สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนยูนนาน จีนมุสลิม จีนฮ่อ,สถาปัตยกรรม,หมู่บ้าน,เรือน,การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม,แม่ฮ่องสอน
Author อรศิริ ปาณินท์
Title การศึกษาหมู่บ้าน บ้าน และเทคโนโลยีการก่อสร้างของหมู่บ้านจีนฮ่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 192 Year 2540
Source สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

งานเขียนกล่าวถึงหมู่บ้านและบ้านของจีนฮ่อ หรืออดีตทหารจีนคณะชาติ(ทหารก๊กมินตั๋ง) ซึ่งหมู่บ้านกรณีศึกษา คือ บ้านสันติสุข อำเภอปาย กับบ้านรักไทย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยศึกษาในเรื่องต่างๆ การวางผังหมู่บ้าน,บ้าน ประเภทของบ้านและผังบริเวณบ้าน, วัสดุก่อสร้างโครงสร้างและเทคโนโลยีการก่อสร้าง และได้เปรียบเทียบกับบ้านในชนบทของจีนในมณฑลยูนนาน สำหรับประชากรศึกษาเป็นจีนฮ่ออพยพซึ่งแต่เดิมอยู่อาศัยในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอันเนื่องมาจากปัญหาทางการเมืองในประเทศจีน

Focus

ศึกษาลักษณะทางกายภาพ เช่น การวางผังหมู่บ้าน, บ้าน ประเภทของบ้านและผังบริเวณบ้าน, วัสดุก่อสร้างโครงสร้างและเทคโนโลยีการก่อสร้าง และองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ และเปรียบเทียบจากข้อมูลเอกสารในการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมการก่อสร้างดั้งเดิมในชนบทของประเทศจีนทางตอนใต้มณทลยูนนาน สู่บ้านจีนฮ่อในไทย เปรียบเทียบลักษณะบ้านที่เป็นกรณีศึกษากับหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงและลักษณะสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ส่งผลต่อผังกายภาพของหมู่บ้านและตัวบ้านและศึกษาผลสรุปเพื่อการอนุรักษ์ลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านจีนฮ่อ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 11)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

จีนฮ่อ ประชากรศึกษาเป็นจีนฮ่อที่บ้านสันติสุข ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย กับหมู่บ้านรักไทย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จีนฮ่อ คือ คนจีนที่อพยพมาอยู่ภาคเหนือของไทย ภายหลังที่จีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2492 สำหรับกลุ่มจีนฮ่อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจีนฮ่ออพยพที่เป็นครอบครัวของทหารจีนคณะชาติที่มากับกลุ่มทหารเข้ามาในพื้นที่ประเทศพม่า แต่ถูกทหารพม่าผลักดันจึงอพยพเข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทย และจีนฮ่ออีกกลุ่ม คือคนจีนในมณฑลยูนนาน ที่หนีออกจากประเทศจีนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าพม่าและบางส่วนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย (หน้า 3-4) สำหรับที่มาของคำว่า “ฮ่อ” ซึ่งภาษาจีนมณฑลยูนนานแปลว่า “แม่น้ำ” ภายหลังจึงเป็นคำเรียกกลุ่มชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ฝั่งทะเลสาบหนองแส (หรือแม่น้ำหนองแส) ดังนั้นเมื่อคนจีนมณฑลยูนนานไปอยู่ที่ไหน คนจึงเรียกว่า “ฮ่อ” (หน้า 5)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาจีนฮ่อ ภาษาพูดและภาษาเขียนของจีนฮ่อ ใกล้เคียงกับภาษาจีนกลาง ดังนั้นจีนฮ่อจึงเข้าใจภาษาจีนกลางได้เป็นอย่างดี (หน้า 5, 11)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน

History of the Group and Community

ไม่มี

Settlement Pattern

องค์ประกอบของบ้านกรณีศึกษา ทั้งสองหมู่บ้านแบ่งการใช้สอยออกเป็นส่วนต่างๆ ที่เหมือนกัน เช่น ทางเข้าบ้าน ห้องโถงกลาง ห้องนอน ห้องเก็บของ ครัวไฟ ลานหน้าบ้าน ชานหน้าบ้าน ยุ้งข้าว คอกเลี้ยงสัตว์ และห้องน้ำห้องส้วม สำหรับทางเข้าบ้านกับโถงกลาง การใช้สอยพื้นที่ผังบ้านจะแบ่งบ้านเป็นสามห้อง คือห้องโถงกลางจะใช้เป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆเป็นที่ตั้งแท่นบูชาเจ้าแม่กวนอิมและแท่นบูชาบรรพบุรุษ (หน้า 101,103,114,166 ภาพ หน้า 102) ห้องนอน อยู่ทางด้านซ้ายของบ้าน จะนอนบนแคร่ไม้ยกพื้น ส่วนห้องนอนของลูกสาวกับแม่จะอยู่อย่างเป็นสัดส่วน มีประตูเข้าออก ส่วนมากจะกั้นด้วยผ้าม่าน หากที่นอนไม่พอก็จะตั้งแคร่ที่ห้องโถงกลางหรือในบางส่วนของห้องครัว (หน้า 103 ภาพหน้า 104) ครัวไฟอาจจะอยู่ในตัวบ้าน ซึ่งส่วนมากจะอยู่ด้านขวาของบ้าน หรือแยกจากตัวบ้านแต่ชายคาเดียวกับบ้าน หรือบางกรณีครัวไฟแยกคนละส่วนกับตัวบ้าน ส่วนการจัดครัวแบ่งออกเป็นแบบต่างๆ คือ ครัวที่ใช้เตาอั้งโล่หรือเตาแบบสามเส้าที่ตั้งบนกะบะดินเหนียว ที่วางบนพื้นดิน, ก่อฐานโดยใช้อิฐหรือดินแล้วตั้งเตาไว้บนพื้นดินที่ยกขึ้นจากพื้นครัว (หน้า 105 ภาพ 106) ในส่วนของโครงสร้างหลักจะเป็นไม้ทั้งหมด เสาบ้านมี 12 ต้น โดยจะวางไว้ 4 แนว แนวละ 3 เสา ในส่วนนี้จึงทำให้มีห้องใช้พื้นฐาน 3 ห้อง สำหรับชานปีกนกของชานหน้าบ้านจะมีเสาอีก 4 ต้น หลังคา มุงหญ้าคา ผนัง มีหลายแบบเช่น ผนังดินดิบผสมหญ้า (หน้า 115-116,135-137 ภาพหน้า 117, 119) ผนังฟากไม้ไผ่, ผนังก่อวัสดุก้อน เช่น ดินดิบอัดก้อน คอนกรีตบล็อค อิฐ และผนังไม้จริง (หน้า 124,141 ภาพหน้า 125) พื้น เป็นดินทุบอัดจนแน่น จากนั้นก็จะตั้งแคร่ไม้สำหรับนั่ง นอน รวมทั้งเก็บและวางของใช้ต่างๆ (หน้า 124,142) ประตูมี 1 บาน ส่วนเนื้อที่ในบ้านไม่มีประตู จะมีแต่กรอบประตู แล้วใช้ผ้าม่านกั้นพื้นที่ใช้สอยในบ้าน (หน้า 126)

Demography

บ้านสันติสุข จำนวนบ้านเรือนมีทั้งหมด 200 หลังคาเรือน (หน้า 22) บ้านรักไทย บ้านเรือนมี 300 หลังคาเรือน (หน้า 36)

Economy

เศรษฐกิจ ทั้งสองหมู่บ้านมีรายได้จากการปลูกพืช เช่น ลำใย ลิ้นจี่ และปลูกผัก เช่น หอม กระเทียม นอกจากนี้ยังปลูก ชา และข้าว (หน้า 20) บ้านสันติสุข ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีรายได้หลักมาจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำใย และอื่นๆ สำหรับการปลูกข้าวจะทำนาแบบขั้นบันไดบนภูเขา (หน้า 31) บ้านรักไทย ตำบลแม่ออ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีรายได้จากการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ชา ลิ้นจี่ ลำใย ฯลฯ ปลูกผักไว้กินในครัวเรือนและขายเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว (หน้า 44)

Social Organization

ไม่มี

Political Organization

กลุ่มจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย คือ จีนฮ่อที่เป็นทหารจีนคณะชาติ จากการอพยพออกจากประเทศจีน ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ทหารจีนคณะชาติ (ทหารก๊กมินตั๋งกองพล 93) ที่อยู่ในเมืองไทยหมดสภาพการเป็นทหาร เพราะทหารเหล่านี้ปฏิเสธที่จะเดินทางไปไต้หวัน ซึ่งมีการอพยพหลายครั้งเช่น ช่วง พ.ศ.2496 กับ พ.ศ.2504 หลังระยะการอพยพไปไต้หวัน จีนฮ่อที่ตกค้างจึงมีสถานะเป็นเพียงกลุ่มจีนฮ่อ ติดอาวุธ (หน้า 4) กลุ่มทหารจีนคณะชาติมี 2 กลุ่มสำคัญที่ไม่ยอมเดินทางไปไต้ไหวัน คือ กลุ่มทหารจีนคณะชาติที่อยู่พื้นที่อำเภอ แม่สายกับแม่จัน ”ดอยแม่สะลอง” จังหวัดเชียงราย กับกลุ่มที่อยู่ถ้ำงอบ ตำบลปกคำ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่โครงการอพยพทหารจีนคณะชาติกลับไต้หวันยุติลงเมื่อ พ.ศ.2504 ทางการไทยจึงแก้ปัญหาโดยให้กลุ่มจีนฮ่อกระจายกันอยู่ไม่เกินหมู่บ้านละ 200-300 ครอบครัว และดำเนินนโยบายให้กลุ่มจีนฮ่อวางอาวุธเปลี่ยนสถานะเป็นพลเรือนและจัดสรรที่ดินทำกินให้ โดยให้อยู่ในพื้นที่ต่างๆ คืออยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 8 พื้นที่ อยู่ในเชียงราย 7 พื้นที่ และแม่ฮ่องสอน 2 พื้นที่คือที่อำเภอปาย กับอำเภอเมือง (หน้า 4)

Belief System

บ้านสันติสุข ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีศาลเจ้าที่ของหมู่บ้านอยู่ห่างจากทางเข้าหมู่บ้าน 800 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกในศาลมีที่ตั้งเครื่องบูชาต่างๆ มีรั้วไม้กั้น (หน้า 22 ภาพหน้า 23) บ้านรักไทย ตำบลแม่ออ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านอยู่หลังโรงเรียนทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ตัวศาลทำด้วยไม้มีขนาดไม่ใหญ่ และเป็นที่ตั้งของรูปเคารพเช่น เจ้าแม่กวนอิม คนในหมู่บ้านจะมาประกอบพิธีในวันสำคัญทางศาสนาและความเชื่อ (หน้า 40 ภาพหน้า 42)

Education and Socialization

โรงเรียนบ้านสันติสุข มีโรงเรียนประจำหมู่บ้านชื่อ “โรงเรียนไฮยี” เปิดสอนภาษาจีนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 มีนักเรียน 200 คน โรงเรียนแห่งนี้รัฐบาลไต้หวันให้การสนับสนุนโดยส่งครูมาสอน ส่วนการเรียนภาษาไทย นักเรียนจะไปเรียนนอกหมู่บ้าน (หน้า 25 ภาพหน้า 26) โรงเรียนบ้านรักไทย ในหมู่บ้านมีโรงเรียนสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาชื่อ “โรงเรียนบ้านแม่ออรักไทย” มีนักเรียน 250 คน ส่วนโรงเรียนสอนภาษาจีน ที่ก่อตั้งเมื่อครั้งตั้งหมู่บ้านในครั้งแรก ทุกวันนี้ปิดทำการเรียบร้อยแล้ว โดยอาคารเรียนของโรงเรียนเดิมส่วนหนึ่งคนในหมู่บ้านได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเก็บของและโรงเลี้ยงม้า (หน้า 38 ภาพหน้า 39)

Health and Medicine

ไม่มี

Art and Crafts (including Clothing Costume)

บ้านชนบท มณฑลยูนนาน ประเทศจีน กับบ้านจีนฮ่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน บ้านจีนฮ่อกรณีศึกษาของทั้งสองหมู่บ้านมีความเหมือนกันเรื่องผังพื้น ในส่วนที่ไม่เหมือนกันก็คือ บ้านจีนฮ่อในประเทศไทยจะมีชานใต้หลังคาคลุมที่หน้าบ้าน บริเวณที่นั่งเล่น แต่บ้านชนบทในมณฑลยูนนานไม่มี (หน้า49-50,171-184)

Folklore

ไม่มี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มี

Social Cultural and Identity Change

ไม่มี

Critic Issues

ไม่มี

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพ พ่อค้าจีนชาวยูนนาน (หน้า 4) หมู่บ้านจีนฮ่อ (หน้า 6,7) ลานบ้านที่บ้านสันติสุข อำเภอปาย (หน้า 8) ชานเอนกประสงค์ที่บ้านแม่ออรักไทย อำเภอเมือง (หน้า 8) ห้องนอนยกแคร่ไม้, ส่วนเก็บของ (หน้า 9) พื้นที่โล่งใต้หลังคา, ครัวแบบง่ายๆ (หน้า 10) จีนฮ่อพ่อค้าชาวยูนนาน (หน้า 11) บ้านสันติสุข (หน้า 23) ลานบ้าน (หน้า 24) โรงเรียน (หน้า 26) ร้านค้า (หน้า 27) ศาลเจ้า, ถังเก็บน้ำ (หน้า 29) เด็กและผู้ใหญ่จีนฮ่อ (หน้า 30) อ่างเก็บน้ำ (หน้า 35) บ้านรักไทย อำเภอเมือง (หน้า 37) โรงเรียนประถมศึกษา บ้านแม่ออรักไทย (หน้า 39) ศาลา, ยุ้งข้าว (หน้า 41) ศาลเจ้า (หน้า 42) ม้า (หน้า 43) บ้านตัวอย่างในการศึกษารูปตัดและรูปด้าน 1:200 (ดูตัวอย่างทั้งหมด หน้า 52-97) หิ้งบูชาเจ้าแม่กวนอิม (หน้า 102) พื้นที่เอนกประสงค์ในบ้าน (หน้า 103) ห้องนอนอยู่ติดกับครัวไฟ (หน้า 104) บริเวณเก็บของใช้ในบ้าน (หน้า 105) ครัวไฟ (หน้า 106) ที่เก็บฟืน (หน้า 107) ส่วนเก็บของ (หน้า 108) ลานกลางบ้าน (หน้า 109) รั้ว (หน้า 111,112) ประตู (หน้า 114) โรงเลี้ยงสัตว์ (หน้า 115) หลังคาปีกนกโครงร่ม (หน้า 117) หลบหลังคา, บ้านลมไม้ไผ่ปิดจั่ว (หน้า 118) ผนัง (หน้า 119) หลังคามุงใบตองตึง (หน้า 120) ชายคา (หน้า 121) ผนังดินดิบผสมหญ้า (หน้า 123) ผนังฟากไม้ไผ่, โครงสร้างผนัง (หน้า 125,126) โรงเลี้ยงสัตว์ (หน้า 127) เรือนโรงแบบโล่ง, กรงเลี้ยงสัตว์ (หน้า 128) รูปตัดขวางโครงหลังคา (หน้า 134) โครงหลังคา (หน้า 135) ฝาขัดแตะแบบไทย (หน้า 138) ฝาฟากไม้ไผ่ (หน้า 139) ผนังดินดิบผสมหญ้า (หน้า 140) หลังคาปีกนกโครงร่ม (หน้า 144) ผนังดินดิบด้านสกัด (หน้า 145) หลบหลังคา (หน้า 146,147) โครงผนัง (หน้า 148) ผนังภายใน (หน้า 149) เปรียบเทียบผังของสองหมู่บ้าน (หน้า 154,158,167) ผังพื้นบ้านในชนบทจีนตอนใต้ (หน้า 173) ผังพื้นบ้านสอง, สามห้องนอน (หน้า 174) ผังพื้นบ้านและรูปด้าน (หน้า 175,176) บ้านในยูนนานตอนเหนือ, ใต้ (หน้า 177) โครงสร้างแบบจีน (หน้า 180) โครงสร้างแบบพื้นฐานบ้านแบบต่างๆ (หน้า 181,182) บ้านกรณีศึกษา (หน้า 191-196) หลังคา (หน้า 197) ยุ้งข้าว, บ้านแม้วป่าแปก (หน้า 198) บ้านกะเหรี่ยงพะมะลอ (หน้า 199) แผนที่ หมู่บ้านจีนฮ่อ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน(หน้า 19) หมู่บ้านสันติสุข อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 21) หมู่บ้านรักไทย ตำบลแม่ออ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 33) แผนผัง บ้านกรณีศึกษา (หน้า 52-96) ตาราง พื้นที่ผังบริเวณบ้าน (หน้า 156) พื้นที่ใช้สอย (หน้า 160,161) ห้องนอน (หน้า 162) ห้องครัว (หน้า 163) ชานหน้าบ้าน (หน้า 164) ห้องน้ำและส้วม (หน้า 165)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 13 ธ.ค. 2555
TAG จีนยูนนาน จีนมุสลิม จีนฮ่อ, สถาปัตยกรรม, หมู่บ้าน, เรือน, การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง