียกกลุ่มเครือญาติว่า "เจ่อ" แต่บางแห่งเรียก "เจิง" มีการใช้แซ่เป็นสัญลักษณ์ร่วมของกลุ่มเครือญาติอันเป็นอิทธิพลจากจีน และมีกลุ่มเครือญาติย่อยที่มีคติความเชื่อแตกต่างออกไปแฝงอยู่ในแต่ละแซ่ กลุ่มเครือญาติของลัวะสืบเชื้อสายทางบิดาเมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายหญิงต้องไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย ยกเว้นกรณีที่บิดามารดาฝ่ายหญิงไม่มีผู้สืบสกุลผู้ชายเลย หากเป็นบุตรสาวคนเดียวผู้ชายที่จะเป็นบุตรเขยต้องไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง และใช้คติความเชื่อของสายสกุลฝ่ายหญิงแทน กรณีที่มีบุตรสาวหลายคนโดยไม่มีบุตรชายเลย บุตรเขยคนใดคนหนึ่งจะถูกเลือกหรือถูกขอร้องให้อยู่ร่วมกับครอบครัวฝ่ายหญิง กลุ่มเครือญาติของลัวะที่บ้านละอูบ บ้านดง อำเภอแม่ลาน้อย บ้านป่าแป๋ บ้านอมพาย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกลุ่มเครือญาติอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่ม สะมัง ถือว่าเป็นกลุ่มที่สืบเชื้อสายโดยตรงมาจาก คุณ หรือขุนวิลังก๊ะ อดีตผู้นำที่หายสาบสูญไป กลุ่มเครือญาติสะมังยังมีกลุ่มเครือญาติย่อยอันได้แก่ กลุ่มสะมังใหญ่ และกลุ่มสะมังเล็ก กลุ่มเครือญาติของลัวะมักจะใช้คำที่เป็นชื่อของหมู่บ้านมาเป็นชื่อของกลุ่มเครือญาติตนเอง เพื่อรักษาชีวิตในการหลบหนีแบบกลุ่มใครกลุ่มมัน เมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ปกติจึงได้มีการอพยพแลกเปลี่ยนระหว่างคนต่างกลุ่มเครือญาติจนกลายเป็นรูปแบบของหมู่บ้านลัวะในปัจจุบัน ที่ประกอบขึ้นด้วยคนหลายกลุ่มเครือญาติ ในแต่ละกลุ่มเครือญาติจะมีข้อห้ามที่แตกต่างกันออกไปคือ ห้ามกินเนื้อสัตว์ได้แก่ แพะ สุนัข แมว งูเหลือม เป็นต้น แต่ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างคนในกลุ่มเครือญาติต่าง ๆ ( หน้า 182-185)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ประเพณีที่สำคัญของลัวะจะเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อเริ่มปีใหม่คือเดือน 4 หรือ ไค้ยเปาน์ เรื่อยไปจนถึงช่วงที่ถือเป็นการสิ้นสุดปีตามจารีตประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญของลัวะในรอบปี ได้แก่ - นกต๊ะงอ หรือ พิธีเลี้ยงผีต๊ะงอ เป็นพิธีแรกสุดจะทำในเดือน 4 ของลัวะ เป็นการขอความคุ้มครองจากผีฟ้า และนิยมทำในวันอังคารข้างขึ้นไม่นิยมทำในวันเสาร์อาทิตย์ ในพิธีนกต๊ะงอจะมีการเลี้ยงผี 4 ประเภทคือ นกต๊ะงอ นกกุม นกตังเกย และนกอัดยา ทุกคนในหมู่บ้านจะต้องเฉลี่ยเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีทุกหลังคาเรือน เพราะถือเป็นพิธีร่วมของหมู่บ้าน และต้องนำไก่มาร่วมในการประกอบอาหารเซ่นผีและเลี้ยงคนทั้งชุมชน นกต๊ะงอจะทำเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวและนำเข้ายุ้งฉางแล้ว แต่หากปีใดเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเกี่ยวข้าว หมู่บ้านนั้นจะต้องทำพิธีนกตะงอในเดือน บีติง หรือเดือน 3 เพราะเชื่อว่าผีต่าง ๆ ได้เตือนให้มีกรทำบุญ - นกต๊ะตู หรือ พิธีเลี้ยงผีตะดู ซึ่งแปลว่าผีบนสันเขา เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของลัวะทุกคน หากไม่มีพิธีนี้จะไม่สามารถทำไร่ในปีนั้นๆ ได้ การทำพิธีนกต๊ะตูจะทำในเดือน 4 หรือ ไค้ยเปาน์ นิยมทำในวันอังคารข้างขึ้น ไม่นิยมทำในวันเสาร์อาทิตย์ ในพิธีนี้จะมีการนำมันหมูที่ใช้เซ่นผีมาแจกจ่ายให้แก่เด็กวัยรุ่นผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุสมควรที่จะเป็นหนุ่มสาวแล้ว ถือเป็นการยอมรับของชุมชนว่าเด็กวัยรุ่นเหล่านี้เริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้ว หลังจากพิธีเลี้ยงผีต๊ะตูแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ กลุ่มเครือญาติที่ทำการเกษตรในบริเวณเดียวกันจะทำพิธีเสี่ยงทาย เรียกว่า ซะโป๊ก ว่าพื้นที่ทำกินแห่งนี้จะมีผลดีผลเสียอย่างไร หากผลเสี่ยงทยไม่ดีก็จะมีการแลกเปลี่ยนที่ทำกินในระหว่างกลุ่มเครือญาติ หากผลเสี่ยงทายดีถือว่าสามารถไปทำที่ไหนก็ได้ - นกไกย์ฮปาย หรือ พิธีเลี้ยงผีไฟ เพื่อช่วยคุ้มครองป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามออกจากพื้นที่ที่เผา ถือเป็นพิธีกรรมร่วมของชุมชน ในวันที่จะทำการเผาไร่ลัวะจะให้เด็กๆ ของทุกหลังคาเรือนในชุมชนปีนขึ้นไปนั่งบนหลังคาพร้อมกับภาชนะบรรจุน้ำ เพื่อเตรียมดับไฟหากเกิดไฟไหม้บ้านเรือน - นกฮละ หรือ พิธีเลี้ยงผีไร่ เป็นการชดใช้แก่ผีไร่ในการมาขอใช้พื้นที่ เป็นพิธีที่ทำภายหลังจากการเผาไร่และก่อนที่จะมีการทำไร่ แต่ละครัวเรือนจะทำพิธีของตนเองในไร่ที่จะใช้เพาะปลูกประจำฤดูกาล การเลี้ยงผีไร่มีอยู่ 2 ชนิดคือ ฮละลา หรือการเลี้ยงผีไร่อย่างใหญ่ เพราะถือว่าพื้นที่แห่งนั้นถือกันว่ามีผีแรง มักจะทำให้ผู้ที่ไปทำไร่มีอันเป็นไปเสมอ ฮละเตี้ยะ หรือการเลี้ยงผีไร่อย่างเล็ก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผีธรรมดาไม่ใช่ที่ผีแรงของเซ่นไหว้จึงมีเพียงหมู 1 ตัว และไก่ 3 ตัว การเลี้ยงผีไร่จะทำในเดือน 6 หรือ 7 แต่ต้องก่อนที่จะมีพิธีสงกรานต์ของคนเมืองอย่างน้อย 1 - 2 อาทิตย์ และไม่นิยมทำในวันเสาร์อาทิตย์ - ดวน เป็นพิธีเลี้ยง ผีละมัง หรือ ผีละมาง ของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านเรียก ผีอะมัง อันได้แก่ ผีของบรรพบุรุษ การเลี้ยงผีละมังถือเป็น การบน ต่อผีบรรพบุรุษให้ดูแลรักษาข้าวและพืชผลที่ปลูกร่วมกันในพื้นที่ ซึ่งจะมีการแก้บนอีกครั้งภายหลังที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว - นกจาวตี หรือ พิธีเลี้ยงผีเจ้าที่ เป็นพิธีกรรมที่มีการเลี้ยงข้างที่นาและที่ไร่ เป็นพิธีกรรมของแต่ละครัวเรือนเพื่อให้ผีเจ้าที่คุ้มครองการทำนาทำไร่ การทำพิธีสามารถกระทำได้ตั้งแต่ปลูกข้าวเป็นต้นไปจนถึงการเกี่ยวข้าว - นกละมัง หรือ พิธีการเลี้ยงผีละมัง เป็นการบอกกล่าวแก่ ผีละมัง หรือ ผีบรรพบุรุษ ให้ช่วยคุ้มครองในการทำนา ขอให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งโดยปกติจะทำพิธีในวันเดียวกับ นกฮ๊อกกรง หรือ นกฟาย หรือ พิธีเลี้ยงผีฝาย บริเวณที่ใช้ประกอบพิธีทั้งสองนั้นถ้าเริ่มประกอบพิธี ณ ที่ใด บริเวณนั้นจะถูกใช้ในการประกอบพิธีทุก ๆ ปีห้ามเปลี่ยนสถานที่ เดิมพิธีเลี้ยงนกฝายจะกระทำโดยกลุ่มชาวบ้านที่ใช้ฝายร่วมกัน แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นการทำพิธีของแต่ละครัวเรือนหรือกลุ่มเครือญาติที่ใช้ฝายร่วมกันแทน พิธีนี้จะทำก่อนการตกกล้าประมาณเดือน 9 หรือ ไค้ยซะไตม์ - นกซะอ๊อป หรือ พิธีเลี้ยงผีร้ายผีตายโหง เป็นพิธีเลี้ยงผีต่าง ๆ ที่ลัวะถือว่าเป็นผีไม่ดีผีร้ายตลอดจนผีตายโหง แต่ละครัวเรือนจะทำพิธีนี้ในวันเดียวกับ พิธี นกละมัง ในปีหนึ่งจะมีพิธีนกซะอ๊อปหลายครั้ง เช่น เมื่อมีการเจ็บป่วยและไปรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อกลับมาแล้วยังไม่หายขาดจะต้องมีการเลี้ยงผีอีกครั้งหนึ่ง หรือมีการเจ็บป่วยเรื้อรังก็จะมีการทำ นกซะอ๊อปหลายครั้ง - นกกายบง หรือ พิธีเลี้ยงผีหัวบันได หรือ พิธีเสาเอกของบ้าน เพื่อให้ผีคุ้มครองเป็นพิธีกรรมรวมของชุมชน นิยมทำพิธีในวันอังคารข้างขึ้นหรือวันข้างขึ้น 3 หรือ 5 ค่ำ ของเดือน 10 หรือ ไค้ยกาว มักจะทำหลังพิธี นกฮ๊อกกรง หรือ พิธีเลี้ยงผีฝายแล้วประมาณ 7 วัน และจะห้ามคนออกจากหมู่บ้านในวันทำพิธี - นกซะมา หรือ พิธีเลี้ยงผีประตู ที่อยู่ตรงข้ามกับบันไดบ้าน เป็นการขอโทษต่อผีประตูที่ได้ล่วงเกินและขอให้ผีคุ้มครอง บางหมู่บ้านเลิกประกอบพิธีนี้แล้ว นิยมทำในเดือน 10 ของลัวะ - นกจู หรือ พิธีเลี้ยงผีหัวเสา ซึ่งจะทำพิธีนี้เมื่อเกิดมีคนในครัวเรือนไม่สบาย และห้ามคนภายนอกเข้าบ้านจนกว่าจะผ่านวันที่มีพิธีกรรมไปแล้ว - นัง (นา - อัง) หรือ พิธีการข่มขวัญผี คำว่า นัง แปลว่า ไม่ได้ให้ผุดให้เกิด พิธีจะทำในเดือน 10 ของลัวะ หรือ ไค้ยกาว วันแรม 15 ค่ำ โดยทุกหลังคาเรือนจะเคาะอะไรก็ได้ให้เกิดเสียงดังที่สุด การกระทำเพื่อให้เกิดเสียงดังกึกก้องทั้งหมู่บ้านจะกระทำนานประมาณ 1 นาทีแล้วจึงหยุด พิธีจะเริ่มในตอนกลางวันโดยผู้อาวุโส 4 คน นำไก่ไปทำพิธีเลี้ยงผีไร่ในบริเวณที่ปลูกข้าวไร่ของปีนั้น ๆ ในระหว่างทำพิธีจะห้ามพูดกันและห้ามพูดกับบุคคลอื่นด้วยอย่างเด็ดขาด - นกพูกเต่ยเกี้ยก หรือ นกลำบุ้กครัก หรือ พิธีมัดมือควาย แต่ละหลังคาเรือนที่เลี้ยงควายและทำนาจะมีการขอขมาควายพร้อมทั้งทำขวัญควายไปด้วย เป็นพิธีกรรมที่รับมาจากคนเมือง พิธีมัดมือควายจะทำหลังการทำนาปลูกข้าวแล้ว จะทำในวันใดก็ได้ยกเว้นวันเสาร์อาทิตย์ ก่อนพิธีมัดมือควายจะมีการดำหัวควายด้วยน้ำส้มป่อย หลังจากนั้นก็จะนำด้ายดิบมัดที่โคนเขาหรือปลายเขา และมีการกล่าวขอขมาลาโทษที่ได้กระทำต่อควายตลอดมา เป็นพิธีที่ต้องกระทำทุกปี - พิธีจ้า (จา + อ้ะ) ซึ่งแปลว่า แก้บน เป็นพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษของแต่ละกลุ่มเครือญาติ ส่วนใหญ่จะนิยมทำในเดือน 3 ของลัวะ หรือ บีติง ซึ่งเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เป็นพิธีที่สืบเนื่องมาจากการบนที่ได้ทำไว้ใน พิธีดวน พิธีแก้บนจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนที่หมู่บ้านจะมีการเลี้ยงผีต๊ะงอของหมู่บ้าน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่การประกอบพิธีดวนจนกระทั่งถึงเวลาประกอบพิธีจ้า ลัวะเปรียบเทียบว่าเสมือนการเข้าพรรษาของคนไทยชาวพุทธที่ละเว้นกิจกรรมหลายอย่าง ในระหว่างนี้พวกลัวะต้องทำตัวให้ดีเพราะได้ให้คำรับรองไว้กับผีบรรพบุรุษแล้วในพิธีดวน - นกซะไป๊ค์ หรือ การเลี้ยงผีใหญ่ของหมู่บ้าน หรือ ผีเจ้านาย เดิมพิธีนี้จะทำกัน 5 - 10 ปีต่อครั้ง ทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะนำไก่มาร่วมพิธีและเฉลี่ยกันออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่ง ปู่แก่ จะเป็นผู้ที่จ่ายมากกว่าคนอื่น เครื่องประกอบไนพิธีนี้ได้แก่ เสาสะกัง เป็นเสาไม้แกะสลักฝังอยู่ที่หน้าศาลาประกอบพิธีของหมู่บ้าน พิธีนกซะไป๊ค์จะทำในฤดูแล้ง แต่ในปัจจุบันนิยมทำในวันพระ และไม่นิยมทำในวันเสาร์อาทิตย์ พิธีกรรมจะใช้เวลา 3 วัน - นกเหยอะเนอโม หรือ นกเหยอะกุมโม เป็นการเลี้ยงผีดอย ผีป่าที่สถิตย์อยู่บนดอยใหญ่ที่สูงที่สุดใกล้ๆ กับหมู่บ้าน เป็นการขออนุญาตใช้พื้นที่และขอความคุ้มครอง พิธีเลี้ยงผีดอยจะทำตอนไหนก็ได้แต่ต้องอยู่ภายในการลำดับเดือนในรอบปีของลัวะ ในการประกอบพิธีจะห้ามผู้หญิงและผู้ชายที่มีภรรยากำลังตั้งครรภ์เข้าร่วมพิธีโดยเด็ดขาด - นกตาวเคาะ หรือ พิธีส่งเคราะห์ พิธีนี้จะทำก็ต่อเมื่อหมู่บ้านเกิดโรคระบาดในคนและสัตว์ หรือบุคคลในหมู่บ้านเจ็บป่วยมาก ๆ เป็นพิธีที่ได้รับอิทธิพลจากคนเมือง วันทำพิธีโดยมากจะกำหนดวันแรม 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ บริเวณที่ใช้ประกอบพิธีจะอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านซึ่งถือเป็นเคล็ดว่าเคราะห์กรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะได้หายไปเหมือนกับพระอาทิตย์ที่ตกดิน - นกลำบุ้ก หรือ พิธีสู่ขวัญสำหรับผู้อาวุโส ซึ่งจะทำให้กับชายและหญิงของหมู่บ้านที่มีอายุเลยวัย 60 ปีแล้ว นิยมทำในวันอังคารข้างขึ้น เดือน 4 หรือ ไค้ยเปาน์ ในพิธีจะมีการสู่ขวัญผู้อาวุโสด้วยพิธีมัดข้อมือ หลังจากนั้น ก็จะมีการกล่าวอวยพรให้ผู้มาทำพิธีอยู่เย็นเป็นสุข - นกอลาจุ้ก เป็นพิธีกรรมที่ทำเฉพาะในครัวเรือน และจะอยู่กรรมเฉพาะตอนกระทำพิธีเท่านั้น นกอลาจุ้กเป็นพิธีกรรมเพื่อลี้ยงผีเรือน ในกรณีที่มีการนอนหลับฝันไม่ดี ขอให้ผีเรือนช่วยดูแลให้บุคคลในบ้านอยุ่ดีมีสุข นิยมทำในวันแรม 14 หรือ 15 ค่ำ - นกลำบุ้กกูลุ้ย หรือพิธีเลี้ยงผีที่มารบกวนเด็กในขณะที่เด็กคลอดออกมาและมีอายุไม่กิน 2 ปี ซึ่งจะทำเฉพาะในครัวเรือน เป็นการทำพิธีเลี้ยงผีหัวเสาเรือนที่อยู่ในห้องลูกชายและลูกสะใภ้ ในวันประกอบพิธีบุคคลภายนอกห้ามเข้าบ้านโดยเด็ดขาด สำหรับครอบครัวที่แต่งงานใหม่ผ่านพ้นไป 1 ปีแล้วยังไม่มีบุตร ฝ่ายหญิงจะต้องทำพิธีบนผีหัวเสาในห้องของคู่แต่งงานเพื่อขอลูก และญาติฝ่ายหญิงก็จะต้องมาเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำพิธีด้วย (หน้า 193 - 206)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานสิงหนวัติ ได้กล่าวถึง มิลักขุชน (ลัวะ) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ดอยสามเส้า (ดอยทา ดอยญ่าเถ้า และดอยปู่เจ้า ซึ่งเป็นบริเวณตั้งแต่ดอยตุงในปัจจุบันนี้ขึ้นไปทางเหนือในบริเวณรัฐฉานของสหภาพพม่า) ที่มีผู้นำชื่อ ลาวจก มีการค้าขายกับ ขอมชาวเมือง ที่ตีนดอยทา และได้กล่าวถึง สิงหนวัติกุมาร มีบริวารเป็น ขุนมิลักขุ ทั้งหลาย และได้ยกกองทัพไปปราบ ขอมดำ ตามตำบลต่าง ๆ ทั่วทั้งล้านนาไทย ภายหลังต่อมาในปี พ.ศ. 900 ขอมกลับยึดนครโยนกนาคบุรี และครอบครองอยู่นานถึง 19 ปี จึงถูกพรหมกุมารตีเมืองคืน และรุกไล่ขอมไปถึงกำแพงเพชรและได้สร้างเมืองชัยปราการ (ฝาง) ไว้เป็นด่านหน้า ป้องกันขอมเข้ามาโจมตี (หน้า 159)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เมื่อถึงวันประกอบพิธีกรรมที่สำคัญในรอบปี ลัวะทุกคนในหมู่บ้านจะเข้าร่วมพิธีและช่วยกันออกค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม นอกจากนี้ระบบการแลกเปลี่ยนแรงงานในชุมชนลัวะในกิจกรรมการเกษตรซึ่งเป็นจารีตโดยทั่วไปของชุมชนยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภายในชุมชนอีกด้วย

Social Cultural and Identity Change

จากการที่ภาครัฐได้นำเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานอันได้แก่ การตัดถนนเข้าถึงชุมชนลัวะ จึงมีผลทำให้ลัวะเปลี่ยนแปลงระบบการดำรงชีวิต การทำกิน และระบบเศรษฐกิจของตนเองตามอิทธิพลที่ได้รับจากสังคมภายนอก จากเดิมที่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราเต็มตัว บางหมู่บ้านที่อยู่ติดกับทางหลวงมีรูปแบบการดำรงชีวิตแบบคนเมืองเกือบทั้งมด นอกจากนี้ผลจากการศึกษาของลัวะรุ่นใหม่ได้รับเอาอิทธิพลจากคนไทยเกี่ยวกับการลำดับวันเดือนปีไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น (หน้า 181, 186, 188, 191)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การลำดับวัน เดือน ปีของลัวะ พบว่าไม่มีการรับเอาอิทธิพลจากจีนหรือมอญโดยตรงเหมือนกับกลุ่มชนอื่น ลัวะมีการลำดับวันตามแบบจันทรคติ และรับอิทธิพลระบบการนับแบบสัปดาห์ที่มี 7 วัน จากคนไทยภาคเหนือรุ่นใหม่เข้าไปใช้ ลัวะเรียกวันว่า ซาเงะ หรือ ซางิ ซึ่งแปลว่า พระอาทิตย์ แต่เดิมลัวะมีการลำดับวันเป็นตัวเลขตามมาตราหน่วยนับของลัวะ แต่ต่อมาได้ใช้ระบบการลำดับวันที่เลียนแบบจากคนเมืองรุ่นใหม่ เพียงแต่อ่านออกเสียงเป็นสำเนียงลัวะ การลำดับวันตามแบบคนเมืองได้เข้าไปมีบทบาทอย่างมากในเรื่องการทำพิธี เช่น ในวันเสาร์ วันอาทิตย์ จะไม่นิยมทำพิธีกรรมหลาย ๆ อย่าง แต่ยังคงให้ความสำคัญเรื่องดวงจันทร์ซึ่งสังเกตได้จากบางพิธีกรรมจะต้องกระทำในวันข้างขึ้น และบางพิธีกรรมจะต้องทำเฉพาะวันข้างแรมเท่านั้น ลัวะเรียกเดือนว่า ไค้ย หรือ เค้ย หรือ เค้ะ แปลว่า พระจันทร์ หรือ เดือน เดิมลัวะอาจเคยมีการลำดับเดือนเป็นของตนเอง และกำหนดการลำดับเดือนที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการทำมาหากินและสภาพความเป็นอยู่ และในปัจจุบันเดือนยังคงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำหนดเวลาในการประกอบพิธีกรรมบางพิธีด้วย จากการลำดับเดือนตามอิทธิพลคนเมืองทำให้ลัวะรุ่นใหม่เกิดความสับสนในเดือนที่ 1 ถึง เดือนที่ 3 ซึ่งไม่มีตัวเลขกำกับการลำดับเดือน ในบางปีลัวะจะมีเดือนทั้งหมด 13 เดือน เดือนลำดับที่ 13 เรียกว่า เชงกง๊อ ซึ่งลัวะกล่าวว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่หายไปของลำดับการนับเดือนในรอบปีของลัวะ ลัวะเรียกปีว่า เนิม เป็นอิทธิพลอย่างหนึ่งของคนไทยภาคเหนือที่มีต่อลัว ซึ่งลัวะเพียงแต่รับเอาคำว่า ปี ไปอย่างเดียวเท่านั้นแต่ไม่ได้นำเอาชื่อและสัญลักษณ์ประจำปีไปด้วย การลำดับปีของลัวะจะเป็นการลำดับปีของพื้นที่ทำกิน มีการจดจำเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตแต่ละคนแต่ละครัวเรือน และของชุมชน ซึ่งมักจะต้องมีการนำเอาชื่อพื้นที่ทำไร่ในแต่ละครั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการจดจำด้วย เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนจะถูกต้องแม่นยำเป็นกรณีพิเศษเพราะทุกคนในชุมชนจะจดจำร่วมกัน ทั้งนี้ก็ต้องนำเอาพื้นที่ไร่เข้ามาร่วมในการจดจำด้วย ในปัจจุบัน คนลัวะรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาได้รับเอาอิทธิพลจากคนไทยเกี่ยวกับการลำดับวันเดือนปีไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้การลำดับปีแบบเดิมลดความสำคัญลงไป (หน้า 185 - 191) สำหรับวันหยุดตามจารีตประเพณีของลัวะ เป็นการรับเอาอิทธิพลจากคนไทยภาคเหนือหรือคนเมืองคือ จะหยุดอยู่กรรมในวันขึ้น 15 ค่ำ และแรม 14 หรือ 15 ค่ำ ลัวะบางหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้กับคนเมืองก็จะถือเอาวันขึ้น 8 ค่ำ และแรม 8 ค่ำ เป็นวันกรรมของชุมชนด้วย ในวันประกอบพิธีกรรมของครัวเรือนก็ถือเป็นวันหยุดงานหรือวันกรรมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ลัวะยังมี วันหยุดจร ซึ่งเป็นวันหยุดที่ไม่ได้กำหนดขึ้นในชุมชน ได้แก่ การมีบุคคลในหมู่บ้านเสียชีวิต ทุกหลังคาเรือนจะต้องไปช่วยกันทำพิธีศพถือเป็นการอยู่กรรมอย่างหนึ่ง สำหรับวันหยุดจรของครัวเรือน ได้แก่ การประกอบพิธีแต่งงาน ซึ่งจะเป็นวันหยุดของกลุ่มเครือญาติของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และวันหยุดจรที่เป็นของกลุ่มเครือญาติหรือทั้งชุมชนได้แก่ วันขึ้นบ้านใหม่ (หน้า 206, 207, 208) ลัวะได้รับอิทธิพลการลำดับวันรอบ 7 วัน จากคนไทยภาคเหนือจึงมีการกำหนดวันดีและวันไม่ดีในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในรอบ 7 วัน ได้แก่ วันดีและวันไม่ดีในการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนการแต่งงานจะห้ามกระทำพิธีในวันเสาร์ และห้ามแต่งในเดือน 3 สำหรับเดือน 6 และ เดือน 7 ถือเป็นเดือนที่ไม่นิยมแต่งงาน เดือนที่นิยมแต่งงานกันมาก ได้แก่ เดือนที่ 4 หรือ ไค้ยเปาน์ การขึ้นบ้านใหม่จะถือว่าวันพฤหัสของเดือนที่ 4 หรือ เดือนที่ 5 ของลัวะเป็นวันดี นอกจากนี้จะไม่มีการฝังศพของผู้เสียชีวิตในวันเสาร์ เช่นเดียวกับลัวะที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็จะไม่มีการฝังศพในวันเสาร์เช่นเดียวกัน ในการประกอบพิธีกรรมหลายพิธีกรรมของลัวะจะไม่นิยมทำในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ด้วยเช่นกัน (หน้า 209-211) ลัวะเป็นกลุ่มชนที่ประกอบการเกษตรเพื่อการยังชีพ ในแต่ละรอบปีจึงมีช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนแรงงาน ซึ่งจะมี 5 ช่วงเวลาด้วยกัน โดยจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวลัวะที่อยู่ในวัยแรงงานทุกคนจะต้องเข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนแรงงานเป็นประจำทุก ๆ วันที่มิใช่วันกรรมตามปกติ และวันที่มีพิธีกรรมของชุมชนหรือของครัวเรือนและกลุ่มญาติ (หน้า 211-213)

Map/Illustration

การลำดับวัน (หน้า 186) การลำดับเดือน (หน้า 188)

Text Analyst ปนัดดา ปิ่นแก้ว Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, วันเดือนปี, วิถีชีวิต, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง