สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนยูนนาน จีนมุสลิม จีนฮ่อ,การอพยพ,การควบคุม,รัฐ,การเมือง,เชียงราย
Author วิทยา วัชระเกียรติศักดิ์
Title ปัญหาจีนฮ่ออพยพภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 183 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

กล่าวถึงการศึกษาถึงปัญหาของจีนฮ่ออพยพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากปัญหาสงครามกลางเมืองในประเทศจีนระหว่างกลุ่มทหารจีนคณะชาติ(ก๊กมินตั๋ง) และทหารจีนพรรคคอมมิวนิสต์ เริ่มจาก พ.ศ.2492 จากการสู้รบเมื่อทหารจีนคณะชาติพ่ายแพ้จึงถอยไปอยู่ไต้หวัน ส่วนกลุ่มที่อยู่ในมณฑลยูนนานได้เดินทางเข้าเขตประเทศพม่าแต่ได้ถูกกดดันให้เดินทางไปไต้หวัน ส่วนกลุ่มที่ไม่ยอมไปไต้หวันได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มจีนฮ่อให้สร้างปัญหาหลายอย่างขณะอยู่ ในเขตประเทศไทย กระทั่งทางการไทยต้องออกระเบียบเพื่อควบคุมโดยให้กลุ่มจีนฮ่อต้องปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย สำหรับกลุ่มจีนฮ่อในไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ จีนฮ่ออดีตทหารจีนคณะชาติส่วนใหญ่ได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าวและได้รับสัญชาติไทยในระดับชั้นลูกหลาน เนื่องจากเคยช่วยรัฐบาลไทยสู้กับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนกลุ่มจีนฮ่ออพยพคือญาติพี่น้องที่ติดตามมาพร้อมกับจีนคณะชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรศึกษา กลุ่มนี้ยังต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มจีนฮ่ออพยพมักฝ่าฝืนระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆ เพราะจีนฮ่ออพยพส่วนมากยังอยากให้แก้ไขระเบียบการควบคุม เนื่องจากอยากมีอิสระรวมทั้งอยากให้การขออนุญาตออกนอกพื้นที่ง่ายกว่าเดิม หรือไม่จำเป็นต้องขออนุญาตเพราะอยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว นอกจากนี้จีนฮ่ออพยพยังอยาก มีสัญชาติไทยในเร็ววันเพราะไม่อยากทำตามระเบียบการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย ส่วนจีนฮ่ออิสระซึ่งเป็นจีนฮ่ออีกกลุ่มที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยผิดกฏหมายนั้น ทางการไทยยังไม่มีนโยบายให้สถานะเป็นคนต่างด้าวหรือให้สัญชาติไทย

Focus

ศึกษาถึงสภาพปัญหาของจีนฮ่ออพยพภายใต้ระเบียบการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย และจุดมุ่งหมายของจีนฮ่ออพยพ ในการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมของกระทรงมหาดไทย และเพื่อให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระเบียบการควบคุมจีนฮ่ออพยพ และแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะใช่ในการควบคุมดูแลจีนฮ่อออพยพ (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

จีนฮ่อ ในประเทศไทยแบ่งจีนฮ่อออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) อดีตทหารจีนคณะชาติ หรือ “ทจช.” (ทหารก๊กมินตั๋ง กองพล 93) หรือ จีนฮ่อติดอาวุธ ส่วนมากได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าวหรือสัญชาติไทยในระดับชั้นลูก หลาน เกือบครบทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลมองว่า อดีตทหารจีนคณะชาติได้ช่วยเหลือทหารไทยในการสู้รบกับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ (หน้า 1,3,5) 2) จีนฮ่ออพยพ คือคนจีนที่โยกย้ายที่อยู่มาพร้อมกับทหารจีนคณะชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2493-2504 (หน้า 1,5,152) ส่วนมากยังไม่ได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าว และสัญชาติไทยในระดับชั้นลูกหลาน เพราะว่าการการขอสัญชาติมีข้อปฏิบัติที่ซับซ้อนและจีนฮ่ออพยพ ต้องปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมของกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยทะเบียนและการควบคุมอดีตทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่ออพยพ พ.ศ.2528 ซึ่งที่ผ่านมาจีนฮ่ออพยพมักฝ่าฝืนกฏระเบียบการควบคุมเพราะเห็นว่าเป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิต (หน้า 3) 3) จีนฮ่ออิสระ คือ คนจีนที่โยกย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย หลังการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2521 โดยเข้ามาอย่างผิดกฎหมายนอกจากนี้ยังไม่สามารถกลับประเทศเดิมเนื่องจากปัญหาทางการเมืองรวมทั้งผู้สืบสันดานที่เกิดในประเทศไทย ที่ถูกถอนสัญชาติไทยหรือไม่ได้สัญชาติไทย (หน้า 1,5) ซึ่งกลุ่มนี้ได้แสดงตัวว่าเป็นญาติพี่น้องของทหารจีนคณะชาติ จีนฮ่ออพยพรวมทั้งคนที่หลบหนีเข้าเมืองในช่วง พ.ศ.2504 -2521 (หน้า 152) สำหรับคำว่า “ฮ่อ” นั้น คือ คำซึ่งไทยลื้อ ไทโยน คนหลวงพระบาง และคนเชียงตุง เรียกคนจีนยูนนาน สำหรับที่มาของคำว่า “ฮ่อ”มาจากที่คนจีนยูนนานเรียกแม่น้ำว่า “ห้อ” นอกจากนี้ในช่วงสมัยราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถัง พ.ศ.1124-1450 จะเรียกกลุ่มคนที่ตั้งรกรากอยู่ฝั่งแม่น้ำแสซึ่งทุกวันนี้คือทะลสาบเอ๋อห่ายว่า ห้อ ส่วนคนไทยจะเรียกคนจีนยูนนานว่า “ฮ่อ” หรือ “จีนฮ่อ” ส่วนในกลุ่มไทลื้อสิบสองปันนาและไทเขินเชียงตุง คำว่าฮ่อหมายถึงจีนทั่วไปโดยจะเรียกว่าคนจีนฮั่นว่า “ฮ่อ” และเรียกประเทศจีนว่าเมืองฮ่อ (หน้า 13-14)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาจีนฮ่อ ภาษาฮ่อหรือภาษายูนนาน คือภาษาถิ่นซึ่งเรียกว่า “ซีหนานกวานฮว่า” อันแปลว่า “ภาษาแมนดารินภาคหรดี” ซึ่งภาษานี้จะใช้กันอย่างแพร่หลาย ในที่ต่างๆ เช่น มณฑลยูนนาน เสฉวน กุยฉิว ตอนเหนือมณฑลกวางสี (หน้า 145)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุอย่างชัดเจน

History of the Group and Community

ประวัติอำเภอแม่สาย แต่เดิมมีชื่อว่า “เวียงศรีตวง” เมืองนี้เป็นเมืองของ ”ลัวะ” ซึ่งอยู่ในการปกครองของอาณาจักรโยนกนครราชธานีไชยบุรี ศรีช้างแสน (ทุกวันนี้คืออำเภอเชียงแสน) ซึ่งจากตำนานพระธาตุดอยตุง กับตำนานสิงหนวัติ ระบุว่า เมื่อ “พระองค์เพียง” กษัตริย์เมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน สวรรคต “พระองค์พัง” ราชโอรสได้ขึ้นครองเมืองโยนกนครฯ ต่อมาพระยาขอมดำ เจ้าเมืองอุโมงเสลานคร ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโยนกนครฯ ได้ก่อการกบฏขับไล่พระองค์พังออกจากเมือง แล้วขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองโยนกนครฯ แล้วให้พระองค์พังและมเหสีไปอยู่ที่เมืองเวียงศรีตวงและให้ส่งส่วยแก่เมืองโยนกนครฯทุกปี ภายหลังมเหสีของพระองค์พังได้กำเนิดพระโอรสมีชื่อว่า “พระพรหมกุมาร” ซึ่งเป็นผู้มีบุญาธิการเพราะสามารถนำช้างเผือกขึ้นจากแม่น้ำได้ 1 เชือก ได้นำทองคำมาทำเป็นพานทองนำมาทำพิธีแห่นำหน้าช้างเมื่อช้างยอมขึ้นจากน้ำช้างตัวนั้นจึงได้รับการตั้งชื่อว่า “พานคำ” และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า”เวียงพานคำ” กระทั่งพระพรหมกุมาร อายุ 16 พรรษาจึงเลิกส่งส่วยให้เมืองโยนกนครฯ พระยาขอมดำจึงยกทัพมาปราบแต่พ่ายแพ้แก่พระพรหมกุมาร หลังการต่อสู้พระพรหมกุมารได้ขับไล่ได้ขับไล่พระยาขอมดำออกจากเมืองโยนกนครฯ (หน้า 148) ส่วนเมืองเวียงพานคำก็มีเจ้าเมืองปกครองเรื่อยมากระทั่งล่มสลายกลายเป็นเมืองร้าง ภายหลังได้มีการตั้งชุมชนอีกมีชื่อว่า “เมืองเวียงพาน” จน พ.ศ.2481 ได้รับการยกขึ้นเป็นกิ่งอำเภอแม่สายโดยขึ้นกับอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กระทั่ง พ.ศ.2493 จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอแม่สาย (หน้า 148-149)

Settlement Pattern

อำเภอแม่สาย ภูมิประเทศด้านทิศตะวันตกมีสภาพเป็นภูเขาและป่าไม้ ส่วนตอนกลางและทิศตะวันออกเป็นที่ราบ เป็นที่ตั้งชุมชนและเพาะปลูก อำเภอแม่สายอยู่ไกลจากกรุงเทพฯ 891 กิโลเมตร และอยู่ไกลจากตัวเมืองเชียงราย 63 กิโลเมตร มีพื้นที่ 285 ตารางกิโลเมตร (178,125 ไร่) ทิศเหนือและทิศตะวันตกติดเมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศพม่า มีแม่น้ำสาย กับแม่น้ำรวกกั้น ส่วนทิศตะวันตกมีเทือกเขาแดนราวเป็นเขตแดน ทิศใต้ติดกับอำเภอแม่จัน ส่วนทิศตะวันออกติดกับอำเภอเชียงแสน (หน้า 149,156) หมู่บ้านกรณีศึกษา อยู่ในอำเภอแม่สายประกอบด้วย บ้านแม่สาย บ้านเวียงพาน ตำบลเวียงพานคำ,บ้านเกาะทราย บ้านป่ายาง บ้านไม้ลุงขน ตำบลแม่สาย, บ้านถ้ำสันติสุข ตำบลโป่งงาม, บ้านห้วยไคร้ ตำบลห้วยไคร้ (หน้า 40,41)

Demography

จีนฮ่อกลุ่มตัวอย่าง มี 121 คน และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับจีนฮ่ออีก 6 คน (บทคัดย่อ หน้า ข,40 ) เป็นผู้ชาย 69 คน และผู้หญิง 52 คน (หน้า 41,43) ส่วนจีนฮ่ออพยพในอำเภอแม่สายมีทั้งหมด 1,665 คน (หน้า 34,36,40) โดยอพยพเข้ามาระหว่าง พ.ศ. 2493-2504 (หน้า 152) ประชากรในอำเภอแม่สาย มีทั้งหมด 69,201 คน (สำรวจ พ.ศ. 2538) (หน้า 150) เป็นผู้ชาย 34,376 คน และผู้หญิง 34,825 คน (หน้า 151)

Economy

อาชีพ กลุ่มตัวอย่าง 121 คนแบ่งตามอาชีพได้ดังนี้ ค้าขาย 55 คนคิดเป็น 45.5 % ทำการเกษตร 34 คนคิดเป็น 28.1 % รับจ้าง 17 คนคิดเป็น 14 % ว่างงาน 6 คนคิดเป็น 5 % และอื่นๆ อีก 9 คน คิดเป็น 7.4 % (หน้า 48) รายได้ กลุ่มตัวอย่าง 121 คน มีรายได้ต่อเดือน 2,500-5,000 บาทจำนวน 59 คน คิดเป็น 48.8 % มีรายได้ 1,000-2,500 บาท 38 คนคิดเป็น 31.4 % มีรายได้ 7,500-10,000 บาท 3 คนหรือ 2.5 % คนที่มีรายได้มากกว่า 1 หมื่นบาทจำนวน 4 คน หรือ 3.3 % และไม่ตอบ 6 คน (หน้า 49,114)

Social Organization

สถานภาพทางครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง 121 คน แบ่งตามการแต่งงานได้ดังนี้ แต่งงานแล้ว 71 คน หรือ 58.7 % เป็นโสด 46 คนหรือ 38 % หย่าร้าง 2 คนหรือ 1.7 % แต่งงานแล้วแยกกันอยู่ 1 คน หรือ 8% และอื่นๆ ที่ไม่ระบุอีก 1 คนเช่นกัน (หน้า 46,114)

Political Organization

การเข้ามาในประเทศไทยของจีนฮ่อ กลุ่มจีนฮ่อที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากเกิดสงครามกลางเมืองระหว่านจีนคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง) กับจีนคอมมิวนิสต์เริ่มจาก พ.ศ.2492 เมื่อฝ่ายทหารจีนคณะชาติพ่ายแพ้จึงเคลื่อนกองกำลังไปอยู่บนเกาะไต้หวัน ส่วนทหารก๊กมินตั๋งที่อยู่ในมณฑลยูนนานได้เคลื่อนกำลังลงมาทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้วเข้าพม่า ลาว และเวียดนาม ส่วนทหารจีนคณะชาติที่เข้าไปในพื้นที่ประเทศพม่าได้แก่กองทัพที่ 13 ซึ่งประกอบด้วยกองพลที่ 26 กับกองพลที่ 93 ได้ก่อปัญหาให้กับทางการพม่าเป็นอย่างมาก ดังนั้นพม่าจึงร้องเรียนกับสหประชาชาติและได้ทำการขับไล่โดยได้รับการช่วยเหลือจากจีนคอมมิวนิสต์ ภายหลังได้มีการเจรจาเพื่อส่งกองกำลังทหารจีนคณะชาติกลับไต้หวันโดยส่งไป 3 ครั้งด้วยกันคนที่ไปส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผู้หญิง เด็กและคนสูงอายุ รวมทั้งผู้บาดเจ็บ สำหรับทหารที่เป็นคนหนุ่มส่วนมากจะปฏิเสธการเดินทางสู่ไต้หวัน ซึ่งหลังจากการส่งกลับทั้ง 3 ครั้ง รัฐบาลไต้หวันถือว่าไม่มีทหารจีนคณะชาติในพม่าต่อไป (หน้า 1,14-18) ต่อมาหลังจากที่ทหารพม่าทำการกวาดล้างทหารจีนคณะชาติและประชาชน ที่ติดตามมาด้วยจึงอพยพเข้าสู่เขตแดนไทย โดยเข้ามาอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน สำหรับกลุ่มจีนฮ่อที่เข้ามาในไทยมี 3 กลุ่มดังนี้ จีนฮ่อติดอาวุธหรืออดีตทหารจีนคณะชาติ “ทจช.” จีนฮ่ออพยพกับจีนฮ่ออิสระ ซึ่งเมื่อเข้ามาอยู่ในไทยแล้วได้สร้างปัญหาต่างๆ เช่น กองกำลังจีนฮ่อยังคงติดอาวุธแม้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดอธิปไตย จีนฮ่อสร้างชุมชนอิสระปิดตัวเองจากภายนอก ตั้งโรงเรียนและรักษาเอกลักษณ์ทางสังคมของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น การค้าสินค้าผิดกฏหมายเนื่องจากกลุ่มจีนฮ่อติดอาวุธอยู่พื้นที่ชายแดนจึงตั้งด้านเก็บภาษีกับกลุ่มพ่อค้าผิดกฏหมาย เช่นยาเสพติด และเครื่องประดับต่างๆ ทำให้รัฐบาลพม่าไม่ไว้วางใจรัฐบาลไทยเพราะเกรงว่าจะให้การสนับสนุนกลุ่มจีนฮ่อติดอาวุธที่อนู่ในเขตประเทศไทย (หน้า 2) ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงกำหนดนโยบายเกี่ยวกับจีนฮ่อโดยถือว่าเป็นคนที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย ให้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนด ภายหลังจึงให้กลุ่มจีนฮ่อติดอาวุธสู้กับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ในเขตเทือกเขานวมทั้งยินยอมให้จีนฮ่อตั้งหมู่บ้านถาวรใน 3 จังหวัดโดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศระเบียบกี่ควบคุมจีนฮ่อให้อยู่ในเขตควบคุม นอกจากนี้ยังให้สถานะจีนฮ่อเป็นคนต่างด้าวและให้สัญชาติไทยในระดับชั้นลูก หลาน แก่กลุ่มจีนฮ่ออดีตทหารจีนคณะชาติกับจีนฮ่ออพยพ ยกเว้นจีนฮ่ออิสระซึ่งยังไม่มีนโยบาย ให้สัญชาติไทยหรือให้สถานะเป็นคนต่างด้าว (หน้า 2-3) การควบคุมจีนฮ่อของรัฐบาลไทย การควบคุมจีนฮ่อของรัฐบาลไทย ตาราง แสดงเพศ, อายุ, การศึกษา สถานภาพทางครอบครัว, ภูมิลำเนา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือน, ลักษณะที่อยู่อาศัยของประชากรกลุ่มตัวอย่าง (หน้า 43-50) แสดงการเดินทางออกนอกเขตจังหวัด (หน้า 52) แสดงความเข้าใจว่าการออกนอกเขตควบคุมต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอ (หน้า 53) แสดงความเห็นว่าได้รับความสะดวกจากเจ้าหน้าที่อำเภอแม่สาย (หน้า 54) แสดงมูลเหตุการขออนุญาตออกนอกเขตของประชากรกลุ่มตัวอย่าง (หน้า 55) แสดงผู้ชักชวนให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างเดินทางออกนอกเขต (หน้า 56) แสดงให้เห็นประชากรกลุ่มตัวอย่างว่าเคยเดินทางหลบหนีออกนอกเขตควบคุมแล้วถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจหรือจับกุม (หน้า 57) แสดงให้เห็นถึงประชากรกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการขอสัญชาติไทย (หน้า 58) ความรู้ด้านระเบียบของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ว่าหากไม่ปฏิบัติตามระเบียบการควบคุม นอกจากจะเป็นการทำผิดกฏหมายแล้วยังมีผลต่อการพิจารณาการขอสัญชาติ (หน้า 59) ความเห็นระยะเวลาการขออนุญาตออกนอกเขตควบคุมเพื่อเดินทางไปอำเภออื่น ในเขตจังหวัดเชียงราย (หน้า 60) แสดงให้เห็นระยะเวลาการขออนุญาตออกนอกเขตควบคุมนอกจังหวัดเชียงราย (หน้า 60) แสดงให้เห็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ตรวจสอบผู้ขออนุญาตและไม่ขออนุญาต (หน้า 62) แสดงความเห็นเกี่ยวกับระเบียบการควบคุมจีนฮ่ออพยพว่าจะสามารถทำให้จีนฮ่ออพยพถือปฏิบัติหรือไม่ (หน้า 63) แสดงความเห็นการมารายงานตัวทุก 3 เดือนจะเป็นการแก้ไขปัญหาการลักลอบหลบหนีออกนอกเขตควบคุม (หน้า 64) แสดงความเห็นของประชากรกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขระเบียบควบคุม (หน้า 65) การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนของชาวจีนฮ่ออพยพโดยแยกตามอาชีพในความคิดเห็นที่มีต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทย และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการควบคุม (หน้า 67) แสดงความเห็นเกี่ยวกับการหลบหนีออกนอกเขตควบคุมซึ่งเกิดจากการไปหางานทำ (หน้า 69) แสดงความเห็นเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่ควบคุมดูแลทำให้มีคนหลบหนีออกนอกเขตควบคุม (หน้า 70) แสดงความเห็นการขออนุญาตออกนอกเขตควบคุมเสียเวลาและขออนุญาตยากเนื่องจากต้องยื่นคำร้องแล้วต้อรอให่อนุญาตทำให้มีการหลบหนีออกนอกเขตควบคุม (หน้า 71) แสดงความเห็นเกี่ยวกับจีนฮ่ออพยพบางคน ที่ไปก่ออาชฯกรรมที่อื่นเกิดจากการหลบหนีออกนอกเขตควบคุมแล้วไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นได้จึงประกอบอาชญากรรม (หน้า 72) แสดงความเห็นการให้จีนฮ่ออพยพรายงานตัวทุก 3 เดือนเป็นการแก้ไขปัญหาการหลบหนีออกนอกเขตควบคุมได้ (หน้า 74) แสดงความเห็นการอยู่ในเขตควบคุม ทำให้ไม่สามารถหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว (หน้า 75) แสดงความเห็น เกี่ยวกับการกำหนดให้ จีนฮ่ออพยพอยู่ในพื้นที่ควบคุมตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปโดยไม่มีการหลบหนีออกนอกเขตเป็นผู้ได้รับการพิจารณาให้มีสัญชาติไทยจะทำให้จีนฮ่อไม่หลบหนีออกนอกเขตควบคุม (หน้า 76) ) แสดงความเห็น เกี่ยวกับการที่จีนฮ่ออพยพส่วนใหญ่ ไม่มีที่ดินทำกินและทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพจึงจำเป็นต้องไปประกอบอาชีพหรือไปนับจ้างในเมือง (หน้า 78) แสดงความเห็น เกี่ยวกับความเป็นเมืองค้าขายชายแดนของอำเภอแม่สาย เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและมีการคมนาคมทำให้ง่ายต่อการออกนอกเขตควบคุมโดยไม่ต้องขออนุญาต (หน้า 79) แสดงความเห็นเกี่ยวกับ ความเจริญของจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งกรุงเทพฯเป็นเหตุจูงใจให้จีนฮ่ออพยพเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมเป็นจำนวนมาก (หน้า 80) การวิเคราะห์ความแปรปรวนของชาวจีนฮ่ออพยพ โดยแยกตามอาชีพในประเด็นเกี่ยวกับการไม่หลบหนีออกนอกเขตและเงื่อนไขการได้รับสัญชาติไทย (หน้า 81) ค่าความแปรปรวนของความคิดเห็นของจีนฮ่ออพยพที่เคยและไม่เคยขอสัญชาติกับความเจริญ โดยแยกตามการขอสัญชาติในประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ (หน้า 83) ความแปรปรวนของจีนฮ่ออพยพแยกตามอาชีพในประเด็นเกี่ยวกับความต้องการปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ (หน้า 84) แสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการควบคุมจีนฮ่ออพยพ (หน้า 85) แสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมอาชีพและรายได้เช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป (หน้า 87) การกำหนดเขตควบคุมให้อยู่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการหนึ่ง ในการป้องกันมิให้จีนฮ่ออพยพออกนอกเขตพื้นที่เพื่อไปกระทำผิด หรือก่ออาชญากรรม (หน้า 88) การที่จีนฮ่ออพยพไม่ปฏิบัติตามระเบียบการควบคุม ถือว่ามีความผิดตามกฏหมายแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (หน้า 89) แสดงความเห็นการที่จีนฮ่ออพยพอยู่ในพื้นราบ ร่วมกับราษฎรไทยหรือให้การดำเนินชีวิตและสภาพความเป็นอยู่เปลี่ยนไป แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนอยู่ (หน้า 91) แสดงความเห็นการที่ลูกหลานจีนฮ่ออพยพที่เกิดในไทย ต้องการดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมของตนอย่างอิสนะจึงมักไม่ปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมซึ่งถือว่าริดรอนเสรีภาพของตน (หน้า 92) หากไม่ใช้มาตรการควบคุมโดยเฉพาะการต้องขออนุญาตออกนอกเขตควบคุม แต่ใช้วิธีตรวจบัตรหรือเอกสารจะลดจำนวนการหลบหนีออกนอกเขตควบคุม (หน้า 94) แสดงความเห็นการที่รัฐบาลควรพิจารณารีบให้สัญชาติไทยแก่จีนฮ่ออพยพ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ เช่นเดียวกับชาวเขาเพราะจีนฮ่ออพยะได้อยู่ประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว (หน้า 95) แสดงความเห็นการที่ทางราชการได้กำหนดเขตควบคุมไว้เพื่อต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อย และประสงค์ให้จีนฮ่ออพยพยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของตนต่อไป (หน้า 96) แสดงความเห็นนโยบายการควบคุมจีนฮ่ออพยพควรจะต้องปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันกับสังคมจีนฮ่ออพยพ (หน้า 98) วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของความคิดเห็นของจีนฮ่ออพยพโดยแยกตามอาชีพในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการควบคุมจีนฮ่ออพยพ (หน้า 99) การขอสัญชาติไทย ในกลุ่มตัวอย่าง 121 คนระบุว่า อยู่ระหว่าง การขอมีสัญชาติไทย 59 คน หรือ 48.8 % และยังไม่เคยขอมีสัญชาติไทย 39 คนหรือ 32.1 % ส่วนกลุ่มที่เคยขอแต่ยังไม่ได้รับการพิจารณามี 20 คน หรือ 16.6 % และไม่ตอบ 3 คนหรือ 2.5 % (หน้า 58)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ประชากรศึกษา 121 คน สามารถแบ่งจำนวนตามระดับการศึกษาได้ดังนี้ คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมี 60 คนหรือ 49.6 % เรียนระดับชั้น ป.1-ป.6 หรือเทียบเท่า 37 คนหรือ 30.6 % เรียนระดับ ม.1-ม.6 หรือเทียบเท่า 20 คนคิดเป็น 16.5 % ส่วนคิดที่เรียนระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า มี 2 คนหรือ 1.7 %และที่สูงกว่าระดับอนุปริญญา มี 2 คนเช่นกัน (หน้า 45)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

นิทานความเป็นมาของชื่อมณฑลยูนนาน เรื่องเล่าเกี่ยวกับชื่อมณฑลยูนนานนั้นมีที่มาดังนี้ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ขณะนั้นเจ้านายยูนนาน ได้เดินทางไปมอบเครื่องบรรณาการให้กับราชสำนักจีน เมื่อฮ่องเต้ทรงถามว่ามาจากที่ใด ฝ่ายเจ้านายยูนนานจึงตอบ แล้วชี้มือไปทางทิศใต้ของก้อนเมฆที่มองเห็นในระยะไกล ดังนั้นฮ่องเต้จึงทรงพระราชทานชื่อว่ายูนยาน แปลว่า “ใต้เมฆ “ ซึ่งมาจากภาษจีนคือว่า “ยูน”แปลว่า “เมฆ” และ “นาน” แปลว่า “ใต้” (หน้า 142)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

แผนที่ การเคลื่อนย้ายกำลังของ ทจช. (หน้า 180) ที่ตั้งหมู่บ้านผู้อพยพ ทจช. (หน้า 181) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (หน้า 182)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 26 ต.ค. 2555
TAG จีนยูนนาน จีนมุสลิม จีนฮ่อ, การอพยพ, การควบคุม, รัฐ, การเมือง, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง