สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ชาวบน,พิธีกรรม,ความตาย,บ้านน้ำลาด,ชัยภูมิ
Author กัณฑิมา เรไร
Title พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวบนบ้านน้ำลาด ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญัฮกุร เนียะกุร, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 126 Year 2543
Source สาขาวิชาไทยคดีศึกษา(กลุ่มมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวบนบ้านน้ำลาดในอดีต เมื่อมีคนตายไม่ว่าผู้ตายจะตายลักษณะใดก็ตาม ชาวบนบ้านน้ำลาดจะนำฟากไม้ไผ่มาห่อหุ้มศพ ใช้เถาวัลย์รัดช่วงศีรษะ เอว และข้อเท้า นำไปฝังใกล้บริเวณบ้าน จากนั้นสมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันรื้อถอนบ้านไปปลูกใหม่ แต่ไม่ไกลจากที่เดิมนัก ชาวบนบ้านน้ำลาดจะปลงศพแบบฝังกับผู้ตาย และไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาเนื่องจากชาวบ้านนับถือผี ต่อมาเมื่อมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ไทยโคราช ได้เข้ามาอาศัยอยู่พื้นที่เดียวกัน ทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดรับเอาวัฒนธรรมเข้ามาปรับเปลี่ยน จึงทำให้ขั้นตอนพิธีการเกี่ยวกับผู้ตายมีความซับซ้อนมากขึ้น ผลจากการรับเอาวัฒนธรรมจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวและไทยโคราช ทำให้พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายปลงศพแบบเผากับผู้ตายในทุกกรณี พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวบนบ้านน้ำลาดสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมที่ต้องปรับเปลี่ยนไปเพื่อความคงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างเป็นผู้รับและผู้ให้ระหว่างผู้ตายกับสังคม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกันเสมอ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

Focus

ศึกษาพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวบนบ้านน้ำลาด ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไม่มี

Language and Linguistic Affiliations

ชาวบนบ้านน้ำลาดมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง(หน้า 43)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2543

History of the Group and Community

จังหวัดชัยภูมิมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดย “เมืองชัยภูมิและเมืองบุรีรัมย์” สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา ต่อมายุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดนครราชสีมา ครั้นเมื่อมีพระราชบัญญัติจัดปกครองท้องถิ่นเป็นมณฑล มีสมุหเทศาภิบาลมณฑลขึ้น จึงได้ยกฐานะเป็นจังหวัดทั้ง 2 อำเภอ จังหวัดชัยภูมิหรือเมืองชัยภูมิ นับเป็นครั้งแรกที่เมืองเวียงจันทน์ได้ขอสวามิภักดิ์คือเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเหตุให้ชาวเมืองเวียงจันทน์เดินทางติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามากขึ้น เนื่องด้วยเมืองชัยภูมิมีทำเลดี ดินฟ้าอากาศดี ชาวเมืองเวียงจันทน์และชาวล้านช้างจึงได้มายึดพื้นที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน เดิมเมืองชัยภูมิเป็นเมืองขนาดเล็กมีเพียง 6 หมู่บ้าน นายแลผู้เป็นหัวหน้า ได้พาไพร่พลขุดร่อนทองคำที่ภูเขาพระฝ่อ(พระยาพ่อ) ปัจจุบันบ่อโข้โล่นี้อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวแดง นายแลได้นำทองคำไปถวายเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ จึงได้รับบำเหน็จความดีความชอบให้เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ ต่อมานายแลได้เอาใจออกห่างจากเจ้าอนุวงศ์หันมาภักดีต่อเจ้าเมืองนครราชสีมา ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา นายแลพร้อมด้วยขุนพลด่านบ้านชวนและกองทัพเจ้าเมืองสี่มุม(จัตุรัส) ได้ยกพลไปสมทบกับกองทัพของคุณหญิงโมโอบตีขนาบกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แตกกระเจิง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี นายแล เจ้าเมืองชัยภูมิเป็นพระยาภักดีชุมพล ขุนพลนายด่านบ้านชวนเป็นพระฤทธิ์ฤาชัย ให้ไปครองเมืองบำเหน็จณรงค์(บ้านชวน)ขึ้นตรงต่อนครราชสีมา ต่อมาพระยาภักดีชุมพล(แล)เห็นว่าการตั้งเมืองอยู่โพนน้ำอ้อมนั้นไม่เหมาะเนื่องจากบริเวณดังกล่าวคับแคบและน้ำสกปรกจึงได้ย้ายมาตั้งเมืองแห่งใหม่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด เมื่อฝังหลักเมืองเรียบร้อยแล้ว กำลังก่อสร้างและขยายเมืองออกไปซึ่งพอดีกับช่วงที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ถึงแก่กรรมลง ณ เมืองใหม่ ชาวเมืองจึงพร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นที่ใต้ต้นหว้าใหญ่ ใกล้หนองปลาเฒ่า เรียกว่าศาลเจ้าพ่อพญาแลซึ่งยังปรากฏจนถึงปัจจุบัน แต่อีกกระแสหนึ่งผู้สูงอายุเล่าต่อกันมาว่าเจ้าอนุวงศ์ได้ส่งคนมาลอบฆ่าพระยาภักดีชุมพล(แล)จนถึงแก่กรรมแต่ยังไม่พบหลักฐาน ต่อมาพระยาภักดีชุมพล(เกตุ)เห็นว่าการตั้งเมืองระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอดนั้นไม่เหมาะ จึงย้ายเมืองมาที่โนนปอปิดในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อพระยาภักดีชุมพล (ที) ได้พิจารณาเห็นว่าการสร้างเมืองที่โนนปอปิดไม่เหมาะเพราะพื้นที่สูงๆต่ำๆ จึงย้ายเมืองมาที่บ้านหินตั้ง (หน้า 20 - 21) “อำเภอเทพสถิต” เดิมเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ชื่อว่า หมู่บ้าน “วะตะแบก” แต่ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงทำให้มีประชาชนจากจากจังหวัดอื่นๆ อาทิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดลพบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน จนเกิดการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว ต่อมาหมู่บ้านวะตะแบกจึงได้ยกฐานะเป็นตำบล แต่ด้วยความไม่สะดวกในการติดต่อราชการกับอำเภอบำเหน็จณรงค์ จึงได้อนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเทพสถิต และจากการที่ชุมชนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเทพสถิต ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (หน้า 27) “บ้านน้ำลาด” ตั้งชื่อตามภูมิศาสตร์ของที่ตั้งหมู่บ้าน เดิมเรียกว่า “โคกน้ำลาด” เนื่องจากลักษณะที่ตั้งมีพื้นที่เป็นเนินสูงทางทิศตะวันตกแล้วค่อยๆลาดต่ำสู่ด้านทิศตะวันออก ในบริเวณที่เรียกว่า “ลานหินลาด” ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำฝนที่ไหลจากด้านทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกลงสู่บริเวณหินลาด ด้วยลักษณะการไหลลาดของน้ำดังกล่าวจึงทำให้ชาวบ้านเรียกหมู่บ้านตนว่า “บ้านน้ำลาด” จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้านกล่าวว่าบ้านน้ำลาดก่อตั้งมาแล้วประมาณ 63 ปี โดยกลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหมู่บ้านกลุ่มแรก คือ ชาวบนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านวังขอน ซึ่งเป็นที่ราบหุบเขาห่างจากบ้านน้ำลาดประมาณ 10 กิโลเมตร (หน้า 32)

Settlement Pattern

ชาวบนนิยมตั้งถิ่นฐานบนภูเขาและในป่าลึก เนื่องจากไม่ชอบคนแปลกหน้า โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว และไทยโคราช การเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้านของชาวบนจะเลือกโดยยึดบริเวณที่มีลำน้ำตัดผ่าน และมีภูเขาล้อมรอบ(หน้า 31,33)

Demography

บ้านน้ำลาดมีครัวเรือนทั้งสิ้นรวม 152 ครัวเรือน รวม 712 คน เป็นชาย 371 คน หญิง 349 คน หากจำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า ชาวบน รวม 90 คน จำแนกเป็นชาย 42 คน หญิง 48คน ไทยลาว รวม 401 คน จำแนกเป็นชาย 181 คน หญิง 220 คน และไทยโคราช รวม 221 คน จำแนกเป็นชาย 92 คน หญิง 129 คน (หน้า 37)

Economy

ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะ การทำนา และการปลูกพืชไร่ชนิดต่างๆ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ปอแก้ว ฝ้าย การปลูกผลไม้ผลไม้ยืนต้นหลายชนิด เช่น มะม่วง มะขาม นุ่น มะพร้าว นอกจากนี้มีการปศุสัตว์ อาทิ ไก่ เป็ด โค และกระบือ ตลอดจนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ในด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัด คือ อุตสาหกรรมสิ่งถักทอและเครื่องแต่งกาย อุตสาหกรรมที่ผลิตจากไม้และเครื่องเรือนที่ทำจากไม้ (หน้า 24,41) ชาวบนบ้านน้ำลาดมีภาระหนี้สินกับทั้งนายทุนและรัฐบาล จากการนำมาใช้ลงทุนการเกษตร ซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย (หน้า 43)

Social Organization

ปัจจุบันบ้านน้ำลาดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คนและมีผู้นำหมู่บ้าน(หน้า 46)

Political Organization

ปี พ.ศ. 2541 จัดหวัดชัยภูมิแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 15 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ รวม 123 ตำบล 1,307 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 19 แห่ง (หน้า 23) อำเภอเทพสถิต แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวะตะแบก 14 หมู่บ้าน ตำบลห้วยยายจิ๋ว 9 หมู่บ้าน ตำบลบ้านไร่ 9 หมู่บ้าน ตำบลนายางกลัก 8 หมู่บ้าน ตำบลโป่งนก 7 หมู่บ้าน และมีเทศบาลตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเทพสถิต(หน้า 30)

Belief System

จังหวัดชัยภูมิมีวัดทั้งหมด 714 แห่ง พระภิกษุ 4,501 คน สามเณร 1,698 คน(หน้า25) ในอดีตชาวบนบ้านน้ำลาดนับถือผี และปัจจุบันได้นับถือศาสนาพุทธมากขึ้น(หน้า 31,120) ปัจจุบันชาวบนบ้านน้ำลาดนับถือศาสนาพุทธและมีคติความเชื่อเรื่องผี ภายในหมู่บ้านมีวัด 1 แห่ง ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 มีพระภิกษุจำวัด 9 รูป ภายในวัดมีการสร้างสิม ที่มีลักษณะเด่น คือ การสร้างสิมกลางบ่อน้ำ เรียกว่า “สิมน้ำ” ในด้านการนับถือผี พบว่าชาวบนบ้านน้ำลาดนับถือผีดี และเกรงกลัวต่อผีร้าย ผีดี ได้แก่ ท้อกนางเดิ้ม (ผีเรือน ผีเชื้อ สืบเชื้อสายมาจากแม่ ให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลาน) ท้อกยอง ท้อกเป้น (ผีปู่ย่าตาย เป็นผีประจำหมู่บ้านเป็นผีที่ให้คุณมากกว่าโทษ) ส่วนผีร้ายได้แก่ ท้อกหนอก(ผีตีนเดียว เป็นผีผู้ชายที่หนีจากการเป็นทหารของเจ้าอนุวงศ์ ปีนขึ้นไปบนต้นไม้สูง เวลาลง ลงไม่ได้จึงต้องกระโดดลงจากต้นไม้ ขาหักจึงต้องใช้กระบอกไม้ไผ่แทนขาที่หักไป) ท้อกยากูล(ผีป่า ผีดง ) และท้อกปอบ(ผีปอบ เกิดจากการเรียนวิชาอาคมที่ละเมิดข้อห้ามหรือกลุ่มไทยลาว ไทยโคราช เรียกว่า “คะลำ” จึงทำให้คนนั้นเป็นท้อกปอบ) เป็นต้น (หน้า 50-56) การอพยพย้ายถิ่นฐานในอดีต ผู้อาวุโสสุดจะเดินนำ เมื่อพบแหล่งที่มีทำเลดี ก็จะหยุดพักเพื่อดูว่าจะฝันดีหรือฝันร้าย เจ้าที่จะให้อยู่หรือไม่ โดยก่อนนอนจะนำข้าวสารกองกับดิน นำกะลาครอบแล้วเสี่ยงทายว่า “เจ้าที่เจ้าทางนางธรณี ถ้าให้อยู่เย็นเป็นสุข ก็ขอให้ฝันดี อย่าให้ข้าวสารแตกจากกัน ให้อยู่เป็นกลุ่ม” ถ้านอนไม่ฝันหรือฝันดีและเปิดกะลาดูตอนเช้า หากข้าวสารไม่แตกจากกันถือว่าเป็นทำเลดี (หน้า 38) ในอดีต ก่อนที่จะเลือกพืชเพาะปลูก จะมีการเสี่ยงทายของนางธรณี โดยตัดไม้ยาวประมาณ 1 วา ฟาดลงบนพื้นดิน 3 ครั้ง พร้อมกับอธิษฐานว่า ถ้ายอมให้ทำไร่บริเวณนี้ ขอให้ไม้ยาวเท่าเดิมหรือยาวกว่าเดิม ก็จะเลือกบริเวณนี้สำหรับทำไร่ แต่ถ้าไม้สั้นกว่าเดิม ก็จะหาแหล่งใหม่เพื่อเสี่ยงทายต่อไป บ้างก็มีการเสี่ยงทายด้วยความฝัน โดยการถากถางพื้นที่ที่จะเพาะปลูกเป็นบริเวณแคบๆ จากนั้นกลับบ้าน ถ้ากลางคืนไม่ฝันหรือฝันว่าจับปูปลาได้ก็จะเลือกพื้นที่ดังกล่าวทำการเพาะปลูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการถือฤกษ์ยามในการเพาะปลูก โดยมากยึดเอาวันที่เคยทำการเพาะปลูกได้ผลมาก่อน ซึ่งอาจเป็นวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ เป็นต้น (หน้า 39 - 40) ชาวบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย จะทำให้ได้เกิดใหม่ ได้หลุดพ้นและมีความสุขในโลกหน้า (หน้า 43) การเลี้ยงผีปู่ตาของชาวบนได้รับวัฒนธรรมจากกลุ่มไทยลาว ประกอบพิธีราวเดือน 5 และเดือน 6 มีการนำไม้ทำเป็นรูป ช้าง ม้า หอก ดาบ ปืน ไว้ที่ศาล ผู้ใหญ่บ้านจะนัดลูกบ้านทุกคนว่าจะเลี้ยงผี โดยมีเครื่องดนตรีที่ใช้ได้แก่ โทน ปี่แก้ว และแคน ส่วนเครื่องเซ่น ได้แก่ ข้าวดำ(ย้อมดินหม้อ) ข้าวแดง(ย้อมน้ำหมาก) ไข่ต้ม ดอกไม้ ธูปเทียน ยาสูบ ไก่ต้ม ผ้าแพรและผ้าไหม หมอโทนจะเริ่มพิธีโดยตีโทน ชาวบ้านจะเชิญคนทรงว่า “ถ้าผีเข้าแล้วก็ให้แสดงฝีไม้ลายมือ” การฟ้อนร้องรำทำเพลงและบอกให้กินของที่นำมาเซ่น จากนั้นผีก็จะออกไป ผีตัวใหม่ก็จะเข้ามาเรื่อยๆตลอดวัน เช่น ผีดง ผีลาว ผีไทยและผีเจ้าพ่อพระยาแล เป็นต้น ระหว่างไหว้ผี จะมีการเสี่ยงทายคางไก่ ถ้าคางไก่ตรง จะดี ทำมาหากินดี ไม่มีโรคภัย ถ้าคางไก่เอียงหรือคดถือว่าไม่ดี (หน้า 48 - 49) วิธีป้องกันโรคผีมารบกวนข้องชาวบนบ้าน้ำลาด จะใช้หัวว่านไพลมาร้อยติดตัวเพราะเชื่อว่าผีทุกชนิดกลัวว่านไพล ส่วนวิธีป้องกันโรคตัว มีการใช้คาถา คอนทอน คองถาด เป็นคาถาอาคมเสกรากไม้ เสกบอระเพ็ดกินเป็นประจำ มีการเสกขี้ผึ้ง การอาบน้ำว่าน ส่วนเครื่องรางของขลัง อาทิ เขี้ยวเสือรูสำหรับป้องกันเสือ เขี้ยวหมูตัน โดยเชื่อว่าจะทำให้คงกระพัน(หน้า 57) ชาวบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าการตายเป็นธรรมชาติของมนุษย์เป็นการสิ้นสุดการหายใจแต่ไม่ใช่สิ้นสุดของวิญญาณ โดยเชื่อว่าวิญญาณของคนตายยังคงอยู่ตามผลแห่งกรรมที่ตนได้กระทำไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ วิญญาณไม่สามารถช่วย เหลือตนเองได้ ญาติพี่น้องจึงมีหน้าที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพื่อส่งผลให้วิญญาณผู้ตายได้ไปเกิดใหม่ (หน้า 61) พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายของชาวบนบ้านน้ำลาดพบว่า พิธีกรรมก่อนความตายมี 2 พิธี คือ “พิธีค้ำโพธิ์” เป็นพิธีที่เชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บป่วยและมีกำลังใจต่อสู้โรคร้าย “วิธีบอกหนทาง” เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ที่ใกล้สิ้นใจได้ขึ้นสวรรค์ไปเข้าเฝ้าพระจุฬามณีและจากไปด้วยอาการสงบ ส่วนพิธีหลังความตายมี 2 พิธีหลักคือพิธีปลงศพแบบฝังและพิธีปลงศพแบบเผา ในอดีตไม่ว่าจะตายในกรณีใด จะใช้ฟากหุ้มห่อศพโดยใช้เถาวัลย์รัดช่วงศีรษะและช่วงเท้าก่อนที่จะนำไปฝัง การฝังจะหันศีรษะของผู้ตายไปทางทิศตะวันตก การเผาหรือฝังศพของชาวบนบ้านน้ำลาดมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันตามวัย เพศ และรูปแบบของการตาย เช่น ในกรณีที่ผู้ตายเป็นหนุ่มสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานตายโหง ห้ามนำศพเข้าบ้าน ก่อนฝังศพมีการนำไม้เนื้ออ่อนที่แกะเป็นรูปอวัยวะเพศของเพศตรงข้ามผู้ตายใส่ลงไปในหลุมฝังศพ เมื่อถมดินเรียบร้อยแล้ว จะเชิญหมอผี(สะกดท็อก)มาสะกดวิญญาณเพื่อไม่ให้ผู้ตายไปหลอกคนที่มีชีวิตอยู่ ช่วงเวลาค่ำมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้าน ส่วนศพที่ฝังนั้น เมื่อฝังครบสามปี จะขุดศพขึ้นมาเผา และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย (หน้า 62 -63) ปัจจุบันไม่ว่าชาวบนบ้านน้ำลาดจะดายด้วยวิธีใด จะใช้วิธีปลงศพแบบเผามากกว่าแบบฝัง เนื่องจากสะดวกต่อญาติพี่น้องที่มาช่วยงานศพเพราะต่างคนต่างต้องกลับไปทำงานของตน นอกจากนี้ชาวบนบ้านน้ำลาดยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีศพอีกจำนวนมาก อาทิ ในอดีตการยกศพจากบ้านไปวัด ต้องพังฝาบ้านให้ศพออกและห้ามไม่ให้หามลอดขื่อบ้าน เมื่อนำศพพ้นบ้าน ญาติพี่น้องผู้ตายจะช่วยกันเทน้ำในหม้อ ไห บ้างก็เอาไม้ตีหม้อให้แตกและหักไม้ทิ้ง บ้างก็มีการจุดประทัด เพราะเชื่อว่าเป็นการส่งวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์และเชื่อว่าเป็นการหลอกให้ผู้ตายสับสนหาทางกลับบ้านไม่ได้ การล้างหน้าศพ จะล้างด้วยน้ำมะพร้าวเพราะเชื่อว่าจะทำให้ดวงวิญญาณบริสุทธิ์ หากไปเกิดใหม่จะได้มีหน้าตาสะอาดสวยงาม การเผาศพ วันข้างขึ้นจะเผาศพวันที่เป็นเลขคี่ ส่วนวันข้างแรมจะเผาศพวันที่เป็นเลขคู่ ถ้าไม่เป็นตามนี้ถือว่าอัปมงคลเรียกว่า ผีเผาคน เมื่อกลับจากบริเวณที่เผาศพ ให้นำไม้หรือเท้าทำเป็นเส้นกากบาทที่พื้นดินหรือใช้หนามวางขวางทางเดิน เพราะเชื่อว่าผีจะจำทางกลับบ้านไม่ได้ เป็นต้น(หน้า 70 - 73)

Education and Socialization

งหวัดชัยภูมิมีโรงเรียนทั้งสิ้น 812 แห่ง มีห้องเรียนรวม 8,214 ห้อง จำนวนนักเรียน 193,021 คน ครู 9,718 คน สำหรับสถานศึกษาระดับอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษามีจำนวน 5 แห่ง มีนักศึกษาทั้งสิ้น 4,711 คน มีอาจารย์รวม 294 คน(หน้า 25) การศึกษาในอดีต ครอบครัว เครือญาติและเพื่อนบ้านเป็นผู้ให้การศึกษาโดยตรงกับสมาชิกใหม่ในสังคม ปัจจุบันบ้านน้ำลาด มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านน้ำลาด ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีพ.ศ. 2540 จึงเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีครูรวม 11 คน ผู้บริหาร 1 คน ครูสายผู้สอน 9 คน และครูอัตราจ้าง 1 คน นักการภารโรง 1 คน จากการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 224 คน ปัจจุบันชาวบนบ้านน้ำลาดมีผู้รู้หนังสือคิดเป็นร้อยละ 95 (หน้า 44)

Health and Medicine

ปี พ.ศ. 2541 จังหวัดชัยภูมิมีโรงพยาบาลรวม 16 แห่ง จำนวน 715 เตียง จำนวนแพทย์ 60 คน ทันตแพทย์ 14 คน พยาบาล 631 คน และผู้ช่วยพยาบาล 26 คน มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 791,506 คน จำแนกเป็นผู้ป่วยใน 71,914 คน ผู้ป่วยนอก 719,592 คน (หน้า 25) ในอดีต การคลอดบุตรของชาวบนอาศัยหมอตำแย เวลาทำคลอด หมอจะใช้น้ำมันงาทามือคลำท้อง เมื่อทารกคลอดจะใช้ผิวไม้ลนไฟตัดสายรก ถ้ารกไม่ออกจะใช้หมอนหนุนหลังแม่แล้วตีหมอน 3 ครั้ง เพื่อให้รกออก ถ้าไม่ออกก็ถือว่าผีทำ ต้องบนบานผีปู่ย่าตายายและหาหมอเวทมนต์มาเสกเป่าให้รกออก ส่วนคนอีกกลุ่มหนึ่งจะไปคลอดที่สถานีอนามัยประจำตำบล นอกจากนี้เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ชาวบนบ้านน้ำลาดเชื่อว่าโรคที่เกิดจากผี ต้องอาศัยหมอขมุก(หมอดู)เป็นผู้เสี่ยงทายในเวลากลางคืน โดยการดูลักษณะของหยดเทียนในขันน้ำ จากนั้นในตอนเช้า ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยจะนำผลการเสี่ยงทายไปปฏิบัติต่อไป (หน้า 47,54)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การตั้งบ้านเรือนของชาวบน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม ลักษณะบ้านเป็นใต้ถุนสูง เสาบ้านเป็นเสามีง่ามสำหรับรองรับคานหรือรอด พื้นและฝาบ้านทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้บงผ่าซีก หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ใต้ถุนบ้านก่อเป็นกองไฟเพื่อป้องกันความหนาว และป้องกันสัตว์ร้าย ภายในบ้านไม่มีการแบ่งห้อง (หน้า 38) ในอดีตชาวบนนุ่งกางเกงแบบไทยหรือนุ่งโจงกระเบนแบบเขมร ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงนุ่งผาผืนสีสด เช่นแดง แดงเข้ม หรือน้ำเงินเข้ม ลักษณะผ้าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พันอ้อมร่าง เหน็บชายไว้ด้านข้างทำเป็นหัวพกโตๆ สวมเสื้อที่เรียกว่า “เสื้อเก๊าะ” สีน้ำเงินเข้มหรือสีดำ แขนสั้นกุด ปักกุ๊นรอบแขนและรอบคอด้วยด้ายสีแดงหรือสีอื่นๆ คอเสื้อด้านหลังมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยปล่อยสายด้ายเส้นยาว ทิ้งไว้ประมาณ 3 – 4 เส้น ส่วนใหญ่สวมใส่เฉพาะในงานพิธี ปัจจุบันผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไปยังแต่งกายด้วยผ้าผืน และเสื้อเก๊าะ ส่วนวัยรุ่นและเด็ก ซื้อเสื้อผ้าจากตลาดและแต่งกายเหมือนคนไทยและคนลาวในบริเวณใกล้เคียง ส่วนการแต่งกายไว้ทุกข์ในปัจจุบัน เจ้าภาพ ญาติพี่น้องและผู้ร่วมงานนิยมใส่เสื้อผ้าสีไม่ฉูดฉาด เช่น สีดำ ขาวและน้ำเงิน ในด้านเครื่องประดับ ชาวบน นิยมประดับเครื่องเงิน เช่น สายสร้อย กำไล และต่างหู ในอดีต หญิงชายชาวบนนิยมเจาะใบหูเป็นรูกว้าง โดยใช้ใบลานกลมใส่รูหูแล้วนำกระจกอุดรูใบลาน เพื่อให้มีแสงแวววาว ในอดีตชาวบนนิยมนำเปลือกไม้กระโดนมาทำรองเท้า แต่ปัจจุบันไม่มีการทำรองเท้าดังกล่าว รองเท้าที่ใส่ปัจจุบันเป็นรองเท้าที่ซื้อจากตลาด (หน้า 48,69) การแต่งตัวศพของชาวบนบ้านน้ำลาดในอดีตจะสวมเสื้อผ้าตามที่มีอยู่ในขณะนั้น คือ ผู้หญิงสวมเสื้อเก๊าะ และผ้าที่มีชายพกหนีบไว้ด้านข้าง การประดับตกแต่ง ได้แก่กระจอน ต่างหูหรือกำไลที่ทำจากเงิน ส่วนผู้ชายนุ่งโจงกะเบน ไม่สวมเสื้อ แต่ในปัจจุบันมีการนำเสื้อผ้าใหม่ที่ทำตำหนิทุกตัว สวมใส่ให้ผู้ตายโดยต้องสวมกลับด้านตรงข้ามกับคนเป็นที่ใส่กันตามปกติ(หน้า 84)

Folklore

ชาวบนเล่นสงกรานต์ตั้งแต่แรม 15 ค่ำเดือน 4 ไปจนตลอดเดือน 5 มีการเล่นสะบ้า ลูกข่าง เล่นกระแจ๊ะหรือป๊ะเรเร เล่นเข้าทรงผี เช่น ผีนางด้ง ผีนางสาก ผีนางช้าง และผีนางไทร มีการแห่ดอกไม้และมีการแห่หอดอกผึ้งซึ่งใช้กาบกล้วยทำโครงเป็นรูปเรือน 4 จั่ว โดยใช้ขี้ผึ้งบริสุทธิ์หล่อเป็นรูปดอกไม้ประดับตามโครง นอกจากนี้ยังมีการเล่นเป็นเรื่องโดยนำนิทานพื้นบ้านของไทยไปเล่น โดยผู้ชายจะเป็นผู้เล่า เช่นเรื่อง ศุภนิมิต เกศินี ลิ้นทอง นางประทุม และพระรถเมรี (หน้า 47 - 48)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ด้วยความแตกต่างทางชาติพันธุ์ชาวบน ไทยลาว และไทยโคราช ซึ่งมีความต่างกันด้าน ภาษา การแต่งกาย คติความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม จึงทำให้บ้านน้ำลาดเกิดการแบ่งแยกคุ้มบ้านออกเป็น 3 คุ้มคือ คุ้มน้ำลาด คุ้มซับหงส์ และคุ้มซับเจริญ (หน้า 32) ในอดีต การฝังหรือเผาศพของชาวบนบ้านน้ำลาดจะแยกจากกลุ่มไทยลาว เนื่องจากเชื่อว่านับถือผีไม่เหมือนกัน ปัจจุบันเนื่องจากเริ่มมีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมได้ผสมผสานเข้ากันจนแยกไม่ออก วัดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนดั้งเดิมกับกลุ่มชนที่เข้ามาอยู่ใหม่ (หน้า 51)

Social Cultural and Identity Change

กลุ่มชาติพันธุ์ชาวบน เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของอำเภอเทพสถิต แต่ด้วยการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว และไทยโคราชเข้าสู่พื้นที่จำนวนมาก ทำให้ชาวบนต้องหนีขึ้นไปอาศัยบนภูเขาและในป่าลึก เนื่องจากชาวบนไม่ชอบคนแปลกหน้า เพราะมักจะถูกกลุ่มไทยลาว และไทยโคราชเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ (หน้า 31) เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวและไทยโคราชนำเลื่อยเข้ามาสร้างศาลาวัด และบ้านเรือนของตน จึงทำให้ชาวบนบ้านน้ำลาดรู้จักใช้เลื่อยแทนมีดและพร้าเพื่อเลื่อยไม้กระดานสำหรับสร้างบ้านแบบใหม่ตามกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวและไทยโคราชมากขึ้น (หน้า 38) ในอดีตการผลิตและการทำไร่ของชาวบน จะใช้แรงงานคนเป็นหลัก ปัจจุบันเริ่มรู้จักทำนา หว่านมากขึ้น รู้จักเลี้ยงสัตว์จำพวกวัวและควายสำหรับใช้แรงงาน นอกจากนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า เริ่มมีการใช้รถไถสำหรับเตรียมดินเพาะปลูกและมีการว่าจ้างแรงงานสำหรับเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ความเชื่อเรื่องการเลือกทำเลสำหรับทำการเกษตรเริ่มหมดไป เนื่องจากที่ดินทำกินถูกคนอื่นมาจับจองมากขึ้น ในอดีตชาวบนทำไร่ในพื้นที่ 3 – 5 ไร่เท่านั้น ปัจจุบันทำไร่มากขึ้นเป็นครัวเรือนละ 20 – 30 ไร่ เนื่องจากเป็นการทำไร่เพื่อการค้า มิได้ทำเพื่อบริโภคในครัวเรื่องอย่างในอดีต(หน้า 38 - 40) ในอดีตชาวบนไม่มีการซื้อขายกันในหมู่บ้าน มีแต่การแลกเปลี่ยนกันกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น ไทยลาว และชาวไทยที่อยู่พื้นที่ราบ เป็นต้น ปัจจุบันภายในหมู่บ้านมีร้านขายของชำด้วยระบบเงินตรา จึงทำให้ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างกันอย่างในอดีตหมดไป(หน้า41-42)ชาวบนบ้านน้ำลาดในอดีตเมื่อมีผู้ป่วยอาการหนักและคาดว่าไม่นานจะเสียชีวิต จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมใดๆทั้งสิ้น กระทั่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว และไทยโคราชมาอาศัยร่วมชุมชน ปัจจุบันไทยบนจึงได้ประกอบพิธีกรรมเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองดังกล่าว อาทิ ต่ออายุให้กับผู้ป่วยหนักด้วยวิธีค้ำโพธิ์โดยในพิธีมีการนำไม้ง่ามจากต้นยอมาค้ำกิ่งต้นโพธิ์และมีการนิมนต์พระสงฆ์เพื่อประกอบพิธี(หน้า59-60) การทำโลงศพในอดีตใช้ฟากห่อหุ้มผู้ตายและไม่มีพิธีเบิกโลง ส่วนปัจจุบันหากผู้ตายรายใดรู้ล่วงหน้าว่าจะตาย จะมีการทำโลงศพเองโดยใช้ไม้เนื้ออ่อน และมีการให้สัปเหร่อทำการเบิกโลงเพื่อให้ผู้ตายไม่มีความกังวลกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ (หน้า 86-87) ในอดีตไม่มีการสวดศพและเซ่นไหว้ศพ แต่ปัจจุบันมีการสวดศพและมีการเซ่นไหว้ศพเพราะเชื่อว่าคนตายต้องการอาหารเช่นเดียวกันกับผู้มีชีวิต(หน้า 88) การปลงศพของชาวบนบ้านน้ำลาดในอดีตปลงศพแบบฝังเท่านั้น จนกระทั่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวและไทยโคราชเข้ามาอาศัยร่วมกัน จึงเกิดการผสม ผสานทางวัฒนธรรม พิธีการปลงศพจึงเปลี่ยนจากการปลงศพแบบฝังเป็นการปลงศพแบบเผาเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวและไทยโคราช (หน้า 120)

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- แผนที่แสดงอาณาเขตอำเภอต่างๆ ของจังหวัดชัยภูมิ(22) - แผนที่แสดงอาณาเขตอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ(26) - ทางเข้าหมู่บ้านน้ำลาด(33) - เส้นทางเคลื่อนย้ายของชาวบนบ้านน้ำลาด(34) - ลักษณะบ้านเรือนในปัจจุบัน(37) - โรงเรียนบ้านน้ำลาด(45) - ศาลปู่ตา(49) - สิมน้ำที่กำลังก่อสร้าง(50) - ป่าช้าภายในบริเวณวัด(51) - ป่าช้าท้ายหมู่บ้าน(53) - ต้นโพธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีต่ออายุ(59) - แต่งกายของผู้หญิงชาวบนที่ใช้ประกอบพิธีกรรม(70) - เจดีย์เก็บอัฐิ(76)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 23 ก.พ. 2558
TAG ชาวบน, พิธีกรรม, ความตาย, บ้านน้ำลาด, ชัยภูมิ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง