สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,การเล่นคอน,ศิลปวัฒนธรรม,สุพรรณบุรี
Author สมทรง บุรุษพัฒน์
Title การเล่นคอนของลาวโซ่งที่บางกุ้ง
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ Total Pages 47 Year 2524
Source สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ความเป็นอยู่ในทุกๆ ด้านของลาวโซ่ง โดยได้พรรณนาเรื่องเครื่องแต่งกายได้ละเอียดเป็นพิเศษ แต่จุดสำคัญของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การบรรยายถึงการเล่นคอนของลาวโซ่ง และได้วิเคราะห์ถึงบทบาทและหน้าที่ของการละเล่นคอนที่มีผลสะท้อนต่อสังคมลาวโซ่ง

Focus

การเล่นคอนของลาวโซ่งที่บางกุ้ง

Theoretical Issues

ในชุมชนลาวโซ่งที่บางกุ้งนี้ มีความแตกต่างระหว่างรุ่นคน (generation gab) อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ในขณะที่วัยรุ่นได้รับวัฒนธรรมใหม่ ๆ อย่างเต็มที่ แต่ผู้สูงอายุก็ยังคงอนุรักษ์สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของลาวโซ่งไว้อย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน (หน้า10)

Ethnic Group in the Focus

ลาวโซ่ง

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาโซ่งนั้นมีทั้งภาษาพูดที่มีไวยากรณ์แบบเดียวกันกับภาษาไทย และมีตัวหนังสือที่มีลักษณะคล้ายของลาว ภาษาลาวโซ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท สาขาตะวันตกเฉียงใต้ เชื่อกันว่าภาษาโซ่งมีความสัมพันธ์กับภาษากลุ่มไทดำ ไทขาว และมีหางเสียงคล้าย ๆ กับไทยพวน แต่ภาษาโซ่งมีหางเสียงที่สั้นกว่า (หน้า 12) ภาษาลาวโซ่งมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียงคือ 1. วรรณยุกต์กลาง-ขึ้น (mid-rising) 2. วรรณยุกต์ต่ำ-ขึ้น (low-rising) 3. วรรณยุกต์ต่ำตก (low-falling) 4. มีเสียงวรรณยุกต์ 2 เสียงคือ 4.1 วรรณยุกต์สูง-ขึ้น (high-rising) เกิดในคำพยางค์ตายเสียงสั้น 4.2 วรรณยุกต์สูง-ขึ้น-ตก (high rising with slightly fall at the end) เกิดในคำพยางค์เป็น 5. วรรณยุกต์กลางระดับ (mid-level) 6. วรรณยุกต์กลาง-ตก (mid-falling) (หน้า 37)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ลาวโซ่งได้ถูกกวาดต้อนมาอาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรีหลายครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2322 (สมัยกรุงธนบุรี) ครั้งต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2335 ต่อมาใน พ.ศ. 2371 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2379 จากนั้นก็ได้เคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานในละแวกใกล้เคียง คือ ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี (หน้า 6 - 9)

Settlement Pattern

ผู้เขียนไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพที่ตั้งของชุมชน แต่ได้ให้ข้อมูลว่า ลาวโซ่งชอบอยู่บนดอย ใกล้ป่าเขาลำเนาไพร (หน้า 12)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

การแต่งงาน : ชาย-หญิงทำความรู้จักกันโดยการลงข่วง และการเล่นคอน ส่วนการแต่งงานขึ้นอยู่กับฝ่ายหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเมื่อทั้งสองฝ่ายได้หมั้นหมายกันแล้ว เจ้าบ่าวต้องไปอยู่บ้านเจ้าสาวเป็นเวลา 1-2 ปี เรียกว่า "อาสา" แล้วจึงแต่งงานกัน เมื่อแต่งงานแล้ว ทั้งคู่ต้องแยกออกจากเรือนพ่อตาแม่ยายทันที (หน้า 19 - 20) ชนชั้น : ในอดีตมีการแบ่งคนออกเป็น 2 ชนชั้น ได้แก่ 1. ชนชั้นปกครอง เรียกว่า "ผู้ท้าว" สามารถบูชาผีเมืองได้ 2. ชนชั้นถูกปกครอง เรียกว่า "ผู้น้อย" สามารถบูชาได้แต่ผีบรรพบุรุษของตนเอง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการแบ่งชนชั้นนี้จะไม่มีผลทางด้านการปกครองแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นการแบ่งชนชั้นได้อย่างชัดเจนจากพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งผู้ท้าวมักจะจัดพิธีใหญ่โตกว่าผู้น้อย (หน้า 11) บทบาททางเพศ : สังคมของลาวโซ่งในอดีตนั้นมีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชาย - หญิง ในเรื่องการแบ่งงานกันทำ งานของผู้ชายคือทำไร่ ทำนา จักสาน และล่าสัตว์ ซึ่งก็ไม่ได้ทำเป็นประจำทุกวัน แต่งานของผู้หญิงคือ ทำไร่ ทำนา และยังต้องทำงานบ้านต่าง ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่งานที่สบายมากนัก แต่ผู้หญิงก็ยังคงต้องทำงานเหล่านี้อยู่ทุกวัน (หน้า 10-11) ในอดีต การอบรมสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของผู้หญิงโดยตรง (หน้า 11)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ลาวโซ่งนับถือผีหลายประเภท อาทิเช่น 1. ผีบรรพบุรุษจะอาศัยอยู่มุมหนึ่งของห้องในบ้าน และเรียกบริเวณนั้นว่า "กะล่อหอง" ไม่มีกำหนดการเซ่นไหว้ที่ตายตัว 2. เทวดา ที่เรียกว่า "แถน" ลาวโซ่งเชื่อว่าผีเหล่านี้ให้ทั้งคุณและโทษ ถ้ามีใครไม่สบายก็ถือว่าผีให้โทษ และผีจะให้คุณก็ต่อเมื่อมีการเซ่นไหว้ ลาวโซ่งจึงประกอบพิธีเสน หรือพิธีเซ่นผีอยู่เป็นประจำ และครอบครัวลาวโซ่งแทบทุกครัวเรือนก็จะมีการเลี้ยงหมูไว้สำหรับเซ่นไหว้ผีโดยเฉพาะ (หน้า 11)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สถาปัตยกรรม : เรือนโซ่งโบราณเป็นเรือนเครื่องผูกขนาดใหญ่ ทำจากไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยแฝก บริเวณเฉลียงทำเป็นวงโค้งขนาดใหญ่และยาว แต่ในปัจจุบัน ที่อยู่อาศัยของโซ่งก็มีลักษณะเหมือนบ้านไทยในชนบททั่วไป ที่มักจะมีห้องกว้าง ไม่มีผนังกั้นมิดชิด (หน้า 11) เครื่องใช้ : "หลวม" คือกระเป๋าใส่ของใช้ทั่วไป ทำจากผ้าสีดำตัดเป็นรูปคล้ายรังผึ้ง ภายในมีลิ้นชักหลายชั้นทำเป็นฝาเปิด-ปิดได้ มีสายยาวทั้งสองข้างสำหรับผูกติดไว้กับเอว (หน้า 23) เสื้อผ้า : - ผู้ชาย สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอกตัวสั้นคอตั้ง ผ่าหน้า ติดกระดุมเงินยอดแหลมมีลวดลายเรียงกันถี่มาก ด้านข้างของเสื้อตอนปลายทั้ง 2 ด้าน ผ่าออกแล้วใช้เศษผ้า 2 - 3 ชิ้นตัดให้มีความยาวพอดีกับรอยผ่าแล้วนำไปเย็บติด เรียกว่า "เสื้อซอน" และสวมกางเกงขาสั้นปลายแคบยาวปิดเข่า เรียกว่า "ส้วงขาเต้น หรือ ส้วงก้อม" - ผู้หญิง ในชีวิตประจำวัน สวมเสื้อคล้ายเสื้อซอนแต่ไม่มีรอยผ่าที่ชายด้านของของเสื้อ เรียกว่า "เสื้อก้อม" และนุ่งผ้าถุงพื้นดำ ประกอบด้วยหัวซิ่นเป็นผ้าพื้นสีดำ, ตัวซิ่นลายดำ - ขาว เป็นลายทางลงมา, ตีนซิ่นมีลวดลายริ้วสีขาว 2 - 3 ริ้ว (ถ้าสามีตายต้องเลาะเอาตีนซิ่นนี้อกเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้สามี) ในบางโอกาสใช้ผ้าคาดอกที่ปักลวดลายที่ชายทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า "ผ้าเบี่ยว" แล้วใช้ผ้าเบี่ยวอีกผืนห่มเฉียงทับอีกทีหนึ่ง (หญิงที่แต่งงานแล้วจะใช้ผ้าเบี่ยวสีดำ หรือสีครามแก่ ส่วนหญิงสาวใช้ผ้าสีสันสดใส) นอกจากนี้แล้วในโอกาสพิเศษ เช่น งานพิธีกรรม ลาวโซ่งจะแต่งชุดใหญ่ ที่เรียกกันว่า "เสื้อฮี" ผู้ชาย - เป็นเสื้อแขนกระบอกยาวคลุมสะโพก ผ่าหน้าเยื้องไปทางด้านข้าง มีการตกแต่งบริเวณด้านข้างลำตัวด้วยกระจกและเศษผ้าสีต่างๆ (ใช้ในงานมงคล) ส่วนอีกด้านหนึ่งตกแต่งด้วยผ้าสีสันสดใสบริเวณชายเสื้อและขอบแขน (ใช้ในงานอวมงคล) เสื้อฮีนี้ใช้ใส่กับใช้ใส่กับกางเกงสีดำขาแคบ เรียกว่า "ส้วงฮี" ผู้หญิง - เป็นเสื้อแขนกระบอกคอแหลม ใช้เศษผ้าสีต่างๆ มาตกแต่งที่ไหล่ทั้งสองข้างเรียวลงมาจนถึงหน้าอกและที่ปลายแขนทั้งสองข้าง (ใช้ในงานมงคล) ส่วนอีกด้านมีการปักเศษผ้าตามรอยตะเข็บเสื้อ (ใช้ในงานอวมงคล) เสื้อฮีนี้ใช้ใส่กับผ้าถุง การแต่งกายแบบลาวโซ่งนี้ในปัจจุบันจะเห็นได้จากผู้สูงอายุ หรือในโอกาสพิเศษเท่านั้น (หน้า 13 - 15) ทรงผม : ในอดีตเมื่อย่างเข้าวัยรุ่น ผู้ชายจะตัดทรงดอกกระทุ่ม ส่วนผู้หญิงก็เริ่มไว้ผมยาว ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัย คือ 1. อายุ 13 - 14 ปี รวบผมธรรมดา เรียกว่า ทรง "เอื้อมไหล่หรือเอื้อมไร" 2. อายุ 14 - 15 ปี รวบผมแล้วพับปลายขึ้นสับด้วยหวีสับ เรียกว่า "สัปปีน" และอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ทรง "จุกผม" โดยขมวดผมเป็นก้อน 3. อายุ 16 - 17 ปี รวบผมไว้ข้างหลังแล้วผูกเป็นปม ปล่อยชายผมลงมาข้างหน้า เรียกว่า ทรง "ขอดกระตอก" 4. อายุ 17 - 18 ปี ผูกผมเป็นเงื่อนตายเอาชายไว้ทางด้านซ้าย ทำผมเป็นโบว์ทั้งสองข้าง เรียกว่า ทรง "ขอดซอย" 5. อายุ 19 - 20 ปี ผูกผมเป็นปมเหมือนเนคไทและมีชายผมยางออกมาทางด้านขวา เรียกว่า ทรง "ปั้นเกล้าซอย" 6. อายุ 20 ปีขึ้นไป เกล้ารวบม้วนไว้กลางศีรษะชายสอดเข้าไว้ข้างใน โดยใช้ไม้ขัดไว้ไม่ให้ผมหลุด เรียกว่า ทรง "ปั้นเกล้าหรือปั้นเกล้าถ้วน" (เป็นทรงผมที่บ่งบอกถึงวัยที่สามารถแต่งงานได้แล้ว) (หน้า 16 - 17)

Folklore

การเล่นคอนเป็นการละเล่นของหนุ่มสาวในเดือน 5 พวกสาว ๆ ลาวโซ่ง เมื่อว่างจากฤดูทำนาทำไร่ก็จะมานั่งรวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 15-20 คนขึ้นไป ณ บ้านใดบ้านหนึ่งสำหรับเป็น "ข่วง" เพื่อให้สาว ๆ ได้มานั่งทำการฝีมือและเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เลือกคู่ครอง เมื่อถึงวัน 1 ค่ำเดือน 5 ลาวโซ่งจะจัดงานรื่นเริงตลอดทั้งเดือน หนุ่มสาวลาวโซ่งจะหยุดทำงาน ฝ่ายชายจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 15-20 คน ตระเวนไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เรียกว่า ไป "เล่นคอน" ซึ่งหมายถึงการเล่นทอดลูกช่วงนั่นเอง ถ้าฝ่ายชายทอดลูกช่วงไปถูกฝ่ายหญิงคนใด ย่อมรู้กันว่าเป็นการจองหญิงคนนั้นไว้แล้ว (หน้า 20-21)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การศึกษาภาคบังคับของรัฐบาลไทยได้เข้าไปมีบทบาทต่อสังคมลาวโซ่งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกลักษณ์ทางด้านภาษา ที่ลาวโซ่งรุ่นใหม่ที่มีน้อยคนนักที่สามารถอ่านภาษาลาวโซ่งได้ (หน้า12) นอกจากนั้นแล้วการคมนาคมที่สะดวกสบายมากขึ้น ก็ช่วยให้วัฒนธรรมจากกรุงเทพฯ แพร่ขยายเข้าไปแทนที่วัฒนธรรมดั้งเดิมที่เปรียบเสมือนเป็นเอกลักษณ์ของลาวโซ่ง (หน้า 10)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ชมพรรณ จันทิมา Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, การเล่นคอน, ศิลปวัฒนธรรม, สุพรรณบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง