สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มลาบรี,ระบบเศรษฐกิจ,การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม,น่าน,แพร่,ภาคเหนือ
Author วิสุทธิ์ ศรีวิศาล
Title ระบบเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชนเผ่าผีตองเหลืองในสังคมไทย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มละบริ ยุมบรี มลาบรี มละบริ มลา มละ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 187 Year 2537
Source หลักสูตรปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษา การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชนเผ่าผีตองเหลือง ณ บ้านบ่อหอย ต.ยาบหัวนา อ.เวียงสา จ.น่าน และ บ้านบุญยืน ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองมีดังนี้ จำนวนป่าไม้ที่ลดลงมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะถ้าป่าไม้ลดลง วิถีชีวิตของผีตองเหลืองจะเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ดินที่จำกัดก็มีผล กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะที่ดินที่สมบูรณ์จะทำให้ผีตองเหลืองมีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะผีตองเหลืองอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร การติดต่อวัฒนธรรมระหว่างผีตองเหลือง และม้งก็มีส่วนทำให้ระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองเปลี่ยนแปลง เพราะมีการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากการค้าเงียบไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบขายแรงงาน ส่วนการรับกระแสวัฒนธรรมเมือง พบว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องแต่งกายของผีตองเหลืองเห็นได้ชัดที่สุด ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองน้อย ผีตองเหลืองต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือให้อยู่กันอย่างอิสระ นักพัฒนาในหน่วยงานรัฐ จึงไม่มีบทบาทมากในการพัฒนาผีตองเหลือง เพราะมีเพียงแต่นักพัฒนาเอกชนเท่านั้นที่เข้ามาสัมผัสใกล้ชิดกับผีตองเหลือง ซึ่งเป็นนักบุญด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผีตองเหลืองได้เป็นบางส่วน

Focus

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชนเผ่าผีตองเหลือง ณ บ้านบ่อหอย ต.ยาบหัวนา อ.เวียงสา จ.น่าน และ บ้านบุญยืน ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ (บทคัดย่อ , หน้า 8 - 9)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยมีการตั้งสมมติฐานเพื่อพิสูจน์ว่าปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองพบว่ากลุ่มตัวอย่างผีตองเหลืองที่ผู้วิจัยสอบถามนั้นเห็นว่า จำนวนป่าไม้ที่ลดลงมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะถ้าป่าไม้ลดลง วิถีชีวิตของผีตองเหลืองจะเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ดินที่จำกัดก็มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะที่ดินที่สมบูรณ์จะทำให้ผีตองเหลืองมีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะผีตองเหลืองอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร การติดต่อวัฒนธรรมระหว่างผีตองเหลือง และม้งก็มีส่วนทำให้ระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองเปลี่ยนแปลง เพราะมีการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากการค้าเงียบไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบขายแรงงาน ส่วนการรับกระแสวัฒนธรรมเมือง พบว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องแต่งกายของผีตองเหลืองเห็นได้ชัดที่สุด ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองน้อย ผีตองเหลืองต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือให้อยู่กันอย่างอิสระ นักพัฒนาในหน่วยงานรัฐ จึงไม่มีบทบาทมากในการพัฒนาผีตองเหลือง เพราะมีเพียงแต่นักพัฒนาเอกชนเท่านั้นที่เข้ามาสัมผัสใกล้ชิดกับผีตองเหลือง ซึ่งเป็นนักบุญด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผีตองเหลืองได้เป็นบางส่วน (หน้า 145 – 183)

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาผีตองเหลือง ซึ่งเรียกตนเองว่า “มลาบรี” ณ บ้านบ่อหอย ต.ยาบหัวนา อ.เวียงสา จ.น่าน และ บ้านบุญยืน ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ (หน้า 9, 55 - 56)

Language and Linguistic Affiliations

ผีตองเหลืองมีภาษาของตัวเองเรียกว่า “มาลาบรี” โดย “มาลา” แปลว่าคน “บรี” แปลว่าป่า (หน้า 53)

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยเก็บข้อมูลที่บ้านบ่อหอย ต.ยาบหัวนา อ.เวียงสา จ.น่าน ระหว่างวันที่ 20 พ.ย. 2534 – 15 มี.ค. 2535 และระหว่างวันที่ 18 พ.ย. 2535 – 25 ต.ค. 2535 ส่วนที่บ้านบุญยืน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 ก.พ. 2536 – 20 ต.ค. 2536 และระหว่างวันที่ 20 มี.ค. 2537 – 20 มิ.ย. 2537 และครั้งสุดท้ายคือช่วงระหว่างวันที่ 15 ธ.ค. 2537 – 15 ม.ค.2538 (หน้า 59)

History of the Group and Community

คำว่า “ผีตองเหลือง” ถูกใช้อย่างเป็นทางการจากนักวิชาการที่ศึกษาชนกลุ่มนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2469 (หน้า 2 , 39) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกชนเผ่านี้อีกว่า “ข่าตองเหลือง” , “ยมบรี” , “มราบรี” “มลาบรี” ชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “คนป่าหรือมลาบรี” ชาวเขาเผ่าม้งเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ม้ากู่” ขณะที่ชาวบ้านภาคเหนือใช้คำว่า “ผีตองเหลือง” เป็นชื่อเรียกชนเผ่ากลุ่มนี้จากพฤติกรรมเร่ร่อนหาอาหารโดยการล่าสัตว์ เก็บผักผลไม้ตามที่ต่างๆ โดยสร้างเพิงพักเป็นที่อยู่อาศัยระหว่างหาอาหาร “ผีตองเหลือง” อพยพมาจาก จ.สายะบุรี ประเทศลาว เมื่อศตวรรษที่แล้ว พบในประเทศไทยครั้งแรกที่อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปีพ.ศ.2462 และพบตามจังหวัดต่างๆ ตามภาคเหนือของประเทศไทยทั้งที่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แพร่ จ.น่าน ปัจจุบันจะพบชนเผ่าผีตองเหลืองได้ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน และที่ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ (หน้า 2 – 3 , 40 - 41) หมู่บ้านบ่อหอย เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหากินของผีตองเหลืองมากที่สุด หมู่บ้านนี้เริ่มจากการตั้งถิ่นฐานจากชาวเขาเผ่าม้งเมื่อปีพ.ศ.2512 – 2513 ที่ย้ายถิ่นฐานมาจำนวน 11 ครอบครัว ปีพ.ศ.2516 มีการสัมปทานตัดไม้ ทำให้ผีตองเหลืองต้องอพยพเข้าไปในป่าลึกมาก จนต่อมาการตัดไม้สิ้นสุดลง มีเส้นทางต่างๆ เกิดขึ้น มีการอพยพม้งมาจากหมู่บ้านอื่นๆ ปัจจุบันเป็น 65 ครอบครัว (หน้า 63 – 64)

Settlement Pattern

“ผีตองเหลือง” จะสร้างเพิงพักเป็นที่อยู่อาศัยระหว่างหาอาหาร เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราว ที่พักในบริเวณหนึ่งๆ จะมีสมาชิกผีตองเหลืองประมาณ 3 – 5 ครอบครัว เพิงที่สร้างจะมุงด้วยใบตองหรือใบหวายชนิดหนึ่ง เป็นเพิงเล็กๆ ติดดิน ส่วนหน้าของเพิงเปิดตลอด ใช้ใบตองปูนอน ใช้กระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ไว้ใส่น้ำดื่ม ผีตองเหลืองมักสร้างที่พักในที่มิดชิด ห่างไกลจากผู้พบเห็น อยู่ใกล้แหล่งอาหาร เมื่อแหล่งอาหารเดิมหมด “ผีตองเหลือง” ก็จะย้ายที่พักไปตามแหล่งอาหารไปเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันการตั้งถิ่นฐานของผีตองเหลืองยาวนานขึ้นเพราะรับจ้างทำงานให้ม้ง (หน้า 2 , 86 – 89 , 131 - 132)

Demography

จากจำนวนประชากรของชาวเขาเมื่อปีพ.ศ.2537 ในประเทศไทยทั้งสิ้น 804,481 คน ชนเผ่าผีตองเหลืองมีประชากรน้อยที่สุด (หน้า 3) หมู่บ้านบ่อหอย จากการสำรวจเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2538 มีจำนวนประชากร 1,270 คน (ม้ง 1,200 คน ผีตองเหลือง 70 คน) (หน้า 60) ผีตองเหลืองที่ผู้วิจัยได้ศึกษาทำแบบสอบถามเป็นชาย 131 คน หญิง 49 คน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21 – 30 ปี (หน้า 145)

Economy

“ผีตองเหลือง” มีพฤติกรรมเร่ร่อนหาอาหารโดยการล่าสัตว์ เก็บผักผลไม้ตามที่ต่างๆ โดยสร้างเพิงพักเป็นที่อยู่อาศัยระหว่างหาอาหาร และจะย้ายที่พักไปตามแหล่งอาหารไปเรื่อยๆ ผีตองเหลืองไม่รู้จักปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพราะเป็นความเชื่อจากบรรพบุรุษที่สั่งสอนว่าหากผีตองเหลืองอยู่เป็นหลักแหล่งหรือเพาะปลูกสิ่งใดก็ตาม จะถูกผีร้ายทำร้าย ของป่าที่เป็นอาหารหลักคือ มันเล็ก มันสีเลือดหมู มันจากมะพร้าวและมันอัน เป็นต้น ผีตองเหลืองไม่มีเครื่องมือล่าสัตว์มากเหมือนชนเผ่าเร่ร่อนกลุ่มอื่นๆ การกินอาหารจะเป็นไปวันต่อวัน ใช้กระบอกไม้ไผ่เป็นภาชนะหุงต้ม (หน้า 2 , 40 , 43 , 90 - 99) โดยรูปแบบการดำรงชีวิตและวิวัฒนาการระบบเศรษฐกิจของชนเผ่าผีตองเหลืองมี 3 ขั้นตอนคือ (1) การล่าสัตว์หาของป่า (อดีต – พ.ศ.2503) เป็นรูปแบบระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองในอดีตที่ใช้วิธีเก็บของป่าล่าสัตว์ อาศัยทรัพยากรป่าไม้รอบๆ ตัว หาอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ ผีตองเหลืองเป็นสังคมผู้บริโภคไม่ใช่ผู้ผลิต ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ที่ดิน (2) ระบบเศรษฐกิจแบบแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือ Barters System (พ.ศ.2504 – 2512) นำสิ่งของที่ผีตองเหลืองหาได้จากป่าไปแลกกับสิ่งของจากชนเผ่าอื่น เช่น ม้ง อีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง (3) การเกษตรแบบเข้มข้นหรือการแลกเปลี่ยนแรงงานเป็นลูกจ้างม้งทำไร่ (พ.ศ.2513 – ปัจจุบัน) เป็นไปพร้อมกับการตั้งหมู่บ้านถาวรของชาวเขาเผ่าม้งที่หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ จึงต้องจ้างผีตองเหลืองเพื่อมาเป็นแรงงานทางเศรษฐกิจ ผีตองเหลืองจึงต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์หาของป่ามาเป็นการเกษตรแบบเข้มข้น (หน้า 24 – 27 , 43 - 47)

Social Organization

ครอบครัวของผีตองเหลืองเป็นครอบครัวเดี่ยว ขนาดครอบครัวมีประมาณ 3 – 4 คน ภายหลังการแต่งงานของผีตองเหลือง คู่สมรสมักแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่ ไม่อยู่อาศัยร่วมเพิงเดียวกับพ่อ แม่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางเพศต้องเป็นไปภายใต้กรอบของการแต่งงานเท่านั้น ผีตองเหลืองไม่นิยมการเกี้ยวพาราสี ถ้าฝ่ายชายพอใจฝ่ายหญิงก็จะสู่ขอบิดาฝ่ายหญิง ถ้าญาติฝ่ายหญิงนิ่งเฉย ไม่พูดจากับฝ่ายชายแสดงว่าไม่ยินยอมยกฝ่ายหญิงให้ ถ้าญาติฝ่ายหญิงพอใจฝ่ายชายก็จะพาฝ่ายหญิงไปอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาโดยไม่ต้องมีพิธีกรรมแต่งงานแต่อย่างใด ผีตองเหลืองจะไม่แต่งงานในเครือญาติด้วยกันเอง การมีสามีภรรยามากกว่า 1 คนในเวลาเดียวถือว่าเป็นการผิดผี และห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตกลงเป็นสามีภรรยาร่วมกัน สังคมผีตองเหลืองมีอัตราหย่าร้างสูงมาก เพราะผีตองเหลืองเชื่อว่าความเจ็บป่วยเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ต้องการให้ทั้งสองอยู่ร่วมกันอีก (หน้า 46 , 72 – 74 , 84) พ่อ แม่ ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวเลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่บุตร ในแต่ละครัวเรือนเมื่อได้อาหารมาก็จะนำมาแบ่งกันอย่างทั่วถึงโดยไม่คำนึงว่าใครจะเป็นผู้หามา การแยกเพิงพักระหว่างครัวเรือนจึงเป็นเพียงแค่การแยกสถานที่ที่อยู่อาศัยหลับนอนเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ทางสังคมด้านอื่นๆ ไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด ผู้ชายทำหน้าที่หาอาหารที่อยู่ไกลไปจากที่อยู่อาศัย ขณะที่ผู้หญิงหาอาหารในที่พักใกล้เคียง (หน้า 46 , 74 - 77) ผีตองเหลืองแบ่งกลุ่มเครือญาติออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กอมแบร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาเป็นลูกหลาน ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นความสัมพันธ์แบบครอบครัว แบบพ่อแม่กับลูก ปู่ย่ากับหลาน พฤติกรรมจะแสดงออกมาในลักษณะการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดู (2) ดิ้งโธ่ย เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา เป็นพี่น้องของบิดามารดา และญาติพี่น้องที่เป็นบุตรของพี่น้องบิดา ถือว่าเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายเดียวกัน แม้จะไม่ได้อยู่รวมเป็นครัวเรือนเดียวกัน แต่ก็มีกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจร่วมกัน (3) บันแฮนะ ในความหมายแคบเป็นบุคคลที่สัมพันธ์เชิงเครือญาติกับมารดา ในความหมายกว้างคือบุคคลที่เป็นผีตองเหลืองด้วยกัน เป็นการประสานครอบครัวผีตองเหลืองเข้าด้วยกันเป็นสังคมผีตองเหลืองทั้งหมด (หน้า 77 – 81)

Political Organization

ด้วยเหตุที่สังคมของผีตองเหลืองเป็นแบบล่าสัตว์ หาของป่า ลักษณะการเมือง การปกครอง จึงเป็นแบบไม่มีใครมีความคิดอยากมีทรัพย์สมบัติส่วนตัว มีความเท่าเทียมกันสูง ฐานะทางสังคมของสมาชิกแตกต่างกันน้อยในเรื่องความมั่งคั่ง อำนาจ เกียรติภูมิ ไม่มีผู้นำที่เป็นทางการ นอกจากผู้อาวุโส ผู้สูงอายุ ผู้มีประสบการณ์สูง มีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี แต่หัวหน้าแบบนี้ไม่มีวิธีให้สมาชิกทุกคนทำตามความคิดเขา ไม่มีผลประโยชน์ในทางการเมือง แต่เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป การมีม้งเป็นนายจ้าง ตัวผู้นำของผีตองเหลืองไม่จำเป็นต้องเป็นผู้อาวุโสอีกต่อไป ขอเพียงมีประสบการณ์หาอาหาร พูดภาษาม้งหรือภาษาคนเมืองได้ สามารถติดต่อกับคนนอกกลุ่มได้ดี คนพวกนี้ก็สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำได้ ผีตองเหลืองไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกันเลย รักสันโดษ ให้อภัยซึ่งกันและกัน (หน้า 48 – 49 , 105 - 107)

Belief System

ประเพณีความเชื่อของผีตองเหลืองไม่ซับซ้อนเหมือนชนกลุ่มอื่น เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมพฤติกรรมคนในสังคม เช่น ห้ามเป็นชู้กับภรรยาคนอื่น เป็นต้น ผีตองเหลืองนับถือผี จิตวิญญาณ เซ่นสรวงผีบรรพบุรุษ เชื่อว่าผีเหล่านี้คุ้มครองให้อยู่ดี ไม่เจ็บป่วย ผีใหญ่ๆ ในความเชื่อของผีตองเหลืองมี ผีหลวง ทำหน้าที่รักษาภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน เป็นหัวหน้าผีที่ใหญ่ที่สุด บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นผีฟ้าที่คอยคุ้มครองให้ปลอดภัย ข้อห้ามของผี เช่น (1) ห้ามมีชู้ ถ้าหญิงมีชู้กับชายอื่น ผู้เป็นสามีต้องหย่าทันที เพราะอาจจะมีเคราะห์หรือมีอันเป็นไป (2) ห้ามผู้ชายเข้าไปเวลาผู้หญิงคลอดบุตรรวมไปถึงห้ามช่วยทำคลอดด้วย (3) หากมีการฝังศพผู้ชายต้องหันไปทางทิศตะวันตกและผู้ชายจะเป็นคนหาม ส่วนผู้หญิงให้หันไปทางทิศตะวันออกและผู้หญิงจะเป็นผู้หามไปเอง (4) ไม่เดินลอดเถาวัลย์ขนาดใหญ่ เพราะอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ (5) ห้ามจับหัวหรือลูบหัวผู้ชายผีตองเหลือง มีพิธีแปงไข้แปงหนาวเพื่อรักษาคนเจ็บป่วย (หน้า 50 – 51 , 112 - 118)

Education and Socialization

การศึกษาของผีตองเหลือง เด็กเรียนรู้โดยการสังเกต เลียนแบบจากการอบรมสั่งสอน เป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นการศึกษาในครอบครัว ในชุมชนที่อาศัยอยู่ พ่อแม่จะใช้เวลาว่างสั่งสอนเด็กด้วยการเล่านิทานโบราณ ประเพณีเหตุผล วิธีดูรอยเท้าสัตว์ วิธีเอาตัวรอดหาเลี้ยงชีพ เป็นต้น ส่วนเด็กผู้หญิง แม่จะสอนวิธีหาอาหารใกล้เพิงพัก เช่น ขุดเผือก ขุดมัน ดูลักษณะของพืชป่าว่าแบบไหนอันตรายหรือไม่ วิชาการเป็นแม่บ้านแม่เรือน หุงหาอาหาร เลี้ยงน้อง เป็นต้น (หน้า 49 – 50 , 107 - 111)

Health and Medicine

เวลาเจ็บป่วยจะมีพิธีไหว้ผี เช่น พิธี “แปงไข้ แปงหนาว” มีการสานไม้แคร่เล็กๆ มาวางไว้บนหัวผู้ป่วยแล้วพูดกับผีเป็นภาษามลาบรี พร้อมกับเผาเครื่องเซ่นไหว้ไปด้วย จนผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืนหายได้ นอกจากนี้ผีตองเหลืองยังมีวิธีนำสมุนไพรมารักษาคนป่วย เช่น “ป๊าบ” หรือ “ข่าป่า” นำทั้งต้นมาบดผสมน้ำพอกหัวแก้ปวดฟัน เป็นต้น (หน้า 52 – 53) ปัจจุบันผีตองเหลืองบ้านบ่อหอยเวลาเจ็บป่วยจะมาขอยาที่สถานีอนามัยบ้านบ่อหอย (หน้า 119 – 120) ผีตองเหลืองบ้านบุญยืน จ.แพร่ ยอมรับวิธีการรักษาทางการแพทย์ใหม่ๆ จากคณะหมอสอนศาสนา ถ้าไม่สบายก็จะไปขอยาจากหมอสอนศาสนา มีบ้างที่ยังยอมรับวิธีการรักษาแบบพิธีกรรมดั้งเดิม ผีตองเหลืองบ้านบุญยืนจึงมีสุขอนามัยดีกว่าผีตองเหลืองกลุ่มอื่นๆ (หน้า 142 – 144)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผีตองเหลืองใช้ไม้ไผ่เป็นภาชนะหุงต้มและใส่อาหาร มีการแกะสลักด้วยลายที่สวยงาม มีการใช้หวาย ป่าน มาย้อมสี ทำเป็นเครื่องจักสาน เป็นเสื่อปูนอน ตระกร้าใส่เสื้อผ้า แต่ผีตองเหลืองมักไม่ใช้สิ่งที่สานเอง แต่จะเก็บไว้แลกเปลี่ยนกับชนเผ่าอื่น (หน้า 54 , 97) ผีตองเหลืองไม่ค่อยมีเครื่องนุ่งห่มมากมายนัก เครื่องนุ่งห่มเป็นเพียงแค่ผ้าผืนเล็กปิดอวัยวะเพศเท่านั้น สันนิษฐานว่าเศษผ้าได้มาจากการแลกเปลี่ยนกับชนเผ่าอื่นๆ แต่ปัจจุบันผีตองเหลืองมีเสื้อผ้าใส่กันแล้ว (หน้า 132)

Folklore

ผีตองเหลืองมีท่ารำย่อเข่าลงเล็กน้อย ย่อเข่าลงเรื่อยๆ คล้ายกับท่าสาละวันของลาว คาดกันว่าผีตองเหลืองรับอิทธิพลทางดนตรีของลาวเข้ามาผสมกับดนตรีเก่าของตัวเองที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีประจำเผ่า เนื้อหาของดนตรีเป็นการบรรยายความ สภาพทางจิตใจ ความเป็นอยู่ในสังคม (หน้า 54 – 55)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งเรียกผีตองเหลืองว่า “ม้ากู่” (หน้า 2) ผีตองเหลืองจะไม่พอใจหากมีใครเรียกพวกเขาว่า “ผีตองเหลือง” เพราะมีคำว่า “ผี” นำหน้า พวกเขาให้เหตุผลว่า พวกเขายังไม่ตายจะเรียกผีไม่ได้ (หน้า 53)

Social Cultural and Identity Change

ระหว่างปี พ.ศ.2512 – 2538 ม้งย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จ.แพร่ – น่านมากขึ้น มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ต้องการแรงงานอย่างผีตองเหลืองมากขึ้น ขณะเดียวกันม้งก็ขยายพื้นที่เพาะปลูกไปยังแหล่งป่าที่อุดมสมบูรณ์ของผีตองเหลือง โดยม้งจะสอนผีตองเหลืองให้รู้จักการทำไร่ทุกขั้นตอน มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างม้งและผีตองเหลือง สิ่งของของผีตองเหลืองที่แลกเปลี่ยนมาจากม้งจะมีมากขึ้น เช่น วิทยุ นาฬิกา แหวน (หน้า 99 – 105)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้ใช้ตารางแผนภูมิ สถิติ และภาพประกอบ เพื่อช่วยให้เข้าใจงานวิจัยได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น แผนภูมิแสดงลักษณะครอบครัวและกลุ่มครอบครัวของชนเผ่าผีตองเหลือง (หน้า 74) , ตารางแสดงสถิติรายชื่อชนเผ่าผีตองเหลืองที่อาศัยที่บ้านบ่อหอย อ.เวียงสา จ.น่าน (หน้า 67) , ภาพแสดงลักษณะความเป็นอยู่ของชนเผ่าผีตองเหลืองที่มารับจ้างม้งทำไร่ (หน้า 88) เป็นต้น

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG มลาบรี, ระบบเศรษฐกิจ, การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม, น่าน, แพร่, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง