สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนยูนนาน จีนมุสลิม ฮ่อ จีนฮ่อ จีนมุสลิม,ไทใหญ่,ชนกลุ่มน้อย,การศึกษา,ชายแดนไทย,เชียงใหม่
Author อมรทัต นิรัติศยกุล
Title การจัดการศึกษาเพื่อชนกลุ่มน้อยชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษาเฉพาะอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 122 Year 2543
Source วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
Abstract

อำเภอเวียงแหงมีนักเรียน นักศึกษารวม 4,558 คน จำนวนครู 158 คน อัตราครูต่อนักเรียน 1 : 29 แต่เฉพาะการประถมศึกษา อัตราส่วนครูต่อนักเรียนเท่ากับ 1 : 25 ซึ่งเท่ากับเกณฑ์ที่ทาง เอ.ดี.บี.กำหนด เนื่องจากครูต้องสอนเด็กที่ด้อยในทางปริมาณและคุณภาพ อัตราส่วนครูต่อนักเรียนจึงยังไม่เหมาะสมเพราะโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนแต่ละห้องไม่เท่ากัน เด็กนักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 14 ของจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษา ขาดแคลนทุนการศึกษาร้อยละ 42 ขาดแคลนเครื่องเขียน เครื่องแบบนักเรียนและอาหารกลางวัน ร้อยละ 57.90 ด้านการจัดการศึกษาระดับโรงเรียนประถมศึกษาพบว่า อัตราค่าใช้จ่ายของนักเรียนต่อคนต่อปีเท่ากับ 7,215 บาท และพบว่ามีเด็กที่ไม่มีสัญชาติเข้ามาเรียน 168 คน ถ้าคิดค่าใช้จ่ายตลอดการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี นักเรียน 168 คน จะต้องใช้งบถึง 14,365,000 บาท อันถือเป็นสภาพที่พบเกี่ยวข้องกับนโยบายการประกันโอกาสทางการศึกษา และการประกันประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ในด้านคุณภาพนั้น จากสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนพบว่า สัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาทักษะ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ระหว่างร้อยละ 49.78 – 65.49 ด้านผลการเรียนพบว่า นักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีระดับผลการเรียน ระดับ 0-102 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์อ่อนถึงปานกลางทุกวิชา กล่าวคือ ป.2-4-6 ร้อยละ 57.03 ม.1-2-3 ร้อยละ 69.53 ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ สำหรับเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาที่เรียนซ้ำชั้นด้วยเหตุต่างๆมีจำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 11.85 การวัดการประเมินผล และการจัดการเรียนการสอนที่ยังไม่ได้นำกระบวนการปฏิรูปการศึกษามาใช้อย่างสมบูรณ์ เพราะระยะนี้เป็นระยะเตรียมการเข้าสู่ระบบการปฏิรูปการศึกษา เมื่อครู ผู้บริหารโรงเรียนได้ผ่านการอบรมสัมมนาในสาระมาบางส่วน ได้นำมาทดลองใช้ ผลจึงยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ข้อมูลเหล่านี้พบว่า นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา และนโยบายการประกันความปลอดภัยในสถานศึกษายังไม่มีโอกาสนำมาใช้ได้เต็มที่ เนื่องจากระบบและระเบียบเดิมต่างๆ ยังคงให้ใช้อยู่ แม้เด็กชนกลุ่มน้อยจะด้อยในสิ่งต่างๆ การเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยให้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ โดยนโยบายของทางราชการ โดยเห็นแก่มนุษยธรรมและโดยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนั้น เมื่อสำรวจความคิดเห็นของคณะอาจารย์แล้วเห็นด้วยร้อยละ 93 คณาจารย์มีความเห็นใจเด็กชนกลุ่มน้อย การจัดการศึกษาที่เป็นการเตรียมเข้าสู่ระบบปฏิรูปการศึกษา พบว่า โรงเรียนได้ส่งครูไปอบรมกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ การประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง (Authentic Assessment) การจัดทำระเบียนสะสมงาน (Portfolio) การจัดทำธรรมนูญโรงเรียน (School Charters) การจัดทำมาตรฐานโรงเรียน จากการวิจัยเอกสารพบว่า การศึกษาที่เน้นคุณภาพของเด็กนักเรียน มุ่งจัดกระบวนการศึกษาให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งได้ประมวลแนวนโยบายการศึกษาไว้ทั้งหมด จะได้เด็กที่เป็นคนดีมีการศึกษาที่สามารถแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี มีคุณธรรมจริยธรรม เด็กชนกลุ่มน้อยเหล่านี้เมื่อผ่านกระบวนการจัดการศึกษาเช่นนี้แล้ว เด็กกลุ่มนี้จะเกิดประโยชน์ต่อชาติในอนาคต (หน้า ค - จ)

Focus

ศึกษาปัญหาการประกันคุณภาพ ประสิทธิภาพและโอกาสทางการศึกษา การประกันความปลอดภัยในสถานศึกษา มาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมในการจัดการศึกษากับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองท้องถิ่น และวิสัยทัศน์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า ข)

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

ชนกลุ่มน้อยชายแดนไทย – พม่า อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อดีตทหารจีนคณะชาติ ไทยใหญ่ จีนฮ่ออิสระ จีนฮ่ออพยพและ ชาวเขา (หน้า ก)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2542 – 2543

History of the Group and Community

อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นตำบลขึ้นตรงกับอำเภอเชียงดาว ได้รับยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคา พ.ศ. 2524 ประกอบด้วย 2 ตำบล 12 หมู่บ้าน และเป็นอำเภอเวียงแหงเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ประกอบด้วย 3 ตำบล 20 หมู่บ้าน ในอดีต พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง และชาวไทยใหญ่ ต่อมาชาวเขาเผ่าต่างๆก็อพยพเข้ามาหากินอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2504 มีมีทหารจีนคณะชาติ จีนฮ่ออิสระและจีนฮ่ออพยพ ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ต่อมาเกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างพม่ากับชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า จึงเป็นเหตุให้ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวอพยพเข้ามาจนถึงปัจจุบัน (หน้า ก - ข)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ทั้งที่ได้สัญชาติไทยและไม่ได้สัญชาติไทย มีประชากร 22,701 คน เป็นผู้มีสัญชาติไทย 10,802 คน ไม่มีสัญชาติไทย 11,899 คน (ร้อยละ 52.42) ซึ่งสามารถจำแนกได้ คือ อดีตทหารจีนคณะชาติ มีประชากร 1,701 คน จีนฮ่ออิสระ 1,723 คน จีนฮ่ออพยพ 360 คน รวมจีนฮ่อทั้งหมด 3,793 คน ในจำนวนนี้ได้สัญชาติไทย 810 คน นอกจากนี้มีชาวเขา 3,427 คน ในจำนวนนี้ได้สัญชาติไทย 632 คน ส่วนชนกลุ่มน้อยพม่าและไทยใหญ่ ไม่มีสัญชาติไทยรวมกัน 6,121 คน จำนวนคนที่เหลือจะเป็นผู้มีสัญชาติไทย คือ คนไทย ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ชาวเขา รวมกัน 10,802 คน (หน้า ก,77)

Economy

เงินเดือนข้าราชการครูอำเภอเวียงแหง เดือนสิงหาคม ปีงบประมาณ 2542 อัตราเงินเดือน 15,240 – 22,080 บาท 14 ราย อัตราเงินเดือน 10,080 – 14,850 บาท 48 ราย และอัตราเงินเดือน 4,700 – 9,040 บาท 65 ราย รวมเป็นเงินจ่ายข้าราชการครู 1,308,440 บาทต่อเดือน รายจ่ายประจำอื่นๆเพื่อการศึกษาในปีงบประมาณ 2542 ได้แก่ ค่าจ้างประจำ 1,081,248 บาท ค่าจ้างชั่วคราว 225,600 บาท ค่าวัสดุ 850,408 บาท ค่าตอบแทน 10,360 บาท ค่าใช้สอย 126,000 บาท ค่าสาธารณูปโภค 99,526 บาท เงินอุดหนุน-อาหารเสริม(นม) 2,317,045 บาท เงินอุดหนุน-อาหารกลางวัน 1,808,400 บาท เงินอุดหนุน-บริการสุขภาพ (ค่าพาหนะ) 7,359 บาท เงินอุดหนุน-ทุนนักเรียนยากจน 129,000 บาท เงินอุดหนุน-ค่าเครื่องแบบนักเรียน 227,130 บาท เงินอุดหนุน-ค่าเครื่องเขียน 28,459 บาท และค่าครุภัณฑ์-ที่ดินสิ่งก่อสร้าง 518,700 บาท (หน้า 44 - 45) เงินเดือนของครู อาจารย์ อำเภอเวียงแหงปีหนึ่ง รัฐจะต้องจ่าย 15,041,400 บาท ซึ่งหากรวมกับรายจ่ายประจำอื่นๆเพื่อการศึกษา ปีงบประมาณ 2542 รวมเป็น 21,951,935 บาทต่อปี (หน้า 77)

Social Organization

ประชาชนอำเภอเวียงแหงในอดีตไม่อาศัยเป็นหลักแหล่ง มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อันเนื่องมาจากภัยต่างๆ เช่น โจรผู้ร้าย การสู้รบของชนเผ่า โรคภัยไข้เจ็บหรือแหล่งที่ทำกินไม่เหมาะสม (หน้า 43 -44)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

อำเภอเวียงแหงมี วัดพุทธ 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 20 แห่ง วัดร้าง 47 แห่ง มีโบสถ์คาทอลิค 4 แห่ง (หน้า 43)

Education and Socialization

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาของอำเภอเวียงแหง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเวียงแหง และสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยปีงบประมาณ 2542 มีจุดเน้นสำคัญในการพัฒนาการศึกษา คือ การประกันโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน การประกันคุณภาพโดยเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ การประกันประสิทธิภาพโดยให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและโรงเรียนบริหารการดำเนินงานให้ได้มาตรฐานสำนักงาน และการประกันความปลอดภัยโดยสร้างเครือข่ายคุ้มครองความปลอดภัยและพิทักษ์สิทธิเด็ก (หน้า 90 - 91) อำเภอเวียงแหงมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 11 แห่ง มีจำนวนครู อาจารย์รวม 127 คน นักเรียน นักศึกษา 3,134 คน สถานศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา 1 แห่ง มีจำนวนครู อาจารย์ 18 คน นักเรียน นักศึกษา 427 คน สถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง มีจำนวนครู อาจารย์ 2 คน นักเรียน นักศึกษา 786 คน สถานศึกษาสังกัดกรมการศาสนา(ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด) 2 แห่ง มีจำนวนครู อาจารย์ 5 คน นักเรียน นักศึกษา 124 คน และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ 1 แห่ง มีจำนวนครู อาจารย์ 6 คน นักเรียน นักศึกษา 87 คน รวมจำนวนสถานศึกษา 16 แห่ง มีครู อาจารย์รวม 158 คน นักเรียน นักศึกษา 4,558 คน (หน้า ค,42 - 43) การประกันคุณภาพการศึกษาพบว่า ระดับก่อนประถมศึกษานักเรียนมีความพร้อมก่อนเข้าเรียน ป.1 นักเรียนอนุบาล 2 เข้าเรียนชั้น ป.1 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 329 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนอนุบาล 2 ระดับประถมศึกษา นักเรียนชั้น ป.6 ที่จบจำนวน 242 คนคิดเป็นร้อยละ 99.18ของนักเรียนชั้น ป.6 ปีการศึกษา 2540 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 94.73 ของนักเรียนชั้น ม.3 นักเรียนที่จบ ม.3 ศึกษาทางสายสามัญและสายอาชีพ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ของนักเรียนที่จบทั้งหมด (หน้า 49 - 50) ผลการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่มีผลออกมาในทุกกลุ่มประสบการณ์ อยู่ในเกณฑ์ปานกลางและค่อนข้างอ่อน ผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาพรวมพบว่ามีระดับผลการเรียนค่อนข้างไปทางดีจำนวนมาก (หน้า 53,55) การขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กชายแดนได้ผลดีทางด้านปริมาณ เนื่องจากมีอัตราการเรียนต่อสูงถึง ร้อยละ 98.88 (หน้า 78) เด็กนักเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติอำเภอเวียงแหง ที่สำเร็จการศึกษาแล้วเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 80 (หน้า 95)

Health and Medicine

นักเรียนระดับประถมศึกษาของอำเภอเวียงแหงมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน 1,687 คน คิดเป็นร้อยละ 69.53 ของจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2541 ทั้งหมด (หน้า 49)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

อำเภอเวียงแหง มีประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีปอยส่างลอง ประเพณีปอยเตียง ประเพณีตานหอพระเจ้า และประเพณีกินวอ (หน้า 77)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การผสมผสานของเด็กชนกลุ่มน้อยหลากหลายเผ่าพันธุ์ในสถานศึกษาต่างๆของอำเภอเวียงแหง เป็นอุปสรรคด้าน การใช้ภาษาไทยอันจะนำไปสู่บทเรียนและการประกอบกิจกรรมต่างๆ ระหว่างกลุ่มนักเรียนด้วยกัน และกลุ่มนักเรียน กับอาจารย์(หน้า 94 - 95)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มีข้อมูล

Map/Illustration

ไม่มีข้อมูล

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 21 ก.พ. 2565
TAG จีนยูนนาน จีนมุสลิม ฮ่อ จีนฮ่อ จีนมุสลิม, ไทใหญ่, ชนกลุ่มน้อย, การศึกษา, ชายแดนไทย, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง